ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ชีวประวัติอิมามฮะซัน28%

ชีวประวัติอิมามฮะซัน ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 134

ชีวประวัติอิมามฮะซัน
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 134 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 64776 / ดาวน์โหลด: 5720
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

สุภาษิต :

โอสถบำบัดโรค

ชีวิตของบรรดาอิมาม(อ)แห่งอะฮฺลุลบัยตฺนั้นคือ พลังที่นำมวลมุสลิมไปสู่วิถีทางของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และความปิติชื่นชมยังพระองค์และเป็นการเน้นให้มีการเชื่อฟังปฏิบัติตามพระองค์ กล่าวคือ บรรดาอิมาม(อ) เป็นสื่อในเรื่องเหล่านี้ทุกๆ วิถีทาง แบบแผนชีวิตของบรรดาอิมาม(อ)มิได้เป็นเพียงบทเรียนอย่างเดียวเท่านั้น หากยังหมายความไปถึงคำปราศรัย พินัยกรรม คำสั่งเสีย

จดหมาย ดังที่บรรดานักประวัติศาสตร์ได้ รวบรวมถ้อยคำของพวกท่านมาบันทึกไว้โดยสังเขป

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.)พระองค์ทรงเป็นพยานได้ว่า

ไม่มีเรื่องราวของผู้ใดมีรายละเอียดเสมอเหมือนกับบรรดาท่านเหล่านั้น เรื่องราวเหล่านี้คือ คลังแห่งคำสอน และเป็นโอสถหลายขนานสำหรับบำบัดรักษาโรคต่าง ๆ ทางสังคมของพวกเรา และเป็นการเรียกร้องเชิญชวนสู่สัจธรรมและความดีงาม

ในบทนี้เราจะเสนอสุภาษิตบางประการจากถ้อยคำของท่านอิมามฮะซัน(อ) ดังนี้

๑. จงอย่าเร่งให้ความบาปต้องพบกับบทลงโทษ แต่จงหาวิธีทางอย่างใดอย่างหนึ่งมาแก้ไขในระหว่างนั้น

๒. การหยอกล้อจะกัดกร่อนบารมี แต่การเพิ่มบารมีอยู่ที่การนิ่งเงียบ

๓. โอกาสที่ดีมักจะจากไปอย่างรวดเร็ว และกลับมาช้าเสมอ

๖๑

๔. ความสุขจะไม่เป็นที่รับรู้เสมอในยามที่มันมีอยู่ แต่มันจะเป็นที่รู้จักทันทีที่มันจากไป

๕. จะปรึกษาหารือกับคนกลุ่มใดก็จะเป็นไปตามแนวชี้นำของคนกลุ่มนั้น

๖. คนเลวย่อมไม่รู้คุณของความดีงาม

๗. ความดีที่ไม่มีความชั่วใดๆ แอบแฝงได้แก่ การรู้คุณค่าของความโปรดปราน และอดทนต่อความทุกข์ยาก

๘. ความอับอายยังให้ความเจ็บน้อยกว่าไฟนรก

๙. มนุษย์จะวิบัติด้วยเหตุ ๓ ประการ การทะนงตัว ความโลภ

และการริษยา

การทะนงตัว คือ การทำลายศาสนา และด้วยเหตุนี้เองอิบลิสจึงถูกสาปแช่ง

ความโลภคือ ศัตรูของตนเองและด้วยเหตุนี้ที่อาดัม(อ)ถูกขับออกจากสวรรค์

การริษยาคือ ที่ตั้งของความชั่ว และด้วยเหตุนี้ที่กอบีลสังหารฮาบีล

๖๒

๑๐. ไม่มีการมีมารยาทใดสำหรับคนที่ไร้ปัญญา ไม่มีลักษณะของชายชาตรีสำหรับคนที่ไม่มีความมุ่งมั่นเอาจริงเอาจัง ไม่มีความละอายใดสำหรับคนที่ไม่มีศาสนา สุดยอดแห่งการมีปัญญาคือการพบปะพูดคุยกับผู้คนด้วยลักษณะที่สวยงาม ด้วยกับปัญญาเท่านั้นที่จะเข้าถึงซึ่งโลกทั้งสอง ผู้ใดที่ไม่ใช้สติปัญญา เขาก็จะไม่สามารถเข้าถึงซึ่งโลกนี้ และโลกหน้า(๑)

๑๑. จริยธรรมที่สูงสุดยอดมี ๑๐ ประการ

( ๑) รักษาสัจจะไว้โดยวาจา

( ๒) รักษาสัจจะไว้โดยความเดือดร้อน

( ๓) บริจาคแก่ผู้ขอ

( ๔) มีมารยาทที่ดีงาม

( ๕) มีความบากบั่นในการทำงาน

( ๖) มีไมตรีต่อญาติมิตร

( ๗) มีเมตตาธรรมต่อเพื่อนบ้าน

( ๘) รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น

( ๙) ให้เกียรติต่อแขก

( ๑๐) หัวใจของสิ่งเหล่านี้คือความละอาย

๑๒. การสูญเสียสิ่งที่ต้องการดีกว่าการขอจากคนที่มิได้เป็นเจ้าของในสิ่งนั้นจริง(๒)

๖๓

๑๓. ฉันไม่เห็นผู้อธรรมคนใดที่ละม้ายคล้ายคลึงกับผู้ถูกอธรรม มากกว่าผู้ที่อิจฉาริษยา

( หมายความว่า ผู้มีจิตอิจฉาริษยานั้นมีสภาพเป็นทั้งผู้อธรรม (ต่อผู้อื่น) และตัวเองก็ถูกอธรรมจากการอิจฉาริษยานั้น)(๓)

๑๔. จงเอาความรู้ของเจ้าสอนผู้อื่นและจงศึกษาความรู้จากคนอื่น เมื่อนั้นความร้อนของเจ้าจะแข็งแกร่ง และเจ้าจะรู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้(๔)

๑๕. แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงรำลึกถึงเจ้าอยู่ ดังนั้นเจ้าจงรำลึกถึงพระองค์ และทรงเลี้ยงดูเจ้าอยู่ ดังนั้นจงขอบคุณต่อพระองค์

๑๖. ถ้ากิจกรรมอันเป็นนะวาฟิล(ที่ควรแก่การกระทำ)จะทำลายกิจกรรมอันเป็นวาญิบ ( ข้อบังคับ) เจ้าก็จงละทิ้งนะวาฟิลนั้นเสีย

๑๗. ผู้ใดที่เตือนสติตัวเองอยู่เสมอ หลังจากการเดินทางเขาก็ถูกยอมรับ

๑๘. ระหว่างพวกเจ้ากับคำตักเตือน แท้จริงมันคือม่านแห่งเกียรติยศ

๑๙. ใครที่แสวงหาการเคารพภักดี เขาก็จะได้รับการขัดเกลา

๒๐. การตัดขาดจากความรู้ คือข้อบกพร่องของผู้ศึกษาเล่าเรียน(๕)

๒๑. สิ่งที่ดีที่สุดของความดีงามคือมารยาทที่ดี(๖)

๖๔

----------------------------------------------------

(๑ ) อะอฺยานุช - ชีอะฮฺ ๔ กอฟ ๑๐๗ / ๑

(๒ ) อัลฮะซัน บินอะลี ของอัลดุล - กอดิร อะหมัด อัล - ยูซุฟ ห้า ๖๐

(๓ ) มะฏอลิบุซซุอุล หน้า ๖๙ พิมพ์ครั้งที่ ๑

(๔ ) กัซฟุล - ฆุมมะฮฺ หน้า ๑๗๐

(๕ ) ตะฮัฟฟุล - อุกูล หน้า ๑๖๙

(๖ ) อัล - คิศอล หน้า ๒๙

คำตอบอันชาญฉลาดของท่านอิมามฮะซัน(อ)

ในบทนี้เราขอนำเสนอการตอบปัญหาของท่านอิมามฮะซัน(อ)ในเรื่องที่เกี่ยวกับอัคลาค ( จริยธรรมอันดีงาม) การรู้จักพระผุ้เป็นเจ้าและกิริยามารยาทอันงดงาม คำตอบของท่านอิมาม (อ) นี้

ท่านจะไม่เห็นมันในหนังสือเล่มอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอัคลาค หรือแม้แต่หนังสือของนักปราชญ์แห่งอิสลามเลย บางปัญหาที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ บิดาของท่านคือท่านอะลี อะมีรุลมุมินีน(อ) ได้เคยถามท่านอิมามฮะซัน(อ)แล้ว ท่านก็กล่าวถึงความประเสริฐอันสูงส่งของท่านอิมาม(อ) ยกย่องต่อตำแหน่งอันสูงสุดของท่านอิมาม(อ) อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความดีงามเป็นพิเศษของท่าน

ดูเหมือนว่าบางคำถามยากมากถึง ขนาดที่ว่าไม่น่าจะมีคำตอบเลยเกี่ยวกับคำถามนั้น เช่นคำถามของกษัตริย์โรมัน ซึ่งมันไม่เป็นการง่ายเลยที่จะตอบคำถามเหล่านั้น แต่ทว่าบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)นั้น พวกเขาได้รับการเรียนรู้และการสั่งสอนมาจากบรรพบุรุษของเขา ซึ่งมาจากท่านญิบรออีล อันได้รับมาจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)นั่นเอง

๖๕

เราจะกล่าวถึง บางคำตอบของท่านอิมามฮะซัน(อ)สำหรับคำถามต่าง ๆ ในบางเรื่อง ณบัดนี้

ถาม-ตอบ เรื่องที่ ๑.

ท่านอะลี อะมีรุลมุมินีน(อ)ผู้เป็นบิดาของท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้ถามลูกของท่านดังนี้

ถาม “ โอ้ ลูกรัก สิ่งกีดขวาง คืออะไร? ”

ตอบ “ สิ่งกีดขวางก็ คือ การป้องกันความเลวร้ายด้วยการกระทำความดี ”

ถาม “ การมีเกียรติ คืออะไร? ”

ตอบ “ คือการดูแลวงศาคนาญาติ และการยอมรับความผิด ”

ถาม “ ความเป็นชายชาตรี คืออะไร ?”

ตอบ “ คือการรู้จักหักห้ามใจตัวเอง และการรู้จักใช้ทรัพย์สิน ”

ถาม “ ความเลวทราม ต่ำช้า คืออะไร ?”

ตอบ “ การพิจารณาแบบมักง่าย และขัดขวางผู้ต่ำต้อย ”

ถาม “ สิ่งที่น่ายกย่องคืออะไร ?”

ตอบ “ การอุตสาหพยายามทั้งในยามลำเค็ญและยามสุขสบาย ”

ถาม “ การตระหนี่ คืออะไร ?”

ตอบ “ คือการที่ท่านเห็นสิ่งที่มีอยู่ในมือเป็นความสิ้นเปลือง

(ถ้าจะจ่ายไป) ส่วนสิ่งที่จ่ายไปแล้วถือเป็นความสูญเสีย ”

ถาม “ ภราดรภาพคืออะไร ?”

ตอบ “ ความซื่อสัตย์ต่อสัญญาทั้งในยามทุกข์ยากและเดือดร้อน ”

๖๖

ถาม “ ความขี้ขลาดคืออะไร ?”

ตอบ “ กล้าต่อกรกับเพื่อนฝูง แต่หนีจากศัตรู ”

ถาม “ สิ่งที่ถือว่าเป็นโชคดีคืออะไร ?”

ตอบ “ ความปรารถนาในการสร้างตักฺวา และการอยู่ตามสมควรในโลกนี้ ”

ถาม “ ความอดทน อดกลั้นคืออะไร ?”

ตอบ “ การระงับความโกรธ และควบคุมตนเองได้ ”

ถาม “ ความร่ำรวยคืออะไร ”

ตอบ “ ความพึงพอใจต่อสิ่งที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) จัดสรรให้แม้เพียงน้อยนิด อันที่จริงแล้วความร่ำรวยก็คือจิตใจที่รู้จักพอ ”

ถาม “ ความยากจนคืออะไร ?”

ตอบ “ ความปรารถนา อยากได้ในทุกสิ่ง ”

ถาม “ อุปสรรคคืออะไร ?”

ตอบ “ ความทุกข์ยากแสนลำเค็ญ ”

ถาม “ ความทุกข์คืออะไร ?”

ตอบ “ คำพูดของท่านไม่ได้ให้ความหมายอะไรแก่ตัวท่านเลย ”

ถาม “ ความสง่างามคืออะไร ?”

ตอบ “ การให้แม้อยู่ในสภาพมีหนี้สิน ”

ถาม “ ความรับผิดชอบอยู่ที่ไหน ?”

ตอบ “ การพูดในสิ่งที่มิได้พิสูจน์ ”

ถาม “ ความดีคืออะไร ?”

ตอบ “ การให้ในยามที่ถูกฉ้อฉล และอภัยในยามที่ถูกประทุษร้าย ”

๖๗

ถาม-ตอบ เรื่องที่ ๒

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ถูกถามถึงของสิบชนิดที่มีบางชนิดแข็งแกร่งกว่าอีกชนิดหนึ่ง

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ตอบว่า

“ สิ่งที่แข็งแกร่งที่สุดที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงสร้างมาคือหิน และสิ่งที่แข็งยิ่งกว่ามันก็คือเหล็ก หินจะถูกตัดด้วยกับเหล็ก สิ่งที่แข็งแกร่งยิ่งกว่าเหล็กก็คือไฟ เพราะมันจะหลอมละลายเหล็ก สิ่งที่มีอานุภาพมากกว่าไฟก็คือน้ำ สิ่งที่เหนือกว่าน้ำก็คือก้อนเมฆ สิ่งที่เหนือกว่าก้อนเมฆก็คือลม ซึ่งมันจะพัดพาก้อนเมฆไป สิ่งที่มีอำนาจเหนือกว่าลมก็คือ มะลาอิกะฮฺที่ทำหน้าที่ดูแลเรื่องลม สิ่งที่มีอำนาจเหนือกว่ามะลาอิกะฮฺองค์นั้นก็คือ “ มะลิกุ้ลเม้าตฺ ” ที่ทำหน้าที่ปลิดวิญญาณของมะลาอิกะฮฺองค์นั้น สิ่งที่เหนือกว่า “ มะลิกุ้ลเม้าตฺ ” ก็คือ “ ความตาย ” ซึ่งมันจะปลิดชีวิตของ “ มะลิกุ้ลเม้าตฺ ” เอง

แต่สิ่งที่มีอานุภาพเหนือความตายก็คือคำสั่งของ “ อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ” ที่จะฝังความตายเอาไว้ ”

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๓.

ท่านอิมาม(อ)ถูกถามจากบุคคลหนึ่งว่า

ถาม “ ใครเป็นผู้ใช้ชีวิตได้ดีเลิศที่สุดในหมู่มนุษย์ ”

ตอบ “ ผู้ที่ให้มนุษย์มีส่วนร่วมในการใช้ชีวิตของเขา ”

ถาม “ ใครเป็นผู้ดำรงชีวิตที่เลวที่สุด ”

ตอบ “ คือผู้ที่ไม่ปล่อยให้ใครเข้ามาร่วมในการใช้ชีวิตของเขาเลย แม้แต่คนเดียว ” ( ๑)

( ๑) อัล-ฮะซัน บินอะลี ของอับดุล-กอดิร อะฮฺมัด อัล-ยูซุฟ หน้า ๖๒

๖๘

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๔.

มุอาวิยะฮฺ ถามท่านอิมามฮะซัน(อ)ว่า

“ โอ้ อะบามุฮัมมัด มีอยู่สามสิ่งที่ฉันไม่พบว่า จะมีใครอธิบายมันให้ฉันฟังได้เลย ”

ท่าน(อ) ถามว่า “ เช่นอะไรบ้าง ?”

เขาตอบ “ ความเป็นชายชาตรี เกียรติยศ และความเอื้อเฟื้อ ”

ท่านอิมาม(อ) ตอบว่า

“ ความเป็นชายชาตรีก็คือการที่ชายคนนั้นแก้ไขปรับปรุงตัวในเรื่องกิจการศาสนา และการดำรงไว้ซึ่งทรัพย์สินที่ดีงาม มีการให้ทาน และทักทายด้วยสลาม ให้ความรักใคร่ต่อคนทั้งหลายเกียรติยศหมายถึงการให้ก่อนได้รับการร้องขอ มีคุณธรรมเป็นกุศล ให้อาหารเป็นทาน ความเอื้อเฟื้อคือ มีความกลมเกลียวกับญาติ ปกป้องคุ้มครองกันในยามที่ถูกภาวะที่ถูกรังเกียจ อดทนในยามที่ได้รับความเดือดร้อน ” ( ๒)

( ๒) ตารีคอัล-ยะอฺกูบี เล่ม ๒ หน้า ๒๑๕

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๕.

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ถูกถามถึง “ เรื่องการนิ่งเงียบว่าเป็นอย่างไร ?”

ท่าน(อ)ตอบว่า “ การนิ่งเงียบที่ถูกต้องหมายถึง การปกปิดความลับ การตบแต่งรูปโฉมภายนอก กระทำสิ่งหนึ่งอย่างสบายใจ ผู้ที่ร่วมพูดคุยอยู่ด้วยรู้สึกปลอดภัย ” ( ๓)

( ๓) มะฏอลิบุซ-ซุอูล หน้า ๖๙

๖๙

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๖

กษัตริย์แห่งโรมเขียนจดหมายถึงมุอฺาวิยะฮฺ ถามปัญหาสามข้อคือ

๑- สถานที่ที่เป็นกึ่งกลางของท้องฟ้า

๒- เลือดหยดแรกที่ตกบนโลก

๓- สถานที่ขึ้นของดวงอาทิตย์

เขาไม่สามารถให้คำตอบได้ จึงขอร้องให้ท่านอิมามฮะซัน(อ)ช่วยตอบปัญหานี้

ท่าน(อ)ตอบว่า “ กึ่งกลางของท้องฟ้าอยู่ที่ “ อัล-กะอฺบะฮฺ ” เลือดหยดแรกคือเลือดของท่านหญิง “ เฮาวาอ์ ” สถานที่ขึ้นของดวงอาทิตย์คือดินแดนแห่งทะเลที่ท่านนบีมูซา (อ) ใช้ไม้เท้าฟาด ” ( ๔)

( ๔) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๑๕๒

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๗

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้ตอบคำถามกษัตริย์แห่งโรมอีกครั้งหนึ่งที่ถามท่านว่า “ อะไรที่ไม่มีทิศทางสำหรับตน ใครที่ไม่มีญาติสำหรับเขา ?”

ท่าน(อ)ตอบว่า “ ที่ไม่มีทิศทางสำหรับตนคืออัล-กะอฺบะฮฺ ผู้ที่ไม่มีเครือญาติสำหรับเขาคือพระผู้อภิบาล ” ( ๕)

(๕ ) อัล - มะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๑๕๒

๗๐

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๘.

ชาวชาม(ซีเรีย)คนหนึ่งถามท่านอิมามฮะซัน(อ)

ถาม “ ความห่างกันระหว่างสัจธรรมกับความไม่ถูกต้องมีมากน้อยเพียงใด ?”

ตอบ “ ห่างกันสี่นิ้วมือ กล่าวคือ อะไรที่ท่านเห็นด้วยตานั่นคือสัจธรรม ส่วนอะไรที่ได้ยินกับหูอันนั้นส่วนมากจะไม่ถูกต้อง ”

ถาม “ ความห่างกันระหว่างความศรัทธา (อีหม่าน) กับความเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่ (ยะกีน) มีเท่าใด ?”

ตอบ “ ห่างกันสี่นิ้วมือ กล่าวคือความศรัทธาคือเชื่อในสิ่งที่ได้ยินมา ส่วนความเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่นั้นคือเชื่อในสิ่งที่เห็นมา ”

ถาม “ ระหว่างฟ้ากับพื้นดินห่างกันเท่าไหร่ ?”

ตอบ “ เท่ากับเสียงร้องเรียกของคนที่ถูกอธรรม กับการทอดสายตาไปมอง ”

ถาม “ ทิศตะวันออกกับทิศตะวันตกห่างกันเท่าใด ?”

ตอบ “ เท่ากับระยะทางเดินของดวงอาทิตย์ ” ( ๖)

(๖ ) อัล - มะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๑๕๒

๗๑

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๙.

ครั้งหนึ่งท่านอิมามฮะซัน(อ)นั่งอยู่ในมัสญิด มีประชาชนอยู่รายล้อมท่าน มีชายคนหนึ่งก้าวเข้ามาในมัสญิด แล้วเขาก็พบว่ามีคนๆ หนึ่งกำลังพูดถึงท่านศาสนทูต(ศ)อยู่ ซึ่งมีผู้คนนั่งอยู่ด้วย เขาก็เดินไปหาชายคนนั้นแล้วถามว่า

“ จงบอกฉันซิว่า ใครคือชาฮิด(ผู้เป็นพยาน) และใครคือมัชฮูด(ผู้ได้รับการเป็นพยาน) ”

ชายคนที่หนึ่งตอบว่า

“ ชาฮิดหมายถึงวันศุกร์ มัชฮูดหมายถึงวันอะร่อฟะฮฺ ”

ชายคนนั้นก็เดินไปถามชายคนที่สองที่ในมัสญิดด้วยว่า

“ ชาฮิดและมัชฮูดหมายถึงอะไร ?”

ชายคนที่ถูกถาม ตอบว่า

“ ชาฮิดคือวันศุกร์ ส่วนมัชฮูดคือวันแห่งการเชือดกุรบานในพิธีฮัจญ์ ”

เขาจึงเดินไปถามชายคนที่สามในปัญหาเดียวกัน

ชายคนที่สามตอบว่า

“ ชาฮิดหมายถึง ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ส่วนมัชฮูดหมายถึงวันฟื้นคืนชีพ ; ดังที่ฉันได้ยินโองการของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ที่ว่า:

“ โอ้ผู้เป็นนบี แท้จริงเราได้ส่งเจ้ามาเพื่อเป็นสักขีพยาน(ชาฮิด) เป็นผู้แจ้งข่าวดี และเป็นผู้ตักเตือนให้ระวังภัย ”

๗๒

และโองการที่ว่า :

“ วันนั้นที่เป็นศูนย์รวมของประชาชน และนั่นคือวันที่ได้รับการเป็นพยานยืนยัน(มัชฮูด) ”

ชายผู้ตั้งคำถามได้ถามคนทั้งหลายว่า “ พวกเขาสามคนคือใคร ?”

คนที่อยู่ในมัสญิดตอบว่า “ ชายคนแรกคือท่านอิบนุอับบาส ชายคนที่สองคือ ท่านอิบนุอุมัร ชายคนที่สามคือท่านอิมามฮะซัน บุตรของอะลี อิบนิ

อะบีฏอลิบ (อ) ” ( ๗)

(๗ ) นูรุล - อับศ็อร หน้า ๑๗๓

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๑๐.

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ถูกถามเกี่ยวกับเรื่องการเมือง

ท่าน(อ)ตอบว่า “ การเมือง คือการที่ท่านจะต้องดูแลรักษาส่วนที่เป็นสิทธิของอัลลอฮฺ สิทธิของคนที่มีชีวิตอยู่ และสิทธิของคนที่ตายไปแล้ว

ในส่วนที่เป็นสิทธิของอัลลอฮฺนั้น หมายถึงท่านจะต้องปฏิบัติในสิ่งที่พระองค์ทรงใช้ และหลีกห่างจากสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม

ในส่วนที่เป็นสิทธิของคนที่มีชีวิต ก็คือท่านจะต้องดำรงไว้ซึ่งสิทธิหน้าที่ของท่านเพื่อพี่น้อง ประชาชนของท่าน อย่าล่าช้าจากการรับใช้เหล่าข้าบริวารของท่าน และจะต้องทำหน้าที่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ต่อผู้ปกครอง

เท่าๆ กับที่ทำหน้าที่อย่างบริบูรณ์ต่อข้าทาษบริวาร ต้องสลัดทิ้งความชิงชังออกไปในยามประสบกับอุปสรรคในเส้นทางที่ราบเรียบ

๗๓

ในส่วนที่เป็นสิทธิของผู้ตายนั้น ก็คือจะต้องรำลึกถึงความดีงามของเขาและโกรธคนที่มุ่งร้ายต่อเขา ดังนั้นสำหรับพวกเขาแล้วมีพระผู้อภิบาลทำหน้าที่ตัดสินตอบแทนอยู่ ” ( ๘)

(๘ ) ฮะยาตุล - อิมามฮะซัน บินอะลี ( อ ) ของอัล - กุรชี เล่ม ๑ หน้า ๑๔๓

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๑๑.

มุอาวิยะฮฺได้ถามท่านอิมามฮะซัน(อ) ว่า

“ อะไรที่จำเป็นบ้างในเรื่องการปกครองของเรา ?”

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ตอบว่า

“ มันคือเรื่องที่ท่านนบีซุลัยมาน(อ) บุตรของนบีดาวูด(อ)ได้กล่าวไว้ ”

มุอาวิยะฮฺ ถามว่า

“ ท่านนบีซุลัยมาน(อ)กล่าวไว้อย่างไร ?”

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ตอบว่า

“ ท่านนบี(อ)กล่าวกับสาวกคนหนึ่งของท่านว่า :

“ เจ้ารู้หรือไม่ว่า หน้าที่ที่จำเป็นสำหรับกษัตริย์ในการปกครองคืออะไรบ้าง และอะไรบ้างที่ไม่เป็นอันตรายแก่เขาในยามที่เขาปฏิบัติ

นั่นคือ เขาต้องยำเกรงต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทั้งในยามลับและในยามเปิดเผย ต้องยุติธรรมทั้งในยามโกรธและยามพึงพอใจ ต้องเข้าหาทั้งคนยากจนและคนร่ำรวย ต้องไม่แสวงหาทรัพย์สินในทางมิชอบ ต้องไม่ใช้จ่ายทรัพย์สินอย่างฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย สิ่งบำเรอความสุขทางโลกจะต้องไม่นำอันตรายมาสู่เขา ในยามที่เขาอยู่ตามลำพัง ” ( ๙)

(๙ ) ตารีคอัล - ยะอฺกูบี เล่ม ๒ หน้า ๒๐๒

๗๔

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๑๒.

ครั้งหนึ่งท่านอิมามฮะซัน(อ)กำลังเวียนฏ่อว๊าฟบัยตุลลอฮฺอยู่ มีชายคนหนึ่งเข้ามาถามท่านว่า

“ คำว่าอัล-ญะวาด(ผู้เอื้ออารี) หมายความว่าอย่างไร ?”

ท่านอิมาม(อ)ตอบว่า “ คำถามของท่านมีความหมายสองแง่ กล่าวคือ

ถ้าถามในแง่ของผู้ถูกสร้าง อัล-ญะวาด หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างสมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ข้อบังคับที่มีต่อตัวเอง เพราะคนตระหนี่หมายถึงคนที่ตระหนี่ในสิ่งที่เป็นหน้าที่และข้อบังคับของตัวเอง แต่ถ้าท่านถามในแง่ของผู้สร้าง อัล-ญะวาดหมายถึงผู้ที่จะประทานให้ก็ได้ ไม่ให้ก็ได้ เพราะว่าถึงแม้พระองค์จะให้อะไรแก่บ่าวคนหนึ่ง พระองค์ก็ให้แก่เขาซึ่งสิ่งของที่มิได้เป็นของเขา และถ้าพระองค์จะไม่ประทานให้ ก็เป็นสิทธิของพระองค์เพราะสิ่งนั้นก็มิได้เป็นของเขาเหมือนกัน ” ( ๑๐)

(๑๐ ) ฮะยาตุล - อิมามฮะซัน บินอะลี ของอัลกุรชี เล่ม ๑ หน้า ๑๔๔

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๑๑.

ชายคนหนึ่งถามท่านอิมามฮะซัน(อ)ว่า

“ โอ้บุตรของท่านศาสดา โปรดกล่าวถึงคุณลักษณะของพระผู้อภิบาลให้ฉันฟัง ให้เหมือนกับที่ฉันกำลังมองเห็นพระองค์ซิ ”

๗๕

ท่านอิมาม(อ)สะดุ้งเล็กน้อย แล้วแหงนศีรษะขึ้นมาพลางกล่าวว่า

“ ข้าขอสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ พระองค์ไม่มีการเริ่มต้นตามที่เข้าใจกัน พระองค์ไม่มีสภาวะสุดท้ายอันเป็นที่สิ้นสุด ไม่มีอะไรมีมาก่อน

ไม่มีขอบเขตใดๆ อยู่ข้างหลัง ไม่มีระยะทางเพื่อไปหา

ไม่เป็นเรือนร่างเพื่อแยกส่วน ไม่มีความแตกต่างกันในคุณลักษณะ

หนึ่งๆ ที่ยุติได้ ไม่มีปัญญาใดเข้าถึงและวาดมโนภาพได้ ไม่ปรากฏบนสิ่งใดๆ และไม่แอบแฝงภายในสิ่งใดๆ ไม่ทอดทิ้งอะไรโดยไม่มีพระองค์ทรงสร้างสิ่งนั้น แล้วทรงให้การเริ่มต้นอันวิจิตรพิศดาร ทรงให้ความพิศดารแก่สิ่งที่ทรงให้การเริ่มต้น และทรงกระทำตามที่พระองค์ทรงประสงค์ นี่คือพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ” ( ๑๑)

(๑๑ ) อัต - เตาฮีด หน้า ๔๖

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๑๔.

มีเรื่องเล่าว่า ท่านอิมามฮะซัน(อ) อาบน้ำแล้วออกจากบ้านอย่างสง่าผ่าเผย เรือนร่างทุกส่วนสะอาด มีพาหนะเดินทางที่ดี มีเสบียงเป็นสัดส่วนอย่างเรียบร้อย ใบหน้าของท่านผ่องใส บุคลิกลักษณะของท่านมีสง่าราศีบริบูรณ์งามเด่น ให้การต้อนรับคนทั้งหลายด้วยความปราณียิ้มแย้มแจ่มใส เบิกบาน มีผู้ตัดสินแล้วว่าความสุขอยู่ที่ความยุติธรรมของท่าน

ท่านขี่ม้าตัวใหญ่ที่สมบูรณ์ ท่านเดินไปท่ามกลางการต้อนรับเป็นแถวเรียงราย ถ้าหากท่านอับดุลมะนาฟ(ปู่ทวดของท่าน) ได้เห็นท่านคงอดไม่ได้ที่จะต้องภาคภูมิใจบรรพบุรุษทั้งหลายของท่านจะต้องปลาบปลื้มเป็นล้นพ้น

๗๖

ในเส้นทางที่ท่านเดินมีชาวยิวที่แร้นแค้นคนหนึ่งพำนักอยู่ เขาประสบความล้มเหลวด้วยสาเหตุต่างๆ มีความเป็นอยู่ที่ตกต่ำ รายได้น้อย ขาดแคลนอาหารถึงขนาดหนังหุ้มติดกระดูก อ่อนระโหยโรยแรงถึงขนาดทรงตัวเกือบไม่ได้ และเลวยิ่งกว่านั้นสิ่งที่เขารักคือนกพิราบตัวหนึ่ง ยามดวงอาทิตย์ขึ้นแดดก็แผดเผาจนไหม้เกรียม ความเป็นอยู่ของเขาสุดแสนทรมาน เป็นอยู่อย่างนี้มานานแสนนาน เขาถือถังน้ำที่เต็มปริ่ม ในขณะนั้นหัวใจของเขาแข็งกร้าว เมื่อได้แลเห็นคนๆ หนึ่งปรากฏว่าท่านอิมาม(อ)หยุดยืนอยู่ต่อหน้าเขา เขากล่าวว่า

“ ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ จงให้ความเป็นธรรมต่อฉันด้วย ”

ท่านอิมาม(อ)ย้อนถามว่า “ เรื่องอะไรหรือ ?”

เขาตอบว่า “ ท่านตาของท่านเคยกล่าวว่า “ โลกนี้คือคุกของผู้ศรัทธา แต่เป็นสวรรค์ของผู้ปฏิเสธ (กาฟิร) ”

“ ในเมื่อท่านเป็นผู้ศรัทธา ส่วนฉันเป็นผู้ปฏิเสธ แล้วไฉนฉันจึงเห็นว่าโลกนี้เป็นสวรรค์สำหรับท่าน ท่านช่างมีความสุขและมีความอิ่มเอิบกับรสชาดของมันเสียเหลือเกิน แต่ดูไปแล้วมันกลับเป็นคุกสำหรับฉันเสียมากกว่า เพราะมันทำลายชีวิตฉันเสียยับเยิน มันให้แต่ความยากจนข้นแค้นแก่ฉันตลอดมา ”

เมื่อท่านอิมาม(อ)ได้ยินเช่นนั้น ท่านก็อธิบายให้ความสว่างแก่เขา โดยเผยคำตอบออกมาจากความรู้อันเปรียบดังขุมคลังแห่งความรู้ของท่าน

๗๗

ท่านอธิบายให้แก่ชาวยิวผู้เข้าใจผิดคนนั้นว่า

“ โอ้ท่านผู้อาวุโส ถ้าหากท่านได้แลเห็นสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงสัญญาไว้กับฉันและบรรดาผู้ศรัทธาไว้ในปรโลก อันเป็นสิ่งที่สายตามองไม่เห็น หูไม่ได้ยิน แน่นอนที่สุดท่านจะรู้ได้เลยว่า ชีวิตในโลกนี้ก่อนที่ฉันจะย้ายไป มันเป็นเพียงแค่สถานที่กักกันเท่านั้น และถ้าหากท่านสามารถมองเห็น

สิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)สัญญาไว้กับท่านและผู้ปฏิเสธทุกคนในปรโลกแล้วไซร้ จะเห็นว่ามันคือไฟนรกอันร้อนแรงลุกโชติช่วง เป็นการลงโทษอันถาวรแน่นอนที่สุด ท่านต้องจะเห็นว่า โลกที่ท่านอาศัยอยู่ขณะนี้คือสวรรค์อันกว้างใหญ่ มีศูนย์รวมแห่งความโปรดปรานพร้อมบริบูรณ์ ” ( ๑๒)

(๑๒ ) กัซฟุล - ฆุมมะฮฺ หน้า ๑๖๓

๗๘

คำวิงวอน

บทคำวิงวอนขออันเป็นส่วนเฉพาะตัวของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)นั้น ทุกท่านต่างก็มีคำวิงวอนอย่างมากมายโดยได้รับการเก็บรักษาไว้เพียงจำนวนหนึ่งบรรดานักปราชญ์ได้รวบรวมบทดุอาอ์ของบุคคลเหล่านี้ไว้ในตำราต่าง ๆ เป็นอันมาก

นอกจากนี้ ในความหมายของบทดุอาอ์ดังกล่าวยังมีเรื่องการสรรเสริญอัลลอฮฺ(ซ.บ.) การแสดงความนอบน้อมต่อพระองค์ ถ่อมตนอย่างสุดซึ้งต่อพระองค์ อันหมายถึงเป็นศูนย์รวมแห่งคำสอนต่างๆ ทั้งจริยธรรม มารยาท ความรู้ในเรื่องราวของพระผู้เป็นเจ้า และความสมบูรณ์ต่างๆ ใน

บทนี้เราจะกล่าวถึงบทดุอาอ์ของท่านอิมามฮะซัน(อ) อย่างสั้นๆ บางประการ

บทที่ ๑.

ครั้งหนึ่งมุอาวิยะฮฺได้นำชาวกุเรชกลุ่มหนึ่งมาหาท่าน โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำร้ายท่าน ท่านอิมามฮะซัน(อ) ได้วิงวอนขอดุอาอ์ว่า

“ ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้าขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากความชั่วร้ายของคนเหล่านั้น ฉันขอให้พระองค์ปกป้องการทำร้ายโดยคนเหล่านี้ และขอความช่วยเหลือจากพระองค์เกี่ยวกับคนเหล่านี้ ขอให้โปรดปกป้องข้าให้พ้นจากพวกเขา ไม่ว่าโดยวิธีใดที่พระองค์ทรงประสงค์ และฉันก็ปรารถนาด้วยอำนาจและพลังของพระองค์ ข้าแต่พระผู้ทรงเมตตายิ่งกว่าผู้มีความเมตตาใดๆ ” ( ๑)

(๑ ) ชัรฮฺ นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ เล่ม ๒ หน้า ๑๐๑

๗๙

บทที่ ๒.

เมื่อท่านอิมามฮะซัน(อ)ไปถึงประตูมัสญิด ท่านแหงนศีรษะขึ้นแล้ว

กล่าวว่า

“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า แขกของพระองค์มาถึงประตูของพระองค์แล้ว ข้าแต่ผู้ทรงไว้ซึ่งความดีงาม คนที่ทำความผิดพลาดมาหาพระองค์แล้ว ขอได้โปรดสลัดความน่าชังที่มีอยู่ในตัวข้าออกไปโดยความดีงามที่มีอยู่

ณ พระองค์ด้วยเถิด ข้าแต่พระผู้ทรงเกียรติยิ่ง ” ( ๒)

(๒ ) อัล - มัดค็อล อิลา เมาซูอะติล - อะตะบาต อัล - มุก็อดดะซะฮฺ หน้า ๑๘

บทที่ ๓.

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้สอนดุอาอ์บทหนึ่งให้แก่ผู้ที่ได้รับความไม่เป็นธรรม วิงวอนขอเพื่อป้องกันผู้อธรรม หลังจากนมาซสองร็อกอะฮฺแล้ว ซึ่งปรากฏว่าเป็นที่ได้รับการตอบสนอง ดังนี้

“ ข้าแต่พระผู้ทรงไว้ซึ่งความเข้มงวดแห่งสถานการณ์ที่เป็นไป ข้าแต่ผู้ทรงพลัง ข้ามีความ

ต่ำต้อยต่อเกียรติยศของพระองค์ยิ่งกว่าอะไรทั้งหมดที่ทรงสร้างมา ขอได้โปรดปกป้องข้าให้พ้นจากความชั่วร้ายของ ( ให้กล่าวนามศัตรู) …… ตามที่พระองค์ทรงประสงค์ ” ( ๓)

(๓ ) อัล - มุจญตะนา มินัดดุอาอิล - มุจยตะบา หน้า ๓

๘๐

บทที่ 4.

เมื่อมุอาวิยะฮฺเข้ามาหาท่านอิมามฮะซัน(อ) ท่านได้อ่านดุอาอ์บทหนึ่งว่า

“ ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณา ผู้ทรงเมตตาอยู่เป็นนิรันดร์ ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงยิ่งใหญ่ ผู้ทรงเกรียงไกร ข้อแต่อัลลอฮฺ

มหาบริสุทธิ์เป็นของพระองค์ ข้าแต่ผู้ดำรงอยู่เป็นนิรันดร์ มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระผู้ทรงชีวิตไม่มีความตาย ข้าขอวิงวอนต่อพระองค์ เหมือนอย่างผู้ที่ตก

เป็นเหยื่อที่ปากเสือในขณะที่อยู่ในบ่อ ซึ่งไม่มีความสามารถจะหาทางใดๆ หลีกพ้นได้ นอกจากโดยการอนุมัติของพระองค์ ข้าขอวิงวอนต่อพระองค์ได้โปรดยับยั้งการกระทำของชายคนนี้ที่กระทำต่อข้า และให้พ้นจากศัตรูของข้าทุกคน ทั้งทางทิศตะวันออกและทางทิศตะวันตก ทั้งจากมนุษย์และญิน ขอได้โปรดเอาไปจากพวกเขาซึ่ง หู การได้ยิน ตา หัวใจ และอวัยวะต่างๆ ของพวกเขา ขอให้ผ่านพ้นจากแผนการร้ายของพวกเขาด้วยอำนาจและพลังของพระองค์ โปรดเป็นผู้ใกล้ชิดข้าเพื่อปกป้องให้พ้นจากพวกเขา

และคนพาลทั้งหลาย และให้พ้นจากมารร้ายที่ไม่ศรัทธาในวันตัดสินตอบแทน แท้จริงผู้คุ้มครองข้าคืออัลลอฮฺผู้ประทานคัมภีร์ลงมา และพระองค์ทรงคุ้มครองบรรดาผู้มีคุณธรรม ดังนั้นถึงแม้เขาทั้งหลายจะปฏิเสธ ดังนั้นก็จงกล่าวว่า อัลลอฮฺ ผู้ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ก็เป็นที่เพียงพอแล้วสำหรับข้า ข้าขอมอบหมายตนเองยังพระองค์ และพระองค์คือพระผู้อภิบาลแห่งบัลลังก์อันยิ่งใหญ่ ” ( 4)

(4 ) มุฮิจญุดดะอฺวาต หน้า 143

๘๑

บทที่ 5.

ท่านอิมามฮะซัน(อ)วิงวอนด้วยบทดุอาอ์อีกบทหนึ่งว่า

“ ข้าแต่ผู้เป็นที่พึ่งของผู้ที่ไร้ที่พึ่ง ทรงเป็นผู้ให้ความอบอุ่นใจแก่คนที่โดดเดี่ยว โปรดประทานพรแด่มุฮัมมัด และลูกหลานของท่าน โปรดให้ข้าอบอุ่นใจกับพระองค์ แน่นอนที่สุด โลกของพระองค์ทรงความคับแค้นให้แก่ข้า โปรดบันดาลให้ข้ามีการมอบหมายตนต่อพระองค์

แน่นอนที่สุดศัตรูของพระองค์ได้รังควานข้าแล้ว ข้าแต่อัลลอฮฺ ได้โปรดประทานพรแด่มุฮัมมัด และโปรดนำข้าเข้าสู่พระองค์ และให้ข้าแสวงหาพระองค์ ข้าขอมอบตัวยังพระองค์ และข้าขอกลับตัวยังพระองค์

ข้าแต่อัลลอฮฺ คุณลักษณะอันใดก็ตามที่ข้าพรรณนาถึงพระองค์หรือ

คำวิงวอนใดก็ตามที่ข้าวิงวอน ขอต่อพระองค์ ขอให้พระองค์ประทานความสัมฤทธิ์ผลตามนั้น โดยความรักจากพระองค์ และ ความปิติชื่นชมของพระองค์ ขอให้ข้ามีชีวิตอยู่ตามนั้นและตายลงกับสิ่งนั้น อันใดที่ข้ารังเกียจ

ก็ขอให้พระองค์ทรงเอาชีวิตของข้าไปสู่สิ่งที่พระองค์รักและชื่นชมยินดี

ข้าขออภัยโทษต่อพระองค์ พระผู้เป็นเจ้าของข้า ข้าขออภัยต่อพระองค์อันเนื่องมาแต่ความผิดพลาดของข้า ไม่มีพลัง ไม่มีอำนาจใดๆ นอกจากโดยอัลลอฮฺ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจาก พระองค์ผู้ทรงโอบอ้อมอารี

ผู้ทรงเผื่อแผ่ยิ่ง ขอให้อัลลอฮฺประทานพรแด่มุฮัมมัดและลูกหลานของท่าน ขอให้ความทุกข์โศกในโลกนี้และปรโลก จงผ่านพ้นไปจากเราเพราะความอบอุ่นจากพระองค์ ข้าแต่พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ” ( 5)

5(มุฮิจญุดดะอฺวาตหน้า 144)

๘๒

บทที่ 6.

ท่านอิมามฮะซัน(อ)มีดุอาอ์บทหนึ่งคือ

“ ข้าแต่อัลลอฮฺ แท้จริงพระองค์คือผู้ดูแลสรรพสิ่งทั้งมวลของพระองค์ ในบรรดาสรรพสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างจะไม่มีใครเป็นผู้ดูแลเสมอเหมือนพระองค์ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ความดีงามใดๆที่มีก็เนื่องมาแต่ ความเมตตาของพระองค์ ความชั่วใด ๆ ที่มีก็เนื่องมาแต่ความผิดพลาดของมนุษย์เอง

จะไม่มีอะไรดีที่สุดเท่าการอภัยและความช่วยเหลือของพระองค์ไม่มีอะไรชั่วร้ายเท่ากับการบิดพลิ้วต่อพระองค์ และออกนอกกฎบัญญัติของพระองค์ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ข้ารู้จักพระองค์แล้ว ข้าได้เข้าสู่ทางนำตามคำสั่งของพระองค์ก็เพราะพระองค์ ถ้าหากไม่มีพระองค์ ข้าก็ไม่รู้จักว่าพระองค์คือใคร ข้าแต่พระผู้ทรงเป็นอย่างนี้ แต่ไม่ทรงเป็นอย่างนั้น ที่นอกเหนือไปจากพระองค์โปรดประทานพรแด่มุฮัมมัด และลูกหลานของมุฮัมมัด และโปรดประทานเครื่องยังชีพ ให้แก่ข้านั่นคือความบริสุทธิ์ใจในการงานของข้า และโปรดเผยความไพศาลแก่เครื่องยังชีพของข้า ข้าแต่อัลลอฮฺ โปรดประทานความดีให้แก่การงานของข้า ในตอนสุดท้ายของมันให้วันที่ข้าได้พบพระองค์เป็นวันที่ดีที่สุดของข้า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ข้าเชื่อฟังปฏิบัติตามพระองค์ ความโปรดปรานที่ถือว่าเป็นบุญคุณยิ่งของพระองค์นั้น

โปรดประทานแก่ข้า อันเป็นสิ่งที่พระองค์รักมากที่สุด ได้แก่ ความศรัทธาต่อพระองค์ ความเชื่อมั่นต่อศาสนทูตของพระองค์ และข้าจะไม่ทรยศต่อพระองค์ด้วยการกระทำสิ่งที่พระองค์ชิงชังที่สุด อันได้แก่ การตั้งภาคีต่อพระองค์ การบิดเบือนต่อศาสนทูตของพระองค์ ดังนั้นโปรดให้อภัยแก่ข้าในส่วนที่อยู่ระหว่างของสองสิ่งนี้ด้วยเถิด ข้าแต่พระผู้ทรงเมตตาเหนือกว่าผู้มีความเมตตาใด ๆ ” ( 6)

6) มุฮิจญุดดะอฺวาต หน้า 144)

๘๓

การตอบสนองต่อคำวิงวอน

เป็นที่รับประกันได้อย่างหนึ่งว่า คำวิงวอนที่ได้รับการตอบสนองประการหนึ่งนั้น ได้แก่

คำวิงวอนของผู้ที่ได้รับความไม่เป็นธรรมที่ขอให้มีอันเป็นไปแก่ผู้อธรรม บรรดาอิมาม(อ)นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม พวกเขาคือพวกที่ถูกกดขี่ ซึ่งได้รับแต่การประทุษร้าย ด้วยวิธีการต่างๆ นานา

จนในที่สุดพวกเขาทั้งหมด(ขออัลลอฮฺได้โปรดประทานความสันติสุขแด่ทุกท่าน) ต้องได้รับการสังหารและถูกลอบวางยาพิษแน่นอนที่สุด

การดำเนินชีวิตของบรรดาอิมาม(อ) ล้วนเต็มไปด้วยความอดกลั้นอดทน มีความเมตตาปราณีต่อคนที่ทำร้าย แต่บรรดาอิมาม(อ)ในยามที่ประสบกับความเจ็บปวดอย่างแสนสาหัสจากบรรดาผู้อธรรม ท่านก็จะอ้อนวอนขอต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) เพื่อทรงประทานการลงโทษแก่คนเหล่านั้น ซึ่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็ทรงให้การสนองตอบคำวิงวอนของพวกเขา โดยให้คนที่ประทุษร้าย

เหล่านั้นได้รับการลงโทษในโลกนี้ก่อนการลงโทษในปรโลก

ในบทนี้เราจะกล่าวถึงเรื่องราวบางส่วนในเรื่องของการสนองตอบต่อคำวิงวอนขอของท่านอิมามฮะซัน(อ)

1. มีประชาชนมาขอความช่วยเหลือต่อท่านอิมามฮะซัน(อ)ใน กรณีของอิบนุซิยาด ท่านจึงยกมือขึ้นวิงวอนขอว่า

“ ข้าแต่อัลลอฮฺ ได้โปรดจัดการกับอิบนุซิยาดให้แก่พวกเราและผู้ที่เป็นพรรคพวกของเราด้วยเถิด ให้เราได้เห็นการลงโทษ และความวิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแก่เขาเถิด แท้จริงพระองค์ทรงมีเดชาสามารถในทุกสิ่ง ”

๘๔

ต่อมาปรากฏว่า มีโรคชนิดหนึ่งปรากฏออกมาจากหัวแม่มือด้านขวาของเขา แล้วมันลุกลามไปจนถึงคอ จากนั้นเขาก็ถึงแก่ความตาย(1)

2. ครั้งหนึ่งมุอฺาวิยะฮฺสั่งให้ท่านอิมามฮะซัน(อ)กล่าวคำปราศรัย ซึ่งท่านก็ได้กล่าวมันด้วยอรรถรสยิ่งนัก ปรากฏว่ามีชายหนุ่มคนหนึ่งซึ่งเป็นคนหนุ่มจากตระกูลอุมัยยะฮฺเข้ามาในที่ชุมนุมนั้น เขาแสดงความก้าวร้าวต่อท่านอิมาม(อ) ด่าประณามท่านอย่างรุนแรง และลามปามไปถึงบิดาของท่านอิมามด้วย ท่านอิมามฮะซัน(อ)กล่าวขึ้นว่า

“ ข้าแต่อัลลอฮฺ ขอได้ทรงเปลี่ยนความโปรดปรานที่เขามีอยู่นั้นเสียเถิด ”

ปรากฏว่าชายคนนั้นกลายสภาพไปในทันที(2)

-----------------------------------------------------

1) อัด - ดัมอะตุซ - ซากิบะฮฺ เล่ม 1 หน้า 233)

2) อิษบาตุล - ฮุดาฮ์ เล่ม 5 หน้า 149)

๘๕

สนธิสัญญาสันติภาพ

1. ความเป็นมา

ท่านอะลี อะมีรุลมุมินีน(อ) เสียชีวิตไปในขณะที่หัวใจของท่านมีความเจ็บปวดอย่างใหญ่หลวง เนื่องจากสมาชิกบางคนของท่านคิดคดทรยศต่อท่าน และปฏิเสธที่จะให้การสนับสนุนท่านในหนังสือ

“ นะฮฺญุล-บะลาเฆาะฮฺ ”

ได้มีการบันทึกคำอุทธรณ์กับคนเหล่านั้นมีการตำหนิถึง

พฤติกรรมของพวกเขาอย่างเผ็ดร้อน เช่นครั้งหนึ่งท่านได้กล่าวว่า

“ แน่นอนพวกเจ้าทำให้หัวใจของข้ากลัดหนอง พวกเจ้าได้ทับถมภาระอันหนักหน่วงลงในหัวอกของข้า พวกเจ้ากลั่นแกล้งข้าให้ได้รับความขมขื่นอย่างท่วมท้น พวกเจ้าได้สร้างความเสียหายแก่ข้าด้วยการทรยศหักหลัง ”

อีกวาระหนึ่ง ท่านได้กล่าวกับพวกเขาว่า

“ น่าอดสูจริง ๆ แน่นอนข้าขอสาปแช่งในความเลวของพวกเจ้า พวกเจ้าพอใจในชีวิตแห่งโลกนี้มากกว่าปรโลกอันยาวนานกระนั้นหรือ

พวกเจ้าพึงพอใจในความต่ำต้อยมากกว่าเกียรติยศอันถาวรกระนั้นหรือ ?”

ท่านยังเคยเทศนาแก่พวกเขาในเชิงปรับทุกข์ครั้งหนึ่งว่า

“ ข้าขอยืนต่อหน้าพวกเจ้าในฐานะผู้คร่ำครวญ และขอเรียกร้องพวกเจ้าในฐานะผู้ขอความช่วยเหลือว่า ถ้าไม่รับฟังคำพูดใดๆ จากข้าก็รังแต่จะเกิดเหตุการณ์อันวิปโยคขึ้นในภายหลัง แล้วจะไม่มีร่องรอยใดๆ ของพวกเจ้าให้พบเห็นอีกเลย และพวกเจ้าก็จะไม่บรรลุถึงจุดหมายอันสูงสุด

ข้าเรียกร้องพวกเจ้าเพื่อให้ช่วยเหลือพี่น้องของพวกเจ้า แต่พวกเจ้าทำอิดเอือนอย่างกับอูฐที่เดินเชื่องช้า

๘๖

พวกเจ้าขัดขืนรั้งตัวเองไว้ข้างหลังจนสิ้น ที่เหลือไปเป็นทหารกับข้าก็เฉพาะคนอ่อนแอ ดังโองการที่ว่า :

“ เสมือนหนึ่งพวกเขาถูกลากจูงไปสู่ความตาย ในขณะที่พวกเขามองเห็น ”

เมื่อประสบกับความผิดหวังที่ร้ายแรงที่สุด ท่านได้กล่าวว่า

“ ชั่งอัปยศแท้ ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ พวกเจ้าช่วยเหลือใครกันแน่ ใครที่ได้ถลำตัวไปกับพวกเจ้า ก็เท่ากับเขาได้ถลำตัวไปในหุบเหวอันแสนลึก ”

ท่านอิมามอะลี(อ)ยังได้พรรณนาถึงบุคคลเหล่านั้นอีกว่า

“ ไม่เคยมีข้อเรียกร้องอันใดที่หนักหน่วงเท่ากับข้อเรียกร้องของพวกเจ้า ไม่เคยมีหัวใจที่ไม่ทุกข์ใดๆ เท่าหัวใจที่แข็งกระด้างของพวกเจ้า

ต้นเหตุของความหลงผิดก็คือการต่อต้านผู้ทรงคุณวุฒิสูงส่งทางศาสนา ”

ท่านเคยสำทับเตือนคนเหล่านั้นว่า

“ ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ข้ามั่นใจเหลือเกินว่า คนเหล่านั้นจะล่อลวงพวกเจ้าให้เข้าไปอยู่ในความผิดพลาดร่วมกับพวกเขา และจะแย่งชิงสิทธิของพวกเจ้า นั้นขึ้นอยู่กับการที่พวกเจ้าทรยศต่ออิมามที่ชอบธรรมของพวกเจ้า แต่กลับปฏิบัติตามผู้นำที่ผิดพลาดของพวกเจ้า ”

ในขณะที่ทหารของอิมามอะลี(อ)มีลักษณะดังกล่าว แต่กองทหารของฝ่ายศัตรูกลับให้การเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาของตนเป็นอย่างดี

๘๗

จนท่านอิมาม(อ)ถึงกับกล่าวว่า

“ ผู้บังคับบัญชาของพวกเจ้าปฏิบัติตามอัลลอฮฺ(ซ.บ.) แต่พวกเจ้ากลับทรยศต่อเขา ส่วนผู้บังคับบัญชาของชาวชามทรยศต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) แต่พวกเขายังเชื่อฟังปฏิบัติตาม ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ข้าจะพอใจอย่างยิ่ง ถ้าหากมุอาวิยะฮฺยอมแลกเปลี่ยนทหารกับฉัน เหมือนอย่างกับการแลกเงินดีนาร์กับเงินดิรฮัม กล่าวคือให้เขาเอาพวกเจ้าไปจากข้า 10 คน แล้วให้เขามอบพวกเขาเหล่านั้นมาให้ข้าเพียงคนเดียว ” ( 1)

มุอาวิยะฮฺ รู้ดีว่าทหารของอิมามอะลี(อ)แปรพักตร์จากท่านเสียแล้ว เขาจึงกล่าวว่า

“ ข้าอยู่กับความจงรักภักดีจากบรรดาทหาร ส่วนเขาอยู่กับความคิดคดของเหล่าทหาร ” ( 2)

2. ทหารอิมามฮะซัน(อ)

ทหารในสมัยของท่านอิมามฮะซัน(อ) ได้เกิดมีปัญหายุ่งยากใหญ่หลวงเพราะทหารของท่านเพิ่มการทรยศมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ กว่าจะได้ออกไปทำสงครามในแต่ละครั้งก็ต้องพร่ำแล้วพร่ำอีก และต้องได้ยินเสียงร้องตะโกนตะคอกของอะดี บินฮาติม และชาวเมืองบัศเราะฮฺคนอื่นๆ

เสียก่อน

-------------------------------------------------------------

1) บางส่วนจากนะฮฺญุล - บะลาเฆาะฮฺ)

2) อัลฮะซัน บิน อะลี ของกามิล ชุลัยมาน หน้า 197)

๘๘

ชัยค์อัล-มุฟีด(ขอให้ท่านประสบกับความเมตตา) ได้พรรณนาถึงลักษณะความเป็นอยู่ของทหารท่านอิมามฮะซัน(อ)ว่า

“ ยามที่ประชาชนกระวีกระวาดเพื่อออกไปต่อสู้ พวกเขากลับหน่วงเหนี่ยวและรักตัวกลัวตาย และที่ออกไปกับท่านก็มีประชาชนในรูปแบบ

ต่างๆ ผสมปนเปกันไปบ้างก็เป็นพรรคพวกของผู้เป็นบิดาของท่านเองในอดีต บ้างก็เป็นคนของท่านเอง บ้างก็เป็นพวกที่แสวงหาผลประโยชน์ใน

การต่อสู้กับมุอาวิยะฮฺในทุกรูปแบบ บ้างก็เป็นพวกที่มีพฤติกรรมแอบแฝง คือ มุ่งแต่จะได้ปัจจัยในการสงคราม บางคนที่มีเงื่อนงำน่าสงสัย บางคนก็เป็นพวกทรยศมาก่อนที่ติดตามหัวหน้าเผ่าของตนโดยไม่มีการหวนคำนึงถึงศาสนา ” ( 3)

3) อัล - อิรชาด หน้า 193)

3. อุบัยดุลลอฮฺ บินอับบาซ

พลทหารของท่านอิมามฮะซัน(อ) ส่วนมากเป็นผู้ที่เห็นแก่ประโยชน์

เล็กๆ น้อยๆ ท่านเคยส่งทหารออกไปรบจำนวน 12 , 000 คน ภายใต้การนำของ อุบัยดุลลอฮฺ บินอับบาซ คนผู้นี้เหมาะสมกับตำแหน่งนี้ เพราะแต่ก่อนนั้นเขาเคยทำงานร่วมกับท่านอะมีรุลมุมินีน (อ) ขณะเดียวกับที่ถูกอัปเปหิมาจากมุอฺาวิยะฮฺ และเคยได้บะซัร บินอิฏอฮฺช่วยฆ่าเด็กเล็ก ๆ สองคนเพื่อช่วยเขาที่ยะมัน ปรากฏว่าทั้งเขาและคนอื่น ๆ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับบัญชาทหาร

๘๙

ทหารเหล่านี้ได้ออกเดินทางมาถึงเมืองอะยูเฎาะฮฺ ใกล้กับตำบลมัสกิน ได้พบกับกองทหารของ “ ชาม ” มุอฺาวิยะฮฺได้เชิญตัวเขาไปและมอบเงินให้จำนวน 1 , 000 ,000 ดิรฮัม โดยจ่ายให้ก่อนครึ่งหนึ่ง และจะจ่ายให้อีกหลังจากได้เข้าเมืองกูฟะฮฺ

ธรรมดาของคนที่ละโมภ เขาก็ยินยอมเพื่อสิ่งนั้น ถึงแม้จะโดยวิถีทางที่ไม่ชอบธรรม บรรดาทหารมาเริ่มเข้าใจเอาตอนที่เห็นผู้บังคับบัญชาของตนยืนร่วมนมาซกับพวกนั้น และในแถวนมาซก็มีมุอาวิยะฮฺ ร่วมอยู่ด้วย ขณะนั้นชาว “ ชาม ” คนหนึ่งลุกขึ้นประกาศว่า

“ ผู้ปกครองของพวกท่านอยู่กับเราที่นี่แล้ว เขาได้ให้สัตยาบันต่อเราแล้ว และอิมามของพวกท่านก็ยอมประนีประนอมแล้ว......(เขายังพูดยาวต่อไปจนถึงประโยคที่ว่า).....ถ้ามิฉะนั้นแล้วพวกท่านก็ต้องฆ่าตัวของพวกท่านเอง ”

เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้แล้ว ทหารเหล่านั้นก็ตกลงเข้าร่วมขบวนการกับมุอฺาวิยะฮฺ มากขึ้นเรื่อยๆ

ท่านยะอฺกูบีกล่าวว่า

“ อุบัยดุลลอฮฺ ได้นำทหารเข้าสวามิภักด์ต่อมุอฺาวิยะฮฺแปดพันคน ” ( 4)

------------------------------------------------------------------

4) ตารีค อัล - ยะอฺกูบีย์ เล่ม 2 หน้า 204)

๙๐

4. การติดต่อสัมพันธ์

ระหว่างชาวกูฟะฮฺกับมุอฺาวิยะฮฺ

มุอฺาวิยะฮฺได้พยายามดำเนินงานด้วยวิธีคดโกงและให้สินบน ตลอดทั้งวิธีการต่างๆ ทุก

รูปแบบที่ไม่ถูกต้องตามหลักศาสนา เพื่อสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในหมู่ทหารของท่านอิมามฮะซัน(อ) จนกระทั่งมีผู้บังคับบัญชาและคนระดับแกนนำบางคนต้องคล้อยตามกับเขาไป(5)

มุอฺาวิยะฮฺ พยายามดำเนินการเช่นนี้ กล่าวคือ เขาเคยเขียนจดหมายไปหาบุคคลระดับหัวหน้าในเมืองกูฟะฮฺหลายคน โดยสัญญากับคนเหล่านั้นว่าจะยกทรัพย์สินให้ หรือไม่ก็จะมอบตำแหน่งข้าหลวงปกครองเมือง “ ชาม ” หรือไม่ก็จะยกลูกสาวของตนให้แต่งงานด้วย ถ้าหากใครสามารถฆ่าท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้ ปรากฏว่าท่านอิมาม(อ)รู้เรื่องนี้ ท่านถึงกับต้องสวมเสื้อเกราะในเวลานมาซ และมีอยู่ครั้งหนึ่งท่านโดนลูกธนูขณะที่ทำการนมาซ(6)

บรรดาผู้นำเผ่าอีกจำนวนหนึ่งก็แสดงความพอใจต่อมุอฺาวิยะฮฺโดยเขียนจดหมายไปถึงเขาว่า จะเชื่อฟังปฏิบัติตามเขาอย่างลับๆ และเรียกร้องให้เขาเดินทางมาหาพวกตน และให้สัญญาอย่างแข็งขันว่า จะบีบให้ท่านอิมาม(อ)ยอมจำนนต่อเขาในทันทีที่เขายกกองทหารเข้ามา หรือไม่ก็ร่วมมือกับเขา(7)

-------------------------------------------------------------------------

( 5) ในหนังสืออัด-ดัมอะตุซ-ซากิยะฮฺ เล่ม 1 หน้า 238

( 6) ในเล่มเดิม หน้า 238

( 7) อัล-อิรชาด หน้า 239

๙๑

ด้วยเหตุนี้เอง ถ้าหากท่านอิมาม(อ)ขืนทำล่าช้าในการเจรจาสันติภาพแน่นอนที่สุดชาวกูฟะฮฺ จะต้องสวามิภักด์ต่อมุอาวิยะฮฺทันที เมื่อนั้นก็จะเป็นผลเสียแก่ท่านมากกว่าผลดี

ท่านอิมามฮะซัน (อ)ได้ส่งทหารไปจำนวน 4 , 000 คน โดยมีผู้บังคับบัญชาเป็นคนตระกูลกันดะฮฺ เมื่อไปถึงแล้ว มุอาวิยะฮฺก็มอบเงินให้ 5 , 000 , 000 ดิรฮัม เขาก็ยอมสวามิภักด์กับมุอฺาวิยะฮฺ ท่านอิมาม (อ) ส่งทหารตามไปอีกจำนวน นำโดยคนตระกูลมุร็อด มุอฺาวิยะฮฺก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับคนแรก คนตระกูลมุร็อด ผู้นั้นก็ยอมทิ้งทหารและเข้าสวามิภักด์กับมุอฺาวิยะฮฺ

มุอฺาวิยะฮฺได้ติดสินบนแก่ อัมรฺ

บินฮาริษ , อัซอัษ บินก็อยสฺ และฮะญัร บินฮะญัร ว่า จะมอบเงินให้ 2 , 000 , 000 ดิรฮัม และให้เป็นผู้นำกองทัพ “ ชาม ” และให้แต่งงานกับลูกสาวของตน ถ้าหากสามารถฆ่าท่านอิมามฮะซัน (อ) ได้ พวกเขายอมรับเงื่อนไขดังกล่าวแต่กระทำการไม่สำเร็จ

๙๒

5. ความห้าวหาญ

ของท่านอิมามฮะซัน(อ)

ท่านอิมามฮะซัน(อ)บังคับบัญชาบรรดาทหารด้วยความลำบากใจและสับสน ในขณะที่มุอฺาวิยะฮฺ ดำเนินแผนการชั่วของตนไปเรื่อย ๆ ครั้งหนึ่งเขาส่งคนไปหาท่านอิมาม(อ)ซึ่งประกอบด้วย

มุฆีเราะฮฺ บินชุอฺบะฮฺ , อับดุลลอฮฺ บินอฺามิร บินกะรีซ และอัดดุรเราะฮฺมาน บินอุมมุลฮุกมฺ คนเหล่านั้นมาพบท่านในขณะที่ท่านอยู่ในเมือง

“ มะดาอิน ” กำลังทำการสู้รบอยู่ในสมรภูมิ หลังจากนั้นพวกเขาก็ออกมาจากท่านพูดคุยกับประชาชนว่า

“ แท้จริงอัลลอฮฺทรงปกป้องเลือดเนื้อของลูกหลานท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) และทรงระงับภัยพิบัติไม่ให้ประสบกับเขา และเขายอมรับสงบศึกแล้ว ”

ทันใดนั้นเองทหารก็เกิดความสับสนทันที ประชาชนทั้งหลายก็เชื่อคนเหล่านั้นโดยไม่ระแวงสงสัย แล้วคนพวกนั้นก็เข้าจู่โจมท่าน(อ)ทันที เกิดการสู้รบกัน ท่านอิมาม(อ)ขึ้นขี่ม้าไล่ตามลับหายไปในความมืด แล้วถูกญิรอฮฺ บินซินาน อัล-อะซะดี ลอบแทงที่ต้นขา ท่าน(อ)จับที่เคราของญิรอฮฺและบิดอย่างรุนแรงจนคอของเขาหัก แล้วท่านอิมาม(อ)ก็ถูกนำตัวกลับเมือง

“ มะดาอิน ” เลือดไหลไม่หยุด บาดแผลคราวนี้ของท่านฉกรรจ์นัก แต่...ประชาชนกลับทอดทิ้งท่าน (8)

----------------------------------------------------

( 8) ตารีคอัล-ยะอฺกูบี เล่ม 2 หน้า 205

๙๓

6. หากรบก็ถูกสังหาร

ท่านอิมามฮะซัน(อ)มีความจำเป็นที่จะต้องตัดสินใจเลือกเอาข้างใดข้างหนึ่งระหว่างสองประการคือ จะต้องยอมตายทั้งตัวท่านเองและอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) ของท่าน รวมทั้งบรรดาผู้รู้ในหมู่ชนที่เป็นพรรคพวกของท่าน ทั้งนี้พวกท่านจะต้องต่อสู้ขับเคี่ยวกับทหารของ “ ชาม ” เป็นเวลาที่ยืดเยื้อยาวนาน จากนั้นความสำเร็จก็ตกอยู่กับฝ่ายมุอาวิยะฮฺ กล่าวคือเขาจะต้องมีชัยชนะต่อบรรดาชาวมุสลิม และลบล้างระบบอิสลาม ในหน้าพิภพจะเต็มไปด้วยความเสียหาย และบางทีมนุษยชาติอาจหวนกลับไปสู่อารยธรรมแบบป่าเถื่อนอีกครั้งก็เป็นได้ หรือไม่ท่านก็ยินยอมรับตามข้อตกลงเพื่อความอยู่รอดของบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺและพรรคพวกของท่าน ต่อจากนั้นอิสลามก็จะได้มีโอกาสเผยแผ่ต่อไป คำสอนและบทเรียนของอิสลามก็จะมีโอกาสเผยแผ่ต่อไปเหมือนอย่างที่ท่านอะมีรุลมุมีนีน (อ) บิดาของท่านได้กระทำมาแล้วนานถึง 25 ปี

( 7) หากท่านอิมาม (อ) ถูกสังหาร รัศมีแห่งสัจธรรมเป็นอันต้องดับวูบลง

อิมามฮะซัน(อ)จะถูกสังหารไม่ได้ นอกจากอิมามฮุเซน(อ)จะต้องถูกสังหารเสียก่อน และอิมามฮุเซน(อ)ก็จะต้องถูกสังหารไม่ได้นอกเสียจากว่า ชาวบะนีฮาชิมจะต้องถูกฆ่าเสียก่อนเช่นกัน

และชาวบะนีฮาชิมจะถูกฆ่าไม่ได้เหมือนกัน นอกจากบรรดาสาวกและตาบีอีนที่ยังคงเหลืออยู่บ้างต้องถูกฆ่าเสียก่อน แล้วเมื่อนั้นโอกาสดีก็จะตกเป็นของมุอาวิยะฮิ ในอันที่จะนำอารยธรรมอันป่าเถื่อนตามแบบ “ อุมัยยะฮฺ ” มาสานต่อ แล้วเลิกล้มระบบอิสลาม แต่ถ้าหากท่านยินยอมต่อเขาอย่างนี้

๙๔

เขาก็จะไม่สามารถนำเอาความแปดเปื้อนและแปลกปลอมอะไรเข้ามาได้ถนัดนัก เคยมีผู้คนติเตียนอิมามในกรณีที่ท่านยอมทำสัญญาสันติภาพ

ท่านตอบเขาไปว่า

“ ฉันกล่วว่าบรรดามุสลิมจะถูกลบล้างไปจากหน้าแผ่นดิน แต่ฉันยังต้องการให้ศาสนานี้ดำรงอยู่ ” ( 9)

ซุฟยาน บินยาลีล กล่าวกับท่านอิมาม(อ)ในครั้งหนึ่งว่า

“ อัสลามุอะลัยกะ โอ้ ผู้ยังความต่ำต้อยให้กับมวลผู้ศรัทธา ”

ท่านกล่าวตอบเขาว่า

“ ฉันมิได้ทำอะไรให้พวกเขาต่อต้อย ? ฉันไม่ชอบที่จะมีการทำลายพวกเขา(มุอ์มิน) และล้ม

ล้างพวกเขาจนหมดสิ้น ” ( 10)

อะบีซะอีดเคยถามท่านอิมามฮะซัน(อ)ถึงเหตุผลในการทำสนธิสัญญาสันติภาพ ท่านได้ตอบว่า

“ ถ้าฉันไม่ทำอย่างที่ฉันทำ แน่นอนพรรคพวกของฉันจะไม่เหลืออยู่บนหน้าแผ่นดินเลยแม้แต่คนเดียว เพราะจะต้องถูกฆ่าจนหมดสิ้น ” ( 11)

------------------------------------------------------------------------------

9) ฮะยาตุล - อิมามฮะซัน ( อ ) ของอัล - กุร็อยซี เล่ม 2 หน้า 230)

10) ตัชกิเราะตุล - ค่อวาศ หน้า 114)

11) บิฮารุล - อันวารฺ เล่ม 10 หน้า 101)

๙๕

8. มุอาวิยะฮฺ บินอะบีซุฟยาน

อะบูซุฟยานนั้นเป็นศัตรูของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และเป็นศัตรูของท่าน

ศาสนทูตที่ร้ายกาจที่สุดในบรรดาคนทั้งหลาย ก็ยังครุ่นคิดถึงการที่จะเข้ารับอิสลาม แต่มุอาวิยะฮฺ ได้เขียนหนังสือถึงเขาว่า

“ ทะเลทรายเอ๋ย เจ้าอย่าได้ยอมจำนนเลยเป็นอันขาด แม้เพียงวันเดียว เพราะหลังจากชาวบะตัรเป็นผุยผงไปแล้วเราจะเอาชนะให้ได้ ”

มุอาวิยะฮฺ ยังมีความแค้นเคืองไม่หายต่อระบบอิสลาม และผู้ทรงสิทธิในตำแหน่งผู้นำ นั่นคือ ท่านอะมีรุลมุมีนีน(อ) ครั้งหนึ่งเขาเคยจัดประชุม แล้วเรียกอิบนุอับบาซ(ร.ฎ.)เข้ามา แล้วกล่าวว่า

“ แท้จริงในจิตใจของข้ามีความเคียดแค้นพวกเจ้ามากที่สุด

โอ้บะนีฮาชิม ฉันนี่แหละคือผู้ที่จะสร้างปัญาหให้เกิดขึ้นในหมู่พวกเจ้า เลือดของพวกเราเคยอยู่เบื้องหน้าพวกเจ้า และความไม่เป็นธรรมต่อเราก็มีอยู่ในหมู่พวกเจ้า ” ( 12)

เราไม่อยากจะเชื่อว่า จะมีมุสลิมคนใดพูดอย่างนี้ได้ ถ้าหากอิสลามได้เข้าสู่จิตใจของเขาแล้ว

เขาต้องการมีชัยชนะในยุทธวิธีแบบป่าเถื่อน เป็นศัตรูของอิสลามและท่านศาสนทูต(ศ)ที่ร้ายยิ่งกว่านี้ก็คือ คำบอกเล่าที่มีรายงานบันทึกมาจาก มุฏร็อฟ บินอัล-มุฆีเราะฮฺ บินชุอฺบะฮฺว่า :

ฉันกับอัล-มุฆีเราะฮฺ ผู้เป็นบิดาได้เข้าพบมุอาวิยะฮฺ และปรากฏว่าบิดาของฉันได้เข้าพูดคุยสนทนากับมุอาวิยะฮฺ ต่อจากนั้น ท่านก็กลับมาหาฉัน แล้วท่านก็ได้กล่าวถึงเรื่องของมุอาวิยะฮฺ และความเฉลียวฉลาดให้ฉันฟัง ดูท่านจะรู้สึกแปลกใจในสิ่งที่ได้พบเห็นในตัวของมุอาวิยะฮฺ มาก

12) อัล - ฮะซัน บินอะลี ของกามิล ชุลัยมาน หน้า 182)

๙๖

ครั้นเมื่อถึงเวลากลางคืน ท่านไม่รับประทานอาหารค่ำ และฉันสังเกตเห็นท่านนั่งครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา

ฉันก็คอยดูอยู่ชั่วโมงหนึ่ง แล้วฉันก็คิดว่า จะต้องมีอะไรเกิดขึ้นกับเรา และการงานของเราสักอย่างแน่

ฉันจึงกล่าวกับท่านว่า

“ ทำไมท่านถึงได้นั่งครุ่นคิดอยู่ทั้งคืน ?”

ท่านตอบว่า “ ลูกเอ๋ย พ่อได้มาพบกับคนที่เลวที่สุดแล้ว ”

ฉันถามว่า “ เรื่องมันเป็นอย่างไร ?”

ท่านกล่าวว่า “ ขณะที่พ่ออยู่กับเขาเพียงลำพัง พ่อพูดกับเขาว่า ท่านอะมีรุลมุมีนีน (มุอาวิยะฮฺ) เอ๋ย แท้จริงท่านก็ล่วงเข้าสู่วัยที่มีอายุมากแล้ว ถ้าหากว่าท่านแสดงออกมาซึ่งความยุติธรรม และกระจายคุณงามความดีก็จะเป็นการดีที่สุด ท่านก็ดูชราภาพแล้ว ท่านน่าจะพิจารณาดูชาวบะนีฮาชิมแล้วเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีกับพวกเขาเสีย ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ว่า ขณะนี้พวกเขาไม่มีอะไรที่ท่านจะกลัวอีกแล้ว ”

เขาตอบว่า “ ช้าก่อน ช้าก่อน กษัตริย์แห่งพี่น้องของ “ ตีม ” เขามีความยุติธรรม และเขาได้ทำหน้าที่ต่าง ๆที่ควรทำ แต่ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ไม่เห็นเขามีอะไร นอกจากความตายและชื่อเสียงของเขาก็สลายไป อาจมีบางคนเรียกเขาว่า อะบูบักร์ (ก็เท่านั้น) จากนั้นก็กษัตริย์แห่งพี่น้องของ “ บะนีอะดี ” เขาก็เก่งกาจและสามารถดำรงตำแหน่งได้ 10 ปี

แต่ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ก็ไม่เห็นมีอะไร นอกจากความตายและชื่อเสียงของเขาก็สลายไป อาจมีบางคนเรียกเขาว่า อุมัร(ก็เท่านั้น) ต่อจากนั้นก็กษัตริย์อุษมาน อาณาจักรของชายผู้นี้เกรียงไกรไม่มีใครเหมือน เขาทำหน้าที่ต่างๆ และเขาถูกกระทำเหมือนที่เขากระทำ

๙๗

ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่า ไม่เห็นมีอะไรนอกจากว่าเขาได้ตายไป ชื่อเสียงของเขาและผลงานของเขาก็หมดไป แท้จริงพี่น้องแห่ง

“ บะนีฮาชิม ” เขาประกาศก้องทุกวัน ๆ ละ 5 ครั้งว่า ข้าขอปฏิญานตนว่า มุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ แล้วหลังจากนั้นจะมีผลงานอะไรบ้างที่เหลือ ไม่มีอะไรเลยจริงๆ ไม่เชื่อคอยดู

ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ จะไม่มีอะไรเหลือนอกจากการถูกฝังเท่านั้น ” ( 13)

คำบอกเล่านี้ได้รู้ไปถึงหูมะอ์มูนโดยคนบางคนที่เป็นลูกน้องของเขา

เขาได้เขียนบันทึกส่งไปหัวเมืองต่าง ๆ เพื่อประณามมุอาวิยะฮฺ และประกาศตัดสัมพันธ์ไมตรีกับทุกคนที่สนับสนุนมุอาวิยะฮฺในทางที่ดี เพราะเขาเห็นว่า คำพูดมุอาวิยะฮฺที่พูดออกไป เป็นคำพูดของพวกบูชาเจว็ด และพวกป่าเถื่อนที่ทรยศต่ออัลลอฮฺ ปฏิเสธศาสนทูตของพระองค์ และบรรดาผู้ปกครองที่สืบตำแหน่งภายหลัง(14)

13) กัชฟุล - ฆุมมะฮฺ หน้า 126)

14) อัล - ฮะซัน บินอะลี ของกามิล ชุลัยมาน หน้า 212)

๙๘

มุอาวิยะฮฺ ไม่เคยละเลยในการประณามท่านอะมีรุลมุมีนีน(อ) นอกจากเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพราะเขาฝังความเคียดแค้นต่ออิสลามและศาสนทูต(ศ)ไว้ในตัวเองอย่างมากมาย ทั้งๆ ที่ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)เคยกล่าวไว้ว่า

“ ผู้ใดประณามฉันก็เท่ากับประณามอัลลอฮฺ และผู้ใดที่เขาประณามอะลีก็เท่ากับประณามฉัน ” ( 15)

มุอาวิยะฮฺ เป็นคนที่ออกห่างจากความรู้ในเรื่องอิสลามและบทบัญญัติ เขาดำเนินชีวิตไปตามเหตุผลของคนในอารยธรรมที่ป่าเถื่อนในอดีต ครั้งหนึ่งเขาเคยกล่าวคำเทศนาสั้นๆ หลังจากนมาซร่วมกับประชาชนในตอนเช้าของวันหนึ่งว่า

“ ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ฉันมิได้ทำสงครามกับพวกท่านเพื่อให้พวกท่านนมาซหรือเพื่อถือศีลอด หรือเพื่อบำเพ็ญฮัจญ์ และมิใช่เพื่อจ่ายซะกาต เพราะพวกท่านได้กระทำในสิ่งเหล่านี้กันอยู่แล้ว แต่ที่ฉันทำสงครามกับพวกท่านก็เพื่อจะได้ปกครองพวกท่าน โดยที่อัลลอฮฺได้มอบสิ่งนี้ให้แก่ฉัน ในขณะที่พวกท่านรังเกียจมันอยู่ นอกจากนี้ ฉันจะเป็นคนที่เอาคำสอนต่างๆทั้งหมดของฮะซัน บินอะลี มาไว้ที่ใต้ฝ่าเท้าของฉันจนกระทั่งไม่ยอมให้มีอะไรเหลือ ” ( 16)

15) มุเราวิญุช - ซะฮับ เล่ม 2 หน้า 435)

16) อัล - อิรชาด หน้า 196)

๙๙

ครั้งหนึ่งเขาเคยยืนกล่าวคำปราศรัยต่อหน้าคนในตระกูลกุเรชว่า

“ ฉันมิได้ดำเนินการปกครองโดยแนวทางแห่งความรักตามที่ฉันเรียนรู้มาจากพวกท่าน แต่ฉันจะควบคุมพวกท่านด้วยดาบอันแข็งกร้าวของฉัน แน่นอนฉันเองก็ชอบที่จะปกครองพวกท่านไปตามวิธีการของบุตรแห่งกุฮาฟะฮฺ(อะบูบักร์) แต่มันก็ขัดกับฉัน และฉันต้องการใช้วิธีการของอุมัร แต่ฉันก็หลีกหนีมันอย่างสุดเหวี่ยง และฉันต้องการใช้วิธีการของอุษมาน แต่มันก็ค้านกับฉัน ฉะนั้น ฉันจึงแผ้วถางแนวทางของฉันสำหรับเรื่องนี้อีกแนวทางหนึ่ง ซึ่งจะอำนวยประโยชน์สุข

ให้แก่พวกท่าน มันจะให้การกินดีอยู่ดี เพราะถึงแม้ท่านทั้งหลายจะไม่พบความดีจากตัวฉัน แต่ฉันก็จะให้การปกครองที่ดีแก่พวกท่านได้ ” ( 17)

ท่านอะบูดัรดาอ์เคยเห็นเขาดื่มน้ำจากภาชนะที่ทำด้วยทองคำและเงินแท้ แล้วพูดกับเขา(มุอาวิยะฮฺ)ว่า :

แท้จริงฉันเคยได้ยินท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)กล่าวว่า

“ คนที่ดื่มจากภาชนะเหล่านี้ ไฟนรกอันร้อนแรงจะไหลลงสู่ท้องของเขา ”

มุอาวิยะฮฺกล่าวว่า “ แต่ฉันไม่เคยเห็นอะไรเกิดขึ้นเลย ”

ท่านอะบูดัรดาอ์กล่าวอีกว่า “ ไม่เคยมีใครเถียงฉันเท่ามุอาวิยะฮฺ ฉันบอกเขาจากคำพูดของศานทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) แต่เขาพูดกับฉันตามความคิดของเขาเอง ฉันไม่อาจอยู่ร่วมแผ่นดินเดียวกับเขาได้เลย ” ( 18)

17) อัล - ฮะซัน บินอะลี ชองกามิลซุลัยมาน หน้า 196)

18) อัล - ฮะซัน บินอะลี ชองกามิลซุลัยมาน หน้า 217)

๑๐๐

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134