การรู้จักอัล-กุรอาน

การรู้จักอัล-กุรอาน25%

การรู้จักอัล-กุรอาน ผู้เขียน:
ผู้แปล: เชคชรีฟ เกตุสมบูรณ์
กลุ่ม: ห้องสมุดกุรอาน
หน้าต่างๆ: 154

การรู้จักอัล-กุรอาน
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 154 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 51869 / ดาวน์โหลด: 5883
ขนาด ขนาด ขนาด
การรู้จักอัล-กุรอาน

การรู้จักอัล-กุรอาน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

ชื่อหนังสือ : การรู้จักอัล-กุรอาน

Intimacy with the Quran

เขียนโดย : ฮุจญฺตุลอิสลาม ดร. มุฮัมมัดอะลี ริฎอ เอซ ฟาฮานี

Author: Hujjatolislam Dr. Muhammad Ali Reza Esfahan

แปลโดย : เชคชรีฟ เกตุสมบูรณ์

Translated by: Shiek Sharif Ketsomboon

จัดพิมพ์และเรียบเรียงในรูปแบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ออนไลน์ โดย เว็บไซต์อัลฮะซะนัยน์

WWW .Alhassanain.org/thai/

คำนำ

มวลการสรรเสริญแด่อัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงเกรียงไกรยิ่ง

ขอประสาทพรแด่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และวงศ์วานผู้บริสุทธิ์ของท่าน(อ)

ข้าพเจ้าพยายามอย่างยิ่งที่จะเขียนหนังสือเกี่ยวกับอัล-กุรอานในแง่มุมต่างๆ เพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่และความมหัศจรรย์ของอัล-กุรอาน ประกอบกับต้องการให้สังคมได้บริโภคความรู้ที่หลากหลาย

หนังสือเล่มดังกล่าวเป็นหนึ่งในผลงานที่ข้าพเจ้าต้องการถ่ายทอดออกสู่สังคม เพื่อต้องการลดช่องว่างระหว่างเยาวชนกับอัล-กุรอานให้น้อยลง

การเจริญพระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน สามารถนับย้อนหลังไปยังประวัติศาสตร์ของอัล-กุรอาน หมายถึง นับตั้งแต่วันแรกที่อัล-กุรอานถูกประทานลงมา จะพบว่ามีมุสลิมกลุ่มหนึ่งเฝ้าติดตามการอ่านและการเรียนรู้อัล-กุรอาน อย่างใกล้ชิด จนกระทั่งมีนักท่องจำอัล-กุรอาน เกิดขึ้นหลายคนในยุคนั้น เช่น ท่านอิมามอะลี (อ.) และนักท่องจำอัล-กุรอานที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน

บรรดามุสลิมได้ถือปฏิบัติตามคำสั่งของอัล-กุรอานที่ว่า

จงอ่านอัล-กุรอาน ตามที่เจ้ามีความสามารถเถิด

(อัลมุซซัมมิล / ๒๐)

فَاقْرَؤُوا مَا تَيَسَّرَ مِنَ الْقُرْآنِ

และด้วยคำแนะนำจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ประกอบกับความรู้สึกในหน้าที่ของตนที่มีต่ออัล-กุรอาน มุสลิมจึงอ่านอัล-กุรอานกันอย่างถ้วนหน้า

แบบอย่างอันดีงามนี้ยังคงถูกรักษาไว้อย่างดีในหมู่มวลมุสลิมทั้งหลาย

การอ่านและท่องจำอัล-กุรอาน มิใช่ว่าถูกลืมเลือนไปจากสังคม ทว่ากลับทวีคูณขึ้นและได้รับความสนใจจากบรรดามุสลิมเป็นจำนวนมาก พร้อมกับมีการนำเสนอแบบและวิธีการอ่านใหม่ๆ มากมาย

การให้ความสนใจของบรรดามุสลิมที่มีต่อัล-กุรอาน เป็นสาเหตุให้เกิดวิชาการใหม่ๆ ในหมู่มุสลิม เช่น วิชาการด้านการอ่านอัล-กุรอาน

(อิลมฺตัจญฺวิด) ซึ่งนับได้ว่าเป็นสาขาวิชาที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง คู่ควรแก่การค้นคว้าและวิจัย และเคียงคู่กับวิชาการอ่านอัล-กุรอานนั้น

ได้มีวิชามารยาทในการอ่านอัล-กุรอาน และการท่องจำเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน นอกจากนั้นแล้วยังมีหนังสือและตำราจำนวนมากที่เขียนเกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้น

หนังสือเล่มที่อยู่ในมือของท่านผู้อ่านที่รักทั้งหลายกล่าวถึงความประเสริฐ เงื่อนไข บทนำ มารยาทภายนอกและภายในของการอ่านอัล-กุรอาน และการท่องจำอัล-กุรอาน รวมถึงการแนะแนวในการอ่านและการท่องจำ

แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงประเด็นเหล่านั้น จำเป็นต้องกล่าวถึงประเด็นต่อไปนี้เสียก่อน

๑. ในหนังสือเล่มนี้ส่วนใหญ่ใช้โองการและรายงานที่เชื่อถือได้เท่านั้น เนื่องจากเรื่องมารยาทในการอ่านอัล-กุรอาน นั้นมีรายงานจำนวนมากกล่าวถึง

๒. ความหมายในเชิงภาษา ความหมายของนักปราชญ์ด้านการอ่าน ตลอดจนผลของการอ่านและการท่องจำอัล-กุรอาน ได้กล่าวไว้ในบทแยกต่างหาก ดังนั้น จะไม่ถูกอธิบายในหนังสือเล่มนี้ จะกล่าวถึงเท่าที่มีความจำเป็นเท่านั้น

ฮุจญตุลอิสลาม ดร. มุฮัมมัดอะลี ริฎออีย์ เอซฟาฮานียฺ

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงปรานียิ่งเสมอ

หมวดที่ ๑. การอ่านอัล-กุรอานจากตัวบท

บทที่ ๑. การอ่านอัล-กุรอาน

การให้ความสำคัญต่อการอ่านอัล-กุรอาน

จะมีสิ่งใดสวยงามไปกว่าการที่มนุษย์ได้รำพันพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้า การเข้าสู่พระองค์ด้วยการอ่านโองการต่างๆ ของพระองค์ และ

การพันธนะการตนเองให้เข้ากับความเมตตาของพระองค์

ถ้าหากไม่มีความโปรดปรานใดถูกประทานลงมาให้มนุษย์ นอกจากการอนุญาตให้อ่านพระดำรัสของพระองค์เพียงอย่างเดียว เท่านี้ก็ถือว่าเพียงพอแล้วต่อการที่มนุษย์จะซัจดะฮฺขอบคุณพระองค์ตลอดไป

แน่นอนการรู้จักพระดำรัสของพระองค์ และการได้อ่านถ้อยคำเหล่านั้นเป็นความโปรดปรานที่ยิ่งใหญ่ที่พระองค์ได้มอบให้กับบ่าวบางคนของพระองค์ ดังนั้น จะเห็นว่าโองการแรกที่ถูกประทานให้กับท่านศาสดา

(ซ็อล ฯ) กล่าวว่า

จงอ่านด้วยพระนามแห่งพระผู้อภิบาลของเจ้า ผู้ทรงบังเกิด ทรงบังเกิดมนุษย์จากก้อนเลือด จงอ่านเถิด และพระเจ้าของเจ้านั้นผู้ทรงใจบุญยิ่ง( ๑)

( ๑) อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล-อะลัก ๑-๓)

โองการอัล-กุรอานและฮะดีษจำนวนมากมายจากอิมามมะอฺซูม (อ.) ได้กล่าวเน้นเรื่องการอ่านอัล-กุรอาน และได้เตือนสำทับในรูปแบบต่างๆ ถึงความสำคัญในการอ่าน

อัล-กุรอานกล่าวว่า ดังนั้นสูเจ้าจงอ่านอัล-กุรอานตามสะดวกเถิด ( ๒)

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า อัล-กุรอานเป็นเสมือนงานเลี้ยงของพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้นท่านจงตักตวงตามความสามารถ ( ๓)

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า เป็นการดีสาหรับผู้ศรัทธาที่จะไม่ตายจนกว่าจะได้เรียนรู้อัล-กุรอาน หรืออยู่ระหว่างการเรียนรู้ ( ๔)

ท่านอิมาม (อ.) ยังได้กล่าวต่ออีกว่า ระดับของสรวงสวรรค์ขึ้นอยู่กับจำนวนโองการอัล-กุรอาน ดังนั้น จะมีเสียงกล่าวกับนักอ่านอัล-กุรอานว่า

จงขึ้นมา ( ๕)

-------------------------------------------------

( ๒ )ซูเราะฮฺ อัล-มุซซัมมิล/ ๒๐)

( ๓) มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่ม ๒ หน้า ๗๔)

( ๔ )อุซูลุลกาฟียฺ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๔๔๔ พิมพ์ที่ มักตะบะตุล อิสลามียะฮฺ)

( ๕ )มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๗๔)

มารยาทการอ่านอัล-กุรอาน

อาดาบ ความหมายตามพจนานุกรมหมายถึง การรักษาขอบเขตของทุกสิ่ง

ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่านักตัฟซีรบางท่านกล่าวว่า อาดาบหมายถึง ลักษณะ หรือภาพลักษณ์อันเป็นที่ยอมรับ (วิธีการที่ดี) และมีความเหมาะสมที่จะปฏิบัติตามทั้งในแง่ของศาสนาและสติปัญญา ( ๑)

( ๑) ตัฟซีรอัล-มีซาน เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๔ / ๒๗๓)

ดังนั้น อาดาบ (มารยาท) ของงานทุกอย่างจึงหมายถึง ลักษณะและภาพลักษณ์ที่ดีที่ถูกปฏิบัติ และมนุษย์ไม่สามารถผิดกฎหรือออกนอกขอบเขตได้

อัล-กุรอานได้กล่าวถึงอาดาบ (มารยาท) อันเป็นแหล่งและเป็นแก่นแห่งความปรารถนาไว้อย่างกว้างขวาง ประกอบกับคำแนะนำของอิมามผู้บริสุทธิ์ เช่น

๑. เป็นคำสั่งของอัล-กุรอาน เช่น ให้สงบและนิ่งเงียบเมื่ออ่านกุรอาน

๒. คำแนะนำของบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ) เกี่ยวกับการอ่านอัล-กุรอาน เช่น กล่าวบิซมิลลาฮฺ หรื่อกล่าวดุอาอฺทั้งก่อนและหลังการอ่าน

๓. คำตัดสินของสติปัญญา และบรรดานักปราชญ์ทั้งหลายที่ว่าต้องให้เกียรติต่ออัล-กุรอาน และต้องป้องกันการดูถูกที่อาจเกิดขึ้นเพื่อการใช้ประโยชน์ที่ลึกซึ้งและดีกว่า

๔. การตัดสินของจิตใจ เนื่องจากความรักทีมีต่อพระองค์ จึงมีความรักต่อพระดำรัสของพระองค์ หมายถึงมนุษย์ส่วนใหญ่มักรักสิ่งที่มีความสวยงาม และยอมจำนนต่อความสวยงาม ซึ่งสิ่งที่มีความสวยงามที่สุดคืออัลลอฮฺ และทุกสิ่งที่เป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ ดังนั้น อัล-กุรอานเป็นพระดำรัสของพระองค์จึงเป็นหนึ่งในความสวยงามที่สุด

ด้วยเหตุนี้ มนุษย์จึงมีความรักในพระดำรัสของพระองค์ ให้เกียรติ แสดงความนอบน้อม และอ่านอย่างไพเราะ และบนพื้นฐานดังกล่าว จะเห็นว่ามารยาทในการอ่านอัล-กุรอานเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เหมือนการงานอย่างอื่นทีมีความสำคัญ ที่การเริ่มต้น และมีเงื่อนไขต่างๆ มากมาย ซึ่งเรียกสิงเหล่านี้ว่า อาดาบ (มารยาท) การอ่านอัล- กุรอาน เนื่องจากว่าเป็นการแสดงตน ณ พระพักตร์ของพระองค์ มารยาทจึงเป็นสิ่งจำเป็น

มารยาทการอ่านอัล-กุรอานแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนดังนี้ มารยาทด้านนอก และมารยาทด้านใน

มารยาทด้านนอกในการอ่านอัล-กุรอาน

เป็นธรรมดาเมื่อคนเราอยู่ต่อหน้าบุคคลสำคัญจำเป็นต้องแสดงมารยาทที่ดีงามเพื่อเป็นการให้เกียรติและให้ความเคารพต่อบุคคลนั้น

การอ่านอัล-กุรอานถือเป็นหนึ่งในการให้เกียรติต่ออัล-กุรอาน

และพระผู้เป็นเจ้าของดำรัส หมายถึงอัลลอฮฺ (ซบ.) เนื่องจากการอ่าน

อัล-กุรอานเท่ากับเป็นการสนทนากับพระองค์

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า บุคคลใดปรารถนาจะพูดคุยกับอัลลอฮฺ

อีกนัยหนึ่ง ผู้อ่านอัล-กุรอานนั้น ถือว่าเป็นผู้สนทนาร่วมระหว่างตนกับ อัลลอฮฺ (ซบ.) ดังนั้น เมื่ออัลลอฮฺ (ซบ.) สนทนาด้วยจำเป็นต้องใส่ใจต่อบทนำ มารยาทและเงื่อนไขต่างๆ ในการอ่านอัล-กุรอาน เพื่อว่าผู้อ่านจะได้รับประโยชน์มากที่สุด(๑)

( ๑ )กันซุลอุมาล เล่มที่ ๑๑ ฮะดีซที่ ๒๒๕๗ หน้าที่ ๕๑๐)

และที่สำคัญไปกว่านั้นเพื่อว่าจะได้อยู่ในความเมตตาและความรักของพระองค์ มารยาทภายนอกทั่วไปในการอ่านอัล-กุรอาน เช่น

๑. ความสะอาด (วุฎูอฺหรือฆุซลฺ)

อัล-กุรอานกล่าวว่า ไม่มีผู้ใดสัมผัสอัล-กุรอานได้ นอกจากบรรดาผู้บริสุทธิ์เท่านั้น ( ๑)

(๑).อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล - วากิอะฮฺ / ๗๙ )

ด้วยเหตุนี้ บางริวายะฮฺ และฟิกฮฺบางเล่มได้ถือโองการข้างต้นเป็นพื้นฐานพิสูจน์ว่า การสัมผัสอัล-กุรอานขณะที่ร่างกายปราศจากวุฎูอฺเป็นฮะรอม( ๒)

(๒)มุซตัมซัก อัล - อุรวะตุลวุซกอ ซัยยิดมุฮฺซิน เฏาะบา เฏาะบาอียฺ ฮะกีม เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๒๗๒ , วะซาอิลุชชีอะฮฺ บาบที่ ๑๒ บาบวุฎูอฺ ฮะดีซที่ ๓)

ความสะอาดของผู้อ่านเป็นมารยาทสำคัญเมื่ออยู่ต่อหน้าอัล-กุรอาน เพราะเป็นพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้า การให้เกียรติและแสดงความนอบน้อมถือเป็นความจำเป็นสำหรับผู้อ่านทุกคน และสำหรับความสะอาดนั้นสามารถจำแนกออกเป็น วุฎูและฆุซลฺวาญิบ ทุกครั้งที่ต้องการสัมผัส

อัล-กุรอานเป็นวาญิบต้องทำวุฎ แต่ถ้ามีญูนุบหรือสตรีที่หมดรอบเดือนเป็นวาญิบต้องฆุซลฺก่อน

วุฎูอฺและฆุซลฺมุซตะฮับ วุฎูอฺถือเป็นเงื่อนไขที่สมบูรณ์สำหรับการอ่านอัล-กุรอาน ดัวยเหตุนี้เมื่อต้องการควรมีวุฎุอฺ

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า ถ้าบุคคลใดอ่านอัล-กุรอานนอกเวลานมาซ โดยมีวุฎูอฺจะได้รับผลบุญ ๒๕ ความดี ส่วนผู้ที่อ่านโดยไม่มีวุฎูอฺจะได้รับ ๑๐ ความดี ( ๑)

(๑) มะฮัจตุลบัยฎอ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๒๒๑ , วะซาอิลุชชีอะฮฺ บาบที่ ๑๓ อับวาบกะรออะตุลกุรอาน กิตาบุซเซาะลาฮฺ ฮะดีซที่ ๓

๒. การให้ความสาคัญต่อสุขภาพ (ความสะอาด)

ประเด็นดังกล่าวสามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้

ความสะอาดของปาก ริวายะฮฺกล่าวว่า คุณสมบัติพิเศษประการหนึ่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือท่านจะแปรงฟันก่อนทุกครั้ง ก่อนอิบาดะฮฺโดยเฉพาะอย่างยิ่งอ่านอัล-กุรอาน และนมาซศอลาตุลลัยลฺ

๑๐

ท่านได้กล่าวกับบรรดาสาวกของท่านว่า

พวกท่านทั้งหลายจงทำความสะอาดทางเดินของอัล-กุรอาน

มีผู้ถามว่า โอ้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ท่านหมายถึงสิ่งใดหรือ

ท่านตอบว่า มันคือปากกาของพวกท่าน

มีผู้ถามว่า เราจะทำความสะอาดด้วยวิธีใด

ท่านตอบว่า ด้วยการแปรงฟัน ( ๒)

(๒ ) มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๘๕, ๘๖

ความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้า เป็นการดีขณะอ่านอัล-กุรอาน ร่างกายและเสื้อผ้าต้องสะอาดปราศจากนะยิซ เช่น เลือด ปัสสาวะ และอื่น ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้อัล-กุรอานเปื้อนนะยิซและถูกดูถูก และเป็นการดีสำหรับผู้อ่านอัล-กุรอานควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด สุภาพ และใส่นํ้าหอมเพื่อเป็นแบบอย่างแก่คนอื่นทั่วไป

๓. ดุอาอฺก่อนอ่านอัล-กุรอาน

สำหรับการปฏิบัติภารกิจทั้งหลาย การเตรียมพร้อมถือเป็นความจำเป็น ดังนั้นการที่มนุษย์จะเข้าสู่อัล-กุรอานเป็นการดีควรมีการเตรียมพร้อมตนเองเสียก่อน ซึ่งการเตรียมพร้อมสามารถสัมฤทธิ์ผลได้โดยผ่านสื่อของดุอาอฺ

๑๑

บรรดาอิมาม (อ.) ได้แนะนำดุอาอฺไว้มากมายสำหรับเริ่มต้นอ่าน

อัล-กุรอาน เช่น ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า

اللَّهُمَّ إِنِّي أَشْهَدُ أَنَّ هَذَا كِتَابُكَ الْمُنْزَلُ مِنْ عِنْدِكَ عَلَى رَسُولِكَ مُحَمَّدِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَ آلِهِ وَ كِتَابُكَ النَّاطِقُ عَلَى لِسَانِ رَسُولِكَ وَ فِيهِ حُكْمُكَ وَ شَرَائِعُ دِينِكَ أَنْزَلْتَهُ عَلَى نَبِيِّكَ وَ جَعَلْتَهُ عَهْداً مِنْكَ إِلَى خَلْقِكَ وَ حَبْلًا مُتَّصِلًا فِيمَا بَيْنَكَ وَ بَيْنَ عِبَادِكَ اللَّهُمَّ إِنِّي نَشَرْتُ عَهْدَكَ وَ كِتَابَكَ اللَّهُمَّ فَاجْعَلْ نَظَرِي فِيهِ عِبَادَةً وَ قِرَاءَتِي تَفَكُّراً وَ فِكْرِي اعْتِبَاراً

โอ้ อัลลอฮฺ แท้จริงข้าพระองค์ขอเป็นสักขีพยานว่า แท้จริงนี่คือคัมภีร์ของพระองค์ที่ถูกประทานจากพระองค์ ยังศาสนทูตของพระองค์ มุฮัมมัด บิน อับดุลลอฮฺ ขออัลลอฮฺทรงประสาทพรแด่ท่านและลูกหลานของท่าน ถ้อยคำของพระองค์ที่เอื้อนเอ่ยโดยคำพูดของศาสนดาแห่งพระองค์

ขอทรงโปรดบันดาลให้ถ้อยคำเป็นเครื่องชี้นำจากพระองค์ แก่บรรดาสิ่งถูกสร้างของพระองค์ และเป็นสายเชือกที่ผูกสัมพันธ์ระหว่างพระองค์กับ

ปวงบ่าวของพระองค์ โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงข้าพระองค์ได้แผ่ขยายสัญญาของพระองค์ และคัมภีร์ของพระองค์

โอ้อัลลอฮฺ ดังนั้น โปรดทรงบันดาลให้การมองคัมภีร์ของข้าฯ เป็นอิบาดะฮฺ และการอ่านคัมภีร์ของข้าฯ เป็นการคิดใคร่ครวญ และโปรดทำให้การคิดของข้าฯ เป็นอุทาหรณ์เตือนสติ..

๑๒

๔. การขอความคุ้มครองจากพระผู้เป็นเจ้า (อิซติอาซะฮฺ)

อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า ดังนั้น เมื่อเจ้าอ่านอัล-กรุอาน จงขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้พ้นจากชัยฏอนมารร้ายที่ถูกสาปแช่ง ( ๑)

( ๑) อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล-นะฮฺลิ / ๙๘

อิซติอาซะฮฺ เป็นพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้าแก่บรรดานักอ่าน

อัล-กุรอานทั้งหลาย ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก่อนที่จะอ่านอัล-กุรอาน ท่านจะกล่าวว่า

อะอูซุบิลลาฮิมินัชชัยฏอนิรเราะญีม

( اَعُوذ بِالله مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيْمِ )

ข้าฯขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้พ้นจากชัยฏอนมารร้ายที่ถูกสาปแช่ง

อิซติอาอะฮฺ ในพจนานุกรม หมายถึง การขอความคุ้มครอง

ส่วนในความหมายของนักปราชญ์ หมายถึงผู้อ่านอัล-กุรอานก่อนที่จะเริ่มอ่านอัล-กุรอานไม่ว่าตรงส่วนไหนของอัล-กุรอานก็ตาม (เริ่มต้น ตรงกลาง หรือตอนท้ายของซูเราะฮฺ) ก่อนบิซมิลลาฮฺ จะกล่าวว่า

อะอูซุบิลลาฮิมินัชชัยฏอนิรเราะญีม หมายถึง

ข้าฯขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้พ้นจากชัยฏอนมารร้ายที่ถูกสาปแช่ง

๑๓

ด้วยเหตุนี้ ก่อนอ่านอัล-กุรอานจึงทูลขอกับอัลลอฮฺ (ซบ.) ว่า

โปรดคุ้มครองตนให้พ้นจากความชั่วของชัยฏอนมารร้ายที่ถูกสาปแช่ง เพื่อมิให้การอ่านของตนเป็นการโอ้อวด หรือเป็นการแสดงเอาหน้าเอาตา

ขณะที่อ่านต้องการให้จิตใจมีความนอบน้อมมุ่งมั่นแต่อัลลอฮฺ (ซบ.) เพื่อให้อัล-กุรอานมีผลต่อจิตวิญญาณของตน

คำเตือน อิซติอาซะฮฺมี ๒ ส่วนคือ ความหมายตามคำ กับความหมายที่แท้จริง หมายถึง บางครั้งมนุษย์ขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ด้วยความสมบูรณ์ แต่จิตใจมิได้เป็นเช่นนั้น และในบางครั้งแค่กล่าวคำเท่านั้น แต่การมีอยู่ทั้งหมดได้นอบน้อม ยอมจำนน และขอความคุ้มครองเฉพาะพระองค์เท่านั้น

อิสติอาซะฮฺ ต้องแสดงออกอย่างแท้จริงเพื่อให้เกิดผล อัลลอฮฺ (ซบ.)

จะได้ให้ความคุ้มครองและปรับปรุงแก้ไขเรา

การขอความคุ้มครองที่แท้จริง ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า ท่านทั้งหลาย จงปิดประตูการละเมิดฝ่าฝืนด้วยการขอความคุ้มครอง

(อิซติอาซะฮฺ) และจงเปิดประตูแห่งการเชื่อฟังปฏิบัติตาม (ฏออะฮฺ) ด้วยการกล่าวบิซมิลลาฮฺ

๑๔

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ลองพิจารณาคำพูดของท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) กล่าวว่า ส่วนหนึ่งจากมารยาทที่สำคัญของการอ่านอัล-กุรอานคือ การขอความคุ้มครองจากพระผู้เป็นเจ้าให้พ้นจากชัยฏอนมารร้ายผู้ถูกสาปแช่ง ซึ่งเป็นขวากหนามในหนทางแห่งมะอฺริฟะฮฺ (การรู้จัก) และการเดินทางไปสู่พระผู้เป็นเจ้า การขอความคุ้มครองจะไม่สัมฤทธิ์ผลเพียงแค่การกระดิกลิ้น รูปคำที่ไร้วิญญาณ และดุนยาที่ปราศจากอาคิเราะฮฺ ดังเช่นที่มีบุคคลจำนวนมากที่กล่าวคำๆ นี้ตลอดระยะเวลา ๔๐-๕๐ ปี

แต่พวกเขากลับไม่รอดพ้นจากความชั่วร้ายของชัยฏอนมารร้าย

ในทางกลับกัน มารยาทต่าง ๆ และการกระทำของพวกเขายิ่งไปกว่านั้น ตวามเชื่อถือต่าง ๆ ของเขากลับดำเนินและปฏิบัติตามชัยฏอนมารร้าย ( ๑)

( ๑ )อาดาบุซเซาะลาฮฺ อิมามโคมัยนี หน้าที่ ๒๒๑

๕. การกล่าวบิซมิลลาฮิรเราะมานิรเราะฮีม

อัล-กุรอานได้มีบัญชาแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า จงอ่านด้วยพระนามแห่งพระผู้อภิบาลของเจ้า ( ๑)

( ๑) อัล-กุรอานอาน ซูเราะฮฺ อัล-อะลัก/ ๑

บิซมิลลาฮฺ คือคำขวัญที่บริสุทธิ์เฉพาะมวลมุสลิมทีจะเริ่มต้นคำพูดและการงานต่างๆ ของตน เพื่อให้การงานเหล่านั้นมีสัญลักษณ์ของพระผู้เป็นเจ้า

๑๕

เกี่ยวกับอัล-กุรอานมี ๒ ประเด็นสาคัญดังต่อไปนี้

๑. บิซมิลลาฮฺ ในส่วนเริ่มต้นของทุกซูเราะฮฺ เป็นส่วนหนึ่งของโองการอัล-กุรอาน เฉพาะซูเราะฮฺบะรออะฮฺเท่านั้นที่ไม่มี บิซมิลลาฮฺ จากจุดนี้เมื่อขึ้นซูเราะฮฺใหม่ทุกครั้งจำเป็นต้องอ่านบิซมิลลาฮฺทุกครั้ง เนื่องถือเป็นโองการแรกของซูเราะฮฺ ยกเว้นซูเราะฮฺบะรออะฮฺ

๒. กรณีที่เริ่มต้นอ่านจากตรงกลางซูเราะฮฺ (ระหว่างโองการต่างๆ) ไม่ว่าซูเราะฮฺใดก็ตามสามารถกล่าวหรือไม่กล่าวบิซมิลลาฮฺก็ได้

ข้อควรพิจารณา ไม่ว่าจะเริ่มต้นอ่านตรงส่วนใดของอัล-กุรอานก็ตามจำเป็นต้องเริ่มต้นด้วย อะอูซุบิลลาฮิมินัชชัยฏอนิรเราะญีม

หมายถึง ถ้าผู้อ่านต้องการกล่าวบิซมิลลาฮฺ เป็นการดีให้กล่าว อิซติอาซะฮฺก่อน

๖. การอ่านจากอัล-กุรอาน

ริวายะฮฺจำนวนได้แจ้งว่าควรอ่านอัล-กุรอานจากที่เขียนไว้ เซาะฮาบะฮฺท่านหนึ่งของท่านอิมามซอดิก (อ.) นามว่า อิสฮาก บิน อัมมารได้ถามท่านว่า โอ้บุตรของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ฉันควรจะอ่านอัล-กุรอานจากความจำหรือจากที่บันทึกไว้ดี

๑๖

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า มองและอ่านจากที่เขียนไว้ดีกว่า ท่านไม่รู้ดอกหรือว่าการมองอัล-กุรอานเป็นอิบาดะฮฺ ( ๑)

(๑) อุซูล อัล กาฟีย์ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๔,๖๑๓ ฮะดีษที่ ๕ ดารุลกุตุบ

อัลอิสลามียะฮฺ เตหะราน

เกี่ยวกับเรื่องการเน้นให้อ่านอัล-กุรอานจากที่บันทึกไว้มีรายงานมากมายและแตกต่างกัน

๑. การมองอัล-กุรอานเป็นอิบาดะฮฺ: และสายตาที่จ้องมองอัล-กุรอานจะได้รับประโยชน์มากมาย ดังเช่น

.ริวายะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า

النظرفي المصحف يعنى صحيفة القرآن عبادة

การมองในมุซฮับ หมายถึงการมองที่หน้ากระดาษของอัล-กุรอาน

เป็นอิบาดะฮฺ ( ๒)

( ๒) บิฮารุลอันวาร อัลลามะฮฺ มัจลิซซียฺ เล่มที่ ๘๙ หน้าที่ ๑๙๙

จากริวายะฮฺดังกล่าว จะเห็นว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับคนที่อ่านไม่เป็นเขียนไม่ได้ เนื่องจากไม่สามารถอ่านอัล-กุรอานแต่ได้รับประโยชน์จากการมอง

๒. การให้ความสำคัญต่อสิทธิของอัล-กุรอาน:

อ่านและย้อนกลับไปหาอัล-กุรอานบ่อย ๆ เป็นการทำให้อัล-กุรอานที่อยู่ในบ้านและมัสญิดลดความแปลกหน้าลงไป

๑๗

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า สิ่งหนึ่งที่จะทำการร้องเรียนต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) คืออัล-กุรอานถึงการถูกทอดทิ้งที่ไม่ได้ถูกอ่านและถูกฝุ่นละอองเกาะจับ ( ๓)

( ๓) อุซูล อัล กาฟียฺ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๖๑๓ ฮะดีษที่ ๓

๓. การอ่านอัล-กุรอานจากที่บันทึกไว้เป็นสาเหตุทำให้บาปของบิดามารดาของคนอ่านถูกลบล้าง

ริวายะฮฺกล่าวว่า

عن ابي عبد الله : قرائة القرآن في المصحف تخفف العذاب عن الوالدين ولو

كانا كافرين

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า การอ่านอัล-กุรอานจากที่บันทึกไว้เป็นเหตุทำให้บาปของบิดามารดาถูกลบล้าง แม้ว่าทั้งสองจะเป็นกาฟิรก็ตาม( ๑)

( ๑) เล่มเดิม ฮะดีษที่ ๔

๔. ทำให้มีการพิมพ์อัล-กุรอานซํ้าหลายครั้ง ซึ่งสิ่งนี้เท่ากับเป็นการเผยแผ่วัฒนธรรมของอัล-กุรอาน

คำเตือน สำหรับผู้ที่ท่องจำอัล-กุรอานเป็นการดีให้ท่องจำจากที่บันทึกเอาไว้ ดังที่ท่านอิมามได้กล่าวกับอิสฮาก บิน อัมมาร ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการท่องจำ

๑๘

๗. การอ่านอัล-กุรอาน ด้วยเสียงค่อยดังและสูงต่ำ

ก. อ่านด้วยเสียงดังและสูง

ริวายะฮฺกล่าวว่า ท่านอิมามซัจญาด (อ.) อ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงดังเสมอเพื่อให้คนในบ้านได้ยิน ท่านซักกอยาน ขณะที่เดินผ่านบ้านท่านอิมามบากิร (อ.) ท่านได้หยุดเพื่อฟังการอ่านอัล-กุรอาน สำหรับการอ่านอัล-กุรอานเสียงดังมีประโยชน์ดังต่อไปนี้

๑. การอ่านอัล-กุรอานเสียงดังของบิดามารดา มีผลต่อการอบรมสั่งสอนบุตร

๒. การอ่านอัล-กุรอานเสียงดัง เป็นสาเหตุทำให้มีความสำรวม และจิตใจสงบมั่น

๓. การอ่านอัล-กุรอานเสียงดัง เป็นการรักษาความบกพร่อง และอาการป่วยไข้ของผู้อ่าน

๔. การอ่านอัล-กุรอานเสียงดัง เป็นการเรียกร้องบุคคลอื่นให้สนใจ

อัล-กุรอาน และทำให้มีผลสะท้อนทางจิตวิญญาณ

๕. การอ่านอัล-กุรอานเสียงดัง เท่ากับเป็นการทำให้วัฒนธรรมของ

อัล-กุรอานแพร่หลายในสังคม

๖. การอ่านอัล-กุรอานเสียงดัง ซูเราะฮฺอัลฮัมด์ และซูเราะฮฺในนะมาซ

ซุบฮฺ มัฆริบ และอิชาอฺเป็นวาญิบสำหรับผู้ชาย

๑๙

ข. การอ่านอัล-กุรอานเสียงค่อย จำเป็นสาหรับกรณีต่อไปนี้

๑. เมื่ออ่านอัล-กุรอานเสียงดัง เป็นสาเหตุทำให้เกิดการโอ้อวด ซึ่งสิ่งนี้เป็นการกระทำที่ไม่มีคุณค่าแต่อย่างใด

๒. เมื่ออ่านอัล-กุรอานเสียงดัง เป็นสาเหตุสร้างความรำคาญแก่ผู้อื่น เช่น อ่านขณะที่บุคคลอื่นกำลังพักผ่อน หรือเพื่อนบ้านกำลังนอนหลับ อ่านในมัสญิด หรืออ่านขณะที่บุคคลอื่นกำลังอิบาดะฮฺ

๓. เมื่ออ่านอัล-กุรอานเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย เนื่องจากการทำให้ร่างกายเป็นอันตรายไม่ว่าด้วยวิธีการใดก็ตามเป็นฮะรอม ส่วนการอ่านอัล-กุรอานเป็นมุซตะฮับ

๔. การอ่านอัล-กุรอานเสียงค่อยในนะมาซซุฮรฺ และอัซรฺสำหรับบุรุษและสตรีเป็นวาญิบ ส่วนสตรีนั้นไม่ว่าเวลานะมาซใดก็ตามถ้ามีชายอื่นอยู่ด้วยไม่อนุญาตให้อ่านเสียงดัง

๘. การอ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงไพเราะ

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า แน่นอนการอ่าน อัล-กุรอาน ด้วยเสียงไพเราะถือว่าเป็นเครื่องประดับของอัล-กุรอาน

انّ حسن الصوت زينةالقرآن

การอ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงไพเราะเป็นสาเหตุให้บุคคลอื่นสนใจ

อัล-กุรอาน ด้วยเหตุนี้จึงเห็นว่าท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) มักอ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงไพเราะเสมอ จนกระทั่งกล่าวกันว่าเสียงอ่านอัล-กุรอานที่ไพเราะที่สุดคือเสียงของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)

๒๐

ข้อควรพิจารณา มีผู้ถามท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่าบุคคลใดอ่านอัล-กุรอานเสียงเพราะที่สุด ท่านกล่าวว่า บุคคลที่ได้ยินเสียงอ่านของตนเองแล้วคิดว่าตนอยู่ ณ พระพักตร์ของพระองค์

จากริวายะฮฺดังกล่าวทำให้รู้ว่าการอ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงไพเราะนั้นมี 2 ลักษณะ

- เสียงไพเราะทั้งภายนอกและคำ

- เสียงไพเราะทั้งคำและความหมาย ซึ่งเป็นผลแก่จิตใจของผู้อ่านและทำให้มีความนอบน้อมเมื่ออยู่ต่อหน้าอัล-กุรอาน

การอ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงไพเราะนอกเหนือไปจากการอ่านควบคู่ด้วยเสียงดนตรี ซึ่งมีความเหมาะสมกับงานสนุกสนานร่าเริง ถือว่าฮะรอม

9. การอ่านอัล-กุรอานด้วยสำเนียงอาหรับ

ประเด็นดังกล่าวสามารถพิจารณาได้หลายขั้นตอนด้วยกัน กล่าวคือ

ขั้นตอนที 1 เป็นการอ่านอัล-กุรอานที่ถูกต้อง หมายถึงผู้ที่ต้องการอ่านอัล-กุรอานจำเป็นต้องเรียนรู้การอ่านจากครูบาอาจารย์

หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเพีอเรียนรู้การอ่านที่ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺ หรือซูเราะฮฺอื่นเพื่อนะมาซ การเรียนรู้เป็นวาญิบเสียด้วยซํ้า ส่วนการอ่านอย่างอื่นที่นอกเหนือจากนะมาซถือว่าจำเป็นแต่ไม่ถึงขั้นของวาญิบ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากว่าการออกเสียงอักษรภาษาอาหรับบางตัวไม่เหมือนกับภาษาอื่น เช่น อักษร ظ- ض- ز- ذ

ซึ่งบางครั้งเป็นสาเหตุทำให้ผิดพลาดในการออกเสียงและทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไปเช่น คำว่า ( عظِيْم ) แปลว่า ใหญ่ ถ้าออกเสียงเป็น ( عِزِیم ) ความหมายจะเปลี่ยนไปทันที่เนื่องจากคำนี้หมายถึง ศัตรู

๒๑

ข้อควรพิจารณา จะสังเกตเห็นว่าบุคคลที่กำลังเรียนรู้การอ่านอัล-กุรอานมักจะอ่านผิดพลาด แม้ว่าพยายามแก้ไขแล้วก็ยังผิดพลาดอยู่ ซึ่งไม่สามารถอ่านให้ถูกต้องได้ ฉะนั้นบุคคลเหล่านี้ถือว่ามีอุปสรรค แต่เป็นอุปสรรคที่ได้รับการอภัย ณ พระผู้เป็นเจ้า แต่อย่างไรก็ตามในนะมาซหน้าที่ของเขาจะแตกต่างออกไป ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า ผู้ที่อ่านอัล-กุรอานถ้าระหว่างที่อ่านได้อ่านผิด หรือ่านวรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง หรือออกเสียงภาษาอาหรับไม่ถูกต้อง มะลาอิกะฮฺผู้ที่มีหน้าที่บันทึกความดีงามจะบันทึกการอ่านที่ถูกต้องให้เขา ( 1)

( 1) อุซูล อัลกาฟียฺ เล่มที่ 2 หน้าที่ 619 ฮะดีษที่ 1

ขั้นตอนที่ 2 การเอาใจใส่ต่อกฎเกณฑ์ของการอ่าน (ตัจวีด) เช่น ใส่ใจต่อการหยุดวรรคตอน การอ่านอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงจุดต่างๆ ของตัจวีดที่เป็นสาเหตุของความถูกต้องสมบูรณ์ในการอ่านอัล-กุรอาน

ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ นอกจากต้องมีการเรียนรู้จากครูบาอาจารย์และ

ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องหลักการอ่าน

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า จงอ่านอัล-กุรอานด้วยสำเนียงภาษาอาหรับ เพราะอัล-กุรอานถูกประทานลงมาเป็นภาษาอาหรับ ( 1)

(1)อุซูล อัลกาฟียฺ เล่มที่ 2 หน้าที่ 450

๒๒

ขั้นตอนที่ 3 การเอาใจใส่ต่อท้วงทำนองของการอ่าน หมายถึง ถ้าผู้อ่านได้อ่านด้วยสำเนียงภาษาอาหรับ โดยเป็นการส่งความหมายของโองการด้วยสำเนียงและท้วงทำนองอันเฉพาะเจาะจง ที่ไม่ต้องอิงอาศัยเสียงดนตรีประกอบเท่ากับเป็นการเรียกร้องความสนใจได้ดีอย่างยิ่ง

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า จงอ่านอัล-กุรอานด้วยสำเนียงภาษา อาหรับ ( 2)

(2)อุซูล อัลกาฟียฺ เล่มที่ 2 หน้าที่ 450

มีนักอักษรศาสตร์ภาษาอาหรับจำนวนมาก ประกอบกับผู้วิจัยและค้นคว้าเกี่ยวกับอัล-กุรอานได้ยืนยันว่า อัล-กุรอานมีท้วงทำนองที่เฉพาะพิเศษ ซึ่งภาษาอาหรับอื่นที่ไม่ใช่อัล-กุรอานไม่มี

ชะฮีดมุรตะฎอ มุเฏาะฮะรียฺ กล่าวว่า สิ่งหนึ่งที่เรียกร้องให้คนอื่นสนใจอัล-กุรอานคือท้วงทำนอง และลีลาที่ไพเราะจับใจนั่นเอง

๒๓

10. สถานที่อ่านอัล-กุรอาน

อัล-กุรอานสามารถอ่านได้ทุกที่ถือว่าอนุญาตและเป็นสิ่งที่ดี

แต่มีอยู่ 2 สถานที่ ๆ ได้รับการแนะนำพิเศษ ให้อ่านอัล-กุรอาน กล่าวคือ

- มัสญิด

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า

انما نصب المساجد للقرآن

มัสญิดทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการอ่านอัล-กุรอาน( 1)

(1)วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่มที่ 3 หน้าที่ 493

- บ้าน ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า

قال النبی(ص):

نوروا بیوتکم بتلاوة القرآن ولاتتخذوها قبوراً کما فعلت الیهود

والنصاری،طوفی الکنائس و البیع و عطّلوا بیوتهم فانّ البیت اذا کثر فیه تلاوت القرآن کثّر خیره و التسع اهله و اضاء لاهل السماء

จงประดับรัศมีบ้านของท่านด้วยการอ่านอัล-กุรอาน จงอย่าทำบ้านของท่านให้เป็นสุสาน ดั่งที่ยะฮูดียฺ และนัซรอนียฺได้กระทำซึ่งพวกเขานมัสการเฉพาะในโบสถ์เท่านั้น พวกเขาไม่ให้ทำการนมัสการในบ้าน และบ้านหลังใดก็ตามมีการอ่านอัล-กุรอานมาก ความดีและความจำเริญก็จะมากตามไปด้วยและผู้ที่อยู่ในบ้านก็จะได้รับความจำเริญมากมาย และบ้านหลังนั้นจะกลายเป็นรัศมีที่เจิดจรัสสำหรับชาวฟ้า ดุจดังเช่นดวงดาวแห่งฟากฟ้าได้เจิดจรัสสำหรับชาวดิน( 2)

(2) อุซูลกาฟียฺ เล่มที่ 2 หน้าที่ 446

๒๔

สรุปประโยชน์ของการอ่านอัล-กุรอานที่บ้าน

1. เป็นรัศมีประดับประดาบ้านตามกล่าวของฮะดีษที่กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งการอ่านอัล-กุรอานที่บ้านจะเพิ่มชีวิตชีวา ความดี และความจำเริญมากมายแก่เจ้าของบ้านและคนในบ้าน

2. เป็นการอบรมจิตวิญญาณที่ดีอย่างหนึ่งสำหรับบุตรหลาน และทำให้ชีวิตของพวกเขามีความผูกพันอยู่กับอัล-กุรอาน

3. เสียงอ่านอัล-กุรอานภายในบ้านส่งผลจูงใจเพื่อนบ้านให้สนใจการอ่านอัล-กุรอาน อันเป็นผลดีกับสังคม และเป็นการเชิดชูวัฒนธรรมของ

อัล-กุรอาน

4. หลีกเลี่ยงการโอ้อวดในการอ่านอัล-กุรอานย่อมทำให้ได้รับผลสรุปอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามกล่าวมาข้างต้น

- การอ่านอัล-กุรอานให้จบที่มักกะฮฺมีผลบุญพิเศษที่เฉพาะเจาะจงมากมาย ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั้งซุนียฺและชีอะฮฺ

ข้อควรพิจารณา ไม่อนุญาตให้อ่านอัล-กุรอานในสถานที่ ๆ เป็นการ

ดูถูกอัล-กุรอาน

๒๕

ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่า บางริวายะฮฺห้ามไม่ให้มีการอ่านอัล-กุรอานในห้องอาบนํ้า หรือห้องส้วม แต่บางริวายะฮฺก็อนุญาต เช่น

ริวายะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่กล่าวว่า

سبعة لا يقرؤون القرآن: الراكع والساجد، وفي الكنيف، وفي الحمام، والجنب، والنفساء، والحائض

มี 7 สถานที่ไม่สมควรอ่านอัล-กุรอาน ในห้องอาบนํ้า ห้องส้วม ขณะมีญุนุบ โลหิตหลังการคลอดบุตร และรอบเดือน

หมายถึงการอ่านอัล-กุรอานตามสถานที่หรือด้วยสภาพตามกล่าวมาโดยมีเจตนาเพื่อดูถูกอัล-กุรอาน หรือไม่ได้มีเจตนาเพื่อการดูถูก แต่ในทัศนะ

คนอื่นถือว่าเป็นการดูถูกอัล-กุรอาน

ดังนั้นการอ่านอัล-กุรอานเช่นนี้ ถือว่าไม่อนุญาต แต่ถ้าเป็นการรำลึกพระผู้เป็นเจ้า โดยไม่ได้มีเจตนาดูถูกไม่เป็นไร

11. ช่วงเวลาอ่านอัล-กุรอาน

การกล่าวพรรณนาถึงพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้าทุกเวลาถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เนื่องจากการสนทนากับผู้ที่เป็นที่รักไม่มีเวลาเฉพาะสามารถสนทนาได้ตลอดเวลา คนรักย่อมคอยโอกาสอย่างใจจดใจจ่อว่าเมื่อไหร่คนรักของตนจะมีเวลาว่าง เพื่อจะได้อยู่ใกล้ชิด และพูดคุยด้วย

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวกับท่านอิมามอะลี (อ.) ว่า

จงอ่านอัล-กุรอานไม่ว่าเจ้าจะอยู่ในสถานการณ์หรือเงื่อนไขใดก็ตาม ( 1)

(1 )วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 4 บาบ 47 ฮะดีษที่ 1

๒๖

อัล-กุรอานบางโองการและริวายะฮฺของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) กล่าวว่า

การอ่านอัล-กุรอานบางช่วงเวลาก็เหมาะสมและบางช่วงก็ไม่เหมาะสม ซึ่งจะอธิบายทั้งสองกรณีดังนี้

ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการอ่านอัล-กุรอาน

ช่วงเดือนรอมฎอน อันจำเริญซึ่งถือว่าเป็นฤดูกาลของอัล-กุรอาน

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า บุคคลใดอ่านอัล-กุรอาน 1 โองการในเดือนรอมฎอนเสมือนได้อ่านอัล-กุรอานจบ 1 ครั้งในเดือนอื่น ( 2)

(2 )อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้าที่ 617-618

เช้าตรู่ของทุกวันที่บรรดาสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายต่างนอนหลับไหล แต่บุคคลที่มีความรักในพระผู้เป็นเจ้าได้ตื่นขึ้นเหมือนแสงเทียนที่กำลังลุกโชติช่วงรินหลั่งนํ้าตาและระลึกถึงคนรักของตนอย่างใจจดใจจ่อ

ริวายะฮฺบางบทจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวสนับสนุนการอ่าน

อัล-กุรอานในช่วงเวลากลางคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงก่อนเข้านอนได้รับการแนะนำไว้อย่างมาก ( 1)

(1) เล่มเดิม

การอ่านอัล-กุรอานขณะนมาซที่นอกเหนือไปจากซูเราะฮฺวาญิบที่ต้องอ่าน ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กล่าว่า บุคคลใดอ่านโองการต่าง ๆ จาก

อัล-กุรอานขณะยืนปฏิบัตินมาซ อัลลอฮฺจะบันทึกแต่ละคำเท่ากับ 100

ความดี ( 2)

(2 )อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้าที่ 611 / 612

๒๗

บางโองการได้กล่าวยํ้าเน้นว่าให้อ่านอัล-กุรอานทุกเช้าและขณะดวงอาทิตย์ตกดิน โดยกล่าวว่า

และเจ้า (มุฮัมมัด) จงรำลึกถึงพระผู้อภิบาลของเจ้าในใจของเจ้าด้วยความนอบน้อมและยำเกรงและโดยไม่ออกเสียงดัง ทั้งในเวลาเช้าและเย็นและ

จงอย่าอยู่ในหมู่ผู้ที่เผลอเรอ ( 3)

(3 ) อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อะอฺรอฟ 205

ซึ่งอัล-กุรอานเป็นตัวอย่างที่ยิ่งใหญ่สำหรับการรำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้า

หมายเหตุ ช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงกลางคืนให้เป็นกลางวัน ช่วงเวลหนึ่งได้เข้ามาแทนที่อีกเวลาหนึ่ง เป็นการเตือนสำทับให้มนุษย์ได้คิดถึงตัวเองและอายุขัยของตนที่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเหมือนเวลากลางวันและกลางคืน

ช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมสำหรับอ่านอัล-กุรอาน

บางริวายะฮฺกล่าวว่า ช่วงเวลาที่เปลือยเปล่า (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขณะอยู่ในห้องนํ้า) หรือช่วงเวลาที่ทำการชำระล้าง และช่วงเวลาที่มีเพศสัมพันธ์ 4

(4 ) วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 1 บาบที่ 7 อะฮฺกามการขับถ่าย

๒๘

บางริวายะฮฺกล่าวว่า อ่านอัล-กุรอานทุกช่วงแม้แต่ช่วงเวลาที่อยู่ในห้องนํ้าถือว่าดี ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า ไม่เป็นไรหากเจ้าจะทำการรำลึกถึงอัลลอฮฺ แม้ว่าท่านกำลังปัสสาวะอยู่ก็ตาม เนื่องจากว่าการรำลึกถึงอัลลอฮฺดีตลอดเสมอ ฉะนั้นจงอย่างเผลอเรอการรำลึกถึงพระองค์ ( 1)

(1 ) เล่มเดิม

ข้อควรพิจารณา จะเห็นว่าริวายะฮฺทั้งสองขัดแย้งกัน แต่สามารถรวม

ริวายะฮฺทั้งเข้าด้วยกันบนความหมายที่ว่า ทุกครั้งที่อ่านอัล-กุรอานถ้าเป็น

การดูถูกอัล-กุรอานถือว่าไม่อนุญาต แต่ถ้าไม่ถือว่าเป็นการดูถูกอัล-กุรอานและเป็นการรำลึกถึงพระองค์ ถือว่าอนุญาต

ข้อควรพิจารณา การอ่านอัล-กุรอานที่มีโองการซัจดะฮฺวาญิบสำหรับสตรีที่มีรอบเดือน หรืออยู่ในช่วงของนิฟาซ (มีโลหิตหลังการคลอดบุตร) หรือบุคคลที่มีอยู่ญูนุบ เป็นฮะรอม (ไม่อนุญาต) แต่ถ้าเป็นบทที่ไม่มีซัจดะฮฺ

วาญิบอนุญาตให้อ่านได้ไม่เกิน 7 โองการ

12. จำนวนการอ่านอัล-กุรอาน

ไม่ว่าจะมากหรือน้อยเท่าใดก็ตามสำหรับการรำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ถือว่าน้อยทั้งสิ้น อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า ดังนั้นพวกเจ้าจงอ่านอัล-กุรอานตามแต่สะดวกเถิด ( 2)

(2 ) มุซัมมิล 20

๒๙

ริวายะฮฺจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) กำหนดว่า อย่างน้อยที่สุดควรอ่าน

อัล-กุรอานคืนละ 10 โองการ

ท่านอิมามบากิร (อ.) รายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า บุคคลใดอ่านอัล-กุรอานทุกคืน ๆ ละ 10 โองการเขาจะไม่ถูกบันทึกว่าเป็นหนึ่งในหมู่หลงลืม ( 1)

(1)อุซูลกาฟียฺเล่ม 1 หน้าที่ 612 ฮะดีษที่ 5

แต่ริวายะฮฺส่วนมากได้ระบุว่าควรอ่านอัล-กุรอานอย่างน้อยวันละ 50 โองการ

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า อัล-กุรอานคือพันธสัญญาระหว่างมนุษย์กับพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้นเป็นการดีที่มนุษย์ควรใส่ใจต่อสัญญาของตนที่ได้ตกลงไว้ และควรอ่านข้อสัญญาอย่างน้อยวันละ 50 โองการ ( 2)

(2 ) เล่มเดิม หน้าที่ 609

ริวายะฮฺจำนวนมากได้กล่าวแนะนำว่าให้อ่าน อัล-กุรอานให้จบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือนรอมฎอน แต่ห้ามที่จะให้อ่านอัล-กุรอานด้วยความรวดเร็ว ขณะเดียวกันได้แนะนำว่าให้อ่านอัล-กุรอานด้วยความปราณีตตั้งใจและอ่านอย่างมีท่วงทำนอง( 3)

(3 ) เล่มเดิม หน้าที่ 617 ฮะดีษที่ 2

๓๐

คำเตือน สำหรับสตรีที่มีรอบเดือน นิฟาซ และบุคคลที่มีญินาบัตเป็น

มักรูฮฺ ถ้าจะอ่านอัล-กุรอานที่นอกเหนือจากบทที่มีโองการซัจดะฮฺวาญิบเกิน

7 โองการ แต่ถ้าเป็นบทที่มีโองการซัจดะฮฺวาญิบเป็นฮะรอม

13. การฟังและนิ่งเงียบ

มารยาทของผู้ฟังขณะอัญเชิญอัล-กุรอานคือการนิ่งเงียบ

อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า และเมื่ออัล-กุรอานถูกอ่านขึ้น จงสดับฟัง

อัล-กุรอานและจงนิ่งเงียบ เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับการเอ็นดู( 1)

(1 ) อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล อะอฺรอฟ 204

จากโองการข้างต้นสามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้

1. หน้าที่ประการแรกของผู้ฟังอัล-กุรอานคือนิ่งเงียบ

2. หน้าที่ประการที่สองของผู้ฟังอัล-กุรอานคือการฟังดัวยความตั้งใจในความหมายของโองการ ซึ่งแตกต่างไปจากการฟังโดยทั่วไปที่เพียงแค่ได้ยินผ่านหูไปมาเท่านั้น และการที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสถึงการฟังก่อนการนิ่งเงียบตามโองการข้างต้น อาจเป็นเพราะการให้ความสำคัญต่อสิ่งนั้น เพราะโดยธรรมชาติแล้วการนิ่งเงียบต้องมาก่อนการฟัง

3. บุคคลใดก็ตามฟังอัล-กุรอานด้วยความตั้งใจทั้งจิตวิญญาณ พร้อมทั้งนิ่งเงียบเท่ากับเป็นการเตรียมจิตด้านในเพื่อรอรับความเมตตาจากพระผู้เป็นเจ้า บางโองการได้กล่าวยํ้าเน้นถึงการตั้งใจฟังโองการต่าง ๆ สำหรับผู้ศรัทธาว่าเป็นการเพิ่มพูนความศรัทธาและเป็นการมอบหมายความไว้วางใจต่อพระองค์

๓๑

อัล-กุรอานกล่าวว่า แท้จริงบรรดาผู้ที่ศรัทธานั้นคือ ผู้ที่เมื่อกล่าวถึงอัลลอฮฺหัวใจของพวกเขาก็หวั่นเกรง และเมื่อบรรดาโองการของพระองค์ถูกอ่านแก่พวกเขา ความศรัทธาของพวกเขาก็จะเพิ่มพูน และแด่พระเจ้าของพวกเขาเท่านั้นที่พวกเขามอบไว้วางใจ( 2)

(2 )อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อันฟาล 2

ท่านอิมามซัจญาด (อ.) กล่าวว่า บุคคลใดฟังการอ่านอัล-กุรอาน โดยที่เขาไม่ได้อ่าน อัลลอฮฺจะลบล้างหนึ่งในบาปพร้อมทั้งบันทึกความดีให้แก่เขา และยกฐานันดรของเขาให้สูงส่ง

(อุซูลอัลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้าที่ 612 ฮะดีษที่ 6)

ข้อควรพิจารณา

1. การนิ่งเงียบและฟังขณะได้ยินเสียงอ่านอัล-กุรอานเป็นมุสตะฮับ

2. ถ้าไม่ฟังและส่ออาการของการไม่ใส่ใจต่ออัล-กุรอาน ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าเป็นการดูถูกอัล-กุรอานเป็นฮะรอม แต่สำหรับงานมัจลิซ (ชุมนุมเกี่ยวกับศาสนา) หรืองานอ่านฟาติฮะฮฺให้กับผู้ตาย ซึ่งบางครั้งอาจจะมีการพูดคุยกับบ้างแต่ไม่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นการดูถูกอัล-กุรอานไม่เป็นไร ( 1)

(1 ) อิซติฟตาอาตกุรอาน หน้า 147 ข้อที่ 12

3. การกล่าวคำพูดบางอย่างระหว่างที่อ่านอัล-กุรอานในมัจลิซ หรือที่มีการประกวดแข่งขันอ่านอัล-กุรอาน เช่นคำว่า อะฮฺซันตะ หรือ ฏอยยิบัลลอฮฺ หรืออัลลอฮฺ อัลลอฮฺ ไม่เป็นไร แต่คำพูดเหล่านั้นต้องสอดคล้องกับมารยาทของการฟังอัล-กุรอานด้วย

๓๒

14. ระวังเรื่องการให้เกียรติอัล-กุรอาน

ดังที่กล่าวไปแล้วว่าการดูถูกอัล-กุรอานเป็นฮะรอม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นมุสลิมนอกจากจะไม่มีสิทธิ์ดูถูกอัล-กุรอานแล้ว ต่อหน้าอัล-กุรอานยังต้องเอาใจใส่เรื่องมารยาทอย่างเป็นพิเศษชนิดที่กล่าวได้ว่าท่านกำลังยืนอยู่ต่อหน้าอาจารย์ แน่นอนการให้เกียรติต่ออัล-กุรอ่านในแต่ละพื้นที่มีประเพณีปฏิบัติไม่เหมือนกัน ซึ่งจะขอหยิบยกบางประเด็นที่เหมือนกันดังนี้

1. เก็บรักษาอัล-กุรอานในสถานที่ ๆ มีความเหมาะสมมองเห็นได้ชัดเจน ปลอดภัย และมีความสะอาด

2. นั่งอย่างมีมารยาทเมื่ออยู่ต่อหน้าอัล-กุรอาน

3. ควรมีที่วางอัล-กุรอาน เช่น หมอนหรือระฮาเป็นต้น

4. ควรนั่งหันหน้าตรงกับกิบละฮฺขณะอ่านอัล-กุรอาน และควรอ่านด้วยความตั้งใจ

5. ไม่ควรละเว้นการอ่านอัล-กุรอานในบ้าน เพราะวันกิยามะฮฺสิ่งหนึ่งที่จะฟ้องต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) คือ อัล-กุรอานที่ไม่ได้ถูกอ่านปล่อยทิ้งไว้จนฝุ่นละอองเกาะ ( 1)

(1 )อุซูลกาฟียฺ เล่ม 1 หน้าที่ 613 ฮะดีษที่ 3

6. ไม่ควรอ่านอัล-กุรอานในช่วงเวลาและสถานที่ ๆ ไม่เหมาะสม เนื่องจากเป็นการดูถูก

7. ไม่ควรวางสิ่งของบนอัล-กุรอาน

8. ถ้าหากอัล-กุรอานตกลงบนพื้นควรเก็บขึ้นมาอย่างรวดเร็วด้วยความเคารพ

๓๓

9. ไม่ควรวางอัล-กุรอานลงบนสิ่งที่เป็นนะยิส เช่น รอยเลือด หรือเลือด เป็นฮะรอม และเป็นวาญิบให้หยิบขึ้นโดยเร็ว

10. กรณีที่ปก หรือกระดาษ หรือลายเส้นของอัล-กุรอานเปื้อนนะยิส ต้องรีบล้างโดยเร็ว

ท่านเฟฎ กาชานียฺ นักตัฟซีรอัล-กุรอานผู้ทรงคุณวุฒิได้เขียนว่า

นักอ่านอัล-กุรอานทั้งหลายควรรักษามารยาทหน้าตาของตนให้เหมาะสม และเวลาอ่านเป็นการดีให้หันหน้าตรงกับกิบละฮฺ และก้มศีรษะขณะอ่าน

ขณะอ่านอัล-กุรอานให้นั่งขัดสมาธิ และไม่สมควรนั่งพิงกับสิ่งใด

เมื่อมองดูแล้วต้องมิใช่การนั่งที่มีใบหน้าบ่งบอกถึงความเหย่อหยิ่งจองหอง

ถ้านั่งคนเดียวไม่สมควรนั่งเสมอกับครู หรือมองดูแล้วเท่าเทียมกับครู ( 1)

(1 ) อัล มะฮัจตุลบัยฎออฺ เล่ม 2 หน้าที่ 219

แม้ว่าการระวังรักษาและการให้เกียรติอัล-กุรอาน จะเป็นเรื่องที่สติปัญญารับได้ทุกคนก็ตาม กระนั้นริวายะฮฺจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ยังได้สำทับให้เห็นถึงความสำคัญของเรื่องนี้ไว้อีก มีรายงานจากท่านอิมามซอดิก (อ.)

ในวันกิยามะฮฺ อัลลอฮฺ (ซบ.) จะตรัสถึงอัล-กุรอานว่า ฉันขอสาบานด้วยเกียรติยศ ความสูงส่ง และอำนาจของฉันว่า วันนี้ฉันจะให้เกียรติแก่บุคคลที่เคยให้เกียรติเจ้า และฉันจะทำให้ตํ่าต้อยบุคคลที่เคยทำให้เจ้าตํ่าต้อย ( 2)

(2 ) วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 4 หน้า 827

๓๔

15.ซัจดะฮฺขณะอ่านบทที่มีโองการซัจดะฮฺ

มีอัล-กุรอานอยู่ 15 โองการขณะที่อ่านหรือได้ยินคนอื่นอ่านต้องซัจดะฮฺ 1 ครั้งได้แก่

ก. อัล-กุรอาน 4 โองการต่อไปนี้เมื่ออ่านหรือได้ยินคนอื่นอ่าน เป็นวาญิบต้องซัจดะฮฺ ซึ่งเรียกว่า ซูเราะฮฺซัจดะฮฺ หรือ ซูเราะฮฺอะซาอิม ประกอบด้วย

- ซูเราะฮฺอัซ ซัจดะฮฺ โองการที่ 15

- ซูเราะฮฺอัล-ฟุซซิลัต โองการที่ 27

- ซูเราะฮฺอัน นัจมุ โองการที่สุดท้าย

- และซูเราะฮฺอัล อะลัก โองการสุดท้าย

ข. อัล-กุรอาน 11 โองการต่อไปนี้เมื่ออ่านหรือได้ยินคนอื่นอ่าน เป็น

มุสตะฮับให้ซัจดะฮฺ ประกอบด้วย

- ซูเราะฮฺอัล อะอฺรอฟ โองการสุดท้าย

- ซูเราะฮฺอัร เราะอฺดุ โองการที่ 15

- ซูเราะฮฺอัล นะฮฺลิ โองการที่ 50

- ซูเราะฮฺอัล อิซรอ โองการที่ 109

- ซูเราะฮฺมัรยัม โองการที่ 58

- ซูเราะฮฺอัล ฮัจญฺ โองการที่ 18 และ 77

- ซูเราะฮฺอัล ฟุรกอน โองการที่ 60

- ซูเราะฮฺอัล นัมลิ โองการที่ 26

- ซูเราะฮฺอัซ ซ็อด โองการที่ 24

- ซูเราะฮฺอัน อินชิกอก โองการที่ 21

๓๕

อะฮฺกามเฉพาะสาหรับโองการซัจดะฮฺ

1. บุคคลที่อ่านหรือได้ยินคนอื่นอ่านโองการซัจดะฮฺวาญิบโองการใดโองการหนึ่ง หลังจากจบแล้วต้องลงซัจดะฮฺทันที แต่ถ้าลืมเมื่อนึกขึ้นได้ให้ซัจดะฮฺ

2. การซัจดะฮฺวาญิบกุรอาน ไม่จำเป็นต้องหันหน้าตรงกิบละฮฺ หรือต้องมีวุฎูอฺ และเสื้อผ้าไม่จำเป็นต้องสะอาด และอนุญาตให้ซัจดะฮฺลงบนทุกสิ่งได้ยกเว้น สิ่งของที่เป็นอาหารหรือเครื่องดื่ม

3. กรณีที่ได้ยินโองการซัจดะฮฺจากวิทยุ โทรทัศน์ หรือเทป ซึ่งไม่ได้เป็นการได้ยินโดยตรงจากผู้อ่านไม่จำเป็นต้องซัจดะฮฺ

แต่ถ้าได้ยินจากเครื่องขยายเสียงที่เป็นเสียงของคนอ่านโดยตรง เป็น

วาญิบต้องซัจดะฮฺ

หมายเหตุ เกี่ยวกับเรื่องนี้บรรดามัรญิอฺในยุคปัจจุบันวินิจฉัยตรงกัน เช่น

ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ริซาละฮฺเตาฎีฮุลมะซาอิล ข้อที่ 1096

ท่านอายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี อิซติฟตาอาต เล่ม 1 หน้าที่ 105

ท่านอายะตุลลอฮฺ ฟาฎิล ลันกะรอนียฺ ทั้งสองกรณีเป็นวาญิบต้อง ซัจดะฮฺ ( 1)

(1 ) เตาฎีฮุลมะซาอิล ข้อที่ 1117, อิซติฟตาอาตกุรอาน หน้าที่ 30

๓๖

4. กล่าวว่า การกล่าวซิกรฺในซัจดะฮฺวาญิบกุรอาน ไม่เป็นวาญิบ เพียงแค่เอาหน้าผากไปจรดพื้นถือว่าเพียงพอ แต่ดีกว่าให้กล่าวซิกรฺต่อไปนี้ รายงานโดยท่านอิมามอะลี (อ.)

لا إلهَ إلاّ اللّه حقّاً حقّاً لا إله إلاّ اللّه إيماناً و تصديقاً، لا إله إلاّ اللّه عُبُوديَّةً و رقّاً، سَجَدْتُ لكَ يا ربِّ تَعَبُّداً و رقّاً، لا مُسْتَنْكِفاً و لا مُسْتَكْبراً، بَلْ انا عبدٌ ذَليلٌ ضَعيفٌ خائفٌ مُسْتجير.َ

หมายถึง แน่นอนไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ ฉันขอศรัทธา และขอยืนยันว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจาก อัลลอฮฺ ฉันขอแสดงควมเคารพภักดีและขอมอบตนเป็นข้าทาส

โอ้พระผู้อภิบาล ฉันได้กราบ (ซัจดะฮฺ) ต่อพระองค์โดยการยอมจำนนเป็นข้าทาส ไม่ขอแสดงตนเป็นผู้ทรนงหรือผู้ดื้อดึง หากแต่ว่าฉันคือบ่าวที่ตํ่าต้อย มีความเกรงกลัวจึงขอความคุ้มครองพระองค์( 2)

(2 )อุรวะตุลวุซกอ เล่ม 1 ฟัซลฺ ฟี ซาอิริ อักซามิซซุญูด

๓๗

16. อ่านด้วยความใจเย็น

ความใจเย็นในการปฏิบัติทุกภารกิจการงาน ถือว่าเป็นสาเหตุนำไปสู่ความสำเร็จ และความถูกต้อง ส่วนการรีบเร่งเป็นสาเหตุนำไปสู่ความเสียหายและความบกพร่อง ซึ่งสิ่งนี้สามารถพิสูจน์ได้จากการอ่านอัล-กุรอาน

ริวายะฮฺจำนวนมากมายได้กล่าวเตือนนักอ่านอัล-กุรอานทั้งหลายว่า

จงหลีกเลี่ยงการรีบร้อนการอ่านอัล-กุรอาน ทว่าจงอ่านด้วยท่วงทำนองที่มีความไพเราะ เมื่ออ่านถึงโองการที่กล่าวถึงเรื่องสวรรค์ ให้หยุดเล็กน้อยเพื่อขอรางวัลสรวงสวรรค์จากพระองค์ และเมื่ออ่านถึงโองการที่กล่าวถึงนรก ให้หยุดเล็กน้อยเพื่อขอความคุ้มครองและพึ่งพาพระองค์ ( 1)

(1 ) อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้า 617, 618 ฮะดีษที่ 2, 5

แน่นอนเมื่อผู้อ่านอัล-กุรอาน อ่านอย่างใจเย็นยอ่มทำให้มีเวลาตรึกตรองในความหมายเหล่านั้นมากขึ้น ส่วนการอ่านอย่างรีบเร่งเขาจะไม่ได้รับการชี้นำใด ๆ จากอัล-กุรอานนอกจากผลบุญ และการออกเสียงถูกต้องตามหลักการอ่าน

17. อ่านอัล-กุรอานอย่างคนมีความรัก

บรรดาผู้ศรัทธาเมื่ออ่านอัล-กุรอานจะเห็นว่าอัล-กุรอานเกิดผลสะท้อนกับในทางบวก เขาจะอยู่ในสภาพของคนอยากรู้อยากเห็นอย่างใจจดใจจ่อ

มีความหวาดกลัวซึ่งในบางครั้งจะเห็นว่ามีนํ้าตาไหลพรากอาบแก้มทั้งสอง

ซึ่งการร้องไห้บางเกิดจากความตื่นตันใจ และบางครั้งก็เกิดจากความรัก

๓๘

จะเห็นว่ามีริวายะฮฺจำนวนมากได้เน้นให้อ่านอัล-กุรอานด้วยความรัก เช่น

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า ไม่มีดวงตาคู่ใดที่ร้องไห้ขณะอ่าน

อัล- กุรอาน นอกเสียจากว่าเขาจะมีความสุขในวันกิยามะฮฺ ( 1)

(1 ) มีซาน อัลฮิกมะฮฺ เล่ม 8 หน้า 89

อัล-กุรอานุลกะรีมได้อธิบายมนุษย์ไว้ 2 ลักษณะ ซึ่งหนึ่งในนั้นเมื่อได้ยินอัล-กุรอานพวกเขาจะร้องไห้ อัล-กุรอานกล่าวว่า

إِذَا تُتْلَى عَلَیْهِمْ آیَاتُ الرَّحْمَنِ خَرُّوا سُجَّدًا وَبُکِیًّا

เมื่อบรรดาโองการของพระผู้ทรงกรุณาปรานีถูกอ่านแก่พวกเขา พวกเขาจะก้มลงสุญูดและร้องไห้ ( 2)

(2 )อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ มัรยัม / 58

ประเด็นที่น่าสนใจ มีริวายะฮฺจำนวนมากแนะนำว่าให้อ่านอัล-กุรอานด้วยสำเนียงที่ไพเราะ บางริวายะฮฺกล่าวว่าให้ร้องไห้อ่านอัล-กุรอาน หมายถึงอ่านพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้าด้วยความรักและอ่านอย่างมีศิลปะในการอ่าน

๓๙

18. การอ่านให้จบ

ขั้นตอนการอ่านให้จบ ริวายะฮฺจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และจากท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่าควรจบการอ่านอัล-กุรอานทุกครั้งด้วยประโยคที่ว่า เซาะดะกอลลอฮุล อะลียุล อะซีม หมายถึง สัจจะยิ่งอัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่งและยิ่งใหญ่ ( 3)

(3 ) บิฮารุลอันวาร เล่มที่ 95 หน้าที่ 400, เล่มที่ 57 หน้าที่ 243

ดุอาอฺหลังจากการอ่าน ผู้ที่อ่านอัล-กุรอานทุกท่านถือว่าอยู่ท่ามกลางบรรยากาศของอุ่นไอแห่งพระดำรัส ฉะนั้นหลังจากอ่านอัล-กุรอานแล้วสมควรอย่างยิ่งที่ต้องดุอาอฺเป็นการส่งท้ายเพื่อการตอบรับในสิ่งที่ตนได้ปฏิบัติลงไป

๔๐

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154