ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ชีวประวัติอิมามฮะซัน42%

ชีวประวัติอิมามฮะซัน ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 134

ชีวประวัติอิมามฮะซัน
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 134 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 64763 / ดาวน์โหลด: 5720
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

สุภาษิต :

โอสถบำบัดโรค

ชีวิตของบรรดาอิมาม(อ)แห่งอะฮฺลุลบัยตฺนั้นคือ พลังที่นำมวลมุสลิมไปสู่วิถีทางของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และความปิติชื่นชมยังพระองค์และเป็นการเน้นให้มีการเชื่อฟังปฏิบัติตามพระองค์ กล่าวคือ บรรดาอิมาม(อ) เป็นสื่อในเรื่องเหล่านี้ทุกๆ วิถีทาง แบบแผนชีวิตของบรรดาอิมาม(อ)มิได้เป็นเพียงบทเรียนอย่างเดียวเท่านั้น หากยังหมายความไปถึงคำปราศรัย พินัยกรรม คำสั่งเสีย

จดหมาย ดังที่บรรดานักประวัติศาสตร์ได้ รวบรวมถ้อยคำของพวกท่านมาบันทึกไว้โดยสังเขป

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.)พระองค์ทรงเป็นพยานได้ว่า

ไม่มีเรื่องราวของผู้ใดมีรายละเอียดเสมอเหมือนกับบรรดาท่านเหล่านั้น เรื่องราวเหล่านี้คือ คลังแห่งคำสอน และเป็นโอสถหลายขนานสำหรับบำบัดรักษาโรคต่าง ๆ ทางสังคมของพวกเรา และเป็นการเรียกร้องเชิญชวนสู่สัจธรรมและความดีงาม

ในบทนี้เราจะเสนอสุภาษิตบางประการจากถ้อยคำของท่านอิมามฮะซัน(อ) ดังนี้

๑. จงอย่าเร่งให้ความบาปต้องพบกับบทลงโทษ แต่จงหาวิธีทางอย่างใดอย่างหนึ่งมาแก้ไขในระหว่างนั้น

๒. การหยอกล้อจะกัดกร่อนบารมี แต่การเพิ่มบารมีอยู่ที่การนิ่งเงียบ

๓. โอกาสที่ดีมักจะจากไปอย่างรวดเร็ว และกลับมาช้าเสมอ

๖๑

๔. ความสุขจะไม่เป็นที่รับรู้เสมอในยามที่มันมีอยู่ แต่มันจะเป็นที่รู้จักทันทีที่มันจากไป

๕. จะปรึกษาหารือกับคนกลุ่มใดก็จะเป็นไปตามแนวชี้นำของคนกลุ่มนั้น

๖. คนเลวย่อมไม่รู้คุณของความดีงาม

๗. ความดีที่ไม่มีความชั่วใดๆ แอบแฝงได้แก่ การรู้คุณค่าของความโปรดปราน และอดทนต่อความทุกข์ยาก

๘. ความอับอายยังให้ความเจ็บน้อยกว่าไฟนรก

๙. มนุษย์จะวิบัติด้วยเหตุ ๓ ประการ การทะนงตัว ความโลภ

และการริษยา

การทะนงตัว คือ การทำลายศาสนา และด้วยเหตุนี้เองอิบลิสจึงถูกสาปแช่ง

ความโลภคือ ศัตรูของตนเองและด้วยเหตุนี้ที่อาดัม(อ)ถูกขับออกจากสวรรค์

การริษยาคือ ที่ตั้งของความชั่ว และด้วยเหตุนี้ที่กอบีลสังหารฮาบีล

๖๒

๑๐. ไม่มีการมีมารยาทใดสำหรับคนที่ไร้ปัญญา ไม่มีลักษณะของชายชาตรีสำหรับคนที่ไม่มีความมุ่งมั่นเอาจริงเอาจัง ไม่มีความละอายใดสำหรับคนที่ไม่มีศาสนา สุดยอดแห่งการมีปัญญาคือการพบปะพูดคุยกับผู้คนด้วยลักษณะที่สวยงาม ด้วยกับปัญญาเท่านั้นที่จะเข้าถึงซึ่งโลกทั้งสอง ผู้ใดที่ไม่ใช้สติปัญญา เขาก็จะไม่สามารถเข้าถึงซึ่งโลกนี้ และโลกหน้า(๑)

๑๑. จริยธรรมที่สูงสุดยอดมี ๑๐ ประการ

( ๑) รักษาสัจจะไว้โดยวาจา

( ๒) รักษาสัจจะไว้โดยความเดือดร้อน

( ๓) บริจาคแก่ผู้ขอ

( ๔) มีมารยาทที่ดีงาม

( ๕) มีความบากบั่นในการทำงาน

( ๖) มีไมตรีต่อญาติมิตร

( ๗) มีเมตตาธรรมต่อเพื่อนบ้าน

( ๘) รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น

( ๙) ให้เกียรติต่อแขก

( ๑๐) หัวใจของสิ่งเหล่านี้คือความละอาย

๑๒. การสูญเสียสิ่งที่ต้องการดีกว่าการขอจากคนที่มิได้เป็นเจ้าของในสิ่งนั้นจริง(๒)

๖๓

๑๓. ฉันไม่เห็นผู้อธรรมคนใดที่ละม้ายคล้ายคลึงกับผู้ถูกอธรรม มากกว่าผู้ที่อิจฉาริษยา

( หมายความว่า ผู้มีจิตอิจฉาริษยานั้นมีสภาพเป็นทั้งผู้อธรรม (ต่อผู้อื่น) และตัวเองก็ถูกอธรรมจากการอิจฉาริษยานั้น)(๓)

๑๔. จงเอาความรู้ของเจ้าสอนผู้อื่นและจงศึกษาความรู้จากคนอื่น เมื่อนั้นความร้อนของเจ้าจะแข็งแกร่ง และเจ้าจะรู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้(๔)

๑๕. แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงรำลึกถึงเจ้าอยู่ ดังนั้นเจ้าจงรำลึกถึงพระองค์ และทรงเลี้ยงดูเจ้าอยู่ ดังนั้นจงขอบคุณต่อพระองค์

๑๖. ถ้ากิจกรรมอันเป็นนะวาฟิล(ที่ควรแก่การกระทำ)จะทำลายกิจกรรมอันเป็นวาญิบ ( ข้อบังคับ) เจ้าก็จงละทิ้งนะวาฟิลนั้นเสีย

๑๗. ผู้ใดที่เตือนสติตัวเองอยู่เสมอ หลังจากการเดินทางเขาก็ถูกยอมรับ

๑๘. ระหว่างพวกเจ้ากับคำตักเตือน แท้จริงมันคือม่านแห่งเกียรติยศ

๑๙. ใครที่แสวงหาการเคารพภักดี เขาก็จะได้รับการขัดเกลา

๒๐. การตัดขาดจากความรู้ คือข้อบกพร่องของผู้ศึกษาเล่าเรียน(๕)

๒๑. สิ่งที่ดีที่สุดของความดีงามคือมารยาทที่ดี(๖)

๖๔

----------------------------------------------------

(๑ ) อะอฺยานุช - ชีอะฮฺ ๔ กอฟ ๑๐๗ / ๑

(๒ ) อัลฮะซัน บินอะลี ของอัลดุล - กอดิร อะหมัด อัล - ยูซุฟ ห้า ๖๐

(๓ ) มะฏอลิบุซซุอุล หน้า ๖๙ พิมพ์ครั้งที่ ๑

(๔ ) กัซฟุล - ฆุมมะฮฺ หน้า ๑๗๐

(๕ ) ตะฮัฟฟุล - อุกูล หน้า ๑๖๙

(๖ ) อัล - คิศอล หน้า ๒๙

คำตอบอันชาญฉลาดของท่านอิมามฮะซัน(อ)

ในบทนี้เราขอนำเสนอการตอบปัญหาของท่านอิมามฮะซัน(อ)ในเรื่องที่เกี่ยวกับอัคลาค ( จริยธรรมอันดีงาม) การรู้จักพระผุ้เป็นเจ้าและกิริยามารยาทอันงดงาม คำตอบของท่านอิมาม (อ) นี้

ท่านจะไม่เห็นมันในหนังสือเล่มอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอัคลาค หรือแม้แต่หนังสือของนักปราชญ์แห่งอิสลามเลย บางปัญหาที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ บิดาของท่านคือท่านอะลี อะมีรุลมุมินีน(อ) ได้เคยถามท่านอิมามฮะซัน(อ)แล้ว ท่านก็กล่าวถึงความประเสริฐอันสูงส่งของท่านอิมาม(อ) ยกย่องต่อตำแหน่งอันสูงสุดของท่านอิมาม(อ) อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความดีงามเป็นพิเศษของท่าน

ดูเหมือนว่าบางคำถามยากมากถึง ขนาดที่ว่าไม่น่าจะมีคำตอบเลยเกี่ยวกับคำถามนั้น เช่นคำถามของกษัตริย์โรมัน ซึ่งมันไม่เป็นการง่ายเลยที่จะตอบคำถามเหล่านั้น แต่ทว่าบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)นั้น พวกเขาได้รับการเรียนรู้และการสั่งสอนมาจากบรรพบุรุษของเขา ซึ่งมาจากท่านญิบรออีล อันได้รับมาจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)นั่นเอง

๖๕

เราจะกล่าวถึง บางคำตอบของท่านอิมามฮะซัน(อ)สำหรับคำถามต่าง ๆ ในบางเรื่อง ณบัดนี้

ถาม-ตอบ เรื่องที่ ๑.

ท่านอะลี อะมีรุลมุมินีน(อ)ผู้เป็นบิดาของท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้ถามลูกของท่านดังนี้

ถาม “ โอ้ ลูกรัก สิ่งกีดขวาง คืออะไร? ”

ตอบ “ สิ่งกีดขวางก็ คือ การป้องกันความเลวร้ายด้วยการกระทำความดี ”

ถาม “ การมีเกียรติ คืออะไร? ”

ตอบ “ คือการดูแลวงศาคนาญาติ และการยอมรับความผิด ”

ถาม “ ความเป็นชายชาตรี คืออะไร ?”

ตอบ “ คือการรู้จักหักห้ามใจตัวเอง และการรู้จักใช้ทรัพย์สิน ”

ถาม “ ความเลวทราม ต่ำช้า คืออะไร ?”

ตอบ “ การพิจารณาแบบมักง่าย และขัดขวางผู้ต่ำต้อย ”

ถาม “ สิ่งที่น่ายกย่องคืออะไร ?”

ตอบ “ การอุตสาหพยายามทั้งในยามลำเค็ญและยามสุขสบาย ”

ถาม “ การตระหนี่ คืออะไร ?”

ตอบ “ คือการที่ท่านเห็นสิ่งที่มีอยู่ในมือเป็นความสิ้นเปลือง

(ถ้าจะจ่ายไป) ส่วนสิ่งที่จ่ายไปแล้วถือเป็นความสูญเสีย ”

ถาม “ ภราดรภาพคืออะไร ?”

ตอบ “ ความซื่อสัตย์ต่อสัญญาทั้งในยามทุกข์ยากและเดือดร้อน ”

๖๖

ถาม “ ความขี้ขลาดคืออะไร ?”

ตอบ “ กล้าต่อกรกับเพื่อนฝูง แต่หนีจากศัตรู ”

ถาม “ สิ่งที่ถือว่าเป็นโชคดีคืออะไร ?”

ตอบ “ ความปรารถนาในการสร้างตักฺวา และการอยู่ตามสมควรในโลกนี้ ”

ถาม “ ความอดทน อดกลั้นคืออะไร ?”

ตอบ “ การระงับความโกรธ และควบคุมตนเองได้ ”

ถาม “ ความร่ำรวยคืออะไร ”

ตอบ “ ความพึงพอใจต่อสิ่งที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) จัดสรรให้แม้เพียงน้อยนิด อันที่จริงแล้วความร่ำรวยก็คือจิตใจที่รู้จักพอ ”

ถาม “ ความยากจนคืออะไร ?”

ตอบ “ ความปรารถนา อยากได้ในทุกสิ่ง ”

ถาม “ อุปสรรคคืออะไร ?”

ตอบ “ ความทุกข์ยากแสนลำเค็ญ ”

ถาม “ ความทุกข์คืออะไร ?”

ตอบ “ คำพูดของท่านไม่ได้ให้ความหมายอะไรแก่ตัวท่านเลย ”

ถาม “ ความสง่างามคืออะไร ?”

ตอบ “ การให้แม้อยู่ในสภาพมีหนี้สิน ”

ถาม “ ความรับผิดชอบอยู่ที่ไหน ?”

ตอบ “ การพูดในสิ่งที่มิได้พิสูจน์ ”

ถาม “ ความดีคืออะไร ?”

ตอบ “ การให้ในยามที่ถูกฉ้อฉล และอภัยในยามที่ถูกประทุษร้าย ”

๖๗

ถาม-ตอบ เรื่องที่ ๒

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ถูกถามถึงของสิบชนิดที่มีบางชนิดแข็งแกร่งกว่าอีกชนิดหนึ่ง

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ตอบว่า

“ สิ่งที่แข็งแกร่งที่สุดที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงสร้างมาคือหิน และสิ่งที่แข็งยิ่งกว่ามันก็คือเหล็ก หินจะถูกตัดด้วยกับเหล็ก สิ่งที่แข็งแกร่งยิ่งกว่าเหล็กก็คือไฟ เพราะมันจะหลอมละลายเหล็ก สิ่งที่มีอานุภาพมากกว่าไฟก็คือน้ำ สิ่งที่เหนือกว่าน้ำก็คือก้อนเมฆ สิ่งที่เหนือกว่าก้อนเมฆก็คือลม ซึ่งมันจะพัดพาก้อนเมฆไป สิ่งที่มีอำนาจเหนือกว่าลมก็คือ มะลาอิกะฮฺที่ทำหน้าที่ดูแลเรื่องลม สิ่งที่มีอำนาจเหนือกว่ามะลาอิกะฮฺองค์นั้นก็คือ “ มะลิกุ้ลเม้าตฺ ” ที่ทำหน้าที่ปลิดวิญญาณของมะลาอิกะฮฺองค์นั้น สิ่งที่เหนือกว่า “ มะลิกุ้ลเม้าตฺ ” ก็คือ “ ความตาย ” ซึ่งมันจะปลิดชีวิตของ “ มะลิกุ้ลเม้าตฺ ” เอง

แต่สิ่งที่มีอานุภาพเหนือความตายก็คือคำสั่งของ “ อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ” ที่จะฝังความตายเอาไว้ ”

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๓.

ท่านอิมาม(อ)ถูกถามจากบุคคลหนึ่งว่า

ถาม “ ใครเป็นผู้ใช้ชีวิตได้ดีเลิศที่สุดในหมู่มนุษย์ ”

ตอบ “ ผู้ที่ให้มนุษย์มีส่วนร่วมในการใช้ชีวิตของเขา ”

ถาม “ ใครเป็นผู้ดำรงชีวิตที่เลวที่สุด ”

ตอบ “ คือผู้ที่ไม่ปล่อยให้ใครเข้ามาร่วมในการใช้ชีวิตของเขาเลย แม้แต่คนเดียว ” ( ๑)

( ๑) อัล-ฮะซัน บินอะลี ของอับดุล-กอดิร อะฮฺมัด อัล-ยูซุฟ หน้า ๖๒

๖๘

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๔.

มุอาวิยะฮฺ ถามท่านอิมามฮะซัน(อ)ว่า

“ โอ้ อะบามุฮัมมัด มีอยู่สามสิ่งที่ฉันไม่พบว่า จะมีใครอธิบายมันให้ฉันฟังได้เลย ”

ท่าน(อ) ถามว่า “ เช่นอะไรบ้าง ?”

เขาตอบ “ ความเป็นชายชาตรี เกียรติยศ และความเอื้อเฟื้อ ”

ท่านอิมาม(อ) ตอบว่า

“ ความเป็นชายชาตรีก็คือการที่ชายคนนั้นแก้ไขปรับปรุงตัวในเรื่องกิจการศาสนา และการดำรงไว้ซึ่งทรัพย์สินที่ดีงาม มีการให้ทาน และทักทายด้วยสลาม ให้ความรักใคร่ต่อคนทั้งหลายเกียรติยศหมายถึงการให้ก่อนได้รับการร้องขอ มีคุณธรรมเป็นกุศล ให้อาหารเป็นทาน ความเอื้อเฟื้อคือ มีความกลมเกลียวกับญาติ ปกป้องคุ้มครองกันในยามที่ถูกภาวะที่ถูกรังเกียจ อดทนในยามที่ได้รับความเดือดร้อน ” ( ๒)

( ๒) ตารีคอัล-ยะอฺกูบี เล่ม ๒ หน้า ๒๑๕

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๕.

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ถูกถามถึง “ เรื่องการนิ่งเงียบว่าเป็นอย่างไร ?”

ท่าน(อ)ตอบว่า “ การนิ่งเงียบที่ถูกต้องหมายถึง การปกปิดความลับ การตบแต่งรูปโฉมภายนอก กระทำสิ่งหนึ่งอย่างสบายใจ ผู้ที่ร่วมพูดคุยอยู่ด้วยรู้สึกปลอดภัย ” ( ๓)

( ๓) มะฏอลิบุซ-ซุอูล หน้า ๖๙

๖๙

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๖

กษัตริย์แห่งโรมเขียนจดหมายถึงมุอฺาวิยะฮฺ ถามปัญหาสามข้อคือ

๑- สถานที่ที่เป็นกึ่งกลางของท้องฟ้า

๒- เลือดหยดแรกที่ตกบนโลก

๓- สถานที่ขึ้นของดวงอาทิตย์

เขาไม่สามารถให้คำตอบได้ จึงขอร้องให้ท่านอิมามฮะซัน(อ)ช่วยตอบปัญหานี้

ท่าน(อ)ตอบว่า “ กึ่งกลางของท้องฟ้าอยู่ที่ “ อัล-กะอฺบะฮฺ ” เลือดหยดแรกคือเลือดของท่านหญิง “ เฮาวาอ์ ” สถานที่ขึ้นของดวงอาทิตย์คือดินแดนแห่งทะเลที่ท่านนบีมูซา (อ) ใช้ไม้เท้าฟาด ” ( ๔)

( ๔) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๑๕๒

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๗

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้ตอบคำถามกษัตริย์แห่งโรมอีกครั้งหนึ่งที่ถามท่านว่า “ อะไรที่ไม่มีทิศทางสำหรับตน ใครที่ไม่มีญาติสำหรับเขา ?”

ท่าน(อ)ตอบว่า “ ที่ไม่มีทิศทางสำหรับตนคืออัล-กะอฺบะฮฺ ผู้ที่ไม่มีเครือญาติสำหรับเขาคือพระผู้อภิบาล ” ( ๕)

(๕ ) อัล - มะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๑๕๒

๗๐

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๘.

ชาวชาม(ซีเรีย)คนหนึ่งถามท่านอิมามฮะซัน(อ)

ถาม “ ความห่างกันระหว่างสัจธรรมกับความไม่ถูกต้องมีมากน้อยเพียงใด ?”

ตอบ “ ห่างกันสี่นิ้วมือ กล่าวคือ อะไรที่ท่านเห็นด้วยตานั่นคือสัจธรรม ส่วนอะไรที่ได้ยินกับหูอันนั้นส่วนมากจะไม่ถูกต้อง ”

ถาม “ ความห่างกันระหว่างความศรัทธา (อีหม่าน) กับความเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่ (ยะกีน) มีเท่าใด ?”

ตอบ “ ห่างกันสี่นิ้วมือ กล่าวคือความศรัทธาคือเชื่อในสิ่งที่ได้ยินมา ส่วนความเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่นั้นคือเชื่อในสิ่งที่เห็นมา ”

ถาม “ ระหว่างฟ้ากับพื้นดินห่างกันเท่าไหร่ ?”

ตอบ “ เท่ากับเสียงร้องเรียกของคนที่ถูกอธรรม กับการทอดสายตาไปมอง ”

ถาม “ ทิศตะวันออกกับทิศตะวันตกห่างกันเท่าใด ?”

ตอบ “ เท่ากับระยะทางเดินของดวงอาทิตย์ ” ( ๖)

(๖ ) อัล - มะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๑๕๒

๗๑

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๙.

ครั้งหนึ่งท่านอิมามฮะซัน(อ)นั่งอยู่ในมัสญิด มีประชาชนอยู่รายล้อมท่าน มีชายคนหนึ่งก้าวเข้ามาในมัสญิด แล้วเขาก็พบว่ามีคนๆ หนึ่งกำลังพูดถึงท่านศาสนทูต(ศ)อยู่ ซึ่งมีผู้คนนั่งอยู่ด้วย เขาก็เดินไปหาชายคนนั้นแล้วถามว่า

“ จงบอกฉันซิว่า ใครคือชาฮิด(ผู้เป็นพยาน) และใครคือมัชฮูด(ผู้ได้รับการเป็นพยาน) ”

ชายคนที่หนึ่งตอบว่า

“ ชาฮิดหมายถึงวันศุกร์ มัชฮูดหมายถึงวันอะร่อฟะฮฺ ”

ชายคนนั้นก็เดินไปถามชายคนที่สองที่ในมัสญิดด้วยว่า

“ ชาฮิดและมัชฮูดหมายถึงอะไร ?”

ชายคนที่ถูกถาม ตอบว่า

“ ชาฮิดคือวันศุกร์ ส่วนมัชฮูดคือวันแห่งการเชือดกุรบานในพิธีฮัจญ์ ”

เขาจึงเดินไปถามชายคนที่สามในปัญหาเดียวกัน

ชายคนที่สามตอบว่า

“ ชาฮิดหมายถึง ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ส่วนมัชฮูดหมายถึงวันฟื้นคืนชีพ ; ดังที่ฉันได้ยินโองการของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ที่ว่า:

“ โอ้ผู้เป็นนบี แท้จริงเราได้ส่งเจ้ามาเพื่อเป็นสักขีพยาน(ชาฮิด) เป็นผู้แจ้งข่าวดี และเป็นผู้ตักเตือนให้ระวังภัย ”

๗๒

และโองการที่ว่า :

“ วันนั้นที่เป็นศูนย์รวมของประชาชน และนั่นคือวันที่ได้รับการเป็นพยานยืนยัน(มัชฮูด) ”

ชายผู้ตั้งคำถามได้ถามคนทั้งหลายว่า “ พวกเขาสามคนคือใคร ?”

คนที่อยู่ในมัสญิดตอบว่า “ ชายคนแรกคือท่านอิบนุอับบาส ชายคนที่สองคือ ท่านอิบนุอุมัร ชายคนที่สามคือท่านอิมามฮะซัน บุตรของอะลี อิบนิ

อะบีฏอลิบ (อ) ” ( ๗)

(๗ ) นูรุล - อับศ็อร หน้า ๑๗๓

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๑๐.

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ถูกถามเกี่ยวกับเรื่องการเมือง

ท่าน(อ)ตอบว่า “ การเมือง คือการที่ท่านจะต้องดูแลรักษาส่วนที่เป็นสิทธิของอัลลอฮฺ สิทธิของคนที่มีชีวิตอยู่ และสิทธิของคนที่ตายไปแล้ว

ในส่วนที่เป็นสิทธิของอัลลอฮฺนั้น หมายถึงท่านจะต้องปฏิบัติในสิ่งที่พระองค์ทรงใช้ และหลีกห่างจากสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม

ในส่วนที่เป็นสิทธิของคนที่มีชีวิต ก็คือท่านจะต้องดำรงไว้ซึ่งสิทธิหน้าที่ของท่านเพื่อพี่น้อง ประชาชนของท่าน อย่าล่าช้าจากการรับใช้เหล่าข้าบริวารของท่าน และจะต้องทำหน้าที่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ต่อผู้ปกครอง

เท่าๆ กับที่ทำหน้าที่อย่างบริบูรณ์ต่อข้าทาษบริวาร ต้องสลัดทิ้งความชิงชังออกไปในยามประสบกับอุปสรรคในเส้นทางที่ราบเรียบ

๗๓

ในส่วนที่เป็นสิทธิของผู้ตายนั้น ก็คือจะต้องรำลึกถึงความดีงามของเขาและโกรธคนที่มุ่งร้ายต่อเขา ดังนั้นสำหรับพวกเขาแล้วมีพระผู้อภิบาลทำหน้าที่ตัดสินตอบแทนอยู่ ” ( ๘)

(๘ ) ฮะยาตุล - อิมามฮะซัน บินอะลี ( อ ) ของอัล - กุรชี เล่ม ๑ หน้า ๑๔๓

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๑๑.

มุอาวิยะฮฺได้ถามท่านอิมามฮะซัน(อ) ว่า

“ อะไรที่จำเป็นบ้างในเรื่องการปกครองของเรา ?”

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ตอบว่า

“ มันคือเรื่องที่ท่านนบีซุลัยมาน(อ) บุตรของนบีดาวูด(อ)ได้กล่าวไว้ ”

มุอาวิยะฮฺ ถามว่า

“ ท่านนบีซุลัยมาน(อ)กล่าวไว้อย่างไร ?”

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ตอบว่า

“ ท่านนบี(อ)กล่าวกับสาวกคนหนึ่งของท่านว่า :

“ เจ้ารู้หรือไม่ว่า หน้าที่ที่จำเป็นสำหรับกษัตริย์ในการปกครองคืออะไรบ้าง และอะไรบ้างที่ไม่เป็นอันตรายแก่เขาในยามที่เขาปฏิบัติ

นั่นคือ เขาต้องยำเกรงต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทั้งในยามลับและในยามเปิดเผย ต้องยุติธรรมทั้งในยามโกรธและยามพึงพอใจ ต้องเข้าหาทั้งคนยากจนและคนร่ำรวย ต้องไม่แสวงหาทรัพย์สินในทางมิชอบ ต้องไม่ใช้จ่ายทรัพย์สินอย่างฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย สิ่งบำเรอความสุขทางโลกจะต้องไม่นำอันตรายมาสู่เขา ในยามที่เขาอยู่ตามลำพัง ” ( ๙)

(๙ ) ตารีคอัล - ยะอฺกูบี เล่ม ๒ หน้า ๒๐๒

๗๔

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๑๒.

ครั้งหนึ่งท่านอิมามฮะซัน(อ)กำลังเวียนฏ่อว๊าฟบัยตุลลอฮฺอยู่ มีชายคนหนึ่งเข้ามาถามท่านว่า

“ คำว่าอัล-ญะวาด(ผู้เอื้ออารี) หมายความว่าอย่างไร ?”

ท่านอิมาม(อ)ตอบว่า “ คำถามของท่านมีความหมายสองแง่ กล่าวคือ

ถ้าถามในแง่ของผู้ถูกสร้าง อัล-ญะวาด หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างสมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ข้อบังคับที่มีต่อตัวเอง เพราะคนตระหนี่หมายถึงคนที่ตระหนี่ในสิ่งที่เป็นหน้าที่และข้อบังคับของตัวเอง แต่ถ้าท่านถามในแง่ของผู้สร้าง อัล-ญะวาดหมายถึงผู้ที่จะประทานให้ก็ได้ ไม่ให้ก็ได้ เพราะว่าถึงแม้พระองค์จะให้อะไรแก่บ่าวคนหนึ่ง พระองค์ก็ให้แก่เขาซึ่งสิ่งของที่มิได้เป็นของเขา และถ้าพระองค์จะไม่ประทานให้ ก็เป็นสิทธิของพระองค์เพราะสิ่งนั้นก็มิได้เป็นของเขาเหมือนกัน ” ( ๑๐)

(๑๐ ) ฮะยาตุล - อิมามฮะซัน บินอะลี ของอัลกุรชี เล่ม ๑ หน้า ๑๔๔

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๑๑.

ชายคนหนึ่งถามท่านอิมามฮะซัน(อ)ว่า

“ โอ้บุตรของท่านศาสดา โปรดกล่าวถึงคุณลักษณะของพระผู้อภิบาลให้ฉันฟัง ให้เหมือนกับที่ฉันกำลังมองเห็นพระองค์ซิ ”

๗๕

ท่านอิมาม(อ)สะดุ้งเล็กน้อย แล้วแหงนศีรษะขึ้นมาพลางกล่าวว่า

“ ข้าขอสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ พระองค์ไม่มีการเริ่มต้นตามที่เข้าใจกัน พระองค์ไม่มีสภาวะสุดท้ายอันเป็นที่สิ้นสุด ไม่มีอะไรมีมาก่อน

ไม่มีขอบเขตใดๆ อยู่ข้างหลัง ไม่มีระยะทางเพื่อไปหา

ไม่เป็นเรือนร่างเพื่อแยกส่วน ไม่มีความแตกต่างกันในคุณลักษณะ

หนึ่งๆ ที่ยุติได้ ไม่มีปัญญาใดเข้าถึงและวาดมโนภาพได้ ไม่ปรากฏบนสิ่งใดๆ และไม่แอบแฝงภายในสิ่งใดๆ ไม่ทอดทิ้งอะไรโดยไม่มีพระองค์ทรงสร้างสิ่งนั้น แล้วทรงให้การเริ่มต้นอันวิจิตรพิศดาร ทรงให้ความพิศดารแก่สิ่งที่ทรงให้การเริ่มต้น และทรงกระทำตามที่พระองค์ทรงประสงค์ นี่คือพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ” ( ๑๑)

(๑๑ ) อัต - เตาฮีด หน้า ๔๖

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๑๔.

มีเรื่องเล่าว่า ท่านอิมามฮะซัน(อ) อาบน้ำแล้วออกจากบ้านอย่างสง่าผ่าเผย เรือนร่างทุกส่วนสะอาด มีพาหนะเดินทางที่ดี มีเสบียงเป็นสัดส่วนอย่างเรียบร้อย ใบหน้าของท่านผ่องใส บุคลิกลักษณะของท่านมีสง่าราศีบริบูรณ์งามเด่น ให้การต้อนรับคนทั้งหลายด้วยความปราณียิ้มแย้มแจ่มใส เบิกบาน มีผู้ตัดสินแล้วว่าความสุขอยู่ที่ความยุติธรรมของท่าน

ท่านขี่ม้าตัวใหญ่ที่สมบูรณ์ ท่านเดินไปท่ามกลางการต้อนรับเป็นแถวเรียงราย ถ้าหากท่านอับดุลมะนาฟ(ปู่ทวดของท่าน) ได้เห็นท่านคงอดไม่ได้ที่จะต้องภาคภูมิใจบรรพบุรุษทั้งหลายของท่านจะต้องปลาบปลื้มเป็นล้นพ้น

๗๖

ในเส้นทางที่ท่านเดินมีชาวยิวที่แร้นแค้นคนหนึ่งพำนักอยู่ เขาประสบความล้มเหลวด้วยสาเหตุต่างๆ มีความเป็นอยู่ที่ตกต่ำ รายได้น้อย ขาดแคลนอาหารถึงขนาดหนังหุ้มติดกระดูก อ่อนระโหยโรยแรงถึงขนาดทรงตัวเกือบไม่ได้ และเลวยิ่งกว่านั้นสิ่งที่เขารักคือนกพิราบตัวหนึ่ง ยามดวงอาทิตย์ขึ้นแดดก็แผดเผาจนไหม้เกรียม ความเป็นอยู่ของเขาสุดแสนทรมาน เป็นอยู่อย่างนี้มานานแสนนาน เขาถือถังน้ำที่เต็มปริ่ม ในขณะนั้นหัวใจของเขาแข็งกร้าว เมื่อได้แลเห็นคนๆ หนึ่งปรากฏว่าท่านอิมาม(อ)หยุดยืนอยู่ต่อหน้าเขา เขากล่าวว่า

“ ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ จงให้ความเป็นธรรมต่อฉันด้วย ”

ท่านอิมาม(อ)ย้อนถามว่า “ เรื่องอะไรหรือ ?”

เขาตอบว่า “ ท่านตาของท่านเคยกล่าวว่า “ โลกนี้คือคุกของผู้ศรัทธา แต่เป็นสวรรค์ของผู้ปฏิเสธ (กาฟิร) ”

“ ในเมื่อท่านเป็นผู้ศรัทธา ส่วนฉันเป็นผู้ปฏิเสธ แล้วไฉนฉันจึงเห็นว่าโลกนี้เป็นสวรรค์สำหรับท่าน ท่านช่างมีความสุขและมีความอิ่มเอิบกับรสชาดของมันเสียเหลือเกิน แต่ดูไปแล้วมันกลับเป็นคุกสำหรับฉันเสียมากกว่า เพราะมันทำลายชีวิตฉันเสียยับเยิน มันให้แต่ความยากจนข้นแค้นแก่ฉันตลอดมา ”

เมื่อท่านอิมาม(อ)ได้ยินเช่นนั้น ท่านก็อธิบายให้ความสว่างแก่เขา โดยเผยคำตอบออกมาจากความรู้อันเปรียบดังขุมคลังแห่งความรู้ของท่าน

๗๗

ท่านอธิบายให้แก่ชาวยิวผู้เข้าใจผิดคนนั้นว่า

“ โอ้ท่านผู้อาวุโส ถ้าหากท่านได้แลเห็นสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงสัญญาไว้กับฉันและบรรดาผู้ศรัทธาไว้ในปรโลก อันเป็นสิ่งที่สายตามองไม่เห็น หูไม่ได้ยิน แน่นอนที่สุดท่านจะรู้ได้เลยว่า ชีวิตในโลกนี้ก่อนที่ฉันจะย้ายไป มันเป็นเพียงแค่สถานที่กักกันเท่านั้น และถ้าหากท่านสามารถมองเห็น

สิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)สัญญาไว้กับท่านและผู้ปฏิเสธทุกคนในปรโลกแล้วไซร้ จะเห็นว่ามันคือไฟนรกอันร้อนแรงลุกโชติช่วง เป็นการลงโทษอันถาวรแน่นอนที่สุด ท่านต้องจะเห็นว่า โลกที่ท่านอาศัยอยู่ขณะนี้คือสวรรค์อันกว้างใหญ่ มีศูนย์รวมแห่งความโปรดปรานพร้อมบริบูรณ์ ” ( ๑๒)

(๑๒ ) กัซฟุล - ฆุมมะฮฺ หน้า ๑๖๓

๗๘

คำวิงวอน

บทคำวิงวอนขออันเป็นส่วนเฉพาะตัวของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)นั้น ทุกท่านต่างก็มีคำวิงวอนอย่างมากมายโดยได้รับการเก็บรักษาไว้เพียงจำนวนหนึ่งบรรดานักปราชญ์ได้รวบรวมบทดุอาอ์ของบุคคลเหล่านี้ไว้ในตำราต่าง ๆ เป็นอันมาก

นอกจากนี้ ในความหมายของบทดุอาอ์ดังกล่าวยังมีเรื่องการสรรเสริญอัลลอฮฺ(ซ.บ.) การแสดงความนอบน้อมต่อพระองค์ ถ่อมตนอย่างสุดซึ้งต่อพระองค์ อันหมายถึงเป็นศูนย์รวมแห่งคำสอนต่างๆ ทั้งจริยธรรม มารยาท ความรู้ในเรื่องราวของพระผู้เป็นเจ้า และความสมบูรณ์ต่างๆ ใน

บทนี้เราจะกล่าวถึงบทดุอาอ์ของท่านอิมามฮะซัน(อ) อย่างสั้นๆ บางประการ

บทที่ ๑.

ครั้งหนึ่งมุอาวิยะฮฺได้นำชาวกุเรชกลุ่มหนึ่งมาหาท่าน โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำร้ายท่าน ท่านอิมามฮะซัน(อ) ได้วิงวอนขอดุอาอ์ว่า

“ ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้าขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากความชั่วร้ายของคนเหล่านั้น ฉันขอให้พระองค์ปกป้องการทำร้ายโดยคนเหล่านี้ และขอความช่วยเหลือจากพระองค์เกี่ยวกับคนเหล่านี้ ขอให้โปรดปกป้องข้าให้พ้นจากพวกเขา ไม่ว่าโดยวิธีใดที่พระองค์ทรงประสงค์ และฉันก็ปรารถนาด้วยอำนาจและพลังของพระองค์ ข้าแต่พระผู้ทรงเมตตายิ่งกว่าผู้มีความเมตตาใดๆ ” ( ๑)

(๑ ) ชัรฮฺ นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ เล่ม ๒ หน้า ๑๐๑

๗๙

บทที่ ๒.

เมื่อท่านอิมามฮะซัน(อ)ไปถึงประตูมัสญิด ท่านแหงนศีรษะขึ้นแล้ว

กล่าวว่า

“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า แขกของพระองค์มาถึงประตูของพระองค์แล้ว ข้าแต่ผู้ทรงไว้ซึ่งความดีงาม คนที่ทำความผิดพลาดมาหาพระองค์แล้ว ขอได้โปรดสลัดความน่าชังที่มีอยู่ในตัวข้าออกไปโดยความดีงามที่มีอยู่

ณ พระองค์ด้วยเถิด ข้าแต่พระผู้ทรงเกียรติยิ่ง ” ( ๒)

(๒ ) อัล - มัดค็อล อิลา เมาซูอะติล - อะตะบาต อัล - มุก็อดดะซะฮฺ หน้า ๑๘

บทที่ ๓.

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้สอนดุอาอ์บทหนึ่งให้แก่ผู้ที่ได้รับความไม่เป็นธรรม วิงวอนขอเพื่อป้องกันผู้อธรรม หลังจากนมาซสองร็อกอะฮฺแล้ว ซึ่งปรากฏว่าเป็นที่ได้รับการตอบสนอง ดังนี้

“ ข้าแต่พระผู้ทรงไว้ซึ่งความเข้มงวดแห่งสถานการณ์ที่เป็นไป ข้าแต่ผู้ทรงพลัง ข้ามีความ

ต่ำต้อยต่อเกียรติยศของพระองค์ยิ่งกว่าอะไรทั้งหมดที่ทรงสร้างมา ขอได้โปรดปกป้องข้าให้พ้นจากความชั่วร้ายของ ( ให้กล่าวนามศัตรู) …… ตามที่พระองค์ทรงประสงค์ ” ( ๓)

(๓ ) อัล - มุจญตะนา มินัดดุอาอิล - มุจยตะบา หน้า ๓

๘๐

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

ถ้าเราจะพูดถึงเรื่องราวของมุอาวิยะฮฺทั้งหมด ก็จำเป็นต้องมีเนื้อที่กระดาษหลายๆ เล่ม แต่ก็พอจะรู้อะไรๆ ได้อย่างเพียงพอ ถ้าหากได้อ่านหนังสือ อัน-นะศออิฮฺ อัล-กาฟียะฮฺ ลิมัน ยะตะวัลลา มุอาวิยะฮฺ

(บทเรียนของผู้ที่ยอมรับมุอาวิยะฮฺ) ของท่านซัยยิดมุฮัมมัด บินอะกีล และตำราประวัติศาสตร์อีกหลายเล่มที่เสนอข้อเท็จจริงต่างๆ เกี่ยวกับชายผู้นี้

เราเชื่อว่าเรื่องราวตามที่ได้ผ่านสายตาท่านไปแล้วนี้ จะสามารถทำให้เห็นพ้องกับการทำสนธิสัญญาของท่านอิมามฮะซัน (อ) ผู้ชาญฉลาดว่า เป็นการพิทักษ์ไว้ซึ่งระบบอิสลาม และเป็นการอนุรักษ์มรดกของมวลมุสลิมให้ดำรงอยู่ได้ และเพื่อเป็นการจำกัดเส้นทางเดินให้แก่มุอาวิยะฮฺ ด้วยการโต้คารมของอิมามฮะซัน(อ)ต่อมุอาวิยะฮฺและบริวารของเขา

ทุกคนที่ได้เข้าใจในส่วนนี้จะสามารถล่วงรู้ไปถึงความอาฆาตมาดร้ายและความคั่งแค้นที่สุมอยู่ในจิตใจของพวกอุมัยยะฮฺเป็นอย่างดีเลยทีเดียว คนเหล่านี้ไม่เคยหยุดยั้งและลดราวาศอก การติดตามรังควานท่านอิมามฮะซัน(อ)และการทำงานของท่าน ทั้ง ๆ ที่ยอมรับในข้อตกลงกับพวกเขาแล้ว อีกทั้งยังได้มอบอาณาจักรการปกครองและอำนาจให้แก่พวกเขาแล้ว ทั้งนี้มิใช่เป็นเพราะจุดประสงค์อื่นใด นอกจาการด่าประณามท่านและบิดาของท่าน(อ)อีกนั้นเอง

๑๐๑

ท่านอิบนุ อะบิล-ฮะดีด ได้กล่าวไว้ว่า มีรายงานบันทึกโดยอัซ-ซุบัยร์ บินบะการ์ ไว้ในหนังสือ อัล-มุฟาคอร็อต ว่า :

ครั้งหนึ่งมีคนหลายคนมารวมตัวกันที่สำนักของมุอาวิยะฮฺ เช่น อัมร์ บิน อัล-อ๊าศ , วะลีด บินอุกบะฮฺ บินอะบีมุอีด อุตบะฮฺ บินอะบีซุฟยาน อิบนุ ฮัรบ์ อัลมุฆีเราะฮฺ บินชุอฺบะฮฺ ซึ่งถ้อยคำอันไม่น่าพอใจและน่าตำหนิติเตียนจากคำพูดของท่านอิมาม (อ) ที่ เกี่ยวกับตัวของพวกเขาเคยได้ยินไปถึงหูของพวกเขา ในขณะที่ความไม่พอใจ เกี่ยวกับอิมาม (อ) ที่ออกจากปากพวกเขาก็เคยรู้ถึงหูท่านด้วย พวกเขากล่าวว่า

“ ข้าแต่อะมีรุลมุมีนีน(มุอาวิยะฮฺ) แท้จริงฮะซันได้เจริญรอยตามบิดาของเขา เวลาเขาพูดก็มีคนเชื่อ เวลาเขาออกคำสั่งก็มีคนปฏิบัติตาม คนทั่ว ๆ ไปยำเกรงเขา เมื่อเป็นเช่นนี้สักวันหนึ่งเขาจะยิ่งใหญ่ขึ้นมา และไม่แคล้วที่พวกเราจะได้รับความเดือดร้อนจากเขา ”

มุอาวิยะฮฺกล่าวว่า “ แล้วพวกท่านจะว่าอย่างไรกัน ?”

พวกเขากล่าวว่า “ ไปเชิญตัวเขามา เพื่อเราจะได้ด่าประณามเขาและบิดาของเขา โดยเราจะแนะนำและตักเตือนเขา โดยบอกเขาว่า บิดาของเขาได้ฆ่าอุษมาน และเราก็ให้เขาเชื่ออย่างนี้ แล้วเขาจะไม่สามารถแก้ไขอะไรในเรื่องนี้กับเราได้ ”

มุอาวิยะฮฺกล่าวว่า “ ฉันไม่เห็นด้วย และจะไม่ทำอย่างนั้น ”

พวกเขากล่าวว่า “ เราขอร้องให้ท่านทำอย่างนั้นให้ได้ ข้าแต่ อะมีรุลมุมีนีน (มุอาวิยะฮฺ) ”

มุอาวิยะฮฺกล่าวว่า “ ความหายนะจะเป็นของพวกเจ้า จงอย่าได้ทำสิ่งนี้

ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ไม่ว่าครั้งใดที่ฉันเห็นเขานั่งใกล้ฉัน

ฉันจะรู้สึกยำเกรงฐานะของเขา และกลัวการตำหนิของเขาที่มีต่อฉันเสมอ ”

๑๐๒

พวกเขากล่าวว่า “ อย่างไรก็ตาม ท่านต้องส่งคนไปเชิญเขามา ”

มุอาวิยะฮฺกล่าวว่า “ ถ้าฉันส่งคนไปเชิญเขามา ฉันจะต้องให้ความเป็นธรรมกับเขายิ่งกว่าพวกเจ้า ”

อัมรฺ บินอัล-อาศ จึงกล่าวว่า “ ท่านกลัวว่า ความผิดพลาดของเขาจะเอาชนะความถูกต้องชอบธรรมของเราใช่ไหม หรือว่าท่านจะปกป้องคำพูดของเขามากกว่าคำพูดของเรา ?”

มุอาวิยะฮฺกล่าวว่า “ หามิได้ ฉันเพียงแต่หมายถึงว่า ถ้าฉันส่งคนไปเชิญเขามา ฉันจำเป็นจะต้องให้เขาพูดด้วยวาจาเขาเองทุกอย่าง ”

พวกเขากล่าวว่า “ ก็ปล่อยเขาไปตามนั้น ”

มุอาวิยะฮฺกล่าวว่า “ พวกท่านอาจดื้อดึงต่อฉัน ถ้าฉันส่งคนไปเชิญเขามา แต่ถ้าพวกท่านดื้อดึง ฉันก็จะไม่ทำเช่นนั้น กล่าวคือจงอย่าใส่ร้ายในคำพูดของเขา จงรู้ไว้ว่า พวกเขาคืออะฮฺลุลบัยตฺซึ่งไม่เคยมีใครตำหนิพวกเขาได้ ไม่เคยมีใครหาข้อบกพร่องของเขาได้ง่ายๆ แต่พวกท่านจะกล่าวหาเขาด้วยข้อหาที่ร้ายแรง ที่พวกท่านจะพูดว่า บิดาของเขาฆ่าอุษมานและรังเกียจการปกครองของผู้ปกครองก่อนหน้าเขา ”

แล้วมุอาวิยะฮฺ ก็ส่งคนของตนไปเชิญท่านอิมามฮะซัน(อ) ซึ่งคนผู้นั้นได้กล่าวว่า

“ ท่านอะมีรุลมุมีนีน(มุอาวิยะฮฺ)เชิญตัวท่านไปพบ ”

ท่านอิมามกล่าวว่า “ เขามีอะไร ?”เขาจึงได้สมญานามอย่างนี้ ”

แล้วท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้กล่าวอีกว่า

“ ไม่มีหลังคาปกคลุมให้สำหรับพวกเขา และการลงโทษจะมาประสบกับพวกเขาโดยไม่รู้ตัว ”

๑๐๓

และกล่าวอีกว่า “ เจ้าจงเอาผ้าคลุมของฉันมาหน่อยซิ ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้าขอความคุ้มครองต่อพระองค์ ให้ข้ารอดพ้นจากความชั่วร้ายของเขาเหล่านั้นและขอให้พระองค์ทรงปกป้องข้า อย่าให้ตกอยู่ในความชั่วของพวกเขา ขอให้พระองค์ช่วยเหลือข้าให้พ้นจากพวกเขา อย่างไรก็ตามที่พระองค์

ทรงประสงค์และข้าก็ประสงค์ตามนั้นด้วย โดยอาศัยอำนาจและพลานุภาพของพระองค์ ข้าแต่พระผู้ทรงเมตตายิ่งกว่าผู้ให้ความเมตตาใด ๆ ”

จากนั้นท่านก็ลุกขึ้นเดินทางไปหามุอาวิยะฮฺซึ่งเขาก็ได้ต้อนรับท่านอย่างสมเกียรติ โดยจัดที่นั่งให้ท่านนั่งใกล้ ๆ กับเขา โดยที่คนในกลุ่มรู้สึกมีความชิงชังและเคียดแค้น ด้วยความละเมิดและทะนงตัวที่ติดอยู่ในสันดาน

มุอาวิยะฮฺ กล่าวว่า “ โอ้ อะบูมุฮัมมัดคนเหล่านี้ เขาส่งคนไปเชิญท่านมา พวกเขาฝ่าฝืนข้า ”

ท่านอิมามฮะซัน(อ)กล่าวว่า

“ มหาบริสุทธิ์เป็นของอัลลอฮฺ บ้านนี้เป็นของเจ้า การอนุญาตให้เข้ามาในที่นี้ย่อมขึ้นอยู่กับเจ้า ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ถ้าหากเจ้าสนองตอบเจตนาตามที่มีอยู่ในจิตใจของพวกเขาแล้วไซร้ เห็นทีที่ข้าจะต้องละอายในความชั่วของเจ้าเสียแล้ว และถ้าหากคนเหล่านี้สามารถเอาชนะ

ความคิดของเจ้าได้ ก็เห็นทีที่ข้าจะต้องละอายในความอ่อนแอของเจ้าเสียแล้ว ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะยึดเอาอันไหน จะปฏิเสธอันไหน เพราะถ้าหากข้าได้ล่วงรู้ว่าพวกเขาจะมาชุมนุมกันอยู่ที่นี่อย่างนี้ ข้าก็จะนำคนในบันดาลูกหลานของอับดุลมุฏฏอลิบมา ให้เหมือนๆ กับพวกเขาด้วย แต่ไม่มีทางหรอกที่

ฉันจะรู้สึกประหวั่นพรั่นพรึงต่อเจ้าและต่อพวกเขา แท้จริงผู้คุ้มครองข้าคืออัลลอฮฺ พระองค์ทรงคุ้มครองบรรดาผู้ทรงคุณธรรม ”

๑๐๔

มุอาวิยะฮฺกล่าวว่า “ นี่แนะท่าน ฉันเกรงใจที่จะเชิญท่านมา แต่คนเหล่านี้ซิที่มอบหมายเรื่องนี้ให้แก่ฉัน ทั้ง ๆ ที่ฉันไม่สบายใจ แท้จริงความเป็นธรรมจากพวกเขาจะมีแก่ท่านและจากฉันด้วย

เราเพียงแต่เชิญท่านมาเพื่อย้ำให้ท่านฟังว่า อุษมานนั้นถูกสังหารอย่างไม่ได้รับความเป็นธรรม และบิดาของท่านเป็นคนฆ่าเขา ดังนั้นจงรับฟังพวกเขา ต่อจากนั้นท่านก็จงตอบพวกเขาและคนในที่ประชุมจะไม่มีใครยับยั้งสิ่งที่ท่านจะพูดออกไปทุกประโยค ”

แล้วอัมรฺ บินอัล-อ๊าศ ก็ได้กล่าวขึ้นก่อนว่า

“ ขอสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ ขอให้พระองค์ประทานพรแด่ศาสนทูตของพระองค์.... ”

ต่อจากนั้นเขาก็กล่าว ถึงท่านอะลี(อ)โดยมิได้ทิ้งเรื่องใดๆ อันเป็นข้อบกพร่องโดยมิได้หยิบยกมากล่าว เขากล่าวต่อไปว่า

“ แท้จริงเขาลบหลู่อะบูบักร์ และรังเกียจการปกครองของเขา เขาขัดขืนในการยินยอมให้สัตยาบัน จากนั้นก็ยอมด้วยความจำใจ เขาร่วมวางแผนฆ่าอุมัร และฆ่าอุษมานด้วยความอธรรม เขาอ้างตัวเป็นผู้ปกครองทั้ง ๆ ที่ไม่มีสิทธิ ”

ต่อจากนั้นก็กล่าวถึงความบกพร่องต่าง ๆ อีกมากมาย แล้วเสริมอีกตอนหนึ่งว่า

“ ชาวบะนีอับดุลมุฏฏอลิบเอ๋ย ไม่มีทางที่อัลลอฮฺจะมอบอาณาจักรการปกครองให้แก่พวกเจ้าโดยที่พวกเจ้าสังหารผู้ปกครองเหล่านั้น พวกเจ้าได้ละเลงเลือดทั้งๆ ที่อัลลอฮฺทรงห้ามไว้ พวกเจ้าทะยานอยากในอำนาจการปกครอง และแสวงหาในสิ่งที่ไม่อนุญาต เจ้านั้น

๑๐๕

โอ้ ฮะซัน เจ้าพูดกับตัวเองว่า ตำแหน่งผู้ปกครองเป็นของเจ้า ทั้ง ๆ ที่เจ้าไม่มีปัญญาและความคิดในเรื่องนี้ เจ้ามิได้เห็นหรือ อัลลอฮฺบั่นทอนสติปัญญาของเจ้าอย่างไร พระองค์ทรงทิ้งความโง่เขลาของกุเรชไว้ในตัวเจ้า

พระองค์ทรงลบหลู่และเหยียดหยามเจ้า ทั้งนี้เพราะความชั่วในผลงานของบิดาของเจ้า อันที่จริงแล้วเราเพียงแต่เชิญเจ้ามาด่า ทั้งเจ้าและบิดาของเจ้า ในส่วนบิดาของเจ้านั้นอัลลอฮฺได้อัปเปหิเขาไปเสียแล้ว เราหมดภาระกับเขาแล้ว แต่เจ้าซิยังอยู่ในมือของพวกเรา เรากำลังคิดหาวิธีการในเรื่องของเจ้าอยู่ และถ้าหากเราจะด่าเจ้า เราก็จะไม่มีความบาปใดๆ กับอัลลอฮฺ และไม่มีข้อตำหนิใดๆ จากประชาชน เจ้ายังสามารถที่จะปฏิเสธกับเรา และหาว่าเราพูดไม่จริงได้ไหม ? ถ้าเจ้าเห็นว่าโกหกในข้อหนึ่งข้อใด ก็จงตอบโต้มาซิ ถ้าไม่มีก็จงรู้ไว้ว่า ทั้งเจ้าและบิดาของเจ้าต่างก็เป็นผู้อธรรม ”

ต่อจากนั้น อัล-วะลีด บินอุกบะฮฺ บินอะบีมุอีฏ ได้กล่าวว่า

“ โอ้พวกบะนีฮาชิม แท้จริงพวกเจ้ามีศักดิ์เป็นน้าของอุษมาน

ดังนั้นบุตรที่ประเสริฐ ถึงได้มีแก่พวกเจ้า สิทธิของพวกเจ้าจึงเป็นที่ยอมรับและพวกเจ้ามีการเกี่ยวดองที่ประเสริฐจึงมีแก่พวกเจ้า

เขาให้เกียรติพวกเจ้า แต่พวกเจ้ากลับเป็นบุคคลแรกที่ริษยาเขา จนบิดาของเจ้าถึงกับฆ่าเขาอย่างอธรรม ไม่มีข้อแก้ตัวแลไม่มีข้อพิสูจน์ใดๆ หักล้าง พวกเจ้าจะว่าอย่างไร ในเมื่ออัลลอฮฺทรงทวงถามในเรื่องเลือดของเขา พระองค์ทรงบันดาลให้พวกเจ้าลงมาจากตำแหน่งของพวกเจ้า

และขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ แท้จริง พวกบะนีอุมัยยะฮฺให้ความดีงามแก่พวกบะนีฮาชิมยิ่งกว่าพวกบะนีฮาชิมให้ความดีงามแก่พวกบะนีอุมัยยะฮฺ และแท้จริงมุอาวิยะฮฺให้ความดีงามแก่เจ้ายิ่งกว่าตัวของเจ้าเอง ”

๑๐๖

ถัดจากนั้น อุตบะฮฺ บินอะบีซุฟยาน ได้กล่าวว่า

“ โอ้ฮะซัน บิดาของเจ้าเป็นกุเรชที่ชั่วที่สุด สำหรับพวกกุเรช เพราะเขาเป็นคนหลั่งเลือดชาวกุเรช และตัดสายสัมพันธ์ทางเครือญาติกับชาวกุเรช มีดาบและลิ้นที่แสนจะยาว เขาฆ่าคนที่มีชีวิต

เขาประณามคนที่ตายแล้ว แท้จริงเจ้าก็เป็นคนหนึ่งฆ่าอุษมาน และเราจะต้องฆ่าเจ้าในเรื่องนี้ สำหรับความหวังของเจ้าในตำแหน่งผู้ปกครองนั้น มันเป็นสิ่งที่เจ้าไม่มีความสามารถเข้าถึงมันได้ และมันไม่มีอะไร ที่จะให้เจ้าถือเป็นข้อต่อรองได้ โอ้ ชาวบะนีฮาชิมเอ๋ย พวกเจ้าฆ่าอุษมาน ความจริงแล้ว

เราย่อมมีสิทธิฆ่าเจ้าและน้องชายของเจ้าในเรื่องนี้ด้วย สำหรับบิดาของเจ้านั้น แน่นอนอัลลอฮฺทรงจัดการให้กับพวกเรา ด้วยภารกิจของพระองค์ไปแล้ว แต่ในส่วนของเจ้าซิ ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่า ถ้าเราฆ่าเจ้า เนื่องจากแก้แค้นให้กับอุษมานแล้วไซร้ จะไม่มีความบาปและอริศัตรูใดๆ เกิดขึ้นกับเราเลย ”

ต่อจากนั้นอัล-มุฆีเราะฮฺ กล่าวประณามท่านอะลี และกล่าวว่า

“ ฉันมิได้ตำหนิเขาในกรณีใด ๆ ที่เขาฉ้อฉล และในกฎเกณฑ์การปกครองใดๆ ที่เขาลำเอียง แต่ฉันจะตำหนิเขาก็เพราะว่า เขาฆ่าอุษมาน ”

หลังจากนั้นพวกเขาก็นิ่งเงียบ ท่านอิมามฮะซัน บินอะลี(อ)ก็ได้พูดขึ้นว่า

“ ขอสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ และขอสดุดีต่อพระองค์ ขอให้พระองค์ประทานพรแก่มุฮัมมัดและลูกหลานของเขา ”

ท่านกล่าวต่อไปว่า “ มุอาวิยะฮฺ เอ๋ย คนเหล่านี้มิได้ด่าประณามข้าหรอก แต่เจ้านั่นแหละที่ด่าประณามข้า ช่างเลวร้ายจริงๆ เท่าที่ข้าได้พบมาเป็นความคิดที่ชั่วจริงๆ เท่าที่ข้ารู้จักมา เป็นนิสัยที่ชั่วที่สุดที่ข้าประสบมาเป็นการละเมิดต่อพวกเรา เป็นความคิดที่เป็นอริศัตรูที่เจ้ามีต่อท่านศาสดา

๑๐๗

มุฮัมมัด(ศ) และสมาชิกครอบครัวของท่าน แต่จงฟังเถิดมุอาวิยะฮฺ และพวกเจ้าก็จงฟังด้วย ไม่มีคำพูดใดที่อยู่ในตัวเจ้าและในตัวของพวกเขาที่มันจะแคล้วคลาดโดยมิได้ตรงกับพฤติกรรมที่มีในตัวของพวกเจ้า ข้าขอให้อัลลอฮฺเป็นพยาน พวกเจ้ารู้หรือเปล่าว่า คนที่พวกเจ้าด่าประณามไปนั้น

เขาเคยได้นมาซมาตั้งแต่วันนั้น โดยมีกิบลัตทั้งสองแห่ง ส่วนเจ้ามุอาวิยะฮฺ เจ้าคือผู้ปฏิเสธ(กาเฟร) ต่อทั้งสองแห่งโดยที่เจ้ามองมันว่าเป็นเรื่องที่หลงผิดเจ้าสักการะรูปปั้นของอัล-ลาดและอุซซา อย่างผู้ละเมิด

ข้าขอให้อัลลอฮฺ เป็นพยาน พวกเจ้ารู้หรือไม่ว่า เขาคือผู้มอบสัตยาบันทั้งสองวาระ นั่นคือ สัตยาบันแห่งอัล-ฟัตฮฺ และสัตยาบันแห่งอัร-ริฎวาน

มุอาวิยะฮฺเอ๋ย กับวาระหนึ่งนั้น เจ้าเป็นผู้ปฏิเสธและกับอีกวาระหนึ่งนั้น เจ้าเป็นผู้ตระบัดสัตย์ ข้าขอให้อัลลอฮฺเป็นพยานกับพวกเจ้า พวกเจ้ารู้หรือไม่ว่า เขา(อิมามอะลี)คือ คนแรกที่มีความศรัทธา ส่วนเจ้าและบิดาของเจ้านั้น มุอาวิยะฮฺเอ๋ย เป็นเพียงคนมีจิตใจโน้มน้าว พวกเจ้าซ่อนเร้นสภาพปฏิเสธไว้ แต่ฉาบภายนอกด้วยกับศาสนาอิสลาม พวกเจ้าหมกมุ่นอยู่กับการแสวงหา

ทรัพย์สิน

ข้าขอให้อัลลอฮฺเป็นพยาน พวกเจ้าไม่รู้เลยใช่ไหมว่า เขาคือเจ้าของธงชัยแห่งศาสนทูตของอัลลอฮฺ(ศ) ในสงครามบะดัร และแท้จริงธงชัยของฝ่ายพวกตั้งภาคีนั้นมีมุอาวิยะฮฺและบิดาของเขาร่วมอยู่ด้วย

ต่อจากนั้น เขาก็เผชิญต่อพวกเจ้าที่สงครามอุฮุดและสงครามพลพรรคต่างๆ (อัล-อะฮฺซาบ)โดยที่ธงชัยของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)อยู่กับเขา ส่วนที่อยู่กับเจ้าและบิดาของเจ้าคือธงชัยของพวกที่ตั้งภาคี ในทุกแห่งนั้นอัลลอฮฺ(ซ.บ.)เปิดโอกาสให้เขามีชัยชนะ และทรงยกย่องให้เขาเป็นข้อพิสูจน์ ทรงช่วยเหลือการเผยแผ่ของเขา และทรงยืนยันรับรองความสัตย์ในคำพูดของเขา และในทุกสมรภูมิเหล่านั้น

๑๐๘

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ให้ความปิติชื่นชมต่อเขา ส่วนเจ้าและบิดาของเจ้านั้นได้รับแต่ความชิงชัง

ข้าขอให้อัลลอฮฺเป็นพยาน มุอาวิยะฮฺเอ๋ย เจ้ายังจำได้ไหม ในวันหนึ่งที่บิดาของเจ้าเดินทางมาพร้อมกับอูฐสีแดงตัวหนึ่ง ส่วนเจ้ากำลังจูงมันอยู่และอุตบะฮฺน้องชายของเจ้าติดตามมาข้างหลังแล้วท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)มองเห็นเจ้า

ท่านศาสดา(ศ) ได้กล่าวว่า

“ โอ้อัลลอฮฺ ขอให้อัลลอฮฺทรงสาปแช่งทั้งคนขี่ คนจูง และคนที่ติดตามมาข้างหลังด้วยเถิด ”

มุอาวิยะฮฺเอ๋ย เจ้าลืมบทกวีที่เจ้าเขียนส่งไปให้บิดาของเจ้าเสียแล้วหรือ เมื่อครั้งที่เขาคิดจะเข้ารับอิสลาม แต่เจ้าห้ามเขาว่า

“ ทะเลทรายเอ๋ย ท่านอย่ายอมจำนนเป็นอันขาดเลย แม้แต่เพียงวันเดียว เพราะหลังจากชาวบะดัรกลายเป็นผุยผงแล้ว เราจะสามารถเอาชนะได้อีก ”

ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ กิจการที่เจ้าซ่อนเร้นอยู่นั้น มันยิ่งใหญ่กว่าที่เจ้าเผยออกมา หมู่ชนทั้งหลาย ข้าขอให้อัลลอฮฺเป็นพยาน พวกเจ้ารู้ไหมว่า ในหมู่บรรดาสาวกทั้งหลายของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) อิมามอะลี(อ) นั้นเป็นคนที่สามารถยับยั้งตนเองมิให้ตกอยู่ภายใต้อารมณ์ใฝ่ต่ำได้

ดังนั้นจึงมีโองการถูกประทานมาว่า :

“ โอ้ บรรดาผู้ศรัทธา จงอย่ายับยั้งของที่ดีที่อัลลอฮฺได้อนุมัติมาให้แก่สูเจ้า ” ( อัล-มาอิดะฮฺ :87)

๑๐๙

และครั้งหนึ่งท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ส่งสาวกชั้นผู้ใหญ่ของท่านไปรบกับพวกบนีกอรีเซาะฮฺ ปรากฏว่าต้องเผชิญกับความกล้าหาญชาญชัยของคนเหล่านั้น จนพ่ายแพ้อย่างยับเยิน

แล้วท่านก็ส่งท่านอิมามอะลี(อ)ให้ออกไปรบ พร้อมกับนำธงไปด้วย ปรากฏว่าท่าน(อ)สามารถปราบคนเหล่านั้นให้ยอมรับในบทบัญญัติของ

อัลลอฮฺและการปกครองของศาสนทูตของพระองค์ได้ ในสงครามค็อยบัรก็เป็นเช่นเดียวกันนี้

ท่าน(อ)ยังกล่าวอีกว่า...มุอาวิยะฮฺเอ๋ย ข้าเชื่อว่าเจ้าไม่รู้ดอก แต่ข้าซิรู้ดีถึงเรื่องที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) สาปแช่งแก่เจ้า เมื่อครั้งที่ท่านต้องการจะเขียนหนังสือส่งไปยังพวกบะนีคุซัยมะฮฺ กล่าวคือ ท่านได้ส่งไปยังเจ้าและไล่ให้เจ้าไปตาย พวกเจ้าก็เช่นเดียวกัน โอ้หมู่ชนที่ชุมนุม ณ ที่นี้ ข้าขอให้อัลลอฮฺเป็นพยาน พวกเจ้ายังไม่รู้หรือว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้สาปแช่งอะบูซุฟยานไว้ในสมรภูมิถึง 7 แห่ง ซึ่งพวกเจ้าไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้เลย

ครั้งแรก ในวันที่เขาพบท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ที่นอกเมืองมักกะฮฺ ทางไปเมืองฏออิฟ ท่านได้เชิญชวนให้เข้ารับศาสนาแต่โดยดี ครั้นแล้วเขาก็ฮึดสู้ท่าน ด่าว่าและสบประมาทท่าน สาปแช่งและกล่าวเท็จต่อท่าน อีกทั้งยังคิดที่จะใช้กำลังกับท่าน ดังนั้นอัลลอฮฺ และศาสนทูตของพระองค์จึงสาปแช่งเขาและทอดทิ้งเขาไป

ครั้งที่สอง ในวันแห่งอัล-อีรฺ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ถูกนำเสนอแก่ผู้หญิงคนหนึ่งที่มาจากชาม แต่อะบูซุฟยานได้ปฏิเสธ และขับไล่นางไปโดยที่ไม่มีใครช่วยเหลือนางได้เลย ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้สาปแช่งเขา เหตุการณ์สมรภูมิบัดรฺเกิดขึ้นก็เพราะนาง

๑๑๐

ครั้งที่สาม ในสงครามอุฮุด ตอนที่เขายืนอยู่ใต้เนินเขา ท่านศาสนทูต(ศ)ยืนอยู่ข้างบน เขาร้องตะโกนว่า “ รีบขึ้นไปข้างบนเร็ว ” ท่านศาสนทูต (ศ) ได้สาปแช่งเขาถึง 10 ครั้ง และบรรดามุสลิมก็สาปแช่งเขาด้วย

ครั้งที่สี่ ในสงครามอะฮฺซ์าบ มีพวกปฏิเสธสองกลุ่มร่วมกับพวกยิว ท่านศาสนทูต(ศ)ก็สาปแช่งเขาเช่นกัน

ครั้งที่ห้า ในวันที่อะบูซุฟยานเดินมากับกลุ่มชาวกุเรช แล้วร่วมกันขัดขวางท่านศาสนทูต(ศ)มิให้เข้ามัสญิดอัล-ฮะรอมและทำการเชือดสัตว์พลีและนั่นคือ วันแห่งสนธิสัญญาฮุดัยบียะฮฺ ดังนั้น ท่านศาสนทูตจึงสาปแช่งอะบูซุฟยาน ตลอดทั้งบรรดาแกนนำและสมุนทั้งหลาย ท่าน(ศ)กล่าวว่า

“ เขาเหล่านั้นทั้งหมดล้วนถูกสาปแช่ง เพราะไม่มีคนใดในหมู่พวกเขาเป็นผู้ศรัทธา ”

มีคนถามว่า “ ข้าแต่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) เผื่ออาจมีใครสักคนหนึ่งในหมู่พวกเขาต้องการเข้ารับอิสลาม เขาจะเป็นอย่างไร กับการสาปแช่งนี้ ?”

ท่านกล่าวตอบว่า “ การสาปแช่งจะไม่ประสบกับพวกที่ติดตามคนใดเลย เว้นแต่พวกระดับแกนนำจะไม่มีใครรอดได้พ้นเลยแม้สักคนเดียว ”

ครั้งที่หก นั่นคือ วันแห่งอูฐตัวสีแดง

ครั้งที่เจ็ด ในวันที่พวกเขาต่อสู้กับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ในพิธีแห่งอัล-อุกอบะฮฺโดยพวกเขาขับไล่อูฐของท่านให้วิ่งหนี พวกเขาเป็นผู้ชาย 12 คน ในจำนวนนั้นมีอะบูซุฟยานรวมอยู่ด้วย

๑๑๑

นี่คือเรื่องราวในส่วนของเจ้า โอ้ มุอาวิยะฮฺ

ส่วนเจ้าโอ้ อิบนุ อัล-อ๊าศ แท้จริงเรื่องราวความเป็นมาของเจ้านั้นสับสน มารดาของเจ้า คลอดเจ้ามาโดยไม่รู้ว่าใครคือพ่อ จนมีการตัดสินกันในหมู่ชาวกุเรชถึง 4 คน แต่แล้วคนที่รับผิดชอบเจ้าก็คือ คนที่เหี้ยมเกรียมที่สุด เป็นคนที่เลวร้ายที่สุด ต่อจากนั้นบิดาของเจ้ายืนขึ้นประกาศว่า

“ ศัตรูของข้า คือ มุฮัมมัด ผู้ที่สายตระกูลถูกตัดขาด ”

แต่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ประทานให้แก่เขา เหมือนดังที่ทรงประทานมาให้แล้ว เจ้าสู้รบกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ทุกสมรภูมิ เจ้าบุกเข้าทำร้ายท่านที่มักกะฮฺ เจ้าวางแผนการร้ายต่างๆนานา และเจ้าเป็นคนหนึ่งที่กล่าวเท็จใส่ท่าน และเป็นศัตรูของท่านอย่างฉกาจฉกรรจ์ที่สุด

ต่อจากนั้นเจ้าออกเดินทางไปเฝ้ากษัตริย์นะญะชี พร้อมกับบรรดาชาวเรือ เพื่อขอตัวญะอฺฟัรและสาวกของท่านกลับมาหาชาวมักกะฮฺ แต่แล้วเขาก็ทำให้เจ้าผิดหวัง อัลลอฮฺ(ซ.บ.)บันดาลให้เจ้ากลับมาอย่างพ่ายแพ้ เจ้าคือศัตรูของบะนีฮาชิม ทั้งในสมัยญาฮีลียะฮฺและในสมัยของอิสลาม เจ้าเองก็รู้คนทั้งหลายก็รู้ เจ้าเคยเขียนบทประพันธ์โจมตีท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)มากถึง 70 บท

แล้วท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ก็ได้กล่าวว่า

“ ข้าแต่อัลลอฮฺแท้จริงข้ามิได้พูดเป็นกวี และมันไม่สมควรแก่ข้า

ข้าแต่อัลลอฮฺได้โปรดสาปแช่งเขาถึง 1 , 000 ครั้งต่ออักษรแต่ละตัว ”

ดังนั้นในส่วนของเจ้ามีการสาปแช่งที่อัลลอฮฺประทานให้มากมายที่สุดเหลือที่จะประมาณได้ สำหรับกรณีที่เจ้าพูดเกี่ยวกับอุษมาน ก็เจ้านั่นแหละที่เป็นผู้จุดไฟสงครามแก่เขาให้เกิดภัยต่อโลกอิสลาม

๑๑๒

แล้วเจ้าก็หนีไปปาเลสไตน์ ครั้นพอเข้าทราบข่าวการถูกสังหารของเขา เจ้าก็กล่าวว่า

“ อะบูอับดุลลอฮฺ เมื่อท่านถูกสังหารข้าจะขอล้างแค้นให้ ”

ต่อมาเจ้าก็กักขังตัวเองไว้กับมุอาวิยะฮฺ และขายศาสนาเพียงเพื่อความสุขทางโลกจากเขา

เรามิได้ตำหนิเจ้าด้วยความโกรธ และเรามิได้ติเตียนเจ้าด้วยความรัก

ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ เจ้าไม่ได้ช่วยเหลืออุษมานในตอนที่ยังมีชีวิตอยู่และไม่ได้รู้สึกโกรธแค้นเมื่อเขาถูกสังหาร

ส่วนเจ้านั้น โอ้ วะลีด ข้าขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่า ข้ามิได้ตำหนิเจ้า เพราะความโกรธเกลียดโดยส่วนตัว แต่ท่านอะลี(อ)เคยลงโทษเจ้าด้วยการเฆี่ยนถึง 80 ครั้ง ในความผิดข้อหาดื่มสุรา และเขาได้ต่อสู้กับบิดาของเจ้าต่อหน้าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ด้วยความทรหด

เจ้านั่นเองที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ให้ ชื่อว่า “ ฟาซิก ” ( ผู้ละเมิดบัญญัติทั้ง ๆ ที่รู้) และให้ชื่ออิมามอะลี (อ) ว่า “ มุอ์มิน ” เจ้าได้เคยโอ้อวดต่อเขา เจ้าเคยกล่าวกับเขาว่า

“ อะลีเอ๋ย หยุดพูดเถอะ ข้ากล้าหาญ และพูดได้ดีกว่าเจ้า ”

แล้วอิมามอะลี(อ)ก็กล่าวแก่เจ้าว่า

“ วะลีด เอ๋ย เจ้าจงหยุดพูดเถอะ ฉันคือ มุอ์มิน ส่วนเจ้าคือ ฟาซิก ”

แล้วอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็ประทานโองการลงมาสนับสนุนคำพูดเขา

(อิมามอะลี)ว่า

“ คนที่เป็นมุอ์มินจะเสมอกับคนที่เป็นฟาซิกได้หรือ ไม่เสมอกันหรอก ” ( อัซ-ซะญะดะฮฺ :18)

๑๑๓

ต่อจากนั้นพระองค์ยังได้ประทานโองการลงมาในเรื่องของเจ้าเพื่อสนับสนุนคำพูดของเขาว่า

“ ถ้าหากคนฟาซิกนำข่าวคราวอันใดมาแจ้งแก่สูเจ้า ดังนั้น จงสอบสวนให้ชัดเจนเสียก่อน ” ( อัล-ฮุจญะร็อต : 6)

เจ้ามิได้เกี่ยวข้องอันใดกับชาวกุเรช แท้จริงเจ้าเป็นเพียงคนที่มาจากเผ่า

ศ่อฟูรียะฮฺ ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ เจ้าเกิดมานานแล้ว อายุของเจ้าก็มากกว่าที่เจ้าอ้าง

ส่วนเรื่องของเจ้านั้น อุตบะฮฺเอ๋ย ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่าเจ้าไม่มีความชอบธรรมอันใด จนข้าฯจำเป็นต้องตอบ เจ้าไม่มีสติปัญญาอันใดพอที่ข้าฯจะสนทนาด้วยและตำหนิเจ้า

และเจ้าไม่มีความดีอะไรจะเสมอ ไม่มีความชั่วใด ๆ ที่ซ่อนเร้นได้ สติปัญญาของเจ้ากับสติปัญญาทาสของเจ้านั้นไม่มีอะไรแตกต่างกัน

ไม่มีอะไรระคายเคืองแกอิมามอะลี(อ)ได้ ถึงแม้เจ้าจะประทุษร้ายต่อเขาในสมรภูมิต่างๆ ทุกแห่งหน

ในข้อที่เจ้าสัญญาว่า จะฆ่าเขานั้น ทำไมเจ้าจึงไม่ฆ่าอัล-ลิห์ยาน เมื่อตอนที่เจ้าพบเขาบนที่นอนของเจ้า(เป็นชู้กับภรรยาของเจ้า) แล้วยังจะมีใครกลัวดาบของเจ้าอีกเล่าในเมื่อเจ้าไม่ฆ่าเขาในตอนนั้น ช่างน่าหัวเราะ ข้าจะตำหนิเจ้าที่เจ้าไปโกรธท่าน อิมามอะลี(อ)ได้อย่างไร ในเมื่อเขาได้ฆ่าวะลีด ลุงผู้กล้าหาญของเจ้าในสงครามบะดัร และเขาร่วมกับท่านฮัมซะฮ์ในการฆ่า

อุตบะฮฺผู้เป็นปู่ของเจ้า และเขาได้แยกเจ้าให้โดดเดี่ยวจากฮันซอละฮฺพี่ชายของเจ้า ?

๑๑๔

สำหรับเจ้านั้น มุฆีเราะฮฺเอ๋ย เจ้าไม่มีคุณสมบัติอันใดพอที่จะมาร่วมถกเถียงในเรื่องเช่นนี้ อันที่จริงถ้าจะเปรียบเจ้าก็เหมือนอย่างกับยุงที่พูดกับต้นอินทผลัมว่า

“ จับฉันให้ได้ซิ ฉันกำลังบินไปจากท่านแล้ว ”

ต้นอินทผลัมพูดว่า “ ข้าจะรู้หรือว่าเจ้าเกาะอยู่บนต้นของข้า เพราะข้าจะรู้เอาเมื่อตอนที่เจ้าบินไปจากข้าแล้ว ”

ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่า เราไม่เคยรู้สึกอะไรเลยว่าเจ้าเป็นศัตรูกับเรา และเราก็ไม่ถือสาหาความอะไร ถึงแม้ว่าเราจะรู้ก็ตามในคำพูดของเจ้ามิได้สร้างความลำบากแก่เรา แท้จริงบทลงโทษของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ในความผิดฐานกระทำการล่วงประเวณี โดยจำนนต่อหลักฐานนั้นถูกบัญญัติมาเพราะเจ้า แน่นอนอุมัรเคยผ่อนผันจากการลงโทษเจ้า ซึ่งเป็นสิทธิของ

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงสอบถามเรื่องนี้จากเขา (อุมัร) แน่นอนที่สุด เจ้าเคยถามท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ว่า

“ ผู้ชายจะมองผู้หญิงโดยเขาต้องการจะแต่งงานด้วยได้หรือไม่ ?”

ท่านตอบว่า “ ไม่เป็นไรในข้อนี้ โอ้ มุฆีเราะฮฺ ตราบใดที่ยังไม่มีเจตนาร่วมประเวณี ”

แน่นอนที่สุดท่านรอซูลรู้ดีว่า เจ้าเป็นคนละเมิดประเวณีแน่นอน

ส่วนกรณีที่เจ้าคุยโวทับถมเราในเรื่องการปกครองนั้น อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการไว้ว่า :

“ และหากเราประสงค์ที่จะทำลายเมืองใดเมืองหนึ่ง เราก็จะให้พวกที่ฟุ่มเฟือยในเมืองนั้นๆทำหน้าที่ปกครอง แล้วพวกเขาจะละเมิดในเมืองนั้นแล้วเป็นสิทธิแห่งพจนารถของเราสำหรับเมืองนั้น โดยเราจะทำลายมันให้ราบคาบ ” ( อัล-อิซรออ์ : 16)

๑๑๕

หลังจากนั้นท่านอิมามฮะซัน(อ)ก็ลุกขึ้น จัดแจงจะเดินออก ทันใดนั้น อัมร์ บิน อัล-อ๊าศ ได้ยึดชายผ้าคลุมของท่านอิมามไว้ แล้วกล่าวว่า

“ ข้าแต่อะมีรุลมุมีนีน(มุอาวิยะฮฺ) ท่านได้เป็นพยานแล้วในคำพูดของเขา และการใส่ร้ายที่เขามีต่อมารดาของฉันว่าล่วงประเวณี ฉันจะเอาเรื่องกับเขาในความผิดฐานใส่ร้าย ”

มุอาวิยะฮฺ จึงกล่าวว่า “ ปล่อยเขาไปเถิด อัลลอฮฺจะไม่ตอบแทนเจ้าด้วยความดี ”

เขาก็ปล่อยชายผ้าไป แล้วมุอาวิยะฮฺกล่าวอีกว่า

“ ข้าได้บอกเจ้าแล้วว่า เขาเป็นคนที่ไม่มีใครเถียงขึ้น เราห้ามพวกเจ้าแล้วว่าอย่าด่าประณามเขา แต่พวกเจ้าขัดขืนข้าเอง ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่า เขามิได้ลุกขึ้นกล่าวบทกวีเพื่อเป็นการอธรรมแก่ข้า พวกเจ้าจงออกไปเถิด แน่นอนอัลลอฮฺจะชำระโทษพวกเจ้า และจะทรงบั่นทอนพวกเจ้าในฐานะที่พวกเจ้าละทิ้งความมีคุณธรรม และเป็นศัตรูต่อทัศนะของผู้ที่ให้คำสั่งสอนอันน่าเลื่อมใส และอัลลอฮฺคือผู้ให้ความช่วยเหลือเสมอ ” ( 1)

1) ซัรฮฺ นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ เล่ม 2 หน้า 104)

๑๑๖

วายชนม์

นักประวัติศาสตร์ทั้งฝ่ายซุนนี่และฝ่ายชีอะฮฺ หรือไม่ใช่ทั้งสองฝ่ายนี้ ต่างก็ได้ร่วมกันบันทึกว่า เมื่อครั้งที่มุอาวิยะฮฺ ตั้งใจที่จะให้มีการบัยอัต(ทำการสัตยาบัน) แก่ยะซีดนั้น ไม่มีอะไรที่เป็นที่หนักใจแก่เขามากเท่าอิมามฮะซัน บินอะลี(อ) เขาจึงลอบนำยาพิษ ไปให้ท่านดื่มโดยผ่านมือของญุอฺดะฮฺ บินอัล-อัชอัษ ผู้เป็นภรรยาคนหนึ่งของท่านเอง โดยสัญญาว่าจะให้เงินแก่นางจำนวน 1 , 000 ,000 ดิรฮัม พร้อมทั้งแต่งงานกับยะซีด ดังนั้น นางจึงนำยาพิษใส่ลงในแก้วนมให้ท่านดื่มเพื่อละศีลอด ปรากฏว่าท่านอิมาม (อ) ต้อง

ทรมานกับฤทธิ์ยาพิษนานถึง 40 วัน แล้วท่านก็ถึงวาระแห่งการกลับคืนสู่พระผู้อภิบาล(1)

1) อัล - ฟุศูลุล - มุฮิมมะฮฺ หน้า 150 และมะกอฏิลุฏ - ฏอลิบียีน หน้า 50)

ในขณะที่ท่านนอนป่วยอยู่นั้น ท่านอะมีรฺ บินอิซฮากพร้อมกับชายคนหนึ่งเข้าเยี่ยมอาการป่วยของท่าน ท่าน(อ)กล่าวว่า

“ พ่อหนุ่มเอ๋ย จงถามข้ามาเถอะ ”

เขากล่าวตอบว่า “ ข้าขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ข้าจะไม่ถามอะไรท่าน จนกว่าอัลลอฮฺจะบรรเทาอาการของท่านเสียก่อน ”

ท่านอิมาม(อ)กล่าวต่อไปว่า “ ข้ากำลังพบศึกในท้อง ข้าเคยดื่มยาพิษมาหลายครั้งแล้ว แต่ไม่เหมือนกับครั้งนี้เลย ”

อัมรฺกล่าวว่า พอวันรุ่งขึ้น ฉันได้เข้าเยี่ยมท่านอีก พบท่านอิมามฮุเซน(อ)น้องชายของท่านนั่งใกล้ศีรษะ กำลังถามท่านว่า

“ โอ้พี่ชายข้า ท่านคิดว่าเป็นใครหรือ ?”

๑๑๗

ท่าน(อ)ตอบว่า “ ทำไม เจ้าจะฆ่าเขาหรือ ?”

ท่านอิมามฮุเซน(อ) กล่าวตอบ “ ใช่แล้ว ”

ท่านอิมามฮะซัน(อ)กล่าวต่อไปว่า “ หากเป็นคนที่ข้าสงสัย ขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺว่า เขาจะได้รับภัยพิบัติและการลงโทษอย่างร้ายแรง แต่ถ้าไม่เป็นเขา ข้าชอบที่จะให้คนที่ฆ่าข้าได้รับนิรโทษกรรม ” ( 2)

ต่อจากนั้นท่านอิมามฮะซัน(อ) ได้สั่งเสียอิมามฮุเซน(อ)ผู้เป็นน้องชายและได้ทำการมอบพินัยกรรมให้แก่เขา อีกทั้งยังมอบหมายให้สืบตำแหน่งในหน้าที่อิมามะฮฺแก่เขาด้วย คำสั่งในพินัยกรรมของท่านที่มอบให้แก่ท่าน

อิมามฮุเซน(อ) มีดังนี้

“ โอ้ น้องชายของฉัน บัดนี้ฉันต้องจากเจ้าไปพบกับพระผู้อภิบาลของฉันเสียแล้ว ฉันได้ดื่มยาพิษเข้าไปในท้องของฉัน ฉันรู้ดีว่าใครนำยาพิษมาให้ฉันดื่ม และนางเอามาจากไหน ฉันขอเป็นคู่กรณีกับเขา ณ อัลลอฮฺ ดังนั้นโดยสิทธิของฉันที่มีต่อเจ้า ฉันขอพูดในเรื่องนี้สักข้อหนึ่ง และจงคอยดูในสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงบันดาลให้เกิดขึ้น กล่าวคือในเมื่อฉันได้สิ้นลมไป

ก็ขอให้จัดการมัยยิต(ศพ)ของฉัน อาบน้ำและห่อกะฟั่นฉัน แล้วโปรดนำฉันขึ้นคานหามเพื่อไปยังสุสานท่านตา ผู้เป็นศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)เพื่อฉันจะได้พบท่านตามสัญญา ต่อจากนั้นก็นำฉันไปยังสุสานของท่านย่า ฟาฏิมะฮฺ บินติอะซัด แล้วจงฝังฉันที่นั่น โอ้ผู้เป็นบุตรแห่งมารดาของฉัน แล้วเจ้าจะรู้ว่าคนกลุ่มหนึ่งคิดสงสัยว่า พวกเจ้าต้องการจะฝังฉันใกล้กับศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) พวกเขาจะต่อต้านและขัดขวางมิให้พวกเจ้าเข้าไปในนั้น แต่ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ เจ้าจะต้องสัญญาจะต้องไม่ให้มีเหตุนองเลือดในเรื่องของข้า ”

2) นูรุล - อับศอร หน้า 112 และอัล - ฟุศูลุล - มุฮิมมะฮฺ)

๑๑๘

หลังจากนั้นท่านอิมามฮะซัน(อ)ก็ได้สั่งเสียเกี่ยวกับเรื่องภรรยา บุตร และบริวารที่ยังอยู่ อีกทั้งคำสั่งเสียอื่น ๆ ที่ท่านอะมีรุลมุมินีน(อ)เคยสั่งเสียไว้ในตอนที่ท่านมอบหมายหน้าที่ให้ เมื่อครั้งที่อยู่ในฐานะ เช่นเดียวกันกับคราวนี้และท่านได้แนะนำให้พรรคพวกของท่าน ถือเรื่องนี้เป็นหลักฐานในการสืบตำแหน่งผู้ปกครอง และแต่งตั้งท่านอิมามฮุเซน(อ)ให้แก่พวกเขาภายหลังจากท่าน ซึ่งเป็นที่ทราบดี(3)

ต่อมาท่านได้สั่งให้ยกตัวท่านไปวางไว้ที่ลานบ้าน เมื่อออกมาแล้ว ท่านกล่าวว่า

“ ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้าขอมอบัวข้าให้พระองค์ตัดสิน ดังนั้นข้าจะต้องไม่ประสบเหมือนอย่างที่ประสบแก่นาง ” ( 4)

ต่อจากนั้นท่านก็วายชนม์ด้วยสาเหตุถูกวางยาพิษอย่างอธรรมสุดที่จะอดทนได้เมืองมะดีนะฮฺในวันนั้น บรรยากาศคล้ายวันที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)วายชนม์ เมื่อข่าวนี้ทราบไปถึงอะบูฮุรอยเราะฮฺ เขาถึงกับตกประหม่าและร้องไห้ด้วยน้ำตานองหน้า เขาถลาวิ่งออกไปที่มัสญิดของท่านศาสนทูต(ศ)แล้วร้องตะโกนด้วยเสียงอันดังว่า

“ ประชาชนทั้งหลาย วันนี้สุดที่รักของท่านศาสดา(ศ)ได้เสียชีวิตแล้ว ”

ประชาชนต่างพากันร้องไห้ระงม(5)

3) อัล - อิรชาด หน้า 198)

4) มะฏอลิบุซซุอุล หน้า 70)

5) ฮะยาตุล - อิมามฮะซัน ของกุร็อยชี เล่ม 2 หน้า 432)

๑๑๙

ท่านอิมามฮุเซน(อ)จัดการมัยยิดเสร็จ แล้วได้หามไปยังสุสานของท่านศาสดา(ศ)ตามสัญญาที่ได้รับการสั่งเสียไว้ แต่...มัรวาน บินฮะกัม ได้เข้ามาขัดขวางไว้ โดยมีพวกบะนีอุมัยยะฮฺขี่ม้าติดอาวุธมาด้วย มัรวาน(ขออัลลอฮฺทรงสาปแช่งเขา)จึงได้โอกาสกล่าวว่า

“ ข้าแต่พระผู้อภิบาล การต่อสู้ย่อมดีกว่าปล่อยไปอย่างนี้ จะให้อุษมาน(ร.ฎ.)ถูกฝังนอกเมืองมะดีนะฮฺ แล้วให้ฮะซันถูกฝังไว้ในบ้านของท่านศาสดากระนั้นหรือ ? ขอสาบานด้วยนามของอัลลอฮฺ จะเป็นอย่างนี้ไม่ได้เด็ดขาด ข้าจะต้องจับดาบสู้ ”

เหตุการณ์ชุลมุนวุ่นวายเกือบจะเกิดจราจล ท่านหญิงอาอิชะฮฺ(ร.ฎ.)ขี่ล่อเข้ามาพบกับพวกเขาทันที พลางกล่าวว่า

“ มันเป็นเรื่องของข้ากับพวกเจ้า พวกเจ้าจะเอาคนที่ข้าไม่ชอบเข้ามาในบ้านของข้าหรือ ?”

ท่านอิบนุอับบาซ(ร.ฎ.)ได้ออกมาเผชิญหน้ากับนางแล้วกล่าวว่า

“ สองครั้งแล้วนะ ที่ทำในสิ่งเลวร้าย ครั้งนี้ขี่ล่อ ครั้งก่อนขี่อูฐ

ท่านต้องการจะดับรัศมีแห่งอัลลอฮฺ ท่านต่อสู้กับบรรดาผู้มีคุณธรรมของพระองค์ โปรดกลับไปเสียเถิด เพียงพอแล้วกับสิ่งที่ท่านจะต้องเกรงกลัว ท่านได้เข้าถึงในสิ่งที่ท่านชอบแล้ว อัลลอฮฺ(ซ.บ.)คือผู้ช่วยเหลืออะฮฺลุลบัยตฺ

ไม่ว่าจะนานแสนนานแค่ไหน ” ( 6)

ต่อจากนั้น พวกเขาได้ยิงธนูเข้าใส่ร่างอันไร้วิญญาณของท่านอิมาม(อ)จนเสียบติดที่ร่างถึง70 ดอก(7)

6) อัล - อิรชาด หน้า 199)

7) อัล - มะนากิบ เล่ม 2 หน้า 175 , อัดดัมอะตุซ - ซากิบะฮฺ เล่ม 2 หน้า 252 และฮะยาตุล

- อิมามฮะซัน เล่ม 2 หน้า 491 พิมพ์ครั้งที่ 2)

๑๒๐

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134