มนุษย์ผู้สมบูรณ์

มนุษย์ผู้สมบูรณ์37%

มนุษย์ผู้สมบูรณ์ ผู้เขียน:
ผู้แปล: สัยยิด อาบูอีมาน ชาห์ฮุซัยนี
กลุ่ม: อิมามอลี
หน้าต่างๆ: 151

  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 151 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 14501 / ดาวน์โหลด: 5285
ขนาด ขนาด ขนาด
มนุษย์ผู้สมบูรณ์

มนุษย์ผู้สมบูรณ์

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

มนุษย์ผู้สมบูรณ์

Perfect Man

โดย/By

ชะฮีด มุรตะฎอ มุเฏาะฮารี

SHAHID MURTAZA MUTAHHARI

ผู้แปล/ จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ

Translated by

สัยยิด อาบูอีมาน ชาห์ฮุซัยนี

HAJI SYED ABU-IMANSHA HUSEINI

ที่ปรึกษา/

Critic Adviser

ฮุจญะตุ้ลอิสลาม, อัสสะดุลลอฮ อีซาลัต

HUJJATUL ISLAM HAJI SHEIK ASSADULLAH ESSALAT

จัดพิมพ์และแก้ไขเพิ่มเติมโดยเว็บไซต์อัลฮะซะนัยน์

Alhassanain.org/thai

คำนำของผู้แปล

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตานิรันดร

การสรรเสริญทั้งมวลเป็นของอัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลจักรวาล

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่านศาสดามุฮัมมัดและบรรดาทายาทผู้บริสุทธิ์อะหฺลิลบัยตฺของท่าน

บทความเรื่อง มนุษย์ผู้สมบูรณ์ ที่ถูกนำมาถอดความเป็นภาษาไทยซึ่งท่านถืออยู่ในมือขณะนี้ ทั้งหมดเป็นคำปราศรัยของท่านอัชชะฮีดอยาตุลลอฮ์

มุรตะฎอ มุเฏาะฮารี ซึ่งท่านได้ปราศรัยแก่บรรดานักศึกษาและประชาชนตามสถานที่ต่างๆกันในเดือนรอมฎอนปี ๑๙๗๔ จากถ้อยคำของท่านซึ่งได้ถูกนำมาบรรจุไว้ในหนังสือ “ อินซานกาเม้ล ” ( ชื่อภาษาฟารซี) หรือ

“ มนุษย์ผู้สมบูรณ์ ” และจากนั้นได้แปลความหมายจากภาษาฟารซีมาเป็นภาษาอังกฤษโดยดร.อาลาดิน เจตนารมณ์ของท่านอยาตุลลอฮ์ อัชชะฮีด

มุรตะฎอ มุเฏาะฮารี ที่เกี่ยวกับการให้ความกระจ่างในเรื่องความเป็นมนุษย์ของมนุษย์ผู้สมบูรณ์โดยการอรรถาธิบายของท่านนั้น ก็เพื่อที่จะชี้นำให้เห็นถึงวิถีทางของมนุษย์ผู้สมบูรณ์ที่แท้จริงในอิสลามโดยมีอัลกุรอานและ

อัลฮาดิษเป็นบรรทัดฐานและบางครั้งท่านผู้อ่านจะพบกับถ้อยคำที่แสดงการไม่เห็นพ้องกับบรรดาผู้รู้อิสลามบางกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นทางสายของอิรฟาน

(ผู้รู้ที่ใช้วิจารณญาน) , กลุ่มตะเซาวุฟ(กลุ่มผู้เดินทางโดยจิตวิญญาณในการแสวงหาพระผู้เป็นเจ้า,กลุ่มปัญญาชน(ผู้ใช้สติปัญญาหาเหตุผล)

ตลอดจน พวกซูฟีที่ปฏิบัติตนเสมือนนักพรตดาบสหรือฤาษี และบรรดากลุ่มชนผู้แสวงหาความเป็นมนุษย์ผู้สมบูรณ์อย่างเลยเถิด หรือบรรดาผู้ซึ่งยืนหยัดอยู่บนคุณค่าเดียวของความสมบูรณ์ในอิสลาม

ท่านได้เน้นให้เห็นถึงคุณค่าแห่งความสมบูรณ์หลายในทุกๆคุณค่าของมนุษย์ในอิสลามและพิจารณาว่ามนุษย์ผู้สมบูรณ์จะต้องมีแง่มุมต่างๆพร้อมกัน

ทุกด้านในตัวของเขา มิใช่โน้มไปสู่ด้านใดด้านหนึ่งเพียงเท่านั้นและแบบอย่างของมนุษย์ผู้สมบูรณ์ที่แท้จริงนั้น ท่านได้ชี้นำไปยังท่านศาสดา(ซ.ล)และอิมามอาลี(อ.)ตลอดจนบรรดาอะอิมมะฮฺ(อิมาม)จากครอบครัว

อะหฺลิลบัยตฺของท่านศาสดา ( ซ.ล) ที่เป็นมนุษย์ซึ่งมีทุกๆคุณค่ารวมอยู่ในตัวของพวกท่านเหล่านั้นทั้งหมดซึ่งท่านผู้อ่านสามารถที่จะแสวงหาคุณสมบัติของมนุษย์ผู้สมบูรณ์จากคำบรรยายของท่านที่องค์กรต่างๆได้นำมาเสนอ

เป็นลายลักษณ์อักษรภายในหนังสือมนุษย์ผู้สมบูรณ์เล่มนี้ตามความปรารถนา

ขอขอบคุณต่ออัลลอฮฺ ( ซ.บ) พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งที่ทำให้ด้วยกับความรู้อย่างผู้แปล ได้มีโอกาสพบกับท่านฮุจญะตุ้ลอิสลาม อัสสะดุลลอฮฺ อีสาลัต ซึ่งเป็นอาจารย์ผู้สอนวิชาตัฟซีรพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานภาคภาษาอังกฤษในเมืองกุมและมีโอกาสได้รับคำแนะนำและเพิ่มเติมความหมายที่สำคัญทั้งหลายจากบทความ ตลอดจนความลึกล้ำแห่งบทกวีจากต้นฉบับเดิมที่เป็นภาษาฟารซี จนกระทั่งได้ทำให้หนังสือมนุษย์ผู้สมบูรณ์เล่มนี้ไปสู่จุดแห่งความสมบูรณ์มากขึ้น

ขออัลลอฮฺ(ซ.บ)ผู้ทรงเกรียงไกรได้ทรงโปรดปกป้องคุ้มครองบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายและทรงโปรดประทานแนวทางนี้ให้แก่บรรดาผู้ศึกษาค้นคว้าแสวงหาแนวทางที่เที่ยงตรงเหล่านั้นโดยทั่วหน้ากัน

ภาคที่หนึ่ง มนุษย์ผู้สมบูรณ์

มนุษย์ที่บกพร่องกับมนุษย์ที่ปกติดี

การสรรเสริญทั้งมวลเป็นสิทธิแด่เอกองค์อัลลอฮ์

ขอความจำเริญและสันติพึงมีแด่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) และ

อะฮ์ลุลบัยต์ ผู้บริสุทธิ์ทั้งหลายของท่าน

อัลลอฮ์ทรงตรัสในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานว่า

“และจงรำลึกถึง ขณะที่พระผู้อภิบาลของอิบรอฮีมได้ทดสอบเขา ด้วยพระบัญชาบางประการ แล้วเขาก็ได้สนองตามพระบัญชานั้นโดยครบถ้วน พระองค์ตรัสว่า แท้จริงข้าจะให้เจ้าเป็นผู้นำมนุษย์ชาติ เขากล่าวว่า และจากลูกหลานของข้าพระองค์ด้วย พระองค์ตรัสว่า สัญญาของข้านั้นจะไม่ได้แก่บรรดาผู้อธรรม”

ภายใต้การบรรยายในหัวข้อเรื่อง“ มนุษย์ผู้สมบูรณ์ ” จากทัศนะของอิสลาม

มนุษย์ผู้สมบูรณ์ หมายถึง มนุษย์ผู้เป็นแบบอย่างซึ่งสูงส่งและเลิศเลอหรือการแสดงความหมายใดๆอื่นที่บุคคลสามารถจะกล่าวได้ว่ามนุษย์ก็เหมือนกับสิ่งอื่นๆทุกสิ่งอาจจะสมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์ ปกติดีหรือบกพร่อง ผู้ที่ปกติดีก็เช่นเดียวกันอาจจะปกติและสมบูรณ์ทั้งสองอย่างหรือปกติดีแต่ไม่สมบูรณ์ก็ได้

การรู้จักมนุษย์ผู้สมบูรณ์หรือมนุษย์ผู้เป็นแบบอย่างจากแง่คิดแห่งอิสลามนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเรามุสลิมทั้งหลาย

แนวทางในการรู้จักมนุษย์ผู้สมบูรณ์ในทัศนะอิสลาม

เพราะว่าเป็นประหนึ่งแบบอย่างและตัวอย่างอันล้ำเลิศ ความพยายามที่จะให้เท่าเทียมกันซึ่งเราอาจทำได้ ถ้าเรามีความประสงค์ที่จะให้ความเป็นมนุษย์ของเราบรรลุถึงความสมบูรณ์ภายใต้คำสอนทั้งหลายแห่งอิสลามเพราะฉะนั้น เราควรจะได้รับรู้ว่ามนุษย์ผู้สมบูรณ์คืออะไร ไฉนเขาจึงถูกมองประหนึ่งผู้สมถะและผู้เลิศล้ำในทางสติปัญญาและอะไรเป็นลักษณะพิเศษทั้งหลายของเขาเพื่อว่าเราอาจจะได้ตระเตรียมตัวของเราเอง สังคมของเราและปัจเจกชนอื่นๆทั้งหลายของเราให้วางอยู่บนแบบอย่างที่ดีเลิศอันนั้นได้ แต่มาตรว่าเรามิได้รู้จักว่ามนุษย์ผู้สมบูรณ์ในอิสลามเป็นเช่นไร

แน่นอนที่สุด เราก็มิสามารถที่จะกลายมาเป็นมุสลิมผู้สมบูรณ์ได้หรือแม้แต่จะเทียบเคียงกันสักอย่างเดียวกับมนุษย์ผู้สมบูรณ์ก็ไม่ได้มาจากทัศนะของอิสลาม มีอยู่สองแนวทางที่จะรู้บุรุษผู้สมบูรณ์ วิธีหนึ่งก็คือทำการตรวจสอบจากอัลกุรอานว่าเป็นอย่างไร เป็นประการแรก และจากสุนนะฮ์(อัลฮาดีษ)เป็นประการที่สองที่ได้กำหนดความชัดเจนของมนุษย์ผู้สมบูรณ์ไว้

แม้ว่ามันจะหมายถึง การเป็นผู้สมบูรณ์ด้านการศรัทธาและการเป็นมุสลิมที่ดีเลิศกระนั้นก็ตาม มุสลิมผู้สมบูรณ์ คือ บุคคลผู้ซึ่งได้บรรลุถึงความสมบูรณ์ในอิสลาม ผู้ศรัทธาที่สมบูรณ์ ก็คือ ผู้ซึ่งบรรลุแล้วซึ่งความสมบูรณ์พร้อมในการศรัทธาของเขา

ณ บัดนี้ เราจะต้องตรวจสอบกันว่าพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานหรือสุนนะฮฺได้พูดถึงบุคคลดังกล่าวไว้อย่างไร และด้วยลักษณะพิเศษอันใด โดยบังเอิญเรามีหลายสิ่งหลายอย่างที่จะอ้างถึงจากแหล่งที่มาของทั้งสองสิ่ง(อัลกุรอานและอัล-ฮาดีษ) แนวทางที่สอง ก็คือ การพิจารณาความเป็นอยู่อย่างแท้จริง

ของบรรดาปัจเจกบุคคลผู้ซึ่งสร้างสมแนวทางตามแบบอย่างอันล้ำเลิศแห่งคัมภีร์อัลกุรอานและอิสลามมิใช่ที่อุปโลกน์ขึ้นมาเองหรือตามความนึกฝันแต่เป็นความจริงแท้และบุคคลิกภาพตามความเป็นจริงซึ่งดำรงอยู่

อย่างหลากหลายในขั้นตอนต่างๆของความสมบูรณ์ที่ระดับอันสูงส่งของมันหรือแม้แต่ ณ ขั้นตอนอันแสนต่ำต้อยบอบบางก็ตาม ที่ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล) ผู้ทรงเกียรติ คือแบบอย่างแห่งมนุษย์ผู้สมบูรณ์ในอิสลาม

และอิมามอาลี (อ) ก็คือ อีกแบบอย่างหนึ่งการรู้จักมนุษย์ผู้สมบูรณ์ หมายความว่า การรู้จักท่านอย่างละเอียดถี่ถ้วนมิใช่รู้จักเพียงแต่ชื่อการสืบตระกูลหรือหลักฐานการแสดงตัว (บัตรประชาชน) ของท่านเพียงเท่านั้น

บางทีเราอาจจะรู้จักท่านดังนี้ เช่น อาลี คือ บุตรของอบูฏอลิบและเป็นหลานชายของอับดุลมุฏฏอลิบและมารดาของท่านคือ ฟาติมะฮฺบุตรีของ

อะซัด และภรรยาของท่านคือ ฟาติมะฮฺ ซะฮฺรอ(อ)และเขาเป็นบิดาของฮะซันและฮุเซน กับวันเดือนปีที่ท่านเกิดและเสียชีวิตและสนามรบใดๆที่ท่านได้ทำการต่อสู้และอื่นๆ ฯลฯ

แต่ว่าการรู้จักเช่นนี้เป็นการรู้จักเพียงบัตรประชาชนของท่านเพียงเท่านั้นและหาได้เกี่ยวกับท่านในฐานะที่เป็นมนุษย์ผู้สมบูรณ์ ไม่การยอมรับอาลี (อ) หมายถึง การรู้จักบุคลิกลักษณะของท่านมากไปกว่าการรู้จักตัวตนของท่านถึงขั้นที่เราได้ทำความคุ้นเคยกับบุคลิกภาพทั้งหมดของท่านในฐานะมนุษย์ผู้สมบูรณ์แห่งอิสลามและจนกระทั่งถึงขั้นที่เราได้เอาท่านมาเป็นแบบอย่างที่ดีและยอมรับท่านอย่างแม้จริงมิใช่ตามตัวอักษร

ความแตกต่างของคำว่า “สำเร็จ” กับ “สมบูรณ์

แต่ในฐานะผู้นำและอิมามของเรา เมื่อเราปฏิบัติตามและเอาเยี่ยงอย่างท่านและเราก็จะเป็นชีอะฮฺ ผู้ปฏิบัติตามมนุษย์นั้น ชีอะฮฺ หมายถึง บุคคลผู้ซึ่งร่วมแนวทางของอาลี (อ) มิใช่ด้วยเพียงถ้อยคำหรือความรู้สึกทางจิตใจเท่านั้นแต่ด้วยการกระทำโดยเจริญรอยตามท่าน ตลอดจนการปฏิบัติตามในทางปรัชญาและข้อกำหนดในทางการศึกษาวิชาการทั้งหลายอย่างล้ำลึก

แนวทางทั้งสองในการรู้จักมนุษย์ผู้สมบูรณ์นี้มิใช่จะเป็นเพียงแต่ประโยชน์ในทางทฤษฎีเท่านั้น แต่เราจะต้องให้ความรู้ดังกล่าวนี้เพื่อที่จะปฏิบัติตามแนวทางทั้งหลายที่เปิดเผยโดยอิสลามในอันที่จะได้มาเป็นมุสลิมที่แท้จริงและทำให้เป็นสังคมอิสลามอย่างเที่ยงแท้ด้วยแนวทางเช่นนี้ได้ถูกแสดงออกมาอย่างเปิดเผยและผลลัพธ์ก็ได้ถูกอรรถาธิบายมาแล้ว แต่คำถามก็ได้เกิดขึ้นเกี่ยวกับความหมายของความสมบูรณ์บางสิ่งบางอย่างอาจจะดูประหนึ่งว่าแจ่มชัดแต่สิ่งทั้งหลายที่แสดงออกโดยชัดแจ้ง บางครั้งก็ยากที่จะอธิบายยิ่งไปกว่าเรื่องราวทั้งหลายที่ลำบากสับสนเสียอีก

ในภาษาอาหรับคำสองคำที่มีความหมายว่า “ สมบูรณ์ ” และคำว่า “ สำเร็จ ” เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงซึ่งกันและกันแต่ก็มิได้ถูกต้องคล้ายคลึง

แน่นอนเสียทีเดียวในความหมายและคำทั้งสองมีความตรงกันข้ามในความหมายของข้อบกพร่อง

ความแตกต่างในระหว่างคำทั้งสองมีดังนี้ คำว่า “ สำเร็จ ” บ่งบอกถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งได้มีการจัดเตรียมไว้ตามแผนงาน เช่น บ้านหลังหนึ่งหรือมัสยิด ถ้าหากว่าส่วนหนึ่งของมันไม่เสร็จสิ้นมันเป็นความไม่สมบูรณ์หรือขาดตกบกพร่อง

แต่บางอย่างอาจจะสำเร็จและจนบัดนี้ในข้อนั้นอาจจะคงอยู่ว่า

ความสมบูรณ์ ความสำเร็จ คือ ความเจริญก้าวหน้าตามแนบราบไปยังจุดสูงสุดของการพัฒนา

ส่วนความสมบูรณ์ คือ แนวตั้งฉากที่ได้ขึ้นไปสู่ระดับขั้นสูงสุดอย่างเป็นไปได้ เมื่อเราพูดถึงความสมบูรณ์วิทยปัญญาหรือความรู้ก็จะอ้างอิงไปถึงระดับขั้นอันสูงส่งของความรู้และวิทยปัญญาที่มีอยู่ก่อนแล้ว มนุษย์คนหนึ่งอาจจะสำเร็จในความรู้ตามแนวราบโดยปราศจากการเป็นผู้สมบูรณ์ไปตามแนวตั้งฉากซึ่งมีผู้คนเป็นผู้สำเร็จเพียงครึ่งเดียวหรือแม้น้อยนิด ยิ่งไปกว่านั้น แต่เมื่อบรรลุถึงการทำให้สมบูรณ์แล้วยังคงมีระดับสูงส่งหลายระดับของความสมบูรณ์ กระทั่งถึงสภาพสมบูรณ์ที่ดีเลิที่สุด

การใช้ศัพท์ของคำว่า “มนุษย์ผู้สมบูรณ์”

คำว่า สมบูรณ์นี้ มิได้มีอยู่ในอักษรศาสตร์อิสลามจนกระทั่งถึงศตวรรษที่เจ็ดของฮิจเราะฮ์ศักราช ปัจจุบันที่ใช้กันมากในแถบประเทศยุโรป แต่ได้มีการใช้เป็นครั้งแรกในโลกอิสลามโดย อะรีฟผู้มีชื่อเสียง คือ ท่านมุฮฺยิดดีน

อารอบี อันดาลูซีย์ ผู้ซึ่งเป็นบิดาแห่งวิชาอิรฟานอิสลามและบรรดาอะรีฟอิสลามอีกหลายท่าน รวมทั้งบรรดาผู้รู้ชาวอิหร่านที่พูดภาษาฟารซี แม้กระทั่ง เมาลาวี ผู้ซึ่งเคยเป็นสานุศิษย์ของท่านมาแล้ว ความยิ่งใหญ่ปราดเปรื่องของเมาลาวีจะด้อยลงทันที ถ้าจะนำมาเปรียบเทียบกับมุฮฺยิดดีนในทางวิชาอิรฟาน เขาเป็นคนสัญชาติอาหรับและเป็นผู้สืบสกุลของ

ฮาตัมตาอีแห่งอันดาลูเซีย( ซึ่งก็คือประเทศสเปนในปัจจุบัน )

เขาได้เดินทางไปตามประเทศอิสลามหลายประเทศและเสียชีวิตที่ดามัสกัสซึ่งเป็นสถานที่ฝังศพของเขา

เขามีลูกศิษย์อยู่คนหนึ่งชื่อว่า “ ศ็อดรุดดีน กูนะวี ” เป็นผู้ที่มีความสามารถ รองลงมาจากอาจารย์ของเขาในฐานะผู้รู้ทางวิชาอิรฟาน อิรฟานในอิสลาม(ซึ่งเป็นวิชาการที่ลึกลับซับซ้อนอย่างมากนั้น)ได้ถูกจัดให้เป็นรูปแบบของวิชาการอย่างสมบูรณ์โดยมุฮฺยิดดินและสานุศิษย์ของเขา(ศ็อดรุดดีน)ซึ่งรับเอาความคิดทั้งหลายของมุฮฺยิดดีนโดยผ่านมาทางศ็อดรุดดีน บุคคลผู้นี้ใช้คำศัพท์ว่า “มนุษย์ผู้สมบูรณ์” จากแนวคิดเฉพาะของอิรฟาน แต่ว่าเรามุ่งหมายที่จะสนทนากันจากทัศนะของอัลกุรอาน มีมนุษย์อยู่มากมาย ซึ่งเป็น

ผู้มีร่างกายปกติหรือพิการ

แต่ท่านจงอย่าได้พิจารณาในความเป็นผู้มีนัยน์ตาบอดหูหนวกอ่อนเปลี้ยเสียขาหรือความต่ำเตี้ย(ของร่างกาย)มาเป็นประหนึ่งข้อบกพร่องของคุณงามความดีแห่งบุคลิกภาพหรือของความเป็นมนุษย์

ดังตัวอย่าง เช่น โสเครตีส ปรัชญาเมธีชาวกรีก ผู้มีชื่อเสียง ซึ่งบางครั้งถือกันว่าเหมือนดั่งศาสดาท่านหนึ่ง เขาเป็นบุคคลที่ขี้เหร่ที่สุดแต่ความไม่สวยงามเช่นนี้ก็มิได้ถือว่าเป็นข้อบกพร่องอย่างหนึ่ง(ของเขา)

อบุลอะลา มุอัรรอ และฏอฮา ฮุเซน แห่งยุคสมัยของเรา ก็เป็นผู้ที่มีนัยตาพิการความเป็นคนตามืดบอดเช่นนี้ เป็นข้อผิดพลาดอย่างหนึ่งของบุคลิกภาพกระนั้นหรือ ? ดังนั้น นี่ก็หมายความว่า บุคคลมีบุคลิกภาพในทางร่างกายและวิญญาณเหมือนกันด้วยการคำนวณที่แตกต่างกันทั้งสองอย่างมันคือ ข้อผิดพลาดที่จะทึกทักเอาว่า วิญญาณนั้นเป็นสิ่งหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับร่างกายวิญญาณสามารถที่จะเจ็บป่วยได้ ในขณะที่ร่างกายยังปกติดีอยู่หรือไม่ ?

ความผิดปกติทางร่างกายและจิตวิญญาณ

นี่คือคำถามในตัวของมันเอง บรรดาผู้ซึ่งได้ปฏิเสธความแท้จริงของวิญญาณและมีความเชื่อต่อลักษณะพิเศษทางวิญญาณว่า เป็นอิทธิพลโดยตรงของระบบประสาทสำหรับความคิดของพวกเรานั้น ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้งอยู่กับร่างกายตามความเชื่อของพวกเขาก็คือว่า ถ้าหากว่าวิญญาณเกิดเจ็บป่วยมันเป็นเพราะว่าร่างกายป่วยและการเจ็บป่วยทางใจอันที่จริงก็เปรียบเสมือนการเจ็บป่วยทางร่างกายด้วยเช่นกัน

นับว่าเป็นโชคดีที่ได้มีการพิสูจน์กันในปัจจุบันนี้ว่า ร่างกายจะสามารถปกติสมบูรณ์ได้นั้นเกี่ยวกับเลือดอันเป็นส่วนประกอบระบบประสาทธาตุที่เป็นอาหารจำเป็นสำหรับร่างกาย(วิตามิน)และอื่นๆ ฯลฯและนอกไปจากนี้

บุคคลอาจจะเป็นโรคป่วยทางใจ ดังเช่น ได้รับความทุกข์ทรมานจากสิ่งที่พวกเขาทั้งหลายเรียกกันว่า “ โรคแทรกซ้อน ” ชนิดหนึ่ง ด้วยประการฉะนั้น หนทางในการรักษาโรคประสาทอาจจะมิต้องบำบัดโรคโดยยาแต่อย่างใดเลยก็ได้ เราสามารถที่จะหายามาสักชนิดหนึ่งเพื่อรักษาใครสักคนซึ่งได้รับทุกข์ทรมานจากโรคของความหยิ่งยะโสซึ่งเป็นโรคชนิดหนึ่งทางใจที่ยุ่งเหยิงกระนั้นหรือ ? เราสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงความหยิ่งทรนงของบุคคลหนึ่งไปสู่ความนอบน้อมถ่อมตนหรือว่าจากความเป็นผู้มีใจคอโหดร้ายของเขามาสู่ความเป็นผู้มีเมตตา ด้วยวิธีให้ยาสักหนึ่งเม็ดหรือด้วยการฉีดยาเพื่อเป็นการขจัดออกไปซึ่งผลของโรคดังกล่าวซึ่งบางครั้งเป็นเหตุให้บางคนดังตัวอย่างเช่น เขาไม่ยอมหยุดนิ่งจนกว่าจะได้กระทำการแก้แค้นกระนั้นหรือ ? อะไร คือ ความรู้สึกของการผูกพยาบาทนี้ ?

อะไร คือ ความริษยาซึ่งได้ปลุกเร้าให้บุคคลหนึ่งไม่พึงพอใจในการได้รับเนี้ยะมัตของผู้อื่นจนมีความต้องการที่จะขจัดมันออกไปเสีย ?

๑๐

คนอย่างนั้นมิได้คิดอยากที่จะได้รับเนี้ยะมัตดังกล่าวแก่ตัวเขาเองดอกความ

ริษยาของคนที่เป็นปกตินั้นมักจะเอาจุดหมายของตัวเองขึ้นหน้าอยู่เสมอและนี่ก็มิใช่ความผิดแต่ความปรารถนาที่จะให้เกิดอันตรายและความเสียหายทั้งหลายแก่ผู้อื่นนั้นนับเป็นความป่วยไข้อย่างหนึ่ง ท่านจะพบผู้คนเช่นว่านั้นที่ได้เตรียมการเพื่อจะทำอันตรายต่อตัวเขาเองทั้งหมด ถึงแม้ว่าจะเป็นอันตรายต่อผู้ถูกริษยาเพียงบางส่วนก็ตามเรื่องราวหนึ่งในประวัติศาสตร์ได้กล่าวไว้ในเรื่องนี้ในสมัยของคอลีฟะฮ์ผู้หนึ่ง เศรษฐีได้ซื้อทาสมาหนึ่งคนซึ่งเขาได้ปฏิบัติต่อทาส นับตั้งแต่เริ่มต้นเสมือนผู้มีบรรดาศักดิ์จัดหาอาหารและเสื้อผ้าอย่างดีที่สุดแก่ทาส ตลอดจนเงินทองเหมือนดังเป็นบุตรของเขาเองทีเดียวหรือแม้แต่ทุ่มเทไปมากกว่านั้น แต่ว่าทาสได้สังเกตเห็นว่านายของเขามีความรู้สึกไม่สบายในอยู่เสมอ ในที่สุดเศรษฐีได้ตกลงใจที่จะปลดปล่อยให้ทาสเป็นอิสระพร้อมกับจัดหาทุนทรัพย์บางส่วนให้แก่ทาสด้วยคืนหนึ่งในขณะที่เขาทั้งสองอยู่ด้วยกันนายทาสได้กล่าวขึ้นว่า “ เจ้ารู้หรือไม่ว่าทำไม่ข้าจึงได้ปฏิบัติต่อเจ้าอย่างดีที่สุด ” ทาสจึงได้ถามถึงเหตุผลนายทาสกล่าวว่า “ ข้ามีสิ่งหนึ่งที่จะขอร้องให้เจ้ากระทำซึ่งถ้าเจ้าปฏิบัติตามเจ้าจะได้รับผลประโยชน์ทั้งหมดที่ข้ามีและจะมอบให้แก่เจ้า แต่ถ้าเจ้าปฏิเสธข้าจะไม่พอใจเจ้าเลย ” ทาสกล่าวว่า “ ฉันจะปฏิบัติตามทุกอย่างที่ท่านขอร้อง

ท่านเป็นผู้อุปการะของฉันซึ่งได้ให้ชีวิตแก่ฉัน ” นายทาสจึงได้กล่าวว่า “ เจ้าจะต้องให้คำมั่นสัญญาแก่ข้าว่า เจ้าจะปฏิบัติอย่างซื่อสัตย์และดีที่สุดสำหรับข้านั้นข้าเกรงว่าเจ้าจะปฏิเสธมัน ” ทาสกล่าวว่า “ ฉันสัญญาว่าจะกระทำในสิ่งที่ท่านต้องการ ” นายทาสกล่าวว่า “ คำขอร้องของข้าก็คือเจ้า

จะต้องตัดศีรษะของข้าตามสถานที่และเวลาที่ถูกกำหนด ”

๑๑

ทาสร้องอุทานขึ้น “ อะไรกันนี่!ฉันจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร ? นายทาสกล่าวว่า “ นั่นคือสิ่งที่ข้าปรารถนา ทาสกล่าวว่า “ มันเป็นไปไม่ได้เช่นนั้น ”

นายทาสกล่าวว่า “ ข้าได้รับคำมั่นสัญญาจากเจ้าแล้ว เจ้าจักต้องกระทำมัน ” ดึกสงัดของคืนหนึ่ง เขาได้ปลุกทาสให้ตื่นขึ้นและมอบมีดที่คมกริบให้แก่ทาสเล่มหนึ่งและถุงใส่เงินที่เปี่ยมล้น จากนั้นก็ปีนขึ้นไปบนหลังคาของเพื่อนบ้านคนหนึ่งและได้บอกแก่ทาสได้ตัดศีรษะเขาที่นั่นและจากนั้นก็ให้หลบหนีไปยังที่ใดก็ตามที่ทาสต้องการ ทาสได้ขอถามถึงเหตุผลสำหรับการกระทำเช่นนั้น เขาก็ตอบว่า “ ข้าเกลียดชายผู้นี้และขอเลือกเอาความตายดีกว่าที่จะเห็นหน้าเขา เราเป็นคู่แข่งกัน (ในทางการค้า)

แต่เขาได้ล้ำหน้าข้าไปและเก่งกาจสามารถกว่าข้าในทุกๆด้าน ข้าร้อนเร่าไปด้วยความเกลียดชังเขา ข้าปรารถนาที่จะให้เขาถูกจำคุกด้วยการเป็นฆาตกรที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นและด้วยความคิดเช่นนี้(เท่านั้น)

เป็นสิ่งหนึ่งที่จะบรรเทาความทุกข์ระทมแก่ข้า ให้ทุกคนรู้ว่าเขาคือคู่แข่งของข้าและดังนั้นเขาก็จะถูกตัดสินประหารชีวิตสำหรับการกระทำดังกล่าวทาสได้พูดขึ้น “ ท่านดูประหนึ่งผู้เบาปัญญาและสมควรแล้วต่อความตายเช่นนี้ ” ดังนั้น เขาจึงตัดศีรษะนายของเขาและหลบหนีไปคู่แข่งของเขาได้ถูกจับกุมจากผลที่เกิดขึ้นและถูกคุมขังแต่ไม่มีผู้ใดเชื่อว่าเขาจะเป็นผู้สังหารคู่แข่งของเขาบนหลังคาบ้านของเขาเอง ซึ่งมันเป็นเรื่องเหลือเชื่อ ในที่สุดทาสมีความรู้สึกอยากที่จะเป็นเผยความจริงในฐานะสำนึกต่อความผิดบาปเขาได้พบกับเจ้าหน้าที่และสารภาพความจริงเมื่อเจ้าหน้าที่ทั้งหลายได้เข้าใจ

เรื่องราวพวกเขาก็ปล่อยคนทั้งสองคือทาสและเพื่อนบ้านผู้นั้นเป็นอิสระไปนี้คือความจริงอย่างหนึ่งที่ว่าความอิจฉาริษยานั้นคือโรคชนิดหนึ่ง

๑๒

คัมภีร์อัลกุรอานกล่าวไว้ไน ซูเราะฮ์อัชชัมซ์ อายะฮ์ที่ ๙-

ความว่า

“ ผู้ซึ่งทำให้(ตนเอง)บริสุทธิ์ แท้จริงเขานั้นเป็นผู้ประสบความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงและแท้จริงผู้ซึ่งโสมมเขาจะสูญเปล่า ”

ด้วยเหตุนี้ ข้อเสนออันดับแรกของอัลกุรอาน ก็คือการขัดเกลาตนเองให้สะอาดบริสุทธิ์ปราศจากอาการป่วยด้วยโรคแทรกซ้อน ความโง่เขลา

การหันเหและการเปลี่ยนแปลง ท่านทั้งหลายอาจจะเคยได้ฟังเรื่องราวในอดีตที่มีรายงานว่า มีผู้คนซึ่งเนื่องมาจากพวกเขาพากันละเมิดต่อบาปได้ถูกสาปแช่งโดยบรรดาศาสดาในยุคสมัยของพวกเขาและด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงถูกเปลี่ยนแปลงรูปร่างหน้าตาจากมนุษย์ กลายเป็นเดรัจฉาน บ้างก็เหมือนลิงสุนัขป่า หมีและสัตว์อื่นๆมากมายและผู้ที่มิได้ถูกเปลี่ยนแปลงทางร่างกายบางทีจิตใจหรือวิญญาณอาจจะกลับกลายไปสู่ความเป็นเดรัจฉานซึ่งมีความชั่วร้ายเลวทรามอย่างที่มิอาจพบพานได้เลยบนโลกนี้

คัมภีร์อัลกรุอาน ได้กล่าวถึงบรรดาคนเหล่านั้นว่า

“ ผู้ซึ่งอยู่ในความต่ำช้าหลงผิดและเป็นผู้ซึ่งต่ำต้อยยิ่งกว่าบรรดาสัตว์สี่เท้าทั้งหลาย” ( ซูเราะฮ์อัลอะร็อฟ อายะฮ์ที่ ๑๗๙)

สิ่งดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ? ในเมื่อบุคคลิกภาพของมนุษย์ขึ้นอยู่กับหลักธรรมจริยาและคุณลักษณะต่างๆทางจิตวิญญาณของพวกเขาและถ้าปราศจากซึ่งสิ่งดังกล่าวแล้วเขาก็จะกลายเป็นสัตว์ร้าย (ในร่างของมนุษย์) ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ผุ้มีความบกพร่องทั้งหลายบางทีก็ตกต่ำถึงระดับของการเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ ซึ่งบางคนอาจจะคิดว่า นั้นคือความฝันแต่ทั้งหมดมันคือความจริงแท้

๑๓

และแน่นอนยิ่ง ชายผู้หนึ่งกล่าวว่า ครั้งหนึ่งพวกเราได้ไปประกอบพิธีฮัจญ์พร้อมกับท่านอิมามซัจญาด (อ.)ในขณะที่เรามองไปยังเบื้องล่างซึ่งเป็นทะเลทรายทุ่งอะรอฟะฮ์ซึ่งที่นั่นเนืองแน่นไปด้วยผู้แสวงบุญที่เดินทางมาประกอบพิธีฮัจญ์อย่างมากมายในปีนี้

ท่านอิมามซัจญาด(อ.)ได้กล่าวขึ้นว่า “ มันคือความอึกทึกครึกโครมแต่น้อยไปด้วยผู้แสวงบุญ ”

ชายผู้นั้นกล่าวว่า “ ข้าพเจ้าไม่ทราบว่า ท่านอิมาม (อ.)ได้ให้สายตาพิเศษอันใดแก่ข้าพเจ้าเพราะว่า เมื่อท่านได้ชี้ให้ข้าพเจ้ามองไปยังเบื้องล่างอีกครั้งหนึ่งคราวนี้ สิ่งที่ข้าพเจ้าเห็นก็คือในทะเลทรายที่เต็มไปด้วยผู้แสวงบุญ

เมื่อครั้งแรกนั้น บัดนี้มันเต็มไปด้วยฝูงสัตว์ที่เดินกันขวักไขว่ไปมาและมองเห็นผู้ที่เป็นมนุษย์จำนวนน้อยนิดเท่านั้นและจากนั้นท่านอิมามซัจญาด(อ.)จึงได้บอกแก่เขาว่า ภาพที่เห็นนั้นคือ ความเกี่ยวพันกับความคิดที่ก่อขึ้นภายในจิตใจของผู้คนเหล่านั้น(ธาตุแท้)นี้คือความแท้จริงทีเดียว แต่ถ้าพวกเราที่เรียกกันว่าหัวสมัยใหม่ไม่ยอมรับมันแล้ว เราก็เป็นผู้ผิดพลาดในยุคสมัยของเราเอง ยังคงมีอยู่และเป็นบุคคลผู้ซึ่งสามารถเห็นอุปนิสัยอันแท้จริงของบุคคลอื่นๆได้ว่าเหมือนกับเดรัจฉานทั้งหลายไม่รับรู้สิ่งใดเลยเว้นแต่การบริโภคหลับนอนและการสมสู่พวกเขาได้สูญเสียคุณลักษณะทั้งหลายแห่งความเป็นมนุษย์ของเขาและหวนกลับคืนสู่ความเป็นสัตว์ร้ายต่างๆ

เราได้อ่านในคัมภีร์อัลกุรอาน ซูเราะฮ์อันนะบะอฺ อายะฮ์ที่ ๑๘- ๑๙

“ วันซึ่งที่เป่า(สังข์จะถูกเป่า )ดังนั้นจะถูกนำมารวมกันเป็นกลุ่มๆและท้องฟ้าก็จะถูกเปิดออกแล้วมีประตูทั้งหลายอยู่ในมัน ”

๑๔

บรรดาผู้นำศาสนาหลายท่านได้กล่าวซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า จะมีผู้คนเพียงกลุ่ม

เดียวเท่านั้นจากในหมู่ของผู้ที่ตายไปแล้วที่จะฟื้นขึ้นมาในรูปร่างของมนุษย์ส่วนผู้คนอื่นๆนั้นจะปรากฏขึ้นเหมือนสรรพสัตว์ จำพวกเสือ ลิง แมลงป่อง งูและจำพวกมด

พระผู้เป็นเจ้าทรงกระทำสิ่งดังกล่าวนั้นโดยปราศจากเหตุผลหรือ ? เปล่าเลยเหตุผลทั้งหลายย่อมมีอยู่ เมื่อมนุษย์หนึ่งมิได้กระทำในสิ่งใดๆเลยในโลกนี้แต่ว่าได้กัดต่อย(เหมือนแมลงมีพิษ)และสำหรับผู้ที่มีการกระทำต่างๆคล้ายลิงในโลกนี้ก็จะเป็นเหมือนลิงในโลกหน้าและบุคคลที่ชอบข่มขู่คำรามผู้คนเมื่ออยู่บนโลกนี้ เขาก็จะปรากฏเป็นสุนัขในโลกหน้า ด้วยเหตุนี้ มนุษย์จะพากันฟื้นขึ้นจากความตาย ความมุ่งมาดปรารถนาและนิสัยสันดานอันแท้จริงของเขา ความปรารถนาของท่านบนโลกนี้ อยากเป็นมนุษย์ที่ดีหรือสิงสาราสัตว์หรือนก

ท่านก็จะได้รับรูปแบบตามต้องการในวันแห่งการฟื้นคืนชีพและนั่นก็คือว่า ทำไมเราจึงถูกห้ามมิให้เคารพภักดีสิ่งอื่นในเว้นแต่อัลลอฮฺ(ช.บ.)

พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเที่ยงแท้องค์เดียวเท่านั้น เพราะถ้าเราเคารพภักดีสิ่งใดสิ่งนั้นก็จะอยู่กับเราในโลกหน้า ถ้าเราบูชาเงินตรามันก็จะกลายเป็นพระเจ้าของเราในโลกหน้า ดังที่ อัลกุรอานกล่าวไว้ใน ซูเราะฮ์อัตเตาบะฮ์ (บารออัต)

อายะฮ์ที่ ๓๔ และ ๓๕ ดังนี้

“ และ(สำหรับ)บรรดาผู้ที่สะสมทองคำและเงินเพิ่มขึ้นและมิได้ใช้มันไปในหนทางของอัลลอฮฺ(ซ.บ) จงประกาศแก่เขาเถิดถึงการลงโทษอย่างเจ็บปวดในวันที่(ทรัพย์สมบัติที่ถูกสะสม)มันจะถูกเผาจนร้อนในไฟนรกครั้นแล้วหน้าผากของพวกเขาและสีข้างของพวกเขาและหลังของพวก

เขาจะถูกตีตราด้วยมัน(และ)นี่คือสิ่งที่มันได้สะสมขึ้นมาสำหรับตัวเจ้าเอง ”

๑๕

( เกี่ยวกับโลหะที่ร้อนและละลายที่จะอยู่กับเราในวันแห่งการฟื้นขึ้นและอย่าได้กล่าวว่า ธนบัตรที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันถูกนำมาแทนเหรียญโลหะหรือเหรียญเงินและทองแล้ว (บางคนอาจจะปลอดภัยจากการถูกตีตรา)

เพราะในโลกหน้า ธนบัตรที่ธนาคารนำออกจำหน่ายเหล่านั้นแหละที่มันจะกลับคืนลงสู่ไฟซึ่งสามารถที่จะลุกโชติช่วงท่วมท้นนรกได้ดีกว่าเหรียญเงินและเหรียญทองทั้งหลายเสียอีก ดังนั้น มนุษย์ซึ่งมีโรคแทรกซ้อนจึงเป็นความบกพร่องและบุคคลผู้ซึ่งบูชาวัตถุจึงเป็นคนไม่สมบูรณ์และที่จะเปลี่ยนไปได้ความสมบูรณ์ในทุกๆชนิดของทุกสิ่งถูกสร้างมีความแตกต่างกัน มนุษย์ผู้สมบูรณ์แตกต่างไปจากมะลาอิกะฮ์ผู้สมบูรณ์และต่างก็มีการแยกแยะลำดับขั้นของความสมบูรณ์ของตนเอง

ผู้ที่บอกเล่าแก่เรา ความมีอยู่ของมะลาอิกะฮ์ได้บอกว่าพวกเขาทั้งหลายถูกสร้างมาจากสติปัญญาและความคิดอันบริสุทธิ์และความคิดโลกีย์ตัณหาโมหะและความโกรธอื่นใดไม่มีอยู่ในพวกเขา สัตว์ทั้งหลายนั้นเต็มไปด้วยโลกีย์และไม่มีสิ่งที่อัลกรุอานเรียกว่าวิญญาณของพระผู้เป็นเจ้า(ที่ถูกเป่าเข้า

ไปในตัวของมนุษย์) แต่มนุษย์คือส่วนผสมของสิ่งสองอย่างทั้งทางด้านโลกียวิสัยและทางด้านของความบริสุทธิ์ทั้งความสูงส่งและความต่ำต้อย

นี่คือสิ่งที่ถูกพรรณนาไว้ในคำอรรถาธิบายในหนังสือ

“ อูศุลกาฟี ” และกวีเมาลาวีได้ดัดแปลงไปเป็นโคลงบทหนึ่งซึ่งแปลความหมายได้ดังนี้ … คำบรรยายกล่าวไว้ว่า “ พระผู้เป็นเจ้าผู้ควรแก่การสรรเสริญยกย่องได้สร้างสิ่งถูกสร้างขึ้นมาสามจำพวกที่มีความแตกต่างกันจากสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างทั้งหลาย จำพวกแรกเป็นกลุ่มของบรรดา

มะลาอิกะฮ์ซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์มีไหวพริบมีความรู้และไม่ขัดต่อพระประสงค์(ของพระผู้เป็นเจ้า)และรู้เพียงการกราบกราน(ภักดีพระองค์)เท่านั้น

๑๖

พวกเขาไม่มีสันดานของความละโมภและกิเลสตัณหาแต่เป็นแสงอันบริสุทธิ์และดำรงชีวิตอยู่ด้วยความรักจากพระผู้เป็นเจ้า อีกจำพวกหนึ่งไม่มีความรู้เลยและขุนอ้วนท้วมเหมือนดังสัตว์ที่อยู่กลางทุ่งหญ้ามิได้เห็นอันใดเลยเว้นแต่คอกและกองฟางไม่รู้ทั้งความเลวร้ายและความมีเกียรติยศ จำพวกที่สามเป็นพวกมนุษย์ซึ่งครึ่งหนึ่งเป็นมะลาอิกะฮ์ อีกครึ่งหนึ่งเป็นลา ส่วนที่เป็นลานั้นโน้มเอียงไปสู่ความต่ำช้าและอีกส่วนหนึ่งโน้มไปสู่แนวทางที่ทำให้บริสุทธิ์

บุคคลจะต้องตรวจสอบดูว่าส่วนใดจะได้รับชัยชนะและส่วนใดที่จะพิชิตอีกส่วนหนึ่ง ”

อัลกุรอานได้กล่าวไว้ใน ซูเราะฮ์อัลอินซาน ( หรืออัดดะหฺร์) อายะฮ์ที่

( ๒-๓) ( ความว่า)

“ แน่นอนเราได้สร้างมนุษย์จากเชื้อเล็กๆของชีวิตที่รวมกัน(ในตัวมันเอง)เรามุ่งหมายที่จะทดลองเขา ดังนั้นเราได้ทำให้เขาได้ยินได้เห็น แน่นอนเราได้เปิดเผยแนวทางแก่เขาเขาอาจจะขอบคุณหรือเนรคุณก็ตาม ”

อย่างนี้หมายความว่า เขาได้รับอนุญาตให้ได้ใช้ความสามารถทั้งหลาย

และถูกปล่อยให้เป็นอิสระเพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่าเขาสมควรจะได้รับรางวัลหรือควรจะถูกลงโทษจากการกระทำทั้งหลายของเขา ด้วยเหตุที่สิ่งถูกสร้างอื่นๆไม่มีคุณสมบัติดังกล่าวนั้นเขาจึงต้องเลือกสรรหนทางของเขาเองและบรรลุถึงความสมบูรณ์โดยอาศัยความพอประมาณและความสมดุล

และด้วยการใช้ความสามารถพิเศษทั้งหลายของเขา เด็กคนหนึ่งเติบโตขึ้นมาและมีความเป็นปกติดีในทุกส่วนของอวัยวะและแขนขาทั้งหมดเหล่านี้เป็นการประสานกลมกลืน

๑๗

แต่ถ้าหากว่าเติบโตขึ้นมาเหมือนตัวการ์ตูนซึ่งการเจริญเติบโตของอวัยวะบางส่วนมากจนเกินไปและส่วนอื่นๆมิได้เติบโตหรือเติบโตเพียงเล็กน้อย , เขาก็ไม่สามารถบรรลุถึงความสมบูรณ์ตามปกติได้ แต่การประสานกลมกลืนอย่างหนึ่งและการพัฒนาทั่วไปหมด (ทั่วทั้งร่างกาย) ก็มีผลในการเป็นผู้สมบูรณ์ตามปกติ

คัมภีร์อัลกุรอานกล่าวไว้ในซูเราะฮ์อัล-บะกอเราะฮ์ , อายะฮ์ที่ ๑๒๔

( ความว่า)

“และเมื่อพระผู้เป็นเจ้าของเขาได้ทดลองอิบรอฮีมด้วยคำพูดบางอย่าง , เขาได้ปฏิบัติมั่นอย่างครบครัน พระองค์ได้ตรัสว่า , แน่นอนฉันจะแต่งตั้งเจ้าให้เป็นอิมาม (ผู้นำ) แห่งมนุษยชาติ , เขา (อิบรอฮีม) กล่าวว่าและจากลูกหลานของข้าพระองค์ (ด้วยกระนั้นหรือ) อัลลอฮตรัสว่าข้อสัญญาของฉันมิได้รวมไปถึงพวกที่อธรรม ”

อิบรอฮีมได้ถูกทดสอบในหลายๆวิธี , รวมทั้งการพร้อมที่จะเสียสละบุตรชายของท่านเองเป็นการพลีแด่พระผู้เป็นเจ้า , เมื่อเสียงเรียกร้องจากพระผู้เป็นเจ้าได้กล่าวว่า ( อัลกุรอาน ซูเราะฮ์อัซซอฟฟาต , อายะฮ์ที่๑๐๔ , ๑๐๕ ) และเราได้ร้องเรียกแก่เขาว่า โอ้อิบรอฮีม , แน่แท้เจ้าได้กระทำสมจริงตามความฝันแล้ว เมื่ออิบรอฮีมได้รับความสำเร็จในการทดสอบผ่านขั้นตอนต่างๆทั้งหลายแล้ว

อัลกรุอานได้กล่าว เกี่ยวกับท่านในซูเราะฮ์อันนะฮ์ล์

อายะฮ์ที่ ๑๒๐ ว่า

“แน่นอนอิบรอฮีมเป็นแบบอย่างที่ดี , ผู้ปฏิบัติตามอัลลอฮ์ , เป็นผู้ซื่อตรง , และเขาหาได้อยู่ในจำพวกที่สร้างภาคีทั้งหลายไม่ ”

๑๘

ท่านได้ยืนหยัดอย่างโดดเดี่ยวในการต่อสู้ต้านทานกับบรรดาผู้ปฏิเสธทั้งหมด , และเมื่อเป็นเช่นนั้น พระผู้เป็นเจ้าจึงเรียกท่านว่าอิมาม , ผู้นำและผู้เป็นแบบอย่างสำหรับผู้อื่นทั้งหลายที่จะปฏิบัติตาม , อิมามอะลี(อ)เป็นมนุษย์ผู้สมบูรณ์ผู้หนึ่งนับตั้งแต่คุณค่าทั้งหมดของมนุษย์ได้เพิ่มขึ้นถึงจุดสูงสุดของมันในตัวของท่านและด้วยแบบฉบับของการประสานกลมกลืน

คุณอาจได้เคยเฝ้ามองน้ำขึ้นและน้ำลดในทะเลซึ่งเป็นเหตุมาจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์ วิญญาณของมนุษย์ก็เหมือนกันเช่นเดียวกันกับเรื่องของสังคมที่แสดงให้เห็นเหมือนกับการขึ้นลงของน้ำ มนุษย์ทั้งหลายก็ประสบกับภาวะน้ำลดหรือน้ำท่วมนองอยู่เช่นนั้นและแรงดึงดูดนี้บางครั้งก็ไปสู่ทิศทางเดียว , เช่นไปยังขอบเขตหนึ่งที่คุณค่าอื่นๆทั้งหมดที่ได้ถูกลืมเลือนในหนทางนี้พวกเขาทั้งหลายเป็นเหมือนกับผู้คงไว้ซึ่งความบกพร่องซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงการแพร่หลายขึ้นมาในการพัฒนาตัวของมันเอง นี่คือความจริงที่ว่ามันมิใช่เป็นความเบี่ยงเบนไปเสียทั้งหมด แต่มันเป็นความไขว้เขวที่มักจะมีอยู่อย่างมากมายเสมอในวิถีทางเดียว บุคคลผู้ซึ่งมีการกระทำที่เลยเถิดบางทีก็นำสังคมไปสู่ยังแนวทางที่ไม่ปลอดภัยหรือไปสู่แนวทางอื่นๆได้ สิ่งหนึ่งจากคุณค่าทั้งหลายของมนุษย์ที่ได้รับการ

ยืนยันโดยอิสลามก็คือการอิบาดัต(ภักดี)ซึ่งเป็นการติดต่อ(ใกล้ชิด)กับพระผู้เป็นเจ้าแน่ทีเดียวในอิสลามทุกๆการกระทำการปฏิบัติ , เพื่อพระผู้เป็นเจ้าคือการอิบาดัต , การมีงานทำการค้าขายเพื่อที่จะช่วยเหลือตนเองและครอบครัวของตนและการรับใช้สังคมก็เป็นการอิบาดัตแต่การอิบาดัตในความหมายเฉพาะของมันนั้น , นอกจากนั้น ก็คือ การตื่นขึ้นในยามค่ำคืนเพื่อการปฏิบัติภารกิจทั้งหลายอันสำคัญ (คือการนมาซในยามดึก ตลอดจนการติดต่อใกล้ชิดพระองค์ที่สุดของชีวิตและอื่นๆซึ่งในฐานะที่ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของศาสนา

๑๙

และจะกระทำการยกเลิกมิได้บางครั้งท่านพบบรรดาปัจเจกชนหรือชนหมู่มากชี้นำไปสู่ด้านเดียวของการอิบาดัต , และแสดงคำแนะนำข้อปฏิบัติ

ต่างๆของการนมาซ , การเอาน้ำวูฎู , และอื่นๆทั้งหมดของสิ่งที่ได้กระทำกันจนเลยเถิดนั้น , จะเป็นสิ่งที่ทำลายสังคม ) บางโอกาสแนวทางในการอิบาดัตเช่นนี้ได้กลายมาเป็นสิ่งที่กำลังนิยมกันในสังคมอิสลาม , และถ้าบุคคลได้รับความเคยชินต่อมันสักครั้งหนึ่งแล้ว มันจึงเป็นการยากลำบากที่จะรักษาความสมดุลเอาไว้ , เช่นเดียวกันบุคคลหนึ่งไม่สามารถที่จะกล่าวแก่ตัวของเขาเองได้ว่า พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงสร้างเขาให้เป็นมนุษย์ผู้หนึ่งมิใช่มะลาอิกะฮ์และในฐานะที่เป็นมนุษย์ผู้หนึ่งเขาควรจะพัฒนาตัวของเขาเองในทุกๆด้านอย่างประสานกลมกลืน

ครั้งหนึ่งเคยมีรายงานถึงท่านศาสดา(ศ็อลฯ)(ขอความสันติจงมีแด่ท่านและบรรดาลูกหลาน)ว่า สาวกของท่านจำนวนหนึ่งได้จมดิ่งอยู่กับการอิบาดัต

( การนมาซเพียงอย่างเดียว) ท่านศาสดามีความรู้สึกไม่ค่อยสบายใจ , จึงได้มายังมัสญิดและร้องบอกด้วยเสียงอันดังว่า “ ผู้คนทั้งหลายเอ๋ย มีอะไรปรากฏขึ้นแก่คนบางกลุ่มซึ่งได้อยู่ในหมู่ประชาชาติของฉันเล่า แม้แต่ฉันในฐานะที่เป็นศาสดาของพวกเจ้าก็ยังมิได้ประกอบการอิบาดัตในวิธีเช่นนี้ด้วยการ

ไม่หลับนอนกันเลยทั้งคืน ส่วนหนึ่งของกลางคืนฉันพักผ่อนและอยู่กับครอบครัวของฉัน ฉันมิได้ทำการศีลอด ทุกวันพวกเหล่านั้นผู้ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติตามแนวทางใหม่ของพวกเขาได้หันเห (บิดอะฮ์) ไปจากสิ่งที่ฉันได้ปฏิบัติมา ( สุนนะฮ์ของฉัน)”

ด้วยเหตุนี้ ท่านศาสดาจึงได้ประกาศว่า “ ค่านิยมอิสลามที่แท้จริงกำลังจะถูกขจัดออกไปซึ่งค่านิยมอื่นๆที่ผิดพลาดในอิสลาม ” และท่านได้ต่อต้านอย่างหนักหน่วงและเข้มงวดต่อแนวความคิดเลยเถิดเช่นนี้

๒๐

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

ถ้าเราจะพูดถึงเรื่องราวของมุอาวิยะฮฺทั้งหมด ก็จำเป็นต้องมีเนื้อที่กระดาษหลายๆ เล่ม แต่ก็พอจะรู้อะไรๆ ได้อย่างเพียงพอ ถ้าหากได้อ่านหนังสือ อัน-นะศออิฮฺ อัล-กาฟียะฮฺ ลิมัน ยะตะวัลลา มุอาวิยะฮฺ

(บทเรียนของผู้ที่ยอมรับมุอาวิยะฮฺ) ของท่านซัยยิดมุฮัมมัด บินอะกีล และตำราประวัติศาสตร์อีกหลายเล่มที่เสนอข้อเท็จจริงต่างๆ เกี่ยวกับชายผู้นี้

เราเชื่อว่าเรื่องราวตามที่ได้ผ่านสายตาท่านไปแล้วนี้ จะสามารถทำให้เห็นพ้องกับการทำสนธิสัญญาของท่านอิมามฮะซัน (อ) ผู้ชาญฉลาดว่า เป็นการพิทักษ์ไว้ซึ่งระบบอิสลาม และเป็นการอนุรักษ์มรดกของมวลมุสลิมให้ดำรงอยู่ได้ และเพื่อเป็นการจำกัดเส้นทางเดินให้แก่มุอาวิยะฮฺ ด้วยการโต้คารมของอิมามฮะซัน(อ)ต่อมุอาวิยะฮฺและบริวารของเขา

ทุกคนที่ได้เข้าใจในส่วนนี้จะสามารถล่วงรู้ไปถึงความอาฆาตมาดร้ายและความคั่งแค้นที่สุมอยู่ในจิตใจของพวกอุมัยยะฮฺเป็นอย่างดีเลยทีเดียว คนเหล่านี้ไม่เคยหยุดยั้งและลดราวาศอก การติดตามรังควานท่านอิมามฮะซัน(อ)และการทำงานของท่าน ทั้ง ๆ ที่ยอมรับในข้อตกลงกับพวกเขาแล้ว อีกทั้งยังได้มอบอาณาจักรการปกครองและอำนาจให้แก่พวกเขาแล้ว ทั้งนี้มิใช่เป็นเพราะจุดประสงค์อื่นใด นอกจาการด่าประณามท่านและบิดาของท่าน(อ)อีกนั้นเอง

๑๐๑

ท่านอิบนุ อะบิล-ฮะดีด ได้กล่าวไว้ว่า มีรายงานบันทึกโดยอัซ-ซุบัยร์ บินบะการ์ ไว้ในหนังสือ อัล-มุฟาคอร็อต ว่า :

ครั้งหนึ่งมีคนหลายคนมารวมตัวกันที่สำนักของมุอาวิยะฮฺ เช่น อัมร์ บิน อัล-อ๊าศ , วะลีด บินอุกบะฮฺ บินอะบีมุอีด อุตบะฮฺ บินอะบีซุฟยาน อิบนุ ฮัรบ์ อัลมุฆีเราะฮฺ บินชุอฺบะฮฺ ซึ่งถ้อยคำอันไม่น่าพอใจและน่าตำหนิติเตียนจากคำพูดของท่านอิมาม (อ) ที่ เกี่ยวกับตัวของพวกเขาเคยได้ยินไปถึงหูของพวกเขา ในขณะที่ความไม่พอใจ เกี่ยวกับอิมาม (อ) ที่ออกจากปากพวกเขาก็เคยรู้ถึงหูท่านด้วย พวกเขากล่าวว่า

“ ข้าแต่อะมีรุลมุมีนีน(มุอาวิยะฮฺ) แท้จริงฮะซันได้เจริญรอยตามบิดาของเขา เวลาเขาพูดก็มีคนเชื่อ เวลาเขาออกคำสั่งก็มีคนปฏิบัติตาม คนทั่ว ๆ ไปยำเกรงเขา เมื่อเป็นเช่นนี้สักวันหนึ่งเขาจะยิ่งใหญ่ขึ้นมา และไม่แคล้วที่พวกเราจะได้รับความเดือดร้อนจากเขา ”

มุอาวิยะฮฺกล่าวว่า “ แล้วพวกท่านจะว่าอย่างไรกัน ?”

พวกเขากล่าวว่า “ ไปเชิญตัวเขามา เพื่อเราจะได้ด่าประณามเขาและบิดาของเขา โดยเราจะแนะนำและตักเตือนเขา โดยบอกเขาว่า บิดาของเขาได้ฆ่าอุษมาน และเราก็ให้เขาเชื่ออย่างนี้ แล้วเขาจะไม่สามารถแก้ไขอะไรในเรื่องนี้กับเราได้ ”

มุอาวิยะฮฺกล่าวว่า “ ฉันไม่เห็นด้วย และจะไม่ทำอย่างนั้น ”

พวกเขากล่าวว่า “ เราขอร้องให้ท่านทำอย่างนั้นให้ได้ ข้าแต่ อะมีรุลมุมีนีน (มุอาวิยะฮฺ) ”

มุอาวิยะฮฺกล่าวว่า “ ความหายนะจะเป็นของพวกเจ้า จงอย่าได้ทำสิ่งนี้

ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ไม่ว่าครั้งใดที่ฉันเห็นเขานั่งใกล้ฉัน

ฉันจะรู้สึกยำเกรงฐานะของเขา และกลัวการตำหนิของเขาที่มีต่อฉันเสมอ ”

๑๐๒

พวกเขากล่าวว่า “ อย่างไรก็ตาม ท่านต้องส่งคนไปเชิญเขามา ”

มุอาวิยะฮฺกล่าวว่า “ ถ้าฉันส่งคนไปเชิญเขามา ฉันจะต้องให้ความเป็นธรรมกับเขายิ่งกว่าพวกเจ้า ”

อัมรฺ บินอัล-อาศ จึงกล่าวว่า “ ท่านกลัวว่า ความผิดพลาดของเขาจะเอาชนะความถูกต้องชอบธรรมของเราใช่ไหม หรือว่าท่านจะปกป้องคำพูดของเขามากกว่าคำพูดของเรา ?”

มุอาวิยะฮฺกล่าวว่า “ หามิได้ ฉันเพียงแต่หมายถึงว่า ถ้าฉันส่งคนไปเชิญเขามา ฉันจำเป็นจะต้องให้เขาพูดด้วยวาจาเขาเองทุกอย่าง ”

พวกเขากล่าวว่า “ ก็ปล่อยเขาไปตามนั้น ”

มุอาวิยะฮฺกล่าวว่า “ พวกท่านอาจดื้อดึงต่อฉัน ถ้าฉันส่งคนไปเชิญเขามา แต่ถ้าพวกท่านดื้อดึง ฉันก็จะไม่ทำเช่นนั้น กล่าวคือจงอย่าใส่ร้ายในคำพูดของเขา จงรู้ไว้ว่า พวกเขาคืออะฮฺลุลบัยตฺซึ่งไม่เคยมีใครตำหนิพวกเขาได้ ไม่เคยมีใครหาข้อบกพร่องของเขาได้ง่ายๆ แต่พวกท่านจะกล่าวหาเขาด้วยข้อหาที่ร้ายแรง ที่พวกท่านจะพูดว่า บิดาของเขาฆ่าอุษมานและรังเกียจการปกครองของผู้ปกครองก่อนหน้าเขา ”

แล้วมุอาวิยะฮฺ ก็ส่งคนของตนไปเชิญท่านอิมามฮะซัน(อ) ซึ่งคนผู้นั้นได้กล่าวว่า

“ ท่านอะมีรุลมุมีนีน(มุอาวิยะฮฺ)เชิญตัวท่านไปพบ ”

ท่านอิมามกล่าวว่า “ เขามีอะไร ?”เขาจึงได้สมญานามอย่างนี้ ”

แล้วท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้กล่าวอีกว่า

“ ไม่มีหลังคาปกคลุมให้สำหรับพวกเขา และการลงโทษจะมาประสบกับพวกเขาโดยไม่รู้ตัว ”

๑๐๓

และกล่าวอีกว่า “ เจ้าจงเอาผ้าคลุมของฉันมาหน่อยซิ ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้าขอความคุ้มครองต่อพระองค์ ให้ข้ารอดพ้นจากความชั่วร้ายของเขาเหล่านั้นและขอให้พระองค์ทรงปกป้องข้า อย่าให้ตกอยู่ในความชั่วของพวกเขา ขอให้พระองค์ช่วยเหลือข้าให้พ้นจากพวกเขา อย่างไรก็ตามที่พระองค์

ทรงประสงค์และข้าก็ประสงค์ตามนั้นด้วย โดยอาศัยอำนาจและพลานุภาพของพระองค์ ข้าแต่พระผู้ทรงเมตตายิ่งกว่าผู้ให้ความเมตตาใด ๆ ”

จากนั้นท่านก็ลุกขึ้นเดินทางไปหามุอาวิยะฮฺซึ่งเขาก็ได้ต้อนรับท่านอย่างสมเกียรติ โดยจัดที่นั่งให้ท่านนั่งใกล้ ๆ กับเขา โดยที่คนในกลุ่มรู้สึกมีความชิงชังและเคียดแค้น ด้วยความละเมิดและทะนงตัวที่ติดอยู่ในสันดาน

มุอาวิยะฮฺ กล่าวว่า “ โอ้ อะบูมุฮัมมัดคนเหล่านี้ เขาส่งคนไปเชิญท่านมา พวกเขาฝ่าฝืนข้า ”

ท่านอิมามฮะซัน(อ)กล่าวว่า

“ มหาบริสุทธิ์เป็นของอัลลอฮฺ บ้านนี้เป็นของเจ้า การอนุญาตให้เข้ามาในที่นี้ย่อมขึ้นอยู่กับเจ้า ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ถ้าหากเจ้าสนองตอบเจตนาตามที่มีอยู่ในจิตใจของพวกเขาแล้วไซร้ เห็นทีที่ข้าจะต้องละอายในความชั่วของเจ้าเสียแล้ว และถ้าหากคนเหล่านี้สามารถเอาชนะ

ความคิดของเจ้าได้ ก็เห็นทีที่ข้าจะต้องละอายในความอ่อนแอของเจ้าเสียแล้ว ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะยึดเอาอันไหน จะปฏิเสธอันไหน เพราะถ้าหากข้าได้ล่วงรู้ว่าพวกเขาจะมาชุมนุมกันอยู่ที่นี่อย่างนี้ ข้าก็จะนำคนในบันดาลูกหลานของอับดุลมุฏฏอลิบมา ให้เหมือนๆ กับพวกเขาด้วย แต่ไม่มีทางหรอกที่

ฉันจะรู้สึกประหวั่นพรั่นพรึงต่อเจ้าและต่อพวกเขา แท้จริงผู้คุ้มครองข้าคืออัลลอฮฺ พระองค์ทรงคุ้มครองบรรดาผู้ทรงคุณธรรม ”

๑๐๔

มุอาวิยะฮฺกล่าวว่า “ นี่แนะท่าน ฉันเกรงใจที่จะเชิญท่านมา แต่คนเหล่านี้ซิที่มอบหมายเรื่องนี้ให้แก่ฉัน ทั้ง ๆ ที่ฉันไม่สบายใจ แท้จริงความเป็นธรรมจากพวกเขาจะมีแก่ท่านและจากฉันด้วย

เราเพียงแต่เชิญท่านมาเพื่อย้ำให้ท่านฟังว่า อุษมานนั้นถูกสังหารอย่างไม่ได้รับความเป็นธรรม และบิดาของท่านเป็นคนฆ่าเขา ดังนั้นจงรับฟังพวกเขา ต่อจากนั้นท่านก็จงตอบพวกเขาและคนในที่ประชุมจะไม่มีใครยับยั้งสิ่งที่ท่านจะพูดออกไปทุกประโยค ”

แล้วอัมรฺ บินอัล-อ๊าศ ก็ได้กล่าวขึ้นก่อนว่า

“ ขอสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ ขอให้พระองค์ประทานพรแด่ศาสนทูตของพระองค์.... ”

ต่อจากนั้นเขาก็กล่าว ถึงท่านอะลี(อ)โดยมิได้ทิ้งเรื่องใดๆ อันเป็นข้อบกพร่องโดยมิได้หยิบยกมากล่าว เขากล่าวต่อไปว่า

“ แท้จริงเขาลบหลู่อะบูบักร์ และรังเกียจการปกครองของเขา เขาขัดขืนในการยินยอมให้สัตยาบัน จากนั้นก็ยอมด้วยความจำใจ เขาร่วมวางแผนฆ่าอุมัร และฆ่าอุษมานด้วยความอธรรม เขาอ้างตัวเป็นผู้ปกครองทั้ง ๆ ที่ไม่มีสิทธิ ”

ต่อจากนั้นก็กล่าวถึงความบกพร่องต่าง ๆ อีกมากมาย แล้วเสริมอีกตอนหนึ่งว่า

“ ชาวบะนีอับดุลมุฏฏอลิบเอ๋ย ไม่มีทางที่อัลลอฮฺจะมอบอาณาจักรการปกครองให้แก่พวกเจ้าโดยที่พวกเจ้าสังหารผู้ปกครองเหล่านั้น พวกเจ้าได้ละเลงเลือดทั้งๆ ที่อัลลอฮฺทรงห้ามไว้ พวกเจ้าทะยานอยากในอำนาจการปกครอง และแสวงหาในสิ่งที่ไม่อนุญาต เจ้านั้น

๑๐๕

โอ้ ฮะซัน เจ้าพูดกับตัวเองว่า ตำแหน่งผู้ปกครองเป็นของเจ้า ทั้ง ๆ ที่เจ้าไม่มีปัญญาและความคิดในเรื่องนี้ เจ้ามิได้เห็นหรือ อัลลอฮฺบั่นทอนสติปัญญาของเจ้าอย่างไร พระองค์ทรงทิ้งความโง่เขลาของกุเรชไว้ในตัวเจ้า

พระองค์ทรงลบหลู่และเหยียดหยามเจ้า ทั้งนี้เพราะความชั่วในผลงานของบิดาของเจ้า อันที่จริงแล้วเราเพียงแต่เชิญเจ้ามาด่า ทั้งเจ้าและบิดาของเจ้า ในส่วนบิดาของเจ้านั้นอัลลอฮฺได้อัปเปหิเขาไปเสียแล้ว เราหมดภาระกับเขาแล้ว แต่เจ้าซิยังอยู่ในมือของพวกเรา เรากำลังคิดหาวิธีการในเรื่องของเจ้าอยู่ และถ้าหากเราจะด่าเจ้า เราก็จะไม่มีความบาปใดๆ กับอัลลอฮฺ และไม่มีข้อตำหนิใดๆ จากประชาชน เจ้ายังสามารถที่จะปฏิเสธกับเรา และหาว่าเราพูดไม่จริงได้ไหม ? ถ้าเจ้าเห็นว่าโกหกในข้อหนึ่งข้อใด ก็จงตอบโต้มาซิ ถ้าไม่มีก็จงรู้ไว้ว่า ทั้งเจ้าและบิดาของเจ้าต่างก็เป็นผู้อธรรม ”

ต่อจากนั้น อัล-วะลีด บินอุกบะฮฺ บินอะบีมุอีฏ ได้กล่าวว่า

“ โอ้พวกบะนีฮาชิม แท้จริงพวกเจ้ามีศักดิ์เป็นน้าของอุษมาน

ดังนั้นบุตรที่ประเสริฐ ถึงได้มีแก่พวกเจ้า สิทธิของพวกเจ้าจึงเป็นที่ยอมรับและพวกเจ้ามีการเกี่ยวดองที่ประเสริฐจึงมีแก่พวกเจ้า

เขาให้เกียรติพวกเจ้า แต่พวกเจ้ากลับเป็นบุคคลแรกที่ริษยาเขา จนบิดาของเจ้าถึงกับฆ่าเขาอย่างอธรรม ไม่มีข้อแก้ตัวแลไม่มีข้อพิสูจน์ใดๆ หักล้าง พวกเจ้าจะว่าอย่างไร ในเมื่ออัลลอฮฺทรงทวงถามในเรื่องเลือดของเขา พระองค์ทรงบันดาลให้พวกเจ้าลงมาจากตำแหน่งของพวกเจ้า

และขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ แท้จริง พวกบะนีอุมัยยะฮฺให้ความดีงามแก่พวกบะนีฮาชิมยิ่งกว่าพวกบะนีฮาชิมให้ความดีงามแก่พวกบะนีอุมัยยะฮฺ และแท้จริงมุอาวิยะฮฺให้ความดีงามแก่เจ้ายิ่งกว่าตัวของเจ้าเอง ”

๑๐๖

ถัดจากนั้น อุตบะฮฺ บินอะบีซุฟยาน ได้กล่าวว่า

“ โอ้ฮะซัน บิดาของเจ้าเป็นกุเรชที่ชั่วที่สุด สำหรับพวกกุเรช เพราะเขาเป็นคนหลั่งเลือดชาวกุเรช และตัดสายสัมพันธ์ทางเครือญาติกับชาวกุเรช มีดาบและลิ้นที่แสนจะยาว เขาฆ่าคนที่มีชีวิต

เขาประณามคนที่ตายแล้ว แท้จริงเจ้าก็เป็นคนหนึ่งฆ่าอุษมาน และเราจะต้องฆ่าเจ้าในเรื่องนี้ สำหรับความหวังของเจ้าในตำแหน่งผู้ปกครองนั้น มันเป็นสิ่งที่เจ้าไม่มีความสามารถเข้าถึงมันได้ และมันไม่มีอะไร ที่จะให้เจ้าถือเป็นข้อต่อรองได้ โอ้ ชาวบะนีฮาชิมเอ๋ย พวกเจ้าฆ่าอุษมาน ความจริงแล้ว

เราย่อมมีสิทธิฆ่าเจ้าและน้องชายของเจ้าในเรื่องนี้ด้วย สำหรับบิดาของเจ้านั้น แน่นอนอัลลอฮฺทรงจัดการให้กับพวกเรา ด้วยภารกิจของพระองค์ไปแล้ว แต่ในส่วนของเจ้าซิ ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่า ถ้าเราฆ่าเจ้า เนื่องจากแก้แค้นให้กับอุษมานแล้วไซร้ จะไม่มีความบาปและอริศัตรูใดๆ เกิดขึ้นกับเราเลย ”

ต่อจากนั้นอัล-มุฆีเราะฮฺ กล่าวประณามท่านอะลี และกล่าวว่า

“ ฉันมิได้ตำหนิเขาในกรณีใด ๆ ที่เขาฉ้อฉล และในกฎเกณฑ์การปกครองใดๆ ที่เขาลำเอียง แต่ฉันจะตำหนิเขาก็เพราะว่า เขาฆ่าอุษมาน ”

หลังจากนั้นพวกเขาก็นิ่งเงียบ ท่านอิมามฮะซัน บินอะลี(อ)ก็ได้พูดขึ้นว่า

“ ขอสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ และขอสดุดีต่อพระองค์ ขอให้พระองค์ประทานพรแก่มุฮัมมัดและลูกหลานของเขา ”

ท่านกล่าวต่อไปว่า “ มุอาวิยะฮฺ เอ๋ย คนเหล่านี้มิได้ด่าประณามข้าหรอก แต่เจ้านั่นแหละที่ด่าประณามข้า ช่างเลวร้ายจริงๆ เท่าที่ข้าได้พบมาเป็นความคิดที่ชั่วจริงๆ เท่าที่ข้ารู้จักมา เป็นนิสัยที่ชั่วที่สุดที่ข้าประสบมาเป็นการละเมิดต่อพวกเรา เป็นความคิดที่เป็นอริศัตรูที่เจ้ามีต่อท่านศาสดา

๑๐๗

มุฮัมมัด(ศ) และสมาชิกครอบครัวของท่าน แต่จงฟังเถิดมุอาวิยะฮฺ และพวกเจ้าก็จงฟังด้วย ไม่มีคำพูดใดที่อยู่ในตัวเจ้าและในตัวของพวกเขาที่มันจะแคล้วคลาดโดยมิได้ตรงกับพฤติกรรมที่มีในตัวของพวกเจ้า ข้าขอให้อัลลอฮฺเป็นพยาน พวกเจ้ารู้หรือเปล่าว่า คนที่พวกเจ้าด่าประณามไปนั้น

เขาเคยได้นมาซมาตั้งแต่วันนั้น โดยมีกิบลัตทั้งสองแห่ง ส่วนเจ้ามุอาวิยะฮฺ เจ้าคือผู้ปฏิเสธ(กาเฟร) ต่อทั้งสองแห่งโดยที่เจ้ามองมันว่าเป็นเรื่องที่หลงผิดเจ้าสักการะรูปปั้นของอัล-ลาดและอุซซา อย่างผู้ละเมิด

ข้าขอให้อัลลอฮฺ เป็นพยาน พวกเจ้ารู้หรือไม่ว่า เขาคือผู้มอบสัตยาบันทั้งสองวาระ นั่นคือ สัตยาบันแห่งอัล-ฟัตฮฺ และสัตยาบันแห่งอัร-ริฎวาน

มุอาวิยะฮฺเอ๋ย กับวาระหนึ่งนั้น เจ้าเป็นผู้ปฏิเสธและกับอีกวาระหนึ่งนั้น เจ้าเป็นผู้ตระบัดสัตย์ ข้าขอให้อัลลอฮฺเป็นพยานกับพวกเจ้า พวกเจ้ารู้หรือไม่ว่า เขา(อิมามอะลี)คือ คนแรกที่มีความศรัทธา ส่วนเจ้าและบิดาของเจ้านั้น มุอาวิยะฮฺเอ๋ย เป็นเพียงคนมีจิตใจโน้มน้าว พวกเจ้าซ่อนเร้นสภาพปฏิเสธไว้ แต่ฉาบภายนอกด้วยกับศาสนาอิสลาม พวกเจ้าหมกมุ่นอยู่กับการแสวงหา

ทรัพย์สิน

ข้าขอให้อัลลอฮฺเป็นพยาน พวกเจ้าไม่รู้เลยใช่ไหมว่า เขาคือเจ้าของธงชัยแห่งศาสนทูตของอัลลอฮฺ(ศ) ในสงครามบะดัร และแท้จริงธงชัยของฝ่ายพวกตั้งภาคีนั้นมีมุอาวิยะฮฺและบิดาของเขาร่วมอยู่ด้วย

ต่อจากนั้น เขาก็เผชิญต่อพวกเจ้าที่สงครามอุฮุดและสงครามพลพรรคต่างๆ (อัล-อะฮฺซาบ)โดยที่ธงชัยของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)อยู่กับเขา ส่วนที่อยู่กับเจ้าและบิดาของเจ้าคือธงชัยของพวกที่ตั้งภาคี ในทุกแห่งนั้นอัลลอฮฺ(ซ.บ.)เปิดโอกาสให้เขามีชัยชนะ และทรงยกย่องให้เขาเป็นข้อพิสูจน์ ทรงช่วยเหลือการเผยแผ่ของเขา และทรงยืนยันรับรองความสัตย์ในคำพูดของเขา และในทุกสมรภูมิเหล่านั้น

๑๐๘

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ให้ความปิติชื่นชมต่อเขา ส่วนเจ้าและบิดาของเจ้านั้นได้รับแต่ความชิงชัง

ข้าขอให้อัลลอฮฺเป็นพยาน มุอาวิยะฮฺเอ๋ย เจ้ายังจำได้ไหม ในวันหนึ่งที่บิดาของเจ้าเดินทางมาพร้อมกับอูฐสีแดงตัวหนึ่ง ส่วนเจ้ากำลังจูงมันอยู่และอุตบะฮฺน้องชายของเจ้าติดตามมาข้างหลังแล้วท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)มองเห็นเจ้า

ท่านศาสดา(ศ) ได้กล่าวว่า

“ โอ้อัลลอฮฺ ขอให้อัลลอฮฺทรงสาปแช่งทั้งคนขี่ คนจูง และคนที่ติดตามมาข้างหลังด้วยเถิด ”

มุอาวิยะฮฺเอ๋ย เจ้าลืมบทกวีที่เจ้าเขียนส่งไปให้บิดาของเจ้าเสียแล้วหรือ เมื่อครั้งที่เขาคิดจะเข้ารับอิสลาม แต่เจ้าห้ามเขาว่า

“ ทะเลทรายเอ๋ย ท่านอย่ายอมจำนนเป็นอันขาดเลย แม้แต่เพียงวันเดียว เพราะหลังจากชาวบะดัรกลายเป็นผุยผงแล้ว เราจะสามารถเอาชนะได้อีก ”

ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ กิจการที่เจ้าซ่อนเร้นอยู่นั้น มันยิ่งใหญ่กว่าที่เจ้าเผยออกมา หมู่ชนทั้งหลาย ข้าขอให้อัลลอฮฺเป็นพยาน พวกเจ้ารู้ไหมว่า ในหมู่บรรดาสาวกทั้งหลายของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) อิมามอะลี(อ) นั้นเป็นคนที่สามารถยับยั้งตนเองมิให้ตกอยู่ภายใต้อารมณ์ใฝ่ต่ำได้

ดังนั้นจึงมีโองการถูกประทานมาว่า :

“ โอ้ บรรดาผู้ศรัทธา จงอย่ายับยั้งของที่ดีที่อัลลอฮฺได้อนุมัติมาให้แก่สูเจ้า ” ( อัล-มาอิดะฮฺ :87)

๑๐๙

และครั้งหนึ่งท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ส่งสาวกชั้นผู้ใหญ่ของท่านไปรบกับพวกบนีกอรีเซาะฮฺ ปรากฏว่าต้องเผชิญกับความกล้าหาญชาญชัยของคนเหล่านั้น จนพ่ายแพ้อย่างยับเยิน

แล้วท่านก็ส่งท่านอิมามอะลี(อ)ให้ออกไปรบ พร้อมกับนำธงไปด้วย ปรากฏว่าท่าน(อ)สามารถปราบคนเหล่านั้นให้ยอมรับในบทบัญญัติของ

อัลลอฮฺและการปกครองของศาสนทูตของพระองค์ได้ ในสงครามค็อยบัรก็เป็นเช่นเดียวกันนี้

ท่าน(อ)ยังกล่าวอีกว่า...มุอาวิยะฮฺเอ๋ย ข้าเชื่อว่าเจ้าไม่รู้ดอก แต่ข้าซิรู้ดีถึงเรื่องที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) สาปแช่งแก่เจ้า เมื่อครั้งที่ท่านต้องการจะเขียนหนังสือส่งไปยังพวกบะนีคุซัยมะฮฺ กล่าวคือ ท่านได้ส่งไปยังเจ้าและไล่ให้เจ้าไปตาย พวกเจ้าก็เช่นเดียวกัน โอ้หมู่ชนที่ชุมนุม ณ ที่นี้ ข้าขอให้อัลลอฮฺเป็นพยาน พวกเจ้ายังไม่รู้หรือว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้สาปแช่งอะบูซุฟยานไว้ในสมรภูมิถึง 7 แห่ง ซึ่งพวกเจ้าไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้เลย

ครั้งแรก ในวันที่เขาพบท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ที่นอกเมืองมักกะฮฺ ทางไปเมืองฏออิฟ ท่านได้เชิญชวนให้เข้ารับศาสนาแต่โดยดี ครั้นแล้วเขาก็ฮึดสู้ท่าน ด่าว่าและสบประมาทท่าน สาปแช่งและกล่าวเท็จต่อท่าน อีกทั้งยังคิดที่จะใช้กำลังกับท่าน ดังนั้นอัลลอฮฺ และศาสนทูตของพระองค์จึงสาปแช่งเขาและทอดทิ้งเขาไป

ครั้งที่สอง ในวันแห่งอัล-อีรฺ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ถูกนำเสนอแก่ผู้หญิงคนหนึ่งที่มาจากชาม แต่อะบูซุฟยานได้ปฏิเสธ และขับไล่นางไปโดยที่ไม่มีใครช่วยเหลือนางได้เลย ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้สาปแช่งเขา เหตุการณ์สมรภูมิบัดรฺเกิดขึ้นก็เพราะนาง

๑๑๐

ครั้งที่สาม ในสงครามอุฮุด ตอนที่เขายืนอยู่ใต้เนินเขา ท่านศาสนทูต(ศ)ยืนอยู่ข้างบน เขาร้องตะโกนว่า “ รีบขึ้นไปข้างบนเร็ว ” ท่านศาสนทูต (ศ) ได้สาปแช่งเขาถึง 10 ครั้ง และบรรดามุสลิมก็สาปแช่งเขาด้วย

ครั้งที่สี่ ในสงครามอะฮฺซ์าบ มีพวกปฏิเสธสองกลุ่มร่วมกับพวกยิว ท่านศาสนทูต(ศ)ก็สาปแช่งเขาเช่นกัน

ครั้งที่ห้า ในวันที่อะบูซุฟยานเดินมากับกลุ่มชาวกุเรช แล้วร่วมกันขัดขวางท่านศาสนทูต(ศ)มิให้เข้ามัสญิดอัล-ฮะรอมและทำการเชือดสัตว์พลีและนั่นคือ วันแห่งสนธิสัญญาฮุดัยบียะฮฺ ดังนั้น ท่านศาสนทูตจึงสาปแช่งอะบูซุฟยาน ตลอดทั้งบรรดาแกนนำและสมุนทั้งหลาย ท่าน(ศ)กล่าวว่า

“ เขาเหล่านั้นทั้งหมดล้วนถูกสาปแช่ง เพราะไม่มีคนใดในหมู่พวกเขาเป็นผู้ศรัทธา ”

มีคนถามว่า “ ข้าแต่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) เผื่ออาจมีใครสักคนหนึ่งในหมู่พวกเขาต้องการเข้ารับอิสลาม เขาจะเป็นอย่างไร กับการสาปแช่งนี้ ?”

ท่านกล่าวตอบว่า “ การสาปแช่งจะไม่ประสบกับพวกที่ติดตามคนใดเลย เว้นแต่พวกระดับแกนนำจะไม่มีใครรอดได้พ้นเลยแม้สักคนเดียว ”

ครั้งที่หก นั่นคือ วันแห่งอูฐตัวสีแดง

ครั้งที่เจ็ด ในวันที่พวกเขาต่อสู้กับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ในพิธีแห่งอัล-อุกอบะฮฺโดยพวกเขาขับไล่อูฐของท่านให้วิ่งหนี พวกเขาเป็นผู้ชาย 12 คน ในจำนวนนั้นมีอะบูซุฟยานรวมอยู่ด้วย

๑๑๑

นี่คือเรื่องราวในส่วนของเจ้า โอ้ มุอาวิยะฮฺ

ส่วนเจ้าโอ้ อิบนุ อัล-อ๊าศ แท้จริงเรื่องราวความเป็นมาของเจ้านั้นสับสน มารดาของเจ้า คลอดเจ้ามาโดยไม่รู้ว่าใครคือพ่อ จนมีการตัดสินกันในหมู่ชาวกุเรชถึง 4 คน แต่แล้วคนที่รับผิดชอบเจ้าก็คือ คนที่เหี้ยมเกรียมที่สุด เป็นคนที่เลวร้ายที่สุด ต่อจากนั้นบิดาของเจ้ายืนขึ้นประกาศว่า

“ ศัตรูของข้า คือ มุฮัมมัด ผู้ที่สายตระกูลถูกตัดขาด ”

แต่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ประทานให้แก่เขา เหมือนดังที่ทรงประทานมาให้แล้ว เจ้าสู้รบกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ทุกสมรภูมิ เจ้าบุกเข้าทำร้ายท่านที่มักกะฮฺ เจ้าวางแผนการร้ายต่างๆนานา และเจ้าเป็นคนหนึ่งที่กล่าวเท็จใส่ท่าน และเป็นศัตรูของท่านอย่างฉกาจฉกรรจ์ที่สุด

ต่อจากนั้นเจ้าออกเดินทางไปเฝ้ากษัตริย์นะญะชี พร้อมกับบรรดาชาวเรือ เพื่อขอตัวญะอฺฟัรและสาวกของท่านกลับมาหาชาวมักกะฮฺ แต่แล้วเขาก็ทำให้เจ้าผิดหวัง อัลลอฮฺ(ซ.บ.)บันดาลให้เจ้ากลับมาอย่างพ่ายแพ้ เจ้าคือศัตรูของบะนีฮาชิม ทั้งในสมัยญาฮีลียะฮฺและในสมัยของอิสลาม เจ้าเองก็รู้คนทั้งหลายก็รู้ เจ้าเคยเขียนบทประพันธ์โจมตีท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)มากถึง 70 บท

แล้วท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ก็ได้กล่าวว่า

“ ข้าแต่อัลลอฮฺแท้จริงข้ามิได้พูดเป็นกวี และมันไม่สมควรแก่ข้า

ข้าแต่อัลลอฮฺได้โปรดสาปแช่งเขาถึง 1 , 000 ครั้งต่ออักษรแต่ละตัว ”

ดังนั้นในส่วนของเจ้ามีการสาปแช่งที่อัลลอฮฺประทานให้มากมายที่สุดเหลือที่จะประมาณได้ สำหรับกรณีที่เจ้าพูดเกี่ยวกับอุษมาน ก็เจ้านั่นแหละที่เป็นผู้จุดไฟสงครามแก่เขาให้เกิดภัยต่อโลกอิสลาม

๑๑๒

แล้วเจ้าก็หนีไปปาเลสไตน์ ครั้นพอเข้าทราบข่าวการถูกสังหารของเขา เจ้าก็กล่าวว่า

“ อะบูอับดุลลอฮฺ เมื่อท่านถูกสังหารข้าจะขอล้างแค้นให้ ”

ต่อมาเจ้าก็กักขังตัวเองไว้กับมุอาวิยะฮฺ และขายศาสนาเพียงเพื่อความสุขทางโลกจากเขา

เรามิได้ตำหนิเจ้าด้วยความโกรธ และเรามิได้ติเตียนเจ้าด้วยความรัก

ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ เจ้าไม่ได้ช่วยเหลืออุษมานในตอนที่ยังมีชีวิตอยู่และไม่ได้รู้สึกโกรธแค้นเมื่อเขาถูกสังหาร

ส่วนเจ้านั้น โอ้ วะลีด ข้าขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่า ข้ามิได้ตำหนิเจ้า เพราะความโกรธเกลียดโดยส่วนตัว แต่ท่านอะลี(อ)เคยลงโทษเจ้าด้วยการเฆี่ยนถึง 80 ครั้ง ในความผิดข้อหาดื่มสุรา และเขาได้ต่อสู้กับบิดาของเจ้าต่อหน้าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ด้วยความทรหด

เจ้านั่นเองที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ให้ ชื่อว่า “ ฟาซิก ” ( ผู้ละเมิดบัญญัติทั้ง ๆ ที่รู้) และให้ชื่ออิมามอะลี (อ) ว่า “ มุอ์มิน ” เจ้าได้เคยโอ้อวดต่อเขา เจ้าเคยกล่าวกับเขาว่า

“ อะลีเอ๋ย หยุดพูดเถอะ ข้ากล้าหาญ และพูดได้ดีกว่าเจ้า ”

แล้วอิมามอะลี(อ)ก็กล่าวแก่เจ้าว่า

“ วะลีด เอ๋ย เจ้าจงหยุดพูดเถอะ ฉันคือ มุอ์มิน ส่วนเจ้าคือ ฟาซิก ”

แล้วอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็ประทานโองการลงมาสนับสนุนคำพูดเขา

(อิมามอะลี)ว่า

“ คนที่เป็นมุอ์มินจะเสมอกับคนที่เป็นฟาซิกได้หรือ ไม่เสมอกันหรอก ” ( อัซ-ซะญะดะฮฺ :18)

๑๑๓

ต่อจากนั้นพระองค์ยังได้ประทานโองการลงมาในเรื่องของเจ้าเพื่อสนับสนุนคำพูดของเขาว่า

“ ถ้าหากคนฟาซิกนำข่าวคราวอันใดมาแจ้งแก่สูเจ้า ดังนั้น จงสอบสวนให้ชัดเจนเสียก่อน ” ( อัล-ฮุจญะร็อต : 6)

เจ้ามิได้เกี่ยวข้องอันใดกับชาวกุเรช แท้จริงเจ้าเป็นเพียงคนที่มาจากเผ่า

ศ่อฟูรียะฮฺ ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ เจ้าเกิดมานานแล้ว อายุของเจ้าก็มากกว่าที่เจ้าอ้าง

ส่วนเรื่องของเจ้านั้น อุตบะฮฺเอ๋ย ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่าเจ้าไม่มีความชอบธรรมอันใด จนข้าฯจำเป็นต้องตอบ เจ้าไม่มีสติปัญญาอันใดพอที่ข้าฯจะสนทนาด้วยและตำหนิเจ้า

และเจ้าไม่มีความดีอะไรจะเสมอ ไม่มีความชั่วใด ๆ ที่ซ่อนเร้นได้ สติปัญญาของเจ้ากับสติปัญญาทาสของเจ้านั้นไม่มีอะไรแตกต่างกัน

ไม่มีอะไรระคายเคืองแกอิมามอะลี(อ)ได้ ถึงแม้เจ้าจะประทุษร้ายต่อเขาในสมรภูมิต่างๆ ทุกแห่งหน

ในข้อที่เจ้าสัญญาว่า จะฆ่าเขานั้น ทำไมเจ้าจึงไม่ฆ่าอัล-ลิห์ยาน เมื่อตอนที่เจ้าพบเขาบนที่นอนของเจ้า(เป็นชู้กับภรรยาของเจ้า) แล้วยังจะมีใครกลัวดาบของเจ้าอีกเล่าในเมื่อเจ้าไม่ฆ่าเขาในตอนนั้น ช่างน่าหัวเราะ ข้าจะตำหนิเจ้าที่เจ้าไปโกรธท่าน อิมามอะลี(อ)ได้อย่างไร ในเมื่อเขาได้ฆ่าวะลีด ลุงผู้กล้าหาญของเจ้าในสงครามบะดัร และเขาร่วมกับท่านฮัมซะฮ์ในการฆ่า

อุตบะฮฺผู้เป็นปู่ของเจ้า และเขาได้แยกเจ้าให้โดดเดี่ยวจากฮันซอละฮฺพี่ชายของเจ้า ?

๑๑๔

สำหรับเจ้านั้น มุฆีเราะฮฺเอ๋ย เจ้าไม่มีคุณสมบัติอันใดพอที่จะมาร่วมถกเถียงในเรื่องเช่นนี้ อันที่จริงถ้าจะเปรียบเจ้าก็เหมือนอย่างกับยุงที่พูดกับต้นอินทผลัมว่า

“ จับฉันให้ได้ซิ ฉันกำลังบินไปจากท่านแล้ว ”

ต้นอินทผลัมพูดว่า “ ข้าจะรู้หรือว่าเจ้าเกาะอยู่บนต้นของข้า เพราะข้าจะรู้เอาเมื่อตอนที่เจ้าบินไปจากข้าแล้ว ”

ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่า เราไม่เคยรู้สึกอะไรเลยว่าเจ้าเป็นศัตรูกับเรา และเราก็ไม่ถือสาหาความอะไร ถึงแม้ว่าเราจะรู้ก็ตามในคำพูดของเจ้ามิได้สร้างความลำบากแก่เรา แท้จริงบทลงโทษของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ในความผิดฐานกระทำการล่วงประเวณี โดยจำนนต่อหลักฐานนั้นถูกบัญญัติมาเพราะเจ้า แน่นอนอุมัรเคยผ่อนผันจากการลงโทษเจ้า ซึ่งเป็นสิทธิของ

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงสอบถามเรื่องนี้จากเขา (อุมัร) แน่นอนที่สุด เจ้าเคยถามท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ว่า

“ ผู้ชายจะมองผู้หญิงโดยเขาต้องการจะแต่งงานด้วยได้หรือไม่ ?”

ท่านตอบว่า “ ไม่เป็นไรในข้อนี้ โอ้ มุฆีเราะฮฺ ตราบใดที่ยังไม่มีเจตนาร่วมประเวณี ”

แน่นอนที่สุดท่านรอซูลรู้ดีว่า เจ้าเป็นคนละเมิดประเวณีแน่นอน

ส่วนกรณีที่เจ้าคุยโวทับถมเราในเรื่องการปกครองนั้น อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการไว้ว่า :

“ และหากเราประสงค์ที่จะทำลายเมืองใดเมืองหนึ่ง เราก็จะให้พวกที่ฟุ่มเฟือยในเมืองนั้นๆทำหน้าที่ปกครอง แล้วพวกเขาจะละเมิดในเมืองนั้นแล้วเป็นสิทธิแห่งพจนารถของเราสำหรับเมืองนั้น โดยเราจะทำลายมันให้ราบคาบ ” ( อัล-อิซรออ์ : 16)

๑๑๕

หลังจากนั้นท่านอิมามฮะซัน(อ)ก็ลุกขึ้น จัดแจงจะเดินออก ทันใดนั้น อัมร์ บิน อัล-อ๊าศ ได้ยึดชายผ้าคลุมของท่านอิมามไว้ แล้วกล่าวว่า

“ ข้าแต่อะมีรุลมุมีนีน(มุอาวิยะฮฺ) ท่านได้เป็นพยานแล้วในคำพูดของเขา และการใส่ร้ายที่เขามีต่อมารดาของฉันว่าล่วงประเวณี ฉันจะเอาเรื่องกับเขาในความผิดฐานใส่ร้าย ”

มุอาวิยะฮฺ จึงกล่าวว่า “ ปล่อยเขาไปเถิด อัลลอฮฺจะไม่ตอบแทนเจ้าด้วยความดี ”

เขาก็ปล่อยชายผ้าไป แล้วมุอาวิยะฮฺกล่าวอีกว่า

“ ข้าได้บอกเจ้าแล้วว่า เขาเป็นคนที่ไม่มีใครเถียงขึ้น เราห้ามพวกเจ้าแล้วว่าอย่าด่าประณามเขา แต่พวกเจ้าขัดขืนข้าเอง ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่า เขามิได้ลุกขึ้นกล่าวบทกวีเพื่อเป็นการอธรรมแก่ข้า พวกเจ้าจงออกไปเถิด แน่นอนอัลลอฮฺจะชำระโทษพวกเจ้า และจะทรงบั่นทอนพวกเจ้าในฐานะที่พวกเจ้าละทิ้งความมีคุณธรรม และเป็นศัตรูต่อทัศนะของผู้ที่ให้คำสั่งสอนอันน่าเลื่อมใส และอัลลอฮฺคือผู้ให้ความช่วยเหลือเสมอ ” ( 1)

1) ซัรฮฺ นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ เล่ม 2 หน้า 104)

๑๑๖

วายชนม์

นักประวัติศาสตร์ทั้งฝ่ายซุนนี่และฝ่ายชีอะฮฺ หรือไม่ใช่ทั้งสองฝ่ายนี้ ต่างก็ได้ร่วมกันบันทึกว่า เมื่อครั้งที่มุอาวิยะฮฺ ตั้งใจที่จะให้มีการบัยอัต(ทำการสัตยาบัน) แก่ยะซีดนั้น ไม่มีอะไรที่เป็นที่หนักใจแก่เขามากเท่าอิมามฮะซัน บินอะลี(อ) เขาจึงลอบนำยาพิษ ไปให้ท่านดื่มโดยผ่านมือของญุอฺดะฮฺ บินอัล-อัชอัษ ผู้เป็นภรรยาคนหนึ่งของท่านเอง โดยสัญญาว่าจะให้เงินแก่นางจำนวน 1 , 000 ,000 ดิรฮัม พร้อมทั้งแต่งงานกับยะซีด ดังนั้น นางจึงนำยาพิษใส่ลงในแก้วนมให้ท่านดื่มเพื่อละศีลอด ปรากฏว่าท่านอิมาม (อ) ต้อง

ทรมานกับฤทธิ์ยาพิษนานถึง 40 วัน แล้วท่านก็ถึงวาระแห่งการกลับคืนสู่พระผู้อภิบาล(1)

1) อัล - ฟุศูลุล - มุฮิมมะฮฺ หน้า 150 และมะกอฏิลุฏ - ฏอลิบียีน หน้า 50)

ในขณะที่ท่านนอนป่วยอยู่นั้น ท่านอะมีรฺ บินอิซฮากพร้อมกับชายคนหนึ่งเข้าเยี่ยมอาการป่วยของท่าน ท่าน(อ)กล่าวว่า

“ พ่อหนุ่มเอ๋ย จงถามข้ามาเถอะ ”

เขากล่าวตอบว่า “ ข้าขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ข้าจะไม่ถามอะไรท่าน จนกว่าอัลลอฮฺจะบรรเทาอาการของท่านเสียก่อน ”

ท่านอิมาม(อ)กล่าวต่อไปว่า “ ข้ากำลังพบศึกในท้อง ข้าเคยดื่มยาพิษมาหลายครั้งแล้ว แต่ไม่เหมือนกับครั้งนี้เลย ”

อัมรฺกล่าวว่า พอวันรุ่งขึ้น ฉันได้เข้าเยี่ยมท่านอีก พบท่านอิมามฮุเซน(อ)น้องชายของท่านนั่งใกล้ศีรษะ กำลังถามท่านว่า

“ โอ้พี่ชายข้า ท่านคิดว่าเป็นใครหรือ ?”

๑๑๗

ท่าน(อ)ตอบว่า “ ทำไม เจ้าจะฆ่าเขาหรือ ?”

ท่านอิมามฮุเซน(อ) กล่าวตอบ “ ใช่แล้ว ”

ท่านอิมามฮะซัน(อ)กล่าวต่อไปว่า “ หากเป็นคนที่ข้าสงสัย ขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺว่า เขาจะได้รับภัยพิบัติและการลงโทษอย่างร้ายแรง แต่ถ้าไม่เป็นเขา ข้าชอบที่จะให้คนที่ฆ่าข้าได้รับนิรโทษกรรม ” ( 2)

ต่อจากนั้นท่านอิมามฮะซัน(อ) ได้สั่งเสียอิมามฮุเซน(อ)ผู้เป็นน้องชายและได้ทำการมอบพินัยกรรมให้แก่เขา อีกทั้งยังมอบหมายให้สืบตำแหน่งในหน้าที่อิมามะฮฺแก่เขาด้วย คำสั่งในพินัยกรรมของท่านที่มอบให้แก่ท่าน

อิมามฮุเซน(อ) มีดังนี้

“ โอ้ น้องชายของฉัน บัดนี้ฉันต้องจากเจ้าไปพบกับพระผู้อภิบาลของฉันเสียแล้ว ฉันได้ดื่มยาพิษเข้าไปในท้องของฉัน ฉันรู้ดีว่าใครนำยาพิษมาให้ฉันดื่ม และนางเอามาจากไหน ฉันขอเป็นคู่กรณีกับเขา ณ อัลลอฮฺ ดังนั้นโดยสิทธิของฉันที่มีต่อเจ้า ฉันขอพูดในเรื่องนี้สักข้อหนึ่ง และจงคอยดูในสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงบันดาลให้เกิดขึ้น กล่าวคือในเมื่อฉันได้สิ้นลมไป

ก็ขอให้จัดการมัยยิต(ศพ)ของฉัน อาบน้ำและห่อกะฟั่นฉัน แล้วโปรดนำฉันขึ้นคานหามเพื่อไปยังสุสานท่านตา ผู้เป็นศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)เพื่อฉันจะได้พบท่านตามสัญญา ต่อจากนั้นก็นำฉันไปยังสุสานของท่านย่า ฟาฏิมะฮฺ บินติอะซัด แล้วจงฝังฉันที่นั่น โอ้ผู้เป็นบุตรแห่งมารดาของฉัน แล้วเจ้าจะรู้ว่าคนกลุ่มหนึ่งคิดสงสัยว่า พวกเจ้าต้องการจะฝังฉันใกล้กับศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) พวกเขาจะต่อต้านและขัดขวางมิให้พวกเจ้าเข้าไปในนั้น แต่ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ เจ้าจะต้องสัญญาจะต้องไม่ให้มีเหตุนองเลือดในเรื่องของข้า ”

2) นูรุล - อับศอร หน้า 112 และอัล - ฟุศูลุล - มุฮิมมะฮฺ)

๑๑๘

หลังจากนั้นท่านอิมามฮะซัน(อ)ก็ได้สั่งเสียเกี่ยวกับเรื่องภรรยา บุตร และบริวารที่ยังอยู่ อีกทั้งคำสั่งเสียอื่น ๆ ที่ท่านอะมีรุลมุมินีน(อ)เคยสั่งเสียไว้ในตอนที่ท่านมอบหมายหน้าที่ให้ เมื่อครั้งที่อยู่ในฐานะ เช่นเดียวกันกับคราวนี้และท่านได้แนะนำให้พรรคพวกของท่าน ถือเรื่องนี้เป็นหลักฐานในการสืบตำแหน่งผู้ปกครอง และแต่งตั้งท่านอิมามฮุเซน(อ)ให้แก่พวกเขาภายหลังจากท่าน ซึ่งเป็นที่ทราบดี(3)

ต่อมาท่านได้สั่งให้ยกตัวท่านไปวางไว้ที่ลานบ้าน เมื่อออกมาแล้ว ท่านกล่าวว่า

“ ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้าขอมอบัวข้าให้พระองค์ตัดสิน ดังนั้นข้าจะต้องไม่ประสบเหมือนอย่างที่ประสบแก่นาง ” ( 4)

ต่อจากนั้นท่านก็วายชนม์ด้วยสาเหตุถูกวางยาพิษอย่างอธรรมสุดที่จะอดทนได้เมืองมะดีนะฮฺในวันนั้น บรรยากาศคล้ายวันที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)วายชนม์ เมื่อข่าวนี้ทราบไปถึงอะบูฮุรอยเราะฮฺ เขาถึงกับตกประหม่าและร้องไห้ด้วยน้ำตานองหน้า เขาถลาวิ่งออกไปที่มัสญิดของท่านศาสนทูต(ศ)แล้วร้องตะโกนด้วยเสียงอันดังว่า

“ ประชาชนทั้งหลาย วันนี้สุดที่รักของท่านศาสดา(ศ)ได้เสียชีวิตแล้ว ”

ประชาชนต่างพากันร้องไห้ระงม(5)

3) อัล - อิรชาด หน้า 198)

4) มะฏอลิบุซซุอุล หน้า 70)

5) ฮะยาตุล - อิมามฮะซัน ของกุร็อยชี เล่ม 2 หน้า 432)

๑๑๙

ท่านอิมามฮุเซน(อ)จัดการมัยยิดเสร็จ แล้วได้หามไปยังสุสานของท่านศาสดา(ศ)ตามสัญญาที่ได้รับการสั่งเสียไว้ แต่...มัรวาน บินฮะกัม ได้เข้ามาขัดขวางไว้ โดยมีพวกบะนีอุมัยยะฮฺขี่ม้าติดอาวุธมาด้วย มัรวาน(ขออัลลอฮฺทรงสาปแช่งเขา)จึงได้โอกาสกล่าวว่า

“ ข้าแต่พระผู้อภิบาล การต่อสู้ย่อมดีกว่าปล่อยไปอย่างนี้ จะให้อุษมาน(ร.ฎ.)ถูกฝังนอกเมืองมะดีนะฮฺ แล้วให้ฮะซันถูกฝังไว้ในบ้านของท่านศาสดากระนั้นหรือ ? ขอสาบานด้วยนามของอัลลอฮฺ จะเป็นอย่างนี้ไม่ได้เด็ดขาด ข้าจะต้องจับดาบสู้ ”

เหตุการณ์ชุลมุนวุ่นวายเกือบจะเกิดจราจล ท่านหญิงอาอิชะฮฺ(ร.ฎ.)ขี่ล่อเข้ามาพบกับพวกเขาทันที พลางกล่าวว่า

“ มันเป็นเรื่องของข้ากับพวกเจ้า พวกเจ้าจะเอาคนที่ข้าไม่ชอบเข้ามาในบ้านของข้าหรือ ?”

ท่านอิบนุอับบาซ(ร.ฎ.)ได้ออกมาเผชิญหน้ากับนางแล้วกล่าวว่า

“ สองครั้งแล้วนะ ที่ทำในสิ่งเลวร้าย ครั้งนี้ขี่ล่อ ครั้งก่อนขี่อูฐ

ท่านต้องการจะดับรัศมีแห่งอัลลอฮฺ ท่านต่อสู้กับบรรดาผู้มีคุณธรรมของพระองค์ โปรดกลับไปเสียเถิด เพียงพอแล้วกับสิ่งที่ท่านจะต้องเกรงกลัว ท่านได้เข้าถึงในสิ่งที่ท่านชอบแล้ว อัลลอฮฺ(ซ.บ.)คือผู้ช่วยเหลืออะฮฺลุลบัยตฺ

ไม่ว่าจะนานแสนนานแค่ไหน ” ( 6)

ต่อจากนั้น พวกเขาได้ยิงธนูเข้าใส่ร่างอันไร้วิญญาณของท่านอิมาม(อ)จนเสียบติดที่ร่างถึง70 ดอก(7)

6) อัล - อิรชาด หน้า 199)

7) อัล - มะนากิบ เล่ม 2 หน้า 175 , อัดดัมอะตุซ - ซากิบะฮฺ เล่ม 2 หน้า 252 และฮะยาตุล

- อิมามฮะซัน เล่ม 2 หน้า 491 พิมพ์ครั้งที่ 2)

๑๒๐

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151