การรู้จักอัล-กุรอาน

การรู้จักอัล-กุรอาน25%

การรู้จักอัล-กุรอาน ผู้เขียน:
ผู้แปล: เชคชรีฟ เกตุสมบูรณ์
กลุ่ม: ห้องสมุดกุรอาน
หน้าต่างๆ: 154

การรู้จักอัล-กุรอาน
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 154 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 52021 / ดาวน์โหลด: 5898
ขนาด ขนาด ขนาด
การรู้จักอัล-กุรอาน

การรู้จักอัล-กุรอาน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

ถ้าเราจะพูดถึงเรื่องราวของมุอาวิยะฮฺทั้งหมด ก็จำเป็นต้องมีเนื้อที่กระดาษหลายๆ เล่ม แต่ก็พอจะรู้อะไรๆ ได้อย่างเพียงพอ ถ้าหากได้อ่านหนังสือ อัน-นะศออิฮฺ อัล-กาฟียะฮฺ ลิมัน ยะตะวัลลา มุอาวิยะฮฺ

(บทเรียนของผู้ที่ยอมรับมุอาวิยะฮฺ) ของท่านซัยยิดมุฮัมมัด บินอะกีล และตำราประวัติศาสตร์อีกหลายเล่มที่เสนอข้อเท็จจริงต่างๆ เกี่ยวกับชายผู้นี้

เราเชื่อว่าเรื่องราวตามที่ได้ผ่านสายตาท่านไปแล้วนี้ จะสามารถทำให้เห็นพ้องกับการทำสนธิสัญญาของท่านอิมามฮะซัน (อ) ผู้ชาญฉลาดว่า เป็นการพิทักษ์ไว้ซึ่งระบบอิสลาม และเป็นการอนุรักษ์มรดกของมวลมุสลิมให้ดำรงอยู่ได้ และเพื่อเป็นการจำกัดเส้นทางเดินให้แก่มุอาวิยะฮฺ ด้วยการโต้คารมของอิมามฮะซัน(อ)ต่อมุอาวิยะฮฺและบริวารของเขา

ทุกคนที่ได้เข้าใจในส่วนนี้จะสามารถล่วงรู้ไปถึงความอาฆาตมาดร้ายและความคั่งแค้นที่สุมอยู่ในจิตใจของพวกอุมัยยะฮฺเป็นอย่างดีเลยทีเดียว คนเหล่านี้ไม่เคยหยุดยั้งและลดราวาศอก การติดตามรังควานท่านอิมามฮะซัน(อ)และการทำงานของท่าน ทั้ง ๆ ที่ยอมรับในข้อตกลงกับพวกเขาแล้ว อีกทั้งยังได้มอบอาณาจักรการปกครองและอำนาจให้แก่พวกเขาแล้ว ทั้งนี้มิใช่เป็นเพราะจุดประสงค์อื่นใด นอกจาการด่าประณามท่านและบิดาของท่าน(อ)อีกนั้นเอง

๑๐๑

ท่านอิบนุ อะบิล-ฮะดีด ได้กล่าวไว้ว่า มีรายงานบันทึกโดยอัซ-ซุบัยร์ บินบะการ์ ไว้ในหนังสือ อัล-มุฟาคอร็อต ว่า :

ครั้งหนึ่งมีคนหลายคนมารวมตัวกันที่สำนักของมุอาวิยะฮฺ เช่น อัมร์ บิน อัล-อ๊าศ , วะลีด บินอุกบะฮฺ บินอะบีมุอีด อุตบะฮฺ บินอะบีซุฟยาน อิบนุ ฮัรบ์ อัลมุฆีเราะฮฺ บินชุอฺบะฮฺ ซึ่งถ้อยคำอันไม่น่าพอใจและน่าตำหนิติเตียนจากคำพูดของท่านอิมาม (อ) ที่ เกี่ยวกับตัวของพวกเขาเคยได้ยินไปถึงหูของพวกเขา ในขณะที่ความไม่พอใจ เกี่ยวกับอิมาม (อ) ที่ออกจากปากพวกเขาก็เคยรู้ถึงหูท่านด้วย พวกเขากล่าวว่า

“ ข้าแต่อะมีรุลมุมีนีน(มุอาวิยะฮฺ) แท้จริงฮะซันได้เจริญรอยตามบิดาของเขา เวลาเขาพูดก็มีคนเชื่อ เวลาเขาออกคำสั่งก็มีคนปฏิบัติตาม คนทั่ว ๆ ไปยำเกรงเขา เมื่อเป็นเช่นนี้สักวันหนึ่งเขาจะยิ่งใหญ่ขึ้นมา และไม่แคล้วที่พวกเราจะได้รับความเดือดร้อนจากเขา ”

มุอาวิยะฮฺกล่าวว่า “ แล้วพวกท่านจะว่าอย่างไรกัน ?”

พวกเขากล่าวว่า “ ไปเชิญตัวเขามา เพื่อเราจะได้ด่าประณามเขาและบิดาของเขา โดยเราจะแนะนำและตักเตือนเขา โดยบอกเขาว่า บิดาของเขาได้ฆ่าอุษมาน และเราก็ให้เขาเชื่ออย่างนี้ แล้วเขาจะไม่สามารถแก้ไขอะไรในเรื่องนี้กับเราได้ ”

มุอาวิยะฮฺกล่าวว่า “ ฉันไม่เห็นด้วย และจะไม่ทำอย่างนั้น ”

พวกเขากล่าวว่า “ เราขอร้องให้ท่านทำอย่างนั้นให้ได้ ข้าแต่ อะมีรุลมุมีนีน (มุอาวิยะฮฺ) ”

มุอาวิยะฮฺกล่าวว่า “ ความหายนะจะเป็นของพวกเจ้า จงอย่าได้ทำสิ่งนี้

ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ไม่ว่าครั้งใดที่ฉันเห็นเขานั่งใกล้ฉัน

ฉันจะรู้สึกยำเกรงฐานะของเขา และกลัวการตำหนิของเขาที่มีต่อฉันเสมอ ”

๑๐๒

พวกเขากล่าวว่า “ อย่างไรก็ตาม ท่านต้องส่งคนไปเชิญเขามา ”

มุอาวิยะฮฺกล่าวว่า “ ถ้าฉันส่งคนไปเชิญเขามา ฉันจะต้องให้ความเป็นธรรมกับเขายิ่งกว่าพวกเจ้า ”

อัมรฺ บินอัล-อาศ จึงกล่าวว่า “ ท่านกลัวว่า ความผิดพลาดของเขาจะเอาชนะความถูกต้องชอบธรรมของเราใช่ไหม หรือว่าท่านจะปกป้องคำพูดของเขามากกว่าคำพูดของเรา ?”

มุอาวิยะฮฺกล่าวว่า “ หามิได้ ฉันเพียงแต่หมายถึงว่า ถ้าฉันส่งคนไปเชิญเขามา ฉันจำเป็นจะต้องให้เขาพูดด้วยวาจาเขาเองทุกอย่าง ”

พวกเขากล่าวว่า “ ก็ปล่อยเขาไปตามนั้น ”

มุอาวิยะฮฺกล่าวว่า “ พวกท่านอาจดื้อดึงต่อฉัน ถ้าฉันส่งคนไปเชิญเขามา แต่ถ้าพวกท่านดื้อดึง ฉันก็จะไม่ทำเช่นนั้น กล่าวคือจงอย่าใส่ร้ายในคำพูดของเขา จงรู้ไว้ว่า พวกเขาคืออะฮฺลุลบัยตฺซึ่งไม่เคยมีใครตำหนิพวกเขาได้ ไม่เคยมีใครหาข้อบกพร่องของเขาได้ง่ายๆ แต่พวกท่านจะกล่าวหาเขาด้วยข้อหาที่ร้ายแรง ที่พวกท่านจะพูดว่า บิดาของเขาฆ่าอุษมานและรังเกียจการปกครองของผู้ปกครองก่อนหน้าเขา ”

แล้วมุอาวิยะฮฺ ก็ส่งคนของตนไปเชิญท่านอิมามฮะซัน(อ) ซึ่งคนผู้นั้นได้กล่าวว่า

“ ท่านอะมีรุลมุมีนีน(มุอาวิยะฮฺ)เชิญตัวท่านไปพบ ”

ท่านอิมามกล่าวว่า “ เขามีอะไร ?”เขาจึงได้สมญานามอย่างนี้ ”

แล้วท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้กล่าวอีกว่า

“ ไม่มีหลังคาปกคลุมให้สำหรับพวกเขา และการลงโทษจะมาประสบกับพวกเขาโดยไม่รู้ตัว ”

๑๐๓

และกล่าวอีกว่า “ เจ้าจงเอาผ้าคลุมของฉันมาหน่อยซิ ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้าขอความคุ้มครองต่อพระองค์ ให้ข้ารอดพ้นจากความชั่วร้ายของเขาเหล่านั้นและขอให้พระองค์ทรงปกป้องข้า อย่าให้ตกอยู่ในความชั่วของพวกเขา ขอให้พระองค์ช่วยเหลือข้าให้พ้นจากพวกเขา อย่างไรก็ตามที่พระองค์

ทรงประสงค์และข้าก็ประสงค์ตามนั้นด้วย โดยอาศัยอำนาจและพลานุภาพของพระองค์ ข้าแต่พระผู้ทรงเมตตายิ่งกว่าผู้ให้ความเมตตาใด ๆ ”

จากนั้นท่านก็ลุกขึ้นเดินทางไปหามุอาวิยะฮฺซึ่งเขาก็ได้ต้อนรับท่านอย่างสมเกียรติ โดยจัดที่นั่งให้ท่านนั่งใกล้ ๆ กับเขา โดยที่คนในกลุ่มรู้สึกมีความชิงชังและเคียดแค้น ด้วยความละเมิดและทะนงตัวที่ติดอยู่ในสันดาน

มุอาวิยะฮฺ กล่าวว่า “ โอ้ อะบูมุฮัมมัดคนเหล่านี้ เขาส่งคนไปเชิญท่านมา พวกเขาฝ่าฝืนข้า ”

ท่านอิมามฮะซัน(อ)กล่าวว่า

“ มหาบริสุทธิ์เป็นของอัลลอฮฺ บ้านนี้เป็นของเจ้า การอนุญาตให้เข้ามาในที่นี้ย่อมขึ้นอยู่กับเจ้า ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ถ้าหากเจ้าสนองตอบเจตนาตามที่มีอยู่ในจิตใจของพวกเขาแล้วไซร้ เห็นทีที่ข้าจะต้องละอายในความชั่วของเจ้าเสียแล้ว และถ้าหากคนเหล่านี้สามารถเอาชนะ

ความคิดของเจ้าได้ ก็เห็นทีที่ข้าจะต้องละอายในความอ่อนแอของเจ้าเสียแล้ว ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะยึดเอาอันไหน จะปฏิเสธอันไหน เพราะถ้าหากข้าได้ล่วงรู้ว่าพวกเขาจะมาชุมนุมกันอยู่ที่นี่อย่างนี้ ข้าก็จะนำคนในบันดาลูกหลานของอับดุลมุฏฏอลิบมา ให้เหมือนๆ กับพวกเขาด้วย แต่ไม่มีทางหรอกที่

ฉันจะรู้สึกประหวั่นพรั่นพรึงต่อเจ้าและต่อพวกเขา แท้จริงผู้คุ้มครองข้าคืออัลลอฮฺ พระองค์ทรงคุ้มครองบรรดาผู้ทรงคุณธรรม ”

๑๐๔

มุอาวิยะฮฺกล่าวว่า “ นี่แนะท่าน ฉันเกรงใจที่จะเชิญท่านมา แต่คนเหล่านี้ซิที่มอบหมายเรื่องนี้ให้แก่ฉัน ทั้ง ๆ ที่ฉันไม่สบายใจ แท้จริงความเป็นธรรมจากพวกเขาจะมีแก่ท่านและจากฉันด้วย

เราเพียงแต่เชิญท่านมาเพื่อย้ำให้ท่านฟังว่า อุษมานนั้นถูกสังหารอย่างไม่ได้รับความเป็นธรรม และบิดาของท่านเป็นคนฆ่าเขา ดังนั้นจงรับฟังพวกเขา ต่อจากนั้นท่านก็จงตอบพวกเขาและคนในที่ประชุมจะไม่มีใครยับยั้งสิ่งที่ท่านจะพูดออกไปทุกประโยค ”

แล้วอัมรฺ บินอัล-อ๊าศ ก็ได้กล่าวขึ้นก่อนว่า

“ ขอสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ ขอให้พระองค์ประทานพรแด่ศาสนทูตของพระองค์.... ”

ต่อจากนั้นเขาก็กล่าว ถึงท่านอะลี(อ)โดยมิได้ทิ้งเรื่องใดๆ อันเป็นข้อบกพร่องโดยมิได้หยิบยกมากล่าว เขากล่าวต่อไปว่า

“ แท้จริงเขาลบหลู่อะบูบักร์ และรังเกียจการปกครองของเขา เขาขัดขืนในการยินยอมให้สัตยาบัน จากนั้นก็ยอมด้วยความจำใจ เขาร่วมวางแผนฆ่าอุมัร และฆ่าอุษมานด้วยความอธรรม เขาอ้างตัวเป็นผู้ปกครองทั้ง ๆ ที่ไม่มีสิทธิ ”

ต่อจากนั้นก็กล่าวถึงความบกพร่องต่าง ๆ อีกมากมาย แล้วเสริมอีกตอนหนึ่งว่า

“ ชาวบะนีอับดุลมุฏฏอลิบเอ๋ย ไม่มีทางที่อัลลอฮฺจะมอบอาณาจักรการปกครองให้แก่พวกเจ้าโดยที่พวกเจ้าสังหารผู้ปกครองเหล่านั้น พวกเจ้าได้ละเลงเลือดทั้งๆ ที่อัลลอฮฺทรงห้ามไว้ พวกเจ้าทะยานอยากในอำนาจการปกครอง และแสวงหาในสิ่งที่ไม่อนุญาต เจ้านั้น

๑๐๕

โอ้ ฮะซัน เจ้าพูดกับตัวเองว่า ตำแหน่งผู้ปกครองเป็นของเจ้า ทั้ง ๆ ที่เจ้าไม่มีปัญญาและความคิดในเรื่องนี้ เจ้ามิได้เห็นหรือ อัลลอฮฺบั่นทอนสติปัญญาของเจ้าอย่างไร พระองค์ทรงทิ้งความโง่เขลาของกุเรชไว้ในตัวเจ้า

พระองค์ทรงลบหลู่และเหยียดหยามเจ้า ทั้งนี้เพราะความชั่วในผลงานของบิดาของเจ้า อันที่จริงแล้วเราเพียงแต่เชิญเจ้ามาด่า ทั้งเจ้าและบิดาของเจ้า ในส่วนบิดาของเจ้านั้นอัลลอฮฺได้อัปเปหิเขาไปเสียแล้ว เราหมดภาระกับเขาแล้ว แต่เจ้าซิยังอยู่ในมือของพวกเรา เรากำลังคิดหาวิธีการในเรื่องของเจ้าอยู่ และถ้าหากเราจะด่าเจ้า เราก็จะไม่มีความบาปใดๆ กับอัลลอฮฺ และไม่มีข้อตำหนิใดๆ จากประชาชน เจ้ายังสามารถที่จะปฏิเสธกับเรา และหาว่าเราพูดไม่จริงได้ไหม ? ถ้าเจ้าเห็นว่าโกหกในข้อหนึ่งข้อใด ก็จงตอบโต้มาซิ ถ้าไม่มีก็จงรู้ไว้ว่า ทั้งเจ้าและบิดาของเจ้าต่างก็เป็นผู้อธรรม ”

ต่อจากนั้น อัล-วะลีด บินอุกบะฮฺ บินอะบีมุอีฏ ได้กล่าวว่า

“ โอ้พวกบะนีฮาชิม แท้จริงพวกเจ้ามีศักดิ์เป็นน้าของอุษมาน

ดังนั้นบุตรที่ประเสริฐ ถึงได้มีแก่พวกเจ้า สิทธิของพวกเจ้าจึงเป็นที่ยอมรับและพวกเจ้ามีการเกี่ยวดองที่ประเสริฐจึงมีแก่พวกเจ้า

เขาให้เกียรติพวกเจ้า แต่พวกเจ้ากลับเป็นบุคคลแรกที่ริษยาเขา จนบิดาของเจ้าถึงกับฆ่าเขาอย่างอธรรม ไม่มีข้อแก้ตัวแลไม่มีข้อพิสูจน์ใดๆ หักล้าง พวกเจ้าจะว่าอย่างไร ในเมื่ออัลลอฮฺทรงทวงถามในเรื่องเลือดของเขา พระองค์ทรงบันดาลให้พวกเจ้าลงมาจากตำแหน่งของพวกเจ้า

และขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ แท้จริง พวกบะนีอุมัยยะฮฺให้ความดีงามแก่พวกบะนีฮาชิมยิ่งกว่าพวกบะนีฮาชิมให้ความดีงามแก่พวกบะนีอุมัยยะฮฺ และแท้จริงมุอาวิยะฮฺให้ความดีงามแก่เจ้ายิ่งกว่าตัวของเจ้าเอง ”

๑๐๖

ถัดจากนั้น อุตบะฮฺ บินอะบีซุฟยาน ได้กล่าวว่า

“ โอ้ฮะซัน บิดาของเจ้าเป็นกุเรชที่ชั่วที่สุด สำหรับพวกกุเรช เพราะเขาเป็นคนหลั่งเลือดชาวกุเรช และตัดสายสัมพันธ์ทางเครือญาติกับชาวกุเรช มีดาบและลิ้นที่แสนจะยาว เขาฆ่าคนที่มีชีวิต

เขาประณามคนที่ตายแล้ว แท้จริงเจ้าก็เป็นคนหนึ่งฆ่าอุษมาน และเราจะต้องฆ่าเจ้าในเรื่องนี้ สำหรับความหวังของเจ้าในตำแหน่งผู้ปกครองนั้น มันเป็นสิ่งที่เจ้าไม่มีความสามารถเข้าถึงมันได้ และมันไม่มีอะไร ที่จะให้เจ้าถือเป็นข้อต่อรองได้ โอ้ ชาวบะนีฮาชิมเอ๋ย พวกเจ้าฆ่าอุษมาน ความจริงแล้ว

เราย่อมมีสิทธิฆ่าเจ้าและน้องชายของเจ้าในเรื่องนี้ด้วย สำหรับบิดาของเจ้านั้น แน่นอนอัลลอฮฺทรงจัดการให้กับพวกเรา ด้วยภารกิจของพระองค์ไปแล้ว แต่ในส่วนของเจ้าซิ ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่า ถ้าเราฆ่าเจ้า เนื่องจากแก้แค้นให้กับอุษมานแล้วไซร้ จะไม่มีความบาปและอริศัตรูใดๆ เกิดขึ้นกับเราเลย ”

ต่อจากนั้นอัล-มุฆีเราะฮฺ กล่าวประณามท่านอะลี และกล่าวว่า

“ ฉันมิได้ตำหนิเขาในกรณีใด ๆ ที่เขาฉ้อฉล และในกฎเกณฑ์การปกครองใดๆ ที่เขาลำเอียง แต่ฉันจะตำหนิเขาก็เพราะว่า เขาฆ่าอุษมาน ”

หลังจากนั้นพวกเขาก็นิ่งเงียบ ท่านอิมามฮะซัน บินอะลี(อ)ก็ได้พูดขึ้นว่า

“ ขอสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ และขอสดุดีต่อพระองค์ ขอให้พระองค์ประทานพรแก่มุฮัมมัดและลูกหลานของเขา ”

ท่านกล่าวต่อไปว่า “ มุอาวิยะฮฺ เอ๋ย คนเหล่านี้มิได้ด่าประณามข้าหรอก แต่เจ้านั่นแหละที่ด่าประณามข้า ช่างเลวร้ายจริงๆ เท่าที่ข้าได้พบมาเป็นความคิดที่ชั่วจริงๆ เท่าที่ข้ารู้จักมา เป็นนิสัยที่ชั่วที่สุดที่ข้าประสบมาเป็นการละเมิดต่อพวกเรา เป็นความคิดที่เป็นอริศัตรูที่เจ้ามีต่อท่านศาสดา

๑๐๗

มุฮัมมัด(ศ) และสมาชิกครอบครัวของท่าน แต่จงฟังเถิดมุอาวิยะฮฺ และพวกเจ้าก็จงฟังด้วย ไม่มีคำพูดใดที่อยู่ในตัวเจ้าและในตัวของพวกเขาที่มันจะแคล้วคลาดโดยมิได้ตรงกับพฤติกรรมที่มีในตัวของพวกเจ้า ข้าขอให้อัลลอฮฺเป็นพยาน พวกเจ้ารู้หรือเปล่าว่า คนที่พวกเจ้าด่าประณามไปนั้น

เขาเคยได้นมาซมาตั้งแต่วันนั้น โดยมีกิบลัตทั้งสองแห่ง ส่วนเจ้ามุอาวิยะฮฺ เจ้าคือผู้ปฏิเสธ(กาเฟร) ต่อทั้งสองแห่งโดยที่เจ้ามองมันว่าเป็นเรื่องที่หลงผิดเจ้าสักการะรูปปั้นของอัล-ลาดและอุซซา อย่างผู้ละเมิด

ข้าขอให้อัลลอฮฺ เป็นพยาน พวกเจ้ารู้หรือไม่ว่า เขาคือผู้มอบสัตยาบันทั้งสองวาระ นั่นคือ สัตยาบันแห่งอัล-ฟัตฮฺ และสัตยาบันแห่งอัร-ริฎวาน

มุอาวิยะฮฺเอ๋ย กับวาระหนึ่งนั้น เจ้าเป็นผู้ปฏิเสธและกับอีกวาระหนึ่งนั้น เจ้าเป็นผู้ตระบัดสัตย์ ข้าขอให้อัลลอฮฺเป็นพยานกับพวกเจ้า พวกเจ้ารู้หรือไม่ว่า เขา(อิมามอะลี)คือ คนแรกที่มีความศรัทธา ส่วนเจ้าและบิดาของเจ้านั้น มุอาวิยะฮฺเอ๋ย เป็นเพียงคนมีจิตใจโน้มน้าว พวกเจ้าซ่อนเร้นสภาพปฏิเสธไว้ แต่ฉาบภายนอกด้วยกับศาสนาอิสลาม พวกเจ้าหมกมุ่นอยู่กับการแสวงหา

ทรัพย์สิน

ข้าขอให้อัลลอฮฺเป็นพยาน พวกเจ้าไม่รู้เลยใช่ไหมว่า เขาคือเจ้าของธงชัยแห่งศาสนทูตของอัลลอฮฺ(ศ) ในสงครามบะดัร และแท้จริงธงชัยของฝ่ายพวกตั้งภาคีนั้นมีมุอาวิยะฮฺและบิดาของเขาร่วมอยู่ด้วย

ต่อจากนั้น เขาก็เผชิญต่อพวกเจ้าที่สงครามอุฮุดและสงครามพลพรรคต่างๆ (อัล-อะฮฺซาบ)โดยที่ธงชัยของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)อยู่กับเขา ส่วนที่อยู่กับเจ้าและบิดาของเจ้าคือธงชัยของพวกที่ตั้งภาคี ในทุกแห่งนั้นอัลลอฮฺ(ซ.บ.)เปิดโอกาสให้เขามีชัยชนะ และทรงยกย่องให้เขาเป็นข้อพิสูจน์ ทรงช่วยเหลือการเผยแผ่ของเขา และทรงยืนยันรับรองความสัตย์ในคำพูดของเขา และในทุกสมรภูมิเหล่านั้น

๑๐๘

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ให้ความปิติชื่นชมต่อเขา ส่วนเจ้าและบิดาของเจ้านั้นได้รับแต่ความชิงชัง

ข้าขอให้อัลลอฮฺเป็นพยาน มุอาวิยะฮฺเอ๋ย เจ้ายังจำได้ไหม ในวันหนึ่งที่บิดาของเจ้าเดินทางมาพร้อมกับอูฐสีแดงตัวหนึ่ง ส่วนเจ้ากำลังจูงมันอยู่และอุตบะฮฺน้องชายของเจ้าติดตามมาข้างหลังแล้วท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)มองเห็นเจ้า

ท่านศาสดา(ศ) ได้กล่าวว่า

“ โอ้อัลลอฮฺ ขอให้อัลลอฮฺทรงสาปแช่งทั้งคนขี่ คนจูง และคนที่ติดตามมาข้างหลังด้วยเถิด ”

มุอาวิยะฮฺเอ๋ย เจ้าลืมบทกวีที่เจ้าเขียนส่งไปให้บิดาของเจ้าเสียแล้วหรือ เมื่อครั้งที่เขาคิดจะเข้ารับอิสลาม แต่เจ้าห้ามเขาว่า

“ ทะเลทรายเอ๋ย ท่านอย่ายอมจำนนเป็นอันขาดเลย แม้แต่เพียงวันเดียว เพราะหลังจากชาวบะดัรกลายเป็นผุยผงแล้ว เราจะสามารถเอาชนะได้อีก ”

ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ กิจการที่เจ้าซ่อนเร้นอยู่นั้น มันยิ่งใหญ่กว่าที่เจ้าเผยออกมา หมู่ชนทั้งหลาย ข้าขอให้อัลลอฮฺเป็นพยาน พวกเจ้ารู้ไหมว่า ในหมู่บรรดาสาวกทั้งหลายของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) อิมามอะลี(อ) นั้นเป็นคนที่สามารถยับยั้งตนเองมิให้ตกอยู่ภายใต้อารมณ์ใฝ่ต่ำได้

ดังนั้นจึงมีโองการถูกประทานมาว่า :

“ โอ้ บรรดาผู้ศรัทธา จงอย่ายับยั้งของที่ดีที่อัลลอฮฺได้อนุมัติมาให้แก่สูเจ้า ” ( อัล-มาอิดะฮฺ :87)

๑๐๙

และครั้งหนึ่งท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ส่งสาวกชั้นผู้ใหญ่ของท่านไปรบกับพวกบนีกอรีเซาะฮฺ ปรากฏว่าต้องเผชิญกับความกล้าหาญชาญชัยของคนเหล่านั้น จนพ่ายแพ้อย่างยับเยิน

แล้วท่านก็ส่งท่านอิมามอะลี(อ)ให้ออกไปรบ พร้อมกับนำธงไปด้วย ปรากฏว่าท่าน(อ)สามารถปราบคนเหล่านั้นให้ยอมรับในบทบัญญัติของ

อัลลอฮฺและการปกครองของศาสนทูตของพระองค์ได้ ในสงครามค็อยบัรก็เป็นเช่นเดียวกันนี้

ท่าน(อ)ยังกล่าวอีกว่า...มุอาวิยะฮฺเอ๋ย ข้าเชื่อว่าเจ้าไม่รู้ดอก แต่ข้าซิรู้ดีถึงเรื่องที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) สาปแช่งแก่เจ้า เมื่อครั้งที่ท่านต้องการจะเขียนหนังสือส่งไปยังพวกบะนีคุซัยมะฮฺ กล่าวคือ ท่านได้ส่งไปยังเจ้าและไล่ให้เจ้าไปตาย พวกเจ้าก็เช่นเดียวกัน โอ้หมู่ชนที่ชุมนุม ณ ที่นี้ ข้าขอให้อัลลอฮฺเป็นพยาน พวกเจ้ายังไม่รู้หรือว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้สาปแช่งอะบูซุฟยานไว้ในสมรภูมิถึง 7 แห่ง ซึ่งพวกเจ้าไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้เลย

ครั้งแรก ในวันที่เขาพบท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ที่นอกเมืองมักกะฮฺ ทางไปเมืองฏออิฟ ท่านได้เชิญชวนให้เข้ารับศาสนาแต่โดยดี ครั้นแล้วเขาก็ฮึดสู้ท่าน ด่าว่าและสบประมาทท่าน สาปแช่งและกล่าวเท็จต่อท่าน อีกทั้งยังคิดที่จะใช้กำลังกับท่าน ดังนั้นอัลลอฮฺ และศาสนทูตของพระองค์จึงสาปแช่งเขาและทอดทิ้งเขาไป

ครั้งที่สอง ในวันแห่งอัล-อีรฺ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ถูกนำเสนอแก่ผู้หญิงคนหนึ่งที่มาจากชาม แต่อะบูซุฟยานได้ปฏิเสธ และขับไล่นางไปโดยที่ไม่มีใครช่วยเหลือนางได้เลย ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้สาปแช่งเขา เหตุการณ์สมรภูมิบัดรฺเกิดขึ้นก็เพราะนาง

๑๑๐

ครั้งที่สาม ในสงครามอุฮุด ตอนที่เขายืนอยู่ใต้เนินเขา ท่านศาสนทูต(ศ)ยืนอยู่ข้างบน เขาร้องตะโกนว่า “ รีบขึ้นไปข้างบนเร็ว ” ท่านศาสนทูต (ศ) ได้สาปแช่งเขาถึง 10 ครั้ง และบรรดามุสลิมก็สาปแช่งเขาด้วย

ครั้งที่สี่ ในสงครามอะฮฺซ์าบ มีพวกปฏิเสธสองกลุ่มร่วมกับพวกยิว ท่านศาสนทูต(ศ)ก็สาปแช่งเขาเช่นกัน

ครั้งที่ห้า ในวันที่อะบูซุฟยานเดินมากับกลุ่มชาวกุเรช แล้วร่วมกันขัดขวางท่านศาสนทูต(ศ)มิให้เข้ามัสญิดอัล-ฮะรอมและทำการเชือดสัตว์พลีและนั่นคือ วันแห่งสนธิสัญญาฮุดัยบียะฮฺ ดังนั้น ท่านศาสนทูตจึงสาปแช่งอะบูซุฟยาน ตลอดทั้งบรรดาแกนนำและสมุนทั้งหลาย ท่าน(ศ)กล่าวว่า

“ เขาเหล่านั้นทั้งหมดล้วนถูกสาปแช่ง เพราะไม่มีคนใดในหมู่พวกเขาเป็นผู้ศรัทธา ”

มีคนถามว่า “ ข้าแต่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) เผื่ออาจมีใครสักคนหนึ่งในหมู่พวกเขาต้องการเข้ารับอิสลาม เขาจะเป็นอย่างไร กับการสาปแช่งนี้ ?”

ท่านกล่าวตอบว่า “ การสาปแช่งจะไม่ประสบกับพวกที่ติดตามคนใดเลย เว้นแต่พวกระดับแกนนำจะไม่มีใครรอดได้พ้นเลยแม้สักคนเดียว ”

ครั้งที่หก นั่นคือ วันแห่งอูฐตัวสีแดง

ครั้งที่เจ็ด ในวันที่พวกเขาต่อสู้กับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ในพิธีแห่งอัล-อุกอบะฮฺโดยพวกเขาขับไล่อูฐของท่านให้วิ่งหนี พวกเขาเป็นผู้ชาย 12 คน ในจำนวนนั้นมีอะบูซุฟยานรวมอยู่ด้วย

๑๑๑

นี่คือเรื่องราวในส่วนของเจ้า โอ้ มุอาวิยะฮฺ

ส่วนเจ้าโอ้ อิบนุ อัล-อ๊าศ แท้จริงเรื่องราวความเป็นมาของเจ้านั้นสับสน มารดาของเจ้า คลอดเจ้ามาโดยไม่รู้ว่าใครคือพ่อ จนมีการตัดสินกันในหมู่ชาวกุเรชถึง 4 คน แต่แล้วคนที่รับผิดชอบเจ้าก็คือ คนที่เหี้ยมเกรียมที่สุด เป็นคนที่เลวร้ายที่สุด ต่อจากนั้นบิดาของเจ้ายืนขึ้นประกาศว่า

“ ศัตรูของข้า คือ มุฮัมมัด ผู้ที่สายตระกูลถูกตัดขาด ”

แต่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ประทานให้แก่เขา เหมือนดังที่ทรงประทานมาให้แล้ว เจ้าสู้รบกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ทุกสมรภูมิ เจ้าบุกเข้าทำร้ายท่านที่มักกะฮฺ เจ้าวางแผนการร้ายต่างๆนานา และเจ้าเป็นคนหนึ่งที่กล่าวเท็จใส่ท่าน และเป็นศัตรูของท่านอย่างฉกาจฉกรรจ์ที่สุด

ต่อจากนั้นเจ้าออกเดินทางไปเฝ้ากษัตริย์นะญะชี พร้อมกับบรรดาชาวเรือ เพื่อขอตัวญะอฺฟัรและสาวกของท่านกลับมาหาชาวมักกะฮฺ แต่แล้วเขาก็ทำให้เจ้าผิดหวัง อัลลอฮฺ(ซ.บ.)บันดาลให้เจ้ากลับมาอย่างพ่ายแพ้ เจ้าคือศัตรูของบะนีฮาชิม ทั้งในสมัยญาฮีลียะฮฺและในสมัยของอิสลาม เจ้าเองก็รู้คนทั้งหลายก็รู้ เจ้าเคยเขียนบทประพันธ์โจมตีท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)มากถึง 70 บท

แล้วท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ก็ได้กล่าวว่า

“ ข้าแต่อัลลอฮฺแท้จริงข้ามิได้พูดเป็นกวี และมันไม่สมควรแก่ข้า

ข้าแต่อัลลอฮฺได้โปรดสาปแช่งเขาถึง 1 , 000 ครั้งต่ออักษรแต่ละตัว ”

ดังนั้นในส่วนของเจ้ามีการสาปแช่งที่อัลลอฮฺประทานให้มากมายที่สุดเหลือที่จะประมาณได้ สำหรับกรณีที่เจ้าพูดเกี่ยวกับอุษมาน ก็เจ้านั่นแหละที่เป็นผู้จุดไฟสงครามแก่เขาให้เกิดภัยต่อโลกอิสลาม

๑๑๒

แล้วเจ้าก็หนีไปปาเลสไตน์ ครั้นพอเข้าทราบข่าวการถูกสังหารของเขา เจ้าก็กล่าวว่า

“ อะบูอับดุลลอฮฺ เมื่อท่านถูกสังหารข้าจะขอล้างแค้นให้ ”

ต่อมาเจ้าก็กักขังตัวเองไว้กับมุอาวิยะฮฺ และขายศาสนาเพียงเพื่อความสุขทางโลกจากเขา

เรามิได้ตำหนิเจ้าด้วยความโกรธ และเรามิได้ติเตียนเจ้าด้วยความรัก

ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ เจ้าไม่ได้ช่วยเหลืออุษมานในตอนที่ยังมีชีวิตอยู่และไม่ได้รู้สึกโกรธแค้นเมื่อเขาถูกสังหาร

ส่วนเจ้านั้น โอ้ วะลีด ข้าขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่า ข้ามิได้ตำหนิเจ้า เพราะความโกรธเกลียดโดยส่วนตัว แต่ท่านอะลี(อ)เคยลงโทษเจ้าด้วยการเฆี่ยนถึง 80 ครั้ง ในความผิดข้อหาดื่มสุรา และเขาได้ต่อสู้กับบิดาของเจ้าต่อหน้าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ด้วยความทรหด

เจ้านั่นเองที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ให้ ชื่อว่า “ ฟาซิก ” ( ผู้ละเมิดบัญญัติทั้ง ๆ ที่รู้) และให้ชื่ออิมามอะลี (อ) ว่า “ มุอ์มิน ” เจ้าได้เคยโอ้อวดต่อเขา เจ้าเคยกล่าวกับเขาว่า

“ อะลีเอ๋ย หยุดพูดเถอะ ข้ากล้าหาญ และพูดได้ดีกว่าเจ้า ”

แล้วอิมามอะลี(อ)ก็กล่าวแก่เจ้าว่า

“ วะลีด เอ๋ย เจ้าจงหยุดพูดเถอะ ฉันคือ มุอ์มิน ส่วนเจ้าคือ ฟาซิก ”

แล้วอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็ประทานโองการลงมาสนับสนุนคำพูดเขา

(อิมามอะลี)ว่า

“ คนที่เป็นมุอ์มินจะเสมอกับคนที่เป็นฟาซิกได้หรือ ไม่เสมอกันหรอก ” ( อัซ-ซะญะดะฮฺ :18)

๑๑๓

ต่อจากนั้นพระองค์ยังได้ประทานโองการลงมาในเรื่องของเจ้าเพื่อสนับสนุนคำพูดของเขาว่า

“ ถ้าหากคนฟาซิกนำข่าวคราวอันใดมาแจ้งแก่สูเจ้า ดังนั้น จงสอบสวนให้ชัดเจนเสียก่อน ” ( อัล-ฮุจญะร็อต : 6)

เจ้ามิได้เกี่ยวข้องอันใดกับชาวกุเรช แท้จริงเจ้าเป็นเพียงคนที่มาจากเผ่า

ศ่อฟูรียะฮฺ ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ เจ้าเกิดมานานแล้ว อายุของเจ้าก็มากกว่าที่เจ้าอ้าง

ส่วนเรื่องของเจ้านั้น อุตบะฮฺเอ๋ย ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่าเจ้าไม่มีความชอบธรรมอันใด จนข้าฯจำเป็นต้องตอบ เจ้าไม่มีสติปัญญาอันใดพอที่ข้าฯจะสนทนาด้วยและตำหนิเจ้า

และเจ้าไม่มีความดีอะไรจะเสมอ ไม่มีความชั่วใด ๆ ที่ซ่อนเร้นได้ สติปัญญาของเจ้ากับสติปัญญาทาสของเจ้านั้นไม่มีอะไรแตกต่างกัน

ไม่มีอะไรระคายเคืองแกอิมามอะลี(อ)ได้ ถึงแม้เจ้าจะประทุษร้ายต่อเขาในสมรภูมิต่างๆ ทุกแห่งหน

ในข้อที่เจ้าสัญญาว่า จะฆ่าเขานั้น ทำไมเจ้าจึงไม่ฆ่าอัล-ลิห์ยาน เมื่อตอนที่เจ้าพบเขาบนที่นอนของเจ้า(เป็นชู้กับภรรยาของเจ้า) แล้วยังจะมีใครกลัวดาบของเจ้าอีกเล่าในเมื่อเจ้าไม่ฆ่าเขาในตอนนั้น ช่างน่าหัวเราะ ข้าจะตำหนิเจ้าที่เจ้าไปโกรธท่าน อิมามอะลี(อ)ได้อย่างไร ในเมื่อเขาได้ฆ่าวะลีด ลุงผู้กล้าหาญของเจ้าในสงครามบะดัร และเขาร่วมกับท่านฮัมซะฮ์ในการฆ่า

อุตบะฮฺผู้เป็นปู่ของเจ้า และเขาได้แยกเจ้าให้โดดเดี่ยวจากฮันซอละฮฺพี่ชายของเจ้า ?

๑๑๔

สำหรับเจ้านั้น มุฆีเราะฮฺเอ๋ย เจ้าไม่มีคุณสมบัติอันใดพอที่จะมาร่วมถกเถียงในเรื่องเช่นนี้ อันที่จริงถ้าจะเปรียบเจ้าก็เหมือนอย่างกับยุงที่พูดกับต้นอินทผลัมว่า

“ จับฉันให้ได้ซิ ฉันกำลังบินไปจากท่านแล้ว ”

ต้นอินทผลัมพูดว่า “ ข้าจะรู้หรือว่าเจ้าเกาะอยู่บนต้นของข้า เพราะข้าจะรู้เอาเมื่อตอนที่เจ้าบินไปจากข้าแล้ว ”

ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่า เราไม่เคยรู้สึกอะไรเลยว่าเจ้าเป็นศัตรูกับเรา และเราก็ไม่ถือสาหาความอะไร ถึงแม้ว่าเราจะรู้ก็ตามในคำพูดของเจ้ามิได้สร้างความลำบากแก่เรา แท้จริงบทลงโทษของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ในความผิดฐานกระทำการล่วงประเวณี โดยจำนนต่อหลักฐานนั้นถูกบัญญัติมาเพราะเจ้า แน่นอนอุมัรเคยผ่อนผันจากการลงโทษเจ้า ซึ่งเป็นสิทธิของ

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงสอบถามเรื่องนี้จากเขา (อุมัร) แน่นอนที่สุด เจ้าเคยถามท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ว่า

“ ผู้ชายจะมองผู้หญิงโดยเขาต้องการจะแต่งงานด้วยได้หรือไม่ ?”

ท่านตอบว่า “ ไม่เป็นไรในข้อนี้ โอ้ มุฆีเราะฮฺ ตราบใดที่ยังไม่มีเจตนาร่วมประเวณี ”

แน่นอนที่สุดท่านรอซูลรู้ดีว่า เจ้าเป็นคนละเมิดประเวณีแน่นอน

ส่วนกรณีที่เจ้าคุยโวทับถมเราในเรื่องการปกครองนั้น อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการไว้ว่า :

“ และหากเราประสงค์ที่จะทำลายเมืองใดเมืองหนึ่ง เราก็จะให้พวกที่ฟุ่มเฟือยในเมืองนั้นๆทำหน้าที่ปกครอง แล้วพวกเขาจะละเมิดในเมืองนั้นแล้วเป็นสิทธิแห่งพจนารถของเราสำหรับเมืองนั้น โดยเราจะทำลายมันให้ราบคาบ ” ( อัล-อิซรออ์ : 16)

๑๑๕

หลังจากนั้นท่านอิมามฮะซัน(อ)ก็ลุกขึ้น จัดแจงจะเดินออก ทันใดนั้น อัมร์ บิน อัล-อ๊าศ ได้ยึดชายผ้าคลุมของท่านอิมามไว้ แล้วกล่าวว่า

“ ข้าแต่อะมีรุลมุมีนีน(มุอาวิยะฮฺ) ท่านได้เป็นพยานแล้วในคำพูดของเขา และการใส่ร้ายที่เขามีต่อมารดาของฉันว่าล่วงประเวณี ฉันจะเอาเรื่องกับเขาในความผิดฐานใส่ร้าย ”

มุอาวิยะฮฺ จึงกล่าวว่า “ ปล่อยเขาไปเถิด อัลลอฮฺจะไม่ตอบแทนเจ้าด้วยความดี ”

เขาก็ปล่อยชายผ้าไป แล้วมุอาวิยะฮฺกล่าวอีกว่า

“ ข้าได้บอกเจ้าแล้วว่า เขาเป็นคนที่ไม่มีใครเถียงขึ้น เราห้ามพวกเจ้าแล้วว่าอย่าด่าประณามเขา แต่พวกเจ้าขัดขืนข้าเอง ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่า เขามิได้ลุกขึ้นกล่าวบทกวีเพื่อเป็นการอธรรมแก่ข้า พวกเจ้าจงออกไปเถิด แน่นอนอัลลอฮฺจะชำระโทษพวกเจ้า และจะทรงบั่นทอนพวกเจ้าในฐานะที่พวกเจ้าละทิ้งความมีคุณธรรม และเป็นศัตรูต่อทัศนะของผู้ที่ให้คำสั่งสอนอันน่าเลื่อมใส และอัลลอฮฺคือผู้ให้ความช่วยเหลือเสมอ ” ( 1)

1) ซัรฮฺ นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ เล่ม 2 หน้า 104)

๑๑๖

วายชนม์

นักประวัติศาสตร์ทั้งฝ่ายซุนนี่และฝ่ายชีอะฮฺ หรือไม่ใช่ทั้งสองฝ่ายนี้ ต่างก็ได้ร่วมกันบันทึกว่า เมื่อครั้งที่มุอาวิยะฮฺ ตั้งใจที่จะให้มีการบัยอัต(ทำการสัตยาบัน) แก่ยะซีดนั้น ไม่มีอะไรที่เป็นที่หนักใจแก่เขามากเท่าอิมามฮะซัน บินอะลี(อ) เขาจึงลอบนำยาพิษ ไปให้ท่านดื่มโดยผ่านมือของญุอฺดะฮฺ บินอัล-อัชอัษ ผู้เป็นภรรยาคนหนึ่งของท่านเอง โดยสัญญาว่าจะให้เงินแก่นางจำนวน 1 , 000 ,000 ดิรฮัม พร้อมทั้งแต่งงานกับยะซีด ดังนั้น นางจึงนำยาพิษใส่ลงในแก้วนมให้ท่านดื่มเพื่อละศีลอด ปรากฏว่าท่านอิมาม (อ) ต้อง

ทรมานกับฤทธิ์ยาพิษนานถึง 40 วัน แล้วท่านก็ถึงวาระแห่งการกลับคืนสู่พระผู้อภิบาล(1)

1) อัล - ฟุศูลุล - มุฮิมมะฮฺ หน้า 150 และมะกอฏิลุฏ - ฏอลิบียีน หน้า 50)

ในขณะที่ท่านนอนป่วยอยู่นั้น ท่านอะมีรฺ บินอิซฮากพร้อมกับชายคนหนึ่งเข้าเยี่ยมอาการป่วยของท่าน ท่าน(อ)กล่าวว่า

“ พ่อหนุ่มเอ๋ย จงถามข้ามาเถอะ ”

เขากล่าวตอบว่า “ ข้าขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ข้าจะไม่ถามอะไรท่าน จนกว่าอัลลอฮฺจะบรรเทาอาการของท่านเสียก่อน ”

ท่านอิมาม(อ)กล่าวต่อไปว่า “ ข้ากำลังพบศึกในท้อง ข้าเคยดื่มยาพิษมาหลายครั้งแล้ว แต่ไม่เหมือนกับครั้งนี้เลย ”

อัมรฺกล่าวว่า พอวันรุ่งขึ้น ฉันได้เข้าเยี่ยมท่านอีก พบท่านอิมามฮุเซน(อ)น้องชายของท่านนั่งใกล้ศีรษะ กำลังถามท่านว่า

“ โอ้พี่ชายข้า ท่านคิดว่าเป็นใครหรือ ?”

๑๑๗

ท่าน(อ)ตอบว่า “ ทำไม เจ้าจะฆ่าเขาหรือ ?”

ท่านอิมามฮุเซน(อ) กล่าวตอบ “ ใช่แล้ว ”

ท่านอิมามฮะซัน(อ)กล่าวต่อไปว่า “ หากเป็นคนที่ข้าสงสัย ขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺว่า เขาจะได้รับภัยพิบัติและการลงโทษอย่างร้ายแรง แต่ถ้าไม่เป็นเขา ข้าชอบที่จะให้คนที่ฆ่าข้าได้รับนิรโทษกรรม ” ( 2)

ต่อจากนั้นท่านอิมามฮะซัน(อ) ได้สั่งเสียอิมามฮุเซน(อ)ผู้เป็นน้องชายและได้ทำการมอบพินัยกรรมให้แก่เขา อีกทั้งยังมอบหมายให้สืบตำแหน่งในหน้าที่อิมามะฮฺแก่เขาด้วย คำสั่งในพินัยกรรมของท่านที่มอบให้แก่ท่าน

อิมามฮุเซน(อ) มีดังนี้

“ โอ้ น้องชายของฉัน บัดนี้ฉันต้องจากเจ้าไปพบกับพระผู้อภิบาลของฉันเสียแล้ว ฉันได้ดื่มยาพิษเข้าไปในท้องของฉัน ฉันรู้ดีว่าใครนำยาพิษมาให้ฉันดื่ม และนางเอามาจากไหน ฉันขอเป็นคู่กรณีกับเขา ณ อัลลอฮฺ ดังนั้นโดยสิทธิของฉันที่มีต่อเจ้า ฉันขอพูดในเรื่องนี้สักข้อหนึ่ง และจงคอยดูในสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงบันดาลให้เกิดขึ้น กล่าวคือในเมื่อฉันได้สิ้นลมไป

ก็ขอให้จัดการมัยยิต(ศพ)ของฉัน อาบน้ำและห่อกะฟั่นฉัน แล้วโปรดนำฉันขึ้นคานหามเพื่อไปยังสุสานท่านตา ผู้เป็นศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)เพื่อฉันจะได้พบท่านตามสัญญา ต่อจากนั้นก็นำฉันไปยังสุสานของท่านย่า ฟาฏิมะฮฺ บินติอะซัด แล้วจงฝังฉันที่นั่น โอ้ผู้เป็นบุตรแห่งมารดาของฉัน แล้วเจ้าจะรู้ว่าคนกลุ่มหนึ่งคิดสงสัยว่า พวกเจ้าต้องการจะฝังฉันใกล้กับศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) พวกเขาจะต่อต้านและขัดขวางมิให้พวกเจ้าเข้าไปในนั้น แต่ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ เจ้าจะต้องสัญญาจะต้องไม่ให้มีเหตุนองเลือดในเรื่องของข้า ”

2) นูรุล - อับศอร หน้า 112 และอัล - ฟุศูลุล - มุฮิมมะฮฺ)

๑๑๘

หลังจากนั้นท่านอิมามฮะซัน(อ)ก็ได้สั่งเสียเกี่ยวกับเรื่องภรรยา บุตร และบริวารที่ยังอยู่ อีกทั้งคำสั่งเสียอื่น ๆ ที่ท่านอะมีรุลมุมินีน(อ)เคยสั่งเสียไว้ในตอนที่ท่านมอบหมายหน้าที่ให้ เมื่อครั้งที่อยู่ในฐานะ เช่นเดียวกันกับคราวนี้และท่านได้แนะนำให้พรรคพวกของท่าน ถือเรื่องนี้เป็นหลักฐานในการสืบตำแหน่งผู้ปกครอง และแต่งตั้งท่านอิมามฮุเซน(อ)ให้แก่พวกเขาภายหลังจากท่าน ซึ่งเป็นที่ทราบดี(3)

ต่อมาท่านได้สั่งให้ยกตัวท่านไปวางไว้ที่ลานบ้าน เมื่อออกมาแล้ว ท่านกล่าวว่า

“ ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้าขอมอบัวข้าให้พระองค์ตัดสิน ดังนั้นข้าจะต้องไม่ประสบเหมือนอย่างที่ประสบแก่นาง ” ( 4)

ต่อจากนั้นท่านก็วายชนม์ด้วยสาเหตุถูกวางยาพิษอย่างอธรรมสุดที่จะอดทนได้เมืองมะดีนะฮฺในวันนั้น บรรยากาศคล้ายวันที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)วายชนม์ เมื่อข่าวนี้ทราบไปถึงอะบูฮุรอยเราะฮฺ เขาถึงกับตกประหม่าและร้องไห้ด้วยน้ำตานองหน้า เขาถลาวิ่งออกไปที่มัสญิดของท่านศาสนทูต(ศ)แล้วร้องตะโกนด้วยเสียงอันดังว่า

“ ประชาชนทั้งหลาย วันนี้สุดที่รักของท่านศาสดา(ศ)ได้เสียชีวิตแล้ว ”

ประชาชนต่างพากันร้องไห้ระงม(5)

3) อัล - อิรชาด หน้า 198)

4) มะฏอลิบุซซุอุล หน้า 70)

5) ฮะยาตุล - อิมามฮะซัน ของกุร็อยชี เล่ม 2 หน้า 432)

๑๑๙

ท่านอิมามฮุเซน(อ)จัดการมัยยิดเสร็จ แล้วได้หามไปยังสุสานของท่านศาสดา(ศ)ตามสัญญาที่ได้รับการสั่งเสียไว้ แต่...มัรวาน บินฮะกัม ได้เข้ามาขัดขวางไว้ โดยมีพวกบะนีอุมัยยะฮฺขี่ม้าติดอาวุธมาด้วย มัรวาน(ขออัลลอฮฺทรงสาปแช่งเขา)จึงได้โอกาสกล่าวว่า

“ ข้าแต่พระผู้อภิบาล การต่อสู้ย่อมดีกว่าปล่อยไปอย่างนี้ จะให้อุษมาน(ร.ฎ.)ถูกฝังนอกเมืองมะดีนะฮฺ แล้วให้ฮะซันถูกฝังไว้ในบ้านของท่านศาสดากระนั้นหรือ ? ขอสาบานด้วยนามของอัลลอฮฺ จะเป็นอย่างนี้ไม่ได้เด็ดขาด ข้าจะต้องจับดาบสู้ ”

เหตุการณ์ชุลมุนวุ่นวายเกือบจะเกิดจราจล ท่านหญิงอาอิชะฮฺ(ร.ฎ.)ขี่ล่อเข้ามาพบกับพวกเขาทันที พลางกล่าวว่า

“ มันเป็นเรื่องของข้ากับพวกเจ้า พวกเจ้าจะเอาคนที่ข้าไม่ชอบเข้ามาในบ้านของข้าหรือ ?”

ท่านอิบนุอับบาซ(ร.ฎ.)ได้ออกมาเผชิญหน้ากับนางแล้วกล่าวว่า

“ สองครั้งแล้วนะ ที่ทำในสิ่งเลวร้าย ครั้งนี้ขี่ล่อ ครั้งก่อนขี่อูฐ

ท่านต้องการจะดับรัศมีแห่งอัลลอฮฺ ท่านต่อสู้กับบรรดาผู้มีคุณธรรมของพระองค์ โปรดกลับไปเสียเถิด เพียงพอแล้วกับสิ่งที่ท่านจะต้องเกรงกลัว ท่านได้เข้าถึงในสิ่งที่ท่านชอบแล้ว อัลลอฮฺ(ซ.บ.)คือผู้ช่วยเหลืออะฮฺลุลบัยตฺ

ไม่ว่าจะนานแสนนานแค่ไหน ” ( 6)

ต่อจากนั้น พวกเขาได้ยิงธนูเข้าใส่ร่างอันไร้วิญญาณของท่านอิมาม(อ)จนเสียบติดที่ร่างถึง70 ดอก(7)

6) อัล - อิรชาด หน้า 199)

7) อัล - มะนากิบ เล่ม 2 หน้า 175 , อัดดัมอะตุซ - ซากิบะฮฺ เล่ม 2 หน้า 252 และฮะยาตุล

- อิมามฮะซัน เล่ม 2 หน้า 491 พิมพ์ครั้งที่ 2)

๑๒๐

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

คำว่า กุรอาน ในหมู่นักวิชาการและนักวิจัยมีทัศนะความเห็นแตกต่างกัน กล่าวคือ

๑. บางทัศนะกล่าวว่าคำว่า กุรอาน ไม่ได้ผันมาจากศัพท์คำใดทั้งสิ้น คำๆ นี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้าตั้งแต่แรกเริ่ม

๒. บางทัศนะกล่าวว่าคำว่า กุรอาน ผันมาจากคำว่า เกาะระอะ หมายถึงการอ่าน กล่าวคือ กุรอาน คือคัมภีร์ที่ถูกอ่านแล้ว

๓. บางทัศนะกล่าวว่าคำว่า กุรอาน มาจากรากศัพท์ของคำว่า เกาะระนะ หมายถึง การประชิดติด การแนบสนิท การติดกัน การแสดงสัมพันธภาพ เนื่องจากคำ โองการต่าง ๆ และซูเราะฮฺประชิดติดกันจึงเรียกว่า กุรอาน

๔. บางทัศนะกล่าวว่าคำว่า กุรอาน ผันมาจากคำว่า เกาะรออิน ซึ่งเป็นพหูพจน์ของคำว่า กะรีนะฮฺ หมายถึงสัญลักษณ์ เนื่องจากโองการอัล-กุรอานเป็นสัญลักษณ์ที่สนับสนุนกันและกันจึงเรียกว่า กุรอาน

ข้อควรพิจารณา แน่นอนว่ากุรอานกะรีม มีชื่อและคุณลักษณะอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ฟุรกอน หมายถึง การจำแนกความจริงและความเท็จ กิตาบ ซิกรฺ ตันซีล นูร ฮุดายฺ มะญีด และอื่นๆ อีกมากมาย

๑๔๑

๒. อายะฮฺ

คำว่า อายะฮฺ ในเชิงภาษามีหลายความหมายด้วยกัน เช่น สัญลักษณ์ เครื่องหมาย การรวบรวม สิ่งมหัศจรรย์ และความแปลกประหลาด

ส่วน อายาตกุรอาน ได้ถูกจัดวางบนความหมายทุกความหมายที่มีความเหมาะสมในเชิงภาษา เช่น

๑. ทุกอายะฮฺอัล-กุรอาน แสดงให้เห็นถึงการนำมาซึ่งความสัจจริง

การไร้ความสามารถของผู้เป็นปรปักษ์ และการการจำแนกออกจากสิ่งตรงข้าม

๒. ทุกอายะฮฺ ได้รวบรวมจากอักษร คำต่าง ๆ และประโยค

๓. ทุกอายะฮฺ อาจเป็นไปได้ที่บ่งบอกถึงความมหัศจรรย์ ถ้าหากพิจารณาจากคำและมาตรฐานของอัล-กุรอาน

๑๔๒

อายะฮฺในทัศนะของนักปราชญ์หมายถึง บางส่วนจากอักษร หรือคำ หรือประโยค ซึ่งริวายะฮฺได้กำหนดขอบเขตที่แน่นอนของสิ่งเหล่านี้ไว้แล้ว

การรู้จักโองการอัล-กุรอานถือเป็น เตาฟีกกียฺ หมายถึงท่านศาสดา

(ซ็อล ฯ) ได้กำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว กล่าวคือ ขณะที่ท่านอ่านโองการท่านได้หยุดเพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจขอบเขตของโองการ

อัล-กุรอานมีทั้งสิ้น ๖๒๓๖ โองการ ตามการกำหนดหมายเลยในปัจจุบัน ไม่รวม บิซมิลลาฮฺ ในซูเราะฮฺอื่นๆ ซึ่งไม่ถือว่าเป็นโองการแยกต่างหากจาก ซูเราะฮฺ ยกเว้น บิสมิลลาฮฺ ในซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺ ที่นับว่าเป็นโองการแยกต่างหาก

สิ่งจำเป็นต้องกล่าวคือ การเรียบเรียงโองการต่างๆ และซูเราะฮฺเป็นคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ตามการชี้นำของท่านญิบรออีล

นักวิชาการอุลูมกุรอาน (ศาสตร์เกี่ยวกับกุรอาน) กล่าวว่า ทุกครั้งที่

อัล- กุรอานถูกประทานลงมา ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้เรียกผู้จดบันทึกมาและสั่งให้จดบันทึกโองการต่าง ๆ ไว้ในซูเราะฮฺที่แตกต่างกันอย่างเป็นระเบียบ แม้แต่บิสมิลลาฮฺ ท่านก็ได้สั่งให้บันทึกไว้เหนือซูเราะฮฺต่าง ๆ ยกเว้นซูเราะฮฺบะรออะฮฺ

๑๔๓

๓. ซูเราะฮฺ

คำว่า ซูเราะฮฺ ในเชิงภาษาแบ่งออกเป็นหลายความหมายด้วยกัน

๑. บางทัศนะกล่าวว่า คำว่า ซูเราะฮฺ เป็นคำที่แปลงมาจากคำว่า ซูเราะฮฺ หมายถึงของที่กินเหลือ หรือนํ้าที่เหลือค้างภาชนะจากการดื่ม และเนื่องจาก ซูเราะฮฺอัล-กุรอาน เป็นส่วนหนึ่งของอัล-กุรอาน จึงเรียกว่า ซูเราะฮฺ

๒. บางทัศนะกล่าวว่า คำว่า ซูเราะฮฺ หมายถึงการห้อมล้อม การล้อมกรอบ หรือกำแพงเมือง และการที่เรียกซูเระาฮฺอัล-กุรอานว่า ซูเราะฮฺ เสมือนว่า

ซูเราะฮฺได้ล้อมกรอบโองการต่าง ๆ ให้อยู่ในการควบคุมของตน

ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่า ซูเราะฮฺ

๓. บางทัศนะกล่าวว่า คำว่า ซูเราะฮฺ มาจากคำว่า ซิวาร หมายถึง สายสร้อย หรือกำไล และการที่เรียกซูเราะฮฺอัล-กุรอานว่า ซูเราะฮฺ เนื่องจากว่า โองการต่างๆ ได้ถูกร้อยเข้าด้วยกันอย่างเป็นลูกโซ่

๔. บางทัศนะกล่าวว่า คำว่า ซูเราะฮฺ หมายถึง ตำแหน่ง หรือฐานันดรที่สูงส่ง และเนื่องจากว่าพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้านั้นมีฐานะภาพอันสูงส่ง จึงเรียกว่า ซูเราะฮฺ

๕. บางทัศนะกล่าวว่า คำว่า ซูเราะฮฺ มาจากคำว่า ตะเซาวุร หมายถึง การทำให้สูงขึ้น หรือการผสมผสาน เนื่องจากว่าซูเราะฮฺต่าง ๆ ได้เรียงซ้อนแลดูว่าสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่า ซูเราะฮฺ

๑๔๔

ซูเราะฮฺในความหมายของนักปราชญ์

นักปราชญ์ส่วนใหญ่ให้ทัศนะว่า ซูเราะฮฺ คือส่วนหนึ่งของโองการ

อัล-กุรอานที่มีการเริ่มต้นและมีการสิ้นสุด หรือบางส่วนของโองการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่าง ๒ บิสมิลลาฮฺ

จำนวนซูเราะฮฺต่าง ๆ อัล-กุรอานทีทั้งสิ้น ๑๑๔ ซูเราะฮฺ ซูเราะฮฺที่เล็กที่สุดคือ ซูเราะฮฺอัลเกาซัร มีทั้งสิ้น ๓ โองการ และซูเราะฮฺที่ใหญ่ที่สุดคือ ซูเราะฮฺ อัล บะเกาะเราะฮฺ มีทั้งสิ้น ๒๘๖ โองการ

การเรียงซูเราะฮฺ

การเรียงซูเราะฮฺอัล-กุรอานเริ่มต้นจากซูเราะฮฺอัลฟาติฮะฮฺ และสิ้นสุดที่

ซูเราะฮฺ อันนาซ แน่นอนการเรียบเรียงดังกล่าวขัดแย้งกับสาเหตุของการประทานอัล-กุรอาน ซึ่งเริ่มต้นจากซูเราะฮฺ อัล อะลัก และสิ้นสุดที่ซูเราะฮฺ อันนัศรฺ

การเรียบเรียงซูเราะฮฺ อัล-กุรอานเป็นเตาฟีกกียฺหรือไม่ หมายถึงท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นผู้สั่งให้เรียบเรียง

๑๔๕

ประเด็นดังกล่าวนักวิชาการมีทัศนะแตกต่างกัน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น ๓ ทัศนะดังนี้

๑. กลุ่มที่หนึ่ง กล่าวว่าการเรียบเรียงอัล-กุรอานเป็นคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) โดยอ้างว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นผู้กำหนดโองการต่างๆ ว่าให้วางไว้ตรงที่ใด นอกเหนือจากนั้นแล้วอัล-กุรอาน ได้ถูกเรียบเรียงในสมัยของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)

๒. กุล่มที่สอง ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการฝ่ายความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอัล-กุรอาน กล่าวว่า การเรียบเรียงซูเราะฮฺอัล-กุรอานในปัจจุบันมิใช่เตาฟีกียฺ แต่เป็นการวินิจฉัยซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่นี้คือ เศาะฮาบะฮ์ของท่านศาสดา และสิ่งนี้เกิดขึ้นหลังจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้สิ้นชีพไปแล้ว

๓. กลุ่มที่สาม เชื่อว่าการเรียบเรียงซูเราะฮฺส่วนใหญ่เป็นคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)

ซึ่งบางส่วนเท่านั้นที่บรรดามุสลิมได้เรียบเรียงขึ้นภายหลังจากที่ท่านศาสดา (ซ้อล ฯ) ได้สิ้นชีพไปแล้ว

การตั้งชื่อซูเราะฮฺ

ซูเราะฮฺบางบทได้รับการตั้งชื่อในสมัยของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เช่น

ซูเราะฮฺอัลฮัมด์ ริวายะฮฺบางบทกล่าวว่าซูเราะฮฺนี้ในสมัยของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ถูกเรียกว่า ฟาติฮะตุลกิตาบ (ปฐมบทแห่งคัมภีร์)

๑๔๖

นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า ลักษณะชื่อเช่นนี้ได้ถูกกำหนดโดยวะฮฺยู

แต่ทว่าซูเราะฮฺบางบทและโองการบางกลุ่มหลังจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้สิ้นชีพไปแล้ว ได้ถูกตั้งชื่อขึ้นเป็นพิเศษ เนื่องจากเนื้อหาได้ครอบคลุมบางเรื่องที่เฉพาะเจาะจง จึงตั้งชื่อซูเราะฮฺด้วยนามที่มีชื่อเรียกตามนั้น ไม่ใช่เตาฟีกียฺและวะฮฺยูก็ไม่ได้กำหนดนามเหล่านั้น

ดังนั้น สามารถกล่าวได้ว่านามชื่อซูเราะฮฺต่าง ๆ นั้นได้ถูกเรียกตามความเหมาะสม และตามความสำคัญของเนื้อหาสาระในสมัยนั้น ประกอบกับไม่มีเหตุผลอ้างอิงแม้แต่นิดเดียวว่า การตั้งซื่อซูเราะฮฺอัล-กุรอานใหม่เป็นสิ่งต้องห้าม เช่น ซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ ได้ถูกตั้งชื่อนี้เนื่องจาก เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับวัวของพวกบนีอิสรอเอล ได้ถูกอธิบายไว้ในบทนี้จึงเรียก

ซูเราะฮฺนี้ว่า บะเกาะเราะฮฺ หมายถึงวัวตัวเมีย ขณะที่ซูเราะฮฺบทนี้มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น ฟิซฏอฏุลกุรอาน (คัยมะฮฺแห่งกุรอาน) อัล ฟิรเดาซฺ (สรวงสวรรค์) หรือซินามุลกุรอาน (ขุนเขาแห่งอัล-กุรอาน) เป็นต้น

การตั้งชื่อซูเราะฮฺอัลฮัมด์ เนื่องจากซูเราะฮฺดังกล่าวเป็นปฐมบทของคัมภีร์จึงเรียกว่า ฟาติฮะตุลกิตาบ (ปฐมบทของคัมภีร์) และยังมีนามอื่นอีก เช่น ฮัมดฺ อุมมุลกิตาบ (แม่บทแห่งคัมภีร์) ฟาติฮะตุลกุรอาน อุมมุลกุรอาน อัซซับอุลมะซานียฺ อัลวาฟียะฮฺ อัลกาฟียะฮฺ และอื่น ๆ อีกหลายชื่อ

ซูเราะฮฺอัลนิซาอฺ ได้ถูกเรียกว่า นิซาอฺ เนื่องจากอัล-กุรอานบทนี้ได้กล่าวอธิบายอะฮฺกามเกี่ยวกับผูหญิงโดยละเอียด จึงตั้งชื่อว่า ซูเราะฮฺอัลนิซาอฺ

๑๔๗

ส่วนต่าง ๆ ของอัล-กุรอาน

ตามริวายะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่าอัล-กุรอานแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน ดังนี้

๑. ซับอุฏิวาล หมายถึง ๗ ซูเราะฮฺที่ยาวที่สุดประกอบด้วย ซูเราะฮฺ

อัลบะเกาะเราะฮฺ ซูเราะฮฺอาลิอิมรอน ซูเราะฮฺ อันนิซาอฺ ซูเราะฮฺ

อัลมาอิดะฮฺ ซูเราะฮฺ อัลอันอาม ซูเราะฮฺ อัลอะอฺรอฟ และซูเราะฮฺ อัลอันฟาลร่วมกับซูเราะฮฺอัตเตาบะฮฺ

๒. มิอีน หมายถึงซูเราะฮฺต่าง ๆ ที่มีประมาณ ๑๐๐ โองการประกอบด้วย

ซูเราะฮฺบนีอิสรออีล ซูเราะฮฺ อัลกะฮฺฟิ ซูเราะฮฺมัรยัม ซูเราะฮฺ ฏอฮา ซูเราะฮฺอัลอัมบิยาอฺ ซูเราะฮฺอัลฮัจญฺ และซูเราะฮฺอัลมุอฺมินูน

๓. มะซานียฺ หมายถึง ซูเราะฮฺต่าง ๆ หลังจากมิอีน และมีโองการน้อยกว่า ๑๐๐ โองการ (การให้ความหมายเช่นนี้มีควาขัดแย้งกัน)

๔. มุฟัซซ็อล หมายถึงซูเราะฮฺที่มี ฮามีม และรวมไปถึงซูเราะฮฺเล็กๆ

การให้ความหมายเช่นนี้มีความขัดแย้งกัน

๑๔๘

ปรัชญาของการแบ่งอัล-กุรอานเป็นซูเราะฮฺต่าง ๆ นักวิชาการฝ่ายอุลูม

อัลกุรอานกล่าวว่า การแบ่งอัล-กุรอานเป็นซูเราะฮฺต่างๆ มีประโยชน์มากมายแฝงอยู่ กล่าวคือ

- มาตรฐานความมหัศจรรย์อัล-กุรอานคือ ๑ ซูเราะฮฺ เช่น ซูเราะฮฺอัลเกาซัร และซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ ซึ่งทั้งสองซูเราะฮฺถือว่าเป็น ๒

ความมหัศจรรย์

- ง่ายและสะดวกในการท่องจำ

- ง่ายต่อการสอนเด็ก ๆ ให้เรียนรู้อัล-กุรอาน

- การจัดระเบียบซูเราะฮฺของอัล-กุรอานได้กลายเป็นแบบอย่างในการจัดทำหนังสืออื่น ๆ

- การจัดแบ่งอัล-กุรอานเป็นซูเราะฮฺให้ผู้อ่านไม่รู้สึกเบื่อหน่ายประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับการตั้งชื่อซูเราะฮฺ

การตั้งชื่อซูเราะฮฺต่างๆ ทำให้มองเห็นองค์สำคัญดังต่อไปนี้

๑. นามต่าง ๆ ทีเป็นธรรมชาติ เช่น อัตตีน (ผลมะเดื่อ) อัชชัมซ์ (ดวงอาทิตย์)

๒. นามต่าง ๆ ที่เป็นชื่อของกาลเวลา เช่น ลัยล์ (กลางคืน) อัฎฎุฮา (ตอนสาย) วัลอัซรฺ (กาลเวลา) อัลญุมอะฮฺ (วันศุกร์) เป็นต้น

๓. นามต่าง ๆ ที่เป็นชื่อสัตว์ เช่น อัล-บะเกาะเราะฮฺ (วัวตัวเมีย) อันนะฮฺลิ (ผึ้ง) อันนัมล์ (มด)

๑๔๙

๔. นามต่าง ๆ ที่เป็นชื่ออคนและบรรดาศาสดา เช่น อันนาซ (มุนษย์)

มุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) อิบรอฮีม (อ.)

๕. นามต่างๆ ที่เป็นชื่อวันกิยามะฮฺ (วันแห่งการย้อนกลับ) เช่น

อัลกอริอะฮฺ (การตอกทุบ) อัลวากิอะฮฺ อัดดุคอน อัลฮากเกาะฮฺ

๖. นามต่างๆ ที่เป็นชื่อสถานที่ เช่น อัรรูม อัลบะลัด

๗. นามต่าง ๆ ที่เป็นพระนามและเป็นซิฟัตของพระผู้เป็นเจ้า เช่น ฟาฏิร นูร เราะฮฺมาน มุลกฺ

๘. นามต่าง ๆ ที่เป็นซิฟัตของอัล-กุรอาน เช่น ฟุรกอน ฟุซซิลัต

๙. นามต่าง ๆ ที่เป็นอุซูลุดดีน และฟุรุอุดดีน เช่น เตาฮีด (อิคลาศ) ฮัจญฺ ซัจญฺดะฮฺ

๑๐. นามต่าง ๆ ที่เรื่องราวเกี่ยวกับจริยธรรม เช่น อัตเตาบะฮฺ อัชชูรอ

๑๑. นามต่าง ๆ ที่เป็นอักษรย่อ เช่น ศ็อด นูน ก๊อฟ และอื่น ๆ

๑๕๐

๔. ข้อมูลเกี่ยวกับอัล-กุรอาน

โองการแรกที่ถูกประทานลงมาแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือ ๕ โองการแรกจากซูเราะฮฺ อัลอะลัก

โองการสุดท้ายที่ถูกประทานลงมาแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือโองการที่ ๒๘๑ ซูเราะฮฺ อัล บะเกาะเราะฮฺ

وَاتَّقُوا يَوْمًا تُرْجَعُونَ فِيهِ إِلَى اللَّـهِ ۖ ثُمَّ تُوَفَّىٰ كُلُّ نَفْسٍ مَّا كَسَبَتْ وَهُمْ لَا يُظْلَمُونَ

และพวกเจ้าจงยำเกรงวันหนึ่ง ซึ่งพวกเจ้าจะถูกนำกลับไปยังอัลลอฮฺในวันนั้น แต่ละชีวิตจะถูกตอบแทนโดยครบถ้วนตามที่ชีวิตนั้นได้แสวงหาไว้ และพวกเขาจะไดไม่ถูกอธรรม

เมื่อโองการข้างต้นได้ถูกประทานลงมา ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า ให้นำไปบันทึกในซูเราะฮฺ อัล บะเกาะเราะฮฺ หลังจากนั้นสองสามวันท่านก็ได้อำลาจากโลกไป

อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺแรกที่ถูกประทานให้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือ ซูเราะฮฺ อัลอะลัก

อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺสมบูรณ์ที่ถูกประทานให้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็น

ซูเราะฮฺสุดท้ายคือ ซูเราะฮฺ อัลนัศรฺ

๑๕๑

วันที่อัล-กุรอานเริ่มประทานลงมาเป็นครั้งแรกแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือ ลัยละตุลก็อดรฺ (คํ่าคืนแห่งอานุภาพ) ซึ่งอาจเป็นคํ่าที่ ๒๓ ของเดือนรอมฎอน

นักวิชาการบางท่านมีความเชื่อเรื่อง การประทานอัล-กุรอานทั้งดัฟอียฺ (ลงมาในคราวเดียวกันทั้งหมด) และตัดรีญียฺ (ทยอยลงมาตลอด ๒๓ ปี)

จำนวนอักษรที่ถูกใช้ในอัล-กุรอาน ๓๒๑๒๕๐ ตัว

จำนวนคำที่ถูกใช้ในอัล-กุรอาน ๗๗๔๓๗ คำ

จำนวนโองการที่มีในอัล-กุรอาน ๖๒๓๖ โองการ

จำนวนซูเราะฮฺที่มีในอัล กุรอาน ๑๑๔ ซูเราะฮฺ

จำนวนฮิซบฺต่างๆ ที่มีในอัล กุรอาน ๑๒๐ (ทุกๆ ๔ ฮิซบฺเท่ากับ ๑ ญุซอ์)

จำนวนญุซที่มีในอัล กุรอาน ๓๐ ญุซอ์

คำที่อยู่ตรงกลางอัล-กุรอานคือ (وليتلطف ) บท อัลกะฮฺฟิ โองการที่ ๑๙

การบันทึกอัล-กุรอาน บนสื่อต่างๆ ที่จัดหาได้ในยุคสมัยนั้นได้แก่ ไม้จากต้นอินทผลัม หินอ่อนสีขาว กระดูกช่วงหัวไหล่ของอูฐ ใบไม้ หรือหญ้า หรือหนังสัตว์ บางครั้งใช้ใยไหม หรือผ้าก็มี

๑๕๒

ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากแหล่งข้อมูลต่อไปนี้

๑. การวิจัยอัล-กุรอาน ในประวัติศาสตร์ ซัยยิดมุฮัมมัดบากิร ฮุจญะตีย์ พิมพ์ที่สำนักพิมพ์ ฝ่ายวัฒนธรรมอิสลาม ปี ๑๓๗๕ สุริยคติ

๒. อัตตัมฮีด ฟีอุลูมิลกุรอาน อายะตุลลอฮฺ ฮาดียฺ มะอฺริฟัต ( ๗ เล่ม) (ภาษาอาหรับ)

๓. ตารีค อุลูมิลกุรอาน อบุลฟัฎล์ มีรมุฮัมมะดียฺ (ภาษาอาหรับ)

๔. อัลบัยยาน ฟี ตัฟซีริลกุรอาน อายะตุลลอฮฺ คูอีย์ (ภาษาอาหรับ)

๕. อุลูมกุรอาน ซัยยิดมฮัมมัดบากิร ฮะกีม (ภาษาอาหรับ)

******************

๑๕๓

สารบัญ

คำนำ

หมวดที่ ๑. การอ่านอัล-กุรอานจากตัวบท

บทที่ ๑. การอ่านอัล-กุรอาน

การให้ความสำคัญต่อการอ่านอัล-กุรอาน

มารยาทการอ่านอัล-กุรอาน

มารยาทด้านนอกในการอ่านอัล-กุรอาน

หมวดที่ ๒ มารยาทด้านในของการอ่านอัล-กุรอาน ๔๔

บทที่ ๒ การท่องจำอัล-กุรอาน ๖๑

อัล-กุรอาน คือ พจนารถที่ล้ำลึกของอัลลอฮฺ ๖๑

ประโยชน์ของการท่องจำอัล-กุรอาน ๖๒

มารยาทภายในของการท่องจำ ๖๗

มารยาทภายนอกของการท่องจำ ๖๘

ทำจิตใจให้สงบ ๗๑

การฝึกฝนความจำ ๗๑

การใส่ใจต่อความเป็นระเบียบในการท่องจำ ๗๒

การอ่านและฟังอัล-กุรอานมากๆ ๗๒

การเข้าร่วมชุมนุมกับนักท่องจำอัล-กุรอาน ๗๒

การท่องจำชื่อซูเราะฮฺต่างๆ ๗๓

ท่องจำโองการที่กล่าวซ้ำหรือที่คล้ายคลึงกัน ๗๔

การเรียนรู้กฎไวยากรณ์ภาษาอาหรับ ๗๔

ให้ท่องจำที่ละน้อยแต่จำให้ดี ๗๔

ประเมินความสามารถของตัวเอง ๗๕

สถานที่เหมาะสมต่อการท่องจำ ๗๕

ช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการท่องจำ ๗๖

การท่องจำอัล-กุรอานและมองอัล-กุรอานเวลาอ่านไม่ขัดแย้งกัน ๗๖

แก้ไขข้อคลางแคลง ๗๗

ฝึกฝนและอ่านซ้ำ ๗๘

ท่องจำหมายเลขและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ๗๘

การป้องกันการลืมโองการ ๗๘

๓. แนวทางในการท่องจำ ๘๐

ข้อควรพิจารณา ๘๐

ค. แนวทางหลักสำหรับการท่องจำอัล-กุรอาน ๘๑

ข้อควรพิจารณา ๘๑

ง. การท่องจำอัล-กุรอานและเด็ก ๘๑

หมวดที่ ๓ ผลสะท้อนของอัล-กุรอานที่มีต่อมนุษย์ ๘๓

ก. การส่งผลในการอ่านอัล-กุรอาน ๘๓

เป็นการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ๘๓

เป็นการเปิดประตูแห่งการเคารพภักดี ๘๓

เป็นการปิดประตูบาป ๘๔

รางวัลของผู้อ่านอัล-กุรอานคือดุอาอฺถูกยอมรับ ๘๕

อัล-กุรอานเป็นสาเหตุให้อีหม่านเพิ่มพูน ๘๕

อัล-กุรอานเป็นชะฟาอฺ ๘๖

การชี้นำของพระผู้เป็นเจ้า ๘๗

ทำความสะอาดภายในและสร้างสรรค์จิตวิญญาณ ๘๗

ความสะอาดตามชัรอียฺ ๘๘

อนามัยส่วนตัว ๘๘

กลายเป็นชาวกุรอาน ๘๘

ความคิดจะเติบโต ๘๙

เป็นการอิบาดะฮฺทางสายตา ๘๙

ส่งผลต่อการเลี้ยงดูบุตร ๘๙

เป็นการชำระล้างบาปต่าง ๆ ๙๐

ทำให้ปลอดภัยจากไฟนรก ๙๐

เป็นการสนทนากับพระผู้เป็นเจ้า ๙๐

การอ่านอัล-กุรอานทำให้จิตใจมีชีวิตชีวา ๙๐

การอ่านอัล-กุรอานเป็นอุปสรรคในการทำอนาจารทั้งหลาย ๙๐

ข. ผลการอ่านอัล-กุรอานที่เกิดกับชีวิตทางสังคม ๙๑

เป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมอัล-กุรอานแก่สังคม ๙๑

การพบวิชาการสมัยใหม่และแนวทาง ๙๒

การประกวดแข่งขันอัล-กุรอานอย่างต่อเนื่อง ๙๒

ทำให้ภาษาอัล-กุรอานเติบโตมากขึ้น ๙๒

ผลของการยอมรับการเรียนรู้อัล-กุรอาน ๙๓

อัล-กุรอานเป็นยาบาบัดอาการป่วยไข้ของสังคม ๙๓

เพื่อการช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากการตั้งภาคีเทียบเคียงกับพระเจ้า ๙๕

การช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากให้รอดพ้นจากบิดเบือน ๙๕

หมวดที่ ๔ ผลสะท้อนของการท่องจำอัล-กุรอานที่มีต่อมนุษย์และสังคม ๙๖

หมวดที่ ๕ ขั้นตอนการรู้จักอัล-กุรอาน ๙๘

ซูเราะฮฺในความหมายของนักปราชญ์ ๑๔๕

การเรียงซูเราะฮฺ ๑๔๕

การตั้งชื่อซูเราะฮฺ ๑๔๖

๑๕๔