ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ชีวประวัติอิมามฮะซัน28%

ชีวประวัติอิมามฮะซัน ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 134

ชีวประวัติอิมามฮะซัน
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 134 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 64766 / ดาวน์โหลด: 5720
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

ถึงตอนนี้ ท่านอิมามอะลี(อ)ได้ลุกขึ้นไปหาท่าน พลางจับตัวของท่านแล้วกล่าวว่า

“ ขอสาบานต่อบิดาและมารดาของข้า เชื้อสายเหล่านั้นส่วนหนึ่งย่อมเป็นของอีกส่วนหนึ่งและอัลลอฮฺ(ซ.บ.)คือผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรับรู้เสมอ ” ( ๒)

(๒ ) อะอฺยานุช - ชีอะฮฺ ๔ กอฟ ๑ / ๓๑

คำปราศรัยเรื่องที่ ๓

หลังจากที่ท่านอะมีรุลมุมินีน(อ)วายชนม์แล้ว ท่านอิมามฮะซัน(อ) ได้กล่าวคำปราศรัยมีใจความตอนหนึ่งว่า

“ แน่นอนยิ่ง เมื่อคืนนี้บุรุษผู้หนึ่งที่ผู้มีคุณธรรมในรุ่นก่อนไม่เคยมีผลงานที่ดีเด่นล้ำหน้าเกินเขา และคนมีคุณธรรมรุ่นหลังไม่เคยมีผลงานที่ทัดเทียมกับเขา เขาได้วายชนม์ไปแล้ว แน่นอนที่สุด

เขาเคยต่อสู้ร่วมกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)โดยเอาตัวเขาเองเข้าไปปกป้องท่าน และแน่นอนที่สุดเขาคือคนที่ถือธงของท่านศาสดานำหน้าท่านเสมอ โดยญิบรีลขนาบไหล่ของเขาทางด้านขวา

และมีกาอีลอยู่ทางด้านซ้าย เขาไม่เคยกลับมาจากการทำศึกโดยมิได้รับชัยชนะจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

แน่นอนที่สุดเมื่อคืนนี้เอง เขาได้วายชนม์ไปแล้ว ซึ่งตรงกับคืนที่

นบีอีซา(อ)บุตรของมัรยัมเสด็จขึ้นสู่ฟากฟ้าและตรงกับคืนที่ ยูชะฮฺ บิน นูน ทายาทของนบีมูซา(อ) วายชนม์เช่นกัน เขาไม่มีทรัพย์สินเงินทองส่วนตัวทิ้งไว้ข้างหลัง นอกจากเจ็ดร้อยดิรฮัม อันเป็นส่วนที่เหลือจากการบริจาคของท่าน

๔๑

ท่านต้องการเอาไปจับจ่ายเพื่อบริการคนในครอบครัวของท่าน ”

ต่อจากนั้นเสียงของอิมามฮะซัน(อ)ก็ขาดหายไป ท่านร้องไห้ ประชาชนก็ร้องไห้ตาม

ต่อจากนั้นท่านได้กล่าวอีกว่า

“ ประชาชนทั้งหลาย คนที่รู้จักข้าฯก็รู้จักเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ส่วนคนที่ยังไม่รู้จักข้าฯก็ขอบอกว่า ข้าฯคือฮะซัน บุตรของมุฮัมมัด(ศ) ข้าฯคือบุตรของผู้แจ้งข่าวดี ข้าฯคือบุตรของผู้ตักเตือนให้ระวังภัย ข้าฯคือบุตรของผู้เชิญชวนสู่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) โดยการอนุมัติของพระองค์ ข้าฯคือบุตรของแสงสว่างเรืองรอง ข้ามาจากอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)ที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงขจัดมลทินออกไปจากพวกเขา และทรงชำระขัดเกลาพวกเขา ให้สะอาดบริสุทธิ์อย่างยิ่ง และเป็นพวกที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีบัญญัติไว้

ในคัมภีร์ของพระองค์ว่า ให้จงรักภักดีต่อพวกเขาที่พระองค์ทรงตรัสว่า “ และผู้ใดประกอบความดีงามอันหนึ่ง เราจะสนองตอบแก่เขาซึ่ง ความดีงามในนั้น ”

การประกอบความดีตามความหมายในโองการนี้คือ การให้ความรักต่อพวกเรา อะฮฺลุลบัยตฺ(อ) ” ( ๓)

-------------------------------------------------------

(๓ ) มะกอติลุฏ - ฏอลิบียีน หน้า ๓๕

๔๒

คำปราศรัยเรื่องที่ ๔.

ท่านอับดุรเราะฮฺมาน บินญุนดุบ รายงานคำบอกเล่าจากบิดาของเขาและคนอื่นๆ ว่าหลังจากที่ท่านอิมามอะลี(อ)วายชนม์แล้ว ประชาชนทั้งหลายได้มาทำการให้สัตยาบันต่อท่านอิมามฮะซัน บินอะลี(อ)

แล้วท่านอิมามได้กล่าวว่า

“ มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) เนื่องในกรณีที่พระองค์ทรงดำเนินภารกิจหนึ่ง ลุล่วงไป และทรงกำหนดความดีงามไว้เฉพาะส่วนและทรงครอบคลุมภารกิจหนึ่งๆ ไว้ ทรงเป็นผู้ประทานการอภัยอย่างเหลือล้น มวลการสรรเสริญแด่พระองค์ที่ทรงบันดาลความโปรดปรานของพระองค์ให้แก่เราอย่างสมบูรณ์ และเราจำต้องสนองตอบต่อพระองค์เพื่อความปิติชื่นชมของพระองค์ แท้จริงโลกนี้เป็นสถานที่แห่งการทดสอบ และมีพิษภัย

ทุกสิ่งที่อยู่ในโลกล้วนสูญสลาย

แน่นอนที่สุด อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงบอกเล่าถึงเรื่องราวของมันให้แก่พวกเราเพื่อให้เราใคร่ครวญ ดังนั้นพระองค์จึงทรงมอบพันธะสัญญาในเรื่องคำเตือนมาเพื่อเราจะได้ไม่มีข้ออ้างอีก ในเมื่อคำตักเตือนมาแล้ว ดังนั้นท่านทั้งหลายจงยึดหลักสมถะในสิ่งที่มีการสูญสลาย และจงแสวงหาในสิ่งที่มั่นคงถาวร และจงยำเกรงต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทั้งในที่ลับและที่เปิดเผย

แท้จริงอิมามอะลี(อ)นั้น ไม่ว่าในสมัยที่มีชีวิตอยู่หรือ เสียชีวิตไปแล้ว ชีวิตของท่านดำเนินไปตามขอบเขตจำกัด ท่านตายไปตามกำหนดวาระ และแท้จริงข้าขอให้สัตยาบันต่อท่านทั้งหลายว่า พวกท่านจะต้องให้ความสันติสุขกับผู้ที่ข้าให้ความสันติสุข และจงต่อสู้กับผู้ที่ข้าต่อสู้ ”

แล้วคนทั้งหลายก็ให้สัตยาบันต่อท่านตามนี้(๔)

----------------------------------------------------------

(๔ ) อัต - เตาฮีด หน้า ๓๗๘

๔๓

คำปราศรัยเรื่องที่ ๕.

ท่านอะบี ญะมีละฮฺ รายงานว่า : แท้จริงท่านอิมามฮะซัน บินอะลี(อ)นั้น เมื่อตอนที่ท่านอิมามอะลี(อ)ถูกลอบสังหาร ท่านอยู่ทางด้านหลังในขณะที่พวกเรากำลังนมาซร่วมกัน ก็มีชายคนหนึ่งกระโดดเข้ามาทำร้ายท่าน จนเกิดอาการชํ้าตรงบริเวณสะเอวของท่าน ท่านเจ็บอยู่เป็นเวลาหนึ่งเดือน หลังจากนั้น ท่านได้ขึ้นไปยืนที่มิมบัร แล้วกล่าวว่า

“ ชาวอิรักทั้งหลาย จงยำเกรงต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ในเรื่องของพวกเรา เพราะเราคือผู้ปกครองและแขกของพวกท่าน แท้จริงพวกเราคือ อะฮฺลุลบัยตฺที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตรัสถึงพวกเขาไว้ว่า :

“ อันที่จริงอัลลอฮฺทรงประสงค์ที่จะขจัดมลทินออกไปจากสูเจ้า โอ้อะฮฺลุลบัยตฺและทรงชำระขัดเกลาสูเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์อย่างแท้จริง ”

ตลอดเวลาที่กล่าวคำปราศรัย เราเห็นว่ามีชายคนหนึ่งที่มัสญิดร้องไห้อยู่อย่างไม่หยุดหย่อน ( ๕)

---------------------------------------------------------------

(๕ ) มะนากิบอะลี อะมีรุลมุมินีน ( อ ) ของอิบนุอัล - มะฆอชะลี หน้า ๓๘๓

คำปราศรัยเรื่องที่ ๖

เมื่อครั้งที่ท่านอิมามฮะซัน(อ)ยอมรับข้อเสนอสันติภาพได้กล่าวคำปราศรัย ใจความว่า

“ พวกเราขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ว่า :

เรายังไม่หายสงสัยและยังเสียใจต่อชาวชาม(ซีเรียในปัจจุบัน)อยู่

๔๔

อันที่จริงแล้วที่เราต่อสู้กับชาวชาม เราดำเนินการด้วยวิธีที่สันติและอดทน

แต่แล้วความสันติกลับก่อให้เกิดศัตรู ความอดทนกลับก่อให้เกิดความเจ็บปวด เมื่อครั้งที่พวกท่านออกเดินทางทำสงครามศิฟฟีนนั้น พวกท่านให้ศาสนานำหน้าโลก แต่บัดนี้พวกท่านเปลี่ยนไปโดยให้โลกนำหน้าศาสนา แน่นอนระหว่างสงครามทั้งสองครั้ง พวกเท่านเปลี่ยนไป เมื่อสงครามศิฟฟีนพวกท่านร้องไห้ เมื่อสงครามนะฮฺรอวาน พวกท่านแสวงหาประโยชน์ อันว่าผู้ยังเหลืออยู่กลับพ่ายแพ้ ส่วนผู้ที่ร้องไห้กลับได้ประโยชน์ แน่นอนกรณีที่

มุอาวิยะฮฺเสนอแก่เรามานั้น

เป็นเรื่องที่ไม่มีเกียรติยศ และไม่มีความยุติธรรมเลย ดังนั้นถ้าหากพวกท่านต้องการพบกับความตาย

เราก็จะปฏิเสธเขาไป แล้วเราจะให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)พิพากษาเขาด้วยคมดาบ แต่ถ้าหากพวกท่านต้องการชีวิตอยู่ เราก็จะตอบรับเขา และเราจะถือเอาหลักการอันเป็นที่พอใจสำหรับพวกท่าน ”

ปรากฏว่าประชาชนร้องตะโกนจากทุกสารทิศว่า

“ การคงอยู่ การคงอยู่ ” ( ๖)

---------------------------------------------------------

(๖ ) อัล - กามิล ฟิตดารีค เล่ม ๕ หน้า ๔๐๖

คำปราศรัยเรื่องที่ ๗.

เมื่อครั้งที่มุอาวิยะฮฺเข้ามาในเมืองกูฟะฮฺนั้น อัมรฺ บินอัล-อาศ ได้แนะนำเขาว่าให้เขาสั่งท่านอิมามฮะซัน(อ)ขึ้นกล่าวคำปราศรัย เขารู้สึกมีอาการหวาดหวั่น พลางกล่าวกับท่านอิมามว่า

“ โปรดลุกขึ้น แล้วกล่าวคำปราศรัย ”

๔๕

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้ลุกขึ้น และกล่าวคำปราศรัยว่า

“ ประชาชนทั้งหลาย แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงนำทางพวกท่านโดยคนแรกในหมู่พวกเราและปกป้องเลือดเนื้อของพวกท่านโดยคนสุดท้านในหมู่พวกเรา พวกเราคืออะฮฺลุลบัยตฺ(อ)แห่งศาสดาของพวกท่าน ที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงขจัดมลทินออกไปจากพวกเรา และทรงชำระขัดเกลาพวกเราให้สะอาดบริสุทธิ์อย่างยิ่ง แท้จริงสำหรับภารกิจอันนี้มีเวลา กำหนดชั่วระยะเวลาหนึ่ง โลกนี้ก็มีเพียงชั่วคราว เพราะอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตรัสกับศาสดา(ศ)ของพระองค์ว่า “ แท้จริงโลกนี้บางทีอาจเป็นพิษภัยแก่พวกเจ้า และเป็นที่ให้ความสุขเพียงชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น ”

ปรากฏว่าประชาชนพากันร้องไห้ จนมุอาวิยะฮฺหันไปทางอัมรฺ แล้วกล่าวว่า “ นี่เป็นความคิดของท่าน ” ( ๗)

------------------------------------------------------------

(๗ ) ตัซกิเราะตุล - ค่อวาศ หน้า ๑๑๔

คำปราศรัยเรื่องที่ ๘.

มีคนพูดกับมุอาวิยะฮฺในวันหนึ่งว่า

“ หากท่านสั่งให้ฮะซัน บุตรของ อะลี บินอะบีฏอลิบขึ้นบนมิมบัรแล้วกล่าวคำปราศรัยเพื่ออธิบายแก่ประชาชนแล้ว จะเป็นการบั่นทอนตัวของเขาเอง ”

แล้วเขาก็เรียกท่านฮะซัน(อ)โดยกล่าวว่า

“ โปรดขึ้นบนมิมบัร แล้วพูด ถ้อยคำอันเป็นคำสอนแก่เรา ”

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้ขึ้นไปยืนบนมิมบัร แล้วกล่าวคำสรรเสริญสดุดีอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

๔๖

ต่อจากนั้นท่านกล่าวว่า

“ ประชาชนทั้งหลาย ใครที่รู้จักฉันอยู่แล้วก็ย่อมรู้จักฉันเป็นอย่างดี ส่วนคนที่ยังไม่รู้จักก็ขอบอกว่า ฉันคือฮะซัน บุตรของอะลี บินอะบีฏอลิบ และบุตรของหัวหน้าสตรีทั้งหลายในจักรภพนี้ ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ บุตรีของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ฉันคือบุตรผู้ประเสริฐสุดจากสรรพสิ่งทั้งมวลของพระองค์อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ฉันเป็นบุตรของศาสดา(ศ) ฉันคือบุตรของผู้ทรงสิทธิในเกียรติยศทั้งปวง ฉันคือบุตรของผู้มีสิทธิในสัญญาณอภินิหาร และหลักฐานอันชัดแจ้ง ฉันคือบุตรของอะมีรุลมุมินีน ฉันคือผู้ที่ถูกผลักไสจากสิทธิ์โดยชอบธรรมของฉัน ฉันและฮุเซนผู้เป็นน้องชายคือหัวหน้าของชายหนุ่มชาวสวรรค์ ฉันคือบุตรของที่สถิตย์หินดำ อันจำเริญ(อัร-รุกน)และสถานที่ยืนของนบีอิบรอฮีม(อ)ตรงบริเวณบัยตุลลอฮฺ(มะกอม) ฉันคือบุตรแห่งมักกะฮฺและมีนา ฉันคือบุตรแห่งมัช อัร และอะรอฟาต ”

มุอาวิยะฮฺ กล่าวแก่ท่านว่า “ โอ้อะบามุฮัมมัด จงเอาเรื่องที่เป็นเนื้อหาหยุดการกล่าวอย่างนี้ได้แล้ว ”

ท่านอิมามฮะซัน(อ)กล่าวต่อไปว่า

“ กระแสลมจะถูกเป่าออกไป ความร้อนจะทำให้สุกงอม ความเย็นจะทำให้ชุ่มชื้น ”

ต่อจากนั้นท่านอิมามฮะซัน(อ)ก็หันกลับมากล่าวอีกว่า

“ ฉันคืออิมามสำหรับสรรพสิ่งของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และเป็นบุตรของมุฮัมมัด ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)”

๔๗

ปรากฏว่ามุอาวิยะฮฺ กลัวว่าท่านอิมามจะพูดประโยคต่อจากนั้น ในเรื่องที่ทำให้ประชาชนติเตียนตัวเขา ก็เลยกล่าวว่า

“ โอ้อะบามุฮัมมัด โปรดลงมาเถิด เท่าที่ผ่านมาก็พอแล้ว ”

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ก็ลงมาทันที(๘)

-------------------------------------------------

(๘ ) อะมาลีย์ ของท่านชัยค์ศ็อดดูก หน้า ๑๕๑

๔๘

พินัยกรรม :

บันทึกแห่งประวัติศาสตร์

กระบวนตำราเกี่ยวกับชีวประวัติทั้งหลายนั้นเต็มไปด้วยบันทึกเกี่ยวกับพินัยกรรมของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)ที่มีไว้สำหรับผู้ที่เจริญรอยตามและให้ความรักต่อพวกเขา ในพินัยกรรมเหล่านี้ครอบคลุมถึงเรื่องคำสอนในด้านต่าง ๆ จริยธรรมมารยาท และการเชิญชวนสู่สัจธรรม ถ้าหากพวกเราจะรวบรวมบันทึกพินัยกรรม คำสั่งเสียของบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)ที่มีมาถึงเราทั้งหมดแล้วไซร้ แน่นอนที่สุดมันจะเป็นตำราที่มีขนาดใหญ่โตที่ประชาชาติอิสลามมีความจำเป็นต่อการที่จะนำมันมาศึกษาเพื่อความเจริญก้าวหน้าทางศาสนาของตน ในบทนี้เราจะบันทึกเกี่ยวกับ

ข้อมูลบางประการจากพินัยกรรมของอิมามท่านฮะซัน(อ)ดังต่อไปนี้

๑. พินัยกรรมของอิมามฮะซัน(อ)แก่บุตรของท่าน และบุตรของน้องชาย มีดังนี้

“ โอ้บุตรของข้า และบุตรแห่งน้องชายข้า วันนี้เจ้ายังเป็นผู้น้อยสำหรับคนในกลุ่มหนึ่ง แต่เจ้าต้องมั่นใจว่า ในวันข้างหน้าเจ้าจะต้องเป็นผู้อาวุโสของคนอีกกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นเจ้าจงเล่าเรียนศึกษาหาความรู้ คนไหนที่ไม่มีความสามารถรายงานหรือจดจำก็ให้เขาบันทึกไว้ และเอาไปเก็บไว้ที่บ้านของตน ” ( ๑)

--------------------------------------------------------------

(๑ ) อัล - ฮะซัน บินอะลี ของท่านอับดุลกอดิร อะหมัด อัล - ยูซุฟ หน้า ๖๖

๔๙

๒. พินัยกรรมหนึ่งของท่านฮะซัน(อ)มีใจความว่า

“ โอ้ บุตรหลานของอาดัม จงยับยั้งตนให้พ้นจากข้อห้ามของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) แล้วเจ้าจะเป็นผู้เคารพภักดี จงพอใจในสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)แบ่งสรรให้ แล้วเจ้าจะเป็นคนที่มั่งมี จงทำความดีกับเครือญาติรอบ ๆ ตัวเจ้าแล้วเจ้าจะเป็นคนมีความสันติสุข จงเป็นมิตรกับประชาชนให้ได้ตามที่เจ้าชอบให้

เขาเป็นมิตรกับเจ้า แล้วเจ้าจะเป็นคนที่ยุติธรรม เพราะเหตุว่าในหมู่พวกเจ้าทั้งหลาย จะมีชนกลุ่มหนึ่งที่สะสมทรัพย์สินไว้ เป็นอันมาก ก่อสร้างบ้านเรือนโดดเด่น มีการตั้งความหวังอันยาวไกล แต่แล้วการเก็บสะสมของคนเหล่านั้นล้มเหลว ผลงานของคนเหล่านั้น เป็นของล่อลวงและสถานที่

อาศัยของคนเหล่านั้นคือ สุสาน ”

“ โอ้ บุตรหลายของอาดัม แท้จริงแล้วนับตั้งแต่เจ้าออกมาจากครรภ์มารดา ไม่วายที่เจ้าอยู่ในภาวะที่ทำลายอายุขัยของเจ้าเองตลอดมา ดังนั้นจงฉวยโอกาสที่เจ้ามีอยู่เพื่อรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นแก่เจ้า เพราะว่าผู้ศรัทธานั้นย่อมแสวงหาเสบียงเอาไว้ ส่วนผู้ปฏิเสธ(กาเฟร)นั้นย่อมแสวงหาแต่

ความสุข ” ( ๒)

---------------------------------------------------

(๒ ) อะอฺยานุช - ชีอะฮฺ ๔ กอฟ ๑๐๑ / ๑

๕๐

๓. เมื่อครั้งที่ท่านอิมามฮะซัน(อ)นอนป่วยก่อนถึงแก่การวายชนม์นั้น

ญุนาดะฮฺ บินอะบีอุมัยยะฮฺได้เข้ามาหาแล้วกล่าวว่า

“ ข้าแต่ผู้เป็นบุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้โปรดให้คำชี้แนะแก่ข้าด้วย ”

ท่านกล่าวว่า “ ได้ซิ จงเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อการเดินทางของเจ้า

จงหาเสบียงไว้ก่อนวาระสุดท้ายของเจ้าจะมาถึง จงรู้ไว้ว่าเจ้าแสวงหาชีวิตทางโลก ส่วนความตาย มันแสวงหาชีวิตของเจ้า

จงอย่ากังวลใจกับวันที่มาไม่ถึงเจ้า จงรู้ไว้ด้วยว่า ทรัพย์สินอันใดก็ตามที่เจ้าเสาะหามา ถ้ามันมากเกินกว่ากำลังของเจ้าแล้วไซร้ มันย่อมเป็นกองคลังสำหรับคนอื่นทั้งสิ้น จงรู้ไว้เถิดว่า อันใดที่เป็นของซึ่งได้รับการหวงห้าม ย่อมมีบทลงโทษ อันใดที่เป็นของซึ่งได้รับการคลางแคลงสงสัย ย่อมมีข้อตำหนิ ดังนั้นจงพักพิงในโลกนี้เยี่ยงเรือนพักของผู้ตาย จงเสาะหาเอามาจากมัน เพียงที่มันพอแก่เจ้า

ดังนั้นอันใดที่เป็นของซึ่งได้รับการอนุญาต เจ้าก็จงมีสมถะในสิ่งนั้นๆ ส่วนอันใดที่เป็นของซึ่งได้รับการหวงห้าม มันย่อมหาได้เป็นเสบียงไม่

เจ้าจงถือปฏิบัติต่อสิ่งนั้นเหมือนอย่างที่เจ้าปฏิบัติต่อของคนตาย ถ้าหากมันเป็นของที่ได้รับการตำหนิ มันก็มีแต่ข้อน่าตำหนิทั้งสิ้น จงทำงานเพื่อชีวิต

ทางโลก ดุจดังว่าเจ้าต้องใช้ชีวิตอยู่ตลอดกาล แต่จงทำงานเพื่อปรโลกดุจดังว่า เจ้าจะต้องตายในวันพรุ่งนี้ และในเมื่อเจ้าต้องการเกียรติยศ แต่ไม่มีบริวาร และต้องการบารมีแต่ไม่มีอำนาจ เจ้าก็จงออกมาจากความต่ำต้อยแห่งการทรยศต่อ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)เพื่อไปสู่เกียรติยศแห่งการเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ในเมื่อเจ้าจำเป็นต้องเป็นมิตรกับบุคคลใดก็จงเป็นมิตรกับคนที่จะเสริมคุณค่าให้แก่เจ้าได้ในยามที่เจ้าเป็นมิตรกับเขา

๕๑

ในเมื่อเจ้าได้รับใช้เขา เขาก็จะทำหน้าที่ปกป้องเจ้าได้ ในเมื่อเจ้าต้องการความช่วยเหลือ เขาจะให้ความช่วยเหลือเจ้าได้ ถ้าหากเจ้าพูด เขาจะเชื่อคำพูดของเจ้า หากเจ้าแสดงไมตรีจิต เขาจะยิ่งมีไมตรีจิตต่อเจ้า ถ้าหากเจ้าให้การสนับสนุน เขาจะรับการสนับสนุนอย่างดี ถ้าหากความบกพร่องปรากฏมาจากเจ้า เขาจะปรับให้มันสมบูรณ์ ถ้าหากเขาเห็นความดีในตัวเจ้า เขาจะจดจำ ถ้าหากเจ้าขออะไรจากเขา เขาก็จะให้เจ้า ถ้าเจ้าเงียบเฉยต่อเขา เขาจะเป็นฝ่ายเริ่มต้นต่อเจ้า ถ้าหากมีการประณามในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเกิดขึ้นต่อตัวเจ้า และมีการดูหมิ่นเจ้า

การมองเจ้าในแง่ร้ายจะต้องไม่มีมาจากเขา ไมตรีจิตจากเขาที่เคยมีต่อเจ้าจะไม่เปลี่ยนแปลงไป เขาจะไม่ทำลายเจ้าจากข้อเท็จจริงทั้งหลาย ” ( ๓)

--------------------------------------------------

(๒) อะอฺยานุช - ชีอะฮฺ ๔ กอฟ ๑๐๕ / ๑

๕๒

จดหมายจากท่านอิมามฮะซัน(อ)

ในบทนี้เราจะนำจดหมายฉบับต่าง ๆ ที่ท่านอิมามฮะซัน(อ)ส่งให้

มุอาวิยะฮฺและบุคคลอื่นๆมาเสนอ โดยที่เนื้อหาที่มีอยู่ในจดหมายเหล่านี้คือภาพทางประวัติศาสตร์ตอนหนึ่ง ในช่วงที่มีอุปสรรคพร้อมๆ กับเป็นการเรียกร้องยังอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และเชิดชูพจนารถของพระองค์ อีกทั้งปกป้องศาสนาของพระองค์ ดังที่เราจะกล่าวถึง ณ บัดนี้

จดหมายฉบับที่ ๑.

เป็นจดหมายที่ท่านอิมามฮะซัน(อ)ส่งถึงมุอาวิยะฮฺ ไปพร้อมกับท่าน

ญุนดุบ บินอับดุลลอฮฺ อัล-อะซ์ะดี

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาอยู่เป็นนิรันดร์

จากบ่าวของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) อัล-ฮะซัน(อ) บุตรของอะมีรุลมุมินีน

ถึง มุอาวิยะฮฺ บินอะบีซุฟยาน

อัสลามุอะลัยกุม

อัมมาบะอฺดุ........ ข้าขอสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ซึ่งไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากพระองค์

แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ผู้ทรงสูงสุดได้ส่งศาสดามุฮัมมัด(ศ)มาเพื่อเป็นความเมตตาแก่สากล และเป็นความโปรดปรานแก่บรรดาผู้ศรัทธาตลอดจนถึงมนุษยชาติทั้งมวล

๕๓

ดังโองการที่ว่า

“ เพื่อเขาจะได้ตักเตือนบุคคลที่มีชีวิตจิตใจ และเขาจะได้สำแดงความจริงแห่งพจนารถให้เป็นที่ปรากฏแก่บรรดาพวกปฏิเสธ(กาฟิรีน) ”

( ยาซีน: ๗๐)

ดังนั้นเขาจึงประกาศสาส์นต่าง ๆ ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และดำรงไว้ซึ่งคำสั่งของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) จนกระทั่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงรับเอาชีวิตเขาไป

โดยปราศจากการบกพร่องในหน้าที่ จนกระทั่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.)สำแดงความเป็นสัจธรรมให้เป็นที่ปรากฏเพราะเขา และเอาชนะการตั้งภาคีจนเป็นผลสำเร็จ เพราะเขา และทรงช่วยเหลือบรรดาผู้ศรัทธาเพราะเขา และทรงให้พวกอาหรับมีเกียรติเพราะเขาโดยเฉพาะชาวกุเรชสูงศักดิ์ได้ก็เพราะเขา ดังที่ทรงมีโองการว่า

“ และแท้จริง อัลกุรอานคือเกียรติยศสำหรับเจ้า และพรรคพวกของเจ้า ”

ครั้นเมื่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺได้วายชนม์แล้ว ชาวอาหรับต่างก็พากันยื้อแย่งอำนาจของเขา จนพวกกุเรชกล่าวว่า

“ เราคือเผ่าพันธุ์ของเขาเป็นคนในครอบครัวของเขา และเป็นผู้ทรงสิทธิ์ในตัวของเขา ท่านทั้งหลายไม่มีสิทธิ์ที่จะมายื้อแย่งอำนาจการปกครองและสิทธิของเขาต่อประชาชนไปจากพวกเรา ”

ดังนั้นชาวอาหรับทั้งหลายจึงลงความเห็นว่า ความเป็นจริงควรจะต้องเป็นไปตามที่พวกกุเรชพูด และถือว่านี่คือข้อพิสูจน์ของพวกเขาในเรื่องนี้ที่มีต่อคนที่จะมายื้อแย่งภารกิจของมุฮัมมัด(ศ)ไปจากพวกเขา พวกอาหรับจึงยินยอมมอบให้พวกเขาไป และยอมรับในข้อนี้โดยดุษฎี

๕๔

ต่อจากนั้น พวกเราก็อุทธรณ์ต่อพวกกุเรช เหมือนอย่างที่พวกเขาอุทธรณ์ต่อชาวอาหรับ แต่แล้วพวกกุเรชก็มิได้ให้ความยุติธรรมต่อเรา เหมือนอย่างที่ชาวอาหรับให้ความยุติธรรมต่อพวกเขา แท้จริงกรณีที่พวกเขามีสิทธิในภารกิจอันนี้เหนือกว่าชาวอาหรับทั้งหลายนั้น เป็นเรื่องที่ยุติธรรมและชอบด้วยเหตุผลแล้ว แต่ในเมื่อพวกเราเป็นอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)และทายาทของมุฮัมมัด(ศ) ทำการอุทธรณ์ต่อพวกเขา และขอความเป็นธรรมจากพวกเขาซึ่งมีแต่ความเป็นศัตรูต่อเรา พวกเขาปฏิเสธและจัดประชุมลงมติเพื่อสร้างความอธรรมและฉ้อฉลเรา ความเลวร้ายจากพวกเขา ได้ประสบกับพวกเรา ดังนั้นอัลลอฮฺ ( ซ.บ.) คือผู้ทรงให้สัญญา พระองค์คือผู้คุ้มครอง พระองค์คือผู้ทรงให้ความช่วยเหลือ แน่นอนที่สุด

เราแปลกใจเป็นอย่างยิ่งกับการฉกฉวยของผู้ฉวยโอกาสต่อสิทธิอันชอบธรรมของเรา ในเรื่องที่เป็นสิทธิของเราและในเรื่องอำนาจการปกครองแห่งนบี(ศ)ของเรา ในขณะที่ถ้าหากพวกเขาเป็นผู้ที่มีเกียรติ และอยู่ในระดับแนวหน้าของอิสลาม เราจึงหยุดยั้งในอันที่จะยื้อแย่งกับพวกเขา เพราะหวั่น

เกรงต่อศาสนาว่า พวกหลอกลวง(มุนาฟิก)กับพลพรรคต่างๆ ของศัตรูจะเห็นว่าในเรื่องนี้มีการฉ้อฉล แล้วพวกเขาจะถือโอกาสแทรกแซง หรือไม่ก็จะทำให้เรื่องนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่พวกเขาสามารถสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่ศาสนาได้

บัดนี้มุอาวิยะฮฺ เอ๋ย มันเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจจริงๆ สำหรับการฉกฉวยของเจ้าที่มีต่อกิจการที่เจ้าไม่มีสิทธิ ไม่มีแม้แต่เกียรติทางศาสนา ไม่มีอะไรที่จะเป็นผลงานอันน่ายกย่องในอิสลาม

เจ้าเป็นเพียงบุตรของพรรคๆ หนึ่งในบรรดาพรรคทั้งหลาย เป็นบุตรของชาวกุเรชคนหนึ่งที่เป็นศัตรูของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)แต่ทว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะประทานความพ่ายแพ้แก่เจ้าแล้วเจ้าจะตกต่ำ เจ้าจะรู้ว่าสถานะในบั้นปลายที่ดีจะเป็นของใคร

๕๕

ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) เจ้าจะได้รับโชคผลจากพระผู้อภิบาลของเจ้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ต่อจากนั้นเจ้าจะต้องเสียใจในสิ่งที่เจ้าได้กระทำลงไป ด้วยมือของเจ้าเอง และอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะไม่ทรงอธรรมแต่ประการใดกับปวงบ่าวของพระองค์

แท้จริงท่านอิมามอะลี(ขอให้อัลลอฮฺทรงประทานความปิติชื่นชมแก่ท่าน) ไม่เคยล่วงเกินวิธีทางของพระองค์ ความเมตตาของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)มีต่อเขาในวันที่เขาจบชีวิต และในวันที่อัลลอฮฺ ( ซ.บ.) ให้ความโปรดปรานแก่เขาด้วยอิสลาม และในวันที่เขาจะฟื้นคืนชีพ บรรดามุสลิมมอบหมายภารกิจภายหลังจากเขาให้แก่ข้า

ดังนั้นข้าขอวิงวอนต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ว่าโปรดอย่าเพิ่มสิ่งที่ไม่คงทนในโลกนี้ให้แก่เราด้วยประการใดๆ อันเป็นการบั่นทอนต่อเราซึ่งเกียรติคุณอันดีงามของพระองค์ในปรโลก

อันที่จริงแล้ว ที่ข้าเขียนจดหมายถึงเจ้าก็เนื่องจากความรับผิดชอบในสิ่งที่มีอยู่ระหว่างข้ากับอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ในกรณีของเจ้าและสำหรับข้าในข้อนี้

ถ้าหากเจ้ากระทำก็จะมีโชคดีสำหรับชีวิต และจะเป็นผลดีแก่มวลมุสลิม ดังนั้นจงหยุดยั้งการล่วงละเมิดในสิ่งผิด และจงเข้ามาสู่หนทางที่ประชาชนทั้งหลายเข้ามา

อันได้แก่การให้สัตยาบันต่อข้า เพราะเจ้าเองก็ทราบดีว่า ข้าเป็นผู้มีสิทธิ์ในกิจการอันนี้มากกว่าเจ้าตามทัศนะของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และของทุกคนที่มีความคิดอ่าน และที่มีหัวใจยินยอมต่อพระองค์ จงสำรวมตนต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) และจงละเว้นการละเมิด จงสงวนไว้ซึ่งเลือดเนื้อของมวลมุสลิม

๕๖

ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ความดีที่เจ้าจะได้รับในยามที่เจ้าเข้าพบกับอัลลอฮฺ(ซ.บ.) โดยสงวนเลือดเนื้อพวกเขานั้น ย่อมมีมากกว่าในยามที่เจ้าเข้าพบพระองค์เพราะเหตุของมัน

ดังนั้นจงเข้ามาสู่ความสันติและการเชื่อฟังปฏิบัติตาม และจงอย่ายื้อแย่งหน้าที่ที่มีคนเป็นเจ้าของซึ่งเขาเป็นคนแรกที่มีสิทธิในหน้าที่นั้นมากกว่าเจ้า เพื่อที่ว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงดับกองเพลิงไปเพราะเรื่องนี้ และเพื่อให้สังคมส่วนรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีความสมานฉันท์ระหว่างกัน แต่หากเจ้า

ปฏิเสธ เจ้าก็มีแต่หลงใหลไปในความมัวเมาของเจ้าเอง ข้าก็จะล้อมกรอบเจ้าด้วยบรรดามุสลิม แล้วจะพิพากษาเจ้าจนกว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงตัดสินระหว่างเราทั้งสอง พระองค์คือผู้ทรงพิพากษาที่ประเสริฐยิ่ง(๑)

------------------------------------------------------------

( ๑) มะกอติลุฎ-ฎอลิบีนยีน หน้า ๓๗

๕๗

จดหมายฉบับที่ ๒.

เมื่อครั้งที่มุอาวิยะฮฺทราบข่าวเกี่ยวกับการวายชนม์ของอะมีรุลมุมีนีน(อ) และข่าวการให้สัตยาบันต่อท่านอิมามฮะซัน(อ)บุตรชายของท่านอิมาม

อะลี(อ) โดยประชากรทั้งหลาย เขาได้ส่งชายคนหนึ่งในตระกูลอัล-ฮุมัยร์ไปสอดแนมยังเมืองกูฟะฮฺ และส่งอีกคนหนึ่งจากตระกูลบนี อัล-กีนไปสอดแนมยังเมืองบัศเราะฮฺเพื่อบันทึกเรื่องราวส่งไปให้เขา และให้ใส่ร้ายท่าน

อิมามฮะซัน(อ)

แล้วเขาก็ออกคำสั่งให้คนในตระกูลอัล-ฮุมัยร์ออกมาจากเมืองกูฟะฮฺ เมื่อออกมาแล้วเขาก็สั่งให้ประหารชีวิตเสีย และเขียนจดหมายไปยังเมือง

บัศเราะฮฺเพื่อเอาคนในตระกูลบนี อัล-กีนออกมา เมื่อออกมาแล้วเขาก็สั่งให้ประหารชีวิตเสียอีก ท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้เขียนจดหมายถึงมุอาวิยะฮฺว่า …

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ

ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาอยู่เป็นนิรันดร์

จากบ่าวของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) อัล-ฮะซัน(อ) บุตรของอะมีรุลมุมีนีน

ถึง มุอาวิยะฮฺ บินอะบีซุฟยาน

อัสลามุอะลัยกุม ……

อัมมาบะอฺดุ …… เจ้ายังส่งคนไปเพื่อสอดแนมและลอบสังหารผู้คนอีก และเจ้ายังจับตาสอดส่องราวกับว่า เจ้าชอบการเผชิญหน้าเหลือเกิน มีข่าวว่าเจ้าไม่สมหวัง เพราะเขามิได้เคืองแค้นกับผู้ที่มีข้อพิสูจน์

๕๘

อุปมาเรื่องของเจ้าในคราวนี้เหมือนอย่างกับคำของคนหนึ่งที่กล่าวว่า :

“ จงบอกคนที่ชอบขัดแย้งกับคนที่ล่วงลับไปแล้วว่าให้เตรียมตัวเพื่อพบกับสภาพที่เหมือนเดิมกับอีกคนหนึ่ง ” ( ๒)

------------------------------------------------------------

(๒ ) อัล - อิรชาด หน้า ๑๙๓

จดหมายฉบับที่ ๓.

ชาวบัศเราะฮฺส่งจดหมายถึงท่านฉบับหนึ่ง เพื่อขอความเห็นของท่าน

อิมามฮะซัน(อ) ในปัญหาทางวิชาการเรื่อง “ อัล-ญับร์ ”

( ความเชื่อที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปตามที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงลิขิตกำหนด)

ท่านอิมาม(อ)ได้ตอบเป็นจดหมายว่า

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ

ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาอยู่เป็นนิรันดร์

จากบ่าวของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) อัล-ฮะซัน(อ) บุตรของอะมีรุลมุมีนีน

ถึง ชาวบัศเราะฮฺ

อัสลามุอะลัยกุม ……

อัมมาบะอฺดุ …… ผู้ใดที่ไม่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)และต่อกฎการควบคุมของพระองค์ และการกำหนดของพระองค์เท่ากับเป็นผู้ปฏิเสธ แต่ใครโยนความบาปของตนให้แก่พระผู้อภิบาลก็เท่ากับเป็นคนทรยศ

๕๙

แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ไม่ทรงกระทำในสิ่งที่น่ารังเกียจ และไม่ล่วงละเมิดตามอารมณ์ เพราะพระองค์คือผู้ทรงครอบครองอาณาจักรของพวกเขาทั้งมวล เป็นผู้ทรงเดชานุภาพควบคุมความสามารถของพวกเขา กล่าวคือถ้าหากพวกเขากระทำในสิ่งที่ถูกต้อง พระองค์ก็จะไม่ละเลยเรื่องที่อยู่ระหว่างพวกเขากับสิ่งที่พวกเขากระทำ ดังนั้นถ้าหากพวกเขาไม่กระทำ พระองค์ก็มิได้บีบบังคับพวกเขาในเรื่องนั้นเลย กล่าวคือ ถ้าหากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงบีบบังคับปวงบ่าวให้กระทำในสิ่งที่ถูกต้อง แน่นอนรางวัลก็เป็นอันตกไปจากพวกเขา และถ้าหากทรงบีบบังคับพวกเขาให้กระทำความชั่ว แน่นอนการลงโทษก็ย่อมจะเป็นอันตกไปจากพวกเขาเช่นกัน แต่ถ้าหากทรงละเลยพวกเขาแล้วไซร้ แน่นอนก็เท่ากับพระองค์ทรงขาดสมรรถภาพในการควบคุมกำหนด แต่ในหมู่พวกเขาก็มีเจตนารมณ์ของพระองค์ซึ่งมันแฝงเร้นต่อพวกเขา กล่าวคือถ้าพวกเขากระทำในสิ่งที่ถูกต้อง มันก็จะเป็นความโปรดปรานแก่พวกเขาเอง แต่ถ้าหากพวกเขากระทำในสิ่งที่เป็นความชั่ว

มันก็จะเป็นข้อพิสูจน์สำหรับพวกเขา(๓)

--------------------------------------------------------------------

(๓) ญัมฮะเราะฮฺ รอซาอิล อัล - อะร็อบ เล่ม ๒ หน้า ๒๕

๖๐

สุภาษิต :

โอสถบำบัดโรค

ชีวิตของบรรดาอิมาม(อ)แห่งอะฮฺลุลบัยตฺนั้นคือ พลังที่นำมวลมุสลิมไปสู่วิถีทางของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และความปิติชื่นชมยังพระองค์และเป็นการเน้นให้มีการเชื่อฟังปฏิบัติตามพระองค์ กล่าวคือ บรรดาอิมาม(อ) เป็นสื่อในเรื่องเหล่านี้ทุกๆ วิถีทาง แบบแผนชีวิตของบรรดาอิมาม(อ)มิได้เป็นเพียงบทเรียนอย่างเดียวเท่านั้น หากยังหมายความไปถึงคำปราศรัย พินัยกรรม คำสั่งเสีย

จดหมาย ดังที่บรรดานักประวัติศาสตร์ได้ รวบรวมถ้อยคำของพวกท่านมาบันทึกไว้โดยสังเขป

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.)พระองค์ทรงเป็นพยานได้ว่า

ไม่มีเรื่องราวของผู้ใดมีรายละเอียดเสมอเหมือนกับบรรดาท่านเหล่านั้น เรื่องราวเหล่านี้คือ คลังแห่งคำสอน และเป็นโอสถหลายขนานสำหรับบำบัดรักษาโรคต่าง ๆ ทางสังคมของพวกเรา และเป็นการเรียกร้องเชิญชวนสู่สัจธรรมและความดีงาม

ในบทนี้เราจะเสนอสุภาษิตบางประการจากถ้อยคำของท่านอิมามฮะซัน(อ) ดังนี้

1. จงอย่าเร่งให้ความบาปต้องพบกับบทลงโทษ แต่จงหาวิธีทางอย่างใดอย่างหนึ่งมาแก้ไขในระหว่างนั้น

2. การหยอกล้อจะกัดกร่อนบารมี แต่การเพิ่มบารมีอยู่ที่การนิ่งเงียบ

3. โอกาสที่ดีมักจะจากไปอย่างรวดเร็ว และกลับมาช้าเสมอ

๖๑

4. ความสุขจะไม่เป็นที่รับรู้เสมอในยามที่มันมีอยู่ แต่มันจะเป็นที่รู้จักทันทีที่มันจากไป

5. จะปรึกษาหารือกับคนกลุ่มใดก็จะเป็นไปตามแนวชี้นำของคนกลุ่มนั้น

6. คนเลวย่อมไม่รู้คุณของความดีงาม

7. ความดีที่ไม่มีความชั่วใดๆ แอบแฝงได้แก่ การรู้คุณค่าของความโปรดปราน และอดทนต่อความทุกข์ยาก

8. ความอับอายยังให้ความเจ็บน้อยกว่าไฟนรก

9. มนุษย์จะวิบัติด้วยเหตุ 3 ประการ การทะนงตัว ความโลภ

และการริษยา

การทะนงตัว คือ การทำลายศาสนา และด้วยเหตุนี้เองอิบลิสจึงถูกสาปแช่ง

ความโลภคือ ศัตรูของตนเองและด้วยเหตุนี้ที่อาดัม(อ)ถูกขับออกจากสวรรค์

การริษยาคือ ที่ตั้งของความชั่ว และด้วยเหตุนี้ที่กอบีลสังหารฮาบีล

๖๒

10. ไม่มีการมีมารยาทใดสำหรับคนที่ไร้ปัญญา ไม่มีลักษณะของชายชาตรีสำหรับคนที่ไม่มีความมุ่งมั่นเอาจริงเอาจัง ไม่มีความละอายใดสำหรับคนที่ไม่มีศาสนา สุดยอดแห่งการมีปัญญาคือการพบปะพูดคุยกับผู้คนด้วยลักษณะที่สวยงาม ด้วยกับปัญญาเท่านั้นที่จะเข้าถึงซึ่งโลกทั้งสอง ผู้ใดที่ไม่ใช้สติปัญญา เขาก็จะไม่สามารถเข้าถึงซึ่งโลกนี้ และโลกหน้า(1)

11. จริยธรรมที่สูงสุดยอดมี 10 ประการ

( 1) รักษาสัจจะไว้โดยวาจา

( 2) รักษาสัจจะไว้โดยความเดือดร้อน

( 3) บริจาคแก่ผู้ขอ

( 4) มีมารยาทที่ดีงาม

( 5) มีความบากบั่นในการทำงาน

( 6) มีไมตรีต่อญาติมิตร

( 7) มีเมตตาธรรมต่อเพื่อนบ้าน

( 8) รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น

( 9) ให้เกียรติต่อแขก

( 10) หัวใจของสิ่งเหล่านี้คือความละอาย

12. การสูญเสียสิ่งที่ต้องการดีกว่าการขอจากคนที่มิได้เป็นเจ้าของในสิ่งนั้นจริง(2)

๖๓

13. ฉันไม่เห็นผู้อธรรมคนใดที่ละม้ายคล้ายคลึงกับผู้ถูกอธรรม มากกว่าผู้ที่อิจฉาริษยา

( หมายความว่า ผู้มีจิตอิจฉาริษยานั้นมีสภาพเป็นทั้งผู้อธรรม (ต่อผู้อื่น) และตัวเองก็ถูกอธรรมจากการอิจฉาริษยานั้น)(3)

14. จงเอาความรู้ของเจ้าสอนผู้อื่นและจงศึกษาความรู้จากคนอื่น เมื่อนั้นความร้อนของเจ้าจะแข็งแกร่ง และเจ้าจะรู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้(4)

15. แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงรำลึกถึงเจ้าอยู่ ดังนั้นเจ้าจงรำลึกถึงพระองค์ และทรงเลี้ยงดูเจ้าอยู่ ดังนั้นจงขอบคุณต่อพระองค์

16. ถ้ากิจกรรมอันเป็นนะวาฟิล(ที่ควรแก่การกระทำ)จะทำลายกิจกรรมอันเป็นวาญิบ ( ข้อบังคับ) เจ้าก็จงละทิ้งนะวาฟิลนั้นเสีย

17. ผู้ใดที่เตือนสติตัวเองอยู่เสมอ หลังจากการเดินทางเขาก็ถูกยอมรับ

18. ระหว่างพวกเจ้ากับคำตักเตือน แท้จริงมันคือม่านแห่งเกียรติยศ

19. ใครที่แสวงหาการเคารพภักดี เขาก็จะได้รับการขัดเกลา

20. การตัดขาดจากความรู้ คือข้อบกพร่องของผู้ศึกษาเล่าเรียน(5)

21. สิ่งที่ดีที่สุดของความดีงามคือมารยาทที่ดี(6)

๖๔

----------------------------------------------------

(1 ) อะอฺยานุช - ชีอะฮฺ 4 กอฟ 107 / 1

(2 ) อัลฮะซัน บินอะลี ของอัลดุล - กอดิร อะหมัด อัล - ยูซุฟ ห้า 60

(3 ) มะฏอลิบุซซุอุล หน้า 69 พิมพ์ครั้งที่ 1

(4 ) กัซฟุล - ฆุมมะฮฺ หน้า 170

(5 ) ตะฮัฟฟุล - อุกูล หน้า 169

(6 ) อัล - คิศอล หน้า 29

คำตอบอันชาญฉลาดของท่านอิมามฮะซัน(อ)

ในบทนี้เราขอนำเสนอการตอบปัญหาของท่านอิมามฮะซัน(อ)ในเรื่องที่เกี่ยวกับอัคลาค ( จริยธรรมอันดีงาม) การรู้จักพระผุ้เป็นเจ้าและกิริยามารยาทอันงดงาม คำตอบของท่านอิมาม (อ) นี้

ท่านจะไม่เห็นมันในหนังสือเล่มอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอัคลาค หรือแม้แต่หนังสือของนักปราชญ์แห่งอิสลามเลย บางปัญหาที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ บิดาของท่านคือท่านอะลี อะมีรุลมุมินีน(อ) ได้เคยถามท่านอิมามฮะซัน(อ)แล้ว ท่านก็กล่าวถึงความประเสริฐอันสูงส่งของท่านอิมาม(อ) ยกย่องต่อตำแหน่งอันสูงสุดของท่านอิมาม(อ) อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความดีงามเป็นพิเศษของท่าน

ดูเหมือนว่าบางคำถามยากมากถึง ขนาดที่ว่าไม่น่าจะมีคำตอบเลยเกี่ยวกับคำถามนั้น เช่นคำถามของกษัตริย์โรมัน ซึ่งมันไม่เป็นการง่ายเลยที่จะตอบคำถามเหล่านั้น แต่ทว่าบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)นั้น พวกเขาได้รับการเรียนรู้และการสั่งสอนมาจากบรรพบุรุษของเขา ซึ่งมาจากท่านญิบรออีล อันได้รับมาจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)นั่นเอง

๖๕

เราจะกล่าวถึง บางคำตอบของท่านอิมามฮะซัน(อ)สำหรับคำถามต่าง ๆ ในบางเรื่อง ณบัดนี้

ถาม-ตอบ เรื่องที่ 1.

ท่านอะลี อะมีรุลมุมินีน(อ)ผู้เป็นบิดาของท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้ถามลูกของท่านดังนี้

ถาม “ โอ้ ลูกรัก สิ่งกีดขวาง คืออะไร? ”

ตอบ “ สิ่งกีดขวางก็ คือ การป้องกันความเลวร้ายด้วยการกระทำความดี ”

ถาม “ การมีเกียรติ คืออะไร? ”

ตอบ “ คือการดูแลวงศาคนาญาติ และการยอมรับความผิด ”

ถาม “ ความเป็นชายชาตรี คืออะไร ?”

ตอบ “ คือการรู้จักหักห้ามใจตัวเอง และการรู้จักใช้ทรัพย์สิน ”

ถาม “ ความเลวทราม ต่ำช้า คืออะไร ?”

ตอบ “ การพิจารณาแบบมักง่าย และขัดขวางผู้ต่ำต้อย ”

ถาม “ สิ่งที่น่ายกย่องคืออะไร ?”

ตอบ “ การอุตสาหพยายามทั้งในยามลำเค็ญและยามสุขสบาย ”

ถาม “ การตระหนี่ คืออะไร ?”

ตอบ “ คือการที่ท่านเห็นสิ่งที่มีอยู่ในมือเป็นความสิ้นเปลือง

(ถ้าจะจ่ายไป) ส่วนสิ่งที่จ่ายไปแล้วถือเป็นความสูญเสีย ”

ถาม “ ภราดรภาพคืออะไร ?”

ตอบ “ ความซื่อสัตย์ต่อสัญญาทั้งในยามทุกข์ยากและเดือดร้อน ”

๖๖

ถาม “ ความขี้ขลาดคืออะไร ?”

ตอบ “ กล้าต่อกรกับเพื่อนฝูง แต่หนีจากศัตรู ”

ถาม “ สิ่งที่ถือว่าเป็นโชคดีคืออะไร ?”

ตอบ “ ความปรารถนาในการสร้างตักฺวา และการอยู่ตามสมควรในโลกนี้ ”

ถาม “ ความอดทน อดกลั้นคืออะไร ?”

ตอบ “ การระงับความโกรธ และควบคุมตนเองได้ ”

ถาม “ ความร่ำรวยคืออะไร ”

ตอบ “ ความพึงพอใจต่อสิ่งที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) จัดสรรให้แม้เพียงน้อยนิด อันที่จริงแล้วความร่ำรวยก็คือจิตใจที่รู้จักพอ ”

ถาม “ ความยากจนคืออะไร ?”

ตอบ “ ความปรารถนา อยากได้ในทุกสิ่ง ”

ถาม “ อุปสรรคคืออะไร ?”

ตอบ “ ความทุกข์ยากแสนลำเค็ญ ”

ถาม “ ความทุกข์คืออะไร ?”

ตอบ “ คำพูดของท่านไม่ได้ให้ความหมายอะไรแก่ตัวท่านเลย ”

ถาม “ ความสง่างามคืออะไร ?”

ตอบ “ การให้แม้อยู่ในสภาพมีหนี้สิน ”

ถาม “ ความรับผิดชอบอยู่ที่ไหน ?”

ตอบ “ การพูดในสิ่งที่มิได้พิสูจน์ ”

ถาม “ ความดีคืออะไร ?”

ตอบ “ การให้ในยามที่ถูกฉ้อฉล และอภัยในยามที่ถูกประทุษร้าย ”

๖๗

ถาม-ตอบ เรื่องที่ 2

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ถูกถามถึงของสิบชนิดที่มีบางชนิดแข็งแกร่งกว่าอีกชนิดหนึ่ง

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ตอบว่า

“ สิ่งที่แข็งแกร่งที่สุดที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงสร้างมาคือหิน และสิ่งที่แข็งยิ่งกว่ามันก็คือเหล็ก หินจะถูกตัดด้วยกับเหล็ก สิ่งที่แข็งแกร่งยิ่งกว่าเหล็กก็คือไฟ เพราะมันจะหลอมละลายเหล็ก สิ่งที่มีอานุภาพมากกว่าไฟก็คือน้ำ สิ่งที่เหนือกว่าน้ำก็คือก้อนเมฆ สิ่งที่เหนือกว่าก้อนเมฆก็คือลม ซึ่งมันจะพัดพาก้อนเมฆไป สิ่งที่มีอำนาจเหนือกว่าลมก็คือ มะลาอิกะฮฺที่ทำหน้าที่ดูแลเรื่องลม สิ่งที่มีอำนาจเหนือกว่ามะลาอิกะฮฺองค์นั้นก็คือ “ มะลิกุ้ลเม้าตฺ ” ที่ทำหน้าที่ปลิดวิญญาณของมะลาอิกะฮฺองค์นั้น สิ่งที่เหนือกว่า “ มะลิกุ้ลเม้าตฺ ” ก็คือ “ ความตาย ” ซึ่งมันจะปลิดชีวิตของ “ มะลิกุ้ลเม้าตฺ ” เอง

แต่สิ่งที่มีอานุภาพเหนือความตายก็คือคำสั่งของ “ อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ” ที่จะฝังความตายเอาไว้ ”

ถาม-ตอบเรื่องที่ 3.

ท่านอิมาม(อ)ถูกถามจากบุคคลหนึ่งว่า

ถาม “ ใครเป็นผู้ใช้ชีวิตได้ดีเลิศที่สุดในหมู่มนุษย์ ”

ตอบ “ ผู้ที่ให้มนุษย์มีส่วนร่วมในการใช้ชีวิตของเขา ”

ถาม “ ใครเป็นผู้ดำรงชีวิตที่เลวที่สุด ”

ตอบ “ คือผู้ที่ไม่ปล่อยให้ใครเข้ามาร่วมในการใช้ชีวิตของเขาเลย แม้แต่คนเดียว ” ( 1)

( 1) อัล-ฮะซัน บินอะลี ของอับดุล-กอดิร อะฮฺมัด อัล-ยูซุฟ หน้า 62

๖๘

ถาม-ตอบเรื่องที่ 4.

มุอาวิยะฮฺ ถามท่านอิมามฮะซัน(อ)ว่า

“ โอ้ อะบามุฮัมมัด มีอยู่สามสิ่งที่ฉันไม่พบว่า จะมีใครอธิบายมันให้ฉันฟังได้เลย ”

ท่าน(อ) ถามว่า “ เช่นอะไรบ้าง ?”

เขาตอบ “ ความเป็นชายชาตรี เกียรติยศ และความเอื้อเฟื้อ ”

ท่านอิมาม(อ) ตอบว่า

“ ความเป็นชายชาตรีก็คือการที่ชายคนนั้นแก้ไขปรับปรุงตัวในเรื่องกิจการศาสนา และการดำรงไว้ซึ่งทรัพย์สินที่ดีงาม มีการให้ทาน และทักทายด้วยสลาม ให้ความรักใคร่ต่อคนทั้งหลายเกียรติยศหมายถึงการให้ก่อนได้รับการร้องขอ มีคุณธรรมเป็นกุศล ให้อาหารเป็นทาน ความเอื้อเฟื้อคือ มีความกลมเกลียวกับญาติ ปกป้องคุ้มครองกันในยามที่ถูกภาวะที่ถูกรังเกียจ อดทนในยามที่ได้รับความเดือดร้อน ” ( 2)

( 2) ตารีคอัล-ยะอฺกูบี เล่ม 2 หน้า 215

ถาม-ตอบเรื่องที่ 5.

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ถูกถามถึง “ เรื่องการนิ่งเงียบว่าเป็นอย่างไร ?”

ท่าน(อ)ตอบว่า “ การนิ่งเงียบที่ถูกต้องหมายถึง การปกปิดความลับ การตบแต่งรูปโฉมภายนอก กระทำสิ่งหนึ่งอย่างสบายใจ ผู้ที่ร่วมพูดคุยอยู่ด้วยรู้สึกปลอดภัย ” ( 3)

( 3) มะฏอลิบุซ-ซุอูล หน้า 69

๖๙

ถาม-ตอบเรื่องที่ 6

กษัตริย์แห่งโรมเขียนจดหมายถึงมุอฺาวิยะฮฺ ถามปัญหาสามข้อคือ

1- สถานที่ที่เป็นกึ่งกลางของท้องฟ้า

2- เลือดหยดแรกที่ตกบนโลก

3- สถานที่ขึ้นของดวงอาทิตย์

เขาไม่สามารถให้คำตอบได้ จึงขอร้องให้ท่านอิมามฮะซัน(อ)ช่วยตอบปัญหานี้

ท่าน(อ)ตอบว่า “ กึ่งกลางของท้องฟ้าอยู่ที่ “ อัล-กะอฺบะฮฺ ” เลือดหยดแรกคือเลือดของท่านหญิง “ เฮาวาอ์ ” สถานที่ขึ้นของดวงอาทิตย์คือดินแดนแห่งทะเลที่ท่านนบีมูซา (อ) ใช้ไม้เท้าฟาด ” ( 4)

( 4) อัล-มะนากิบ เล่ม 2 หน้า 152

ถาม-ตอบเรื่องที่ 7

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้ตอบคำถามกษัตริย์แห่งโรมอีกครั้งหนึ่งที่ถามท่านว่า “ อะไรที่ไม่มีทิศทางสำหรับตน ใครที่ไม่มีญาติสำหรับเขา ?”

ท่าน(อ)ตอบว่า “ ที่ไม่มีทิศทางสำหรับตนคืออัล-กะอฺบะฮฺ ผู้ที่ไม่มีเครือญาติสำหรับเขาคือพระผู้อภิบาล ” ( 5)

(5 ) อัล - มะนากิบ เล่ม 2 หน้า 152

๗๐

ถาม-ตอบเรื่องที่ 8.

ชาวชาม(ซีเรีย)คนหนึ่งถามท่านอิมามฮะซัน(อ)

ถาม “ ความห่างกันระหว่างสัจธรรมกับความไม่ถูกต้องมีมากน้อยเพียงใด ?”

ตอบ “ ห่างกันสี่นิ้วมือ กล่าวคือ อะไรที่ท่านเห็นด้วยตานั่นคือสัจธรรม ส่วนอะไรที่ได้ยินกับหูอันนั้นส่วนมากจะไม่ถูกต้อง ”

ถาม “ ความห่างกันระหว่างความศรัทธา (อีหม่าน) กับความเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่ (ยะกีน) มีเท่าใด ?”

ตอบ “ ห่างกันสี่นิ้วมือ กล่าวคือความศรัทธาคือเชื่อในสิ่งที่ได้ยินมา ส่วนความเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่นั้นคือเชื่อในสิ่งที่เห็นมา ”

ถาม “ ระหว่างฟ้ากับพื้นดินห่างกันเท่าไหร่ ?”

ตอบ “ เท่ากับเสียงร้องเรียกของคนที่ถูกอธรรม กับการทอดสายตาไปมอง ”

ถาม “ ทิศตะวันออกกับทิศตะวันตกห่างกันเท่าใด ?”

ตอบ “ เท่ากับระยะทางเดินของดวงอาทิตย์ ” ( 6)

(6 ) อัล - มะนากิบ เล่ม 2 หน้า 152

๗๑

ถาม-ตอบเรื่องที่ 9.

ครั้งหนึ่งท่านอิมามฮะซัน(อ)นั่งอยู่ในมัสญิด มีประชาชนอยู่รายล้อมท่าน มีชายคนหนึ่งก้าวเข้ามาในมัสญิด แล้วเขาก็พบว่ามีคนๆ หนึ่งกำลังพูดถึงท่านศาสนทูต(ศ)อยู่ ซึ่งมีผู้คนนั่งอยู่ด้วย เขาก็เดินไปหาชายคนนั้นแล้วถามว่า

“ จงบอกฉันซิว่า ใครคือชาฮิด(ผู้เป็นพยาน) และใครคือมัชฮูด(ผู้ได้รับการเป็นพยาน) ”

ชายคนที่หนึ่งตอบว่า

“ ชาฮิดหมายถึงวันศุกร์ มัชฮูดหมายถึงวันอะร่อฟะฮฺ ”

ชายคนนั้นก็เดินไปถามชายคนที่สองที่ในมัสญิดด้วยว่า

“ ชาฮิดและมัชฮูดหมายถึงอะไร ?”

ชายคนที่ถูกถาม ตอบว่า

“ ชาฮิดคือวันศุกร์ ส่วนมัชฮูดคือวันแห่งการเชือดกุรบานในพิธีฮัจญ์ ”

เขาจึงเดินไปถามชายคนที่สามในปัญหาเดียวกัน

ชายคนที่สามตอบว่า

“ ชาฮิดหมายถึง ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ส่วนมัชฮูดหมายถึงวันฟื้นคืนชีพ ; ดังที่ฉันได้ยินโองการของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ที่ว่า:

“ โอ้ผู้เป็นนบี แท้จริงเราได้ส่งเจ้ามาเพื่อเป็นสักขีพยาน(ชาฮิด) เป็นผู้แจ้งข่าวดี และเป็นผู้ตักเตือนให้ระวังภัย ”

๗๒

และโองการที่ว่า :

“ วันนั้นที่เป็นศูนย์รวมของประชาชน และนั่นคือวันที่ได้รับการเป็นพยานยืนยัน(มัชฮูด) ”

ชายผู้ตั้งคำถามได้ถามคนทั้งหลายว่า “ พวกเขาสามคนคือใคร ?”

คนที่อยู่ในมัสญิดตอบว่า “ ชายคนแรกคือท่านอิบนุอับบาส ชายคนที่สองคือ ท่านอิบนุอุมัร ชายคนที่สามคือท่านอิมามฮะซัน บุตรของอะลี อิบนิ

อะบีฏอลิบ (อ) ” ( 7)

(7 ) นูรุล - อับศ็อร หน้า 173

ถาม-ตอบเรื่องที่ 10.

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ถูกถามเกี่ยวกับเรื่องการเมือง

ท่าน(อ)ตอบว่า “ การเมือง คือการที่ท่านจะต้องดูแลรักษาส่วนที่เป็นสิทธิของอัลลอฮฺ สิทธิของคนที่มีชีวิตอยู่ และสิทธิของคนที่ตายไปแล้ว

ในส่วนที่เป็นสิทธิของอัลลอฮฺนั้น หมายถึงท่านจะต้องปฏิบัติในสิ่งที่พระองค์ทรงใช้ และหลีกห่างจากสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม

ในส่วนที่เป็นสิทธิของคนที่มีชีวิต ก็คือท่านจะต้องดำรงไว้ซึ่งสิทธิหน้าที่ของท่านเพื่อพี่น้อง ประชาชนของท่าน อย่าล่าช้าจากการรับใช้เหล่าข้าบริวารของท่าน และจะต้องทำหน้าที่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ต่อผู้ปกครอง

เท่าๆ กับที่ทำหน้าที่อย่างบริบูรณ์ต่อข้าทาษบริวาร ต้องสลัดทิ้งความชิงชังออกไปในยามประสบกับอุปสรรคในเส้นทางที่ราบเรียบ

๗๓

ในส่วนที่เป็นสิทธิของผู้ตายนั้น ก็คือจะต้องรำลึกถึงความดีงามของเขาและโกรธคนที่มุ่งร้ายต่อเขา ดังนั้นสำหรับพวกเขาแล้วมีพระผู้อภิบาลทำหน้าที่ตัดสินตอบแทนอยู่ ” ( 8)

(8 ) ฮะยาตุล - อิมามฮะซัน บินอะลี ( อ ) ของอัล - กุรชี เล่ม 1 หน้า 143

ถาม-ตอบเรื่องที่ 11.

มุอาวิยะฮฺได้ถามท่านอิมามฮะซัน(อ) ว่า

“ อะไรที่จำเป็นบ้างในเรื่องการปกครองของเรา ?”

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ตอบว่า

“ มันคือเรื่องที่ท่านนบีซุลัยมาน(อ) บุตรของนบีดาวูด(อ)ได้กล่าวไว้ ”

มุอาวิยะฮฺ ถามว่า

“ ท่านนบีซุลัยมาน(อ)กล่าวไว้อย่างไร ?”

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ตอบว่า

“ ท่านนบี(อ)กล่าวกับสาวกคนหนึ่งของท่านว่า :

“ เจ้ารู้หรือไม่ว่า หน้าที่ที่จำเป็นสำหรับกษัตริย์ในการปกครองคืออะไรบ้าง และอะไรบ้างที่ไม่เป็นอันตรายแก่เขาในยามที่เขาปฏิบัติ

นั่นคือ เขาต้องยำเกรงต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทั้งในยามลับและในยามเปิดเผย ต้องยุติธรรมทั้งในยามโกรธและยามพึงพอใจ ต้องเข้าหาทั้งคนยากจนและคนร่ำรวย ต้องไม่แสวงหาทรัพย์สินในทางมิชอบ ต้องไม่ใช้จ่ายทรัพย์สินอย่างฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย สิ่งบำเรอความสุขทางโลกจะต้องไม่นำอันตรายมาสู่เขา ในยามที่เขาอยู่ตามลำพัง ” ( 9)

(9 ) ตารีคอัล - ยะอฺกูบี เล่ม 2 หน้า 202

๗๔

ถาม-ตอบเรื่องที่ 12.

ครั้งหนึ่งท่านอิมามฮะซัน(อ)กำลังเวียนฏ่อว๊าฟบัยตุลลอฮฺอยู่ มีชายคนหนึ่งเข้ามาถามท่านว่า

“ คำว่าอัล-ญะวาด(ผู้เอื้ออารี) หมายความว่าอย่างไร ?”

ท่านอิมาม(อ)ตอบว่า “ คำถามของท่านมีความหมายสองแง่ กล่าวคือ

ถ้าถามในแง่ของผู้ถูกสร้าง อัล-ญะวาด หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างสมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ข้อบังคับที่มีต่อตัวเอง เพราะคนตระหนี่หมายถึงคนที่ตระหนี่ในสิ่งที่เป็นหน้าที่และข้อบังคับของตัวเอง แต่ถ้าท่านถามในแง่ของผู้สร้าง อัล-ญะวาดหมายถึงผู้ที่จะประทานให้ก็ได้ ไม่ให้ก็ได้ เพราะว่าถึงแม้พระองค์จะให้อะไรแก่บ่าวคนหนึ่ง พระองค์ก็ให้แก่เขาซึ่งสิ่งของที่มิได้เป็นของเขา และถ้าพระองค์จะไม่ประทานให้ ก็เป็นสิทธิของพระองค์เพราะสิ่งนั้นก็มิได้เป็นของเขาเหมือนกัน ” ( 10)

(10 ) ฮะยาตุล - อิมามฮะซัน บินอะลี ของอัลกุรชี เล่ม 1 หน้า 144

ถาม-ตอบเรื่องที่ 11.

ชายคนหนึ่งถามท่านอิมามฮะซัน(อ)ว่า

“ โอ้บุตรของท่านศาสดา โปรดกล่าวถึงคุณลักษณะของพระผู้อภิบาลให้ฉันฟัง ให้เหมือนกับที่ฉันกำลังมองเห็นพระองค์ซิ ”

๗๕

ท่านอิมาม(อ)สะดุ้งเล็กน้อย แล้วแหงนศีรษะขึ้นมาพลางกล่าวว่า

“ ข้าขอสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ พระองค์ไม่มีการเริ่มต้นตามที่เข้าใจกัน พระองค์ไม่มีสภาวะสุดท้ายอันเป็นที่สิ้นสุด ไม่มีอะไรมีมาก่อน

ไม่มีขอบเขตใดๆ อยู่ข้างหลัง ไม่มีระยะทางเพื่อไปหา

ไม่เป็นเรือนร่างเพื่อแยกส่วน ไม่มีความแตกต่างกันในคุณลักษณะ

หนึ่งๆ ที่ยุติได้ ไม่มีปัญญาใดเข้าถึงและวาดมโนภาพได้ ไม่ปรากฏบนสิ่งใดๆ และไม่แอบแฝงภายในสิ่งใดๆ ไม่ทอดทิ้งอะไรโดยไม่มีพระองค์ทรงสร้างสิ่งนั้น แล้วทรงให้การเริ่มต้นอันวิจิตรพิศดาร ทรงให้ความพิศดารแก่สิ่งที่ทรงให้การเริ่มต้น และทรงกระทำตามที่พระองค์ทรงประสงค์ นี่คือพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ” ( 11)

(11 ) อัต - เตาฮีด หน้า 46

ถาม-ตอบเรื่องที่ 14.

มีเรื่องเล่าว่า ท่านอิมามฮะซัน(อ) อาบน้ำแล้วออกจากบ้านอย่างสง่าผ่าเผย เรือนร่างทุกส่วนสะอาด มีพาหนะเดินทางที่ดี มีเสบียงเป็นสัดส่วนอย่างเรียบร้อย ใบหน้าของท่านผ่องใส บุคลิกลักษณะของท่านมีสง่าราศีบริบูรณ์งามเด่น ให้การต้อนรับคนทั้งหลายด้วยความปราณียิ้มแย้มแจ่มใส เบิกบาน มีผู้ตัดสินแล้วว่าความสุขอยู่ที่ความยุติธรรมของท่าน

ท่านขี่ม้าตัวใหญ่ที่สมบูรณ์ ท่านเดินไปท่ามกลางการต้อนรับเป็นแถวเรียงราย ถ้าหากท่านอับดุลมะนาฟ(ปู่ทวดของท่าน) ได้เห็นท่านคงอดไม่ได้ที่จะต้องภาคภูมิใจบรรพบุรุษทั้งหลายของท่านจะต้องปลาบปลื้มเป็นล้นพ้น

๗๖

ในเส้นทางที่ท่านเดินมีชาวยิวที่แร้นแค้นคนหนึ่งพำนักอยู่ เขาประสบความล้มเหลวด้วยสาเหตุต่างๆ มีความเป็นอยู่ที่ตกต่ำ รายได้น้อย ขาดแคลนอาหารถึงขนาดหนังหุ้มติดกระดูก อ่อนระโหยโรยแรงถึงขนาดทรงตัวเกือบไม่ได้ และเลวยิ่งกว่านั้นสิ่งที่เขารักคือนกพิราบตัวหนึ่ง ยามดวงอาทิตย์ขึ้นแดดก็แผดเผาจนไหม้เกรียม ความเป็นอยู่ของเขาสุดแสนทรมาน เป็นอยู่อย่างนี้มานานแสนนาน เขาถือถังน้ำที่เต็มปริ่ม ในขณะนั้นหัวใจของเขาแข็งกร้าว เมื่อได้แลเห็นคนๆ หนึ่งปรากฏว่าท่านอิมาม(อ)หยุดยืนอยู่ต่อหน้าเขา เขากล่าวว่า

“ ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ จงให้ความเป็นธรรมต่อฉันด้วย ”

ท่านอิมาม(อ)ย้อนถามว่า “ เรื่องอะไรหรือ ?”

เขาตอบว่า “ ท่านตาของท่านเคยกล่าวว่า “ โลกนี้คือคุกของผู้ศรัทธา แต่เป็นสวรรค์ของผู้ปฏิเสธ (กาฟิร) ”

“ ในเมื่อท่านเป็นผู้ศรัทธา ส่วนฉันเป็นผู้ปฏิเสธ แล้วไฉนฉันจึงเห็นว่าโลกนี้เป็นสวรรค์สำหรับท่าน ท่านช่างมีความสุขและมีความอิ่มเอิบกับรสชาดของมันเสียเหลือเกิน แต่ดูไปแล้วมันกลับเป็นคุกสำหรับฉันเสียมากกว่า เพราะมันทำลายชีวิตฉันเสียยับเยิน มันให้แต่ความยากจนข้นแค้นแก่ฉันตลอดมา ”

เมื่อท่านอิมาม(อ)ได้ยินเช่นนั้น ท่านก็อธิบายให้ความสว่างแก่เขา โดยเผยคำตอบออกมาจากความรู้อันเปรียบดังขุมคลังแห่งความรู้ของท่าน

๗๗

ท่านอธิบายให้แก่ชาวยิวผู้เข้าใจผิดคนนั้นว่า

“ โอ้ท่านผู้อาวุโส ถ้าหากท่านได้แลเห็นสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงสัญญาไว้กับฉันและบรรดาผู้ศรัทธาไว้ในปรโลก อันเป็นสิ่งที่สายตามองไม่เห็น หูไม่ได้ยิน แน่นอนที่สุดท่านจะรู้ได้เลยว่า ชีวิตในโลกนี้ก่อนที่ฉันจะย้ายไป มันเป็นเพียงแค่สถานที่กักกันเท่านั้น และถ้าหากท่านสามารถมองเห็น

สิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)สัญญาไว้กับท่านและผู้ปฏิเสธทุกคนในปรโลกแล้วไซร้ จะเห็นว่ามันคือไฟนรกอันร้อนแรงลุกโชติช่วง เป็นการลงโทษอันถาวรแน่นอนที่สุด ท่านต้องจะเห็นว่า โลกที่ท่านอาศัยอยู่ขณะนี้คือสวรรค์อันกว้างใหญ่ มีศูนย์รวมแห่งความโปรดปรานพร้อมบริบูรณ์ ” ( 12)

(12 ) กัซฟุล - ฆุมมะฮฺ หน้า 163

๗๘

คำวิงวอน

บทคำวิงวอนขออันเป็นส่วนเฉพาะตัวของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)นั้น ทุกท่านต่างก็มีคำวิงวอนอย่างมากมายโดยได้รับการเก็บรักษาไว้เพียงจำนวนหนึ่งบรรดานักปราชญ์ได้รวบรวมบทดุอาอ์ของบุคคลเหล่านี้ไว้ในตำราต่าง ๆ เป็นอันมาก

นอกจากนี้ ในความหมายของบทดุอาอ์ดังกล่าวยังมีเรื่องการสรรเสริญอัลลอฮฺ(ซ.บ.) การแสดงความนอบน้อมต่อพระองค์ ถ่อมตนอย่างสุดซึ้งต่อพระองค์ อันหมายถึงเป็นศูนย์รวมแห่งคำสอนต่างๆ ทั้งจริยธรรม มารยาท ความรู้ในเรื่องราวของพระผู้เป็นเจ้า และความสมบูรณ์ต่างๆ ใน

บทนี้เราจะกล่าวถึงบทดุอาอ์ของท่านอิมามฮะซัน(อ) อย่างสั้นๆ บางประการ

บทที่ 1.

ครั้งหนึ่งมุอาวิยะฮฺได้นำชาวกุเรชกลุ่มหนึ่งมาหาท่าน โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำร้ายท่าน ท่านอิมามฮะซัน(อ) ได้วิงวอนขอดุอาอ์ว่า

“ ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้าขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากความชั่วร้ายของคนเหล่านั้น ฉันขอให้พระองค์ปกป้องการทำร้ายโดยคนเหล่านี้ และขอความช่วยเหลือจากพระองค์เกี่ยวกับคนเหล่านี้ ขอให้โปรดปกป้องข้าให้พ้นจากพวกเขา ไม่ว่าโดยวิธีใดที่พระองค์ทรงประสงค์ และฉันก็ปรารถนาด้วยอำนาจและพลังของพระองค์ ข้าแต่พระผู้ทรงเมตตายิ่งกว่าผู้มีความเมตตาใดๆ ” ( 1)

(1 ) ชัรฮฺ นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ เล่ม 2 หน้า 101

๗๙

บทที่ 2.

เมื่อท่านอิมามฮะซัน(อ)ไปถึงประตูมัสญิด ท่านแหงนศีรษะขึ้นแล้ว

กล่าวว่า

“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า แขกของพระองค์มาถึงประตูของพระองค์แล้ว ข้าแต่ผู้ทรงไว้ซึ่งความดีงาม คนที่ทำความผิดพลาดมาหาพระองค์แล้ว ขอได้โปรดสลัดความน่าชังที่มีอยู่ในตัวข้าออกไปโดยความดีงามที่มีอยู่

ณ พระองค์ด้วยเถิด ข้าแต่พระผู้ทรงเกียรติยิ่ง ” ( 2)

(2 ) อัล - มัดค็อล อิลา เมาซูอะติล - อะตะบาต อัล - มุก็อดดะซะฮฺ หน้า 18

บทที่ 3.

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้สอนดุอาอ์บทหนึ่งให้แก่ผู้ที่ได้รับความไม่เป็นธรรม วิงวอนขอเพื่อป้องกันผู้อธรรม หลังจากนมาซสองร็อกอะฮฺแล้ว ซึ่งปรากฏว่าเป็นที่ได้รับการตอบสนอง ดังนี้

“ ข้าแต่พระผู้ทรงไว้ซึ่งความเข้มงวดแห่งสถานการณ์ที่เป็นไป ข้าแต่ผู้ทรงพลัง ข้ามีความ

ต่ำต้อยต่อเกียรติยศของพระองค์ยิ่งกว่าอะไรทั้งหมดที่ทรงสร้างมา ขอได้โปรดปกป้องข้าให้พ้นจากความชั่วร้ายของ ( ให้กล่าวนามศัตรู) …… ตามที่พระองค์ทรงประสงค์ ” ( 3)

(3 ) อัล - มุจญตะนา มินัดดุอาอิล - มุจยตะบา หน้า 3

๘๐

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134