ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ชีวประวัติอิมามฮะซัน42%

ชีวประวัติอิมามฮะซัน ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 134

ชีวประวัติอิมามฮะซัน
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 134 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 64771 / ดาวน์โหลด: 5720
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

สุภาษิต :

โอสถบำบัดโรค

ชีวิตของบรรดาอิมาม(อ)แห่งอะฮฺลุลบัยตฺนั้นคือ พลังที่นำมวลมุสลิมไปสู่วิถีทางของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และความปิติชื่นชมยังพระองค์และเป็นการเน้นให้มีการเชื่อฟังปฏิบัติตามพระองค์ กล่าวคือ บรรดาอิมาม(อ) เป็นสื่อในเรื่องเหล่านี้ทุกๆ วิถีทาง แบบแผนชีวิตของบรรดาอิมาม(อ)มิได้เป็นเพียงบทเรียนอย่างเดียวเท่านั้น หากยังหมายความไปถึงคำปราศรัย พินัยกรรม คำสั่งเสีย

จดหมาย ดังที่บรรดานักประวัติศาสตร์ได้ รวบรวมถ้อยคำของพวกท่านมาบันทึกไว้โดยสังเขป

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.)พระองค์ทรงเป็นพยานได้ว่า

ไม่มีเรื่องราวของผู้ใดมีรายละเอียดเสมอเหมือนกับบรรดาท่านเหล่านั้น เรื่องราวเหล่านี้คือ คลังแห่งคำสอน และเป็นโอสถหลายขนานสำหรับบำบัดรักษาโรคต่าง ๆ ทางสังคมของพวกเรา และเป็นการเรียกร้องเชิญชวนสู่สัจธรรมและความดีงาม

ในบทนี้เราจะเสนอสุภาษิตบางประการจากถ้อยคำของท่านอิมามฮะซัน(อ) ดังนี้

๑. จงอย่าเร่งให้ความบาปต้องพบกับบทลงโทษ แต่จงหาวิธีทางอย่างใดอย่างหนึ่งมาแก้ไขในระหว่างนั้น

๒. การหยอกล้อจะกัดกร่อนบารมี แต่การเพิ่มบารมีอยู่ที่การนิ่งเงียบ

๓. โอกาสที่ดีมักจะจากไปอย่างรวดเร็ว และกลับมาช้าเสมอ

๖๑

๔. ความสุขจะไม่เป็นที่รับรู้เสมอในยามที่มันมีอยู่ แต่มันจะเป็นที่รู้จักทันทีที่มันจากไป

๕. จะปรึกษาหารือกับคนกลุ่มใดก็จะเป็นไปตามแนวชี้นำของคนกลุ่มนั้น

๖. คนเลวย่อมไม่รู้คุณของความดีงาม

๗. ความดีที่ไม่มีความชั่วใดๆ แอบแฝงได้แก่ การรู้คุณค่าของความโปรดปราน และอดทนต่อความทุกข์ยาก

๘. ความอับอายยังให้ความเจ็บน้อยกว่าไฟนรก

๙. มนุษย์จะวิบัติด้วยเหตุ ๓ ประการ การทะนงตัว ความโลภ

และการริษยา

การทะนงตัว คือ การทำลายศาสนา และด้วยเหตุนี้เองอิบลิสจึงถูกสาปแช่ง

ความโลภคือ ศัตรูของตนเองและด้วยเหตุนี้ที่อาดัม(อ)ถูกขับออกจากสวรรค์

การริษยาคือ ที่ตั้งของความชั่ว และด้วยเหตุนี้ที่กอบีลสังหารฮาบีล

๖๒

๑๐. ไม่มีการมีมารยาทใดสำหรับคนที่ไร้ปัญญา ไม่มีลักษณะของชายชาตรีสำหรับคนที่ไม่มีความมุ่งมั่นเอาจริงเอาจัง ไม่มีความละอายใดสำหรับคนที่ไม่มีศาสนา สุดยอดแห่งการมีปัญญาคือการพบปะพูดคุยกับผู้คนด้วยลักษณะที่สวยงาม ด้วยกับปัญญาเท่านั้นที่จะเข้าถึงซึ่งโลกทั้งสอง ผู้ใดที่ไม่ใช้สติปัญญา เขาก็จะไม่สามารถเข้าถึงซึ่งโลกนี้ และโลกหน้า(๑)

๑๑. จริยธรรมที่สูงสุดยอดมี ๑๐ ประการ

( ๑) รักษาสัจจะไว้โดยวาจา

( ๒) รักษาสัจจะไว้โดยความเดือดร้อน

( ๓) บริจาคแก่ผู้ขอ

( ๔) มีมารยาทที่ดีงาม

( ๕) มีความบากบั่นในการทำงาน

( ๖) มีไมตรีต่อญาติมิตร

( ๗) มีเมตตาธรรมต่อเพื่อนบ้าน

( ๘) รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น

( ๙) ให้เกียรติต่อแขก

( ๑๐) หัวใจของสิ่งเหล่านี้คือความละอาย

๑๒. การสูญเสียสิ่งที่ต้องการดีกว่าการขอจากคนที่มิได้เป็นเจ้าของในสิ่งนั้นจริง(๒)

๖๓

๑๓. ฉันไม่เห็นผู้อธรรมคนใดที่ละม้ายคล้ายคลึงกับผู้ถูกอธรรม มากกว่าผู้ที่อิจฉาริษยา

( หมายความว่า ผู้มีจิตอิจฉาริษยานั้นมีสภาพเป็นทั้งผู้อธรรม (ต่อผู้อื่น) และตัวเองก็ถูกอธรรมจากการอิจฉาริษยานั้น)(๓)

๑๔. จงเอาความรู้ของเจ้าสอนผู้อื่นและจงศึกษาความรู้จากคนอื่น เมื่อนั้นความร้อนของเจ้าจะแข็งแกร่ง และเจ้าจะรู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้(๔)

๑๕. แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงรำลึกถึงเจ้าอยู่ ดังนั้นเจ้าจงรำลึกถึงพระองค์ และทรงเลี้ยงดูเจ้าอยู่ ดังนั้นจงขอบคุณต่อพระองค์

๑๖. ถ้ากิจกรรมอันเป็นนะวาฟิล(ที่ควรแก่การกระทำ)จะทำลายกิจกรรมอันเป็นวาญิบ ( ข้อบังคับ) เจ้าก็จงละทิ้งนะวาฟิลนั้นเสีย

๑๗. ผู้ใดที่เตือนสติตัวเองอยู่เสมอ หลังจากการเดินทางเขาก็ถูกยอมรับ

๑๘. ระหว่างพวกเจ้ากับคำตักเตือน แท้จริงมันคือม่านแห่งเกียรติยศ

๑๙. ใครที่แสวงหาการเคารพภักดี เขาก็จะได้รับการขัดเกลา

๒๐. การตัดขาดจากความรู้ คือข้อบกพร่องของผู้ศึกษาเล่าเรียน(๕)

๒๑. สิ่งที่ดีที่สุดของความดีงามคือมารยาทที่ดี(๖)

๖๔

----------------------------------------------------

(๑ ) อะอฺยานุช - ชีอะฮฺ ๔ กอฟ ๑๐๗ / ๑

(๒ ) อัลฮะซัน บินอะลี ของอัลดุล - กอดิร อะหมัด อัล - ยูซุฟ ห้า ๖๐

(๓ ) มะฏอลิบุซซุอุล หน้า ๖๙ พิมพ์ครั้งที่ ๑

(๔ ) กัซฟุล - ฆุมมะฮฺ หน้า ๑๗๐

(๕ ) ตะฮัฟฟุล - อุกูล หน้า ๑๖๙

(๖ ) อัล - คิศอล หน้า ๒๙

คำตอบอันชาญฉลาดของท่านอิมามฮะซัน(อ)

ในบทนี้เราขอนำเสนอการตอบปัญหาของท่านอิมามฮะซัน(อ)ในเรื่องที่เกี่ยวกับอัคลาค ( จริยธรรมอันดีงาม) การรู้จักพระผุ้เป็นเจ้าและกิริยามารยาทอันงดงาม คำตอบของท่านอิมาม (อ) นี้

ท่านจะไม่เห็นมันในหนังสือเล่มอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอัคลาค หรือแม้แต่หนังสือของนักปราชญ์แห่งอิสลามเลย บางปัญหาที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ บิดาของท่านคือท่านอะลี อะมีรุลมุมินีน(อ) ได้เคยถามท่านอิมามฮะซัน(อ)แล้ว ท่านก็กล่าวถึงความประเสริฐอันสูงส่งของท่านอิมาม(อ) ยกย่องต่อตำแหน่งอันสูงสุดของท่านอิมาม(อ) อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความดีงามเป็นพิเศษของท่าน

ดูเหมือนว่าบางคำถามยากมากถึง ขนาดที่ว่าไม่น่าจะมีคำตอบเลยเกี่ยวกับคำถามนั้น เช่นคำถามของกษัตริย์โรมัน ซึ่งมันไม่เป็นการง่ายเลยที่จะตอบคำถามเหล่านั้น แต่ทว่าบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)นั้น พวกเขาได้รับการเรียนรู้และการสั่งสอนมาจากบรรพบุรุษของเขา ซึ่งมาจากท่านญิบรออีล อันได้รับมาจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)นั่นเอง

๖๕

เราจะกล่าวถึง บางคำตอบของท่านอิมามฮะซัน(อ)สำหรับคำถามต่าง ๆ ในบางเรื่อง ณบัดนี้

ถาม-ตอบ เรื่องที่ ๑.

ท่านอะลี อะมีรุลมุมินีน(อ)ผู้เป็นบิดาของท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้ถามลูกของท่านดังนี้

ถาม “ โอ้ ลูกรัก สิ่งกีดขวาง คืออะไร? ”

ตอบ “ สิ่งกีดขวางก็ คือ การป้องกันความเลวร้ายด้วยการกระทำความดี ”

ถาม “ การมีเกียรติ คืออะไร? ”

ตอบ “ คือการดูแลวงศาคนาญาติ และการยอมรับความผิด ”

ถาม “ ความเป็นชายชาตรี คืออะไร ?”

ตอบ “ คือการรู้จักหักห้ามใจตัวเอง และการรู้จักใช้ทรัพย์สิน ”

ถาม “ ความเลวทราม ต่ำช้า คืออะไร ?”

ตอบ “ การพิจารณาแบบมักง่าย และขัดขวางผู้ต่ำต้อย ”

ถาม “ สิ่งที่น่ายกย่องคืออะไร ?”

ตอบ “ การอุตสาหพยายามทั้งในยามลำเค็ญและยามสุขสบาย ”

ถาม “ การตระหนี่ คืออะไร ?”

ตอบ “ คือการที่ท่านเห็นสิ่งที่มีอยู่ในมือเป็นความสิ้นเปลือง

(ถ้าจะจ่ายไป) ส่วนสิ่งที่จ่ายไปแล้วถือเป็นความสูญเสีย ”

ถาม “ ภราดรภาพคืออะไร ?”

ตอบ “ ความซื่อสัตย์ต่อสัญญาทั้งในยามทุกข์ยากและเดือดร้อน ”

๖๖

ถาม “ ความขี้ขลาดคืออะไร ?”

ตอบ “ กล้าต่อกรกับเพื่อนฝูง แต่หนีจากศัตรู ”

ถาม “ สิ่งที่ถือว่าเป็นโชคดีคืออะไร ?”

ตอบ “ ความปรารถนาในการสร้างตักฺวา และการอยู่ตามสมควรในโลกนี้ ”

ถาม “ ความอดทน อดกลั้นคืออะไร ?”

ตอบ “ การระงับความโกรธ และควบคุมตนเองได้ ”

ถาม “ ความร่ำรวยคืออะไร ”

ตอบ “ ความพึงพอใจต่อสิ่งที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) จัดสรรให้แม้เพียงน้อยนิด อันที่จริงแล้วความร่ำรวยก็คือจิตใจที่รู้จักพอ ”

ถาม “ ความยากจนคืออะไร ?”

ตอบ “ ความปรารถนา อยากได้ในทุกสิ่ง ”

ถาม “ อุปสรรคคืออะไร ?”

ตอบ “ ความทุกข์ยากแสนลำเค็ญ ”

ถาม “ ความทุกข์คืออะไร ?”

ตอบ “ คำพูดของท่านไม่ได้ให้ความหมายอะไรแก่ตัวท่านเลย ”

ถาม “ ความสง่างามคืออะไร ?”

ตอบ “ การให้แม้อยู่ในสภาพมีหนี้สิน ”

ถาม “ ความรับผิดชอบอยู่ที่ไหน ?”

ตอบ “ การพูดในสิ่งที่มิได้พิสูจน์ ”

ถาม “ ความดีคืออะไร ?”

ตอบ “ การให้ในยามที่ถูกฉ้อฉล และอภัยในยามที่ถูกประทุษร้าย ”

๖๗

ถาม-ตอบ เรื่องที่ ๒

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ถูกถามถึงของสิบชนิดที่มีบางชนิดแข็งแกร่งกว่าอีกชนิดหนึ่ง

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ตอบว่า

“ สิ่งที่แข็งแกร่งที่สุดที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงสร้างมาคือหิน และสิ่งที่แข็งยิ่งกว่ามันก็คือเหล็ก หินจะถูกตัดด้วยกับเหล็ก สิ่งที่แข็งแกร่งยิ่งกว่าเหล็กก็คือไฟ เพราะมันจะหลอมละลายเหล็ก สิ่งที่มีอานุภาพมากกว่าไฟก็คือน้ำ สิ่งที่เหนือกว่าน้ำก็คือก้อนเมฆ สิ่งที่เหนือกว่าก้อนเมฆก็คือลม ซึ่งมันจะพัดพาก้อนเมฆไป สิ่งที่มีอำนาจเหนือกว่าลมก็คือ มะลาอิกะฮฺที่ทำหน้าที่ดูแลเรื่องลม สิ่งที่มีอำนาจเหนือกว่ามะลาอิกะฮฺองค์นั้นก็คือ “ มะลิกุ้ลเม้าตฺ ” ที่ทำหน้าที่ปลิดวิญญาณของมะลาอิกะฮฺองค์นั้น สิ่งที่เหนือกว่า “ มะลิกุ้ลเม้าตฺ ” ก็คือ “ ความตาย ” ซึ่งมันจะปลิดชีวิตของ “ มะลิกุ้ลเม้าตฺ ” เอง

แต่สิ่งที่มีอานุภาพเหนือความตายก็คือคำสั่งของ “ อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ” ที่จะฝังความตายเอาไว้ ”

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๓.

ท่านอิมาม(อ)ถูกถามจากบุคคลหนึ่งว่า

ถาม “ ใครเป็นผู้ใช้ชีวิตได้ดีเลิศที่สุดในหมู่มนุษย์ ”

ตอบ “ ผู้ที่ให้มนุษย์มีส่วนร่วมในการใช้ชีวิตของเขา ”

ถาม “ ใครเป็นผู้ดำรงชีวิตที่เลวที่สุด ”

ตอบ “ คือผู้ที่ไม่ปล่อยให้ใครเข้ามาร่วมในการใช้ชีวิตของเขาเลย แม้แต่คนเดียว ” ( ๑)

( ๑) อัล-ฮะซัน บินอะลี ของอับดุล-กอดิร อะฮฺมัด อัล-ยูซุฟ หน้า ๖๒

๖๘

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๔.

มุอาวิยะฮฺ ถามท่านอิมามฮะซัน(อ)ว่า

“ โอ้ อะบามุฮัมมัด มีอยู่สามสิ่งที่ฉันไม่พบว่า จะมีใครอธิบายมันให้ฉันฟังได้เลย ”

ท่าน(อ) ถามว่า “ เช่นอะไรบ้าง ?”

เขาตอบ “ ความเป็นชายชาตรี เกียรติยศ และความเอื้อเฟื้อ ”

ท่านอิมาม(อ) ตอบว่า

“ ความเป็นชายชาตรีก็คือการที่ชายคนนั้นแก้ไขปรับปรุงตัวในเรื่องกิจการศาสนา และการดำรงไว้ซึ่งทรัพย์สินที่ดีงาม มีการให้ทาน และทักทายด้วยสลาม ให้ความรักใคร่ต่อคนทั้งหลายเกียรติยศหมายถึงการให้ก่อนได้รับการร้องขอ มีคุณธรรมเป็นกุศล ให้อาหารเป็นทาน ความเอื้อเฟื้อคือ มีความกลมเกลียวกับญาติ ปกป้องคุ้มครองกันในยามที่ถูกภาวะที่ถูกรังเกียจ อดทนในยามที่ได้รับความเดือดร้อน ” ( ๒)

( ๒) ตารีคอัล-ยะอฺกูบี เล่ม ๒ หน้า ๒๑๕

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๕.

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ถูกถามถึง “ เรื่องการนิ่งเงียบว่าเป็นอย่างไร ?”

ท่าน(อ)ตอบว่า “ การนิ่งเงียบที่ถูกต้องหมายถึง การปกปิดความลับ การตบแต่งรูปโฉมภายนอก กระทำสิ่งหนึ่งอย่างสบายใจ ผู้ที่ร่วมพูดคุยอยู่ด้วยรู้สึกปลอดภัย ” ( ๓)

( ๓) มะฏอลิบุซ-ซุอูล หน้า ๖๙

๖๙

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๖

กษัตริย์แห่งโรมเขียนจดหมายถึงมุอฺาวิยะฮฺ ถามปัญหาสามข้อคือ

๑- สถานที่ที่เป็นกึ่งกลางของท้องฟ้า

๒- เลือดหยดแรกที่ตกบนโลก

๓- สถานที่ขึ้นของดวงอาทิตย์

เขาไม่สามารถให้คำตอบได้ จึงขอร้องให้ท่านอิมามฮะซัน(อ)ช่วยตอบปัญหานี้

ท่าน(อ)ตอบว่า “ กึ่งกลางของท้องฟ้าอยู่ที่ “ อัล-กะอฺบะฮฺ ” เลือดหยดแรกคือเลือดของท่านหญิง “ เฮาวาอ์ ” สถานที่ขึ้นของดวงอาทิตย์คือดินแดนแห่งทะเลที่ท่านนบีมูซา (อ) ใช้ไม้เท้าฟาด ” ( ๔)

( ๔) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๑๕๒

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๗

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้ตอบคำถามกษัตริย์แห่งโรมอีกครั้งหนึ่งที่ถามท่านว่า “ อะไรที่ไม่มีทิศทางสำหรับตน ใครที่ไม่มีญาติสำหรับเขา ?”

ท่าน(อ)ตอบว่า “ ที่ไม่มีทิศทางสำหรับตนคืออัล-กะอฺบะฮฺ ผู้ที่ไม่มีเครือญาติสำหรับเขาคือพระผู้อภิบาล ” ( ๕)

(๕ ) อัล - มะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๑๕๒

๗๐

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๘.

ชาวชาม(ซีเรีย)คนหนึ่งถามท่านอิมามฮะซัน(อ)

ถาม “ ความห่างกันระหว่างสัจธรรมกับความไม่ถูกต้องมีมากน้อยเพียงใด ?”

ตอบ “ ห่างกันสี่นิ้วมือ กล่าวคือ อะไรที่ท่านเห็นด้วยตานั่นคือสัจธรรม ส่วนอะไรที่ได้ยินกับหูอันนั้นส่วนมากจะไม่ถูกต้อง ”

ถาม “ ความห่างกันระหว่างความศรัทธา (อีหม่าน) กับความเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่ (ยะกีน) มีเท่าใด ?”

ตอบ “ ห่างกันสี่นิ้วมือ กล่าวคือความศรัทธาคือเชื่อในสิ่งที่ได้ยินมา ส่วนความเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่นั้นคือเชื่อในสิ่งที่เห็นมา ”

ถาม “ ระหว่างฟ้ากับพื้นดินห่างกันเท่าไหร่ ?”

ตอบ “ เท่ากับเสียงร้องเรียกของคนที่ถูกอธรรม กับการทอดสายตาไปมอง ”

ถาม “ ทิศตะวันออกกับทิศตะวันตกห่างกันเท่าใด ?”

ตอบ “ เท่ากับระยะทางเดินของดวงอาทิตย์ ” ( ๖)

(๖ ) อัล - มะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๑๕๒

๗๑

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๙.

ครั้งหนึ่งท่านอิมามฮะซัน(อ)นั่งอยู่ในมัสญิด มีประชาชนอยู่รายล้อมท่าน มีชายคนหนึ่งก้าวเข้ามาในมัสญิด แล้วเขาก็พบว่ามีคนๆ หนึ่งกำลังพูดถึงท่านศาสนทูต(ศ)อยู่ ซึ่งมีผู้คนนั่งอยู่ด้วย เขาก็เดินไปหาชายคนนั้นแล้วถามว่า

“ จงบอกฉันซิว่า ใครคือชาฮิด(ผู้เป็นพยาน) และใครคือมัชฮูด(ผู้ได้รับการเป็นพยาน) ”

ชายคนที่หนึ่งตอบว่า

“ ชาฮิดหมายถึงวันศุกร์ มัชฮูดหมายถึงวันอะร่อฟะฮฺ ”

ชายคนนั้นก็เดินไปถามชายคนที่สองที่ในมัสญิดด้วยว่า

“ ชาฮิดและมัชฮูดหมายถึงอะไร ?”

ชายคนที่ถูกถาม ตอบว่า

“ ชาฮิดคือวันศุกร์ ส่วนมัชฮูดคือวันแห่งการเชือดกุรบานในพิธีฮัจญ์ ”

เขาจึงเดินไปถามชายคนที่สามในปัญหาเดียวกัน

ชายคนที่สามตอบว่า

“ ชาฮิดหมายถึง ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ส่วนมัชฮูดหมายถึงวันฟื้นคืนชีพ ; ดังที่ฉันได้ยินโองการของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ที่ว่า:

“ โอ้ผู้เป็นนบี แท้จริงเราได้ส่งเจ้ามาเพื่อเป็นสักขีพยาน(ชาฮิด) เป็นผู้แจ้งข่าวดี และเป็นผู้ตักเตือนให้ระวังภัย ”

๗๒

และโองการที่ว่า :

“ วันนั้นที่เป็นศูนย์รวมของประชาชน และนั่นคือวันที่ได้รับการเป็นพยานยืนยัน(มัชฮูด) ”

ชายผู้ตั้งคำถามได้ถามคนทั้งหลายว่า “ พวกเขาสามคนคือใคร ?”

คนที่อยู่ในมัสญิดตอบว่า “ ชายคนแรกคือท่านอิบนุอับบาส ชายคนที่สองคือ ท่านอิบนุอุมัร ชายคนที่สามคือท่านอิมามฮะซัน บุตรของอะลี อิบนิ

อะบีฏอลิบ (อ) ” ( ๗)

(๗ ) นูรุล - อับศ็อร หน้า ๑๗๓

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๑๐.

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ถูกถามเกี่ยวกับเรื่องการเมือง

ท่าน(อ)ตอบว่า “ การเมือง คือการที่ท่านจะต้องดูแลรักษาส่วนที่เป็นสิทธิของอัลลอฮฺ สิทธิของคนที่มีชีวิตอยู่ และสิทธิของคนที่ตายไปแล้ว

ในส่วนที่เป็นสิทธิของอัลลอฮฺนั้น หมายถึงท่านจะต้องปฏิบัติในสิ่งที่พระองค์ทรงใช้ และหลีกห่างจากสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม

ในส่วนที่เป็นสิทธิของคนที่มีชีวิต ก็คือท่านจะต้องดำรงไว้ซึ่งสิทธิหน้าที่ของท่านเพื่อพี่น้อง ประชาชนของท่าน อย่าล่าช้าจากการรับใช้เหล่าข้าบริวารของท่าน และจะต้องทำหน้าที่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ต่อผู้ปกครอง

เท่าๆ กับที่ทำหน้าที่อย่างบริบูรณ์ต่อข้าทาษบริวาร ต้องสลัดทิ้งความชิงชังออกไปในยามประสบกับอุปสรรคในเส้นทางที่ราบเรียบ

๗๓

ในส่วนที่เป็นสิทธิของผู้ตายนั้น ก็คือจะต้องรำลึกถึงความดีงามของเขาและโกรธคนที่มุ่งร้ายต่อเขา ดังนั้นสำหรับพวกเขาแล้วมีพระผู้อภิบาลทำหน้าที่ตัดสินตอบแทนอยู่ ” ( ๘)

(๘ ) ฮะยาตุล - อิมามฮะซัน บินอะลี ( อ ) ของอัล - กุรชี เล่ม ๑ หน้า ๑๔๓

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๑๑.

มุอาวิยะฮฺได้ถามท่านอิมามฮะซัน(อ) ว่า

“ อะไรที่จำเป็นบ้างในเรื่องการปกครองของเรา ?”

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ตอบว่า

“ มันคือเรื่องที่ท่านนบีซุลัยมาน(อ) บุตรของนบีดาวูด(อ)ได้กล่าวไว้ ”

มุอาวิยะฮฺ ถามว่า

“ ท่านนบีซุลัยมาน(อ)กล่าวไว้อย่างไร ?”

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ตอบว่า

“ ท่านนบี(อ)กล่าวกับสาวกคนหนึ่งของท่านว่า :

“ เจ้ารู้หรือไม่ว่า หน้าที่ที่จำเป็นสำหรับกษัตริย์ในการปกครองคืออะไรบ้าง และอะไรบ้างที่ไม่เป็นอันตรายแก่เขาในยามที่เขาปฏิบัติ

นั่นคือ เขาต้องยำเกรงต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทั้งในยามลับและในยามเปิดเผย ต้องยุติธรรมทั้งในยามโกรธและยามพึงพอใจ ต้องเข้าหาทั้งคนยากจนและคนร่ำรวย ต้องไม่แสวงหาทรัพย์สินในทางมิชอบ ต้องไม่ใช้จ่ายทรัพย์สินอย่างฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย สิ่งบำเรอความสุขทางโลกจะต้องไม่นำอันตรายมาสู่เขา ในยามที่เขาอยู่ตามลำพัง ” ( ๙)

(๙ ) ตารีคอัล - ยะอฺกูบี เล่ม ๒ หน้า ๒๐๒

๗๔

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๑๒.

ครั้งหนึ่งท่านอิมามฮะซัน(อ)กำลังเวียนฏ่อว๊าฟบัยตุลลอฮฺอยู่ มีชายคนหนึ่งเข้ามาถามท่านว่า

“ คำว่าอัล-ญะวาด(ผู้เอื้ออารี) หมายความว่าอย่างไร ?”

ท่านอิมาม(อ)ตอบว่า “ คำถามของท่านมีความหมายสองแง่ กล่าวคือ

ถ้าถามในแง่ของผู้ถูกสร้าง อัล-ญะวาด หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างสมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ข้อบังคับที่มีต่อตัวเอง เพราะคนตระหนี่หมายถึงคนที่ตระหนี่ในสิ่งที่เป็นหน้าที่และข้อบังคับของตัวเอง แต่ถ้าท่านถามในแง่ของผู้สร้าง อัล-ญะวาดหมายถึงผู้ที่จะประทานให้ก็ได้ ไม่ให้ก็ได้ เพราะว่าถึงแม้พระองค์จะให้อะไรแก่บ่าวคนหนึ่ง พระองค์ก็ให้แก่เขาซึ่งสิ่งของที่มิได้เป็นของเขา และถ้าพระองค์จะไม่ประทานให้ ก็เป็นสิทธิของพระองค์เพราะสิ่งนั้นก็มิได้เป็นของเขาเหมือนกัน ” ( ๑๐)

(๑๐ ) ฮะยาตุล - อิมามฮะซัน บินอะลี ของอัลกุรชี เล่ม ๑ หน้า ๑๔๔

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๑๑.

ชายคนหนึ่งถามท่านอิมามฮะซัน(อ)ว่า

“ โอ้บุตรของท่านศาสดา โปรดกล่าวถึงคุณลักษณะของพระผู้อภิบาลให้ฉันฟัง ให้เหมือนกับที่ฉันกำลังมองเห็นพระองค์ซิ ”

๗๕

ท่านอิมาม(อ)สะดุ้งเล็กน้อย แล้วแหงนศีรษะขึ้นมาพลางกล่าวว่า

“ ข้าขอสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ พระองค์ไม่มีการเริ่มต้นตามที่เข้าใจกัน พระองค์ไม่มีสภาวะสุดท้ายอันเป็นที่สิ้นสุด ไม่มีอะไรมีมาก่อน

ไม่มีขอบเขตใดๆ อยู่ข้างหลัง ไม่มีระยะทางเพื่อไปหา

ไม่เป็นเรือนร่างเพื่อแยกส่วน ไม่มีความแตกต่างกันในคุณลักษณะ

หนึ่งๆ ที่ยุติได้ ไม่มีปัญญาใดเข้าถึงและวาดมโนภาพได้ ไม่ปรากฏบนสิ่งใดๆ และไม่แอบแฝงภายในสิ่งใดๆ ไม่ทอดทิ้งอะไรโดยไม่มีพระองค์ทรงสร้างสิ่งนั้น แล้วทรงให้การเริ่มต้นอันวิจิตรพิศดาร ทรงให้ความพิศดารแก่สิ่งที่ทรงให้การเริ่มต้น และทรงกระทำตามที่พระองค์ทรงประสงค์ นี่คือพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ” ( ๑๑)

(๑๑ ) อัต - เตาฮีด หน้า ๔๖

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๑๔.

มีเรื่องเล่าว่า ท่านอิมามฮะซัน(อ) อาบน้ำแล้วออกจากบ้านอย่างสง่าผ่าเผย เรือนร่างทุกส่วนสะอาด มีพาหนะเดินทางที่ดี มีเสบียงเป็นสัดส่วนอย่างเรียบร้อย ใบหน้าของท่านผ่องใส บุคลิกลักษณะของท่านมีสง่าราศีบริบูรณ์งามเด่น ให้การต้อนรับคนทั้งหลายด้วยความปราณียิ้มแย้มแจ่มใส เบิกบาน มีผู้ตัดสินแล้วว่าความสุขอยู่ที่ความยุติธรรมของท่าน

ท่านขี่ม้าตัวใหญ่ที่สมบูรณ์ ท่านเดินไปท่ามกลางการต้อนรับเป็นแถวเรียงราย ถ้าหากท่านอับดุลมะนาฟ(ปู่ทวดของท่าน) ได้เห็นท่านคงอดไม่ได้ที่จะต้องภาคภูมิใจบรรพบุรุษทั้งหลายของท่านจะต้องปลาบปลื้มเป็นล้นพ้น

๗๖

ในเส้นทางที่ท่านเดินมีชาวยิวที่แร้นแค้นคนหนึ่งพำนักอยู่ เขาประสบความล้มเหลวด้วยสาเหตุต่างๆ มีความเป็นอยู่ที่ตกต่ำ รายได้น้อย ขาดแคลนอาหารถึงขนาดหนังหุ้มติดกระดูก อ่อนระโหยโรยแรงถึงขนาดทรงตัวเกือบไม่ได้ และเลวยิ่งกว่านั้นสิ่งที่เขารักคือนกพิราบตัวหนึ่ง ยามดวงอาทิตย์ขึ้นแดดก็แผดเผาจนไหม้เกรียม ความเป็นอยู่ของเขาสุดแสนทรมาน เป็นอยู่อย่างนี้มานานแสนนาน เขาถือถังน้ำที่เต็มปริ่ม ในขณะนั้นหัวใจของเขาแข็งกร้าว เมื่อได้แลเห็นคนๆ หนึ่งปรากฏว่าท่านอิมาม(อ)หยุดยืนอยู่ต่อหน้าเขา เขากล่าวว่า

“ ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ จงให้ความเป็นธรรมต่อฉันด้วย ”

ท่านอิมาม(อ)ย้อนถามว่า “ เรื่องอะไรหรือ ?”

เขาตอบว่า “ ท่านตาของท่านเคยกล่าวว่า “ โลกนี้คือคุกของผู้ศรัทธา แต่เป็นสวรรค์ของผู้ปฏิเสธ (กาฟิร) ”

“ ในเมื่อท่านเป็นผู้ศรัทธา ส่วนฉันเป็นผู้ปฏิเสธ แล้วไฉนฉันจึงเห็นว่าโลกนี้เป็นสวรรค์สำหรับท่าน ท่านช่างมีความสุขและมีความอิ่มเอิบกับรสชาดของมันเสียเหลือเกิน แต่ดูไปแล้วมันกลับเป็นคุกสำหรับฉันเสียมากกว่า เพราะมันทำลายชีวิตฉันเสียยับเยิน มันให้แต่ความยากจนข้นแค้นแก่ฉันตลอดมา ”

เมื่อท่านอิมาม(อ)ได้ยินเช่นนั้น ท่านก็อธิบายให้ความสว่างแก่เขา โดยเผยคำตอบออกมาจากความรู้อันเปรียบดังขุมคลังแห่งความรู้ของท่าน

๗๗

ท่านอธิบายให้แก่ชาวยิวผู้เข้าใจผิดคนนั้นว่า

“ โอ้ท่านผู้อาวุโส ถ้าหากท่านได้แลเห็นสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงสัญญาไว้กับฉันและบรรดาผู้ศรัทธาไว้ในปรโลก อันเป็นสิ่งที่สายตามองไม่เห็น หูไม่ได้ยิน แน่นอนที่สุดท่านจะรู้ได้เลยว่า ชีวิตในโลกนี้ก่อนที่ฉันจะย้ายไป มันเป็นเพียงแค่สถานที่กักกันเท่านั้น และถ้าหากท่านสามารถมองเห็น

สิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)สัญญาไว้กับท่านและผู้ปฏิเสธทุกคนในปรโลกแล้วไซร้ จะเห็นว่ามันคือไฟนรกอันร้อนแรงลุกโชติช่วง เป็นการลงโทษอันถาวรแน่นอนที่สุด ท่านต้องจะเห็นว่า โลกที่ท่านอาศัยอยู่ขณะนี้คือสวรรค์อันกว้างใหญ่ มีศูนย์รวมแห่งความโปรดปรานพร้อมบริบูรณ์ ” ( ๑๒)

(๑๒ ) กัซฟุล - ฆุมมะฮฺ หน้า ๑๖๓

๗๘

คำวิงวอน

บทคำวิงวอนขออันเป็นส่วนเฉพาะตัวของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)นั้น ทุกท่านต่างก็มีคำวิงวอนอย่างมากมายโดยได้รับการเก็บรักษาไว้เพียงจำนวนหนึ่งบรรดานักปราชญ์ได้รวบรวมบทดุอาอ์ของบุคคลเหล่านี้ไว้ในตำราต่าง ๆ เป็นอันมาก

นอกจากนี้ ในความหมายของบทดุอาอ์ดังกล่าวยังมีเรื่องการสรรเสริญอัลลอฮฺ(ซ.บ.) การแสดงความนอบน้อมต่อพระองค์ ถ่อมตนอย่างสุดซึ้งต่อพระองค์ อันหมายถึงเป็นศูนย์รวมแห่งคำสอนต่างๆ ทั้งจริยธรรม มารยาท ความรู้ในเรื่องราวของพระผู้เป็นเจ้า และความสมบูรณ์ต่างๆ ใน

บทนี้เราจะกล่าวถึงบทดุอาอ์ของท่านอิมามฮะซัน(อ) อย่างสั้นๆ บางประการ

บทที่ ๑.

ครั้งหนึ่งมุอาวิยะฮฺได้นำชาวกุเรชกลุ่มหนึ่งมาหาท่าน โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำร้ายท่าน ท่านอิมามฮะซัน(อ) ได้วิงวอนขอดุอาอ์ว่า

“ ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้าขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากความชั่วร้ายของคนเหล่านั้น ฉันขอให้พระองค์ปกป้องการทำร้ายโดยคนเหล่านี้ และขอความช่วยเหลือจากพระองค์เกี่ยวกับคนเหล่านี้ ขอให้โปรดปกป้องข้าให้พ้นจากพวกเขา ไม่ว่าโดยวิธีใดที่พระองค์ทรงประสงค์ และฉันก็ปรารถนาด้วยอำนาจและพลังของพระองค์ ข้าแต่พระผู้ทรงเมตตายิ่งกว่าผู้มีความเมตตาใดๆ ” ( ๑)

(๑ ) ชัรฮฺ นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ เล่ม ๒ หน้า ๑๐๑

๗๙

บทที่ ๒.

เมื่อท่านอิมามฮะซัน(อ)ไปถึงประตูมัสญิด ท่านแหงนศีรษะขึ้นแล้ว

กล่าวว่า

“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า แขกของพระองค์มาถึงประตูของพระองค์แล้ว ข้าแต่ผู้ทรงไว้ซึ่งความดีงาม คนที่ทำความผิดพลาดมาหาพระองค์แล้ว ขอได้โปรดสลัดความน่าชังที่มีอยู่ในตัวข้าออกไปโดยความดีงามที่มีอยู่

ณ พระองค์ด้วยเถิด ข้าแต่พระผู้ทรงเกียรติยิ่ง ” ( ๒)

(๒ ) อัล - มัดค็อล อิลา เมาซูอะติล - อะตะบาต อัล - มุก็อดดะซะฮฺ หน้า ๑๘

บทที่ ๓.

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้สอนดุอาอ์บทหนึ่งให้แก่ผู้ที่ได้รับความไม่เป็นธรรม วิงวอนขอเพื่อป้องกันผู้อธรรม หลังจากนมาซสองร็อกอะฮฺแล้ว ซึ่งปรากฏว่าเป็นที่ได้รับการตอบสนอง ดังนี้

“ ข้าแต่พระผู้ทรงไว้ซึ่งความเข้มงวดแห่งสถานการณ์ที่เป็นไป ข้าแต่ผู้ทรงพลัง ข้ามีความ

ต่ำต้อยต่อเกียรติยศของพระองค์ยิ่งกว่าอะไรทั้งหมดที่ทรงสร้างมา ขอได้โปรดปกป้องข้าให้พ้นจากความชั่วร้ายของ ( ให้กล่าวนามศัตรู) …… ตามที่พระองค์ทรงประสงค์ ” ( ๓)

(๓ ) อัล - มุจญตะนา มินัดดุอาอิล - มุจยตะบา หน้า ๓

๘๐

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า เมื่ออัล-กุรอานถูกอ่านขึ้น จงสดับฟังอัล-กุรอานเถิด และจงนิ่งเงียบ เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับการเอ็นดูเมตตา ( 3)

3อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล อะอฺรอฟ / 204

وَ إِذا قُرِئَ الْقُرْآنُ فَاسْتَمِعُوا لَهُ وَ أَنْصِتُوا لَعَلَّکُمْ تُرْحَمُونَ

คำว่า ( انصتوا ) มาจากคำว่า ( انصات ) หมายถึง การนิ่งเงียบที่ควบคู่กับการฟังด้วยความตั้งใจ 4

4ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 7 หน้า 70

การนิ่งเงียบในทุกที่หรือทุกสถานการณ์เพื่อฟังอัล-กุรอานเป็นมุซตะฮับ 1

ส่วนในนมาซญะมาอะฮฺการฟังอิมามอ่านอัล-กุรานของมะอฺมูม (ผู้นมาซตาม) เป็นวาญิบ 2

คำว่า อิซติมาอฺ หมายถึง การฟังด้วยความตั้งใจ หรือฟังอย่างมีอารมณ์ความรู้สึก มีความหมายเหมือนกับคำว่า อัซฆออฺ 3

คำว่า อัซฆออฺ แตกต่างกับคำว่า ซะมาอฺ หมายถึง การฟังผ่านเพียงอย่างเดียว หรือการฟังโดยปราศจากการใคร่ครวญ 4

๑๐๑

อัล-กรุอานโองการดังกล่าวได้กำหนดหน้าที่ 2 ประการให้กับเรา กล่าวคือ

1. การนิ่งเงียบเมื่อได้ยินหรืออ่านพจนารถของอัลลอฮฺ (ซบ.) ซึ่งเป็นปฐมบทของการ อิซติมาอฺ (ฟังด้วยความตั้งใจ)

2. ให้ฟังด้วยความตั้งใจ หมายถึง การใค่รครวญในความหมายและสาระของโองการ

ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) กล่าวว่า บุคคลใดก็ตามฟังพจนารถคำหนึ่ง โดยที่ตนไม่ได้เป็นผู้อ่าน อัลลอฮฺ ทรงบันทึกความดีให้แก่เขา และลบล้างบาปหนึ่งออกจากเขา พร้อมทั้งยกฐานันดรของเขาให้สูงขึ้นไปขั้นหนึ่ง 5

ข้อควรพิจารณา ขั้นตอนนี้ครอบคลุมทุกคนในสังคม แม้กระทั่งบุคคลที่ไม่สามารถอ่านอัล-กุรอานได้ ก็สามารถฟังความสัจจริงของอัล-กุรอานได้ด้วยจิตใจบริสุทธิ์

-----------------------------------------------

1อิซติฟตาอาตกุรอาน หน้า 147

2ตัฟซีรเนะมูเนะ เล่ม 7 หน้า 70 / 72

3มุฟรอดาต รอฆิบ เอซฟาฮานียฺ หมวดคาว่า ซัมอฺ

4ในเชิงภาษาอาหรับ คาว่า อิซติมาอฺ มาจากรูปกริยาของ อิซติอาล หมายถึง การทำให้เกิดความยากลาบาก ตรงนี้จึง หมายถึง การฟังด้วยความตั้งใจ หรือฟังโดยการใคร่ครวญ เหมือนความแตกต่างของคาว่า กะซะบะ กับ อิกติซาบ

5อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้า 448

๑๐๒

3. การอ่านอัล-กุรอาน

ขั้นตอนที่สามสำหรับการได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอานคือ การอ่าน

อัล- กุรอานจากตัวอัล-กุรอาน หมายถึง การอ่านคำและประโยคของ

อัล-กุรอาน โดยไม่เข้าใจในความหมาย การอ่านอัล-กุรอานสามารถร่วมกับขั้นตอนอื่น เช่น การมองไปยังอัล-กุรอาน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ครอบคลุมบุคคลทั่วไปในสังคม

สำหรับบุคคลที่เข้าใจและไม่เข้าใจในความหมายภาษาอาหรับ การอ่านอัล-กุรอานถือเป็นขั้นตอนแรกสำหรับการเรียนรู้ ริวายะฮฺจำนวนมากมายแนะนำให้มุสลิมทั้งหลายปฏิบัติเช่นนั้น

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า เป็นสิ่งที่ดีสำหรับมวลผู้ศรัทธาทั้งหลาย ก่อนที่จะอำลาจากโลกไปควรเรียนรู้อัล-กุรอาน หรืออยู่ในขั้นตอนของการเรียน รู้ 1

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า บุคคลที่ดีที่สุดในหมู่พวกเจ้าคือ ผู้ที่เรียนรู้อัล-กุรอานและสอนให้แก่บุคคลอื่น

ในขั้นตอนนี้เองจึงได้มีคำแนะนำให้อ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงที่ไพเราะ เป็นจังหวะไปตามความหมาย กวดขันเรื่องหลักการอ่าน (ตัจญฺวิด) และการออกเสียงสำเนียงให้ถูกต้องตามฐานที่เกิดเสียง 2

---------------------------------------------------

1บิอารุลอันวาร เล่ม 92 หน้า 182

2อ้างแล้ว เล่มเดิม หน้า 186

๑๐๓

ข้อควรพิจารณา แม้ว่าขั้นตอนดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการรู้จัก และการมักคุ้นกับอัล-กุรอานก็ตาม แต่จะต้องไม่เพียงพอหรือหยุดการรู้จักอัล-กุรอานอยู่เพียงแค่ขั้นตอนนั้น ทว่าขั้นตอนดังกล่าวเป็นบันไดที่จะนำไปสู่ขั้นตอนที่สูงกว่าต่อไป

4. การอ่านอัล-กุรอาน (การศึกษาพร้อมกับการอ่าน)

การอ่านอัล-กุรอาน เป็นขั้นตอนหนึ่งสำหรับการรู้จักอัล-กุรอาน โองการจำนวนมากมายได้กล่าวแนะนำถึง การอ่านอัล-กุรอานไว้ เช่น กล่าวว่า ดังนั้นพวกเจ้าจงอ่านอัลกุรอานตามแต่สะดวกเถิด 1

กะรออัต เป็นขั้นตอนหนึ่งของการอ่าน ซึ่งประเด็นดังกล่าวถ้าหากสังเกตุการใช้คำตามสำนวนภาษาอาหรับของคนอาหรับทั่วๆไป กับความหมายในเชิงของนักภาษาศาสตร์จะได้รับบทสรุปดังนี้

การใช้สำนวนของคนอาหรับทั่วไป เช่น มีผู้กล่าวว่า กะเราะตุลกิตาบะ ฉันได้อ่านจดหมายของเขาแล้ว หมายถึง เป็นการอ่านที่พร้อมกับสร้างความเข้าใจในเนื้อความของจดหมาย เขาจึงพูดว่า ฉันอ่านแล้ว

มุฟเราะดาต รอฆิบ เอซฟาฮานียฺ กล่าวว่า กะรออัต หมาถึงการอ่านที่คำหรือประโยคให้มีความสอดคล้อง หรือเรียงกันไปอย่างเป็นระเบียบ 2

-----------------------------------------------

1อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ มุซัมมิล 20

2มุฟเราะดาต รอฆิบ เอซฟาฮานียฺ หมวดคาว่า ดะรออัต

๑๐๔

ดังนั้น จะสังเกตุเห็นว่า ความเป็นระเบียบตามขั้นตอนมีบทบาทอย่างมากในการอ่าน และมีผลต่อการสร้างความเข้าใจ อีกทั้งมีผลต่อจิตใจของผู้อ่านอย่างยิ่ง

ริวายะฮฺจำนวนมากเมื่อกล่าวถึง การกะรออัต จะกล่าวว่า ขณะที่พวกเจ้ากำลังอ่านอัล-กุรอาน (กะรออัต) เท่ากับกำลังห้ามพวกเจ้า ถ้าไม่ได้ห้ามพวกเจ้า เท่ากับพวกเจ้าไม่ได้อ่าน 3

3มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่ม 8 หน้า 90

หมายถึง การอ่านที่แท้จริงคือ การอ่านทีมีผลต่อจิตใจ ปรับเปลี่ยนการกระทำของมนุษย์ และห้ามปรามเขามิให้ทำบาปซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ อ่านอัล-กุรอานพร้อมกับสร้างความเข้าใจในความหมายและเรื่องราวที่อัล-กุรอานกำลังกล่าวถึง

อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ มุซัมมิล โองการที่ 20 ที่กล่าวว่า ดังนั้นพวกเจ้าจงอ่านอัลกุรอานตามแต่สะดวกเถิด ท่านอิมามริฎอ (อ.) อธิบายว่า ให้อ่านเท่าที่เจ้ามีจิตใจนอบน้อม และภายในมีความสงบมั่น 1

1มัจมะอุลบะยาน ตอนอธิบายโองการดังกล่าว

ข้อควรพิจารณา ทุกวันนี้ที่มีการอ่านอัล-กุรอานตามงานและพิธีกรรม ต่าง ๆ ถือว่าเป็นการนำเสนอวิธีการอ่านอัล-กุรอานเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นเพียงนิยามหนึง และจากสิ่งที่กล่าวมาทำให้เข้าใจได้ว่า นิยาม ดังกล่าวนอกเหนือไป จากความหมายในเชิงภาษา และการอ่านอัล-กุรอาน

๑๐๕

5. ตัรตีลกุรอาน

อัล-กุรอานกะรีมได้กล่าวถึง การตัรตีล ซํ้าหลายครั้งด้วยกัน ซึ่งการตัรตีลจัดว่าเป็นหนึ่งในขั้นตอนของการรู้จักอัล-กุรอาน เช่น อัล-กุรอานกล่าวว่า

أَوْ زِدْ عَلَيْهِ وَرَتِّلِ الْقُرْآنَ تَرْتِيلًا

หรือมากกว่านั้น และจงอ่านอัลกุรอานช้า ๆ เป็นจังหวะ (ชัดถ้อยชัดคำ) 2

2 อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัลมุซซัมมิล / 4

คำว่าตัรตีล ( ترتيل ) มาจากคำว่า ( رتل ) หมายถึง ความเป็นระเบียบ ประสานเข้าด้วยกัน การได้รับกฎระเบียบของสิ่งหนึ่งจากแนวทางที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใด

หรือการขับคำออกจากปากด้วยความง่ายดายและถูกต้อง การอ่านออกเสียงเป็นจังหวะ เหล่านี้เรียกว่า การตัรตีล ( 1)

1มุฟรอดาต รอฆิบ เอซฟาฮานียฺ หมวดคำว่า เราะตะละ

ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ กล่าวว่า ตัรตีล (อ่านอย่างเป็นจังหวะ) ตามความหมายของรากศัพท์เดิมหมายถึง การจัดระเบียบ หรือจัดจังหวะ ในที่นี้หมายถึง การอ่านอัล-กุรอานอย่างเป็นจังหวะด้วยท้วงทำนองที่ไพเราะ พร้อมกับการออกเสียงอักษรบนฐานเสียงที่ถูกต้อง การอธิบายคำและใคร่ครวญในความหมายของโองการ ตลอดจนการไตร่ตรองในบทสรุป

๑๐๖

ท่านอิมามซอดิก (อ.) อธิบายถึงการตัรตีล (อ่านอย่างเป็นจังหวะ) ว่า เมื่ออ่านโองการผ่านไปถ้าในโองการนั้นกล่าวถึงสวรรค์ ให้หยุดและทูลขอสรวงสวรรค์จากพระองค์ (ให้สร้างตนเองเพื่อสวรรค์) แต่ถ้าโองการที่อ่านผ่านไปกล่าวถึงนรกและการลงโทษ ให้หยุดและขอความคุ้มครองจากพระองค์ให้ตนรอดพ้นและห่างไกลจากสิ่งเหล่านั้น ( 2)

2ตัฟซีร เนะมูเนะฮ เล่มที่ 25 ตอนอธิบาย ซูเราะฮฺ อัลมุซซัมมิล / 4

อีกนัยหนึ่งการอ่านอย่างเป็นจังหวะ (ตัรตีล) ซึ่งมีองค์ประกอบ 2 ประการ หรือมี 2 ขั้นตอนดังนี้

1. ตัรตีลลัฟซียฺ หมายถึง การออกอักษรบนฐานเสียงที่ถูกต้อง การกวด ขันเรื่องการหยุด การไม่อ่านข้าม และความต่อเนื่องในการอ่าน

2. ตัรตีลมะอฺนะวียฺ หมายถึง การใคร่ครวญในโองการและคิดว่าตนคือบุคคลที่อัล-กุรอานกำลังกล่าวถึง กล่าวคือ ข้อแนะนำต่าง ๆ ที่อัล-กุรอานกำลังแจ้งอยู่นั้นหมายถึงตน และมอบหมายการบำบัดความเจ็บปวดทั้งหมดของตนด้วยโองการต่าง ๆ ของพระองค์ ( 1)

1มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่ม 8 หน้า 87

มีริวายะฮฺอีกมากมายที่กล่าวถึงเรื่องการ อ่านตัรตีล

๑๐๗

ข้อควรพิจารณา ทุกวันนี้ที่มีการอ่านอัล-กุรอานตามงานและพิธีกรรม ต่าง ๆ ในรูปแบบของตัรตีล ถือว่าเป็นการนำเสนอวิธีการอ่านอัล-กุรอานในแนวทางใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นเพียงนิยามหนึ่ง และจากสิ่งที่กล่าวมาทำให้เข้าใจได้ว่า นิยาม ดังกล่าวนอกเหนือไปจากความหมายในเชิงภาษาของ

อัล-กุรอาน และริวายะฮฺ ตัรตีลตามความหมายที่กล่าวมานอกเหนือไปจาก การตัรตีลที่สังคมเข้าใจ

ข้อควรพิจารณา ความแตกต่างของการอ่านตัรตีลกับกะรออัตคือ กะรออัตเน้นเรื่องการอ่านอัล-กุรอาน โดยใคร่ครวญในความหมายและผลที่จะเกิดกับจิตใจ ส่วนการอ่านแบบตัรตีลเน้นเรื่องจังหวะทำนอง การออกเสียงและกวดขันเรื่องการหยุด พร้อมทั้งมีการใคร่ครวญเพื่อสร้างความสงบแก่จิตใจ

6. ตะลาวะตุลกุรอาน

การตะลาวัต เป็นอีกหนึ่งในขั้นตอนของการรู้จักอัล-กุรอาน มีหลายที่ด้วยกันที่อัล-กุรอานกล่าวถึง การตะลาวัต เช่น กล่าวว่า

الَّذِينَ آتَيْنَاهُمُ الْكِتَابَ يَتْلُونَهُ حَقَّ تِلَاوَتِهِ أُولَٰئِكَ يُؤْمِنُونَ بِهِ

บรรดาผู้ที่เราได้ให้คัมภีร์แก่พวกเขาโดยที่พวกเขาอ่านคัมภีร์อย่างจริงจัง ชนเหล่านี้คือ ผู้ที่ศรัทธาต่อศาสดา ( 2)

2อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ บะเกาะเราะฮฺ 121

๑๐๘

บางโองการกล่าวว่าหน้าที่ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือการอ่านคัมภีร์ โองการกล่าวว่า

هُوَ الَّذِي بَعَثَ فِي الْأُمِّيِّينَ رَسُولًا مِّنْهُمْ يَتْلُو عَلَيْهِمْ آيَاتِهِ

พระองค์ทรงแต่งตั้งเราะซูลขึ้นคนหนึ่งในหมู่ผู้ไม่รู้จักหนังสือจากพวกเขา เพื่อสาธยายโองการต่าง ๆ ของพระองค์แก่พวกเขา ( 1)

และยังมีอัล-กุรอานโองการอื่นกล่าวสนับสนุนประเด็นดังกล่าว เช่น

อัล- กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล บะเกาะเราะฮฺ 129 / 151, ซูเราะฮฺ อาลิอิมรอน 164, ซูเราะฮฺเกาะซ็อศ 59

คำว่า ตะลาวัต มาจากคำว่า ตะลา หมายถึง การติดตาม หรือการตามอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ การมาของสิ่งหนึ่งบางครั้งอาจแฝงมากับอีกสิ่งหนึ่ง และบางครั้งเป็นการติดตามสิ่งหนึ่งโดยมีจุดประสงค์เพื่อปฏิบัติตาม การอ่านคัมภีร์ของพระผู้เป็นเจ้า หมายถึง การอ่านเพื่อปฏิบัติตามคำสั่างห้ามและคำสั้งใช้ของพระองค์ ดังนั้น การตะวาวัต จึงเฉพาะเจาะจงมากกว่า การกะรออัต แม้ว่าทั้งสองคำจะให้ความหมายว่า อ่าน ก็ตาม ( 2)

1อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ ญุมุอะฮฺ 2

2มุฟรอดาต รอฆิบ เอซฟาอานียฺ หมวดคาว่า ตะลา

นักตัฟซีรบางท่านได้อธิบายสิทธิของการตะลาวัต ไว้ว่า การให้นิยามว่าตะลาวัต มีความหมายมาก เป็นเหมือนสัญญาณที่ชัดแจ้งสำหรับเราเมื่ออยู่ต่อหน้าพระคัมภีร์อันทรงเกียรติ

๑๐๙

ประชาชนเมื่ออยู่ต่อหน้าพระคัมภีร์สามารถแบ่งได้หลายกลุ่ม ดังนี้

- บางกลุ่มเพียงแค่กวดขันเรื่องการอ่านออกเสียงคำต่างๆ

- บางกลุ่มไม่เพียงแต่กวดขันเรื่องการอ่าน แต่ใคร่ครวญในความหมายของโอการด้วย

- บางกลุ่มยึดเอาอัล-กุรอานเป็นครรลองในการดำเนินชีวิต และยอมรับว่าอัล-กุรอานคือแบบอย่างที่สมบูรณ์

กล่าวคือ การอ่านคำและเข้าใจในความหมายจัดว่าเป็นปฐมบทที่โน้มนำไปสู่การปฏิบัติ และสิ่งนี้คือสิทธิของการตะลาวัต

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) อธิบายโองการที่กล่าวว่า พวกเขาอ่านคัมภีร์อย่างจริงจัง ว่าหมายถึง การปฏิบัติตามในสิทธิที่ควรปฏิบัติ( 1)

1มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่ม 8 หน้า 84

7. การเรียนรู้อัล-กุรอาน (การย้อนกลับไปยังอัล-กุรอาน)

หนึ่งในขั้นตอนของการได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอานคือ การเรียนรู้ ซึ่งอัล-กุรอานได้กล่าวถึงประเด็นนี้หลายครั้งด้วยกัน

๑๑๐

อัล-กุรอานกล่าวถึงชาวคัมภีร์ว่า

أَلَمْ يُؤْخَذْ عَلَيْهِم مِّيثَاقُ الْكِتَابِ أَن لَّا يَقُولُوا عَلَى اللَّهِ إِلَّا الْحَقَّ وَدَرَسُوا مَا فِيهِ

มิได้ถูกเอาแก่พวกเขาดอกหรือ ซึ่งข้อสัญญาแห่งคัมภีร์ว่า พวกเขาจะไม่กล่าวพาดพิงเกี่ยวกับอัลลอฮฺ นอกจากความจริงเท่านั้น และพวกเขาก็ได้ศึกษาสิ่งที่อยู่ในคัมภีร์แล้ว( 2)

2อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัลอะอฺรอฟ 169

นักภาษาศาสตร์กล่าวว่า คำว่า ดะเราะซะ นั้นมีองค์ประกอบหลายอย่างด้วยกันกล่าวคือ

1. การอ่านสิ่งหนึ่งอย่าต่อเนื่อง หมายถึง ความต่อเนื่องในการอ่าน ดังนั้น การอ่านเพียงครั้งเดียวจึงไม่ถือว่าเป็นการอ่านหรือเป็นการเรียนรู้ ( 3)

3กอมุซอัล - กุรอาน เล่ม 2 หน้า 338 หมวดคาว่า ดะเราะซะ

2. การทำซํ้าสิ่งๆ หนึ่ง คือ การเรียนรู้ถึงสิ่งนั้น เช่น การเวลาทบทวนบทเรียนที่ครูบาอาจารย์ได้สอนสั่งมาซํ้าหลาย ๆ ครั้ง เรียกว่าเป็นการเรียนรู้ บางครั้ง เราจะเห็นว่าอาคารบ้านเรือนดูเก่าแก่มาก (ดัรซฺ วะ อินดิรอซ)

ที่กล่าวเช่นนั้นเนื่องจากว่า ทั้งลม ฝน แสงแดด และสิ่งอื่นๆ ได้เกิดซํ้าไปซํ้ามาอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นสาเหตุทำให้อาคารเก่าเร็วขึ้น ( 1)

1 ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 6 หน้า 434

๑๑๑

3. การคงเหลือร่องรอยของสิ่ง ๆ หนึ่งเรียกว่าเป็นของเก่าแก่ เช่น เมื่อสภาพเดิมของบ้านหมดสภาพลงก็กลายเป็นบ้านเก่า แต่ยังคงเหลือร่องรอยให้เห็นจึงเรียกว่า (ดัรซุดดาซ) แต่บางครั้งร่องรอยของความรู้คงหลงเหลืออยู่เนื่องจากการท่องจำเรียกว่า (ดัรซุลอิลมิ) หรือ (ดัรซุลกิตาบ)

จากจุดนี้จะเห็นว่าการคงสภาพหลงเหลืออยู่ของความรู้หรือหนังสือ เนื่องจากความต่อเนื่องในการเรียนรู้ จึงเรียกสิ่งนั้นว่า ดัรซฺ ( 2)

จากคำกล่าวของนักอรรถาธิบายอัล-กุรอานและนักภาษาศาสตร์ทำให้ได้บทสรุปว่า คำว่า ดัรซฺ ในโองการ 169 ซูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ ให้ความหมายว่า ความต่อเนื่อง การทำซํ้า และการศีกษาคัมภีร์แห่งฟากฟ้า

ในอีกที่หนึ่งอัล-กุรอานกล่าวว่า

ما کانَ لِبَشَرٍ أَنْ يُؤْتِيَهُ اللَّهُ الْکِتابَ وَ الْحُکْمَ وَ النُّبُوَّةَ ثُمَّ يَقُولَ لِلنَّاسِ کُونُوا عِباداً لي‏ مِنْ دُونِ اللَّهِ وَ لکِنْ کُونُوا رَبَّانِيِّينَ بِما کُنْتُمْ تُعَلِّمُونَ الْکِتابَ وَ بِما کُنْتُمْ تَدْرُسُونَ

2 มุฟรอดาต เอซฟาฮานียฺ หมวดคำว่า ดะเราะซะ

ไม่เคยปรากฏแก่บุคคลใดที่อัลลอฮฺทรงประทานคัมภีร์และข้อตัดสิน และการเป็นนบีแก่เขา หลังจากนั้นเขากล่าวแก่ผู้คนว่า ท่านทั้งหลายจงเป็นบ่าวของฉัน นอกจากอัลลอฮฺ ทว่า (ขาจะกล่าวว่า) ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ที่ผูกพันธ์กับพระผู้อภิบาลเถิดเถิด เนื่องจากพวกท่านเคยเรียนคัมภีร์มา ( 1)

1อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อาลิอิมรอน 79

๑๑๒

คำว่า ร็อบบานียฺ จะกล่าวแก่บุคคลที่ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับพระผู้เป็นเจ้ามีความมั่นคงสูง เนื่องจากคำนี้มาจากรากศัพท์ของคำว่า

ร็อบบะ หมายถึง การอบรมสั่งสอน การดูและ ด้วยเหตุนี้คำๆ นี้ จะใช้กับบุคคลที่ให้การอบรมสั่งสอน หรือปรับปรุงบุคคลอื่น

ฉะนั้น เป้าหมายของบรรดาศาสดาจึงมิใช่การเลี้ยงดูบรรดาประชาชาติ แต่หมายถึงการให้การอบรม เป็นผู้สั่งสอน เป็นครูฝึก และเป็นผู้นำพวกเขา ซึ่งบุคคลเหล่านี้คือกลุ่มชนที่ได้ผ่าน 2 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. เคยเรียนรู้และเห็นคัมภีร์มาก่อน

2. เคยเห็นบทเรียนของคัมภีร์มาก่อน

ความแตกต่างของคำว่า ตะอฺลีม กับ ตัดรีซ อยู่ที่ว่า ตะอฺลีม มีความหมายกว้างกว่า และครอบคลุมการสอนทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการสอนปากเปล่า การสอนโดยใช้สื่อในการสอน และครอบคลุมผู้เรียนทั้งคนโง่และฉลาด

ส่วนคำว่า ตัดรีซ คือการสอนที่สอนโดยอาศัยสื่อซึ่งอาจเป็นตำรา หนังสือ หรือจากการรวบรวมข้อมูลเป็นแผ่น ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบคำทั้งสองจะเห็นว่า คำว่า ตัดรีซ มีความหมายแคบกว่าคำว่า ตะอฺลีม( 1)

1ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ เล่ม 2 หน้า 482

๑๑๓

สรุปว่าเราสามารถรู้จักอัล-กุรอานในระดับที่สูงขึ้นไปได้ด้วยวิธีการอ่านซํ้า อ่านด้วยความใคร่ครวญ และเรียนรู้ถึงความหมาย แต่สิ่งที่ควรจำคือ

อัล-กุรอานต่างไปจากคัมภีร์เล่มอื่นเนื่องจากอัล-กุรอานมีความใหม่อยู่เสมอ การเรียนรู้ซํ้าไปซํ้ามาจะไม่ทำให้มีความเบื่อหน่าย

ริวายะฮฺกล่าวว่ามีคนหนึ่งถามท่านอิมามซอดิก (อ.) ว่า ทำไมอัล-กุรอานยิ่งพิมพ์เผยแพร่ ยิ่งมีการเรียนรู้มากเท่าใด ยิ่งมีความหวานชื่นมากเท่านั้น ท่าน อิมามตอบว่า เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่ได้ประทานอัล-กุรอานลงมาให้ประชาชาติหรือช่วงเวลาที่เฉพาะเจาะจง

อัล-กุรอานจะเป็นคัมภีร์ใหม่เสมอตราบจนถึงวันกิยามะฮฺ และจะให้ความหวานชื่นแก่ทุกประชาชาติ ( 2)

8. การท่องจำและอัล-กุรอาน

หนึ่งในขั้นตอนของการรู้จักอัล-กุรอานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับทุกคนคือ การท่องจำโองการต่างๆ นั่นเอง

ริวายะฮฺจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) มากมายได้กล่าวเน้นเรื่องการท่องจำอัล- กุรอาน เข่น ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) จะไม่ทรงลงโทษบุคคลที่หัวใจของเขาได้บรรจุอัล-กุรอานเอาไว้ ( 3)

-------------------------------------------------

2บิอารุลอันวาร เล่ม 92 หน้า 15

3วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 4 หน้า 524

๑๑๔

แน่นอนถ้าหากหัวใจคือที่พำนักพจนารถของพระผู้เป็นเจ้าแล้วละก็ เท่ากับว่าบุคคลนั้นได้ปกป้องพระดำรัสของพระองค์ และพระองค์จะทรงปกป้องดำรัสของพระองค์ ดังนั้น หัวใจในฐานะแผ่นบันทึกพระดำรัสก็จะถูกปกป้องไปโดยปริยาย

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า บุคคลใดท่องจำอัล-กุรอาน ซึ่งความทรงจำของเขาอ่อนแอมาก อัลลอฮจะประทาน 2 รางวัลแก่เขา ( 1)

ยังจะไม่ดีไปกว่านี้อีกหรือ การที่เรามิได้ถูกห้ามการได้รับผลประโยชน์จากอัล-กุรอานโดยขั้นตอนดังกล่าว เนื่องจากวิธีดังกล่าวมีคุณประโยชน์มากมายสำหรับมนุษย์เอง อย่างน้อยสุดตนได้กลายเป็นผู้ปกป้องรักษาอัล- กุรอาน ทำให้ความทรงจำดีขึ้น เป็นผู้มักคุ้นกับอัล-กุรอาน ที่สำคัญที่สุดจะได้รับผลบุญมากมายจากพระผู้อภิบาล ริวายะฮฺกล่าวว่า ในวันกิยามะฮฺจะมีเสียงตะโกนบอกกับเขาว่า จงอ่าน และจงขึ้นไปด้านบน ทุกโองการที่อ่านจะทำให้ฐานันดรของเขาในสวรรค์สูงขึ้นไปเรื่อยๆ( 2)

1อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้าที่ 433/4

2บิฮารุลอันวาร เล่ม 89 หน้า 22

9. การไตร่ตรองในอัล-กุรอาน

อีกประการหนึ่งสำหรับขั้นตอนการรู้จักอัล-กุรอานคือ การไตร่ตรองและใคร่ครวญในอัล-กุรอาน ซึ่งประเด็นดังกล่าวมีโองการมากมายได้ยํ้าเน้นเอาไว้ และอัล-กุรอานกล่าวเชิญชวนเสมอให้มีการใคร่ครวญในตัวเอง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าการใคร่ครวญเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญของการประทาน

อัล-กุรอาน

๑๑๕

ดังที่กล่าวว่า

كِتَـٰبٌ أَنزَلۡنَـٰهُ إِلَيۡكَ مُبَـٰرَكٌ۬ لِّيَدَّبَّرُوٓاْ ءَايَـٰتِهِۦ وَلِيَتَذَكَّرَ أُوْلُواْ ٱلۡأَلۡبَـٰبِ

คัมภีร์ (อัล-กุรอาน) เราได้ประทานลงมาให้แก่เจ้าซึ่งมีความจำเริญ เพื่อพวกเขาจะได้พินิจพิจารณาฌองการต่าง ๆ ของอัล-กุรอานและเพื่อปวงผู้มีสติปัญญาจะได้ใคร่ครวญ ( 1)

ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ ได้อธิบายโองการดังกล่าวว่า เป้าหมายในการประทานคัมภีร์อันทรงเกียรติ มิได้ให้อ่านแต่เพียงอย่างเดียว ทว่าเป้าหมายหลักของการประทานคือการใคร่ครวญและไตร่ตรองในคัมภีร์ ( 2)

บางครั้งอัล-กุรอานกล่าวว่าประณามบุคคลที่ไม่ใคร่ครวญในอัล-กุรอาน เช่น กล่าวว่า

أَ فَلا يَتَدَبَّرُونَ الْقُرْآنَ أَمْ عَلي‏ قُلُوبٍ أَقْفالُها

พวกเขามิได้พิจารณาใคร่ครวญอัล-กุรอานดอกหรือ หรือว่าหัวใจของพวกเขามีกุญแจหลายดอกลั่นอยู่( 3)

ริวายะฮฺจำนวนมากมายได้กล่าวเน้นถึงการใคร่ครวญในอัล-กุรอาน เช่น ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า พึงสังวรไว้เถิดว่าการอ่านที่ไม่มีการใคร่ครวญในนั้นไม่มีความดีงามใด ๆ ทั้งสิ้น( 4)

-------------------------------------------------------------

1อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ ซ็อด โองการ 29

2ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 19 หน้า 268

3อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ มุฮัมมัด 24

4บิฮารุลอันวาร เล่ม 92 หน้า 211, เล่ม 2 หน้า 49

๑๑๖

คำว่า ตะดับบุร มาจากรากศัพท์คำว่า ดะบะเราะ หมายถึง ด้านหลังของสิ่งหนึ่ง ดังนั้น ตะดับบุร จึงหมายถึง การครุ่นคิดเบื้องหลังของภารกิจทั้งหลาย( 5)

5 มุฟรอดาต รอฆิบ เอซฟาฮานียฺ หมวดคำว่า ดะบะเราะ

หมายถึง บั้นปลายสุดท้ายของการงานหรือปรากฏการณ์ที่ได้เห็น หลังจากนั้นได้ใคร่ครวญและทบทวนในเหตุการณ์เหล่านั้น

ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ กล่าวว่า ตะดับบุร มาจากรากศัพท์ของคำว่า ดะบะเราะ หมายถึง การพิสูจน์บทสรุปของสิ่ง ๆ หนึ่ง ต่างกับการ ตะฟักกุร (การคิด) ซึ่งส่วนมากจะคิดถึงสาเหตุที่เกิดของสิ่งๆ นั้น และทั้งสองคำถูกใช้ใน

อัล-กุรอานในความหมายที่กว้าง

คำว่า อักฟาล ในโองการที่ 24 ซูเราะฮฺ มุฮัมมัด เป็นพหูพจน์ของคำว่า

กุฟลิ ซึ่งมาจากรากศัพท์ของคำว่า กุฟูล หมายถึง การกลับ หรือ กุฟีล ให้ความหมายว่า สิ่งที่แห้ง ดังจะเห็นว่าถ้ามีคนๆ หนึ่งปิดประตูและใส่กุญแจอย่างดี ผู้ที่เห็นว่าประตูใส่กุญแจไว้ เขาก็จะหันหลังกลับทันที เหมือนกันสิ่งของที่แห้งจะไม่มีสิ่งใดซึมผ่านมันเข้าไปได้ ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวว่า กุฟีล

การที่จะได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอาน จำเป็นอย่างยิ่งที่บุคคลนั้นต้องมีการขัดเกลาตนเองเสียก่อน เพราะอะไร เนื่องจากว่าถ้าหัวใจของเราถูกใส่กุญแจไว้ หมายถึง ถูกอารมณ์ใฝ่ตํ่าครอบงำ หรือถูกความยะโสโอหัง

ความอคติอวดดี และความเห็นแก่ตัวควบคุมอยู่ โดยไม่ยอมให้สิ่งอื่นหรือแม้แต่รัศมีของอัล- กุรอานเล็ดลอดเข้าไปจะมีประโยชน์อันใดอีก

ฉะนั้น นี่คือความหมายของโองการที่กำลังกล่าวถึง ( 1)

1 ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 21 หน้า 467/9

๑๑๗

ข้อควรพิจารณา การตะดับบุร ก็คือ ความเข้าใจด้านใน หรือการตะอฺวีล และเป้าหมายของอัล-กุรอานซึ่งแอบแฝงอยู่ที่คำต่าง ๆ เช่น

เรื่องราวเกี่ยวกับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ที่ปรากฏในอัล-กุรอาน โดยมีเป้าหมายเพื่อสาธยายแบบฉบับของพระผู้เป็นเจ้า และให้บทเรียนอันทรงคุณค่า และมีความสำคัญอย่างยิ่ง สิ่งสำคัญคือการสร้างความเข้าใจในสาส์นทั่วๆ ไปของเรื่องราวดังกล่าว เพื่อนำมาเป็นบทเรียนให้แก่ตัวเอง

10. การคิดในอัล-กุรอาน (ตะฟักกุร)

ขั้นตอนการรู้จักอัล-กุรอานอีกประการหนึ่งคือ การคิดในโองการต่างๆ ของพระองค์ ซึ่งมีหลายโองการที่ได้กล่าวถึงประเด็นนี้เอาไว้ เช่น กล่าวว่า

إِنَّا أَنْزَلْناهُ قُرْآناً عَرَبِيًّا لَعَلَّکُمْ تَعْقِلُونَ

แท้จริงพวกเราได้ประทานอัล-กุรอานแก่เขาเป็นภาษาอาหรับเพื่อพวกเจ้าจะใช้ปัญญาคิด( 1)

1อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ ยูซุฟ 2

๑๑๘

บางครั้งอัล-กุรอานได้แนะนำว่าเป้าหมายของการประทานอัล-กุรอานคือการคิดไตร่ตรองของมนุษย์ ดังที่กล่าวว่า

بِالْبَيِّناتِ وَ الزُّبُرِ وَ أَنْزَلْنا إِلَيْکَ الذِّکْرَ لِتُبَيِّنَ لِلنَّاسِ ما نُزِّلَ إِلَيْهِمْ وَ لَعَلَّهُمْ يَتَفَکَّرُونَ

ด้วยหลักฐานทั้งหลายที่ชัดแจ้ง และคัมภีร์ต่างๆ ที่ศักดิ์สิทธิ์ เราได้ประทานอัล-กุรอานแก่เจ้าเพื่อเจ้าจะได้สาธยายแก่มนุษย์ในสิ่งที่ได้ถูกประทานมาแก่พวกเขา เพื่อพวกเขาจะได้ไตร่ตรอง( 2)

ริวายะฮฺจำนวนมากมายได้เชิญชวนมนุษย์ไตร่ตรองในโองการต่าง ๆ ของพระองค์( 3)

-------------------------------------------------------------------

2อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล นะฮฺลิ 44

3มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่ม 8 หน้า 88

๑๑๙

ดังที่เคยกล่าวมาแล้วว่านักอรรถาธิบายอัล-กุรอานบางท่านในยุคปัจจุบันกล่าวว่า ตะฟักกุร คือการไตร่ตรองถึงสาเหตุที่เกิดของสิ่งนั้น

ส่วน การตะดับบุร คือการไตร่ตรองถึงผลหรือบทสรุปของการเกิดของสิ่งนั้น( 1)

1ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ เล่ม 21 หน้า 469

ในวิชาตรรกวิทยาได้กล่าวว่า เหตุผลนั้นมี 2 ลักษณะกล่าวคือ

ลิมมียฺ กับ อินนียฺ

เหตุผลที่เป็นลิมมียฺ หมายถึง การคิดจากสาเหตุที่เกิดไปหามูลเหตุแห่งการเกิด

ส่วนเหตุผลที่อินนีย์ คือการคิดจากมูลเหตุที่เกิดไปหาสาเหตุของการเกิด

บางที่อาจกล่าวได้ว่า การตะดับบุรนั้นหมายถึง เหตุผลที่เป็นอินนียฺ

ส่วนการตะฟักกุรนั้น หมายถึงเหตุผลที่เป็นลิมมียฺ

ข้อควรพิจารณา ตะฟักกุร คือความเข้าใจภายนอกของอัล-กุรอาน หรืออีกนัยหนึ่งคือ การอรรถาธิบาย เช่น ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวของบรรดาศาสดาทั้งหลาย

๑๒๐

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134