การรู้จักอัล-กุรอาน

การรู้จักอัล-กุรอาน0%

การรู้จักอัล-กุรอาน ผู้เขียน:
ผู้แปล: เชคชรีฟ เกตุสมบูรณ์
กลุ่ม: ห้องสมุดกุรอาน
หน้าต่างๆ: 154

การรู้จักอัล-กุรอาน

ผู้เขียน: ฮุจญฺตุลอิสลาม ดร. มุฮัมมัดอะลี ริฎอ เอซ ฟาฮานี
ผู้แปล: เชคชรีฟ เกตุสมบูรณ์
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 154
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 44618
ดาวน์โหลด: 3727

รายละเอียด:

การรู้จักอัล-กุรอาน
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 154 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 44618 / ดาวน์โหลด: 3727
ขนาด ขนาด ขนาด
การรู้จักอัล-กุรอาน

การรู้จักอัล-กุรอาน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

บทที่ 2 การท่องจำอัล-กุรอาน

อัล-กุรอาน คือ พจนารถที่ล้ำลึกของอัลลอฮฺ

การท่องจำอัล-กุรอานแสดงให้เห็นถึงความผูกพันที่แท้จริงระหว่างมนุษย์กับอัล-กุรอาน เนื่องจากอัล-กุรอานเป็นความโปรดปรานหนึ่งที่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้รับเสมอไป ทว่าต้องเป็นความสัมฤทธิผลที่พระองค์ทรงประทานให้บางคนที่เป็นบ่าวที่รักของพระองค์

การท่องจำอัล-กุรอานเป็นพลังดึงดูดที่สถิตย์อยู่ในจิตใจของคนที่รักพระองค์ ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่าเมื่อต้องการดุอาอฺเกี่ยวกับอัล-กุรอานให้ ดุอาอฺว่า โอ้ข้าแต่พระผู้เป้นเจ้า ขอพระองค์ทรงประทานให้เราเป็นผู้ที่รักการท่องจำ และอ่านอัล-กุรอานไพเราะด้วยเถิด( 1)

1อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2 บาบดุอาอฺ หน้า 574

ฉะนั้น เป็นสิ่งที่ดีอย่างมากถ้าหากเยาวชนได้มีการวางแผนเพื่อท่องจำอัล-กุรอาน และสร้างความมักคุ้นกับอัล-กุรอานให้มากที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ บทนี้จะขอกล่าวถึงวิธีการและประโยชน์ของการท่องจำอัล-กุรอาน

๖๑

ประโยชน์ของการท่องจำอัล-กุรอาน

การท่องจำอัล-กุรอานมีความประเสริฐมากมายดังที่ได้นำเสนอริวายะฮฺไว้ในบทก่อนหน้านี้แล้ว บทนี้จะนำเสนอประโยชน์ของการท่องจำ

อัล-กุรอานในเชิงสรุปดังนี้

1. ได้ร่วมทางไปพร้อมกับผู้ถือสาส์นของอัลลอฮฺ

พระองค์ทรงตรัสไว้ในอัล-กุรอานว่า

كَلَّا إِنَّهَا تَذْكِرَةٌ ﴿۱۱ ﴾فَمَن شَاء ذَكَرَهُ ﴿ ۱۲ ﴾ في صُحُفٍ مُّكَرَّمَةٍ ﴿ ۱۳ ﴾

مَّرْفُوعَةٍ مُّطَهَّرَةٍ ﴿۱۴ ﴾ بِأَيْدِي سَفَرَةٍ ﴿ ۱۵ ﴾ كِرَامٍ بَرَرَةٍ ﴿ ۱۶ ﴾

หามิได้ (มิได้เป็นดั่งที่คิด) แท้จริงอัล-กุรอานเป็นข้อเตือนใจ ดังนั้น ผู้ใดประสงค์ก็ให้รับข้อเตือนใจนั้น ซึ่งมีอยู่ในคัมภีร์อันทรงเกียรติ ที่ได้รับการเทิดทูนได้รับความบริสุทธิ์ ด้วยมือของเทวทูตผู้ทรงเกียรติ ทรงคุณธรรม ( 1)

1อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อะบะซะ 11-16

อิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า นักท่องจำอัล-กุรอานถ้าหากปฏิบัติตาม

อัล-กุรอานเขาจะได้อยู่ร่วมกับเทวทูตผู้ทรงเกียรติและทรงคุณธรรมของอัลลอฮฺ (ซบ.) ( 2)

2อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้า 603

๖๒

คำพูดของอิมาม (อ.) เป็นการสนับสนุนอัล-กุรอานที่กล่าวข้างต้น หมายถึงบรรดานักท่องจำอัล-กุรอานที่ปฏิบัติตนเคร่งครัดตามโองการต่าง ๆ จะได้อยู่ร่วมกับมลาอิกะฮฺผู้มีความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ (ซบ.)

2. จะได้รับฐานันดรที่สูงส่งที่สุดของสวรรค์

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า ฐานันดรของสวรรค์มีจำนวนเท่ากับโองการอัล-กุรอาน เมื่อมวลมิตรของอัล-กุรอานได้เข้าสวรรค์ จะมีเสียงกล่าวกับเขาว่า จงขึ้นมาข้างบนและจงอ่านอัล-กุรอานเถิด เพราะแต่ละโองการคือฐานันดรของสวรรค์ ด้วยเหตุนี้ จะไม่มีฐานันดรใดสูงไปกว่าฐานันดรของนักท่องจำอัล- กุรอาน( 1)

1บิฮารุลอันวาร เล่ม 89 หน้า 22

อีกด้านหนึ่งจะพบว่าสวรรค์จะประทานให้กับบุคคลที่ประพฤติคุณงามความดี และมีจิตใจที่สูงส่ง ดังนั้น ถ้ามนุษย์ยิ่งประกอบคุณงามความดีและมีจิตใจสูงส่งมากเท่าใด ฐานันดรในสวรรค์ของเขาก็จะสูงส่งตามไปด้วย

บุคคลที่ท่องจำอัล-กุรอานทั้งเล่ม เท่ากับได้รับฐานันดรทั้งหมดของสวรรค์ ( 6236 โองการ) เท่ากับเป็นผู้ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง สถานที่พำนักของเขาใกล้ชิดอัลลอฮฺ (ซบ.)

๖๓

3. ห่างไกลจากการลงโทษ

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่ทรงลงโทษบุคคลที่หัวใจของเขาเปี่ยมล้นไปด้วยอัล-กุรอาน ( 2)

2วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 4 หน้า 825

จุดประสงค์ของหัวใจในอัล-กุรอานและริวายะฮฺหมายถึง จิตวิญญาณของมนุษย์นั่นเอง ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าหัวใจของคนเรานั้นเปลี่ยนแปลงเร็วมาก

หัวใจที่อยู่กับอัล-กุรอาน หรือหัวใจที่ท่องจำอัล-กุรอาน หรือจิตวิญญาณที่เป็นปรากฏการณ์ของอัล-กุรอานเท่ากับถูกย้อมด้วยสีสันของอัลลอฮฺ (ซบ.) จะได้รับความโปรดปราน และความกรุณาจากพระองค์ตลอดเวลา อีกด้านหนึ่งเมื่อได้รับความโปรดปรานจากพระองค์ก็ย่อมห่างไกลจากการลงโทษของพระองค์อย่างแน่นอน

4. รางวัลสองประการสำหรับความยากลาบากในการท่องจำอัล-กุรอาน

นักท่องจำบางคนมีความรวดเร็วและสามารถท่องจำได้เร็วกว่านักท่องจำคนอื่นๆ ซึ่งนักท่องจำบางท่านต้องท่องด้วยความยากลำบากกว่าจะประสบความสำเร็จในการท่องจำ ซึ่งนักท่องจำประเภทนี้ย่อมไดัรับผลบุญมากกว่า เนื่องจากลำบากมากกว่าในวิถีทางของอัลลอฮฺ (ซบ.)

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า บุคคลที่ได้อุทิศตนเพื่ออัล-กุรอาน และได้ท่องจำอัล-กุรอานด้วยความยากลำบาก เขาจะได้รับรางวัล 2 ประการ ( 1)

1อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้า 606

๖๔

5. การท่องจำ คือ ปฐมบทในการปฏิบัติตามอัล-กุรอาน

การอ่าน การท่องจำ และความเข้าใจเกี่ยวกับอัล-กุรอานทั้งหมดมีความสำคัญแตกต่างกันออกไป แต่สิ่งนั้นไม่ใช่เป้าหมายสุดท้ายของ

อัล-กุรอาน เป็นเพียงปฐมบทที่นำไปสู่การปฏิบัติตามอัล-กุรอาน

อิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า นักท่องจำอัล-กุรอานถ้าหากปฏิบัติตาม

อัล- กุรอานเขาจะได้อยู่ร่วมกับเทวทูตผู้ทรงเกียรติและทรงคุณธรรมของอัลลอฮฺ (ซบ.) ( 2)

2อ้างแล้วเล่มเดิม

ดังนั้น เงื่อนไขที่สมบูรณ์ของการท่องจำอัล-กุรอานคือ การปฏิบัติ

อัล- กุรอาน หมายถึงนักท่องจำต้องเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นภาพลักษณ์ที่แท้จริงของอัล-กุรอาน กล่าวคือเหมือนกับที่อัล-กุรอานได้ปรากฏบนหัวใจและลิ้นของเขา ต้องปรากฏออกมาเป็นการกระทำและความประพฤติของตนด้วย

บุคคลที่ท่องจำอัล-กุรอาน ถ้าปฏิบัติตามอัล-กุรอานด้วยความเคารพและความรักละก็ จะทำให้ตนก้าวหน้าไปอยู่ในตำแหน่งที่ว่า อัล-กุรอานจะจดจำและปกป้องตน และจะนำไปสู่จุดหมายที่แท้จริงของอัล-กุรอาน

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า อัล-กุรอานเป็นพาหนะให้บุคคลที่ปฏิบัติตามอัล-กุรอาน (นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คุฏบะฮฺที่ 1981)

๖๕

6. ปรากฏผลการท่องจาอัล-กุรอานที่ลิ้น

บางครั้งการท่องจำอัล-กุรอานมีประโยชน์ในด้านอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำพูดของมนุษย์ อย่างเช่น

1. ทำให้มีวาทศิลป์ในการพูด เนื่องจากอัล-กุรอานเป็นภาษาอาหรับที่ชัดเจนและมีความกระจ่างทั้งภาษาและความหมาย ดังนั้น บุคคลที่ท่องจำอัล- กุรอานและมีการฝึกฝนอยู่เสมอ จะทำให้คำพูดของเขาชัดเจนตามไปด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ คำพูดของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่กล่าวไว้ในนะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ

2. มีความสามารถในการพิสูจน์เหตุผลได้อย่างดี บุคคลที่มีความคุ้นเคยอยู่กับอัล-กุรอาน เขาสามารถนำอัล-กุรอานมาอ้างอิงเป็นเหตุผลในการพูดปราศรัย สอนหนังสือ หรือพูดวิพากษ์กัน ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้สามารถดูได้จากคำพูดของ ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) บรรดาอิมาม (อ.) ผู้บริสุทธิ์

ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) ท่านหญิงซัยนับ (อ.) และอะฮฺลุลบัยตฺท่านอื่น ๆ

3. ความสำเร็จในการรำลึกถึงอัลลอฮฺ (ซบ.) บุคคลที่มุ่งมั่นอยู่กับการท่องจำอัล-กุรอาน ทำให้คำพูดของเขาสรรเสริญอัลลอฮฺอยู่ตลอดเวลา และสิ่งนี้นับเป็นความโปรดปรานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ดังทีท่านอิมามอะลี (อ.) ได้รำพันไว้ในดุอาอฺกุเมลว่า โอ้ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดทำให้ลิ้นของข้าฯกล่าวรำลึกถึงพระองค์ตลอดเวลาด้วยเถิด

๖๖

ข. มารยาทในการท่องจำอัล-กุรอาน (ตัวการสาคัญที่ทำให้ประสบความสาเร็จ)

ไม่ว่าภารกิจใดก็ตามย่อมมีเงื่อนไขและบทนำพิเศษเป็นของตนเอง

ซึ่งการรู้จักบทนำเหล่านั้นจะทำให้ประสบกับความสำเร็จเร็วยิ่งขึ้น

ในทางตรงกันข้ามถ้าหากไม่รู้จักย่อมทำให้เกิดความเหนื่อยหน่าย หรือไม่ประสบกับความสำเร็จ

ฉะนั้น ขอกล่าวถึงบทนำสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการท่องจำอัล-กุรอาน ดังนี้

1. มารยาทภายในของการท่องจำ

ดังที่กล่าวไปแล้วเกี่ยวกับมารยาทของการอ่านอัล-กุรอานว่าสิ่งใดสามารถทำให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งมารยาทที่เป็นผลต่อการอ่าน

อัล-กุรอานก็เป็นผลต่อการท่องจำเช่นกัน ณ ที่นี้จะขอกล่าวแต่นามของตัวการเพียงอย่างเดียว ได้แก่

- ความบริสุทธิ์ใจ

- การเอาใจใส่ในความหมาย (การมีจิตใจแน่วแน่)

- การใตร่ตรองในความหมายของโองการ

- การนอบน้อมถ่อมตน

- การเป็นตัวแทนในการอ่านอัล-กุรอานเพื่ออุทิศผลบุญให้กับผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอะอิมมะฮฺ (อ.)

- การประยุกต์อัล-กุรอานมาใช้ในชีวิตประจำวัน

- การให้ความพิเศษและความก้าวหน้า

๖๗

2. มารยาทภายนอกของการท่องจำ

แน่นอนว่าการท่องจำอัล-กุรอานต้องดำเนินไปพร้อมกับการอ่าน

อัล- กุรอาน ดังนั้น เงื่อนไขต่าง ๆ ที่อธิบายไว้แล้วตอนอ่านอัล-กุรอาน ก็ถือว่ามีผลใช้สำหรับการท่องจำด้วยเช่นกัน ณ ที่นี้จะขอกล่าวแต่นามแต่เพียงอย่างเดียว ได้แก่

- ความสะอาด (วุฎูอฺ ฆุซลฺ)

- การให้ความสำคัญต่อสุขภาพ (ความสะอาด)

- ดุอาอฺก่อนอ่านอัล-กุรอาน

- การขอความคุ้มครองจากพระผู้เป็นเจ้า (อิซติอาซะฮฺ)

- การกล่าวบิสมิลลาฮิรเราะมานิรเราะฮีม

- การอ่านจากอัล-กุรอาน

- การอ่านอัล-กุรอาน ด้วยเสียงค่อยดังและสูงตํ่า

- การอ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงไพเราะ

- การอ่านอัล-กุรอานด้วยสำเนียงอาหรับ

- สถานที่อ่านอัล-กุรอาน

- ช่วงเวลาอ่านอัล-กุรอาน

- ระวังเรื่องการให้เกียรติอัล-กุรอาน

- ซัจดะฮฺขณะอ่านบทที่มีโองการซัจดะฮฺ

- อ่านด้วยความใจเย็น

- อ่านอัล-กุรอานอย่างคนมีความรัก

- วิธีการจบอัล-กุรอานด้วยการกล่าว เศาะดะก็อลลอฮุลอะลียุลอะซีม

- การอ่านอัล-กุรอานให้จบพร้อมดุอาอฺจบอัล-กุรอาน

๖๘

นอกจากที่กล่าวมาแล้ว การใส่ใจต่อประเด็นเล็กๆ น้อย ๆ ต่อไปนี้ก็ถือว่ามีผลอย่างยิ่งต่อการท่องจำอัล-กุรอาน กล่าวคือ สามารถท่องจำอัล-กุรอานได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นได้แก่

1. การตั้งอุดมการณ์ให้ตนเอง

มนุษย์ถ้าปราศจากอุดมการณ์ก็ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่การงานได้ แต่ถ้าปฏิบัติก็ไม่อาจทำให้เสร็จสมบูรณ์ได้ แตกต่างไปจากการงานที่มีเจตนาและอุดมการณ์ในการกระทำ

โดยปกติผู้ศรัทธาทุกคนมีใจรักที่จะท่องจำอัล-กุรอาน แต่แตกต่างกันตรงที่บางคนมีอุดมการณ์และความมุ่งมั่นในการเริ่มต้น ขณะที่บางคนนั้นไม่มี

สำหรับบุคคลที่ไม่มีอุดมการณ์ในการท่องจำหรือมีแต่น้อย เป็นการดีต้องใช้วิธีการอื่นสร้างอุดมการณ์ให้เกิดขึ้นภายในจิตตนให้ได้ ซึ่งประเด็นต่อไปนี้สามารถช่วยได้อย่างดี

- สร้างความคุ้นเคยและความรักที่จะท่องจำอัล-กุรอาน

- ศึกษาประวัตินักท่องจำหรือนักอ่านที่ประสบความสำเร็จ

- ศึกษาริวายะฮฺที่กล่าวถึงความประเสริฐในการท่องจำและการ

อัล- กุรอาน

- เริ่มความคิดสร้างสรรเกี่ยวกับการท่องจำและผลในการท่องจำ

2. การเลือกอัล-กุรอานฉบับใดฉบับหนึ่ง

๖๙

อัล-กุรอานบางเล่มอาจมีความแตกต่างในเรื่องการพิมพ์ รูปเล่ม ตัวอักษร สัญลักษณ์ และวิธีการจัดพิมพ์ และบางครั้งมีการพิมพ์ผิดพลาด ดังนั้น

การท่องจำจากอัล-กุรอานจากหลายฉบับเป็นสาเหตุให้นักท่องจำเบื่อหน่ายเร็วและอาจมีความผิดพลาดเรื่องโองการได้

ฉะนั้น จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักท่องต้องเลือกอัล-กุรอานฉบับที่ถูกต้องและได้มาตรฐานที่สุด และที่สำคัญต้องนำติดตัวไว้ตลอดเพื่อให้เกิดความมุ่งมั่นบนตัวอักษร ซึ่งบางท่านได้แนะนำว่าให้ใช้อัล-กุรอานที่เป็นลายมือของ อุสมาน ฏอฮา เพราะเป็นอัล-กุรอานที่ได้มาตรฐานในการพิมพ์มากที่สุด

3. มีสมาธิ (อย่าใจลอย)

การมีสมาธิต่างไปจากการมุ่งมั่นซึ่งเป็นมารยาทภายในของการท่องจำ การมีสมาธิหมายถึง การรวมพลังในการท่องจำไว้ที่จุดเดียวกัน อย่าใจลอยหรือคิดถึงเรื่องอื่นสอดแทรกในการท่องจำ

การใจลอยในการท่องจำอัล-กุรอานเป็นสาเหตุทำให้มีความผิดพลาด และทำให้ขาดความรวดเร็วในการท่องจำ วิธีรักษาไม่ให้ใจลอยใน

การท่องจำอัล-กุรอานมีหลายวิธี แต่วิธีที่ดีที่สุดคือ การจำเรื่องราวที่เป็นคติสอนใจ หรือการเล่นที่เป็นวิชาการ การจำสิ่งของภายในห้องจำนวนมากมายภายในเวลา 3นาที หลังจากนั้นให้เขียนชื่อสิ่งของเหล่านั้นลงกระดาษ ซึ่ง

การทำซํ้ากันหลาย ๆ ครั้งจะช่วยรักษาอาการใจลอยลงได้

๗๐

4. ทำจิตใจให้สงบ

การทำจิตใจให้สงบมีผลอย่างมากต่อการท่องจำอัล-กุรอาน การมีอารมณ์หงุดหงิด ขี้โมโหเป็นอุปสรรคในการท่องจำอย่างรวดเร็ว

นักวิชาการท่านหนึ่งอธิบายว่า ขณะท่องจำอัล-กุรอานถ้าปล่อยให้อารมณ์หงุดหงิดครอบงำ ฉะนั้น เมื่อใดก็ตามที่ย้อนกลับไปยังความจำของตนเองก็จะพบอารมณ์หงุดหงิดนั้นอีก

ฉะนั้น เป็นการดีถ้าเกิดอารมณ์หงุดหงิดให้หยุดพักการท่องจำไว้ก่อน และเมื่อใดที่จิตใจสงบแล้วค่อยเริ่มการท่องจำอัล-กุรอานใหม่อีกครั้ง

5. การฝึกฝนความจำ

เมื่อความจำพร้อมการท่องจำก็จะเป็นไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว

การฝึกฝนความจำมีหลายวิธีด้วยกันทั้งริวายะฮฺ และตำราต่างๆ ได้กล่าวถึงวิธีการไว้มากมาย ซึ่งบางที่กล่าวว่าตัวการสำคัญคือ สภาวะจิตด้านใน และวัตถุปัจจัยภายนอก เช่น การกินนํ้าผึ้ง การแปรงฟัน การอ่านอัล-กุรอาน

การกล่าวศอละวาต ออกห่างการทำบาป และการวางตารางงานประจำวันให้แก่ตนเอง

๗๑

6. การใส่ใจต่อความเป็นระเบียบในการท่องจำ

นักวิชาการบางท่านอธิบายว่าให้เริ่มต้นการท่องจำตั้งแต่แรกจนกระทั้งจบเล่ม เพื่อว่าพิธีการจบอัล-กุรอานจะได้จัดร่วมกับการท่องจำ ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้โครงสร้างอัล-กุรอานทั้งหมดอยู่ในความทรงจำของตนไปตลอดและจะทำให้ไม่ลืมที่ตนท่องจำไว้

บางท่านกล่าวว่า ดีกว่าให้เริ่มท่องจำที่ญุซอ์สุดท้ายก่อน หมายถึงให้เริ่มที่บทเล็ก ๆ เพื่อว่าจะได้มีกำลังใจในการท่องจำมากยิ่งขึ้น

7. การอ่านและฟังอัล-กุรอานมากๆ

บุคคลที่ตัดสินใจว่าจะท่องจำอัล-กุรอาน สิ่งจำเป็นที่ต้องกระทำก่อนท่องจำคือ การอ่านอัล-กุรอานซํ้าหลายๆ ครั้ง อ่านให้มากที่สุดและ

หาโอกาสฟังอัล-กุรอานบ่อยๆ เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยและสติปัญญาจะได้เตรียมพร้อมที่จะรับอัล-กุรอาน

8. การเข้าร่วมชุมนุมกับนักท่องจำอัล-กุรอาน

นักท่องจำอัล-กุรอานแม้ว่าจะประสบความสำเร้จในการท่องจำ แต่สิ่งหนึ่งที่จะปล่อยผ่านไปไม่ได้เด็ดขาดคือ การหาประสบการณ์และการขอความช่วยเหลือจากนักท่องจำรุ่นพี่ ฉะนั้น การเข้าร่วมชุมนุมกับนักท่องจำรุ่นพี่สามารถกล่าวได้ว่ามีประโยชน์อย่างยิ่ง เช่น

- เป็นการแลกเปลี่ยนความเข้าใจกันเกี่ยวกับท่องจำอัล-กุรอาน

- เป็นการแลกเปลี่ยนทัศนะกันเกี่ยวกับการท่องจำอัล-กุรอาน

๗๒

- เป็นการสร้างความเป็นพี่น้องด้วยอัล-กุรอาน

- เป็นการขจัดความคลางแคลงใจในการท่องจำของกันและกัน

9. สร้างความสัมพันธ์ทางปัญญากับทุกโองการ

นักท่องจำอัล-กุรอานจำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความจำของตนกับสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของโองการ หรือสร้างสัญลัษณ์ในสติปัญญาของตน เพื่อจะได้สามารถถ่ายทอดสัญลักษณ์เหล่านั้นลงบนโองการหรือคำที่เป็นเป้าหมายของตน

ถ้าไม่สนใจต่อสิ่งเหล่านี้จะเป็นสาเหตุทำให้ปัญญาของตนลืมอย่างรวดเร็ว ตัวอย่าง เช่น ให้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโองการที่ความสงสัย กับประเด็นที่มีความสงสัยกับชื่อซูเราะฮฺ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของซูเราะฮฺกับความหมายของโองการ โดยให้เลือกคำที่มีความหมายดีที่สุดของโองการ

ข้อควรพิจารณา การใส่ใจในความหมายของโองการ การอธิบายโองการ หรือการศึกษาสาเหตุของการประทานโองการมีผลอย่างมากต่อการท่องจำอัล-กุรอานและทำให้โองการดังกล่าวอยู่ในความทรงจำได้นานที่สุด

10. การท่องจำชื่อซูเราะฮฺต่างๆ

เป็นความจำเป็นสำหรับนักท่องจำอัล-กุรอานทั้งหลาย ก่อนจะเริ่มจำเป็นต้องท่องชื่อซูเราะฮฺทั้ง 114 ซูเราะฮฺเสียก่อน กล่าวคือ

ให้ท่องจำที่ละ 5 ซูเราะฮฺเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ จนครบ

๗๓

11. ท่องจำโองการที่กล่าวซ้ำหรือที่คล้ายคลึงกัน

การท่องจำโองการเหล่านี้ต้องระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษ และต้องอ่านซํ้ามากกว่าโองการอื่นๆ เพื่อให้มีความผิดพลาดน้อยที่สุดและที่สำคัญต้องจดไว้ว่าโองการดังกล่าวคล้ายกับอัล-กุรอานโองการใดบ้าง

12. การเรียนรู้กฎไวยากรณ์ภาษาอาหรับ

การเรียนรู้ภาษาอาหรับและกฎไวยากรณ์เป็นสาเหตุทำให้นักท่องจำ

ไม่ค่อยมีความผิดพลาดด้านการอ่านหรือการใส่สระที่คำ และยังเป็นสาเหตุทำให้การอ่านโองการที่มีความคลุมเครือผิดพลาดน้อยลง นอกจากนั้นไวยากรณ์ภาษาอาหรับยังช่วยทำให้มีความเข้าใจอัล-กุรอานดียิ่งขึ้น ซึ่งมีผลต่อการท่องจำอย่างยิ่ง

13. ให้ท่องจำที่ละน้อยแต่จำให้ดี

นักท่องจำหลายท่านพยายามบังคับตัวเองและนำความรู้ต่างๆ เข้ามารวมอยู่ในการท่องจำด้วย แน่นอนการทำเช่นนี้เป็นความสำเร็จช่วงสั้นๆ เท่านั้น ซึ่งเขาจะลืมในเวลาอันรวดเร็ว

ดังนั้น การท่องจำอัล-กุรอานควรจะท่องจำที่ละน้อยเหมาะสมกับความสามารถและเวลาของบุคคล

๗๔

14. ประเมินความสามารถของตัวเอง

บุคคลที่ต้องการท่องจำอัล-กุรอานโดยตรงสิ่งจำเป็นต้องปฏิบัติก่อน

- ต้องตรวจสอบความสามารถของตนเองก่อน

- ทดสอบระดับเสียงสูง กลาง และตํ่าของตนเอง

- ทดลองการอ่านเร็ว ปานกลาง และช้าของตนเอง

หลังจากนั้นให้เลือกระดับเสียง และวิธีการอ่านที่ดีที่สุดให้กับตนเอง

15. สถานที่เหมาะสมต่อการท่องจำ

สถานที่ท่องจำอัล-กุรอานควรเป็น

- สติปัญญาและความทรงจำควรมีอิสระและได้รับความสะบาย เพื่อว่าจะได้ถ่ายทอดความรู้สู่สติปัญญาอย่างง่ายดาย

- สถานที่นั้นไม่ควรรูปภาพหรือสีสันต่าง ๆ มากมายนักเพื่อให้มีจิตใจมั่นคง ไม่ใจลอยไปยังที่ต่างๆ

- ถ้าสามารถทำได้ให้เลือกสถานที่เตรียมไว้เฉพาะ สำหรับการท่องจำเพียงอย่างเดียว

ข้อควรพิจารณา ไม่ควรท่องจำอัล-กุรอานขณะเดินทางไปมา เนื่องจากในสภาพเช่นนั้นจิตใจไม่มั่นคงอยู่กับที่ เว้นเสียแต่ว่ามีความจำเป็นและไม่มีเวลาอื่นอีกแล้ว

๗๕

16. ช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการท่องจำ

ช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการท่องจำคือ ช่วงที่ไม่ได้ยุ่งกับภาระกิจอย่างอื่น เป็นช่วงที่จิตใจว่างปลอดโปร่งจากทุกปัญหา ฉะนั้น เวลาที่ดีทีสุดสำหรับการท่องจำคือ ตอนเช้าตรู่เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวจิตใจ และพลังความคิดได้รับการผักผ่อนอย่างเพียงพอ

ข้อควรพิจารณา การกำหนดเวลาที่แน่นอนตายตัว มีผลต่อการท่องจำอัล-กุรอานอย่างมาก

17. การท่องจำอัล-กุรอานและมองอัล-กุรอานเวลาอ่านไม่ขัดแย้งกัน

ผู้ถามได้ถามท่านอิมามซอดิก (อ.) ว่า ฉันท่องจำอัล-กุรอานทั้งเล่มจะให้ฉันอ่านปากเปล่าหรือว่าเวลาอ่านให้มองอัล-กุรอานดีกว่า

ท่านอิมาม (อ.) ตอบว่า ไม่ ทว่าเวลาอ่านเจ้าจงมองอัล-กุรอานดีกว่า เจ้าไม่รู้ดอกหรือว่าการมองอัล-กุรอานนั้นเป็นอิบาดะฮฺ

ท่านอิมามกล่าวต่อว่า บุคคลที่มองอัล-กุรอานเวลาอ่านสายตาของเขาจะได้รับประโยชน์ บาปของบิดามารดาจะได้รับการอภัย แม้ว่าท่านทั้งจะเป็นการฟิรก็ตาม (อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้าที่ 613 ฮะดีษที่ 5)

๗๖

ข้อควรพิจารณา นักท่องจำอัล-กุรอานมี 2 ประเภท

ประเภทที่ 1. บุคคลที่มุ่งมั่นอยู่กับการท่องจำอัล-กุรอาน แน่นอนว่าการฝึกฝนการท่องจำเป็นสิ่งจำเป็น ฉะนั้นจะต้องไม่มองอัล-กุรอาน เวลาอ่าน

ประเภทที่ 2. บุคคลที่ท่องจำสมบูรณ์ทั้งเล่มเป็นกลุ่มชนที่ริวายะฮฺข้างต้นได้กล่าวกับเขาว่า เวลาอ่านให้มองอัล-กุรอาน

แน่นอนการมองอัล-กุรอานเวลาอ่านนั้น มีประโยชน์มากมายดังที่

ริวายะฮฺข้างต้นได้อธิบายไว้ และนักปราชญ์อิสลามยังได้กล่าวสำทับไว้อีกว่านอกจากประโยชน์ดังกล่าวแล้ว ยังส่งผลให้มีการพิมพ์อัล-กุรอานอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นการป้องกันการสูญสลายของอัล-กุรอานในทางอ้อม

18. แก้ไขข้อคลางแคลง

นักท่องจำอัล-กุรอานเวลาท่องจำอาจจำคำหรือโองการผิดพลาด ซึ่ง

บางคนรู้ตัวและบางคนไม่รู้ตัว ดังนั้น เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดเหล่านั้นควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

1. ท่องอัล-กุรอานโดยให้คนอื่นตรวจสอบการอ่านของตนจาก

อัล-กุรอาน

2. คำที่อ่านผิดและอ่านติดปากอยู่เป็นประจำให้เขียนให้ถูก เพื่อว่าจะได้สร้างสัมพันธ์ระหว่างความทรงจำกับคำที่แก้ไขแล้ว

๗๗

3. คำที่จำผิดควรเขียนให้สวยงามและอ่านดังๆ ซํ้าไปซํ้ามาหลายๆ ครั้งเพื่อแทนที่คำที่จำผิดมาตลอด

19. ฝึกฝนและอ่านซ้ำ

การฝึกฝนและอ่านซํ้าใน 2 ระดับมีความจำเป็น

- ฝึกฝนก่อนที่จะท่องจำทั้งเล่มอันเป็นสาเหตุให้สมองจำโองการได้ทั้งหมด

- หลังจากท่องจำทั้งเล่มไม่ว่าจะนานเป็นเดือนหรือเป็นปีก็ตามให้อ่านซํ้าทุกวันเพื่อป้องกันการลืม

20. ท่องจำหมายเลขและสัญลักษณ์ต่าง ๆ

ถ้าสามารถท่องจำอัล-กุรอานพร้อมกับหมายเลขโองการ หน้า และชื่อบทต่างๆ หรือสัญลักษณ์อื่นๆ ถ้ามีจะเป็นการดีอย่างยิ่ง เนื่องจากจะทำให้ผู้ท่องจำลืมช้าเพราะสมองได้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโองการและสัญลักษณ์เหล่านั้นอย่างดี

21. การป้องกันการลืมโองการ

การลืมเป็นความโปรดปรานอย่างหนึ่งที่พระผู้เป็นเจ้าได้ประทานให้กับมนุษย์ มิฉะนั้นแล้วมนุษย์จะมีปัญหากับตนเองเนื่องจากสติปัญญาได้บันทึกเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นทุกเวลาและทุกวัน เช่น สมมุติว่าไม่เคยลืมความทุกข์หรือเรื่องเศร้าที่เกิดขึ้น เขาก็จะกลายเป็นคนเศร้าไปโดยปริยาย

๗๘

แต่ในบางครั้ง การลืมก็สร้างปัญหาให้กับมนุษย์ไม่น้อย เช่นกัน อย่างเช่นการท่องจำอัล-กุรอานเป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการนำเสนอวิธีป้องกันการลืมไว้ดังนี้ ตัวอย่าง ฝึกฝนหลังการท่องจำ จำสัญลักษณ์ต่างๆ หมายเลขโองการหรือเลขหน้าดังที่กล่าวมาแล้ว

ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้รายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า

ดุอาอฺดังต่อไปนี้ เป็นดุอาอฺที่ป้องกันการลืมได้อย่างดี

اللَّهُمَّ ارْحَمْنِي بِتَرْكِ الْمَعاصِي أَبَدًا مَا أبْقَيْتَنِي ، وَارْحَمْنِي مِنْ أَنْ أَتَكَلَّفَ مَا لاَ يَعْنيني ، وَارْزُقْني حُسْنَ النَّظرَ فِيمَا يُرْضِيكَ عَنِّي ، اللَّهُمَّ بَديعَ السَّمَواتِ وَالأرْضِ ذَا الجَلاَلِ وَالإكْرَامِ وَالعِزَّةِ الَّتِي لاَ تُرَامُ ، أَسْأَلُكَ يَا الله ، بِجَلالِكَ وَنُورِ وَجْهَكَ أَنْ تُلْزِمَ قَلْبِي حِفْظَ كِتَابِكَ كَما عَلَّمْتَنِي ، وَارْزُقْنِي أَنْ أَتْلُوَهُ عَلَى النَّحْوَ الَّذي يُرْضِيكَ عَنِّي ، وَأسْأَلَُكَ أَنْ تُنَوِّرَ بِالْكِتَابِ بَصَرِي ، وَتُطْلِقَ بِهِ لِسَانِي ، وَتُفْرِّجَ بِهِ عَنْ قَلْبِي ، وَتَشْرَحَ بِهِ صَدْرِي ، وَتَسْتَعْمِلَ بِهِ بَدَنِي ، وَتُقَوِّيني عَلَى ذَلِكَ ، وَتُعِينُني عَلَيْهِ ، فَإنَّهُ لاَ يُعينُني عَلَى الْخَيْر غَيْرُكَ وَلاَ يُوَفِّقُ لَهُ إِلَّا أَنْتَ

โอ้ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดเมตตาให้ข้าฯละทิ้งการทำบาปกับพระองค์ตลอดไปตราบที่พระองค์ให้ข้าฯดำรงอยู่ โปรดเมตตาข้าฯอย่าให้ประสบกับภาระที่ไม่ก่อประโยชน์แก่ข้าฯ โปรดประทานทัศนะที่ดีแก่ข้าฯ ในสิ่งที่จะทำให้พระองค์พึงพอพระทัยต่อข้าฯ โปรดบังคับหัวใจของข้าฯให้จดจำคัมภีร์ของพระองค์ดังที่พระองค์ได้ทรงสอนข้าฯ โปรดประทานให้ข้าฯได้อ่านคัมภีร์ตามวิธีที่พระองค์พึงพอพระทัยจากข้าฯ

๗๙

โอ้ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดบันดาลให้สายตาของข้าฯสว่างไสวด้วยคัมภีร์ของพระองค์ โปรดเปิดหัวอกของข้าฯด้วยอัล-กุรอาน โปรดทำให้หัวใจขอข้าฯเบิกบานด้วยอัล-กุรอาน โปรดให้ลิ้นของข้าฯพูดด้วยอัล-กุรอาน โปรดให้ร่างกายของข้าฯปฏิบัติตามอัล-กุรอาน โปรดให้ข้าฯเข็มแข็งในสิ่งนั้น โปรดช่วยเหลือข้าฯบนการกระทำนั้น แน่นอนไม่มีผู้ช่วยเหลืออื่นใดนอกจากพระองค์ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ ( 1)

1 อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้า 420

3. แนวทางในการท่องจำ

แนวทางในการท่องจำอัล-กุรอานสามารถแบ่งออกเป็น 3 แนวทาง ซึ่งบรรดานักท่องจำทั้งหลายสามารถตรวจสอบความสามารถ และพิจารณาเงื่อนไขแล้วแนวทางใดเหมาะสมกับตัวเองให้เลือกแนวทางนั้น

ข้อควรพิจารณา

การลอกเรียนแบบแนวทางในการท่องจำอัล-กุรอานเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งประสบการณ์ได้สอนให้รู้ว่า การลอกเรียนแบบเป็นวิธีการที่ไม่ยั่งยืนที่ไม่มีความมั่นคงแต่อย่างใด แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องสนใจประสบการณ์ของคนอื่น ทว่าหมายถึงนักท่องจำอัล-กุรอานต้องเลือกแนวทางที่เหมาะสมกับความสามารถให้กับตนเองและดำเนินตามแนวทางนั้นไปตลอด

๘๐