การรู้จักอัล-กุรอาน

การรู้จักอัล-กุรอาน0%

การรู้จักอัล-กุรอาน ผู้เขียน:
ผู้แปล: เชคชรีฟ เกตุสมบูรณ์
กลุ่ม: ห้องสมุดกุรอาน
หน้าต่างๆ: 154

การรู้จักอัล-กุรอาน

ผู้เขียน: ฮุจญฺตุลอิสลาม ดร. มุฮัมมัดอะลี ริฎอ เอซ ฟาฮานี
ผู้แปล: เชคชรีฟ เกตุสมบูรณ์
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 154
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 44595
ดาวน์โหลด: 3726

รายละเอียด:

การรู้จักอัล-กุรอาน
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 154 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 44595 / ดาวน์โหลด: 3726
ขนาด ขนาด ขนาด
การรู้จักอัล-กุรอาน

การรู้จักอัล-กุรอาน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

ชื่อหนังสือ : การรู้จักอัล-กุรอาน

Intimacy with the Quran

เขียนโดย : ฮุจญฺตุลอิสลาม ดร. มุฮัมมัดอะลี ริฎอ เอซ ฟาฮานี

Author: Hujjatolislam Dr. Muhammad Ali Reza Esfahan

แปลโดย : เชคชรีฟ เกตุสมบูรณ์

Translated by: Shiek Sharif Ketsomboon

จัดพิมพ์และเรียบเรียงในรูปแบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ออนไลน์ โดย เว็บไซต์อัลฮะซะนัยน์

WWW .Alhassanain.org/thai/

คำนำ

มวลการสรรเสริญแด่อัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงเกรียงไกรยิ่ง

ขอประสาทพรแด่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และวงศ์วานผู้บริสุทธิ์ของท่าน(อ)

ข้าพเจ้าพยายามอย่างยิ่งที่จะเขียนหนังสือเกี่ยวกับอัล-กุรอานในแง่มุมต่างๆ เพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่และความมหัศจรรย์ของอัล-กุรอาน ประกอบกับต้องการให้สังคมได้บริโภคความรู้ที่หลากหลาย

หนังสือเล่มดังกล่าวเป็นหนึ่งในผลงานที่ข้าพเจ้าต้องการถ่ายทอดออกสู่สังคม เพื่อต้องการลดช่องว่างระหว่างเยาวชนกับอัล-กุรอานให้น้อยลง

การเจริญพระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน สามารถนับย้อนหลังไปยังประวัติศาสตร์ของอัล-กุรอาน หมายถึง นับตั้งแต่วันแรกที่อัล-กุรอานถูกประทานลงมา จะพบว่ามีมุสลิมกลุ่มหนึ่งเฝ้าติดตามการอ่านและการเรียนรู้อัล-กุรอาน อย่างใกล้ชิด จนกระทั่งมีนักท่องจำอัล-กุรอาน เกิดขึ้นหลายคนในยุคนั้น เช่น ท่านอิมามอะลี (อ.) และนักท่องจำอัล-กุรอานที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน

บรรดามุสลิมได้ถือปฏิบัติตามคำสั่งของอัล-กุรอานที่ว่า

จงอ่านอัล-กุรอาน ตามที่เจ้ามีความสามารถเถิด

(อัลมุซซัมมิล / 20)

فَاقْرَؤُوا مَا تَيَسَّرَ مِنَ الْقُرْآنِ

และด้วยคำแนะนำจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ประกอบกับความรู้สึกในหน้าที่ของตนที่มีต่ออัล-กุรอาน มุสลิมจึงอ่านอัล-กุรอานกันอย่างถ้วนหน้า

แบบอย่างอันดีงามนี้ยังคงถูกรักษาไว้อย่างดีในหมู่มวลมุสลิมทั้งหลาย

การอ่านและท่องจำอัล-กุรอาน มิใช่ว่าถูกลืมเลือนไปจากสังคม ทว่ากลับทวีคูณขึ้นและได้รับความสนใจจากบรรดามุสลิมเป็นจำนวนมาก พร้อมกับมีการนำเสนอแบบและวิธีการอ่านใหม่ๆ มากมาย

การให้ความสนใจของบรรดามุสลิมที่มีต่อัล-กุรอาน เป็นสาเหตุให้เกิดวิชาการใหม่ๆ ในหมู่มุสลิม เช่น วิชาการด้านการอ่านอัล-กุรอาน

(อิลมฺตัจญฺวิด) ซึ่งนับได้ว่าเป็นสาขาวิชาที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง คู่ควรแก่การค้นคว้าและวิจัย และเคียงคู่กับวิชาการอ่านอัล-กุรอานนั้น

ได้มีวิชามารยาทในการอ่านอัล-กุรอาน และการท่องจำเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน นอกจากนั้นแล้วยังมีหนังสือและตำราจำนวนมากที่เขียนเกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้น

หนังสือเล่มที่อยู่ในมือของท่านผู้อ่านที่รักทั้งหลายกล่าวถึงความประเสริฐ เงื่อนไข บทนำ มารยาทภายนอกและภายในของการอ่านอัล-กุรอาน และการท่องจำอัล-กุรอาน รวมถึงการแนะแนวในการอ่านและการท่องจำ

แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงประเด็นเหล่านั้น จำเป็นต้องกล่าวถึงประเด็นต่อไปนี้เสียก่อน

1. ในหนังสือเล่มนี้ส่วนใหญ่ใช้โองการและรายงานที่เชื่อถือได้เท่านั้น เนื่องจากเรื่องมารยาทในการอ่านอัล-กุรอาน นั้นมีรายงานจำนวนมากกล่าวถึง

2. ความหมายในเชิงภาษา ความหมายของนักปราชญ์ด้านการอ่าน ตลอดจนผลของการอ่านและการท่องจำอัล-กุรอาน ได้กล่าวไว้ในบทแยกต่างหาก ดังนั้น จะไม่ถูกอธิบายในหนังสือเล่มนี้ จะกล่าวถึงเท่าที่มีความจำเป็นเท่านั้น

ฮุจญตุลอิสลาม ดร. มุฮัมมัดอะลี ริฎออีย์ เอซฟาฮานียฺ

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงปรานียิ่งเสมอ

หมวดที่ 1. การอ่านอัล-กุรอานจากตัวบท

บทที่ 1. การอ่านอัล-กุรอาน

การให้ความสำคัญต่อการอ่านอัล-กุรอาน

จะมีสิ่งใดสวยงามไปกว่าการที่มนุษย์ได้รำพันพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้า การเข้าสู่พระองค์ด้วยการอ่านโองการต่างๆ ของพระองค์ และ

การพันธนะการตนเองให้เข้ากับความเมตตาของพระองค์

ถ้าหากไม่มีความโปรดปรานใดถูกประทานลงมาให้มนุษย์ นอกจากการอนุญาตให้อ่านพระดำรัสของพระองค์เพียงอย่างเดียว เท่านี้ก็ถือว่าเพียงพอแล้วต่อการที่มนุษย์จะซัจดะฮฺขอบคุณพระองค์ตลอดไป

แน่นอนการรู้จักพระดำรัสของพระองค์ และการได้อ่านถ้อยคำเหล่านั้นเป็นความโปรดปรานที่ยิ่งใหญ่ที่พระองค์ได้มอบให้กับบ่าวบางคนของพระองค์ ดังนั้น จะเห็นว่าโองการแรกที่ถูกประทานให้กับท่านศาสดา

(ซ็อล ฯ) กล่าวว่า

จงอ่านด้วยพระนามแห่งพระผู้อภิบาลของเจ้า ผู้ทรงบังเกิด ทรงบังเกิดมนุษย์จากก้อนเลือด จงอ่านเถิด และพระเจ้าของเจ้านั้นผู้ทรงใจบุญยิ่ง( 1)

( 1) อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล-อะลัก 1-3)

โองการอัล-กุรอานและฮะดีษจำนวนมากมายจากอิมามมะอฺซูม (อ.) ได้กล่าวเน้นเรื่องการอ่านอัล-กุรอาน และได้เตือนสำทับในรูปแบบต่างๆ ถึงความสำคัญในการอ่าน

อัล-กุรอานกล่าวว่า ดังนั้นสูเจ้าจงอ่านอัล-กุรอานตามสะดวกเถิด ( 2)

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า อัล-กุรอานเป็นเสมือนงานเลี้ยงของพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้นท่านจงตักตวงตามความสามารถ ( 3)

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า เป็นการดีสาหรับผู้ศรัทธาที่จะไม่ตายจนกว่าจะได้เรียนรู้อัล-กุรอาน หรืออยู่ระหว่างการเรียนรู้ ( 4)

ท่านอิมาม (อ.) ยังได้กล่าวต่ออีกว่า ระดับของสรวงสวรรค์ขึ้นอยู่กับจำนวนโองการอัล-กุรอาน ดังนั้น จะมีเสียงกล่าวกับนักอ่านอัล-กุรอานว่า

จงขึ้นมา ( 5)

-------------------------------------------------

( 2 )ซูเราะฮฺ อัล-มุซซัมมิล/ 20)

( 3) มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่ม 2 หน้า 74)

( 4 )อุซูลุลกาฟียฺ เล่มที่ 8 หน้าที่ 444 พิมพ์ที่ มักตะบะตุล อิสลามียะฮฺ)

( 5 )มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่มที่ 8 หน้าที่ 74)

มารยาทการอ่านอัล-กุรอาน

อาดาบ ความหมายตามพจนานุกรมหมายถึง การรักษาขอบเขตของทุกสิ่ง

ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่านักตัฟซีรบางท่านกล่าวว่า อาดาบหมายถึง ลักษณะ หรือภาพลักษณ์อันเป็นที่ยอมรับ (วิธีการที่ดี) และมีความเหมาะสมที่จะปฏิบัติตามทั้งในแง่ของศาสนาและสติปัญญา ( 1)

( 1) ตัฟซีรอัล-มีซาน เล่มที่ 6 หน้าที่ 4 / 273)

ดังนั้น อาดาบ (มารยาท) ของงานทุกอย่างจึงหมายถึง ลักษณะและภาพลักษณ์ที่ดีที่ถูกปฏิบัติ และมนุษย์ไม่สามารถผิดกฎหรือออกนอกขอบเขตได้

อัล-กุรอานได้กล่าวถึงอาดาบ (มารยาท) อันเป็นแหล่งและเป็นแก่นแห่งความปรารถนาไว้อย่างกว้างขวาง ประกอบกับคำแนะนำของอิมามผู้บริสุทธิ์ เช่น

1. เป็นคำสั่งของอัล-กุรอาน เช่น ให้สงบและนิ่งเงียบเมื่ออ่านกุรอาน

2. คำแนะนำของบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ) เกี่ยวกับการอ่านอัล-กุรอาน เช่น กล่าวบิซมิลลาฮฺ หรื่อกล่าวดุอาอฺทั้งก่อนและหลังการอ่าน

3. คำตัดสินของสติปัญญา และบรรดานักปราชญ์ทั้งหลายที่ว่าต้องให้เกียรติต่ออัล-กุรอาน และต้องป้องกันการดูถูกที่อาจเกิดขึ้นเพื่อการใช้ประโยชน์ที่ลึกซึ้งและดีกว่า

4. การตัดสินของจิตใจ เนื่องจากความรักทีมีต่อพระองค์ จึงมีความรักต่อพระดำรัสของพระองค์ หมายถึงมนุษย์ส่วนใหญ่มักรักสิ่งที่มีความสวยงาม และยอมจำนนต่อความสวยงาม ซึ่งสิ่งที่มีความสวยงามที่สุดคืออัลลอฮฺ และทุกสิ่งที่เป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ ดังนั้น อัล-กุรอานเป็นพระดำรัสของพระองค์จึงเป็นหนึ่งในความสวยงามที่สุด

ด้วยเหตุนี้ มนุษย์จึงมีความรักในพระดำรัสของพระองค์ ให้เกียรติ แสดงความนอบน้อม และอ่านอย่างไพเราะ และบนพื้นฐานดังกล่าว จะเห็นว่ามารยาทในการอ่านอัล-กุรอานเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เหมือนการงานอย่างอื่นทีมีความสำคัญ ที่การเริ่มต้น และมีเงื่อนไขต่างๆ มากมาย ซึ่งเรียกสิงเหล่านี้ว่า อาดาบ (มารยาท) การอ่านอัล- กุรอาน เนื่องจากว่าเป็นการแสดงตน ณ พระพักตร์ของพระองค์ มารยาทจึงเป็นสิ่งจำเป็น

มารยาทการอ่านอัล-กุรอานแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ มารยาทด้านนอก และมารยาทด้านใน

มารยาทด้านนอกในการอ่านอัล-กุรอาน

เป็นธรรมดาเมื่อคนเราอยู่ต่อหน้าบุคคลสำคัญจำเป็นต้องแสดงมารยาทที่ดีงามเพื่อเป็นการให้เกียรติและให้ความเคารพต่อบุคคลนั้น

การอ่านอัล-กุรอานถือเป็นหนึ่งในการให้เกียรติต่ออัล-กุรอาน

และพระผู้เป็นเจ้าของดำรัส หมายถึงอัลลอฮฺ (ซบ.) เนื่องจากการอ่าน

อัล-กุรอานเท่ากับเป็นการสนทนากับพระองค์

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า บุคคลใดปรารถนาจะพูดคุยกับอัลลอฮฺ

อีกนัยหนึ่ง ผู้อ่านอัล-กุรอานนั้น ถือว่าเป็นผู้สนทนาร่วมระหว่างตนกับ อัลลอฮฺ (ซบ.) ดังนั้น เมื่ออัลลอฮฺ (ซบ.) สนทนาด้วยจำเป็นต้องใส่ใจต่อบทนำ มารยาทและเงื่อนไขต่างๆ ในการอ่านอัล-กุรอาน เพื่อว่าผู้อ่านจะได้รับประโยชน์มากที่สุด(1)

( 1 )กันซุลอุมาล เล่มที่ 11 ฮะดีซที่ 2257 หน้าที่ 510)

และที่สำคัญไปกว่านั้นเพื่อว่าจะได้อยู่ในความเมตตาและความรักของพระองค์ มารยาทภายนอกทั่วไปในการอ่านอัล-กุรอาน เช่น

1. ความสะอาด (วุฎูอฺหรือฆุซลฺ)

อัล-กุรอานกล่าวว่า ไม่มีผู้ใดสัมผัสอัล-กุรอานได้ นอกจากบรรดาผู้บริสุทธิ์เท่านั้น ( 1)

(1).อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล - วากิอะฮฺ / 79 )

ด้วยเหตุนี้ บางริวายะฮฺ และฟิกฮฺบางเล่มได้ถือโองการข้างต้นเป็นพื้นฐานพิสูจน์ว่า การสัมผัสอัล-กุรอานขณะที่ร่างกายปราศจากวุฎูอฺเป็นฮะรอม( 2)

(2)มุซตัมซัก อัล - อุรวะตุลวุซกอ ซัยยิดมุฮฺซิน เฏาะบา เฏาะบาอียฺ ฮะกีม เล่มที่ 2 หน้าที่ 272 , วะซาอิลุชชีอะฮฺ บาบที่ 12 บาบวุฎูอฺ ฮะดีซที่ 3)

ความสะอาดของผู้อ่านเป็นมารยาทสำคัญเมื่ออยู่ต่อหน้าอัล-กุรอาน เพราะเป็นพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้า การให้เกียรติและแสดงความนอบน้อมถือเป็นความจำเป็นสำหรับผู้อ่านทุกคน และสำหรับความสะอาดนั้นสามารถจำแนกออกเป็น วุฎูและฆุซลฺวาญิบ ทุกครั้งที่ต้องการสัมผัส

อัล-กุรอานเป็นวาญิบต้องทำวุฎ แต่ถ้ามีญูนุบหรือสตรีที่หมดรอบเดือนเป็นวาญิบต้องฆุซลฺก่อน

วุฎูอฺและฆุซลฺมุซตะฮับ วุฎูอฺถือเป็นเงื่อนไขที่สมบูรณ์สำหรับการอ่านอัล-กุรอาน ดัวยเหตุนี้เมื่อต้องการควรมีวุฎุอฺ

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า ถ้าบุคคลใดอ่านอัล-กุรอานนอกเวลานมาซ โดยมีวุฎูอฺจะได้รับผลบุญ 25 ความดี ส่วนผู้ที่อ่านโดยไม่มีวุฎูอฺจะได้รับ 10 ความดี ( 1)

(1) มะฮัจตุลบัยฎอ เล่มที่ 2 หน้าที่ 221 , วะซาอิลุชชีอะฮฺ บาบที่ 13 อับวาบกะรออะตุลกุรอาน กิตาบุซเซาะลาฮฺ ฮะดีซที่ 3

2. การให้ความสาคัญต่อสุขภาพ (ความสะอาด)

ประเด็นดังกล่าวสามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้

ความสะอาดของปาก ริวายะฮฺกล่าวว่า คุณสมบัติพิเศษประการหนึ่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือท่านจะแปรงฟันก่อนทุกครั้ง ก่อนอิบาดะฮฺโดยเฉพาะอย่างยิ่งอ่านอัล-กุรอาน และนมาซศอลาตุลลัยลฺ

๑๐

ท่านได้กล่าวกับบรรดาสาวกของท่านว่า

พวกท่านทั้งหลายจงทำความสะอาดทางเดินของอัล-กุรอาน

มีผู้ถามว่า โอ้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ท่านหมายถึงสิ่งใดหรือ

ท่านตอบว่า มันคือปากกาของพวกท่าน

มีผู้ถามว่า เราจะทำความสะอาดด้วยวิธีใด

ท่านตอบว่า ด้วยการแปรงฟัน ( 2)

(2 ) มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่มที่ 8 หน้าที่ 85, 86

ความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้า เป็นการดีขณะอ่านอัล-กุรอาน ร่างกายและเสื้อผ้าต้องสะอาดปราศจากนะยิซ เช่น เลือด ปัสสาวะ และอื่น ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้อัล-กุรอานเปื้อนนะยิซและถูกดูถูก และเป็นการดีสำหรับผู้อ่านอัล-กุรอานควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด สุภาพ และใส่นํ้าหอมเพื่อเป็นแบบอย่างแก่คนอื่นทั่วไป

3. ดุอาอฺก่อนอ่านอัล-กุรอาน

สำหรับการปฏิบัติภารกิจทั้งหลาย การเตรียมพร้อมถือเป็นความจำเป็น ดังนั้นการที่มนุษย์จะเข้าสู่อัล-กุรอานเป็นการดีควรมีการเตรียมพร้อมตนเองเสียก่อน ซึ่งการเตรียมพร้อมสามารถสัมฤทธิ์ผลได้โดยผ่านสื่อของดุอาอฺ

๑๑

บรรดาอิมาม (อ.) ได้แนะนำดุอาอฺไว้มากมายสำหรับเริ่มต้นอ่าน

อัล-กุรอาน เช่น ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า

اللَّهُمَّ إِنِّي أَشْهَدُ أَنَّ هَذَا كِتَابُكَ الْمُنْزَلُ مِنْ عِنْدِكَ عَلَى رَسُولِكَ مُحَمَّدِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَ آلِهِ وَ كِتَابُكَ النَّاطِقُ عَلَى لِسَانِ رَسُولِكَ وَ فِيهِ حُكْمُكَ وَ شَرَائِعُ دِينِكَ أَنْزَلْتَهُ عَلَى نَبِيِّكَ وَ جَعَلْتَهُ عَهْداً مِنْكَ إِلَى خَلْقِكَ وَ حَبْلًا مُتَّصِلًا فِيمَا بَيْنَكَ وَ بَيْنَ عِبَادِكَ اللَّهُمَّ إِنِّي نَشَرْتُ عَهْدَكَ وَ كِتَابَكَ اللَّهُمَّ فَاجْعَلْ نَظَرِي فِيهِ عِبَادَةً وَ قِرَاءَتِي تَفَكُّراً وَ فِكْرِي اعْتِبَاراً

โอ้ อัลลอฮฺ แท้จริงข้าพระองค์ขอเป็นสักขีพยานว่า แท้จริงนี่คือคัมภีร์ของพระองค์ที่ถูกประทานจากพระองค์ ยังศาสนทูตของพระองค์ มุฮัมมัด บิน อับดุลลอฮฺ ขออัลลอฮฺทรงประสาทพรแด่ท่านและลูกหลานของท่าน ถ้อยคำของพระองค์ที่เอื้อนเอ่ยโดยคำพูดของศาสนดาแห่งพระองค์

ขอทรงโปรดบันดาลให้ถ้อยคำเป็นเครื่องชี้นำจากพระองค์ แก่บรรดาสิ่งถูกสร้างของพระองค์ และเป็นสายเชือกที่ผูกสัมพันธ์ระหว่างพระองค์กับ

ปวงบ่าวของพระองค์ โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงข้าพระองค์ได้แผ่ขยายสัญญาของพระองค์ และคัมภีร์ของพระองค์

โอ้อัลลอฮฺ ดังนั้น โปรดทรงบันดาลให้การมองคัมภีร์ของข้าฯ เป็นอิบาดะฮฺ และการอ่านคัมภีร์ของข้าฯ เป็นการคิดใคร่ครวญ และโปรดทำให้การคิดของข้าฯ เป็นอุทาหรณ์เตือนสติ..

๑๒

4. การขอความคุ้มครองจากพระผู้เป็นเจ้า (อิซติอาซะฮฺ)

อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า ดังนั้น เมื่อเจ้าอ่านอัล-กรุอาน จงขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้พ้นจากชัยฏอนมารร้ายที่ถูกสาปแช่ง ( 1)

( 1) อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล-นะฮฺลิ / 98

อิซติอาซะฮฺ เป็นพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้าแก่บรรดานักอ่าน

อัล-กุรอานทั้งหลาย ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก่อนที่จะอ่านอัล-กุรอาน ท่านจะกล่าวว่า

อะอูซุบิลลาฮิมินัชชัยฏอนิรเราะญีม

( اَعُوذ بِالله مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيْمِ )

ข้าฯขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้พ้นจากชัยฏอนมารร้ายที่ถูกสาปแช่ง

อิซติอาอะฮฺ ในพจนานุกรม หมายถึง การขอความคุ้มครอง

ส่วนในความหมายของนักปราชญ์ หมายถึงผู้อ่านอัล-กุรอานก่อนที่จะเริ่มอ่านอัล-กุรอานไม่ว่าตรงส่วนไหนของอัล-กุรอานก็ตาม (เริ่มต้น ตรงกลาง หรือตอนท้ายของซูเราะฮฺ) ก่อนบิซมิลลาฮฺ จะกล่าวว่า

อะอูซุบิลลาฮิมินัชชัยฏอนิรเราะญีม หมายถึง

ข้าฯขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้พ้นจากชัยฏอนมารร้ายที่ถูกสาปแช่ง

๑๓

ด้วยเหตุนี้ ก่อนอ่านอัล-กุรอานจึงทูลขอกับอัลลอฮฺ (ซบ.) ว่า

โปรดคุ้มครองตนให้พ้นจากความชั่วของชัยฏอนมารร้ายที่ถูกสาปแช่ง เพื่อมิให้การอ่านของตนเป็นการโอ้อวด หรือเป็นการแสดงเอาหน้าเอาตา

ขณะที่อ่านต้องการให้จิตใจมีความนอบน้อมมุ่งมั่นแต่อัลลอฮฺ (ซบ.) เพื่อให้อัล-กุรอานมีผลต่อจิตวิญญาณของตน

คำเตือน อิซติอาซะฮฺมี 2 ส่วนคือ ความหมายตามคำ กับความหมายที่แท้จริง หมายถึง บางครั้งมนุษย์ขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ด้วยความสมบูรณ์ แต่จิตใจมิได้เป็นเช่นนั้น และในบางครั้งแค่กล่าวคำเท่านั้น แต่การมีอยู่ทั้งหมดได้นอบน้อม ยอมจำนน และขอความคุ้มครองเฉพาะพระองค์เท่านั้น

อิสติอาซะฮฺ ต้องแสดงออกอย่างแท้จริงเพื่อให้เกิดผล อัลลอฮฺ (ซบ.)

จะได้ให้ความคุ้มครองและปรับปรุงแก้ไขเรา

การขอความคุ้มครองที่แท้จริง ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า ท่านทั้งหลาย จงปิดประตูการละเมิดฝ่าฝืนด้วยการขอความคุ้มครอง

(อิซติอาซะฮฺ) และจงเปิดประตูแห่งการเชื่อฟังปฏิบัติตาม (ฏออะฮฺ) ด้วยการกล่าวบิซมิลลาฮฺ

๑๔

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ลองพิจารณาคำพูดของท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) กล่าวว่า ส่วนหนึ่งจากมารยาทที่สำคัญของการอ่านอัล-กุรอานคือ การขอความคุ้มครองจากพระผู้เป็นเจ้าให้พ้นจากชัยฏอนมารร้ายผู้ถูกสาปแช่ง ซึ่งเป็นขวากหนามในหนทางแห่งมะอฺริฟะฮฺ (การรู้จัก) และการเดินทางไปสู่พระผู้เป็นเจ้า การขอความคุ้มครองจะไม่สัมฤทธิ์ผลเพียงแค่การกระดิกลิ้น รูปคำที่ไร้วิญญาณ และดุนยาที่ปราศจากอาคิเราะฮฺ ดังเช่นที่มีบุคคลจำนวนมากที่กล่าวคำๆ นี้ตลอดระยะเวลา 40-50 ปี

แต่พวกเขากลับไม่รอดพ้นจากความชั่วร้ายของชัยฏอนมารร้าย

ในทางกลับกัน มารยาทต่าง ๆ และการกระทำของพวกเขายิ่งไปกว่านั้น ตวามเชื่อถือต่าง ๆ ของเขากลับดำเนินและปฏิบัติตามชัยฏอนมารร้าย ( 1)

( 1 )อาดาบุซเซาะลาฮฺ อิมามโคมัยนี หน้าที่ 221

5. การกล่าวบิซมิลลาฮิรเราะมานิรเราะฮีม

อัล-กุรอานได้มีบัญชาแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า จงอ่านด้วยพระนามแห่งพระผู้อภิบาลของเจ้า ( 1)

( 1) อัล-กุรอานอาน ซูเราะฮฺ อัล-อะลัก/ 1

บิซมิลลาฮฺ คือคำขวัญที่บริสุทธิ์เฉพาะมวลมุสลิมทีจะเริ่มต้นคำพูดและการงานต่างๆ ของตน เพื่อให้การงานเหล่านั้นมีสัญลักษณ์ของพระผู้เป็นเจ้า

๑๕

เกี่ยวกับอัล-กุรอานมี 2 ประเด็นสาคัญดังต่อไปนี้

1. บิซมิลลาฮฺ ในส่วนเริ่มต้นของทุกซูเราะฮฺ เป็นส่วนหนึ่งของโองการอัล-กุรอาน เฉพาะซูเราะฮฺบะรออะฮฺเท่านั้นที่ไม่มี บิซมิลลาฮฺ จากจุดนี้เมื่อขึ้นซูเราะฮฺใหม่ทุกครั้งจำเป็นต้องอ่านบิซมิลลาฮฺทุกครั้ง เนื่องถือเป็นโองการแรกของซูเราะฮฺ ยกเว้นซูเราะฮฺบะรออะฮฺ

2. กรณีที่เริ่มต้นอ่านจากตรงกลางซูเราะฮฺ (ระหว่างโองการต่างๆ) ไม่ว่าซูเราะฮฺใดก็ตามสามารถกล่าวหรือไม่กล่าวบิซมิลลาฮฺก็ได้

ข้อควรพิจารณา ไม่ว่าจะเริ่มต้นอ่านตรงส่วนใดของอัล-กุรอานก็ตามจำเป็นต้องเริ่มต้นด้วย อะอูซุบิลลาฮิมินัชชัยฏอนิรเราะญีม

หมายถึง ถ้าผู้อ่านต้องการกล่าวบิซมิลลาฮฺ เป็นการดีให้กล่าว อิซติอาซะฮฺก่อน

6. การอ่านจากอัล-กุรอาน

ริวายะฮฺจำนวนได้แจ้งว่าควรอ่านอัล-กุรอานจากที่เขียนไว้ เซาะฮาบะฮฺท่านหนึ่งของท่านอิมามซอดิก (อ.) นามว่า อิสฮาก บิน อัมมารได้ถามท่านว่า โอ้บุตรของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ฉันควรจะอ่านอัล-กุรอานจากความจำหรือจากที่บันทึกไว้ดี

๑๖

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า มองและอ่านจากที่เขียนไว้ดีกว่า ท่านไม่รู้ดอกหรือว่าการมองอัล-กุรอานเป็นอิบาดะฮฺ ( 1)

(1) อุซูล อัล กาฟีย์ เล่มที่ 2 หน้าที่ 4,613 ฮะดีษที่ 5 ดารุลกุตุบ

อัลอิสลามียะฮฺ เตหะราน

เกี่ยวกับเรื่องการเน้นให้อ่านอัล-กุรอานจากที่บันทึกไว้มีรายงานมากมายและแตกต่างกัน

1. การมองอัล-กุรอานเป็นอิบาดะฮฺ: และสายตาที่จ้องมองอัล-กุรอานจะได้รับประโยชน์มากมาย ดังเช่น

.ริวายะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า

النظرفي المصحف يعنى صحيفة القرآن عبادة

การมองในมุซฮับ หมายถึงการมองที่หน้ากระดาษของอัล-กุรอาน

เป็นอิบาดะฮฺ ( 2)

( 2) บิฮารุลอันวาร อัลลามะฮฺ มัจลิซซียฺ เล่มที่ 89 หน้าที่ 199

จากริวายะฮฺดังกล่าว จะเห็นว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับคนที่อ่านไม่เป็นเขียนไม่ได้ เนื่องจากไม่สามารถอ่านอัล-กุรอานแต่ได้รับประโยชน์จากการมอง

2. การให้ความสำคัญต่อสิทธิของอัล-กุรอาน:

อ่านและย้อนกลับไปหาอัล-กุรอานบ่อย ๆ เป็นการทำให้อัล-กุรอานที่อยู่ในบ้านและมัสญิดลดความแปลกหน้าลงไป

๑๗

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า สิ่งหนึ่งที่จะทำการร้องเรียนต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) คืออัล-กุรอานถึงการถูกทอดทิ้งที่ไม่ได้ถูกอ่านและถูกฝุ่นละอองเกาะจับ ( 3)

( 3) อุซูล อัล กาฟียฺ เล่มที่ 2 หน้าที่ 613 ฮะดีษที่ 3

3. การอ่านอัล-กุรอานจากที่บันทึกไว้เป็นสาเหตุทำให้บาปของบิดามารดาของคนอ่านถูกลบล้าง

ริวายะฮฺกล่าวว่า

عن ابي عبد الله : قرائة القرآن في المصحف تخفف العذاب عن الوالدين ولو

كانا كافرين

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า การอ่านอัล-กุรอานจากที่บันทึกไว้เป็นเหตุทำให้บาปของบิดามารดาถูกลบล้าง แม้ว่าทั้งสองจะเป็นกาฟิรก็ตาม( 1)

( 1) เล่มเดิม ฮะดีษที่ 4

4. ทำให้มีการพิมพ์อัล-กุรอานซํ้าหลายครั้ง ซึ่งสิ่งนี้เท่ากับเป็นการเผยแผ่วัฒนธรรมของอัล-กุรอาน

คำเตือน สำหรับผู้ที่ท่องจำอัล-กุรอานเป็นการดีให้ท่องจำจากที่บันทึกเอาไว้ ดังที่ท่านอิมามได้กล่าวกับอิสฮาก บิน อัมมาร ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการท่องจำ

๑๘

7. การอ่านอัล-กุรอาน ด้วยเสียงค่อยดังและสูงต่ำ

ก. อ่านด้วยเสียงดังและสูง

ริวายะฮฺกล่าวว่า ท่านอิมามซัจญาด (อ.) อ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงดังเสมอเพื่อให้คนในบ้านได้ยิน ท่านซักกอยาน ขณะที่เดินผ่านบ้านท่านอิมามบากิร (อ.) ท่านได้หยุดเพื่อฟังการอ่านอัล-กุรอาน สำหรับการอ่านอัล-กุรอานเสียงดังมีประโยชน์ดังต่อไปนี้

1. การอ่านอัล-กุรอานเสียงดังของบิดามารดา มีผลต่อการอบรมสั่งสอนบุตร

2. การอ่านอัล-กุรอานเสียงดัง เป็นสาเหตุทำให้มีความสำรวม และจิตใจสงบมั่น

3. การอ่านอัล-กุรอานเสียงดัง เป็นการรักษาความบกพร่อง และอาการป่วยไข้ของผู้อ่าน

4. การอ่านอัล-กุรอานเสียงดัง เป็นการเรียกร้องบุคคลอื่นให้สนใจ

อัล-กุรอาน และทำให้มีผลสะท้อนทางจิตวิญญาณ

5. การอ่านอัล-กุรอานเสียงดัง เท่ากับเป็นการทำให้วัฒนธรรมของ

อัล-กุรอานแพร่หลายในสังคม

6. การอ่านอัล-กุรอานเสียงดัง ซูเราะฮฺอัลฮัมด์ และซูเราะฮฺในนะมาซ

ซุบฮฺ มัฆริบ และอิชาอฺเป็นวาญิบสำหรับผู้ชาย

๑๙

ข. การอ่านอัล-กุรอานเสียงค่อย จำเป็นสาหรับกรณีต่อไปนี้

1. เมื่ออ่านอัล-กุรอานเสียงดัง เป็นสาเหตุทำให้เกิดการโอ้อวด ซึ่งสิ่งนี้เป็นการกระทำที่ไม่มีคุณค่าแต่อย่างใด

2. เมื่ออ่านอัล-กุรอานเสียงดัง เป็นสาเหตุสร้างความรำคาญแก่ผู้อื่น เช่น อ่านขณะที่บุคคลอื่นกำลังพักผ่อน หรือเพื่อนบ้านกำลังนอนหลับ อ่านในมัสญิด หรืออ่านขณะที่บุคคลอื่นกำลังอิบาดะฮฺ

3. เมื่ออ่านอัล-กุรอานเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย เนื่องจากการทำให้ร่างกายเป็นอันตรายไม่ว่าด้วยวิธีการใดก็ตามเป็นฮะรอม ส่วนการอ่านอัล-กุรอานเป็นมุซตะฮับ

4. การอ่านอัล-กุรอานเสียงค่อยในนะมาซซุฮรฺ และอัซรฺสำหรับบุรุษและสตรีเป็นวาญิบ ส่วนสตรีนั้นไม่ว่าเวลานะมาซใดก็ตามถ้ามีชายอื่นอยู่ด้วยไม่อนุญาตให้อ่านเสียงดัง

8. การอ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงไพเราะ

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า แน่นอนการอ่าน อัล-กุรอาน ด้วยเสียงไพเราะถือว่าเป็นเครื่องประดับของอัล-กุรอาน

انّ حسن الصوت زينةالقرآن

การอ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงไพเราะเป็นสาเหตุให้บุคคลอื่นสนใจ

อัล-กุรอาน ด้วยเหตุนี้จึงเห็นว่าท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) มักอ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงไพเราะเสมอ จนกระทั่งกล่าวกันว่าเสียงอ่านอัล-กุรอานที่ไพเราะที่สุดคือเสียงของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)

๒๐