มนุษย์ผู้สมบูรณ์

มนุษย์ผู้สมบูรณ์25%

มนุษย์ผู้สมบูรณ์ ผู้เขียน:
ผู้แปล: สัยยิด อาบูอีมาน ชาห์ฮุซัยนี
กลุ่ม: อิมามอลี
หน้าต่างๆ: 151

  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 151 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 14496 / ดาวน์โหลด: 5285
ขนาด ขนาด ขนาด
มนุษย์ผู้สมบูรณ์

มนุษย์ผู้สมบูรณ์

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

มนุษย์ผู้สมบูรณ์

Perfect Man

โดย/By

ชะฮีด มุรตะฎอ มุเฏาะฮารี

SHAHID MURTAZA MUTAHHARI

ผู้แปล/ จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ

Translated by

สัยยิด อาบูอีมาน ชาห์ฮุซัยนี

HAJI SYED ABU-IMANSHA HUSEINI

ที่ปรึกษา/

Critic Adviser

ฮุจญะตุ้ลอิสลาม, อัสสะดุลลอฮ อีซาลัต

HUJJATUL ISLAM HAJI SHEIK ASSADULLAH ESSALAT

จัดพิมพ์และแก้ไขเพิ่มเติมโดยเว็บไซต์อัลฮะซะนัยน์

Alhassanain.org/thai

คำนำของผู้แปล

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตานิรันดร

การสรรเสริญทั้งมวลเป็นของอัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลจักรวาล

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่านศาสดามุฮัมมัดและบรรดาทายาทผู้บริสุทธิ์อะหฺลิลบัยตฺของท่าน

บทความเรื่อง มนุษย์ผู้สมบูรณ์ ที่ถูกนำมาถอดความเป็นภาษาไทยซึ่งท่านถืออยู่ในมือขณะนี้ ทั้งหมดเป็นคำปราศรัยของท่านอัชชะฮีดอยาตุลลอฮ์

มุรตะฎอ มุเฏาะฮารี ซึ่งท่านได้ปราศรัยแก่บรรดานักศึกษาและประชาชนตามสถานที่ต่างๆกันในเดือนรอมฎอนปี ๑๙๗๔ จากถ้อยคำของท่านซึ่งได้ถูกนำมาบรรจุไว้ในหนังสือ “ อินซานกาเม้ล ” ( ชื่อภาษาฟารซี) หรือ

“ มนุษย์ผู้สมบูรณ์ ” และจากนั้นได้แปลความหมายจากภาษาฟารซีมาเป็นภาษาอังกฤษโดยดร.อาลาดิน เจตนารมณ์ของท่านอยาตุลลอฮ์ อัชชะฮีด

มุรตะฎอ มุเฏาะฮารี ที่เกี่ยวกับการให้ความกระจ่างในเรื่องความเป็นมนุษย์ของมนุษย์ผู้สมบูรณ์โดยการอรรถาธิบายของท่านนั้น ก็เพื่อที่จะชี้นำให้เห็นถึงวิถีทางของมนุษย์ผู้สมบูรณ์ที่แท้จริงในอิสลามโดยมีอัลกุรอานและ

อัลฮาดิษเป็นบรรทัดฐานและบางครั้งท่านผู้อ่านจะพบกับถ้อยคำที่แสดงการไม่เห็นพ้องกับบรรดาผู้รู้อิสลามบางกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นทางสายของอิรฟาน

(ผู้รู้ที่ใช้วิจารณญาน) , กลุ่มตะเซาวุฟ(กลุ่มผู้เดินทางโดยจิตวิญญาณในการแสวงหาพระผู้เป็นเจ้า,กลุ่มปัญญาชน(ผู้ใช้สติปัญญาหาเหตุผล)

ตลอดจน พวกซูฟีที่ปฏิบัติตนเสมือนนักพรตดาบสหรือฤาษี และบรรดากลุ่มชนผู้แสวงหาความเป็นมนุษย์ผู้สมบูรณ์อย่างเลยเถิด หรือบรรดาผู้ซึ่งยืนหยัดอยู่บนคุณค่าเดียวของความสมบูรณ์ในอิสลาม

ท่านได้เน้นให้เห็นถึงคุณค่าแห่งความสมบูรณ์หลายในทุกๆคุณค่าของมนุษย์ในอิสลามและพิจารณาว่ามนุษย์ผู้สมบูรณ์จะต้องมีแง่มุมต่างๆพร้อมกัน

ทุกด้านในตัวของเขา มิใช่โน้มไปสู่ด้านใดด้านหนึ่งเพียงเท่านั้นและแบบอย่างของมนุษย์ผู้สมบูรณ์ที่แท้จริงนั้น ท่านได้ชี้นำไปยังท่านศาสดา(ซ.ล)และอิมามอาลี(อ.)ตลอดจนบรรดาอะอิมมะฮฺ(อิมาม)จากครอบครัว

อะหฺลิลบัยตฺของท่านศาสดา ( ซ.ล) ที่เป็นมนุษย์ซึ่งมีทุกๆคุณค่ารวมอยู่ในตัวของพวกท่านเหล่านั้นทั้งหมดซึ่งท่านผู้อ่านสามารถที่จะแสวงหาคุณสมบัติของมนุษย์ผู้สมบูรณ์จากคำบรรยายของท่านที่องค์กรต่างๆได้นำมาเสนอ

เป็นลายลักษณ์อักษรภายในหนังสือมนุษย์ผู้สมบูรณ์เล่มนี้ตามความปรารถนา

ขอขอบคุณต่ออัลลอฮฺ ( ซ.บ) พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งที่ทำให้ด้วยกับความรู้อย่างผู้แปล ได้มีโอกาสพบกับท่านฮุจญะตุ้ลอิสลาม อัสสะดุลลอฮฺ อีสาลัต ซึ่งเป็นอาจารย์ผู้สอนวิชาตัฟซีรพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานภาคภาษาอังกฤษในเมืองกุมและมีโอกาสได้รับคำแนะนำและเพิ่มเติมความหมายที่สำคัญทั้งหลายจากบทความ ตลอดจนความลึกล้ำแห่งบทกวีจากต้นฉบับเดิมที่เป็นภาษาฟารซี จนกระทั่งได้ทำให้หนังสือมนุษย์ผู้สมบูรณ์เล่มนี้ไปสู่จุดแห่งความสมบูรณ์มากขึ้น

ขออัลลอฮฺ(ซ.บ)ผู้ทรงเกรียงไกรได้ทรงโปรดปกป้องคุ้มครองบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายและทรงโปรดประทานแนวทางนี้ให้แก่บรรดาผู้ศึกษาค้นคว้าแสวงหาแนวทางที่เที่ยงตรงเหล่านั้นโดยทั่วหน้ากัน

ภาคที่หนึ่ง มนุษย์ผู้สมบูรณ์

มนุษย์ที่บกพร่องกับมนุษย์ที่ปกติดี

การสรรเสริญทั้งมวลเป็นสิทธิแด่เอกองค์อัลลอฮ์

ขอความจำเริญและสันติพึงมีแด่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) และ

อะฮ์ลุลบัยต์ ผู้บริสุทธิ์ทั้งหลายของท่าน

อัลลอฮ์ทรงตรัสในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานว่า

“และจงรำลึกถึง ขณะที่พระผู้อภิบาลของอิบรอฮีมได้ทดสอบเขา ด้วยพระบัญชาบางประการ แล้วเขาก็ได้สนองตามพระบัญชานั้นโดยครบถ้วน พระองค์ตรัสว่า แท้จริงข้าจะให้เจ้าเป็นผู้นำมนุษย์ชาติ เขากล่าวว่า และจากลูกหลานของข้าพระองค์ด้วย พระองค์ตรัสว่า สัญญาของข้านั้นจะไม่ได้แก่บรรดาผู้อธรรม”

ภายใต้การบรรยายในหัวข้อเรื่อง“ มนุษย์ผู้สมบูรณ์ ” จากทัศนะของอิสลาม

มนุษย์ผู้สมบูรณ์ หมายถึง มนุษย์ผู้เป็นแบบอย่างซึ่งสูงส่งและเลิศเลอหรือการแสดงความหมายใดๆอื่นที่บุคคลสามารถจะกล่าวได้ว่ามนุษย์ก็เหมือนกับสิ่งอื่นๆทุกสิ่งอาจจะสมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์ ปกติดีหรือบกพร่อง ผู้ที่ปกติดีก็เช่นเดียวกันอาจจะปกติและสมบูรณ์ทั้งสองอย่างหรือปกติดีแต่ไม่สมบูรณ์ก็ได้

การรู้จักมนุษย์ผู้สมบูรณ์หรือมนุษย์ผู้เป็นแบบอย่างจากแง่คิดแห่งอิสลามนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเรามุสลิมทั้งหลาย

แนวทางในการรู้จักมนุษย์ผู้สมบูรณ์ในทัศนะอิสลาม

เพราะว่าเป็นประหนึ่งแบบอย่างและตัวอย่างอันล้ำเลิศ ความพยายามที่จะให้เท่าเทียมกันซึ่งเราอาจทำได้ ถ้าเรามีความประสงค์ที่จะให้ความเป็นมนุษย์ของเราบรรลุถึงความสมบูรณ์ภายใต้คำสอนทั้งหลายแห่งอิสลามเพราะฉะนั้น เราควรจะได้รับรู้ว่ามนุษย์ผู้สมบูรณ์คืออะไร ไฉนเขาจึงถูกมองประหนึ่งผู้สมถะและผู้เลิศล้ำในทางสติปัญญาและอะไรเป็นลักษณะพิเศษทั้งหลายของเขาเพื่อว่าเราอาจจะได้ตระเตรียมตัวของเราเอง สังคมของเราและปัจเจกชนอื่นๆทั้งหลายของเราให้วางอยู่บนแบบอย่างที่ดีเลิศอันนั้นได้ แต่มาตรว่าเรามิได้รู้จักว่ามนุษย์ผู้สมบูรณ์ในอิสลามเป็นเช่นไร

แน่นอนที่สุด เราก็มิสามารถที่จะกลายมาเป็นมุสลิมผู้สมบูรณ์ได้หรือแม้แต่จะเทียบเคียงกันสักอย่างเดียวกับมนุษย์ผู้สมบูรณ์ก็ไม่ได้มาจากทัศนะของอิสลาม มีอยู่สองแนวทางที่จะรู้บุรุษผู้สมบูรณ์ วิธีหนึ่งก็คือทำการตรวจสอบจากอัลกุรอานว่าเป็นอย่างไร เป็นประการแรก และจากสุนนะฮ์(อัลฮาดีษ)เป็นประการที่สองที่ได้กำหนดความชัดเจนของมนุษย์ผู้สมบูรณ์ไว้

แม้ว่ามันจะหมายถึง การเป็นผู้สมบูรณ์ด้านการศรัทธาและการเป็นมุสลิมที่ดีเลิศกระนั้นก็ตาม มุสลิมผู้สมบูรณ์ คือ บุคคลผู้ซึ่งได้บรรลุถึงความสมบูรณ์ในอิสลาม ผู้ศรัทธาที่สมบูรณ์ ก็คือ ผู้ซึ่งบรรลุแล้วซึ่งความสมบูรณ์พร้อมในการศรัทธาของเขา

ณ บัดนี้ เราจะต้องตรวจสอบกันว่าพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานหรือสุนนะฮฺได้พูดถึงบุคคลดังกล่าวไว้อย่างไร และด้วยลักษณะพิเศษอันใด โดยบังเอิญเรามีหลายสิ่งหลายอย่างที่จะอ้างถึงจากแหล่งที่มาของทั้งสองสิ่ง(อัลกุรอานและอัล-ฮาดีษ) แนวทางที่สอง ก็คือ การพิจารณาความเป็นอยู่อย่างแท้จริง

ของบรรดาปัจเจกบุคคลผู้ซึ่งสร้างสมแนวทางตามแบบอย่างอันล้ำเลิศแห่งคัมภีร์อัลกุรอานและอิสลามมิใช่ที่อุปโลกน์ขึ้นมาเองหรือตามความนึกฝันแต่เป็นความจริงแท้และบุคคลิกภาพตามความเป็นจริงซึ่งดำรงอยู่

อย่างหลากหลายในขั้นตอนต่างๆของความสมบูรณ์ที่ระดับอันสูงส่งของมันหรือแม้แต่ ณ ขั้นตอนอันแสนต่ำต้อยบอบบางก็ตาม ที่ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล) ผู้ทรงเกียรติ คือแบบอย่างแห่งมนุษย์ผู้สมบูรณ์ในอิสลาม

และอิมามอาลี (อ) ก็คือ อีกแบบอย่างหนึ่งการรู้จักมนุษย์ผู้สมบูรณ์ หมายความว่า การรู้จักท่านอย่างละเอียดถี่ถ้วนมิใช่รู้จักเพียงแต่ชื่อการสืบตระกูลหรือหลักฐานการแสดงตัว (บัตรประชาชน) ของท่านเพียงเท่านั้น

บางทีเราอาจจะรู้จักท่านดังนี้ เช่น อาลี คือ บุตรของอบูฏอลิบและเป็นหลานชายของอับดุลมุฏฏอลิบและมารดาของท่านคือ ฟาติมะฮฺบุตรีของ

อะซัด และภรรยาของท่านคือ ฟาติมะฮฺ ซะฮฺรอ(อ)และเขาเป็นบิดาของฮะซันและฮุเซน กับวันเดือนปีที่ท่านเกิดและเสียชีวิตและสนามรบใดๆที่ท่านได้ทำการต่อสู้และอื่นๆ ฯลฯ

แต่ว่าการรู้จักเช่นนี้เป็นการรู้จักเพียงบัตรประชาชนของท่านเพียงเท่านั้นและหาได้เกี่ยวกับท่านในฐานะที่เป็นมนุษย์ผู้สมบูรณ์ ไม่การยอมรับอาลี (อ) หมายถึง การรู้จักบุคลิกลักษณะของท่านมากไปกว่าการรู้จักตัวตนของท่านถึงขั้นที่เราได้ทำความคุ้นเคยกับบุคลิกภาพทั้งหมดของท่านในฐานะมนุษย์ผู้สมบูรณ์แห่งอิสลามและจนกระทั่งถึงขั้นที่เราได้เอาท่านมาเป็นแบบอย่างที่ดีและยอมรับท่านอย่างแม้จริงมิใช่ตามตัวอักษร

ความแตกต่างของคำว่า “สำเร็จ” กับ “สมบูรณ์

แต่ในฐานะผู้นำและอิมามของเรา เมื่อเราปฏิบัติตามและเอาเยี่ยงอย่างท่านและเราก็จะเป็นชีอะฮฺ ผู้ปฏิบัติตามมนุษย์นั้น ชีอะฮฺ หมายถึง บุคคลผู้ซึ่งร่วมแนวทางของอาลี (อ) มิใช่ด้วยเพียงถ้อยคำหรือความรู้สึกทางจิตใจเท่านั้นแต่ด้วยการกระทำโดยเจริญรอยตามท่าน ตลอดจนการปฏิบัติตามในทางปรัชญาและข้อกำหนดในทางการศึกษาวิชาการทั้งหลายอย่างล้ำลึก

แนวทางทั้งสองในการรู้จักมนุษย์ผู้สมบูรณ์นี้มิใช่จะเป็นเพียงแต่ประโยชน์ในทางทฤษฎีเท่านั้น แต่เราจะต้องให้ความรู้ดังกล่าวนี้เพื่อที่จะปฏิบัติตามแนวทางทั้งหลายที่เปิดเผยโดยอิสลามในอันที่จะได้มาเป็นมุสลิมที่แท้จริงและทำให้เป็นสังคมอิสลามอย่างเที่ยงแท้ด้วยแนวทางเช่นนี้ได้ถูกแสดงออกมาอย่างเปิดเผยและผลลัพธ์ก็ได้ถูกอรรถาธิบายมาแล้ว แต่คำถามก็ได้เกิดขึ้นเกี่ยวกับความหมายของความสมบูรณ์บางสิ่งบางอย่างอาจจะดูประหนึ่งว่าแจ่มชัดแต่สิ่งทั้งหลายที่แสดงออกโดยชัดแจ้ง บางครั้งก็ยากที่จะอธิบายยิ่งไปกว่าเรื่องราวทั้งหลายที่ลำบากสับสนเสียอีก

ในภาษาอาหรับคำสองคำที่มีความหมายว่า “ สมบูรณ์ ” และคำว่า “ สำเร็จ ” เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงซึ่งกันและกันแต่ก็มิได้ถูกต้องคล้ายคลึง

แน่นอนเสียทีเดียวในความหมายและคำทั้งสองมีความตรงกันข้ามในความหมายของข้อบกพร่อง

ความแตกต่างในระหว่างคำทั้งสองมีดังนี้ คำว่า “ สำเร็จ ” บ่งบอกถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งได้มีการจัดเตรียมไว้ตามแผนงาน เช่น บ้านหลังหนึ่งหรือมัสยิด ถ้าหากว่าส่วนหนึ่งของมันไม่เสร็จสิ้นมันเป็นความไม่สมบูรณ์หรือขาดตกบกพร่อง

แต่บางอย่างอาจจะสำเร็จและจนบัดนี้ในข้อนั้นอาจจะคงอยู่ว่า

ความสมบูรณ์ ความสำเร็จ คือ ความเจริญก้าวหน้าตามแนบราบไปยังจุดสูงสุดของการพัฒนา

ส่วนความสมบูรณ์ คือ แนวตั้งฉากที่ได้ขึ้นไปสู่ระดับขั้นสูงสุดอย่างเป็นไปได้ เมื่อเราพูดถึงความสมบูรณ์วิทยปัญญาหรือความรู้ก็จะอ้างอิงไปถึงระดับขั้นอันสูงส่งของความรู้และวิทยปัญญาที่มีอยู่ก่อนแล้ว มนุษย์คนหนึ่งอาจจะสำเร็จในความรู้ตามแนวราบโดยปราศจากการเป็นผู้สมบูรณ์ไปตามแนวตั้งฉากซึ่งมีผู้คนเป็นผู้สำเร็จเพียงครึ่งเดียวหรือแม้น้อยนิด ยิ่งไปกว่านั้น แต่เมื่อบรรลุถึงการทำให้สมบูรณ์แล้วยังคงมีระดับสูงส่งหลายระดับของความสมบูรณ์ กระทั่งถึงสภาพสมบูรณ์ที่ดีเลิที่สุด

การใช้ศัพท์ของคำว่า “มนุษย์ผู้สมบูรณ์”

คำว่า สมบูรณ์นี้ มิได้มีอยู่ในอักษรศาสตร์อิสลามจนกระทั่งถึงศตวรรษที่เจ็ดของฮิจเราะฮ์ศักราช ปัจจุบันที่ใช้กันมากในแถบประเทศยุโรป แต่ได้มีการใช้เป็นครั้งแรกในโลกอิสลามโดย อะรีฟผู้มีชื่อเสียง คือ ท่านมุฮฺยิดดีน

อารอบี อันดาลูซีย์ ผู้ซึ่งเป็นบิดาแห่งวิชาอิรฟานอิสลามและบรรดาอะรีฟอิสลามอีกหลายท่าน รวมทั้งบรรดาผู้รู้ชาวอิหร่านที่พูดภาษาฟารซี แม้กระทั่ง เมาลาวี ผู้ซึ่งเคยเป็นสานุศิษย์ของท่านมาแล้ว ความยิ่งใหญ่ปราดเปรื่องของเมาลาวีจะด้อยลงทันที ถ้าจะนำมาเปรียบเทียบกับมุฮฺยิดดีนในทางวิชาอิรฟาน เขาเป็นคนสัญชาติอาหรับและเป็นผู้สืบสกุลของ

ฮาตัมตาอีแห่งอันดาลูเซีย( ซึ่งก็คือประเทศสเปนในปัจจุบัน )

เขาได้เดินทางไปตามประเทศอิสลามหลายประเทศและเสียชีวิตที่ดามัสกัสซึ่งเป็นสถานที่ฝังศพของเขา

เขามีลูกศิษย์อยู่คนหนึ่งชื่อว่า “ ศ็อดรุดดีน กูนะวี ” เป็นผู้ที่มีความสามารถ รองลงมาจากอาจารย์ของเขาในฐานะผู้รู้ทางวิชาอิรฟาน อิรฟานในอิสลาม(ซึ่งเป็นวิชาการที่ลึกลับซับซ้อนอย่างมากนั้น)ได้ถูกจัดให้เป็นรูปแบบของวิชาการอย่างสมบูรณ์โดยมุฮฺยิดดินและสานุศิษย์ของเขา(ศ็อดรุดดีน)ซึ่งรับเอาความคิดทั้งหลายของมุฮฺยิดดีนโดยผ่านมาทางศ็อดรุดดีน บุคคลผู้นี้ใช้คำศัพท์ว่า “มนุษย์ผู้สมบูรณ์” จากแนวคิดเฉพาะของอิรฟาน แต่ว่าเรามุ่งหมายที่จะสนทนากันจากทัศนะของอัลกุรอาน มีมนุษย์อยู่มากมาย ซึ่งเป็น

ผู้มีร่างกายปกติหรือพิการ

แต่ท่านจงอย่าได้พิจารณาในความเป็นผู้มีนัยน์ตาบอดหูหนวกอ่อนเปลี้ยเสียขาหรือความต่ำเตี้ย(ของร่างกาย)มาเป็นประหนึ่งข้อบกพร่องของคุณงามความดีแห่งบุคลิกภาพหรือของความเป็นมนุษย์

ดังตัวอย่าง เช่น โสเครตีส ปรัชญาเมธีชาวกรีก ผู้มีชื่อเสียง ซึ่งบางครั้งถือกันว่าเหมือนดั่งศาสดาท่านหนึ่ง เขาเป็นบุคคลที่ขี้เหร่ที่สุดแต่ความไม่สวยงามเช่นนี้ก็มิได้ถือว่าเป็นข้อบกพร่องอย่างหนึ่ง(ของเขา)

อบุลอะลา มุอัรรอ และฏอฮา ฮุเซน แห่งยุคสมัยของเรา ก็เป็นผู้ที่มีนัยตาพิการความเป็นคนตามืดบอดเช่นนี้ เป็นข้อผิดพลาดอย่างหนึ่งของบุคลิกภาพกระนั้นหรือ ? ดังนั้น นี่ก็หมายความว่า บุคคลมีบุคลิกภาพในทางร่างกายและวิญญาณเหมือนกันด้วยการคำนวณที่แตกต่างกันทั้งสองอย่างมันคือ ข้อผิดพลาดที่จะทึกทักเอาว่า วิญญาณนั้นเป็นสิ่งหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับร่างกายวิญญาณสามารถที่จะเจ็บป่วยได้ ในขณะที่ร่างกายยังปกติดีอยู่หรือไม่ ?

ความผิดปกติทางร่างกายและจิตวิญญาณ

นี่คือคำถามในตัวของมันเอง บรรดาผู้ซึ่งได้ปฏิเสธความแท้จริงของวิญญาณและมีความเชื่อต่อลักษณะพิเศษทางวิญญาณว่า เป็นอิทธิพลโดยตรงของระบบประสาทสำหรับความคิดของพวกเรานั้น ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้งอยู่กับร่างกายตามความเชื่อของพวกเขาก็คือว่า ถ้าหากว่าวิญญาณเกิดเจ็บป่วยมันเป็นเพราะว่าร่างกายป่วยและการเจ็บป่วยทางใจอันที่จริงก็เปรียบเสมือนการเจ็บป่วยทางร่างกายด้วยเช่นกัน

นับว่าเป็นโชคดีที่ได้มีการพิสูจน์กันในปัจจุบันนี้ว่า ร่างกายจะสามารถปกติสมบูรณ์ได้นั้นเกี่ยวกับเลือดอันเป็นส่วนประกอบระบบประสาทธาตุที่เป็นอาหารจำเป็นสำหรับร่างกาย(วิตามิน)และอื่นๆ ฯลฯและนอกไปจากนี้

บุคคลอาจจะเป็นโรคป่วยทางใจ ดังเช่น ได้รับความทุกข์ทรมานจากสิ่งที่พวกเขาทั้งหลายเรียกกันว่า “ โรคแทรกซ้อน ” ชนิดหนึ่ง ด้วยประการฉะนั้น หนทางในการรักษาโรคประสาทอาจจะมิต้องบำบัดโรคโดยยาแต่อย่างใดเลยก็ได้ เราสามารถที่จะหายามาสักชนิดหนึ่งเพื่อรักษาใครสักคนซึ่งได้รับทุกข์ทรมานจากโรคของความหยิ่งยะโสซึ่งเป็นโรคชนิดหนึ่งทางใจที่ยุ่งเหยิงกระนั้นหรือ ? เราสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงความหยิ่งทรนงของบุคคลหนึ่งไปสู่ความนอบน้อมถ่อมตนหรือว่าจากความเป็นผู้มีใจคอโหดร้ายของเขามาสู่ความเป็นผู้มีเมตตา ด้วยวิธีให้ยาสักหนึ่งเม็ดหรือด้วยการฉีดยาเพื่อเป็นการขจัดออกไปซึ่งผลของโรคดังกล่าวซึ่งบางครั้งเป็นเหตุให้บางคนดังตัวอย่างเช่น เขาไม่ยอมหยุดนิ่งจนกว่าจะได้กระทำการแก้แค้นกระนั้นหรือ ? อะไร คือ ความรู้สึกของการผูกพยาบาทนี้ ?

อะไร คือ ความริษยาซึ่งได้ปลุกเร้าให้บุคคลหนึ่งไม่พึงพอใจในการได้รับเนี้ยะมัตของผู้อื่นจนมีความต้องการที่จะขจัดมันออกไปเสีย ?

๑๐

คนอย่างนั้นมิได้คิดอยากที่จะได้รับเนี้ยะมัตดังกล่าวแก่ตัวเขาเองดอกความ

ริษยาของคนที่เป็นปกตินั้นมักจะเอาจุดหมายของตัวเองขึ้นหน้าอยู่เสมอและนี่ก็มิใช่ความผิดแต่ความปรารถนาที่จะให้เกิดอันตรายและความเสียหายทั้งหลายแก่ผู้อื่นนั้นนับเป็นความป่วยไข้อย่างหนึ่ง ท่านจะพบผู้คนเช่นว่านั้นที่ได้เตรียมการเพื่อจะทำอันตรายต่อตัวเขาเองทั้งหมด ถึงแม้ว่าจะเป็นอันตรายต่อผู้ถูกริษยาเพียงบางส่วนก็ตามเรื่องราวหนึ่งในประวัติศาสตร์ได้กล่าวไว้ในเรื่องนี้ในสมัยของคอลีฟะฮ์ผู้หนึ่ง เศรษฐีได้ซื้อทาสมาหนึ่งคนซึ่งเขาได้ปฏิบัติต่อทาส นับตั้งแต่เริ่มต้นเสมือนผู้มีบรรดาศักดิ์จัดหาอาหารและเสื้อผ้าอย่างดีที่สุดแก่ทาส ตลอดจนเงินทองเหมือนดังเป็นบุตรของเขาเองทีเดียวหรือแม้แต่ทุ่มเทไปมากกว่านั้น แต่ว่าทาสได้สังเกตเห็นว่านายของเขามีความรู้สึกไม่สบายในอยู่เสมอ ในที่สุดเศรษฐีได้ตกลงใจที่จะปลดปล่อยให้ทาสเป็นอิสระพร้อมกับจัดหาทุนทรัพย์บางส่วนให้แก่ทาสด้วยคืนหนึ่งในขณะที่เขาทั้งสองอยู่ด้วยกันนายทาสได้กล่าวขึ้นว่า “ เจ้ารู้หรือไม่ว่าทำไม่ข้าจึงได้ปฏิบัติต่อเจ้าอย่างดีที่สุด ” ทาสจึงได้ถามถึงเหตุผลนายทาสกล่าวว่า “ ข้ามีสิ่งหนึ่งที่จะขอร้องให้เจ้ากระทำซึ่งถ้าเจ้าปฏิบัติตามเจ้าจะได้รับผลประโยชน์ทั้งหมดที่ข้ามีและจะมอบให้แก่เจ้า แต่ถ้าเจ้าปฏิเสธข้าจะไม่พอใจเจ้าเลย ” ทาสกล่าวว่า “ ฉันจะปฏิบัติตามทุกอย่างที่ท่านขอร้อง

ท่านเป็นผู้อุปการะของฉันซึ่งได้ให้ชีวิตแก่ฉัน ” นายทาสจึงได้กล่าวว่า “ เจ้าจะต้องให้คำมั่นสัญญาแก่ข้าว่า เจ้าจะปฏิบัติอย่างซื่อสัตย์และดีที่สุดสำหรับข้านั้นข้าเกรงว่าเจ้าจะปฏิเสธมัน ” ทาสกล่าวว่า “ ฉันสัญญาว่าจะกระทำในสิ่งที่ท่านต้องการ ” นายทาสกล่าวว่า “ คำขอร้องของข้าก็คือเจ้า

จะต้องตัดศีรษะของข้าตามสถานที่และเวลาที่ถูกกำหนด ”

๑๑

ทาสร้องอุทานขึ้น “ อะไรกันนี่!ฉันจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร ? นายทาสกล่าวว่า “ นั่นคือสิ่งที่ข้าปรารถนา ทาสกล่าวว่า “ มันเป็นไปไม่ได้เช่นนั้น ”

นายทาสกล่าวว่า “ ข้าได้รับคำมั่นสัญญาจากเจ้าแล้ว เจ้าจักต้องกระทำมัน ” ดึกสงัดของคืนหนึ่ง เขาได้ปลุกทาสให้ตื่นขึ้นและมอบมีดที่คมกริบให้แก่ทาสเล่มหนึ่งและถุงใส่เงินที่เปี่ยมล้น จากนั้นก็ปีนขึ้นไปบนหลังคาของเพื่อนบ้านคนหนึ่งและได้บอกแก่ทาสได้ตัดศีรษะเขาที่นั่นและจากนั้นก็ให้หลบหนีไปยังที่ใดก็ตามที่ทาสต้องการ ทาสได้ขอถามถึงเหตุผลสำหรับการกระทำเช่นนั้น เขาก็ตอบว่า “ ข้าเกลียดชายผู้นี้และขอเลือกเอาความตายดีกว่าที่จะเห็นหน้าเขา เราเป็นคู่แข่งกัน (ในทางการค้า)

แต่เขาได้ล้ำหน้าข้าไปและเก่งกาจสามารถกว่าข้าในทุกๆด้าน ข้าร้อนเร่าไปด้วยความเกลียดชังเขา ข้าปรารถนาที่จะให้เขาถูกจำคุกด้วยการเป็นฆาตกรที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นและด้วยความคิดเช่นนี้(เท่านั้น)

เป็นสิ่งหนึ่งที่จะบรรเทาความทุกข์ระทมแก่ข้า ให้ทุกคนรู้ว่าเขาคือคู่แข่งของข้าและดังนั้นเขาก็จะถูกตัดสินประหารชีวิตสำหรับการกระทำดังกล่าวทาสได้พูดขึ้น “ ท่านดูประหนึ่งผู้เบาปัญญาและสมควรแล้วต่อความตายเช่นนี้ ” ดังนั้น เขาจึงตัดศีรษะนายของเขาและหลบหนีไปคู่แข่งของเขาได้ถูกจับกุมจากผลที่เกิดขึ้นและถูกคุมขังแต่ไม่มีผู้ใดเชื่อว่าเขาจะเป็นผู้สังหารคู่แข่งของเขาบนหลังคาบ้านของเขาเอง ซึ่งมันเป็นเรื่องเหลือเชื่อ ในที่สุดทาสมีความรู้สึกอยากที่จะเป็นเผยความจริงในฐานะสำนึกต่อความผิดบาปเขาได้พบกับเจ้าหน้าที่และสารภาพความจริงเมื่อเจ้าหน้าที่ทั้งหลายได้เข้าใจ

เรื่องราวพวกเขาก็ปล่อยคนทั้งสองคือทาสและเพื่อนบ้านผู้นั้นเป็นอิสระไปนี้คือความจริงอย่างหนึ่งที่ว่าความอิจฉาริษยานั้นคือโรคชนิดหนึ่ง

๑๒

คัมภีร์อัลกุรอานกล่าวไว้ไน ซูเราะฮ์อัชชัมซ์ อายะฮ์ที่ ๙-

ความว่า

“ ผู้ซึ่งทำให้(ตนเอง)บริสุทธิ์ แท้จริงเขานั้นเป็นผู้ประสบความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงและแท้จริงผู้ซึ่งโสมมเขาจะสูญเปล่า ”

ด้วยเหตุนี้ ข้อเสนออันดับแรกของอัลกุรอาน ก็คือการขัดเกลาตนเองให้สะอาดบริสุทธิ์ปราศจากอาการป่วยด้วยโรคแทรกซ้อน ความโง่เขลา

การหันเหและการเปลี่ยนแปลง ท่านทั้งหลายอาจจะเคยได้ฟังเรื่องราวในอดีตที่มีรายงานว่า มีผู้คนซึ่งเนื่องมาจากพวกเขาพากันละเมิดต่อบาปได้ถูกสาปแช่งโดยบรรดาศาสดาในยุคสมัยของพวกเขาและด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงถูกเปลี่ยนแปลงรูปร่างหน้าตาจากมนุษย์ กลายเป็นเดรัจฉาน บ้างก็เหมือนลิงสุนัขป่า หมีและสัตว์อื่นๆมากมายและผู้ที่มิได้ถูกเปลี่ยนแปลงทางร่างกายบางทีจิตใจหรือวิญญาณอาจจะกลับกลายไปสู่ความเป็นเดรัจฉานซึ่งมีความชั่วร้ายเลวทรามอย่างที่มิอาจพบพานได้เลยบนโลกนี้

คัมภีร์อัลกรุอาน ได้กล่าวถึงบรรดาคนเหล่านั้นว่า

“ ผู้ซึ่งอยู่ในความต่ำช้าหลงผิดและเป็นผู้ซึ่งต่ำต้อยยิ่งกว่าบรรดาสัตว์สี่เท้าทั้งหลาย” ( ซูเราะฮ์อัลอะร็อฟ อายะฮ์ที่ ๑๗๙)

สิ่งดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ? ในเมื่อบุคคลิกภาพของมนุษย์ขึ้นอยู่กับหลักธรรมจริยาและคุณลักษณะต่างๆทางจิตวิญญาณของพวกเขาและถ้าปราศจากซึ่งสิ่งดังกล่าวแล้วเขาก็จะกลายเป็นสัตว์ร้าย (ในร่างของมนุษย์) ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ผุ้มีความบกพร่องทั้งหลายบางทีก็ตกต่ำถึงระดับของการเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ ซึ่งบางคนอาจจะคิดว่า นั้นคือความฝันแต่ทั้งหมดมันคือความจริงแท้

๑๓

และแน่นอนยิ่ง ชายผู้หนึ่งกล่าวว่า ครั้งหนึ่งพวกเราได้ไปประกอบพิธีฮัจญ์พร้อมกับท่านอิมามซัจญาด (อ.)ในขณะที่เรามองไปยังเบื้องล่างซึ่งเป็นทะเลทรายทุ่งอะรอฟะฮ์ซึ่งที่นั่นเนืองแน่นไปด้วยผู้แสวงบุญที่เดินทางมาประกอบพิธีฮัจญ์อย่างมากมายในปีนี้

ท่านอิมามซัจญาด(อ.)ได้กล่าวขึ้นว่า “ มันคือความอึกทึกครึกโครมแต่น้อยไปด้วยผู้แสวงบุญ ”

ชายผู้นั้นกล่าวว่า “ ข้าพเจ้าไม่ทราบว่า ท่านอิมาม (อ.)ได้ให้สายตาพิเศษอันใดแก่ข้าพเจ้าเพราะว่า เมื่อท่านได้ชี้ให้ข้าพเจ้ามองไปยังเบื้องล่างอีกครั้งหนึ่งคราวนี้ สิ่งที่ข้าพเจ้าเห็นก็คือในทะเลทรายที่เต็มไปด้วยผู้แสวงบุญ

เมื่อครั้งแรกนั้น บัดนี้มันเต็มไปด้วยฝูงสัตว์ที่เดินกันขวักไขว่ไปมาและมองเห็นผู้ที่เป็นมนุษย์จำนวนน้อยนิดเท่านั้นและจากนั้นท่านอิมามซัจญาด(อ.)จึงได้บอกแก่เขาว่า ภาพที่เห็นนั้นคือ ความเกี่ยวพันกับความคิดที่ก่อขึ้นภายในจิตใจของผู้คนเหล่านั้น(ธาตุแท้)นี้คือความแท้จริงทีเดียว แต่ถ้าพวกเราที่เรียกกันว่าหัวสมัยใหม่ไม่ยอมรับมันแล้ว เราก็เป็นผู้ผิดพลาดในยุคสมัยของเราเอง ยังคงมีอยู่และเป็นบุคคลผู้ซึ่งสามารถเห็นอุปนิสัยอันแท้จริงของบุคคลอื่นๆได้ว่าเหมือนกับเดรัจฉานทั้งหลายไม่รับรู้สิ่งใดเลยเว้นแต่การบริโภคหลับนอนและการสมสู่พวกเขาได้สูญเสียคุณลักษณะทั้งหลายแห่งความเป็นมนุษย์ของเขาและหวนกลับคืนสู่ความเป็นสัตว์ร้ายต่างๆ

เราได้อ่านในคัมภีร์อัลกุรอาน ซูเราะฮ์อันนะบะอฺ อายะฮ์ที่ ๑๘- ๑๙

“ วันซึ่งที่เป่า(สังข์จะถูกเป่า )ดังนั้นจะถูกนำมารวมกันเป็นกลุ่มๆและท้องฟ้าก็จะถูกเปิดออกแล้วมีประตูทั้งหลายอยู่ในมัน ”

๑๔

บรรดาผู้นำศาสนาหลายท่านได้กล่าวซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า จะมีผู้คนเพียงกลุ่ม

เดียวเท่านั้นจากในหมู่ของผู้ที่ตายไปแล้วที่จะฟื้นขึ้นมาในรูปร่างของมนุษย์ส่วนผู้คนอื่นๆนั้นจะปรากฏขึ้นเหมือนสรรพสัตว์ จำพวกเสือ ลิง แมลงป่อง งูและจำพวกมด

พระผู้เป็นเจ้าทรงกระทำสิ่งดังกล่าวนั้นโดยปราศจากเหตุผลหรือ ? เปล่าเลยเหตุผลทั้งหลายย่อมมีอยู่ เมื่อมนุษย์หนึ่งมิได้กระทำในสิ่งใดๆเลยในโลกนี้แต่ว่าได้กัดต่อย(เหมือนแมลงมีพิษ)และสำหรับผู้ที่มีการกระทำต่างๆคล้ายลิงในโลกนี้ก็จะเป็นเหมือนลิงในโลกหน้าและบุคคลที่ชอบข่มขู่คำรามผู้คนเมื่ออยู่บนโลกนี้ เขาก็จะปรากฏเป็นสุนัขในโลกหน้า ด้วยเหตุนี้ มนุษย์จะพากันฟื้นขึ้นจากความตาย ความมุ่งมาดปรารถนาและนิสัยสันดานอันแท้จริงของเขา ความปรารถนาของท่านบนโลกนี้ อยากเป็นมนุษย์ที่ดีหรือสิงสาราสัตว์หรือนก

ท่านก็จะได้รับรูปแบบตามต้องการในวันแห่งการฟื้นคืนชีพและนั่นก็คือว่า ทำไมเราจึงถูกห้ามมิให้เคารพภักดีสิ่งอื่นในเว้นแต่อัลลอฮฺ(ช.บ.)

พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเที่ยงแท้องค์เดียวเท่านั้น เพราะถ้าเราเคารพภักดีสิ่งใดสิ่งนั้นก็จะอยู่กับเราในโลกหน้า ถ้าเราบูชาเงินตรามันก็จะกลายเป็นพระเจ้าของเราในโลกหน้า ดังที่ อัลกุรอานกล่าวไว้ใน ซูเราะฮ์อัตเตาบะฮ์ (บารออัต)

อายะฮ์ที่ ๓๔ และ ๓๕ ดังนี้

“ และ(สำหรับ)บรรดาผู้ที่สะสมทองคำและเงินเพิ่มขึ้นและมิได้ใช้มันไปในหนทางของอัลลอฮฺ(ซ.บ) จงประกาศแก่เขาเถิดถึงการลงโทษอย่างเจ็บปวดในวันที่(ทรัพย์สมบัติที่ถูกสะสม)มันจะถูกเผาจนร้อนในไฟนรกครั้นแล้วหน้าผากของพวกเขาและสีข้างของพวกเขาและหลังของพวก

เขาจะถูกตีตราด้วยมัน(และ)นี่คือสิ่งที่มันได้สะสมขึ้นมาสำหรับตัวเจ้าเอง ”

๑๕

( เกี่ยวกับโลหะที่ร้อนและละลายที่จะอยู่กับเราในวันแห่งการฟื้นขึ้นและอย่าได้กล่าวว่า ธนบัตรที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันถูกนำมาแทนเหรียญโลหะหรือเหรียญเงินและทองแล้ว (บางคนอาจจะปลอดภัยจากการถูกตีตรา)

เพราะในโลกหน้า ธนบัตรที่ธนาคารนำออกจำหน่ายเหล่านั้นแหละที่มันจะกลับคืนลงสู่ไฟซึ่งสามารถที่จะลุกโชติช่วงท่วมท้นนรกได้ดีกว่าเหรียญเงินและเหรียญทองทั้งหลายเสียอีก ดังนั้น มนุษย์ซึ่งมีโรคแทรกซ้อนจึงเป็นความบกพร่องและบุคคลผู้ซึ่งบูชาวัตถุจึงเป็นคนไม่สมบูรณ์และที่จะเปลี่ยนไปได้ความสมบูรณ์ในทุกๆชนิดของทุกสิ่งถูกสร้างมีความแตกต่างกัน มนุษย์ผู้สมบูรณ์แตกต่างไปจากมะลาอิกะฮ์ผู้สมบูรณ์และต่างก็มีการแยกแยะลำดับขั้นของความสมบูรณ์ของตนเอง

ผู้ที่บอกเล่าแก่เรา ความมีอยู่ของมะลาอิกะฮ์ได้บอกว่าพวกเขาทั้งหลายถูกสร้างมาจากสติปัญญาและความคิดอันบริสุทธิ์และความคิดโลกีย์ตัณหาโมหะและความโกรธอื่นใดไม่มีอยู่ในพวกเขา สัตว์ทั้งหลายนั้นเต็มไปด้วยโลกีย์และไม่มีสิ่งที่อัลกรุอานเรียกว่าวิญญาณของพระผู้เป็นเจ้า(ที่ถูกเป่าเข้า

ไปในตัวของมนุษย์) แต่มนุษย์คือส่วนผสมของสิ่งสองอย่างทั้งทางด้านโลกียวิสัยและทางด้านของความบริสุทธิ์ทั้งความสูงส่งและความต่ำต้อย

นี่คือสิ่งที่ถูกพรรณนาไว้ในคำอรรถาธิบายในหนังสือ

“ อูศุลกาฟี ” และกวีเมาลาวีได้ดัดแปลงไปเป็นโคลงบทหนึ่งซึ่งแปลความหมายได้ดังนี้ … คำบรรยายกล่าวไว้ว่า “ พระผู้เป็นเจ้าผู้ควรแก่การสรรเสริญยกย่องได้สร้างสิ่งถูกสร้างขึ้นมาสามจำพวกที่มีความแตกต่างกันจากสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างทั้งหลาย จำพวกแรกเป็นกลุ่มของบรรดา

มะลาอิกะฮ์ซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์มีไหวพริบมีความรู้และไม่ขัดต่อพระประสงค์(ของพระผู้เป็นเจ้า)และรู้เพียงการกราบกราน(ภักดีพระองค์)เท่านั้น

๑๖

พวกเขาไม่มีสันดานของความละโมภและกิเลสตัณหาแต่เป็นแสงอันบริสุทธิ์และดำรงชีวิตอยู่ด้วยความรักจากพระผู้เป็นเจ้า อีกจำพวกหนึ่งไม่มีความรู้เลยและขุนอ้วนท้วมเหมือนดังสัตว์ที่อยู่กลางทุ่งหญ้ามิได้เห็นอันใดเลยเว้นแต่คอกและกองฟางไม่รู้ทั้งความเลวร้ายและความมีเกียรติยศ จำพวกที่สามเป็นพวกมนุษย์ซึ่งครึ่งหนึ่งเป็นมะลาอิกะฮ์ อีกครึ่งหนึ่งเป็นลา ส่วนที่เป็นลานั้นโน้มเอียงไปสู่ความต่ำช้าและอีกส่วนหนึ่งโน้มไปสู่แนวทางที่ทำให้บริสุทธิ์

บุคคลจะต้องตรวจสอบดูว่าส่วนใดจะได้รับชัยชนะและส่วนใดที่จะพิชิตอีกส่วนหนึ่ง ”

อัลกุรอานได้กล่าวไว้ใน ซูเราะฮ์อัลอินซาน ( หรืออัดดะหฺร์) อายะฮ์ที่

( ๒-๓) ( ความว่า)

“ แน่นอนเราได้สร้างมนุษย์จากเชื้อเล็กๆของชีวิตที่รวมกัน(ในตัวมันเอง)เรามุ่งหมายที่จะทดลองเขา ดังนั้นเราได้ทำให้เขาได้ยินได้เห็น แน่นอนเราได้เปิดเผยแนวทางแก่เขาเขาอาจจะขอบคุณหรือเนรคุณก็ตาม ”

อย่างนี้หมายความว่า เขาได้รับอนุญาตให้ได้ใช้ความสามารถทั้งหลาย

และถูกปล่อยให้เป็นอิสระเพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่าเขาสมควรจะได้รับรางวัลหรือควรจะถูกลงโทษจากการกระทำทั้งหลายของเขา ด้วยเหตุที่สิ่งถูกสร้างอื่นๆไม่มีคุณสมบัติดังกล่าวนั้นเขาจึงต้องเลือกสรรหนทางของเขาเองและบรรลุถึงความสมบูรณ์โดยอาศัยความพอประมาณและความสมดุล

และด้วยการใช้ความสามารถพิเศษทั้งหลายของเขา เด็กคนหนึ่งเติบโตขึ้นมาและมีความเป็นปกติดีในทุกส่วนของอวัยวะและแขนขาทั้งหมดเหล่านี้เป็นการประสานกลมกลืน

๑๗

แต่ถ้าหากว่าเติบโตขึ้นมาเหมือนตัวการ์ตูนซึ่งการเจริญเติบโตของอวัยวะบางส่วนมากจนเกินไปและส่วนอื่นๆมิได้เติบโตหรือเติบโตเพียงเล็กน้อย , เขาก็ไม่สามารถบรรลุถึงความสมบูรณ์ตามปกติได้ แต่การประสานกลมกลืนอย่างหนึ่งและการพัฒนาทั่วไปหมด (ทั่วทั้งร่างกาย) ก็มีผลในการเป็นผู้สมบูรณ์ตามปกติ

คัมภีร์อัลกุรอานกล่าวไว้ในซูเราะฮ์อัล-บะกอเราะฮ์ , อายะฮ์ที่ ๑๒๔

( ความว่า)

“และเมื่อพระผู้เป็นเจ้าของเขาได้ทดลองอิบรอฮีมด้วยคำพูดบางอย่าง , เขาได้ปฏิบัติมั่นอย่างครบครัน พระองค์ได้ตรัสว่า , แน่นอนฉันจะแต่งตั้งเจ้าให้เป็นอิมาม (ผู้นำ) แห่งมนุษยชาติ , เขา (อิบรอฮีม) กล่าวว่าและจากลูกหลานของข้าพระองค์ (ด้วยกระนั้นหรือ) อัลลอฮตรัสว่าข้อสัญญาของฉันมิได้รวมไปถึงพวกที่อธรรม ”

อิบรอฮีมได้ถูกทดสอบในหลายๆวิธี , รวมทั้งการพร้อมที่จะเสียสละบุตรชายของท่านเองเป็นการพลีแด่พระผู้เป็นเจ้า , เมื่อเสียงเรียกร้องจากพระผู้เป็นเจ้าได้กล่าวว่า ( อัลกุรอาน ซูเราะฮ์อัซซอฟฟาต , อายะฮ์ที่๑๐๔ , ๑๐๕ ) และเราได้ร้องเรียกแก่เขาว่า โอ้อิบรอฮีม , แน่แท้เจ้าได้กระทำสมจริงตามความฝันแล้ว เมื่ออิบรอฮีมได้รับความสำเร็จในการทดสอบผ่านขั้นตอนต่างๆทั้งหลายแล้ว

อัลกรุอานได้กล่าว เกี่ยวกับท่านในซูเราะฮ์อันนะฮ์ล์

อายะฮ์ที่ ๑๒๐ ว่า

“แน่นอนอิบรอฮีมเป็นแบบอย่างที่ดี , ผู้ปฏิบัติตามอัลลอฮ์ , เป็นผู้ซื่อตรง , และเขาหาได้อยู่ในจำพวกที่สร้างภาคีทั้งหลายไม่ ”

๑๘

ท่านได้ยืนหยัดอย่างโดดเดี่ยวในการต่อสู้ต้านทานกับบรรดาผู้ปฏิเสธทั้งหมด , และเมื่อเป็นเช่นนั้น พระผู้เป็นเจ้าจึงเรียกท่านว่าอิมาม , ผู้นำและผู้เป็นแบบอย่างสำหรับผู้อื่นทั้งหลายที่จะปฏิบัติตาม , อิมามอะลี(อ)เป็นมนุษย์ผู้สมบูรณ์ผู้หนึ่งนับตั้งแต่คุณค่าทั้งหมดของมนุษย์ได้เพิ่มขึ้นถึงจุดสูงสุดของมันในตัวของท่านและด้วยแบบฉบับของการประสานกลมกลืน

คุณอาจได้เคยเฝ้ามองน้ำขึ้นและน้ำลดในทะเลซึ่งเป็นเหตุมาจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์ วิญญาณของมนุษย์ก็เหมือนกันเช่นเดียวกันกับเรื่องของสังคมที่แสดงให้เห็นเหมือนกับการขึ้นลงของน้ำ มนุษย์ทั้งหลายก็ประสบกับภาวะน้ำลดหรือน้ำท่วมนองอยู่เช่นนั้นและแรงดึงดูดนี้บางครั้งก็ไปสู่ทิศทางเดียว , เช่นไปยังขอบเขตหนึ่งที่คุณค่าอื่นๆทั้งหมดที่ได้ถูกลืมเลือนในหนทางนี้พวกเขาทั้งหลายเป็นเหมือนกับผู้คงไว้ซึ่งความบกพร่องซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงการแพร่หลายขึ้นมาในการพัฒนาตัวของมันเอง นี่คือความจริงที่ว่ามันมิใช่เป็นความเบี่ยงเบนไปเสียทั้งหมด แต่มันเป็นความไขว้เขวที่มักจะมีอยู่อย่างมากมายเสมอในวิถีทางเดียว บุคคลผู้ซึ่งมีการกระทำที่เลยเถิดบางทีก็นำสังคมไปสู่ยังแนวทางที่ไม่ปลอดภัยหรือไปสู่แนวทางอื่นๆได้ สิ่งหนึ่งจากคุณค่าทั้งหลายของมนุษย์ที่ได้รับการ

ยืนยันโดยอิสลามก็คือการอิบาดัต(ภักดี)ซึ่งเป็นการติดต่อ(ใกล้ชิด)กับพระผู้เป็นเจ้าแน่ทีเดียวในอิสลามทุกๆการกระทำการปฏิบัติ , เพื่อพระผู้เป็นเจ้าคือการอิบาดัต , การมีงานทำการค้าขายเพื่อที่จะช่วยเหลือตนเองและครอบครัวของตนและการรับใช้สังคมก็เป็นการอิบาดัตแต่การอิบาดัตในความหมายเฉพาะของมันนั้น , นอกจากนั้น ก็คือ การตื่นขึ้นในยามค่ำคืนเพื่อการปฏิบัติภารกิจทั้งหลายอันสำคัญ (คือการนมาซในยามดึก ตลอดจนการติดต่อใกล้ชิดพระองค์ที่สุดของชีวิตและอื่นๆซึ่งในฐานะที่ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของศาสนา

๑๙

และจะกระทำการยกเลิกมิได้บางครั้งท่านพบบรรดาปัจเจกชนหรือชนหมู่มากชี้นำไปสู่ด้านเดียวของการอิบาดัต , และแสดงคำแนะนำข้อปฏิบัติ

ต่างๆของการนมาซ , การเอาน้ำวูฎู , และอื่นๆทั้งหมดของสิ่งที่ได้กระทำกันจนเลยเถิดนั้น , จะเป็นสิ่งที่ทำลายสังคม ) บางโอกาสแนวทางในการอิบาดัตเช่นนี้ได้กลายมาเป็นสิ่งที่กำลังนิยมกันในสังคมอิสลาม , และถ้าบุคคลได้รับความเคยชินต่อมันสักครั้งหนึ่งแล้ว มันจึงเป็นการยากลำบากที่จะรักษาความสมดุลเอาไว้ , เช่นเดียวกันบุคคลหนึ่งไม่สามารถที่จะกล่าวแก่ตัวของเขาเองได้ว่า พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงสร้างเขาให้เป็นมนุษย์ผู้หนึ่งมิใช่มะลาอิกะฮ์และในฐานะที่เป็นมนุษย์ผู้หนึ่งเขาควรจะพัฒนาตัวของเขาเองในทุกๆด้านอย่างประสานกลมกลืน

ครั้งหนึ่งเคยมีรายงานถึงท่านศาสดา(ศ็อลฯ)(ขอความสันติจงมีแด่ท่านและบรรดาลูกหลาน)ว่า สาวกของท่านจำนวนหนึ่งได้จมดิ่งอยู่กับการอิบาดัต

( การนมาซเพียงอย่างเดียว) ท่านศาสดามีความรู้สึกไม่ค่อยสบายใจ , จึงได้มายังมัสญิดและร้องบอกด้วยเสียงอันดังว่า “ ผู้คนทั้งหลายเอ๋ย มีอะไรปรากฏขึ้นแก่คนบางกลุ่มซึ่งได้อยู่ในหมู่ประชาชาติของฉันเล่า แม้แต่ฉันในฐานะที่เป็นศาสดาของพวกเจ้าก็ยังมิได้ประกอบการอิบาดัตในวิธีเช่นนี้ด้วยการ

ไม่หลับนอนกันเลยทั้งคืน ส่วนหนึ่งของกลางคืนฉันพักผ่อนและอยู่กับครอบครัวของฉัน ฉันมิได้ทำการศีลอด ทุกวันพวกเหล่านั้นผู้ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติตามแนวทางใหม่ของพวกเขาได้หันเห (บิดอะฮ์) ไปจากสิ่งที่ฉันได้ปฏิบัติมา ( สุนนะฮ์ของฉัน)”

ด้วยเหตุนี้ ท่านศาสดาจึงได้ประกาศว่า “ ค่านิยมอิสลามที่แท้จริงกำลังจะถูกขจัดออกไปซึ่งค่านิยมอื่นๆที่ผิดพลาดในอิสลาม ” และท่านได้ต่อต้านอย่างหนักหน่วงและเข้มงวดต่อแนวความคิดเลยเถิดเช่นนี้

๒๐

อัมร์บินอัศ มีบุตรชายอยู่สองคนชื่อว่า อับดุลลอฮ์กับมุฮัมมัด คนแรกเป็นผู้ที่มีคุณธรรมสูงส่งและได้แนะนำบิดาของเขาในอันที่จะปฏิบัติตามแนวทางของท่านอะลี(อ)ในขณะที่คนหลังซึ่งอยากให้บิดาของเขารักในโลกนี้และยศถาบรรดาศักดิ์ , อ้อนวอนพ่อของเขาให้ปฏิบัติตามมุอาวียะฮ์ อับดุลลอฮ์เป็นผู้ที่โน้มไปสู่การอิบาดัตเสียส่วนมาก ในยุคสมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) วันหนึ่งท่านศาสดา (ศ็อลฯ) พบกับเขาในระหว่างทางและได้กล่าวแก่เขาว่า “ ฉันได้ยินมาว่า เธอใช้เวลาทั้งคืนในการปฏิบัตินมาซและตลอดทั้งวันในการถือศีลอด ” เขาให้คำตอบด้วยการยอมรับ ท่านศาสดากล่าวว่า , “ แต่ฉันมิได้ปฏิบัติเช่นนั้น และฉันไม่เห็นด้วยกับวิธีของเธอ ”

บางครั้ง บางคราว สังคมหนึ่งก็ชี้นำไปสู่การสละในทางโลกเป็นการสละในทางโลกซึ่งเป็นความจริงอย่างหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ , และเป็นคุณค่าหนึ่งซึ่งจักต้องมีอยู่ในความเจริญรุ่งเรืองของสังคม แต่ว่าเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างในสังคมหนึ่งได้วางรากฐานอยู่บนการละทิ้งโลกและไม่มีสิ่งอื่นใดเลย , จึงมีความ

ผิดพลาดบางอย่างอยู่ในนั้นค่านิยมอื่นๆอีกก็เพื่อที่จะรับใช้ผู้คน , และเป็นสิ่งที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่โดยอิสลามและท่านศาสดา

, อัลกุรอาน ซูเราะฮ์อัล-บะกอเราะฮ์ , อายะฮ์ที่177 …. กล่าวไว้ว่า

“มันหาใช่ความเที่ยงธรรมไม่ ในการที่เจ้าหันหน้าของเจ้าไปทางทิศตะวันออกและตะวันตก , แต่ความถูกต้องเที่ยงธรรมนั้นคือบุคคลจะต้องศรัทธาในอัลลอฮ์ ”

๒๑

และโองการจบลงด้วยการเน้นหนักถึงคุณค่าแห่งการรับใช้มัคลูก

(สิ่งถูกสร้าง)ของพระผู้เป็นเจ้าแต่บางครั้งผู้คนก็มุ่งไปสู่ความเกินต้องการและดังที่กวีซะอฺดี , ได้กล่าวไว้ว่า

“ การอิบาดัตมิใช่อื่นใดเว้นแต่เป็นการรับใช้ผู้คน ”

ถ้าเช่นนั้นแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการทำลายคุณค่าของการอิบาดัต , ดังเช่นการขัดเกลาตนเอง , การแสวงหาความรู้หรือการญิฮาด , ซึ่งทั้งหมดแม้ว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสูงสุดมากมายสำหรับมนุษย์ในอิสลามก็ตาม ทุกวันนี้บรรดาปัญญาชนทั้งหลายได้จินตนาการขึ้นมาว่าพวกเขาทั้งหลายได้ค้นพบหลักธรรมอันสูงส่งแท้จริงอย่างหนึ่งเรียกว่า “ มนุษยชาติกับความมีมนุษยธรรม ” การรับใช้ผู้คนเป็นสิ่งที่ดีงามและเราควรจะต้องรับใช้พวกเขาแต่ถ้าหากว่าเราจัดหาอาหารและเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มให้กับพวกเขาเพียง

อย่างเดียว , เราก็จะเป็นผู้ปฏิบัติต่อพวกเขาเยี่ยงสัตว์ทั้งหลาย ,โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสมมุติว่าเราไม่มีคุณค่าอันสูงส่งในชีวิตความเป็นอยู่ให้แก่พวกเขาและถ้าหากว่าการรับใช้ผู้คนอยู่ในขอบเขตจำกัดเช่นนั้น , อะไรจะเป็นความแตกต่างระหว่าง (อบูซัรซึ่งเป็นผู้เสียสละต่อสู่และยืนหยัดรับใช้สังคม

อย่างสมถะอดทนพร้อมกับมอบหมายคุณค่าอันสูงส่งในชีวิตการเป็นอยู่ให้แก่มวลชนในขณะที่มุอาวียะฮ์นำไปสู่ชีวิตที่ฟุ่มเฟือยไร้คุณค่าและฉลาดแกมโกง)นี่คืออีกตัวอย่างหนึ่งของการล้ำหน้าไปสู่ความเกินต้องการ , คล้ายกับการมุ่งไปยังคุณค่าที่สูงจนเกินไปของอิสรภาพ

อิสรภาพอยู่ในระหว่างความสูงส่งแห่งคุณค่าทั้งหลายทางวัตถุท่านจะเห็นว่าบรรดาผู้ซึ่งมีความเป็นมนุษย์เป็นผู้พร้อมที่จะอดทนต่อความอดอยากหิวโหยและสภาพอันเปลือยเปล่าของร่างกายและพร้อมที่จะมีชีวิตอยู่ภายใต้

เงื่อนไขทั้งหลายอันแสนยากเย็นถ้ามีข้อแม้ว่าพวกเขาทั้งหลายมิได้ถูกจองจำโดยมนุษย์อื่นใดและสามารถจะมีชีวิตอยู่อย่างอิสระเสรี

๒๒

เรื่องราวหนึ่งที่ได้บอกเล่าในหนังสือ “ กระจกของบรรดาผู้รู้

ทั้งหลาย ” เป็นเรื่องเกี่ยวกับอเวซินา(บู-อลีซินา)ซึ่งครั้งหนึ่งได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี , วันหนึ่งเขาผ่านไปตามถนนสายหนึ่งด้วยการเผยให้เห็นท่าทีของผู้มีอำนาจเมื่อเขาได้สังเกตเห็นคนขนขยะผู้หนึ่งกำลังขนย้ายขยะที่เน่าเหม็นเต็มแน่นออกจากบ่อและอเวซินาได้ยินเขาบนพึมพำถึงตัวเองเป็น

คำกลอนที่มีความหมายถึงการยกย่องให้เกียรติตัวเขาเองในฐานะที่ได้ประสบชีวิตการเป็นอยู่ที่แสนง่ายบนโลกนี้อเวซินาหัวเราะที่ได้ยินชายผู้ซึ่งกำลังทำอยู่กับงานอันสกปรกแต่มีความสำราญเช่นนั้น

เขาดึงบังเหียนม้าของเขา , แล้วเรียกชายผู้นั้นให้เข้ามาหาและกล่าวขึ้นว่า “ ด้วยวิธีการใดเล่าที่ท่านได้เลือกเอาการสรรเสริญตนเอง ” ชายผู้นั้นด้วยความรู้จักอเวซินาจากการปรากฏตัวอยู่เสมอของเขาตอบว่า “ ข้าพเจ้าได้เลือกทำงานเช่นนี้เพื่อว่าข้าพเจ้าจะได้ไม่ต้องตกเป็นทาสของผู้ใดเช่นในหนทางที่

ท่านกำลังเป็นอยู่ , เป็นการได้รับอิสรภาพเมื่อเป็นคนขนขยะและเป็นความห่างไกลดีว่ายศตำแหน่งของท่านที่มากมายไปด้วยทรัพย์สินและการขึ้นอยู่กับมัน ” มันเป็นคำพูดที่ทำให้อเวซินาหน้าแดงก่ำด้วยความอับอายและมิได้ให้คำตอบอันใดเลยจะมีความจำเป็นอันใดสำหรับบรรดาผู้ซึ่งดำเนิน

ชีวิตฝักใฝ่ไปในทางโลกต่อการที่จะละทิ้งจะอาหารที่ดีจากการมีทาสไว้คอยรับใช้และละทิ้งจากความหรูหราโอ้อวดทั้งหมดจากนั้นก็กลายมาเป็นคนขนขยะแล้วก็พูดถึงเสรีภาพเสรีภาพเป็นสิ่งที่จับต้องได้หรือ ? เปล่าเลย แต่สำหรับสติสัมปชัญญะแห่งความรอบคอบแล้วมันเป็นสิ่งควรค่าแก่การ

สรรเสริญอย่างแท้จริงที่ว่าชายผู้หนึ่งเลือกที่จะเป็นคนเก็บขยะแทนที่จะเป็นทาสคุณค่าเช่นนี้

๒๓

บางครั้งได้ถูกลืมเลือนในบางสังคม , แต่พอมันถูกปลุกเร้าในหมู่พวกเขาพวกเขาทั้งหลายพากันอ้างว่าเสรีภาพเท่านั้นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและลืมเรื่องที่เกี่ยวกับคุณค่าอื่นทั้งหลายอย่างเช่นความชอบธรรม , วิทยปัญญาและอื่นๆส่วนผู้อื่นอีกก็อาจจะเห็นว่าความรักเท่านั้นที่เป็นประหนึ่งคุณค่าและลืม

ในทางสติปัญญา , ดังที่บรรดาอารีฟได้กระทำกัน , ขณะที่บางคนไปถึงจุดสูงสุดอื่นๆก็คิดว่าความรักเป็นความคิดฟุ้งซ่านอย่างหนึ่ง , และในทางสติปัญญาเท่านั้นเป็นสิ่งที่คู่ควรแก่คุณค่าความรัก , สติปัญญา , ความเที่ยงธรรม , อิสรภาพ , การรับใช้และการอิบาดัตทั้งหมดเป็นคุณค่าอันหลากหลาย

แล้วใครคือมนุษย์ผู้สมบูรณ์ ? บุคคลผู้ซึ่งกระทำการอิบาดัตอย่างแท้จริงเพียงอย่างเดียวหรือผู้ที่สละแล้วซึ่งกิเลสทั้งหลายหรือผู้ที่เกิดมาเป็นไท (อิสรภาพ) หรือในความรัก , หรือผู้มีไหวพริบไม่มีใครสักคนเดียวจากพวกเหล่านี้คือมนุษย์ผู้สมบูรณ์ แต่ถ้าหากว่าคุณค่าทั้งหมดเหล่านี้ได้รับการพัฒนาในตัว

ของเขาด้วยวิถีทางที่ประสานกลมกลืนแล้ว , เขาก็อาจจะได้รับการพิจารณาว่าสมบูรณ์อิมามอะลี (อ) คือ มนุษย์เช่นว่านั้นในหนังสือ “ นะห์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ” ส่วนมากคุณจะพบกับถ้อยคำคำพูดที่โน้มน้าวจิตใจอย่างลึกซึ้งที่สุดของท่าน , และในการอ่านหนังสือเล่มนี้ , คุณจะได้เห็นภาพที่แตกต่างกันทั้งหลายของท่านบางครั้งในการอ่านคำสอนดังกล่าว คุณนึกว่า อเวซินากำลังแสดงปาฐกถาอยู่ณสถานที่แห่งนั้น เมื่อคุณอ่านอีกแห่งหนึ่ง คุณก็จะรู้สึกเหมือนกับว่ามุลลารูมีหรือมุฮิยิดดีนอารอบีกำลังพูดอยู่กับตัวคุณเอง , จากนั้นเมื่อคุณอ่านต่อไปอีกประหนึ่งว่า คุณสัมผัสกับเรื่องราวแห่งความกล้าหาญของเฟรโดซี , หรือเรื่องราวของชายผู้ถือความเป็นอิสรภาพ , หรือผู้ที่นั่งบริกรรมคาถา , หรือผู้ที่ละทิ้งสังคมแล้วมากระทำการอิบาดัตในสภาพของผู้ให้การเทศนาทั้งหมดจากบรรดาแง่มุมต่างๆของมนุษย์ได้แสดงตัวของเขาเองให้เห็นในถ้อยคำทั้งหลายของอิมามอะลี(อ)

๒๔

และจากนั้นคุณก็จะเห็นว่าท่านยิ่งใหญ่อย่างไรและเรากระจ้อยร่อยอย่างไรในอดีตที่ผ่านมานั้นเป็นเวลาถึงห้าสิบปีมาแล้ว , สังคมของเราได้โน้มเอียงไปในทางเรื่องราวทั้งหลายของศาสนา , มุ่งสู่หนทางแห่งการสันโดษบรรดา

ผู้เผยแพร่สั่งสอนมักจะจำกัดขอบเขตต่อบรรดาคำสอนทั้งหลายจาก

“ นะห์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ” ซึ่งได้เน้นเกี่ยวกับเรื่องราวของการสละโลกเพียงเท่านั้น , เรียกโลกนี้ว่าเป็นสถานที่อยู่อาศัยชั่วคราวและโลกหน้าคือความเป็นนิรันดร , และแนะนำประชาชนเพื่อการตระเตรียมสำหรับชีวิตใน

โลกหน้า ส่วนที่เหลือจากคำสอนทั้งหลายของ “ นะห์ญุลบะบาเฆาะฮ์ ” ประหนึ่งว่าไม่มีความเหมาะสมและอ้างว่าเพราะสังคมไม่สามารถที่จะรับมันไว้ได้มันจึงได้หวนกลับไปสู่ลำดับหนึ่งจากคุณค่าทั้งหลายเพียงเท่านั้นเป็นระยะเวลานับพันปี , ที่ไม่มีผู้ใดอ่านคำสั่งของท่านอิมามอะลี (อ) ถึงมา

ลิกอัชตาร , ซึ่งเต็มไปด้วยคำสั่งที่เกี่ยวกับการเมืองและสังคม , ในนั้น ,

อะลี (อ) พูดจากถ้อยคำของท่านศาสดาว่า “ ไม่มีผู้ใดสามารถจะบรรลุถึงระดับของสิทธิและเสรีภาพจากการถูกทอดทิ้งได้จนว่าพวกเขาทั้งหลายจะได้ไปถึงสภาพหนึ่งซึ่งเมื่อความอ่อนแอได้ยืนหยัดต่อต้านความแข็งแกร่งและอ้างถึงสิทธิของพวกเขาโดยปราศจากคำพูดที่ตะกุกตะกัก(เกรงกลัว) ”

ห้าสิบปีมาแล้วที่สังคมมิสามารถเข้าใจสิ่งนี้ , เพราะว่ามันเป็นสังคมที่มีคุณค่าเดียวขณะที่คำพูดทั้งหลายของอะลี (อ) ถูกยับยั้งคุณค่าทั้งหมดของมนุษย์ก็เท่ากับว่าปรากฏให้เห็นอยู่ในชีวประวัติและบุคลิกภาพของเขาเพียงเท่านั้น

ข้าพเจ้ามิได้มีความมุ่งหมายที่จะยกย่องสังคมของเราในปัจจุบันแต่เคราะห์ดีที่ค่านิยมบางอย่างอันคุ้มค่าได้ปรากฏขึ้นในนั้นอย่างไรก็ตาม

๒๕

ข้าพเจ้าเกรงว่าคุณค่าต่างๆทั้งหลายจะกลายมาเป็นมิติที่โดดเดี่ยวอีกครั้งหนึ่งและทำลายคุณค่าอื่นๆถ้าหากว่าเราใคร่อยากที่จะมีอะลี(อ)ในฐานะที่เป็นแบบอย่างและเป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์อย่างสมดุลของเราแล้วสิ่งนี้จึงไม่น่าที่จะเกิดขึ้นท่านคือมนุษย์ผู้หนึ่งซึ่งในบรรดาคุณค่าทั้งหมดของมนุษย์ได้รับการพัฒนาอย่างประสานกลมกลืนในยามค่ำคืนและในช่วงเวลาที่ใกล้ชิดกับพระผู้เป็นเจ้าไม่มีอารีฟคนใดที่จะสามารถเท่าเทียมท่านได้เลยในความปลื้มปิติที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้าของท่านและในการ(ส่งจิต)ล่องลอยไปสู่พระองค์ท่านเป็นผู้ที่มีความล้ำลึกอย่างมากในการอิบาดัตของท่านซึ่งจะไม่มีสิ่งใดสามารถที่จะทำลายสมาธิในการภักดีของท่านได้เลยและความรักต่อพระผู้เป็นเจ้าเช่นนี้คล้ายกับว่าได้นำทางไปสู่อีกโลกหนึ่งนี่คือวิธีที่ท่านอยู่ในสถานที่แห่งการภักดีในยามราตรีกาล ในช่วงเวลากลางวัน ท่านเป็นผู้ที่แตกต่างกันไม่เหมือนกับบรรดานักพรตทั้งหลายท่านเป็นผู้ที่ร่าเริงเมื่อนั่งสนทนาร่วมกับบรรดาสหายของท่านและแม้แต่การกล่าวคำพูดที่สนุกสนานอัมร์บินอัสส์ได้กล่าววิจารณ์ท่านว่า(อัมร์บินอัศ คือแม่ทัพของมุอาวียะฮ์)เป็นผู้ที่ไม่เหมาะสมสำหรับตำแหน่งคอลีฟะฮ์โดยเหตุที่ท่านเป็นผู้ที่สนุกสนานร่าเริงประหนึ่งว่า ถ้าเป็นคอลีฟะฮ์แล้วจะต้องมีในหน้าที่บึ้งตึงอยู่เสมอเพื่อที่จะขู่ตะคอกประชาชนในสนามรบก็เช่นเดียวกัน

ท่านก็เป็นผู้ที่ร่าเริงและยิ้มแย้มแจ่มใสแต่ณสถานที่กระทำการภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้านั้นท่านร่ำไห้น้ำตานอง

อัลกุรอานกล่าวไว้ในซูเราะฮ์(อัลมุซซัมมิล)อายะฮ์ที่ 6-7( ความว่า) …

“ แน่นอนการตื่นขึ้นตอนกลางคืน แนวทางที่มั่นคงสู่การยึดเหนี่ยวและแน่วแน่ในคำพูด ( การตื่นขึ้นหลังเที่ยงคืนเพื่อการภักดีและติดต่อใกล้ชิดกับอัลลอฮ์ (ซ.บ.) แน่นอนในตอนกลางวันเจ้ามีกิจการที่ยาวนาน ”

๒๖

กลางคืนเพื่อการกราบกรานภักดี ส่วนกลางวันสำหรับการดำรงชีพและการอยู่ร่วมกับสังคม

บทกวีของของฮาฟิซ บางครั้งก็ถูกนำมาเอ่ยเพื่อที่จะนำพาคนหนุ่มสาวไปในทางที่หลงผิดพวกที่ไม่ปรารถนาดีเหล่านั้นพากันกล่าวว่า นักกวีผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้เป็นคนติดเหล้าองุ่นส่วนตามความเป็นจริงแล้วบทกวีทั้งหลาย

ของเขาเป็นเรื่องราวของจิตวิญญาณทั้งสิ้น เขาเป็นอุละมาผู้ซึ่งได้แปลความหมายของคัมภีร์อัลกุรอานและหลังจากนั้นก็ได้กลายเป็นผู้มีชื่อเสียงในฐานะนักกวีผู้หนึ่งเขาได้ให้ความหมายของอายะฮ์อัลกุรอานข้างต้นมาเป็นบทกวีซึ่งกล่าวว่า “ ตะวันพรุ่งรุ่งทิวาเป็นเวลาของกิจการและความมานะ

และยามราตรีเมื่อมีมาเป็นเวลาของไวน์แห่งการภักดี ” อาลี (อ) ก็คือมนุษย์เช่นว่านั้นและเป็นที่รู้จักกันในแนวทางนี้นับเป็นเวลาร่วมพันกว่าปีมาแล้ว

ผู้เรียบเรียงหนังสือ “ นะห์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ” ซัยยิดรอฎีได้กล่าวว่าสิ่งที่น่าแปลกในที่สุดเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ก็คือว่าท่านจะพบอาลี (อ) ในหลายๆโลกที่แตกต่างกันเมื่อท่านอ่านหนังสือเล่มนี้ นั่นคือในโลกแห่งการอิบาดัต , ในโลกแห่งปรัชญา , ในโลกของอิรฟาน , ในข่ายงานของกองทัพ , ในโลกแห่งความเที่ยงธรรมของการพิพากษา , ในโลกแห่งฟะกีฮ , และอื่นๆอีกมากมายและท่านอิมามอาลี (อ) มิเคยที่จะหนีห่างไปจากโลกใดโลกหนึ่งของมนุษย์เลย

๒๗

สะฟ์ยิดดีนฮิลลี , นักกวีของศตวรรษที่หกของฮิจเราะฮ์ศักราชกล่าวเกี่ยวกับ

อิมามอาลี(อ)ว่า ท่านคือศูนย์รวมของสิ่งตรงกันข้ามทั้งหมดท่านเป็นทั้งผู้ปกครองและนักปราชญ์เป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตนและผู้กล้าหาญ ผู้ยากไร้และผู้เผื่อแผ่สุภาพและเฉียบขาด , เป็นผู้ประกอบการภักดีที่ดื่มด่ำล้ำ

ลึกและเป็นบุรุษผู้มีภารกิจการกระทำอันจริงจังท่านเป็นวีรบุรุษในขอบเขตความรู้ทั้งหมดของมนุษย์บางสิ่งบางอย่างที่เราไม่สามารถเป็นได้แต่อย่างน้อยเราก็สามารถที่จะรักษาไว้ซึ่งความแน่นอนของขั้นตอนแห่งความสมดุลในจำนวนคุณค่าทั้งมวลเพื่อที่จะได้ถูกเรียกว่าเป็นมุสลิมที่แท้จริงสักคนหนึ่งในฐานันดรที่แตกต่างกันนั้น

ธรรมชาติของมนุษย์เราทราบดีว่ามีความแตกต่างกันในทัศนะทั้งหลายเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์สองทัศนะที่ยืนยันถึงความตรงกันข้ามซึ่งกันและกันซึ่งก็คือแนวคิดในทางจิตนิยมและวัตถุนิยม

ตามทัศนะของพวกจิตนิยมมนุษย์ คือ ส่วนประกอบของร่างกายและจิตวิญญาณอย่างแท้จริงวิญญาณมีความเป็นนิรันดรและไม่มีการบุบสลายไปพร้อมกับความตายและเราก็ทราบดีว่าศาสนาและตำราทั้งหลายในอิสลามก็ได้ยืนยันต่อความคิดนี้

ส่วนตามทัศนะของพวกวัตถุนิยมนั้นมนุษย์ประกอบด้วยเครื่องจักรกลไกของร่างกายเพียงแค่นี้เท่านั้นซึ่งก็จะถูกทำลายไปพร้อมกับความตายและการแยกชิ้นส่วนของมันก็หมายถึงการล้มละลายแห่งตัวตนของเขาถึงแม้ว่าจากความแตกต่างกันอย่างมากมายของความคิดดังกล่าวนี้ยังมีบางสิ่งบางอย่างซึ่งเป็นเรื่องที่ทั้งสองกลุ่มมีความเห็นสอดคล้องกันและนั่นก็คือการอยู่ของสิ่งที่เชื่อได้ว่ามิได้เป็นวัตถุมาแต่เดิมซึ่งบางทีเรียกกันว่าสติปัญญาและเป็นสิ่งที่มอบให้แก่มนุษย์ซึ่งคุณค่าและบุคลิกภาพของเขา

๒๘

และถ้าหากว่า มนุษย์ขาดมันเขาก็จะตกต่ำถึงขั้นของสรรพสัตว์ทั้งหลาย

กวีซะอฺดีได้พรรณนความคิดนี้ออกมาเป็นบทกวี

“ ร่างกายของมนุษย์จะสูงส่งก็โดยวิญญาณของเขาส่วนความหรูหรา

ของเสื้อผ้าและตาหรือเพียงแค่จมูกปากแล้วไซร้

แล้วสิ่งใดเล่าจะเป็นความแตกต่างในระหว่างภาพที่อยู่บนฝาผนังกับมนุษยชาติ ”

มีสุภาษิตหนึ่งกล่าวว่า “ มันช่างเป็นการง่ายเสียนี่กระไรต่อการ

ที่จะกลายมาเป็นผู้รู้สักคนหนึ่งและมันช่างยากยิ่งอย่างเหลือหลายในการที่จะเป็นมนุษย์ที่แท้จริงสักคนหนึ่ง ”

มันมีข้อกำหนดอันหลากหลายในบรรดาคุณลักษณะซึ่งขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพและคุณงามความดีของบุคคล

ความเบี่ยงเบนซึ่งเกิดขึ้นในปัจเจกชนหรือในชนหมู่มากมีอยู่ด้วยกันสอง

ประเภท

1) บรรดาผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อคุณค่าทั้งหลายของมนุษย์ซึ่งได้พากันยืนหยัดต่อต้านคุณค่า ดังเช่น ผู้ปกครองที่กดขี่ข่มเหงต่อต้านคัดค้านความเที่ยงธรรมยับยั้งขัดขวางอิสระเสรีภาพ , ไม่เชื่อในพระผู้เป็นเจ้าและขาดระเบียบวินัยขัดขวางการอิบาดัตและการเคารพภักดี (ยังพระผู้เป็นเจ้า) ตลอดจนโง่เขลาเบาปัญญาต่อต้านความเฉลียวฉลาดและไหวพริบความคิดเช่นนี้จะตั้งอยู่ได้ไม่นาน เพราะว่าในไม่ช้าการต่อต้านคุณค่าดังกล่าวนี้ก็จะถูกลบล้างไปในที่สุด

๒๙

2) ความเบี่ยงเบนของอีกกลุ่มหนึ่งที่รับรูปแบบมาจากโรคมะเร็งร้ายซึ่งเติบโตแพร่หลายขึ้นจากคุณค่าหนึ่งและลบล้างคุณค่าอื่นๆทั้งหมด

ดังตัวอย่างเช่น การตะเซาวุฟที่เป็นคุณค่าหนึ่งและเป็นบรรทัดฐานของมนุษยชาติแต่ว่า บุคคลหนึ่งหรือสังคมหนึ่งอาจจะหันไปสู่มันถึงขนาดที่ไม่เอาในใส่ต่อทุกๆคุณค่าอื่นๆคุณค่าทั้งหลายของมนุษย์ บางทีกล่าวกันว่าบังเกิดขึ้นภายใต้หัวข้อเดียวกันดังที่ได้แสดงความคิดเห็นโดยบรรดาอารีฟของเราและนักการศาสนาทั้งหลายผู้เป็นแบบอย่างของเราและนั่นคือความรู้สึกอย่างหนึ่งของความเจ็บปวดซึ่งบางสิ่งบางอย่างที่ไม่มีในสัตว์ทั้งหลายความเจ็บปวดคือบ่อเกิดของความไม่สุขสบาย ในเวลาเดียวกัน มันก็เป็นสิ่งบอกเตือนให้ระมัดระวังไว้เพื่อที่จะหาสาเหตุในวิถีทางนี้ มันคือ ความเมตตาอย่างหนึ่งถึงแม้ว่าบางสาเหตุจะหาไม่พบก็ตามเมาลาวี , ได้แสดงความคิดเห็นดังกล่าวนี้เป็นโคลงบทหนึ่ง “ ถอนหายใจและครวญคราง คืออาการเจ็บไข้ตระเตรียมตื่นตัวไว้ตามเวลานั้น

เมื่อใดที่ท่านป่วยไข้ท่านสำนึกขึ้นมาได้ในความผิดพลาด สำหรับท่านบาปนั้นจึงเป็นที่น่ารังเกียจ , ผู้ซึ่งมีความระแวดระวังมากกว่าใครๆก็จะเจ็บปวดมากกว่าทุกคนเขาผู้ซึ่งมีความสังวรมากกว่าก็จะเป็นผู้ที่ซูบผอมมากกว่าใครๆ ” ดังนั้น มันคือ ความแน่นอนที่ว่าการเจ็บปวดป่วยไข้มีประโยชน์เช่นนี้ คือว่ามันทำให้ท่านมีความระมัดระวังและห่วงใย (หมายถึงผู้ที่มีความรับผิดชอบและรับรู้มากกว่าจึงต้องซูบซีดมากกว่าและเจ็บปวดมากกว่า) ความไม่รู้สึกเจ็บปวดก็เหมือนกับไม่มีความรู้สึกและไม่มีความเข้าใจอันใดเลยเสมือนหนึ่งผู้เบาปัญญาสิ่งไหนจะดีกว่ากันระหว่างการเป็น

ผู้โง่เขลาและไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดหรือว่าเป็นผู้ที่ระมัดระวังตื่นตัวอยู่เสมอและมีความรู้สึกเจ็บปวด

๓๐

บางครั้งกล่าวกันว่า เป็นปราชญ์ผู้ผอมโซอย่างโสเครตีสยังดีกว่าคนโง่ที่อ้วนพี ดั่งสุกรเป็นผู้คงแก่เรียนและดำรงไว้ซึ่งความเฉลียวฉลาดแต่ขาดความสุขสบายทั้งหลายดีกว่าผู้ขาดสติที่สามารถสรรหาบรรดาความบรมสุขทั้งมวลนักอักษรศาสตร์ของเราเต็มไปด้วยข้อกล่าวหามากมาย

ในฐานะที่พวกเขาเป็นผู้มีไหวพริบที่ชาญฉลาด สำหรับพวกเขามิเคยได้รับความสุขกายสบายใจแก่ตนเองเลย

กวีบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า “ ไหวพริบและวิทยปัญญาของข้าเป็นศัตรูแก่ข้า

ข้าปรารถนาที่จะให้หูตาของเข้าจงอย่าได้เปิดออกมาเพื่อรับรู้

กวีอีกบทหนึ่งกล่าวว่า “ จงอย่างเป็นคนฉลาดเพื่อจะเศร้าเสียใจให้แก่คนบ้า แต่จงเป็นคนบ้าเพื่อที่จะได้รับความโศกเศร้าใจจากคนฉลาด ”

แต่ว่า ทัศนะเช่นนั้นเป็นความผิดพลาดเขาผู้ซึ่งได้บรรลุถึงขั้นแห่งความเป็นมนุษยชาติและมีความเข้าใจอย่างมาก แต่ความรู้สึกที่อ่อนไหวตลอดจนความเจ็บปวดรวดร้าวมาแล้วจะไม่กล่าวเช่นนั้นเลยว่าไหวพริบและ

วิทยปัญญาของเขาเป็นศัตรูแก่เขาถ้าจะกล่าวให้ถูกต้องแล้วเขาควรที่จะต้องกลับมาสู่คำกล่าวของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ็อล)ที่กล่าวว่า “ เพื่อนแท้ของบุคคลนั้น ก็คือ ปัญญาปฏิภาณของเขาและศัตรูที่แท้จริงของเขาก็คือความโง่เขลาของเขานั่นเอง ” เขาผู้ซึ่งถือว่าไหวพริบปฏิภาณของเขาคือ

ศัตรูนั้นมิเคยมีความรู้สึกไม่สบายใจหรือมิเคยประสบกับความโชคร้ายอันเนื่องมาจากความโง่เขลาของเขาเลย , มิเช่นนั้นแล้ว เขาก็จะไม่ตั้งข้อสังเกตขึ้นมาอย่างนั้นการป่วยไข้ทางร่างกายก็เช่นเดียวกัน , ในข้อนั้นจะต้องมีความเจ็บปวด , ไม่เช่นนั้นการเจ็บป่วยก็ไม่สามารถที่จะรับการวินิจฉัยที่มาของ

โรคและผลแห่งการรักษาได้ความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นมาอย่างทันทีทันใดและปราศจากการเจ็บปวดนั้นเป็นอันตรายยิ่งนัก

๓๑

อะไรคือ ความเจ็บปวดของมนุษย์ ? มันมิได้หมายถึง ความเจ็บปวดทั้งหลาย

ในทางร่างกายเพียงเท่านั้น แต่มันคือความเจ็บปวดอย่างหนึ่ง(ในทางจิตวิญญาณ)ซึ่งถือได้ว่าเป็นความเร้นลับโดยบรรดาผู้ไขความลี้ลับมหัศจรรย์ผู้รู้ของเราและเป็นลักษณะเฉพาะแก่มนุษย์ทั้งหลาย และด้วยเหตุผลเช่นนี้มนุษย์จึงได้ฝักใฝ่ไปในทางของมะลาอิกะฮ์ เพราะว่ามะลาอิกะฮ์นั้น

เป็นอิสระจากความเจ็บปวด การเจ็บปวดของมนุษย์ดังกล่าวนั้นเป็นความเจ็บปวดเพื่อการแสวงหาพระผู้เป็นเจ้า เป็นความจริงอย่างหนึ่งที่ว่ามนุษย์ถูกให้กำเนิดมาโดยการเป่าวิญญาณของพระผู้เป็นเจ้าในโลกอื่น , และมันมิได้ประกอบขึ้นด้วยสิ่งที่เหมือนกันกับสิ่งต่างๆของโลกนี้ทั้งหมด

เขามีความรู้สึกอย่างหนึ่งที่ต่างกันออกไปและเหินห่างกับบรรดาสิ่งถูกสร้างทั้งหมดในโลกนี้ , ด้วยเหตุที่พวกมันทั้งหลายมีการเปลี่ยนแปลงได้และหมดสภาพลงได้ทั้งหมดมันจึงมิใช่คุณค่าแห่งความผูกพัน , อย่างไรก็ตาม มนุษย์ก็มีความกังวลอยู่ตลอดกาล , และนี่คือสิ่งที่ดึงดูดเขาไปสู่การอิบาดัตและ

การเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า , ติดต่อกับพระองค์ , ใกล้ชิดพระองค์ , ในฐานะเป็นรากฐานเดิมของเขา มีเรื่องราวที่เป็นคติมากมายในหมู่ผู้รู้ศาสตร์ลี้ลับของเราเกี่ยวกับการกลับคืนสู่รากฐานเดิมของตนเอง

บทกวีได้พูดถึงนกแก้วตัวหนึ่งที่ถูกจับใส่กรงมาจากประเทศอินเดียตลอดเวลา นกปรารถนาที่จะทำลายกรงขังเพื่อจะบินหนีกลับรัง

เมาลาวี , ได้บอกเล่าเรื่องราวของไม้อ้อซึ่งถูกตัดออกจากต้นกอของมัน , และจากนั้น เราจึงได้ยินเสียงขลุ่ย (ซึ่งทำจากไม้อ้อ) คร่ำครวญอย่างโศกเศร้าอาลัยหา นี่คือ การแยกกันอยู่กับความปรารถนาที่จะกลับรวมกันใหม่บางครั้ง พวกเขาได้เปรียบเทียบบุคคลกับช้าง มันจะต้องถูกเคาะหัวอยู่เสมอเพื่อว่ามันจะได้ไม่มีโอกาสคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอนของมัน

๓๒

ส่วนมากของเรื่องราวที่เป็นคติเปรียบเทียบทั้งหลายเหล่านี้กล่าวได้ว่า , มนุษย์มีความกระวนกระวายใจเพื่อจะกลับคืนสู่โลกหน้า , พวกเขามีความรู้สึกเจ็บปวดที่ได้แยกกันและคร่ำครวญหาเพื่อการกลับคืนยัง

พระองค์

อิมามอาลี(อ)ในการสนทนากันครั้งหนึ่งกับโกเมล อิบนิ ซิยาด , ได้เปิดเผยว่าไม่มีผู้ใดเลยที่เขาได้ไขความลี้ลับจากหัวใจของเขา แต่ท่านกล่าวว่า มีปัจเจกชนบางคนบนโลกนี้ผู้ซึ่งได้บรรลุถึงจุดแห่งความสมบูรณ์อย่างเที่ยงแท้ในความรอบรู้และมีความรู้สึกว่าไม่มีช่องว่างอันใดที่จะแยกพวกเขาออกไปจากวิญญาณแห่งความแน่นอนได้ , ซึ่งสิ่งนี้เป็นความยากลำบากสำหรับผู้คนที่มีชีวิตอยู่อย่างสุขสำราญและพวกวัตถุนิยมที่จะบรรลุถึงความสำเร็จในจุดนี้ได้แต่เป็นความสะดวกสบายและง่ายดายสำหรับพวกเขา(ผู้ศรัทธา)ทั้งหลาย , และอะไรคือความหวาดหวั่นของพวกผู้ไม่ศรัทธา ,

กล่าวคือ , การอยู่อย่างสันโดษกับพระผู้เป็นเจ้า คือวิถีทางแห่งความเป็นมิตรภาพสำหรับพวกผู้ศรัทธาซึ่งพวกเขาร่วมทางไปพร้อมกับประชาชนแต่วิญญาณของพวกทะยานขึ้นสู่ความสูงส่ง , และขณะที่พวกเขาทั้งหลายพำนักอยู่บนโลกนี้พวกเขาก็จะอยู่พร้อมกันในโลกหน้าด้วยวิธีดำเนินการผ่านความลี้ลับและการอิบาดัตที่ดื่มด่ำความเจ็บปวดทั้งหลายตลอดจน การติดต่ออย่างใกล้ชิดกับพระองค์ที่อาลี(อ)มีอยู่

ความรักที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้าอย่างนี้ได้ทำให้การอิบาดัตทั้งหมดปราศจากความรู้สึกใดๆต่อสิ่งที่ดำเนินไปอยู่รอบๆตัวท่านและท่านมิได้มีความเจ็บปวดเลยแม้ว่าลูกธนูจะถูกดึงออกจากร่างกายของท่าน(ขณะประกอบ

อิบาดัต) ความเจ็บปวดที่ถูกแยกออกไปจากกันเช่นนี้

๓๓

เนื่องจากความรักที่มีต่ออัลลอฮ(ซบ) ( พระผู้เป็นเจ้า) และความปรารถนาเพื่อการใกล้ชิดพระองค์จะไม่มีวันสิ้นจนกว่าเขาจะได้บรรลุถึงเป้าหมายแห่งการเชื่อมสัมพันธ์กับพระองค์

. อัลกุรอาน ซูเราะฮ์อัรเราะอฺดุ อา ยะฮ์ที่ 28

กล่าวว่า “ บรรดาเหล่านั้นผู้ซึ่งศรัทธาและซึ่งหัวใจของพวกเขาสงบลงโดยการซิกรุ้ลลอฮ ณ บัดนี้ แน่นอนยิ่งโดยการซิกรุ้ลลอฮจึงทำให้หัวใจสงบลง ”

เมาลาวีได้อ้างถึงเรื่องที่ให้คติของชายผู้หนึ่งซึ่งเป็นผู้ที่มิเคยหยุดยั้งจากการติดต่อใกล้ชิดกับพระเป็นเจ้าและคงอยู่ด้วยการกล่าวย้ำพระนามของพระองค์อยู่เช่นนั้น

ครั้งหนึ่ง ซาตานได้มาหาเขาและล่อลวงเขาด้วยการแสดงอากัปกิริยาเช่นเดียวกันนั้น จนกระทั้งเขาได้หยุดชะงักจากการซิกรุ้ลลอฮนับแต่นั้นมาอีกวันหนึ่งซาตานได้มาหาชายผู้นี้อีกและกล่าวว่า

“ ด้วยการกล่าวนามของพระผู้เป็นเจ้าอย่างซ้ำซากตลอดจนการตื่นขึ้นมาในตอนรุ่งอรุณของท่านเพื่อการเคารพภักดีพระองค์และรวมทั้งการคร่ำครวญหาของท่านนั้น ท่านเคยได้ยินคำกล่าวจากพระองค์สักครั้งหนึ่งไหมว่าข้าอยู่ที่นี่ ”

๓๔

ถ้าหากว่าท่านท่องเที่ยวไปยังทิศทางใดทิศทางหนึ่งและคร่ำครวญ

อย่างมากมายเช่นนี้ท่านก็จะได้รับคำตอบอย่างน้อยก็หนึ่งครั้ง คำพูดนี้ปรากฏเป็นเหตุผลแก่ชายผู้นั้น ดังนั้น เขายังคงนิ่งเฉยอยู่ในความฝันอีกครั้งหนึ่งเสียงที่เอ่ยขึ้นโดยไม่เห็นผู้ใดได้ถามเขาเกี่ยวกับการที่ได้หยุดยั้งจากมีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระผู้เป็นเจ้าเขาตอบว่าไม่ว่าจะเป็นการคร่ำคราญหา

ทั้งหมดของเขาและความเจ็บปวดรวดร้าวของเขาอันเนื่องมาจากความรักที่มีต่อพระองค์ก็ตามเขามิเคยได้รับคำตอบจากพระองค์เลยเสียงนั้นกล่าวว่า

“ ข้าถูกส่งมาจากพระผู้เป็นเจ้าเพื่อให้คำตอบแก่ท่านความเจ็บปวดรวดร้าวจากความรักที่พระองค์ได้ทรงใส่ไว้ในหัวใจของท่านนั้นแหละคือการตอบรับจากพระองค์ ”

อิมามอาลี(อ)ในดุอากุเมลของท่านกล่าวว่า “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า

โปรดอภัยในบาปนั้นซึ่งเป็นเหตุให้การวิงวอนของข้าพระองค์อยู่ในวงจำกัดและความเจ็บปวดของมันที่จะถูกปลดเปลื้องออกไป ”

อย่าได้ถูกจำกัดคำวิงวอนและอย่าได้ปลดเปลื้องความเจ็บปวดออกไป)

ด้วยเหตุนี้ คำวิงวอนคือเป้าหมายหนึ่งในตัวของมันเองและมิได้หมายความว่า คำตอบที่ได้รับนั้นเป็นความพึงพอใจเสมอไป

อีกกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า บรรทัดฐานของมนุษยชาตินั้นก็คือการที่ได้มีความเห็นใจในความเจ็บปวดของสิ่งถูกสร้างทั้งหลายของพระองค์และดังที่จินตกวีซะอฺดีได้กล่าวไว้ “ มันหาใช่ความขัดสนไม่ที่ทำให้ฉันซีดเซียว ฉันซูบซีดลงก็เนื่องมาจากฉันมีความโศกเศร้าแทนผู้ขัดสนยากไร้ ”

๓๕

ถ้าหากว่าความหิวโหยและความเจ็บปวดของผู้อื่นทั้งหลายเป็น

ความยากลำบากที่พวกเขาจะแบกรับภาระมากไปกว่าความหิวโหยและเจ็บปวดของตนเองและทำให้บุคคลได้เข้าทำการเสียสละแบกรับภาระอันนั้น มันคือคุณค่าหนึ่งซึ่งเป็นพื้นฐานแห่งบุคลิกภาพและเป็นที่มาของคุณค่าอื่นทั้งหลายของมนุษย์มันเป็นความเกี่ยวพันกับความรู้สึกอย่างหนึ่งของความรับผิดชอบที่มุ่งไปยังความต้องการและความทุกข์ทรมานทั้งหลายของมนุษย์ผู้อื่น แต่การเอาใจใส่ต่อความทุกข์ทรมานของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเพียงอย่างเดียวและละเลยต่อหน้าที่อื่นๆ ทั้งหลายนั้นเป็นการล่วงล้ำบนคุณค่าอื่นๆด้วยเหมือนกันเราพบแบบอย่างแห่งความสมบูรณ์ในตัวของ

อิมามอาลี(อ)โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การถือศีลอดเดือนรอมฎอนครั้งสุดท้ายในชีวิตของท่าน สำหรับท่านมันเป็นความพึงใจครั้งใหม่และสำหรับครอบครัวของท่านนั้นเต็มไปด้วยความห่วงใย เพราะการปฏิบัติของท่านในเดือนนั้นเป็นความแตกต่างอย่างชัดแจ้งจากเดือนแห่งการถือศีลอดของปีก่อนๆมา ”

ท่านอาลี (อ)พูดจากอัลกุรอาน ซูเราะฮ์ อัลอังกะบูต อายะฮ์ที่ 2, 3

ดังต่อไปนี้

“มนุษย์คิดว่าเขาถูกทอดทิ้งให้อยู่อย่างเดียวดายด้วยการกล่าวว่า เราศรัทธาและพวกเขาก็จะไม่ถูกทดลอง ? และแน่นอนที่เราได้ทดลองพวกเหล่านั้นก่อนหน้าพวกเขามาแล้ว ดั้งนั้น อัลลอฮจะทรงรู้อย่างมิพลาดต่อบรรดาผู้ซึ่งซื่อสัตย์และจะทรงรู้อย่างแน่นอนต่อบรรดาผู้มุสา ”

ท่านกล่าวว่า “ ทันทีที่อายะฮ์นี้ลงมาฉันได้รับรู้ถึงการยุยงอย่างกว้างขวางและความพยายามในการก่อกบฏที่ได้ถูกตระเตรียมไว้สำหรับผู้คนเหล่านั้นและฉันได้ถามท่านศาสดา(ศ)ว่าโองการนั้นหมายถึงสิ่งใด ?

๓๖

ท่านศาสดาได้ตอบว่า “ หลังจากฉัน ผู้คนของฉันได้รับการทดสอบและทดลองใจ ” ( จากพระผู้เป็นเจ้า) ฉันกล่าวว่า “ บรรดาบุคคลผู้ซึ่งเป็นชะฮีด

( เสียสละชีพในหนทางของอัลลอฮ ซ.บ) ในสนามรบรบอุฮุดจำนวนเจ็ดสิบคนนำโดยท่านฮัมซะฮ์บุตรชายของอับดุลมุฏตอลิบ ขณะที่ฉันมีความไม่สบายใจที่ไม่ได้รับความโปรดปรานจากการเป็นชะฮีด

ทำไมฉันจึงไม่ได้รับเกียรติอันนี้ ? ” ท่านศาสดาได้กล่าวว่า “ ถึงแม้ว่าเจ้าจะไม่ได้รับชะฮีดณสถานที่แห่งนี้ (อุฮุด) เจ้าก็จะได้รับชะฮีดในหนทางแห่งพระผู้เป็นเจ้า ”

ในสนามรบอุฮุด อาลี(อ)มีอายุเพียง 25 ปีเท่านั้นและเพิ่งผ่านการสมรสกับท่านหญิงฟาติมะฮ์มาใหม่ๆและมีท่านฮะซันในฐานะเป็นบุตรคนแรกของครอบครัว คนหนุ่มสาวซึ่งตามปกติธรรมดาแล้วหวังที่จะคอยๆแสวงหา

ความก้าวหน้าในชีวิตความเป็นอยู่ ในขณะที่ความประสงค์อันยิ่งใหญ่ของอาลี(อ)เพียงเท่านั้นที่จะให้ได้รับชะฮีดในหนทางของพระผู้เป็นเจ้า

ท่านศาสดาจึงได้ถามอาลี(อ)ขึ้นว่า “ เจ้ามีความอดทนเพียงใดต่อ

การแสดงออกในการที่จะได้รับชะฮีด ? ” อาลี (อ) ตอบว่า “ ขอได้โปรดอย่าพูดถึงความอดทนเลยถามฉันว่ามันเป็นความสุขใจเพียงใจที่ฉันจะได้รับดีกว่า ”

ในผลที่ติดตามมาจากคำพูดทั้งหลายของท่านศาสดา(ศ)และจากสัญญาณมากมายซึ่งอาลี(อ)ยังจำได้และได้ชี้แจงแก่ครอบครัวของท่านและ

บรรดาผู้ติดตาม(สหาย)ต่างก็มีความห่วงใยในเดือนสุดท้ายแห่งการศีลอดปีนั้น ท่านได้ท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆในฐานะแขกรับเชิญผู้หนึ่งเพื่อการละศีลอดของท่าน

๓๗

แต่ทุกครั้งเป็นการรับประทานอันน้อยนิดลูกๆของท่านถามท่านอย่างสงสารและเห็นใจว่าเหตุใดท่านจึงได้ละเว้นจากการรับประทานอาหารให้เพีองพอ ท่านตอบว่าท่านปรารถนาที่จะพบกับพระผู้อภิบาลของท่านในสภาพของท้องที่ว่างเปล่าจากนั้นพวกเขาทั้งหลายจึงได้ตระหนักว่าอาลี(อ)ได้รอคอยบางสิ่งบางอย่างที่กำลังจะมาถึง บางครั้งท่านแหงนขึ้นมองท้องฟ้าและกล่าวว่า “ สิ่งที่ท่านศาสดาผู้เป็นที่รักยิ่งของฉันได้กล่าวแก่ฉันไว้นั้น มันคือ

สัจธรรมและมันใกล้เข้ามาอย่างแน่แท้แล้ว ”

ในเวลาค่ำคืนก่อนวันที่ 19 ของเดือนรอมฎอน เด็กๆ (ลูกหลาน) อยู่ด้วยกันกับท่านชั่วครู่หนึ่ง จากนั้น อิมามฮะซัน (อ) ก็กลับไปยังบ้านของท่านเอง

อาลี(อ)มีสถานที่ส่วนตัวสำหรับปฏิบัตินมาซที่ซึ่งท่านอยู่อย่างสันโดษ

เพื่อความใกล้ชิดกับพระผู้เป็นเจ้าของท่าน หลังจากอยู่กับความโดดเดี่ยวของท่านแล้วก็เป็นเรื่องราวเพื่อประชาชน ดวงตะวันยังมิทันได้ทอแสงขึ้นมาขณะที่อิมามฮะซัน(อ)ได้ไปยังสถานที่แห่งนั้นเพื่อที่จะพบกับบิดาของท่านอาลี(อ)มีความรักเป็นพิเศษต่อลูกๆของฟาติมะฮ์ (อ) ท่านได้กล่าวแก่

บุตรชายของท่านว่า “ ขณะที่ฉันนั่งอยู่ที่นั้นเมื่อคืนนี้ฉันมีความรู้สึกง่วงจนหลับไปและฉันได้ฝันถึงท่านศาสดา ” ซึ่งฉันได้กล่าวว่า “ ฉันได้รับความทุกข์ทรมานอย่างมากมายโดยผู้คนของท่าน ” ท่านศาสดากล่าวว่า

“ จงสาปแช่งพวกเขา ” ฉันจึงได้สาปแช่งพวกเขาและวิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้าเพื่อที่จะนำฉันให้ออกห่างไปจากพวกเขาและส่งบุคคลผู้ไร้ความสามารถยังพวกเขา ” เพื่อปกครองพวกเขา)

๓๘

นับว่าเป็นความแปลกประหลาดทีเดียวที่ได้พบเห็นผู้คนที่มิได้แสดงออกถึงความเห็นพ้องต้องกันกับอาลี(อ)ในการปฏิบัติตามแนวทางของท่านและเป็นสาเหตุให้ท่านต้องทุกข์ทรมานอย่างมากมาย ดังเช่น หมู่ชนของท่านหญิงอาอิซะฮ์ซึ่งได้ทำลายการให้สัตยาบันของพวกเขาและมะอาวียะฮ์กับไหวพริบและความฉลาดแกมโกงของเขาซึ่งรู้ดีว่าจะสร้างความเจ็บปวดให้แก่อาลี (อ) ได้มากที่สุดอย่างไรและพวกที่เป็นกบฎภายนอก(คอวาริจญ์)ซึ่งมีความเต็มใจอย่างสวามิภักดิ์ต่อการที่ได้ร่วมกันคว่ำบาตรอาลี(อ)

เมื่อบางคนได้รับรู้เหตุการณ์ทั้งหลายเกี่ยวกับความน่าสลดใจดังกล่าวนั้น

เขามีความประหลาดใจอย่างมากต่อการมีขันติธรรมของอาลี(อ)และตระหนักในเรื่องราวจากความฝันของท่านเหตุใดท่านจึงได้พูดถึงความทุกข์ทรมานทั้งหลายของท่านกับศาสดา(ศ)

เสียงร้องของฝูงเป็ดดังได้ยินจากภายนอกบ้านและอาลี(อ)ได้คาดการณ์ล่วงหน้าว่าในไม่ช้าเสียงร่ำไห้อย่างโศกเศร้าแสนอาลัยจะดังขึ้นกลบเสียงร้องของเป็ดพวกนั้น บุคคลในครอบครัวของท่านล่วงหน้ามาเพื่อหยุดยั้งท่านจากการที่จะไปยังมัสญิดในวันนั้นและเสนอผู้อื่นเพื่อส่งไปเป็นผู้นำนมาซแทนท่านในตอนแรก ท่านเอ่ยชื่อของญาดัตบินฮุบัยรอ หลานชายของท่านในฐานะผู้ทำหน้าที่แทน แต่ท่านก็เปลี่ยนใจและกล่าวว่าตัวท่านเองจะเป็นผู้ไปนำนมาซ พวกเขาได้ถามถึงการที่จะมีใครสักคนหนึ่งในฐานะเป็นเพื่อนร่วมทาง แต่ท่านก็ปฏิเสธอีก หลังจากวันนั้น ขณะที่ท่านนอนป่วยอยู่ด้วยพิษบาดแผลอันสาหัสนั้น ท่านกล่าวว่า “ ฉันขอสาบานด้วยนามแห่งพระผู้เป็นเจ้าว่าดาบที่ฟันลงบนหน้าผากของฉันนั้นเสมือนว่าผู้ที่อยู่ในความรักได้ดำรงอยู่ร่วมกับผู้เป็นที่รักของเขาหรือประหนึ่งว่าบุคคลผู้เพ่งมองไปในความมืดแห่งราตรีกาลเพื่อ(แสวงหา)สถานที่อันสุขสบายที่เขาจะตั้งมั่นปักเต็นท์ของเขาได้และเขาปิติยินดีเป็นล้นพ้นที่ได้พบมัน

๓๙

ถึงอย่างไรก็ตาม ขณะที่เริ่มต้นเพื่อจะไปยังมัสญิดท่านมีความตื่นเต้นเป็นอย่างมากและพยายามที่จะค้นหาเหตุผลท่านมีความรู้สึกว่าเหตุการณ์อันยิ่งใหญ่ใกล้ที่จะเกิดขึ้นแล้ว ภายหลังจากที่ท่านได้ทำการอะซานเรียกร้องผู้ศรัทธาไปสู่การนมาซ ท่านกล่าวคำอำลาตอนเช้าตรู่นั้นและกล่าวว่า

“ โอ้รุ่งอรุณเอ๋ย เจ้าเคยเห็นอาลีหลับไหลไหม เมื่อเจ้าปรากฏขึ้นมาทุกครั้งแต่กาลก่อนนับแต่นี้ไปดวงตาของเขาจะปิดสนิทตลอดไปและตลอดกาล ”

เหมือนดังท่านได้ลงมาจากแท่นหินที่แกะรูปสลักตัวของท่านเองท่านกล่าวว่า “ จงเปิดหนทางให้แก่นักสู้ผู้ศรัทธา ” เรามองท่านในฐานะมนุษย์ผู้สมบูรณ์ผู้หนึ่งซึ่งทั้งหมดได้ก่อให้เกิดขึ้นในเรื่องราวของความกล้าหาญการต่อสู้ดิ้นรนทั้งหลายของท่านการรำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้าอยู่เสมอและมิได้

หวาดหวั่นต่อสิ่งใดในหนทางของพระองค์ ดังที่ผู้คงแก่เรียนทั้งหลายได้กล่าวได้ว่า มนุษย์คือประตูของตัวเขาเองซึ่งเป็นทางที่เขาผ่านเข้าไปสู่โลกแห่งจิตวิญญาณ เพราะฉะนั้นมีรากฐานเดิมในปัจจัยสำคัญของมนุษย์ซึ่งมิได้ประสานกลมกลืนกันกับเรื่องราวความเป็นไปของโลกสิ่งนี้มิใช่เป็นเพียง

สิ่งที่นักจิตวิทยารุ่นก่อนๆเชื่อกันเท่านั้นแต่บรรดาบุคคลผู้ที่ทันสมัยก็มีความเชื่อเช่นนั้นด้วยและยอมรับมันโดยดุษฎี “ เขาผู้ซึ่งรู้จักตัวของเขาเองแน่นอนที่สุดเขาก็จะรู้จักพระผู้เป็นเจ้า ”

และอัลกุรอานได้เปิดเผยแก่มนุษยชาติมิใช่เปิดเผยเพื่อสิ่งถูกสร้างอื่นใดทั้งหมด

๔๐

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151