ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ชีวประวัติอิมามฮะซัน0%

ชีวประวัติอิมามฮะซัน ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 134

ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 134
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 56541
ดาวน์โหลด: 3485

รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามฮะซัน
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 134 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 56541 / ดาวน์โหลด: 3485
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

สุภาษิต :

โอสถบำบัดโรค

ชีวิตของบรรดาอิมาม(อ)แห่งอะฮฺลุลบัยตฺนั้นคือ พลังที่นำมวลมุสลิมไปสู่วิถีทางของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และความปิติชื่นชมยังพระองค์และเป็นการเน้นให้มีการเชื่อฟังปฏิบัติตามพระองค์ กล่าวคือ บรรดาอิมาม(อ) เป็นสื่อในเรื่องเหล่านี้ทุกๆ วิถีทาง แบบแผนชีวิตของบรรดาอิมาม(อ)มิได้เป็นเพียงบทเรียนอย่างเดียวเท่านั้น หากยังหมายความไปถึงคำปราศรัย พินัยกรรม คำสั่งเสีย

จดหมาย ดังที่บรรดานักประวัติศาสตร์ได้ รวบรวมถ้อยคำของพวกท่านมาบันทึกไว้โดยสังเขป

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.)พระองค์ทรงเป็นพยานได้ว่า

ไม่มีเรื่องราวของผู้ใดมีรายละเอียดเสมอเหมือนกับบรรดาท่านเหล่านั้น เรื่องราวเหล่านี้คือ คลังแห่งคำสอน และเป็นโอสถหลายขนานสำหรับบำบัดรักษาโรคต่าง ๆ ทางสังคมของพวกเรา และเป็นการเรียกร้องเชิญชวนสู่สัจธรรมและความดีงาม

ในบทนี้เราจะเสนอสุภาษิตบางประการจากถ้อยคำของท่านอิมามฮะซัน(อ) ดังนี้

1. จงอย่าเร่งให้ความบาปต้องพบกับบทลงโทษ แต่จงหาวิธีทางอย่างใดอย่างหนึ่งมาแก้ไขในระหว่างนั้น

2. การหยอกล้อจะกัดกร่อนบารมี แต่การเพิ่มบารมีอยู่ที่การนิ่งเงียบ

3. โอกาสที่ดีมักจะจากไปอย่างรวดเร็ว และกลับมาช้าเสมอ

๖๑

4. ความสุขจะไม่เป็นที่รับรู้เสมอในยามที่มันมีอยู่ แต่มันจะเป็นที่รู้จักทันทีที่มันจากไป

5. จะปรึกษาหารือกับคนกลุ่มใดก็จะเป็นไปตามแนวชี้นำของคนกลุ่มนั้น

6. คนเลวย่อมไม่รู้คุณของความดีงาม

7. ความดีที่ไม่มีความชั่วใดๆ แอบแฝงได้แก่ การรู้คุณค่าของความโปรดปราน และอดทนต่อความทุกข์ยาก

8. ความอับอายยังให้ความเจ็บน้อยกว่าไฟนรก

9. มนุษย์จะวิบัติด้วยเหตุ 3 ประการ การทะนงตัว ความโลภ

และการริษยา

การทะนงตัว คือ การทำลายศาสนา และด้วยเหตุนี้เองอิบลิสจึงถูกสาปแช่ง

ความโลภคือ ศัตรูของตนเองและด้วยเหตุนี้ที่อาดัม(อ)ถูกขับออกจากสวรรค์

การริษยาคือ ที่ตั้งของความชั่ว และด้วยเหตุนี้ที่กอบีลสังหารฮาบีล

๖๒

10. ไม่มีการมีมารยาทใดสำหรับคนที่ไร้ปัญญา ไม่มีลักษณะของชายชาตรีสำหรับคนที่ไม่มีความมุ่งมั่นเอาจริงเอาจัง ไม่มีความละอายใดสำหรับคนที่ไม่มีศาสนา สุดยอดแห่งการมีปัญญาคือการพบปะพูดคุยกับผู้คนด้วยลักษณะที่สวยงาม ด้วยกับปัญญาเท่านั้นที่จะเข้าถึงซึ่งโลกทั้งสอง ผู้ใดที่ไม่ใช้สติปัญญา เขาก็จะไม่สามารถเข้าถึงซึ่งโลกนี้ และโลกหน้า(1)

11. จริยธรรมที่สูงสุดยอดมี 10 ประการ

( 1) รักษาสัจจะไว้โดยวาจา

( 2) รักษาสัจจะไว้โดยความเดือดร้อน

( 3) บริจาคแก่ผู้ขอ

( 4) มีมารยาทที่ดีงาม

( 5) มีความบากบั่นในการทำงาน

( 6) มีไมตรีต่อญาติมิตร

( 7) มีเมตตาธรรมต่อเพื่อนบ้าน

( 8) รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น

( 9) ให้เกียรติต่อแขก

( 10) หัวใจของสิ่งเหล่านี้คือความละอาย

12. การสูญเสียสิ่งที่ต้องการดีกว่าการขอจากคนที่มิได้เป็นเจ้าของในสิ่งนั้นจริง(2)

๖๓

13. ฉันไม่เห็นผู้อธรรมคนใดที่ละม้ายคล้ายคลึงกับผู้ถูกอธรรม มากกว่าผู้ที่อิจฉาริษยา

( หมายความว่า ผู้มีจิตอิจฉาริษยานั้นมีสภาพเป็นทั้งผู้อธรรม (ต่อผู้อื่น) และตัวเองก็ถูกอธรรมจากการอิจฉาริษยานั้น)(3)

14. จงเอาความรู้ของเจ้าสอนผู้อื่นและจงศึกษาความรู้จากคนอื่น เมื่อนั้นความร้อนของเจ้าจะแข็งแกร่ง และเจ้าจะรู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้(4)

15. แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงรำลึกถึงเจ้าอยู่ ดังนั้นเจ้าจงรำลึกถึงพระองค์ และทรงเลี้ยงดูเจ้าอยู่ ดังนั้นจงขอบคุณต่อพระองค์

16. ถ้ากิจกรรมอันเป็นนะวาฟิล(ที่ควรแก่การกระทำ)จะทำลายกิจกรรมอันเป็นวาญิบ ( ข้อบังคับ) เจ้าก็จงละทิ้งนะวาฟิลนั้นเสีย

17. ผู้ใดที่เตือนสติตัวเองอยู่เสมอ หลังจากการเดินทางเขาก็ถูกยอมรับ

18. ระหว่างพวกเจ้ากับคำตักเตือน แท้จริงมันคือม่านแห่งเกียรติยศ

19. ใครที่แสวงหาการเคารพภักดี เขาก็จะได้รับการขัดเกลา

20. การตัดขาดจากความรู้ คือข้อบกพร่องของผู้ศึกษาเล่าเรียน(5)

21. สิ่งที่ดีที่สุดของความดีงามคือมารยาทที่ดี(6)

๖๔

----------------------------------------------------

(1 ) อะอฺยานุช - ชีอะฮฺ 4 กอฟ 107 / 1

(2 ) อัลฮะซัน บินอะลี ของอัลดุล - กอดิร อะหมัด อัล - ยูซุฟ ห้า 60

(3 ) มะฏอลิบุซซุอุล หน้า 69 พิมพ์ครั้งที่ 1

(4 ) กัซฟุล - ฆุมมะฮฺ หน้า 170

(5 ) ตะฮัฟฟุล - อุกูล หน้า 169

(6 ) อัล - คิศอล หน้า 29

คำตอบอันชาญฉลาดของท่านอิมามฮะซัน(อ)

ในบทนี้เราขอนำเสนอการตอบปัญหาของท่านอิมามฮะซัน(อ)ในเรื่องที่เกี่ยวกับอัคลาค ( จริยธรรมอันดีงาม) การรู้จักพระผุ้เป็นเจ้าและกิริยามารยาทอันงดงาม คำตอบของท่านอิมาม (อ) นี้

ท่านจะไม่เห็นมันในหนังสือเล่มอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอัคลาค หรือแม้แต่หนังสือของนักปราชญ์แห่งอิสลามเลย บางปัญหาที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ บิดาของท่านคือท่านอะลี อะมีรุลมุมินีน(อ) ได้เคยถามท่านอิมามฮะซัน(อ)แล้ว ท่านก็กล่าวถึงความประเสริฐอันสูงส่งของท่านอิมาม(อ) ยกย่องต่อตำแหน่งอันสูงสุดของท่านอิมาม(อ) อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความดีงามเป็นพิเศษของท่าน

ดูเหมือนว่าบางคำถามยากมากถึง ขนาดที่ว่าไม่น่าจะมีคำตอบเลยเกี่ยวกับคำถามนั้น เช่นคำถามของกษัตริย์โรมัน ซึ่งมันไม่เป็นการง่ายเลยที่จะตอบคำถามเหล่านั้น แต่ทว่าบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)นั้น พวกเขาได้รับการเรียนรู้และการสั่งสอนมาจากบรรพบุรุษของเขา ซึ่งมาจากท่านญิบรออีล อันได้รับมาจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)นั่นเอง

๖๕

เราจะกล่าวถึง บางคำตอบของท่านอิมามฮะซัน(อ)สำหรับคำถามต่าง ๆ ในบางเรื่อง ณบัดนี้

ถาม-ตอบ เรื่องที่ 1.

ท่านอะลี อะมีรุลมุมินีน(อ)ผู้เป็นบิดาของท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้ถามลูกของท่านดังนี้

ถาม “ โอ้ ลูกรัก สิ่งกีดขวาง คืออะไร? ”

ตอบ “ สิ่งกีดขวางก็ คือ การป้องกันความเลวร้ายด้วยการกระทำความดี ”

ถาม “ การมีเกียรติ คืออะไร? ”

ตอบ “ คือการดูแลวงศาคนาญาติ และการยอมรับความผิด ”

ถาม “ ความเป็นชายชาตรี คืออะไร ?”

ตอบ “ คือการรู้จักหักห้ามใจตัวเอง และการรู้จักใช้ทรัพย์สิน ”

ถาม “ ความเลวทราม ต่ำช้า คืออะไร ?”

ตอบ “ การพิจารณาแบบมักง่าย และขัดขวางผู้ต่ำต้อย ”

ถาม “ สิ่งที่น่ายกย่องคืออะไร ?”

ตอบ “ การอุตสาหพยายามทั้งในยามลำเค็ญและยามสุขสบาย ”

ถาม “ การตระหนี่ คืออะไร ?”

ตอบ “ คือการที่ท่านเห็นสิ่งที่มีอยู่ในมือเป็นความสิ้นเปลือง

(ถ้าจะจ่ายไป) ส่วนสิ่งที่จ่ายไปแล้วถือเป็นความสูญเสีย ”

ถาม “ ภราดรภาพคืออะไร ?”

ตอบ “ ความซื่อสัตย์ต่อสัญญาทั้งในยามทุกข์ยากและเดือดร้อน ”

๖๖

ถาม “ ความขี้ขลาดคืออะไร ?”

ตอบ “ กล้าต่อกรกับเพื่อนฝูง แต่หนีจากศัตรู ”

ถาม “ สิ่งที่ถือว่าเป็นโชคดีคืออะไร ?”

ตอบ “ ความปรารถนาในการสร้างตักฺวา และการอยู่ตามสมควรในโลกนี้ ”

ถาม “ ความอดทน อดกลั้นคืออะไร ?”

ตอบ “ การระงับความโกรธ และควบคุมตนเองได้ ”

ถาม “ ความร่ำรวยคืออะไร ”

ตอบ “ ความพึงพอใจต่อสิ่งที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) จัดสรรให้แม้เพียงน้อยนิด อันที่จริงแล้วความร่ำรวยก็คือจิตใจที่รู้จักพอ ”

ถาม “ ความยากจนคืออะไร ?”

ตอบ “ ความปรารถนา อยากได้ในทุกสิ่ง ”

ถาม “ อุปสรรคคืออะไร ?”

ตอบ “ ความทุกข์ยากแสนลำเค็ญ ”

ถาม “ ความทุกข์คืออะไร ?”

ตอบ “ คำพูดของท่านไม่ได้ให้ความหมายอะไรแก่ตัวท่านเลย ”

ถาม “ ความสง่างามคืออะไร ?”

ตอบ “ การให้แม้อยู่ในสภาพมีหนี้สิน ”

ถาม “ ความรับผิดชอบอยู่ที่ไหน ?”

ตอบ “ การพูดในสิ่งที่มิได้พิสูจน์ ”

ถาม “ ความดีคืออะไร ?”

ตอบ “ การให้ในยามที่ถูกฉ้อฉล และอภัยในยามที่ถูกประทุษร้าย ”

๖๗

ถาม-ตอบ เรื่องที่ 2

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ถูกถามถึงของสิบชนิดที่มีบางชนิดแข็งแกร่งกว่าอีกชนิดหนึ่ง

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ตอบว่า

“ สิ่งที่แข็งแกร่งที่สุดที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงสร้างมาคือหิน และสิ่งที่แข็งยิ่งกว่ามันก็คือเหล็ก หินจะถูกตัดด้วยกับเหล็ก สิ่งที่แข็งแกร่งยิ่งกว่าเหล็กก็คือไฟ เพราะมันจะหลอมละลายเหล็ก สิ่งที่มีอานุภาพมากกว่าไฟก็คือน้ำ สิ่งที่เหนือกว่าน้ำก็คือก้อนเมฆ สิ่งที่เหนือกว่าก้อนเมฆก็คือลม ซึ่งมันจะพัดพาก้อนเมฆไป สิ่งที่มีอำนาจเหนือกว่าลมก็คือ มะลาอิกะฮฺที่ทำหน้าที่ดูแลเรื่องลม สิ่งที่มีอำนาจเหนือกว่ามะลาอิกะฮฺองค์นั้นก็คือ “ มะลิกุ้ลเม้าตฺ ” ที่ทำหน้าที่ปลิดวิญญาณของมะลาอิกะฮฺองค์นั้น สิ่งที่เหนือกว่า “ มะลิกุ้ลเม้าตฺ ” ก็คือ “ ความตาย ” ซึ่งมันจะปลิดชีวิตของ “ มะลิกุ้ลเม้าตฺ ” เอง

แต่สิ่งที่มีอานุภาพเหนือความตายก็คือคำสั่งของ “ อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ” ที่จะฝังความตายเอาไว้ ”

ถาม-ตอบเรื่องที่ 3.

ท่านอิมาม(อ)ถูกถามจากบุคคลหนึ่งว่า

ถาม “ ใครเป็นผู้ใช้ชีวิตได้ดีเลิศที่สุดในหมู่มนุษย์ ”

ตอบ “ ผู้ที่ให้มนุษย์มีส่วนร่วมในการใช้ชีวิตของเขา ”

ถาม “ ใครเป็นผู้ดำรงชีวิตที่เลวที่สุด ”

ตอบ “ คือผู้ที่ไม่ปล่อยให้ใครเข้ามาร่วมในการใช้ชีวิตของเขาเลย แม้แต่คนเดียว ” ( 1)

( 1) อัล-ฮะซัน บินอะลี ของอับดุล-กอดิร อะฮฺมัด อัล-ยูซุฟ หน้า 62

๖๘

ถาม-ตอบเรื่องที่ 4.

มุอาวิยะฮฺ ถามท่านอิมามฮะซัน(อ)ว่า

“ โอ้ อะบามุฮัมมัด มีอยู่สามสิ่งที่ฉันไม่พบว่า จะมีใครอธิบายมันให้ฉันฟังได้เลย ”

ท่าน(อ) ถามว่า “ เช่นอะไรบ้าง ?”

เขาตอบ “ ความเป็นชายชาตรี เกียรติยศ และความเอื้อเฟื้อ ”

ท่านอิมาม(อ) ตอบว่า

“ ความเป็นชายชาตรีก็คือการที่ชายคนนั้นแก้ไขปรับปรุงตัวในเรื่องกิจการศาสนา และการดำรงไว้ซึ่งทรัพย์สินที่ดีงาม มีการให้ทาน และทักทายด้วยสลาม ให้ความรักใคร่ต่อคนทั้งหลายเกียรติยศหมายถึงการให้ก่อนได้รับการร้องขอ มีคุณธรรมเป็นกุศล ให้อาหารเป็นทาน ความเอื้อเฟื้อคือ มีความกลมเกลียวกับญาติ ปกป้องคุ้มครองกันในยามที่ถูกภาวะที่ถูกรังเกียจ อดทนในยามที่ได้รับความเดือดร้อน ” ( 2)

( 2) ตารีคอัล-ยะอฺกูบี เล่ม 2 หน้า 215

ถาม-ตอบเรื่องที่ 5.

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ถูกถามถึง “ เรื่องการนิ่งเงียบว่าเป็นอย่างไร ?”

ท่าน(อ)ตอบว่า “ การนิ่งเงียบที่ถูกต้องหมายถึง การปกปิดความลับ การตบแต่งรูปโฉมภายนอก กระทำสิ่งหนึ่งอย่างสบายใจ ผู้ที่ร่วมพูดคุยอยู่ด้วยรู้สึกปลอดภัย ” ( 3)

( 3) มะฏอลิบุซ-ซุอูล หน้า 69

๖๙

ถาม-ตอบเรื่องที่ 6

กษัตริย์แห่งโรมเขียนจดหมายถึงมุอฺาวิยะฮฺ ถามปัญหาสามข้อคือ

1- สถานที่ที่เป็นกึ่งกลางของท้องฟ้า

2- เลือดหยดแรกที่ตกบนโลก

3- สถานที่ขึ้นของดวงอาทิตย์

เขาไม่สามารถให้คำตอบได้ จึงขอร้องให้ท่านอิมามฮะซัน(อ)ช่วยตอบปัญหานี้

ท่าน(อ)ตอบว่า “ กึ่งกลางของท้องฟ้าอยู่ที่ “ อัล-กะอฺบะฮฺ ” เลือดหยดแรกคือเลือดของท่านหญิง “ เฮาวาอ์ ” สถานที่ขึ้นของดวงอาทิตย์คือดินแดนแห่งทะเลที่ท่านนบีมูซา (อ) ใช้ไม้เท้าฟาด ” ( 4)

( 4) อัล-มะนากิบ เล่ม 2 หน้า 152

ถาม-ตอบเรื่องที่ 7

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้ตอบคำถามกษัตริย์แห่งโรมอีกครั้งหนึ่งที่ถามท่านว่า “ อะไรที่ไม่มีทิศทางสำหรับตน ใครที่ไม่มีญาติสำหรับเขา ?”

ท่าน(อ)ตอบว่า “ ที่ไม่มีทิศทางสำหรับตนคืออัล-กะอฺบะฮฺ ผู้ที่ไม่มีเครือญาติสำหรับเขาคือพระผู้อภิบาล ” ( 5)

(5 ) อัล - มะนากิบ เล่ม 2 หน้า 152

๗๐

ถาม-ตอบเรื่องที่ 8.

ชาวชาม(ซีเรีย)คนหนึ่งถามท่านอิมามฮะซัน(อ)

ถาม “ ความห่างกันระหว่างสัจธรรมกับความไม่ถูกต้องมีมากน้อยเพียงใด ?”

ตอบ “ ห่างกันสี่นิ้วมือ กล่าวคือ อะไรที่ท่านเห็นด้วยตานั่นคือสัจธรรม ส่วนอะไรที่ได้ยินกับหูอันนั้นส่วนมากจะไม่ถูกต้อง ”

ถาม “ ความห่างกันระหว่างความศรัทธา (อีหม่าน) กับความเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่ (ยะกีน) มีเท่าใด ?”

ตอบ “ ห่างกันสี่นิ้วมือ กล่าวคือความศรัทธาคือเชื่อในสิ่งที่ได้ยินมา ส่วนความเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่นั้นคือเชื่อในสิ่งที่เห็นมา ”

ถาม “ ระหว่างฟ้ากับพื้นดินห่างกันเท่าไหร่ ?”

ตอบ “ เท่ากับเสียงร้องเรียกของคนที่ถูกอธรรม กับการทอดสายตาไปมอง ”

ถาม “ ทิศตะวันออกกับทิศตะวันตกห่างกันเท่าใด ?”

ตอบ “ เท่ากับระยะทางเดินของดวงอาทิตย์ ” ( 6)

(6 ) อัล - มะนากิบ เล่ม 2 หน้า 152

๗๑

ถาม-ตอบเรื่องที่ 9.

ครั้งหนึ่งท่านอิมามฮะซัน(อ)นั่งอยู่ในมัสญิด มีประชาชนอยู่รายล้อมท่าน มีชายคนหนึ่งก้าวเข้ามาในมัสญิด แล้วเขาก็พบว่ามีคนๆ หนึ่งกำลังพูดถึงท่านศาสนทูต(ศ)อยู่ ซึ่งมีผู้คนนั่งอยู่ด้วย เขาก็เดินไปหาชายคนนั้นแล้วถามว่า

“ จงบอกฉันซิว่า ใครคือชาฮิด(ผู้เป็นพยาน) และใครคือมัชฮูด(ผู้ได้รับการเป็นพยาน) ”

ชายคนที่หนึ่งตอบว่า

“ ชาฮิดหมายถึงวันศุกร์ มัชฮูดหมายถึงวันอะร่อฟะฮฺ ”

ชายคนนั้นก็เดินไปถามชายคนที่สองที่ในมัสญิดด้วยว่า

“ ชาฮิดและมัชฮูดหมายถึงอะไร ?”

ชายคนที่ถูกถาม ตอบว่า

“ ชาฮิดคือวันศุกร์ ส่วนมัชฮูดคือวันแห่งการเชือดกุรบานในพิธีฮัจญ์ ”

เขาจึงเดินไปถามชายคนที่สามในปัญหาเดียวกัน

ชายคนที่สามตอบว่า

“ ชาฮิดหมายถึง ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ส่วนมัชฮูดหมายถึงวันฟื้นคืนชีพ ; ดังที่ฉันได้ยินโองการของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ที่ว่า:

“ โอ้ผู้เป็นนบี แท้จริงเราได้ส่งเจ้ามาเพื่อเป็นสักขีพยาน(ชาฮิด) เป็นผู้แจ้งข่าวดี และเป็นผู้ตักเตือนให้ระวังภัย ”

๗๒

และโองการที่ว่า :

“ วันนั้นที่เป็นศูนย์รวมของประชาชน และนั่นคือวันที่ได้รับการเป็นพยานยืนยัน(มัชฮูด) ”

ชายผู้ตั้งคำถามได้ถามคนทั้งหลายว่า “ พวกเขาสามคนคือใคร ?”

คนที่อยู่ในมัสญิดตอบว่า “ ชายคนแรกคือท่านอิบนุอับบาส ชายคนที่สองคือ ท่านอิบนุอุมัร ชายคนที่สามคือท่านอิมามฮะซัน บุตรของอะลี อิบนิ

อะบีฏอลิบ (อ) ” ( 7)

(7 ) นูรุล - อับศ็อร หน้า 173

ถาม-ตอบเรื่องที่ 10.

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ถูกถามเกี่ยวกับเรื่องการเมือง

ท่าน(อ)ตอบว่า “ การเมือง คือการที่ท่านจะต้องดูแลรักษาส่วนที่เป็นสิทธิของอัลลอฮฺ สิทธิของคนที่มีชีวิตอยู่ และสิทธิของคนที่ตายไปแล้ว

ในส่วนที่เป็นสิทธิของอัลลอฮฺนั้น หมายถึงท่านจะต้องปฏิบัติในสิ่งที่พระองค์ทรงใช้ และหลีกห่างจากสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม

ในส่วนที่เป็นสิทธิของคนที่มีชีวิต ก็คือท่านจะต้องดำรงไว้ซึ่งสิทธิหน้าที่ของท่านเพื่อพี่น้อง ประชาชนของท่าน อย่าล่าช้าจากการรับใช้เหล่าข้าบริวารของท่าน และจะต้องทำหน้าที่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ต่อผู้ปกครอง

เท่าๆ กับที่ทำหน้าที่อย่างบริบูรณ์ต่อข้าทาษบริวาร ต้องสลัดทิ้งความชิงชังออกไปในยามประสบกับอุปสรรคในเส้นทางที่ราบเรียบ

๗๓

ในส่วนที่เป็นสิทธิของผู้ตายนั้น ก็คือจะต้องรำลึกถึงความดีงามของเขาและโกรธคนที่มุ่งร้ายต่อเขา ดังนั้นสำหรับพวกเขาแล้วมีพระผู้อภิบาลทำหน้าที่ตัดสินตอบแทนอยู่ ” ( 8)

(8 ) ฮะยาตุล - อิมามฮะซัน บินอะลี ( อ ) ของอัล - กุรชี เล่ม 1 หน้า 143

ถาม-ตอบเรื่องที่ 11.

มุอาวิยะฮฺได้ถามท่านอิมามฮะซัน(อ) ว่า

“ อะไรที่จำเป็นบ้างในเรื่องการปกครองของเรา ?”

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ตอบว่า

“ มันคือเรื่องที่ท่านนบีซุลัยมาน(อ) บุตรของนบีดาวูด(อ)ได้กล่าวไว้ ”

มุอาวิยะฮฺ ถามว่า

“ ท่านนบีซุลัยมาน(อ)กล่าวไว้อย่างไร ?”

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ตอบว่า

“ ท่านนบี(อ)กล่าวกับสาวกคนหนึ่งของท่านว่า :

“ เจ้ารู้หรือไม่ว่า หน้าที่ที่จำเป็นสำหรับกษัตริย์ในการปกครองคืออะไรบ้าง และอะไรบ้างที่ไม่เป็นอันตรายแก่เขาในยามที่เขาปฏิบัติ

นั่นคือ เขาต้องยำเกรงต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทั้งในยามลับและในยามเปิดเผย ต้องยุติธรรมทั้งในยามโกรธและยามพึงพอใจ ต้องเข้าหาทั้งคนยากจนและคนร่ำรวย ต้องไม่แสวงหาทรัพย์สินในทางมิชอบ ต้องไม่ใช้จ่ายทรัพย์สินอย่างฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย สิ่งบำเรอความสุขทางโลกจะต้องไม่นำอันตรายมาสู่เขา ในยามที่เขาอยู่ตามลำพัง ” ( 9)

(9 ) ตารีคอัล - ยะอฺกูบี เล่ม 2 หน้า 202

๗๔

ถาม-ตอบเรื่องที่ 12.

ครั้งหนึ่งท่านอิมามฮะซัน(อ)กำลังเวียนฏ่อว๊าฟบัยตุลลอฮฺอยู่ มีชายคนหนึ่งเข้ามาถามท่านว่า

“ คำว่าอัล-ญะวาด(ผู้เอื้ออารี) หมายความว่าอย่างไร ?”

ท่านอิมาม(อ)ตอบว่า “ คำถามของท่านมีความหมายสองแง่ กล่าวคือ

ถ้าถามในแง่ของผู้ถูกสร้าง อัล-ญะวาด หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างสมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ข้อบังคับที่มีต่อตัวเอง เพราะคนตระหนี่หมายถึงคนที่ตระหนี่ในสิ่งที่เป็นหน้าที่และข้อบังคับของตัวเอง แต่ถ้าท่านถามในแง่ของผู้สร้าง อัล-ญะวาดหมายถึงผู้ที่จะประทานให้ก็ได้ ไม่ให้ก็ได้ เพราะว่าถึงแม้พระองค์จะให้อะไรแก่บ่าวคนหนึ่ง พระองค์ก็ให้แก่เขาซึ่งสิ่งของที่มิได้เป็นของเขา และถ้าพระองค์จะไม่ประทานให้ ก็เป็นสิทธิของพระองค์เพราะสิ่งนั้นก็มิได้เป็นของเขาเหมือนกัน ” ( 10)

(10 ) ฮะยาตุล - อิมามฮะซัน บินอะลี ของอัลกุรชี เล่ม 1 หน้า 144

ถาม-ตอบเรื่องที่ 11.

ชายคนหนึ่งถามท่านอิมามฮะซัน(อ)ว่า

“ โอ้บุตรของท่านศาสดา โปรดกล่าวถึงคุณลักษณะของพระผู้อภิบาลให้ฉันฟัง ให้เหมือนกับที่ฉันกำลังมองเห็นพระองค์ซิ ”

๗๕

ท่านอิมาม(อ)สะดุ้งเล็กน้อย แล้วแหงนศีรษะขึ้นมาพลางกล่าวว่า

“ ข้าขอสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ พระองค์ไม่มีการเริ่มต้นตามที่เข้าใจกัน พระองค์ไม่มีสภาวะสุดท้ายอันเป็นที่สิ้นสุด ไม่มีอะไรมีมาก่อน

ไม่มีขอบเขตใดๆ อยู่ข้างหลัง ไม่มีระยะทางเพื่อไปหา

ไม่เป็นเรือนร่างเพื่อแยกส่วน ไม่มีความแตกต่างกันในคุณลักษณะ

หนึ่งๆ ที่ยุติได้ ไม่มีปัญญาใดเข้าถึงและวาดมโนภาพได้ ไม่ปรากฏบนสิ่งใดๆ และไม่แอบแฝงภายในสิ่งใดๆ ไม่ทอดทิ้งอะไรโดยไม่มีพระองค์ทรงสร้างสิ่งนั้น แล้วทรงให้การเริ่มต้นอันวิจิตรพิศดาร ทรงให้ความพิศดารแก่สิ่งที่ทรงให้การเริ่มต้น และทรงกระทำตามที่พระองค์ทรงประสงค์ นี่คือพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ” ( 11)

(11 ) อัต - เตาฮีด หน้า 46

ถาม-ตอบเรื่องที่ 14.

มีเรื่องเล่าว่า ท่านอิมามฮะซัน(อ) อาบน้ำแล้วออกจากบ้านอย่างสง่าผ่าเผย เรือนร่างทุกส่วนสะอาด มีพาหนะเดินทางที่ดี มีเสบียงเป็นสัดส่วนอย่างเรียบร้อย ใบหน้าของท่านผ่องใส บุคลิกลักษณะของท่านมีสง่าราศีบริบูรณ์งามเด่น ให้การต้อนรับคนทั้งหลายด้วยความปราณียิ้มแย้มแจ่มใส เบิกบาน มีผู้ตัดสินแล้วว่าความสุขอยู่ที่ความยุติธรรมของท่าน

ท่านขี่ม้าตัวใหญ่ที่สมบูรณ์ ท่านเดินไปท่ามกลางการต้อนรับเป็นแถวเรียงราย ถ้าหากท่านอับดุลมะนาฟ(ปู่ทวดของท่าน) ได้เห็นท่านคงอดไม่ได้ที่จะต้องภาคภูมิใจบรรพบุรุษทั้งหลายของท่านจะต้องปลาบปลื้มเป็นล้นพ้น

๗๖

ในเส้นทางที่ท่านเดินมีชาวยิวที่แร้นแค้นคนหนึ่งพำนักอยู่ เขาประสบความล้มเหลวด้วยสาเหตุต่างๆ มีความเป็นอยู่ที่ตกต่ำ รายได้น้อย ขาดแคลนอาหารถึงขนาดหนังหุ้มติดกระดูก อ่อนระโหยโรยแรงถึงขนาดทรงตัวเกือบไม่ได้ และเลวยิ่งกว่านั้นสิ่งที่เขารักคือนกพิราบตัวหนึ่ง ยามดวงอาทิตย์ขึ้นแดดก็แผดเผาจนไหม้เกรียม ความเป็นอยู่ของเขาสุดแสนทรมาน เป็นอยู่อย่างนี้มานานแสนนาน เขาถือถังน้ำที่เต็มปริ่ม ในขณะนั้นหัวใจของเขาแข็งกร้าว เมื่อได้แลเห็นคนๆ หนึ่งปรากฏว่าท่านอิมาม(อ)หยุดยืนอยู่ต่อหน้าเขา เขากล่าวว่า

“ ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ จงให้ความเป็นธรรมต่อฉันด้วย ”

ท่านอิมาม(อ)ย้อนถามว่า “ เรื่องอะไรหรือ ?”

เขาตอบว่า “ ท่านตาของท่านเคยกล่าวว่า “ โลกนี้คือคุกของผู้ศรัทธา แต่เป็นสวรรค์ของผู้ปฏิเสธ (กาฟิร) ”

“ ในเมื่อท่านเป็นผู้ศรัทธา ส่วนฉันเป็นผู้ปฏิเสธ แล้วไฉนฉันจึงเห็นว่าโลกนี้เป็นสวรรค์สำหรับท่าน ท่านช่างมีความสุขและมีความอิ่มเอิบกับรสชาดของมันเสียเหลือเกิน แต่ดูไปแล้วมันกลับเป็นคุกสำหรับฉันเสียมากกว่า เพราะมันทำลายชีวิตฉันเสียยับเยิน มันให้แต่ความยากจนข้นแค้นแก่ฉันตลอดมา ”

เมื่อท่านอิมาม(อ)ได้ยินเช่นนั้น ท่านก็อธิบายให้ความสว่างแก่เขา โดยเผยคำตอบออกมาจากความรู้อันเปรียบดังขุมคลังแห่งความรู้ของท่าน

๗๗

ท่านอธิบายให้แก่ชาวยิวผู้เข้าใจผิดคนนั้นว่า

“ โอ้ท่านผู้อาวุโส ถ้าหากท่านได้แลเห็นสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงสัญญาไว้กับฉันและบรรดาผู้ศรัทธาไว้ในปรโลก อันเป็นสิ่งที่สายตามองไม่เห็น หูไม่ได้ยิน แน่นอนที่สุดท่านจะรู้ได้เลยว่า ชีวิตในโลกนี้ก่อนที่ฉันจะย้ายไป มันเป็นเพียงแค่สถานที่กักกันเท่านั้น และถ้าหากท่านสามารถมองเห็น

สิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)สัญญาไว้กับท่านและผู้ปฏิเสธทุกคนในปรโลกแล้วไซร้ จะเห็นว่ามันคือไฟนรกอันร้อนแรงลุกโชติช่วง เป็นการลงโทษอันถาวรแน่นอนที่สุด ท่านต้องจะเห็นว่า โลกที่ท่านอาศัยอยู่ขณะนี้คือสวรรค์อันกว้างใหญ่ มีศูนย์รวมแห่งความโปรดปรานพร้อมบริบูรณ์ ” ( 12)

(12 ) กัซฟุล - ฆุมมะฮฺ หน้า 163

๗๘

คำวิงวอน

บทคำวิงวอนขออันเป็นส่วนเฉพาะตัวของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)นั้น ทุกท่านต่างก็มีคำวิงวอนอย่างมากมายโดยได้รับการเก็บรักษาไว้เพียงจำนวนหนึ่งบรรดานักปราชญ์ได้รวบรวมบทดุอาอ์ของบุคคลเหล่านี้ไว้ในตำราต่าง ๆ เป็นอันมาก

นอกจากนี้ ในความหมายของบทดุอาอ์ดังกล่าวยังมีเรื่องการสรรเสริญอัลลอฮฺ(ซ.บ.) การแสดงความนอบน้อมต่อพระองค์ ถ่อมตนอย่างสุดซึ้งต่อพระองค์ อันหมายถึงเป็นศูนย์รวมแห่งคำสอนต่างๆ ทั้งจริยธรรม มารยาท ความรู้ในเรื่องราวของพระผู้เป็นเจ้า และความสมบูรณ์ต่างๆ ใน

บทนี้เราจะกล่าวถึงบทดุอาอ์ของท่านอิมามฮะซัน(อ) อย่างสั้นๆ บางประการ

บทที่ 1.

ครั้งหนึ่งมุอาวิยะฮฺได้นำชาวกุเรชกลุ่มหนึ่งมาหาท่าน โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำร้ายท่าน ท่านอิมามฮะซัน(อ) ได้วิงวอนขอดุอาอ์ว่า

“ ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้าขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากความชั่วร้ายของคนเหล่านั้น ฉันขอให้พระองค์ปกป้องการทำร้ายโดยคนเหล่านี้ และขอความช่วยเหลือจากพระองค์เกี่ยวกับคนเหล่านี้ ขอให้โปรดปกป้องข้าให้พ้นจากพวกเขา ไม่ว่าโดยวิธีใดที่พระองค์ทรงประสงค์ และฉันก็ปรารถนาด้วยอำนาจและพลังของพระองค์ ข้าแต่พระผู้ทรงเมตตายิ่งกว่าผู้มีความเมตตาใดๆ ” ( 1)

(1 ) ชัรฮฺ นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ เล่ม 2 หน้า 101

๗๙

บทที่ 2.

เมื่อท่านอิมามฮะซัน(อ)ไปถึงประตูมัสญิด ท่านแหงนศีรษะขึ้นแล้ว

กล่าวว่า

“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า แขกของพระองค์มาถึงประตูของพระองค์แล้ว ข้าแต่ผู้ทรงไว้ซึ่งความดีงาม คนที่ทำความผิดพลาดมาหาพระองค์แล้ว ขอได้โปรดสลัดความน่าชังที่มีอยู่ในตัวข้าออกไปโดยความดีงามที่มีอยู่

ณ พระองค์ด้วยเถิด ข้าแต่พระผู้ทรงเกียรติยิ่ง ” ( 2)

(2 ) อัล - มัดค็อล อิลา เมาซูอะติล - อะตะบาต อัล - มุก็อดดะซะฮฺ หน้า 18

บทที่ 3.

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้สอนดุอาอ์บทหนึ่งให้แก่ผู้ที่ได้รับความไม่เป็นธรรม วิงวอนขอเพื่อป้องกันผู้อธรรม หลังจากนมาซสองร็อกอะฮฺแล้ว ซึ่งปรากฏว่าเป็นที่ได้รับการตอบสนอง ดังนี้

“ ข้าแต่พระผู้ทรงไว้ซึ่งความเข้มงวดแห่งสถานการณ์ที่เป็นไป ข้าแต่ผู้ทรงพลัง ข้ามีความ

ต่ำต้อยต่อเกียรติยศของพระองค์ยิ่งกว่าอะไรทั้งหมดที่ทรงสร้างมา ขอได้โปรดปกป้องข้าให้พ้นจากความชั่วร้ายของ ( ให้กล่าวนามศัตรู) …… ตามที่พระองค์ทรงประสงค์ ” ( 3)

(3 ) อัล - มุจญตะนา มินัดดุอาอิล - มุจยตะบา หน้า 3

๘๐