ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ชีวประวัติอิมามฮะซัน42%

ชีวประวัติอิมามฮะซัน ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 134

ชีวประวัติอิมามฮะซัน
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 134 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 64752 / ดาวน์โหลด: 5720
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

ข้อควรพิจารณา มีผู้ถามท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่าบุคคลใดอ่านอัล-กุรอานเสียงเพราะที่สุด ท่านกล่าวว่า บุคคลที่ได้ยินเสียงอ่านของตนเองแล้วคิดว่าตนอยู่ ณ พระพักตร์ของพระองค์

จากริวายะฮฺดังกล่าวทำให้รู้ว่าการอ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงไพเราะนั้นมี 2 ลักษณะ

- เสียงไพเราะทั้งภายนอกและคำ

- เสียงไพเราะทั้งคำและความหมาย ซึ่งเป็นผลแก่จิตใจของผู้อ่านและทำให้มีความนอบน้อมเมื่ออยู่ต่อหน้าอัล-กุรอาน

การอ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงไพเราะนอกเหนือไปจากการอ่านควบคู่ด้วยเสียงดนตรี ซึ่งมีความเหมาะสมกับงานสนุกสนานร่าเริง ถือว่าฮะรอม

9. การอ่านอัล-กุรอานด้วยสำเนียงอาหรับ

ประเด็นดังกล่าวสามารถพิจารณาได้หลายขั้นตอนด้วยกัน กล่าวคือ

ขั้นตอนที 1 เป็นการอ่านอัล-กุรอานที่ถูกต้อง หมายถึงผู้ที่ต้องการอ่านอัล-กุรอานจำเป็นต้องเรียนรู้การอ่านจากครูบาอาจารย์

หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเพีอเรียนรู้การอ่านที่ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺ หรือซูเราะฮฺอื่นเพื่อนะมาซ การเรียนรู้เป็นวาญิบเสียด้วยซํ้า ส่วนการอ่านอย่างอื่นที่นอกเหนือจากนะมาซถือว่าจำเป็นแต่ไม่ถึงขั้นของวาญิบ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากว่าการออกเสียงอักษรภาษาอาหรับบางตัวไม่เหมือนกับภาษาอื่น เช่น อักษร ظ- ض- ز- ذ

ซึ่งบางครั้งเป็นสาเหตุทำให้ผิดพลาดในการออกเสียงและทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไปเช่น คำว่า ( عظِيْم ) แปลว่า ใหญ่ ถ้าออกเสียงเป็น ( عِزِیم ) ความหมายจะเปลี่ยนไปทันที่เนื่องจากคำนี้หมายถึง ศัตรู

๒๑

ข้อควรพิจารณา จะสังเกตเห็นว่าบุคคลที่กำลังเรียนรู้การอ่านอัล-กุรอานมักจะอ่านผิดพลาด แม้ว่าพยายามแก้ไขแล้วก็ยังผิดพลาดอยู่ ซึ่งไม่สามารถอ่านให้ถูกต้องได้ ฉะนั้นบุคคลเหล่านี้ถือว่ามีอุปสรรค แต่เป็นอุปสรรคที่ได้รับการอภัย ณ พระผู้เป็นเจ้า แต่อย่างไรก็ตามในนะมาซหน้าที่ของเขาจะแตกต่างออกไป ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า ผู้ที่อ่านอัล-กุรอานถ้าระหว่างที่อ่านได้อ่านผิด หรือ่านวรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง หรือออกเสียงภาษาอาหรับไม่ถูกต้อง มะลาอิกะฮฺผู้ที่มีหน้าที่บันทึกความดีงามจะบันทึกการอ่านที่ถูกต้องให้เขา ( 1)

( 1) อุซูล อัลกาฟียฺ เล่มที่ 2 หน้าที่ 619 ฮะดีษที่ 1

ขั้นตอนที่ 2 การเอาใจใส่ต่อกฎเกณฑ์ของการอ่าน (ตัจวีด) เช่น ใส่ใจต่อการหยุดวรรคตอน การอ่านอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงจุดต่างๆ ของตัจวีดที่เป็นสาเหตุของความถูกต้องสมบูรณ์ในการอ่านอัล-กุรอาน

ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ นอกจากต้องมีการเรียนรู้จากครูบาอาจารย์และ

ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องหลักการอ่าน

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า จงอ่านอัล-กุรอานด้วยสำเนียงภาษาอาหรับ เพราะอัล-กุรอานถูกประทานลงมาเป็นภาษาอาหรับ ( 1)

(1)อุซูล อัลกาฟียฺ เล่มที่ 2 หน้าที่ 450

๒๒

ขั้นตอนที่ 3 การเอาใจใส่ต่อท้วงทำนองของการอ่าน หมายถึง ถ้าผู้อ่านได้อ่านด้วยสำเนียงภาษาอาหรับ โดยเป็นการส่งความหมายของโองการด้วยสำเนียงและท้วงทำนองอันเฉพาะเจาะจง ที่ไม่ต้องอิงอาศัยเสียงดนตรีประกอบเท่ากับเป็นการเรียกร้องความสนใจได้ดีอย่างยิ่ง

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า จงอ่านอัล-กุรอานด้วยสำเนียงภาษา อาหรับ ( 2)

(2)อุซูล อัลกาฟียฺ เล่มที่ 2 หน้าที่ 450

มีนักอักษรศาสตร์ภาษาอาหรับจำนวนมาก ประกอบกับผู้วิจัยและค้นคว้าเกี่ยวกับอัล-กุรอานได้ยืนยันว่า อัล-กุรอานมีท้วงทำนองที่เฉพาะพิเศษ ซึ่งภาษาอาหรับอื่นที่ไม่ใช่อัล-กุรอานไม่มี

ชะฮีดมุรตะฎอ มุเฏาะฮะรียฺ กล่าวว่า สิ่งหนึ่งที่เรียกร้องให้คนอื่นสนใจอัล-กุรอานคือท้วงทำนอง และลีลาที่ไพเราะจับใจนั่นเอง

๒๓

10. สถานที่อ่านอัล-กุรอาน

อัล-กุรอานสามารถอ่านได้ทุกที่ถือว่าอนุญาตและเป็นสิ่งที่ดี

แต่มีอยู่ 2 สถานที่ ๆ ได้รับการแนะนำพิเศษ ให้อ่านอัล-กุรอาน กล่าวคือ

- มัสญิด

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า

انما نصب المساجد للقرآن

มัสญิดทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการอ่านอัล-กุรอาน( 1)

(1)วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่มที่ 3 หน้าที่ 493

- บ้าน ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า

قال النبی(ص):

نوروا بیوتکم بتلاوة القرآن ولاتتخذوها قبوراً کما فعلت الیهود

والنصاری،طوفی الکنائس و البیع و عطّلوا بیوتهم فانّ البیت اذا کثر فیه تلاوت القرآن کثّر خیره و التسع اهله و اضاء لاهل السماء

จงประดับรัศมีบ้านของท่านด้วยการอ่านอัล-กุรอาน จงอย่าทำบ้านของท่านให้เป็นสุสาน ดั่งที่ยะฮูดียฺ และนัซรอนียฺได้กระทำซึ่งพวกเขานมัสการเฉพาะในโบสถ์เท่านั้น พวกเขาไม่ให้ทำการนมัสการในบ้าน และบ้านหลังใดก็ตามมีการอ่านอัล-กุรอานมาก ความดีและความจำเริญก็จะมากตามไปด้วยและผู้ที่อยู่ในบ้านก็จะได้รับความจำเริญมากมาย และบ้านหลังนั้นจะกลายเป็นรัศมีที่เจิดจรัสสำหรับชาวฟ้า ดุจดังเช่นดวงดาวแห่งฟากฟ้าได้เจิดจรัสสำหรับชาวดิน( 2)

(2) อุซูลกาฟียฺ เล่มที่ 2 หน้าที่ 446

๒๔

สรุปประโยชน์ของการอ่านอัล-กุรอานที่บ้าน

1. เป็นรัศมีประดับประดาบ้านตามกล่าวของฮะดีษที่กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งการอ่านอัล-กุรอานที่บ้านจะเพิ่มชีวิตชีวา ความดี และความจำเริญมากมายแก่เจ้าของบ้านและคนในบ้าน

2. เป็นการอบรมจิตวิญญาณที่ดีอย่างหนึ่งสำหรับบุตรหลาน และทำให้ชีวิตของพวกเขามีความผูกพันอยู่กับอัล-กุรอาน

3. เสียงอ่านอัล-กุรอานภายในบ้านส่งผลจูงใจเพื่อนบ้านให้สนใจการอ่านอัล-กุรอาน อันเป็นผลดีกับสังคม และเป็นการเชิดชูวัฒนธรรมของ

อัล-กุรอาน

4. หลีกเลี่ยงการโอ้อวดในการอ่านอัล-กุรอานย่อมทำให้ได้รับผลสรุปอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามกล่าวมาข้างต้น

- การอ่านอัล-กุรอานให้จบที่มักกะฮฺมีผลบุญพิเศษที่เฉพาะเจาะจงมากมาย ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั้งซุนียฺและชีอะฮฺ

ข้อควรพิจารณา ไม่อนุญาตให้อ่านอัล-กุรอานในสถานที่ ๆ เป็นการ

ดูถูกอัล-กุรอาน

๒๕

ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่า บางริวายะฮฺห้ามไม่ให้มีการอ่านอัล-กุรอานในห้องอาบนํ้า หรือห้องส้วม แต่บางริวายะฮฺก็อนุญาต เช่น

ริวายะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่กล่าวว่า

سبعة لا يقرؤون القرآن: الراكع والساجد، وفي الكنيف، وفي الحمام، والجنب، والنفساء، والحائض

มี 7 สถานที่ไม่สมควรอ่านอัล-กุรอาน ในห้องอาบนํ้า ห้องส้วม ขณะมีญุนุบ โลหิตหลังการคลอดบุตร และรอบเดือน

หมายถึงการอ่านอัล-กุรอานตามสถานที่หรือด้วยสภาพตามกล่าวมาโดยมีเจตนาเพื่อดูถูกอัล-กุรอาน หรือไม่ได้มีเจตนาเพื่อการดูถูก แต่ในทัศนะ

คนอื่นถือว่าเป็นการดูถูกอัล-กุรอาน

ดังนั้นการอ่านอัล-กุรอานเช่นนี้ ถือว่าไม่อนุญาต แต่ถ้าเป็นการรำลึกพระผู้เป็นเจ้า โดยไม่ได้มีเจตนาดูถูกไม่เป็นไร

11. ช่วงเวลาอ่านอัล-กุรอาน

การกล่าวพรรณนาถึงพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้าทุกเวลาถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เนื่องจากการสนทนากับผู้ที่เป็นที่รักไม่มีเวลาเฉพาะสามารถสนทนาได้ตลอดเวลา คนรักย่อมคอยโอกาสอย่างใจจดใจจ่อว่าเมื่อไหร่คนรักของตนจะมีเวลาว่าง เพื่อจะได้อยู่ใกล้ชิด และพูดคุยด้วย

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวกับท่านอิมามอะลี (อ.) ว่า

จงอ่านอัล-กุรอานไม่ว่าเจ้าจะอยู่ในสถานการณ์หรือเงื่อนไขใดก็ตาม ( 1)

(1 )วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 4 บาบ 47 ฮะดีษที่ 1

๒๖

อัล-กุรอานบางโองการและริวายะฮฺของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) กล่าวว่า

การอ่านอัล-กุรอานบางช่วงเวลาก็เหมาะสมและบางช่วงก็ไม่เหมาะสม ซึ่งจะอธิบายทั้งสองกรณีดังนี้

ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการอ่านอัล-กุรอาน

ช่วงเดือนรอมฎอน อันจำเริญซึ่งถือว่าเป็นฤดูกาลของอัล-กุรอาน

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า บุคคลใดอ่านอัล-กุรอาน 1 โองการในเดือนรอมฎอนเสมือนได้อ่านอัล-กุรอานจบ 1 ครั้งในเดือนอื่น ( 2)

(2 )อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้าที่ 617-618

เช้าตรู่ของทุกวันที่บรรดาสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายต่างนอนหลับไหล แต่บุคคลที่มีความรักในพระผู้เป็นเจ้าได้ตื่นขึ้นเหมือนแสงเทียนที่กำลังลุกโชติช่วงรินหลั่งนํ้าตาและระลึกถึงคนรักของตนอย่างใจจดใจจ่อ

ริวายะฮฺบางบทจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวสนับสนุนการอ่าน

อัล-กุรอานในช่วงเวลากลางคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงก่อนเข้านอนได้รับการแนะนำไว้อย่างมาก ( 1)

(1) เล่มเดิม

การอ่านอัล-กุรอานขณะนมาซที่นอกเหนือไปจากซูเราะฮฺวาญิบที่ต้องอ่าน ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กล่าว่า บุคคลใดอ่านโองการต่าง ๆ จาก

อัล-กุรอานขณะยืนปฏิบัตินมาซ อัลลอฮฺจะบันทึกแต่ละคำเท่ากับ 100

ความดี ( 2)

(2 )อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้าที่ 611 / 612

๒๗

บางโองการได้กล่าวยํ้าเน้นว่าให้อ่านอัล-กุรอานทุกเช้าและขณะดวงอาทิตย์ตกดิน โดยกล่าวว่า

และเจ้า (มุฮัมมัด) จงรำลึกถึงพระผู้อภิบาลของเจ้าในใจของเจ้าด้วยความนอบน้อมและยำเกรงและโดยไม่ออกเสียงดัง ทั้งในเวลาเช้าและเย็นและ

จงอย่าอยู่ในหมู่ผู้ที่เผลอเรอ ( 3)

(3 ) อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อะอฺรอฟ 205

ซึ่งอัล-กุรอานเป็นตัวอย่างที่ยิ่งใหญ่สำหรับการรำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้า

หมายเหตุ ช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงกลางคืนให้เป็นกลางวัน ช่วงเวลหนึ่งได้เข้ามาแทนที่อีกเวลาหนึ่ง เป็นการเตือนสำทับให้มนุษย์ได้คิดถึงตัวเองและอายุขัยของตนที่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเหมือนเวลากลางวันและกลางคืน

ช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมสำหรับอ่านอัล-กุรอาน

บางริวายะฮฺกล่าวว่า ช่วงเวลาที่เปลือยเปล่า (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขณะอยู่ในห้องนํ้า) หรือช่วงเวลาที่ทำการชำระล้าง และช่วงเวลาที่มีเพศสัมพันธ์ 4

(4 ) วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 1 บาบที่ 7 อะฮฺกามการขับถ่าย

๒๘

บางริวายะฮฺกล่าวว่า อ่านอัล-กุรอานทุกช่วงแม้แต่ช่วงเวลาที่อยู่ในห้องนํ้าถือว่าดี ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า ไม่เป็นไรหากเจ้าจะทำการรำลึกถึงอัลลอฮฺ แม้ว่าท่านกำลังปัสสาวะอยู่ก็ตาม เนื่องจากว่าการรำลึกถึงอัลลอฮฺดีตลอดเสมอ ฉะนั้นจงอย่างเผลอเรอการรำลึกถึงพระองค์ ( 1)

(1 ) เล่มเดิม

ข้อควรพิจารณา จะเห็นว่าริวายะฮฺทั้งสองขัดแย้งกัน แต่สามารถรวม

ริวายะฮฺทั้งเข้าด้วยกันบนความหมายที่ว่า ทุกครั้งที่อ่านอัล-กุรอานถ้าเป็น

การดูถูกอัล-กุรอานถือว่าไม่อนุญาต แต่ถ้าไม่ถือว่าเป็นการดูถูกอัล-กุรอานและเป็นการรำลึกถึงพระองค์ ถือว่าอนุญาต

ข้อควรพิจารณา การอ่านอัล-กุรอานที่มีโองการซัจดะฮฺวาญิบสำหรับสตรีที่มีรอบเดือน หรืออยู่ในช่วงของนิฟาซ (มีโลหิตหลังการคลอดบุตร) หรือบุคคลที่มีอยู่ญูนุบ เป็นฮะรอม (ไม่อนุญาต) แต่ถ้าเป็นบทที่ไม่มีซัจดะฮฺ

วาญิบอนุญาตให้อ่านได้ไม่เกิน 7 โองการ

12. จำนวนการอ่านอัล-กุรอาน

ไม่ว่าจะมากหรือน้อยเท่าใดก็ตามสำหรับการรำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ถือว่าน้อยทั้งสิ้น อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า ดังนั้นพวกเจ้าจงอ่านอัล-กุรอานตามแต่สะดวกเถิด ( 2)

(2 ) มุซัมมิล 20

๒๙

ริวายะฮฺจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) กำหนดว่า อย่างน้อยที่สุดควรอ่าน

อัล-กุรอานคืนละ 10 โองการ

ท่านอิมามบากิร (อ.) รายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า บุคคลใดอ่านอัล-กุรอานทุกคืน ๆ ละ 10 โองการเขาจะไม่ถูกบันทึกว่าเป็นหนึ่งในหมู่หลงลืม ( 1)

(1)อุซูลกาฟียฺเล่ม 1 หน้าที่ 612 ฮะดีษที่ 5

แต่ริวายะฮฺส่วนมากได้ระบุว่าควรอ่านอัล-กุรอานอย่างน้อยวันละ 50 โองการ

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า อัล-กุรอานคือพันธสัญญาระหว่างมนุษย์กับพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้นเป็นการดีที่มนุษย์ควรใส่ใจต่อสัญญาของตนที่ได้ตกลงไว้ และควรอ่านข้อสัญญาอย่างน้อยวันละ 50 โองการ ( 2)

(2 ) เล่มเดิม หน้าที่ 609

ริวายะฮฺจำนวนมากได้กล่าวแนะนำว่าให้อ่าน อัล-กุรอานให้จบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือนรอมฎอน แต่ห้ามที่จะให้อ่านอัล-กุรอานด้วยความรวดเร็ว ขณะเดียวกันได้แนะนำว่าให้อ่านอัล-กุรอานด้วยความปราณีตตั้งใจและอ่านอย่างมีท่วงทำนอง( 3)

(3 ) เล่มเดิม หน้าที่ 617 ฮะดีษที่ 2

๓๐

คำเตือน สำหรับสตรีที่มีรอบเดือน นิฟาซ และบุคคลที่มีญินาบัตเป็น

มักรูฮฺ ถ้าจะอ่านอัล-กุรอานที่นอกเหนือจากบทที่มีโองการซัจดะฮฺวาญิบเกิน

7 โองการ แต่ถ้าเป็นบทที่มีโองการซัจดะฮฺวาญิบเป็นฮะรอม

13. การฟังและนิ่งเงียบ

มารยาทของผู้ฟังขณะอัญเชิญอัล-กุรอานคือการนิ่งเงียบ

อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า และเมื่ออัล-กุรอานถูกอ่านขึ้น จงสดับฟัง

อัล-กุรอานและจงนิ่งเงียบ เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับการเอ็นดู( 1)

(1 ) อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล อะอฺรอฟ 204

จากโองการข้างต้นสามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้

1. หน้าที่ประการแรกของผู้ฟังอัล-กุรอานคือนิ่งเงียบ

2. หน้าที่ประการที่สองของผู้ฟังอัล-กุรอานคือการฟังดัวยความตั้งใจในความหมายของโองการ ซึ่งแตกต่างไปจากการฟังโดยทั่วไปที่เพียงแค่ได้ยินผ่านหูไปมาเท่านั้น และการที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสถึงการฟังก่อนการนิ่งเงียบตามโองการข้างต้น อาจเป็นเพราะการให้ความสำคัญต่อสิ่งนั้น เพราะโดยธรรมชาติแล้วการนิ่งเงียบต้องมาก่อนการฟัง

3. บุคคลใดก็ตามฟังอัล-กุรอานด้วยความตั้งใจทั้งจิตวิญญาณ พร้อมทั้งนิ่งเงียบเท่ากับเป็นการเตรียมจิตด้านในเพื่อรอรับความเมตตาจากพระผู้เป็นเจ้า บางโองการได้กล่าวยํ้าเน้นถึงการตั้งใจฟังโองการต่าง ๆ สำหรับผู้ศรัทธาว่าเป็นการเพิ่มพูนความศรัทธาและเป็นการมอบหมายความไว้วางใจต่อพระองค์

๓๑

อัล-กุรอานกล่าวว่า แท้จริงบรรดาผู้ที่ศรัทธานั้นคือ ผู้ที่เมื่อกล่าวถึงอัลลอฮฺหัวใจของพวกเขาก็หวั่นเกรง และเมื่อบรรดาโองการของพระองค์ถูกอ่านแก่พวกเขา ความศรัทธาของพวกเขาก็จะเพิ่มพูน และแด่พระเจ้าของพวกเขาเท่านั้นที่พวกเขามอบไว้วางใจ( 2)

(2 )อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อันฟาล 2

ท่านอิมามซัจญาด (อ.) กล่าวว่า บุคคลใดฟังการอ่านอัล-กุรอาน โดยที่เขาไม่ได้อ่าน อัลลอฮฺจะลบล้างหนึ่งในบาปพร้อมทั้งบันทึกความดีให้แก่เขา และยกฐานันดรของเขาให้สูงส่ง

(อุซูลอัลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้าที่ 612 ฮะดีษที่ 6)

ข้อควรพิจารณา

1. การนิ่งเงียบและฟังขณะได้ยินเสียงอ่านอัล-กุรอานเป็นมุสตะฮับ

2. ถ้าไม่ฟังและส่ออาการของการไม่ใส่ใจต่ออัล-กุรอาน ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าเป็นการดูถูกอัล-กุรอานเป็นฮะรอม แต่สำหรับงานมัจลิซ (ชุมนุมเกี่ยวกับศาสนา) หรืองานอ่านฟาติฮะฮฺให้กับผู้ตาย ซึ่งบางครั้งอาจจะมีการพูดคุยกับบ้างแต่ไม่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นการดูถูกอัล-กุรอานไม่เป็นไร ( 1)

(1 ) อิซติฟตาอาตกุรอาน หน้า 147 ข้อที่ 12

3. การกล่าวคำพูดบางอย่างระหว่างที่อ่านอัล-กุรอานในมัจลิซ หรือที่มีการประกวดแข่งขันอ่านอัล-กุรอาน เช่นคำว่า อะฮฺซันตะ หรือ ฏอยยิบัลลอฮฺ หรืออัลลอฮฺ อัลลอฮฺ ไม่เป็นไร แต่คำพูดเหล่านั้นต้องสอดคล้องกับมารยาทของการฟังอัล-กุรอานด้วย

๓๒

14. ระวังเรื่องการให้เกียรติอัล-กุรอาน

ดังที่กล่าวไปแล้วว่าการดูถูกอัล-กุรอานเป็นฮะรอม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นมุสลิมนอกจากจะไม่มีสิทธิ์ดูถูกอัล-กุรอานแล้ว ต่อหน้าอัล-กุรอานยังต้องเอาใจใส่เรื่องมารยาทอย่างเป็นพิเศษชนิดที่กล่าวได้ว่าท่านกำลังยืนอยู่ต่อหน้าอาจารย์ แน่นอนการให้เกียรติต่ออัล-กุรอ่านในแต่ละพื้นที่มีประเพณีปฏิบัติไม่เหมือนกัน ซึ่งจะขอหยิบยกบางประเด็นที่เหมือนกันดังนี้

1. เก็บรักษาอัล-กุรอานในสถานที่ ๆ มีความเหมาะสมมองเห็นได้ชัดเจน ปลอดภัย และมีความสะอาด

2. นั่งอย่างมีมารยาทเมื่ออยู่ต่อหน้าอัล-กุรอาน

3. ควรมีที่วางอัล-กุรอาน เช่น หมอนหรือระฮาเป็นต้น

4. ควรนั่งหันหน้าตรงกับกิบละฮฺขณะอ่านอัล-กุรอาน และควรอ่านด้วยความตั้งใจ

5. ไม่ควรละเว้นการอ่านอัล-กุรอานในบ้าน เพราะวันกิยามะฮฺสิ่งหนึ่งที่จะฟ้องต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) คือ อัล-กุรอานที่ไม่ได้ถูกอ่านปล่อยทิ้งไว้จนฝุ่นละอองเกาะ ( 1)

(1 )อุซูลกาฟียฺ เล่ม 1 หน้าที่ 613 ฮะดีษที่ 3

6. ไม่ควรอ่านอัล-กุรอานในช่วงเวลาและสถานที่ ๆ ไม่เหมาะสม เนื่องจากเป็นการดูถูก

7. ไม่ควรวางสิ่งของบนอัล-กุรอาน

8. ถ้าหากอัล-กุรอานตกลงบนพื้นควรเก็บขึ้นมาอย่างรวดเร็วด้วยความเคารพ

๓๓

9. ไม่ควรวางอัล-กุรอานลงบนสิ่งที่เป็นนะยิส เช่น รอยเลือด หรือเลือด เป็นฮะรอม และเป็นวาญิบให้หยิบขึ้นโดยเร็ว

10. กรณีที่ปก หรือกระดาษ หรือลายเส้นของอัล-กุรอานเปื้อนนะยิส ต้องรีบล้างโดยเร็ว

ท่านเฟฎ กาชานียฺ นักตัฟซีรอัล-กุรอานผู้ทรงคุณวุฒิได้เขียนว่า

นักอ่านอัล-กุรอานทั้งหลายควรรักษามารยาทหน้าตาของตนให้เหมาะสม และเวลาอ่านเป็นการดีให้หันหน้าตรงกับกิบละฮฺ และก้มศีรษะขณะอ่าน

ขณะอ่านอัล-กุรอานให้นั่งขัดสมาธิ และไม่สมควรนั่งพิงกับสิ่งใด

เมื่อมองดูแล้วต้องมิใช่การนั่งที่มีใบหน้าบ่งบอกถึงความเหย่อหยิ่งจองหอง

ถ้านั่งคนเดียวไม่สมควรนั่งเสมอกับครู หรือมองดูแล้วเท่าเทียมกับครู ( 1)

(1 ) อัล มะฮัจตุลบัยฎออฺ เล่ม 2 หน้าที่ 219

แม้ว่าการระวังรักษาและการให้เกียรติอัล-กุรอาน จะเป็นเรื่องที่สติปัญญารับได้ทุกคนก็ตาม กระนั้นริวายะฮฺจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ยังได้สำทับให้เห็นถึงความสำคัญของเรื่องนี้ไว้อีก มีรายงานจากท่านอิมามซอดิก (อ.)

ในวันกิยามะฮฺ อัลลอฮฺ (ซบ.) จะตรัสถึงอัล-กุรอานว่า ฉันขอสาบานด้วยเกียรติยศ ความสูงส่ง และอำนาจของฉันว่า วันนี้ฉันจะให้เกียรติแก่บุคคลที่เคยให้เกียรติเจ้า และฉันจะทำให้ตํ่าต้อยบุคคลที่เคยทำให้เจ้าตํ่าต้อย ( 2)

(2 ) วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 4 หน้า 827

๓๔

15.ซัจดะฮฺขณะอ่านบทที่มีโองการซัจดะฮฺ

มีอัล-กุรอานอยู่ 15 โองการขณะที่อ่านหรือได้ยินคนอื่นอ่านต้องซัจดะฮฺ 1 ครั้งได้แก่

ก. อัล-กุรอาน 4 โองการต่อไปนี้เมื่ออ่านหรือได้ยินคนอื่นอ่าน เป็นวาญิบต้องซัจดะฮฺ ซึ่งเรียกว่า ซูเราะฮฺซัจดะฮฺ หรือ ซูเราะฮฺอะซาอิม ประกอบด้วย

- ซูเราะฮฺอัซ ซัจดะฮฺ โองการที่ 15

- ซูเราะฮฺอัล-ฟุซซิลัต โองการที่ 27

- ซูเราะฮฺอัน นัจมุ โองการที่สุดท้าย

- และซูเราะฮฺอัล อะลัก โองการสุดท้าย

ข. อัล-กุรอาน 11 โองการต่อไปนี้เมื่ออ่านหรือได้ยินคนอื่นอ่าน เป็น

มุสตะฮับให้ซัจดะฮฺ ประกอบด้วย

- ซูเราะฮฺอัล อะอฺรอฟ โองการสุดท้าย

- ซูเราะฮฺอัร เราะอฺดุ โองการที่ 15

- ซูเราะฮฺอัล นะฮฺลิ โองการที่ 50

- ซูเราะฮฺอัล อิซรอ โองการที่ 109

- ซูเราะฮฺมัรยัม โองการที่ 58

- ซูเราะฮฺอัล ฮัจญฺ โองการที่ 18 และ 77

- ซูเราะฮฺอัล ฟุรกอน โองการที่ 60

- ซูเราะฮฺอัล นัมลิ โองการที่ 26

- ซูเราะฮฺอัซ ซ็อด โองการที่ 24

- ซูเราะฮฺอัน อินชิกอก โองการที่ 21

๓๕

อะฮฺกามเฉพาะสาหรับโองการซัจดะฮฺ

1. บุคคลที่อ่านหรือได้ยินคนอื่นอ่านโองการซัจดะฮฺวาญิบโองการใดโองการหนึ่ง หลังจากจบแล้วต้องลงซัจดะฮฺทันที แต่ถ้าลืมเมื่อนึกขึ้นได้ให้ซัจดะฮฺ

2. การซัจดะฮฺวาญิบกุรอาน ไม่จำเป็นต้องหันหน้าตรงกิบละฮฺ หรือต้องมีวุฎูอฺ และเสื้อผ้าไม่จำเป็นต้องสะอาด และอนุญาตให้ซัจดะฮฺลงบนทุกสิ่งได้ยกเว้น สิ่งของที่เป็นอาหารหรือเครื่องดื่ม

3. กรณีที่ได้ยินโองการซัจดะฮฺจากวิทยุ โทรทัศน์ หรือเทป ซึ่งไม่ได้เป็นการได้ยินโดยตรงจากผู้อ่านไม่จำเป็นต้องซัจดะฮฺ

แต่ถ้าได้ยินจากเครื่องขยายเสียงที่เป็นเสียงของคนอ่านโดยตรง เป็น

วาญิบต้องซัจดะฮฺ

หมายเหตุ เกี่ยวกับเรื่องนี้บรรดามัรญิอฺในยุคปัจจุบันวินิจฉัยตรงกัน เช่น

ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ริซาละฮฺเตาฎีฮุลมะซาอิล ข้อที่ 1096

ท่านอายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี อิซติฟตาอาต เล่ม 1 หน้าที่ 105

ท่านอายะตุลลอฮฺ ฟาฎิล ลันกะรอนียฺ ทั้งสองกรณีเป็นวาญิบต้อง ซัจดะฮฺ ( 1)

(1 ) เตาฎีฮุลมะซาอิล ข้อที่ 1117, อิซติฟตาอาตกุรอาน หน้าที่ 30

๓๖

4. กล่าวว่า การกล่าวซิกรฺในซัจดะฮฺวาญิบกุรอาน ไม่เป็นวาญิบ เพียงแค่เอาหน้าผากไปจรดพื้นถือว่าเพียงพอ แต่ดีกว่าให้กล่าวซิกรฺต่อไปนี้ รายงานโดยท่านอิมามอะลี (อ.)

لا إلهَ إلاّ اللّه حقّاً حقّاً لا إله إلاّ اللّه إيماناً و تصديقاً، لا إله إلاّ اللّه عُبُوديَّةً و رقّاً، سَجَدْتُ لكَ يا ربِّ تَعَبُّداً و رقّاً، لا مُسْتَنْكِفاً و لا مُسْتَكْبراً، بَلْ انا عبدٌ ذَليلٌ ضَعيفٌ خائفٌ مُسْتجير.َ

หมายถึง แน่นอนไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ ฉันขอศรัทธา และขอยืนยันว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจาก อัลลอฮฺ ฉันขอแสดงควมเคารพภักดีและขอมอบตนเป็นข้าทาส

โอ้พระผู้อภิบาล ฉันได้กราบ (ซัจดะฮฺ) ต่อพระองค์โดยการยอมจำนนเป็นข้าทาส ไม่ขอแสดงตนเป็นผู้ทรนงหรือผู้ดื้อดึง หากแต่ว่าฉันคือบ่าวที่ตํ่าต้อย มีความเกรงกลัวจึงขอความคุ้มครองพระองค์( 2)

(2 )อุรวะตุลวุซกอ เล่ม 1 ฟัซลฺ ฟี ซาอิริ อักซามิซซุญูด

๓๗

16. อ่านด้วยความใจเย็น

ความใจเย็นในการปฏิบัติทุกภารกิจการงาน ถือว่าเป็นสาเหตุนำไปสู่ความสำเร็จ และความถูกต้อง ส่วนการรีบเร่งเป็นสาเหตุนำไปสู่ความเสียหายและความบกพร่อง ซึ่งสิ่งนี้สามารถพิสูจน์ได้จากการอ่านอัล-กุรอาน

ริวายะฮฺจำนวนมากมายได้กล่าวเตือนนักอ่านอัล-กุรอานทั้งหลายว่า

จงหลีกเลี่ยงการรีบร้อนการอ่านอัล-กุรอาน ทว่าจงอ่านด้วยท่วงทำนองที่มีความไพเราะ เมื่ออ่านถึงโองการที่กล่าวถึงเรื่องสวรรค์ ให้หยุดเล็กน้อยเพื่อขอรางวัลสรวงสวรรค์จากพระองค์ และเมื่ออ่านถึงโองการที่กล่าวถึงนรก ให้หยุดเล็กน้อยเพื่อขอความคุ้มครองและพึ่งพาพระองค์ ( 1)

(1 ) อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้า 617, 618 ฮะดีษที่ 2, 5

แน่นอนเมื่อผู้อ่านอัล-กุรอาน อ่านอย่างใจเย็นยอ่มทำให้มีเวลาตรึกตรองในความหมายเหล่านั้นมากขึ้น ส่วนการอ่านอย่างรีบเร่งเขาจะไม่ได้รับการชี้นำใด ๆ จากอัล-กุรอานนอกจากผลบุญ และการออกเสียงถูกต้องตามหลักการอ่าน

17. อ่านอัล-กุรอานอย่างคนมีความรัก

บรรดาผู้ศรัทธาเมื่ออ่านอัล-กุรอานจะเห็นว่าอัล-กุรอานเกิดผลสะท้อนกับในทางบวก เขาจะอยู่ในสภาพของคนอยากรู้อยากเห็นอย่างใจจดใจจ่อ

มีความหวาดกลัวซึ่งในบางครั้งจะเห็นว่ามีนํ้าตาไหลพรากอาบแก้มทั้งสอง

ซึ่งการร้องไห้บางเกิดจากความตื่นตันใจ และบางครั้งก็เกิดจากความรัก

๓๘

จะเห็นว่ามีริวายะฮฺจำนวนมากได้เน้นให้อ่านอัล-กุรอานด้วยความรัก เช่น

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า ไม่มีดวงตาคู่ใดที่ร้องไห้ขณะอ่าน

อัล- กุรอาน นอกเสียจากว่าเขาจะมีความสุขในวันกิยามะฮฺ ( 1)

(1 ) มีซาน อัลฮิกมะฮฺ เล่ม 8 หน้า 89

อัล-กุรอานุลกะรีมได้อธิบายมนุษย์ไว้ 2 ลักษณะ ซึ่งหนึ่งในนั้นเมื่อได้ยินอัล-กุรอานพวกเขาจะร้องไห้ อัล-กุรอานกล่าวว่า

إِذَا تُتْلَى عَلَیْهِمْ آیَاتُ الرَّحْمَنِ خَرُّوا سُجَّدًا وَبُکِیًّا

เมื่อบรรดาโองการของพระผู้ทรงกรุณาปรานีถูกอ่านแก่พวกเขา พวกเขาจะก้มลงสุญูดและร้องไห้ ( 2)

(2 )อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ มัรยัม / 58

ประเด็นที่น่าสนใจ มีริวายะฮฺจำนวนมากแนะนำว่าให้อ่านอัล-กุรอานด้วยสำเนียงที่ไพเราะ บางริวายะฮฺกล่าวว่าให้ร้องไห้อ่านอัล-กุรอาน หมายถึงอ่านพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้าด้วยความรักและอ่านอย่างมีศิลปะในการอ่าน

๓๙

18. การอ่านให้จบ

ขั้นตอนการอ่านให้จบ ริวายะฮฺจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และจากท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่าควรจบการอ่านอัล-กุรอานทุกครั้งด้วยประโยคที่ว่า เซาะดะกอลลอฮุล อะลียุล อะซีม หมายถึง สัจจะยิ่งอัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่งและยิ่งใหญ่ ( 3)

(3 ) บิฮารุลอันวาร เล่มที่ 95 หน้าที่ 400, เล่มที่ 57 หน้าที่ 243

ดุอาอฺหลังจากการอ่าน ผู้ที่อ่านอัล-กุรอานทุกท่านถือว่าอยู่ท่ามกลางบรรยากาศของอุ่นไอแห่งพระดำรัส ฉะนั้นหลังจากอ่านอัล-กุรอานแล้วสมควรอย่างยิ่งที่ต้องดุอาอฺเป็นการส่งท้ายเพื่อการตอบรับในสิ่งที่ตนได้ปฏิบัติลงไป

๔๐

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

สุภาษิต :

โอสถบำบัดโรค

ชีวิตของบรรดาอิมาม(อ)แห่งอะฮฺลุลบัยตฺนั้นคือ พลังที่นำมวลมุสลิมไปสู่วิถีทางของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และความปิติชื่นชมยังพระองค์และเป็นการเน้นให้มีการเชื่อฟังปฏิบัติตามพระองค์ กล่าวคือ บรรดาอิมาม(อ) เป็นสื่อในเรื่องเหล่านี้ทุกๆ วิถีทาง แบบแผนชีวิตของบรรดาอิมาม(อ)มิได้เป็นเพียงบทเรียนอย่างเดียวเท่านั้น หากยังหมายความไปถึงคำปราศรัย พินัยกรรม คำสั่งเสีย

จดหมาย ดังที่บรรดานักประวัติศาสตร์ได้ รวบรวมถ้อยคำของพวกท่านมาบันทึกไว้โดยสังเขป

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.)พระองค์ทรงเป็นพยานได้ว่า

ไม่มีเรื่องราวของผู้ใดมีรายละเอียดเสมอเหมือนกับบรรดาท่านเหล่านั้น เรื่องราวเหล่านี้คือ คลังแห่งคำสอน และเป็นโอสถหลายขนานสำหรับบำบัดรักษาโรคต่าง ๆ ทางสังคมของพวกเรา และเป็นการเรียกร้องเชิญชวนสู่สัจธรรมและความดีงาม

ในบทนี้เราจะเสนอสุภาษิตบางประการจากถ้อยคำของท่านอิมามฮะซัน(อ) ดังนี้

๑. จงอย่าเร่งให้ความบาปต้องพบกับบทลงโทษ แต่จงหาวิธีทางอย่างใดอย่างหนึ่งมาแก้ไขในระหว่างนั้น

๒. การหยอกล้อจะกัดกร่อนบารมี แต่การเพิ่มบารมีอยู่ที่การนิ่งเงียบ

๓. โอกาสที่ดีมักจะจากไปอย่างรวดเร็ว และกลับมาช้าเสมอ

๖๑

๔. ความสุขจะไม่เป็นที่รับรู้เสมอในยามที่มันมีอยู่ แต่มันจะเป็นที่รู้จักทันทีที่มันจากไป

๕. จะปรึกษาหารือกับคนกลุ่มใดก็จะเป็นไปตามแนวชี้นำของคนกลุ่มนั้น

๖. คนเลวย่อมไม่รู้คุณของความดีงาม

๗. ความดีที่ไม่มีความชั่วใดๆ แอบแฝงได้แก่ การรู้คุณค่าของความโปรดปราน และอดทนต่อความทุกข์ยาก

๘. ความอับอายยังให้ความเจ็บน้อยกว่าไฟนรก

๙. มนุษย์จะวิบัติด้วยเหตุ ๓ ประการ การทะนงตัว ความโลภ

และการริษยา

การทะนงตัว คือ การทำลายศาสนา และด้วยเหตุนี้เองอิบลิสจึงถูกสาปแช่ง

ความโลภคือ ศัตรูของตนเองและด้วยเหตุนี้ที่อาดัม(อ)ถูกขับออกจากสวรรค์

การริษยาคือ ที่ตั้งของความชั่ว และด้วยเหตุนี้ที่กอบีลสังหารฮาบีล

๖๒

๑๐. ไม่มีการมีมารยาทใดสำหรับคนที่ไร้ปัญญา ไม่มีลักษณะของชายชาตรีสำหรับคนที่ไม่มีความมุ่งมั่นเอาจริงเอาจัง ไม่มีความละอายใดสำหรับคนที่ไม่มีศาสนา สุดยอดแห่งการมีปัญญาคือการพบปะพูดคุยกับผู้คนด้วยลักษณะที่สวยงาม ด้วยกับปัญญาเท่านั้นที่จะเข้าถึงซึ่งโลกทั้งสอง ผู้ใดที่ไม่ใช้สติปัญญา เขาก็จะไม่สามารถเข้าถึงซึ่งโลกนี้ และโลกหน้า(๑)

๑๑. จริยธรรมที่สูงสุดยอดมี ๑๐ ประการ

( ๑) รักษาสัจจะไว้โดยวาจา

( ๒) รักษาสัจจะไว้โดยความเดือดร้อน

( ๓) บริจาคแก่ผู้ขอ

( ๔) มีมารยาทที่ดีงาม

( ๕) มีความบากบั่นในการทำงาน

( ๖) มีไมตรีต่อญาติมิตร

( ๗) มีเมตตาธรรมต่อเพื่อนบ้าน

( ๘) รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น

( ๙) ให้เกียรติต่อแขก

( ๑๐) หัวใจของสิ่งเหล่านี้คือความละอาย

๑๒. การสูญเสียสิ่งที่ต้องการดีกว่าการขอจากคนที่มิได้เป็นเจ้าของในสิ่งนั้นจริง(๒)

๖๓

๑๓. ฉันไม่เห็นผู้อธรรมคนใดที่ละม้ายคล้ายคลึงกับผู้ถูกอธรรม มากกว่าผู้ที่อิจฉาริษยา

( หมายความว่า ผู้มีจิตอิจฉาริษยานั้นมีสภาพเป็นทั้งผู้อธรรม (ต่อผู้อื่น) และตัวเองก็ถูกอธรรมจากการอิจฉาริษยานั้น)(๓)

๑๔. จงเอาความรู้ของเจ้าสอนผู้อื่นและจงศึกษาความรู้จากคนอื่น เมื่อนั้นความร้อนของเจ้าจะแข็งแกร่ง และเจ้าจะรู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้(๔)

๑๕. แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงรำลึกถึงเจ้าอยู่ ดังนั้นเจ้าจงรำลึกถึงพระองค์ และทรงเลี้ยงดูเจ้าอยู่ ดังนั้นจงขอบคุณต่อพระองค์

๑๖. ถ้ากิจกรรมอันเป็นนะวาฟิล(ที่ควรแก่การกระทำ)จะทำลายกิจกรรมอันเป็นวาญิบ ( ข้อบังคับ) เจ้าก็จงละทิ้งนะวาฟิลนั้นเสีย

๑๗. ผู้ใดที่เตือนสติตัวเองอยู่เสมอ หลังจากการเดินทางเขาก็ถูกยอมรับ

๑๘. ระหว่างพวกเจ้ากับคำตักเตือน แท้จริงมันคือม่านแห่งเกียรติยศ

๑๙. ใครที่แสวงหาการเคารพภักดี เขาก็จะได้รับการขัดเกลา

๒๐. การตัดขาดจากความรู้ คือข้อบกพร่องของผู้ศึกษาเล่าเรียน(๕)

๒๑. สิ่งที่ดีที่สุดของความดีงามคือมารยาทที่ดี(๖)

๖๔

----------------------------------------------------

(๑ ) อะอฺยานุช - ชีอะฮฺ ๔ กอฟ ๑๐๗ / ๑

(๒ ) อัลฮะซัน บินอะลี ของอัลดุล - กอดิร อะหมัด อัล - ยูซุฟ ห้า ๖๐

(๓ ) มะฏอลิบุซซุอุล หน้า ๖๙ พิมพ์ครั้งที่ ๑

(๔ ) กัซฟุล - ฆุมมะฮฺ หน้า ๑๗๐

(๕ ) ตะฮัฟฟุล - อุกูล หน้า ๑๖๙

(๖ ) อัล - คิศอล หน้า ๒๙

คำตอบอันชาญฉลาดของท่านอิมามฮะซัน(อ)

ในบทนี้เราขอนำเสนอการตอบปัญหาของท่านอิมามฮะซัน(อ)ในเรื่องที่เกี่ยวกับอัคลาค ( จริยธรรมอันดีงาม) การรู้จักพระผุ้เป็นเจ้าและกิริยามารยาทอันงดงาม คำตอบของท่านอิมาม (อ) นี้

ท่านจะไม่เห็นมันในหนังสือเล่มอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอัคลาค หรือแม้แต่หนังสือของนักปราชญ์แห่งอิสลามเลย บางปัญหาที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ บิดาของท่านคือท่านอะลี อะมีรุลมุมินีน(อ) ได้เคยถามท่านอิมามฮะซัน(อ)แล้ว ท่านก็กล่าวถึงความประเสริฐอันสูงส่งของท่านอิมาม(อ) ยกย่องต่อตำแหน่งอันสูงสุดของท่านอิมาม(อ) อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความดีงามเป็นพิเศษของท่าน

ดูเหมือนว่าบางคำถามยากมากถึง ขนาดที่ว่าไม่น่าจะมีคำตอบเลยเกี่ยวกับคำถามนั้น เช่นคำถามของกษัตริย์โรมัน ซึ่งมันไม่เป็นการง่ายเลยที่จะตอบคำถามเหล่านั้น แต่ทว่าบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)นั้น พวกเขาได้รับการเรียนรู้และการสั่งสอนมาจากบรรพบุรุษของเขา ซึ่งมาจากท่านญิบรออีล อันได้รับมาจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)นั่นเอง

๖๕

เราจะกล่าวถึง บางคำตอบของท่านอิมามฮะซัน(อ)สำหรับคำถามต่าง ๆ ในบางเรื่อง ณบัดนี้

ถาม-ตอบ เรื่องที่ ๑.

ท่านอะลี อะมีรุลมุมินีน(อ)ผู้เป็นบิดาของท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้ถามลูกของท่านดังนี้

ถาม “ โอ้ ลูกรัก สิ่งกีดขวาง คืออะไร? ”

ตอบ “ สิ่งกีดขวางก็ คือ การป้องกันความเลวร้ายด้วยการกระทำความดี ”

ถาม “ การมีเกียรติ คืออะไร? ”

ตอบ “ คือการดูแลวงศาคนาญาติ และการยอมรับความผิด ”

ถาม “ ความเป็นชายชาตรี คืออะไร ?”

ตอบ “ คือการรู้จักหักห้ามใจตัวเอง และการรู้จักใช้ทรัพย์สิน ”

ถาม “ ความเลวทราม ต่ำช้า คืออะไร ?”

ตอบ “ การพิจารณาแบบมักง่าย และขัดขวางผู้ต่ำต้อย ”

ถาม “ สิ่งที่น่ายกย่องคืออะไร ?”

ตอบ “ การอุตสาหพยายามทั้งในยามลำเค็ญและยามสุขสบาย ”

ถาม “ การตระหนี่ คืออะไร ?”

ตอบ “ คือการที่ท่านเห็นสิ่งที่มีอยู่ในมือเป็นความสิ้นเปลือง

(ถ้าจะจ่ายไป) ส่วนสิ่งที่จ่ายไปแล้วถือเป็นความสูญเสีย ”

ถาม “ ภราดรภาพคืออะไร ?”

ตอบ “ ความซื่อสัตย์ต่อสัญญาทั้งในยามทุกข์ยากและเดือดร้อน ”

๖๖

ถาม “ ความขี้ขลาดคืออะไร ?”

ตอบ “ กล้าต่อกรกับเพื่อนฝูง แต่หนีจากศัตรู ”

ถาม “ สิ่งที่ถือว่าเป็นโชคดีคืออะไร ?”

ตอบ “ ความปรารถนาในการสร้างตักฺวา และการอยู่ตามสมควรในโลกนี้ ”

ถาม “ ความอดทน อดกลั้นคืออะไร ?”

ตอบ “ การระงับความโกรธ และควบคุมตนเองได้ ”

ถาม “ ความร่ำรวยคืออะไร ”

ตอบ “ ความพึงพอใจต่อสิ่งที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) จัดสรรให้แม้เพียงน้อยนิด อันที่จริงแล้วความร่ำรวยก็คือจิตใจที่รู้จักพอ ”

ถาม “ ความยากจนคืออะไร ?”

ตอบ “ ความปรารถนา อยากได้ในทุกสิ่ง ”

ถาม “ อุปสรรคคืออะไร ?”

ตอบ “ ความทุกข์ยากแสนลำเค็ญ ”

ถาม “ ความทุกข์คืออะไร ?”

ตอบ “ คำพูดของท่านไม่ได้ให้ความหมายอะไรแก่ตัวท่านเลย ”

ถาม “ ความสง่างามคืออะไร ?”

ตอบ “ การให้แม้อยู่ในสภาพมีหนี้สิน ”

ถาม “ ความรับผิดชอบอยู่ที่ไหน ?”

ตอบ “ การพูดในสิ่งที่มิได้พิสูจน์ ”

ถาม “ ความดีคืออะไร ?”

ตอบ “ การให้ในยามที่ถูกฉ้อฉล และอภัยในยามที่ถูกประทุษร้าย ”

๖๗

ถาม-ตอบ เรื่องที่ ๒

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ถูกถามถึงของสิบชนิดที่มีบางชนิดแข็งแกร่งกว่าอีกชนิดหนึ่ง

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ตอบว่า

“ สิ่งที่แข็งแกร่งที่สุดที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงสร้างมาคือหิน และสิ่งที่แข็งยิ่งกว่ามันก็คือเหล็ก หินจะถูกตัดด้วยกับเหล็ก สิ่งที่แข็งแกร่งยิ่งกว่าเหล็กก็คือไฟ เพราะมันจะหลอมละลายเหล็ก สิ่งที่มีอานุภาพมากกว่าไฟก็คือน้ำ สิ่งที่เหนือกว่าน้ำก็คือก้อนเมฆ สิ่งที่เหนือกว่าก้อนเมฆก็คือลม ซึ่งมันจะพัดพาก้อนเมฆไป สิ่งที่มีอำนาจเหนือกว่าลมก็คือ มะลาอิกะฮฺที่ทำหน้าที่ดูแลเรื่องลม สิ่งที่มีอำนาจเหนือกว่ามะลาอิกะฮฺองค์นั้นก็คือ “ มะลิกุ้ลเม้าตฺ ” ที่ทำหน้าที่ปลิดวิญญาณของมะลาอิกะฮฺองค์นั้น สิ่งที่เหนือกว่า “ มะลิกุ้ลเม้าตฺ ” ก็คือ “ ความตาย ” ซึ่งมันจะปลิดชีวิตของ “ มะลิกุ้ลเม้าตฺ ” เอง

แต่สิ่งที่มีอานุภาพเหนือความตายก็คือคำสั่งของ “ อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ” ที่จะฝังความตายเอาไว้ ”

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๓.

ท่านอิมาม(อ)ถูกถามจากบุคคลหนึ่งว่า

ถาม “ ใครเป็นผู้ใช้ชีวิตได้ดีเลิศที่สุดในหมู่มนุษย์ ”

ตอบ “ ผู้ที่ให้มนุษย์มีส่วนร่วมในการใช้ชีวิตของเขา ”

ถาม “ ใครเป็นผู้ดำรงชีวิตที่เลวที่สุด ”

ตอบ “ คือผู้ที่ไม่ปล่อยให้ใครเข้ามาร่วมในการใช้ชีวิตของเขาเลย แม้แต่คนเดียว ” ( ๑)

( ๑) อัล-ฮะซัน บินอะลี ของอับดุล-กอดิร อะฮฺมัด อัล-ยูซุฟ หน้า ๖๒

๖๘

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๔.

มุอาวิยะฮฺ ถามท่านอิมามฮะซัน(อ)ว่า

“ โอ้ อะบามุฮัมมัด มีอยู่สามสิ่งที่ฉันไม่พบว่า จะมีใครอธิบายมันให้ฉันฟังได้เลย ”

ท่าน(อ) ถามว่า “ เช่นอะไรบ้าง ?”

เขาตอบ “ ความเป็นชายชาตรี เกียรติยศ และความเอื้อเฟื้อ ”

ท่านอิมาม(อ) ตอบว่า

“ ความเป็นชายชาตรีก็คือการที่ชายคนนั้นแก้ไขปรับปรุงตัวในเรื่องกิจการศาสนา และการดำรงไว้ซึ่งทรัพย์สินที่ดีงาม มีการให้ทาน และทักทายด้วยสลาม ให้ความรักใคร่ต่อคนทั้งหลายเกียรติยศหมายถึงการให้ก่อนได้รับการร้องขอ มีคุณธรรมเป็นกุศล ให้อาหารเป็นทาน ความเอื้อเฟื้อคือ มีความกลมเกลียวกับญาติ ปกป้องคุ้มครองกันในยามที่ถูกภาวะที่ถูกรังเกียจ อดทนในยามที่ได้รับความเดือดร้อน ” ( ๒)

( ๒) ตารีคอัล-ยะอฺกูบี เล่ม ๒ หน้า ๒๑๕

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๕.

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ถูกถามถึง “ เรื่องการนิ่งเงียบว่าเป็นอย่างไร ?”

ท่าน(อ)ตอบว่า “ การนิ่งเงียบที่ถูกต้องหมายถึง การปกปิดความลับ การตบแต่งรูปโฉมภายนอก กระทำสิ่งหนึ่งอย่างสบายใจ ผู้ที่ร่วมพูดคุยอยู่ด้วยรู้สึกปลอดภัย ” ( ๓)

( ๓) มะฏอลิบุซ-ซุอูล หน้า ๖๙

๖๙

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๖

กษัตริย์แห่งโรมเขียนจดหมายถึงมุอฺาวิยะฮฺ ถามปัญหาสามข้อคือ

๑- สถานที่ที่เป็นกึ่งกลางของท้องฟ้า

๒- เลือดหยดแรกที่ตกบนโลก

๓- สถานที่ขึ้นของดวงอาทิตย์

เขาไม่สามารถให้คำตอบได้ จึงขอร้องให้ท่านอิมามฮะซัน(อ)ช่วยตอบปัญหานี้

ท่าน(อ)ตอบว่า “ กึ่งกลางของท้องฟ้าอยู่ที่ “ อัล-กะอฺบะฮฺ ” เลือดหยดแรกคือเลือดของท่านหญิง “ เฮาวาอ์ ” สถานที่ขึ้นของดวงอาทิตย์คือดินแดนแห่งทะเลที่ท่านนบีมูซา (อ) ใช้ไม้เท้าฟาด ” ( ๔)

( ๔) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๑๕๒

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๗

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้ตอบคำถามกษัตริย์แห่งโรมอีกครั้งหนึ่งที่ถามท่านว่า “ อะไรที่ไม่มีทิศทางสำหรับตน ใครที่ไม่มีญาติสำหรับเขา ?”

ท่าน(อ)ตอบว่า “ ที่ไม่มีทิศทางสำหรับตนคืออัล-กะอฺบะฮฺ ผู้ที่ไม่มีเครือญาติสำหรับเขาคือพระผู้อภิบาล ” ( ๕)

(๕ ) อัล - มะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๑๕๒

๗๐

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๘.

ชาวชาม(ซีเรีย)คนหนึ่งถามท่านอิมามฮะซัน(อ)

ถาม “ ความห่างกันระหว่างสัจธรรมกับความไม่ถูกต้องมีมากน้อยเพียงใด ?”

ตอบ “ ห่างกันสี่นิ้วมือ กล่าวคือ อะไรที่ท่านเห็นด้วยตานั่นคือสัจธรรม ส่วนอะไรที่ได้ยินกับหูอันนั้นส่วนมากจะไม่ถูกต้อง ”

ถาม “ ความห่างกันระหว่างความศรัทธา (อีหม่าน) กับความเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่ (ยะกีน) มีเท่าใด ?”

ตอบ “ ห่างกันสี่นิ้วมือ กล่าวคือความศรัทธาคือเชื่อในสิ่งที่ได้ยินมา ส่วนความเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่นั้นคือเชื่อในสิ่งที่เห็นมา ”

ถาม “ ระหว่างฟ้ากับพื้นดินห่างกันเท่าไหร่ ?”

ตอบ “ เท่ากับเสียงร้องเรียกของคนที่ถูกอธรรม กับการทอดสายตาไปมอง ”

ถาม “ ทิศตะวันออกกับทิศตะวันตกห่างกันเท่าใด ?”

ตอบ “ เท่ากับระยะทางเดินของดวงอาทิตย์ ” ( ๖)

(๖ ) อัล - มะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๑๕๒

๗๑

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๙.

ครั้งหนึ่งท่านอิมามฮะซัน(อ)นั่งอยู่ในมัสญิด มีประชาชนอยู่รายล้อมท่าน มีชายคนหนึ่งก้าวเข้ามาในมัสญิด แล้วเขาก็พบว่ามีคนๆ หนึ่งกำลังพูดถึงท่านศาสนทูต(ศ)อยู่ ซึ่งมีผู้คนนั่งอยู่ด้วย เขาก็เดินไปหาชายคนนั้นแล้วถามว่า

“ จงบอกฉันซิว่า ใครคือชาฮิด(ผู้เป็นพยาน) และใครคือมัชฮูด(ผู้ได้รับการเป็นพยาน) ”

ชายคนที่หนึ่งตอบว่า

“ ชาฮิดหมายถึงวันศุกร์ มัชฮูดหมายถึงวันอะร่อฟะฮฺ ”

ชายคนนั้นก็เดินไปถามชายคนที่สองที่ในมัสญิดด้วยว่า

“ ชาฮิดและมัชฮูดหมายถึงอะไร ?”

ชายคนที่ถูกถาม ตอบว่า

“ ชาฮิดคือวันศุกร์ ส่วนมัชฮูดคือวันแห่งการเชือดกุรบานในพิธีฮัจญ์ ”

เขาจึงเดินไปถามชายคนที่สามในปัญหาเดียวกัน

ชายคนที่สามตอบว่า

“ ชาฮิดหมายถึง ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ส่วนมัชฮูดหมายถึงวันฟื้นคืนชีพ ; ดังที่ฉันได้ยินโองการของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ที่ว่า:

“ โอ้ผู้เป็นนบี แท้จริงเราได้ส่งเจ้ามาเพื่อเป็นสักขีพยาน(ชาฮิด) เป็นผู้แจ้งข่าวดี และเป็นผู้ตักเตือนให้ระวังภัย ”

๗๒

และโองการที่ว่า :

“ วันนั้นที่เป็นศูนย์รวมของประชาชน และนั่นคือวันที่ได้รับการเป็นพยานยืนยัน(มัชฮูด) ”

ชายผู้ตั้งคำถามได้ถามคนทั้งหลายว่า “ พวกเขาสามคนคือใคร ?”

คนที่อยู่ในมัสญิดตอบว่า “ ชายคนแรกคือท่านอิบนุอับบาส ชายคนที่สองคือ ท่านอิบนุอุมัร ชายคนที่สามคือท่านอิมามฮะซัน บุตรของอะลี อิบนิ

อะบีฏอลิบ (อ) ” ( ๗)

(๗ ) นูรุล - อับศ็อร หน้า ๑๗๓

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๑๐.

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ถูกถามเกี่ยวกับเรื่องการเมือง

ท่าน(อ)ตอบว่า “ การเมือง คือการที่ท่านจะต้องดูแลรักษาส่วนที่เป็นสิทธิของอัลลอฮฺ สิทธิของคนที่มีชีวิตอยู่ และสิทธิของคนที่ตายไปแล้ว

ในส่วนที่เป็นสิทธิของอัลลอฮฺนั้น หมายถึงท่านจะต้องปฏิบัติในสิ่งที่พระองค์ทรงใช้ และหลีกห่างจากสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม

ในส่วนที่เป็นสิทธิของคนที่มีชีวิต ก็คือท่านจะต้องดำรงไว้ซึ่งสิทธิหน้าที่ของท่านเพื่อพี่น้อง ประชาชนของท่าน อย่าล่าช้าจากการรับใช้เหล่าข้าบริวารของท่าน และจะต้องทำหน้าที่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ต่อผู้ปกครอง

เท่าๆ กับที่ทำหน้าที่อย่างบริบูรณ์ต่อข้าทาษบริวาร ต้องสลัดทิ้งความชิงชังออกไปในยามประสบกับอุปสรรคในเส้นทางที่ราบเรียบ

๗๓

ในส่วนที่เป็นสิทธิของผู้ตายนั้น ก็คือจะต้องรำลึกถึงความดีงามของเขาและโกรธคนที่มุ่งร้ายต่อเขา ดังนั้นสำหรับพวกเขาแล้วมีพระผู้อภิบาลทำหน้าที่ตัดสินตอบแทนอยู่ ” ( ๘)

(๘ ) ฮะยาตุล - อิมามฮะซัน บินอะลี ( อ ) ของอัล - กุรชี เล่ม ๑ หน้า ๑๔๓

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๑๑.

มุอาวิยะฮฺได้ถามท่านอิมามฮะซัน(อ) ว่า

“ อะไรที่จำเป็นบ้างในเรื่องการปกครองของเรา ?”

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ตอบว่า

“ มันคือเรื่องที่ท่านนบีซุลัยมาน(อ) บุตรของนบีดาวูด(อ)ได้กล่าวไว้ ”

มุอาวิยะฮฺ ถามว่า

“ ท่านนบีซุลัยมาน(อ)กล่าวไว้อย่างไร ?”

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ตอบว่า

“ ท่านนบี(อ)กล่าวกับสาวกคนหนึ่งของท่านว่า :

“ เจ้ารู้หรือไม่ว่า หน้าที่ที่จำเป็นสำหรับกษัตริย์ในการปกครองคืออะไรบ้าง และอะไรบ้างที่ไม่เป็นอันตรายแก่เขาในยามที่เขาปฏิบัติ

นั่นคือ เขาต้องยำเกรงต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทั้งในยามลับและในยามเปิดเผย ต้องยุติธรรมทั้งในยามโกรธและยามพึงพอใจ ต้องเข้าหาทั้งคนยากจนและคนร่ำรวย ต้องไม่แสวงหาทรัพย์สินในทางมิชอบ ต้องไม่ใช้จ่ายทรัพย์สินอย่างฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย สิ่งบำเรอความสุขทางโลกจะต้องไม่นำอันตรายมาสู่เขา ในยามที่เขาอยู่ตามลำพัง ” ( ๙)

(๙ ) ตารีคอัล - ยะอฺกูบี เล่ม ๒ หน้า ๒๐๒

๗๔

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๑๒.

ครั้งหนึ่งท่านอิมามฮะซัน(อ)กำลังเวียนฏ่อว๊าฟบัยตุลลอฮฺอยู่ มีชายคนหนึ่งเข้ามาถามท่านว่า

“ คำว่าอัล-ญะวาด(ผู้เอื้ออารี) หมายความว่าอย่างไร ?”

ท่านอิมาม(อ)ตอบว่า “ คำถามของท่านมีความหมายสองแง่ กล่าวคือ

ถ้าถามในแง่ของผู้ถูกสร้าง อัล-ญะวาด หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างสมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ข้อบังคับที่มีต่อตัวเอง เพราะคนตระหนี่หมายถึงคนที่ตระหนี่ในสิ่งที่เป็นหน้าที่และข้อบังคับของตัวเอง แต่ถ้าท่านถามในแง่ของผู้สร้าง อัล-ญะวาดหมายถึงผู้ที่จะประทานให้ก็ได้ ไม่ให้ก็ได้ เพราะว่าถึงแม้พระองค์จะให้อะไรแก่บ่าวคนหนึ่ง พระองค์ก็ให้แก่เขาซึ่งสิ่งของที่มิได้เป็นของเขา และถ้าพระองค์จะไม่ประทานให้ ก็เป็นสิทธิของพระองค์เพราะสิ่งนั้นก็มิได้เป็นของเขาเหมือนกัน ” ( ๑๐)

(๑๐ ) ฮะยาตุล - อิมามฮะซัน บินอะลี ของอัลกุรชี เล่ม ๑ หน้า ๑๔๔

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๑๑.

ชายคนหนึ่งถามท่านอิมามฮะซัน(อ)ว่า

“ โอ้บุตรของท่านศาสดา โปรดกล่าวถึงคุณลักษณะของพระผู้อภิบาลให้ฉันฟัง ให้เหมือนกับที่ฉันกำลังมองเห็นพระองค์ซิ ”

๗๕

ท่านอิมาม(อ)สะดุ้งเล็กน้อย แล้วแหงนศีรษะขึ้นมาพลางกล่าวว่า

“ ข้าขอสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ พระองค์ไม่มีการเริ่มต้นตามที่เข้าใจกัน พระองค์ไม่มีสภาวะสุดท้ายอันเป็นที่สิ้นสุด ไม่มีอะไรมีมาก่อน

ไม่มีขอบเขตใดๆ อยู่ข้างหลัง ไม่มีระยะทางเพื่อไปหา

ไม่เป็นเรือนร่างเพื่อแยกส่วน ไม่มีความแตกต่างกันในคุณลักษณะ

หนึ่งๆ ที่ยุติได้ ไม่มีปัญญาใดเข้าถึงและวาดมโนภาพได้ ไม่ปรากฏบนสิ่งใดๆ และไม่แอบแฝงภายในสิ่งใดๆ ไม่ทอดทิ้งอะไรโดยไม่มีพระองค์ทรงสร้างสิ่งนั้น แล้วทรงให้การเริ่มต้นอันวิจิตรพิศดาร ทรงให้ความพิศดารแก่สิ่งที่ทรงให้การเริ่มต้น และทรงกระทำตามที่พระองค์ทรงประสงค์ นี่คือพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ” ( ๑๑)

(๑๑ ) อัต - เตาฮีด หน้า ๔๖

ถาม-ตอบเรื่องที่ ๑๔.

มีเรื่องเล่าว่า ท่านอิมามฮะซัน(อ) อาบน้ำแล้วออกจากบ้านอย่างสง่าผ่าเผย เรือนร่างทุกส่วนสะอาด มีพาหนะเดินทางที่ดี มีเสบียงเป็นสัดส่วนอย่างเรียบร้อย ใบหน้าของท่านผ่องใส บุคลิกลักษณะของท่านมีสง่าราศีบริบูรณ์งามเด่น ให้การต้อนรับคนทั้งหลายด้วยความปราณียิ้มแย้มแจ่มใส เบิกบาน มีผู้ตัดสินแล้วว่าความสุขอยู่ที่ความยุติธรรมของท่าน

ท่านขี่ม้าตัวใหญ่ที่สมบูรณ์ ท่านเดินไปท่ามกลางการต้อนรับเป็นแถวเรียงราย ถ้าหากท่านอับดุลมะนาฟ(ปู่ทวดของท่าน) ได้เห็นท่านคงอดไม่ได้ที่จะต้องภาคภูมิใจบรรพบุรุษทั้งหลายของท่านจะต้องปลาบปลื้มเป็นล้นพ้น

๗๖

ในเส้นทางที่ท่านเดินมีชาวยิวที่แร้นแค้นคนหนึ่งพำนักอยู่ เขาประสบความล้มเหลวด้วยสาเหตุต่างๆ มีความเป็นอยู่ที่ตกต่ำ รายได้น้อย ขาดแคลนอาหารถึงขนาดหนังหุ้มติดกระดูก อ่อนระโหยโรยแรงถึงขนาดทรงตัวเกือบไม่ได้ และเลวยิ่งกว่านั้นสิ่งที่เขารักคือนกพิราบตัวหนึ่ง ยามดวงอาทิตย์ขึ้นแดดก็แผดเผาจนไหม้เกรียม ความเป็นอยู่ของเขาสุดแสนทรมาน เป็นอยู่อย่างนี้มานานแสนนาน เขาถือถังน้ำที่เต็มปริ่ม ในขณะนั้นหัวใจของเขาแข็งกร้าว เมื่อได้แลเห็นคนๆ หนึ่งปรากฏว่าท่านอิมาม(อ)หยุดยืนอยู่ต่อหน้าเขา เขากล่าวว่า

“ ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ จงให้ความเป็นธรรมต่อฉันด้วย ”

ท่านอิมาม(อ)ย้อนถามว่า “ เรื่องอะไรหรือ ?”

เขาตอบว่า “ ท่านตาของท่านเคยกล่าวว่า “ โลกนี้คือคุกของผู้ศรัทธา แต่เป็นสวรรค์ของผู้ปฏิเสธ (กาฟิร) ”

“ ในเมื่อท่านเป็นผู้ศรัทธา ส่วนฉันเป็นผู้ปฏิเสธ แล้วไฉนฉันจึงเห็นว่าโลกนี้เป็นสวรรค์สำหรับท่าน ท่านช่างมีความสุขและมีความอิ่มเอิบกับรสชาดของมันเสียเหลือเกิน แต่ดูไปแล้วมันกลับเป็นคุกสำหรับฉันเสียมากกว่า เพราะมันทำลายชีวิตฉันเสียยับเยิน มันให้แต่ความยากจนข้นแค้นแก่ฉันตลอดมา ”

เมื่อท่านอิมาม(อ)ได้ยินเช่นนั้น ท่านก็อธิบายให้ความสว่างแก่เขา โดยเผยคำตอบออกมาจากความรู้อันเปรียบดังขุมคลังแห่งความรู้ของท่าน

๗๗

ท่านอธิบายให้แก่ชาวยิวผู้เข้าใจผิดคนนั้นว่า

“ โอ้ท่านผู้อาวุโส ถ้าหากท่านได้แลเห็นสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงสัญญาไว้กับฉันและบรรดาผู้ศรัทธาไว้ในปรโลก อันเป็นสิ่งที่สายตามองไม่เห็น หูไม่ได้ยิน แน่นอนที่สุดท่านจะรู้ได้เลยว่า ชีวิตในโลกนี้ก่อนที่ฉันจะย้ายไป มันเป็นเพียงแค่สถานที่กักกันเท่านั้น และถ้าหากท่านสามารถมองเห็น

สิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)สัญญาไว้กับท่านและผู้ปฏิเสธทุกคนในปรโลกแล้วไซร้ จะเห็นว่ามันคือไฟนรกอันร้อนแรงลุกโชติช่วง เป็นการลงโทษอันถาวรแน่นอนที่สุด ท่านต้องจะเห็นว่า โลกที่ท่านอาศัยอยู่ขณะนี้คือสวรรค์อันกว้างใหญ่ มีศูนย์รวมแห่งความโปรดปรานพร้อมบริบูรณ์ ” ( ๑๒)

(๑๒ ) กัซฟุล - ฆุมมะฮฺ หน้า ๑๖๓

๗๘

คำวิงวอน

บทคำวิงวอนขออันเป็นส่วนเฉพาะตัวของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)นั้น ทุกท่านต่างก็มีคำวิงวอนอย่างมากมายโดยได้รับการเก็บรักษาไว้เพียงจำนวนหนึ่งบรรดานักปราชญ์ได้รวบรวมบทดุอาอ์ของบุคคลเหล่านี้ไว้ในตำราต่าง ๆ เป็นอันมาก

นอกจากนี้ ในความหมายของบทดุอาอ์ดังกล่าวยังมีเรื่องการสรรเสริญอัลลอฮฺ(ซ.บ.) การแสดงความนอบน้อมต่อพระองค์ ถ่อมตนอย่างสุดซึ้งต่อพระองค์ อันหมายถึงเป็นศูนย์รวมแห่งคำสอนต่างๆ ทั้งจริยธรรม มารยาท ความรู้ในเรื่องราวของพระผู้เป็นเจ้า และความสมบูรณ์ต่างๆ ใน

บทนี้เราจะกล่าวถึงบทดุอาอ์ของท่านอิมามฮะซัน(อ) อย่างสั้นๆ บางประการ

บทที่ ๑.

ครั้งหนึ่งมุอาวิยะฮฺได้นำชาวกุเรชกลุ่มหนึ่งมาหาท่าน โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำร้ายท่าน ท่านอิมามฮะซัน(อ) ได้วิงวอนขอดุอาอ์ว่า

“ ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้าขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากความชั่วร้ายของคนเหล่านั้น ฉันขอให้พระองค์ปกป้องการทำร้ายโดยคนเหล่านี้ และขอความช่วยเหลือจากพระองค์เกี่ยวกับคนเหล่านี้ ขอให้โปรดปกป้องข้าให้พ้นจากพวกเขา ไม่ว่าโดยวิธีใดที่พระองค์ทรงประสงค์ และฉันก็ปรารถนาด้วยอำนาจและพลังของพระองค์ ข้าแต่พระผู้ทรงเมตตายิ่งกว่าผู้มีความเมตตาใดๆ ” ( ๑)

(๑ ) ชัรฮฺ นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ เล่ม ๒ หน้า ๑๐๑

๗๙

บทที่ ๒.

เมื่อท่านอิมามฮะซัน(อ)ไปถึงประตูมัสญิด ท่านแหงนศีรษะขึ้นแล้ว

กล่าวว่า

“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า แขกของพระองค์มาถึงประตูของพระองค์แล้ว ข้าแต่ผู้ทรงไว้ซึ่งความดีงาม คนที่ทำความผิดพลาดมาหาพระองค์แล้ว ขอได้โปรดสลัดความน่าชังที่มีอยู่ในตัวข้าออกไปโดยความดีงามที่มีอยู่

ณ พระองค์ด้วยเถิด ข้าแต่พระผู้ทรงเกียรติยิ่ง ” ( ๒)

(๒ ) อัล - มัดค็อล อิลา เมาซูอะติล - อะตะบาต อัล - มุก็อดดะซะฮฺ หน้า ๑๘

บทที่ ๓.

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้สอนดุอาอ์บทหนึ่งให้แก่ผู้ที่ได้รับความไม่เป็นธรรม วิงวอนขอเพื่อป้องกันผู้อธรรม หลังจากนมาซสองร็อกอะฮฺแล้ว ซึ่งปรากฏว่าเป็นที่ได้รับการตอบสนอง ดังนี้

“ ข้าแต่พระผู้ทรงไว้ซึ่งความเข้มงวดแห่งสถานการณ์ที่เป็นไป ข้าแต่ผู้ทรงพลัง ข้ามีความ

ต่ำต้อยต่อเกียรติยศของพระองค์ยิ่งกว่าอะไรทั้งหมดที่ทรงสร้างมา ขอได้โปรดปกป้องข้าให้พ้นจากความชั่วร้ายของ ( ให้กล่าวนามศัตรู) …… ตามที่พระองค์ทรงประสงค์ ” ( ๓)

(๓ ) อัล - มุจญตะนา มินัดดุอาอิล - มุจยตะบา หน้า ๓

๘๐

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134