การรู้จักอัล-กุรอาน

การรู้จักอัล-กุรอาน12%

การรู้จักอัล-กุรอาน ผู้เขียน:
ผู้แปล: เชคชรีฟ เกตุสมบูรณ์
กลุ่ม: ห้องสมุดกุรอาน
หน้าต่างๆ: 154

การรู้จักอัล-กุรอาน
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 154 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 52028 / ดาวน์โหลด: 5898
ขนาด ขนาด ขนาด
การรู้จักอัล-กุรอาน

การรู้จักอัล-กุรอาน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

บทที่ ๒ การท่องจำอัล-กุรอาน

อัล-กุรอาน คือ พจนารถที่ล้ำลึกของอัลลอฮฺ

การท่องจำอัล-กุรอานแสดงให้เห็นถึงความผูกพันที่แท้จริงระหว่างมนุษย์กับอัล-กุรอาน เนื่องจากอัล-กุรอานเป็นความโปรดปรานหนึ่งที่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้รับเสมอไป ทว่าต้องเป็นความสัมฤทธิผลที่พระองค์ทรงประทานให้บางคนที่เป็นบ่าวที่รักของพระองค์

การท่องจำอัล-กุรอานเป็นพลังดึงดูดที่สถิตย์อยู่ในจิตใจของคนที่รักพระองค์ ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่าเมื่อต้องการดุอาอฺเกี่ยวกับอัล-กุรอานให้ ดุอาอฺว่า โอ้ข้าแต่พระผู้เป้นเจ้า ขอพระองค์ทรงประทานให้เราเป็นผู้ที่รักการท่องจำ และอ่านอัล-กุรอานไพเราะด้วยเถิด( ๑)

๑อุซูลกาฟียฺ เล่ม ๒ บาบดุอาอฺ หน้า ๕๗๔

ฉะนั้น เป็นสิ่งที่ดีอย่างมากถ้าหากเยาวชนได้มีการวางแผนเพื่อท่องจำอัล-กุรอาน และสร้างความมักคุ้นกับอัล-กุรอานให้มากที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ บทนี้จะขอกล่าวถึงวิธีการและประโยชน์ของการท่องจำอัล-กุรอาน

๖๑

ประโยชน์ของการท่องจำอัล-กุรอาน

การท่องจำอัล-กุรอานมีความประเสริฐมากมายดังที่ได้นำเสนอริวายะฮฺไว้ในบทก่อนหน้านี้แล้ว บทนี้จะนำเสนอประโยชน์ของการท่องจำ

อัล-กุรอานในเชิงสรุปดังนี้

๑. ได้ร่วมทางไปพร้อมกับผู้ถือสาส์นของอัลลอฮฺ

พระองค์ทรงตรัสไว้ในอัล-กุรอานว่า

كَلَّا إِنَّهَا تَذْكِرَةٌ ﴿۱۱ ﴾فَمَن شَاء ذَكَرَهُ ﴿ ۱۲ ﴾ في صُحُفٍ مُّكَرَّمَةٍ ﴿ ۱۳ ﴾

مَّرْفُوعَةٍ مُّطَهَّرَةٍ ﴿۱۴ ﴾ بِأَيْدِي سَفَرَةٍ ﴿ ۱۵ ﴾ كِرَامٍ بَرَرَةٍ ﴿ ۱۶ ﴾

หามิได้ (มิได้เป็นดั่งที่คิด) แท้จริงอัล-กุรอานเป็นข้อเตือนใจ ดังนั้น ผู้ใดประสงค์ก็ให้รับข้อเตือนใจนั้น ซึ่งมีอยู่ในคัมภีร์อันทรงเกียรติ ที่ได้รับการเทิดทูนได้รับความบริสุทธิ์ ด้วยมือของเทวทูตผู้ทรงเกียรติ ทรงคุณธรรม ( ๑)

๑อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อะบะซะ ๑๑-๑๖

อิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า นักท่องจำอัล-กุรอานถ้าหากปฏิบัติตาม

อัล-กุรอานเขาจะได้อยู่ร่วมกับเทวทูตผู้ทรงเกียรติและทรงคุณธรรมของอัลลอฮฺ (ซบ.) ( ๒)

๒อุซูลกาฟียฺ เล่ม ๒ หน้า ๖๐๓

๖๒

คำพูดของอิมาม (อ.) เป็นการสนับสนุนอัล-กุรอานที่กล่าวข้างต้น หมายถึงบรรดานักท่องจำอัล-กุรอานที่ปฏิบัติตนเคร่งครัดตามโองการต่าง ๆ จะได้อยู่ร่วมกับมลาอิกะฮฺผู้มีความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ (ซบ.)

๒. จะได้รับฐานันดรที่สูงส่งที่สุดของสวรรค์

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า ฐานันดรของสวรรค์มีจำนวนเท่ากับโองการอัล-กุรอาน เมื่อมวลมิตรของอัล-กุรอานได้เข้าสวรรค์ จะมีเสียงกล่าวกับเขาว่า จงขึ้นมาข้างบนและจงอ่านอัล-กุรอานเถิด เพราะแต่ละโองการคือฐานันดรของสวรรค์ ด้วยเหตุนี้ จะไม่มีฐานันดรใดสูงไปกว่าฐานันดรของนักท่องจำอัล- กุรอาน( ๑)

๑บิฮารุลอันวาร เล่ม ๘๙ หน้า ๒๒

อีกด้านหนึ่งจะพบว่าสวรรค์จะประทานให้กับบุคคลที่ประพฤติคุณงามความดี และมีจิตใจที่สูงส่ง ดังนั้น ถ้ามนุษย์ยิ่งประกอบคุณงามความดีและมีจิตใจสูงส่งมากเท่าใด ฐานันดรในสวรรค์ของเขาก็จะสูงส่งตามไปด้วย

บุคคลที่ท่องจำอัล-กุรอานทั้งเล่ม เท่ากับได้รับฐานันดรทั้งหมดของสวรรค์ ( ๖๒๓๖ โองการ) เท่ากับเป็นผู้ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง สถานที่พำนักของเขาใกล้ชิดอัลลอฮฺ (ซบ.)

๖๓

๓. ห่างไกลจากการลงโทษ

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่ทรงลงโทษบุคคลที่หัวใจของเขาเปี่ยมล้นไปด้วยอัล-กุรอาน ( ๒)

๒วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม ๔ หน้า ๘๒๕

จุดประสงค์ของหัวใจในอัล-กุรอานและริวายะฮฺหมายถึง จิตวิญญาณของมนุษย์นั่นเอง ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าหัวใจของคนเรานั้นเปลี่ยนแปลงเร็วมาก

หัวใจที่อยู่กับอัล-กุรอาน หรือหัวใจที่ท่องจำอัล-กุรอาน หรือจิตวิญญาณที่เป็นปรากฏการณ์ของอัล-กุรอานเท่ากับถูกย้อมด้วยสีสันของอัลลอฮฺ (ซบ.) จะได้รับความโปรดปราน และความกรุณาจากพระองค์ตลอดเวลา อีกด้านหนึ่งเมื่อได้รับความโปรดปรานจากพระองค์ก็ย่อมห่างไกลจากการลงโทษของพระองค์อย่างแน่นอน

๔. รางวัลสองประการสำหรับความยากลาบากในการท่องจำอัล-กุรอาน

นักท่องจำบางคนมีความรวดเร็วและสามารถท่องจำได้เร็วกว่านักท่องจำคนอื่นๆ ซึ่งนักท่องจำบางท่านต้องท่องด้วยความยากลำบากกว่าจะประสบความสำเร็จในการท่องจำ ซึ่งนักท่องจำประเภทนี้ย่อมไดัรับผลบุญมากกว่า เนื่องจากลำบากมากกว่าในวิถีทางของอัลลอฮฺ (ซบ.)

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า บุคคลที่ได้อุทิศตนเพื่ออัล-กุรอาน และได้ท่องจำอัล-กุรอานด้วยความยากลำบาก เขาจะได้รับรางวัล ๒ ประการ ( ๑)

๑อุซูลกาฟียฺ เล่ม ๒ หน้า ๖๐๖

๖๔

๕. การท่องจำ คือ ปฐมบทในการปฏิบัติตามอัล-กุรอาน

การอ่าน การท่องจำ และความเข้าใจเกี่ยวกับอัล-กุรอานทั้งหมดมีความสำคัญแตกต่างกันออกไป แต่สิ่งนั้นไม่ใช่เป้าหมายสุดท้ายของ

อัล-กุรอาน เป็นเพียงปฐมบทที่นำไปสู่การปฏิบัติตามอัล-กุรอาน

อิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า นักท่องจำอัล-กุรอานถ้าหากปฏิบัติตาม

อัล- กุรอานเขาจะได้อยู่ร่วมกับเทวทูตผู้ทรงเกียรติและทรงคุณธรรมของอัลลอฮฺ (ซบ.) ( ๒)

๒อ้างแล้วเล่มเดิม

ดังนั้น เงื่อนไขที่สมบูรณ์ของการท่องจำอัล-กุรอานคือ การปฏิบัติ

อัล- กุรอาน หมายถึงนักท่องจำต้องเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นภาพลักษณ์ที่แท้จริงของอัล-กุรอาน กล่าวคือเหมือนกับที่อัล-กุรอานได้ปรากฏบนหัวใจและลิ้นของเขา ต้องปรากฏออกมาเป็นการกระทำและความประพฤติของตนด้วย

บุคคลที่ท่องจำอัล-กุรอาน ถ้าปฏิบัติตามอัล-กุรอานด้วยความเคารพและความรักละก็ จะทำให้ตนก้าวหน้าไปอยู่ในตำแหน่งที่ว่า อัล-กุรอานจะจดจำและปกป้องตน และจะนำไปสู่จุดหมายที่แท้จริงของอัล-กุรอาน

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า อัล-กุรอานเป็นพาหนะให้บุคคลที่ปฏิบัติตามอัล-กุรอาน (นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คุฏบะฮฺที่ ๑๙๘๑)

๖๕

๖. ปรากฏผลการท่องจาอัล-กุรอานที่ลิ้น

บางครั้งการท่องจำอัล-กุรอานมีประโยชน์ในด้านอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำพูดของมนุษย์ อย่างเช่น

๑. ทำให้มีวาทศิลป์ในการพูด เนื่องจากอัล-กุรอานเป็นภาษาอาหรับที่ชัดเจนและมีความกระจ่างทั้งภาษาและความหมาย ดังนั้น บุคคลที่ท่องจำอัล- กุรอานและมีการฝึกฝนอยู่เสมอ จะทำให้คำพูดของเขาชัดเจนตามไปด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ คำพูดของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่กล่าวไว้ในนะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ

๒. มีความสามารถในการพิสูจน์เหตุผลได้อย่างดี บุคคลที่มีความคุ้นเคยอยู่กับอัล-กุรอาน เขาสามารถนำอัล-กุรอานมาอ้างอิงเป็นเหตุผลในการพูดปราศรัย สอนหนังสือ หรือพูดวิพากษ์กัน ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้สามารถดูได้จากคำพูดของ ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) บรรดาอิมาม (อ.) ผู้บริสุทธิ์

ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) ท่านหญิงซัยนับ (อ.) และอะฮฺลุลบัยตฺท่านอื่น ๆ

๓. ความสำเร็จในการรำลึกถึงอัลลอฮฺ (ซบ.) บุคคลที่มุ่งมั่นอยู่กับการท่องจำอัล-กุรอาน ทำให้คำพูดของเขาสรรเสริญอัลลอฮฺอยู่ตลอดเวลา และสิ่งนี้นับเป็นความโปรดปรานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ดังทีท่านอิมามอะลี (อ.) ได้รำพันไว้ในดุอาอฺกุเมลว่า โอ้ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดทำให้ลิ้นของข้าฯกล่าวรำลึกถึงพระองค์ตลอดเวลาด้วยเถิด

๖๖

ข. มารยาทในการท่องจำอัล-กุรอาน (ตัวการสาคัญที่ทำให้ประสบความสาเร็จ)

ไม่ว่าภารกิจใดก็ตามย่อมมีเงื่อนไขและบทนำพิเศษเป็นของตนเอง

ซึ่งการรู้จักบทนำเหล่านั้นจะทำให้ประสบกับความสำเร็จเร็วยิ่งขึ้น

ในทางตรงกันข้ามถ้าหากไม่รู้จักย่อมทำให้เกิดความเหนื่อยหน่าย หรือไม่ประสบกับความสำเร็จ

ฉะนั้น ขอกล่าวถึงบทนำสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการท่องจำอัล-กุรอาน ดังนี้

๑. มารยาทภายในของการท่องจำ

ดังที่กล่าวไปแล้วเกี่ยวกับมารยาทของการอ่านอัล-กุรอานว่าสิ่งใดสามารถทำให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งมารยาทที่เป็นผลต่อการอ่าน

อัล-กุรอานก็เป็นผลต่อการท่องจำเช่นกัน ณ ที่นี้จะขอกล่าวแต่นามของตัวการเพียงอย่างเดียว ได้แก่

- ความบริสุทธิ์ใจ

- การเอาใจใส่ในความหมาย (การมีจิตใจแน่วแน่)

- การใตร่ตรองในความหมายของโองการ

- การนอบน้อมถ่อมตน

- การเป็นตัวแทนในการอ่านอัล-กุรอานเพื่ออุทิศผลบุญให้กับผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอะอิมมะฮฺ (อ.)

- การประยุกต์อัล-กุรอานมาใช้ในชีวิตประจำวัน

- การให้ความพิเศษและความก้าวหน้า

๖๗

๒. มารยาทภายนอกของการท่องจำ

แน่นอนว่าการท่องจำอัล-กุรอานต้องดำเนินไปพร้อมกับการอ่าน

อัล- กุรอาน ดังนั้น เงื่อนไขต่าง ๆ ที่อธิบายไว้แล้วตอนอ่านอัล-กุรอาน ก็ถือว่ามีผลใช้สำหรับการท่องจำด้วยเช่นกัน ณ ที่นี้จะขอกล่าวแต่นามแต่เพียงอย่างเดียว ได้แก่

- ความสะอาด (วุฎูอฺ ฆุซลฺ)

- การให้ความสำคัญต่อสุขภาพ (ความสะอาด)

- ดุอาอฺก่อนอ่านอัล-กุรอาน

- การขอความคุ้มครองจากพระผู้เป็นเจ้า (อิซติอาซะฮฺ)

- การกล่าวบิสมิลลาฮิรเราะมานิรเราะฮีม

- การอ่านจากอัล-กุรอาน

- การอ่านอัล-กุรอาน ด้วยเสียงค่อยดังและสูงตํ่า

- การอ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงไพเราะ

- การอ่านอัล-กุรอานด้วยสำเนียงอาหรับ

- สถานที่อ่านอัล-กุรอาน

- ช่วงเวลาอ่านอัล-กุรอาน

- ระวังเรื่องการให้เกียรติอัล-กุรอาน

- ซัจดะฮฺขณะอ่านบทที่มีโองการซัจดะฮฺ

- อ่านด้วยความใจเย็น

- อ่านอัล-กุรอานอย่างคนมีความรัก

- วิธีการจบอัล-กุรอานด้วยการกล่าว เศาะดะก็อลลอฮุลอะลียุลอะซีม

- การอ่านอัล-กุรอานให้จบพร้อมดุอาอฺจบอัล-กุรอาน

๖๘

นอกจากที่กล่าวมาแล้ว การใส่ใจต่อประเด็นเล็กๆ น้อย ๆ ต่อไปนี้ก็ถือว่ามีผลอย่างยิ่งต่อการท่องจำอัล-กุรอาน กล่าวคือ สามารถท่องจำอัล-กุรอานได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นได้แก่

๑. การตั้งอุดมการณ์ให้ตนเอง

มนุษย์ถ้าปราศจากอุดมการณ์ก็ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่การงานได้ แต่ถ้าปฏิบัติก็ไม่อาจทำให้เสร็จสมบูรณ์ได้ แตกต่างไปจากการงานที่มีเจตนาและอุดมการณ์ในการกระทำ

โดยปกติผู้ศรัทธาทุกคนมีใจรักที่จะท่องจำอัล-กุรอาน แต่แตกต่างกันตรงที่บางคนมีอุดมการณ์และความมุ่งมั่นในการเริ่มต้น ขณะที่บางคนนั้นไม่มี

สำหรับบุคคลที่ไม่มีอุดมการณ์ในการท่องจำหรือมีแต่น้อย เป็นการดีต้องใช้วิธีการอื่นสร้างอุดมการณ์ให้เกิดขึ้นภายในจิตตนให้ได้ ซึ่งประเด็นต่อไปนี้สามารถช่วยได้อย่างดี

- สร้างความคุ้นเคยและความรักที่จะท่องจำอัล-กุรอาน

- ศึกษาประวัตินักท่องจำหรือนักอ่านที่ประสบความสำเร็จ

- ศึกษาริวายะฮฺที่กล่าวถึงความประเสริฐในการท่องจำและการ

อัล- กุรอาน

- เริ่มความคิดสร้างสรรเกี่ยวกับการท่องจำและผลในการท่องจำ

๒. การเลือกอัล-กุรอานฉบับใดฉบับหนึ่ง

๖๙

อัล-กุรอานบางเล่มอาจมีความแตกต่างในเรื่องการพิมพ์ รูปเล่ม ตัวอักษร สัญลักษณ์ และวิธีการจัดพิมพ์ และบางครั้งมีการพิมพ์ผิดพลาด ดังนั้น

การท่องจำจากอัล-กุรอานจากหลายฉบับเป็นสาเหตุให้นักท่องจำเบื่อหน่ายเร็วและอาจมีความผิดพลาดเรื่องโองการได้

ฉะนั้น จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักท่องต้องเลือกอัล-กุรอานฉบับที่ถูกต้องและได้มาตรฐานที่สุด และที่สำคัญต้องนำติดตัวไว้ตลอดเพื่อให้เกิดความมุ่งมั่นบนตัวอักษร ซึ่งบางท่านได้แนะนำว่าให้ใช้อัล-กุรอานที่เป็นลายมือของ อุสมาน ฏอฮา เพราะเป็นอัล-กุรอานที่ได้มาตรฐานในการพิมพ์มากที่สุด

๓. มีสมาธิ (อย่าใจลอย)

การมีสมาธิต่างไปจากการมุ่งมั่นซึ่งเป็นมารยาทภายในของการท่องจำ การมีสมาธิหมายถึง การรวมพลังในการท่องจำไว้ที่จุดเดียวกัน อย่าใจลอยหรือคิดถึงเรื่องอื่นสอดแทรกในการท่องจำ

การใจลอยในการท่องจำอัล-กุรอานเป็นสาเหตุทำให้มีความผิดพลาด และทำให้ขาดความรวดเร็วในการท่องจำ วิธีรักษาไม่ให้ใจลอยใน

การท่องจำอัล-กุรอานมีหลายวิธี แต่วิธีที่ดีที่สุดคือ การจำเรื่องราวที่เป็นคติสอนใจ หรือการเล่นที่เป็นวิชาการ การจำสิ่งของภายในห้องจำนวนมากมายภายในเวลา ๓นาที หลังจากนั้นให้เขียนชื่อสิ่งของเหล่านั้นลงกระดาษ ซึ่ง

การทำซํ้ากันหลาย ๆ ครั้งจะช่วยรักษาอาการใจลอยลงได้

๗๐

๔. ทำจิตใจให้สงบ

การทำจิตใจให้สงบมีผลอย่างมากต่อการท่องจำอัล-กุรอาน การมีอารมณ์หงุดหงิด ขี้โมโหเป็นอุปสรรคในการท่องจำอย่างรวดเร็ว

นักวิชาการท่านหนึ่งอธิบายว่า ขณะท่องจำอัล-กุรอานถ้าปล่อยให้อารมณ์หงุดหงิดครอบงำ ฉะนั้น เมื่อใดก็ตามที่ย้อนกลับไปยังความจำของตนเองก็จะพบอารมณ์หงุดหงิดนั้นอีก

ฉะนั้น เป็นการดีถ้าเกิดอารมณ์หงุดหงิดให้หยุดพักการท่องจำไว้ก่อน และเมื่อใดที่จิตใจสงบแล้วค่อยเริ่มการท่องจำอัล-กุรอานใหม่อีกครั้ง

๕. การฝึกฝนความจำ

เมื่อความจำพร้อมการท่องจำก็จะเป็นไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว

การฝึกฝนความจำมีหลายวิธีด้วยกันทั้งริวายะฮฺ และตำราต่างๆ ได้กล่าวถึงวิธีการไว้มากมาย ซึ่งบางที่กล่าวว่าตัวการสำคัญคือ สภาวะจิตด้านใน และวัตถุปัจจัยภายนอก เช่น การกินนํ้าผึ้ง การแปรงฟัน การอ่านอัล-กุรอาน

การกล่าวศอละวาต ออกห่างการทำบาป และการวางตารางงานประจำวันให้แก่ตนเอง

๗๑

๖. การใส่ใจต่อความเป็นระเบียบในการท่องจำ

นักวิชาการบางท่านอธิบายว่าให้เริ่มต้นการท่องจำตั้งแต่แรกจนกระทั้งจบเล่ม เพื่อว่าพิธีการจบอัล-กุรอานจะได้จัดร่วมกับการท่องจำ ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้โครงสร้างอัล-กุรอานทั้งหมดอยู่ในความทรงจำของตนไปตลอดและจะทำให้ไม่ลืมที่ตนท่องจำไว้

บางท่านกล่าวว่า ดีกว่าให้เริ่มท่องจำที่ญุซอ์สุดท้ายก่อน หมายถึงให้เริ่มที่บทเล็ก ๆ เพื่อว่าจะได้มีกำลังใจในการท่องจำมากยิ่งขึ้น

๗. การอ่านและฟังอัล-กุรอานมากๆ

บุคคลที่ตัดสินใจว่าจะท่องจำอัล-กุรอาน สิ่งจำเป็นที่ต้องกระทำก่อนท่องจำคือ การอ่านอัล-กุรอานซํ้าหลายๆ ครั้ง อ่านให้มากที่สุดและ

หาโอกาสฟังอัล-กุรอานบ่อยๆ เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยและสติปัญญาจะได้เตรียมพร้อมที่จะรับอัล-กุรอาน

๘. การเข้าร่วมชุมนุมกับนักท่องจำอัล-กุรอาน

นักท่องจำอัล-กุรอานแม้ว่าจะประสบความสำเร้จในการท่องจำ แต่สิ่งหนึ่งที่จะปล่อยผ่านไปไม่ได้เด็ดขาดคือ การหาประสบการณ์และการขอความช่วยเหลือจากนักท่องจำรุ่นพี่ ฉะนั้น การเข้าร่วมชุมนุมกับนักท่องจำรุ่นพี่สามารถกล่าวได้ว่ามีประโยชน์อย่างยิ่ง เช่น

- เป็นการแลกเปลี่ยนความเข้าใจกันเกี่ยวกับท่องจำอัล-กุรอาน

- เป็นการแลกเปลี่ยนทัศนะกันเกี่ยวกับการท่องจำอัล-กุรอาน

๗๒

- เป็นการสร้างความเป็นพี่น้องด้วยอัล-กุรอาน

- เป็นการขจัดความคลางแคลงใจในการท่องจำของกันและกัน

๙. สร้างความสัมพันธ์ทางปัญญากับทุกโองการ

นักท่องจำอัล-กุรอานจำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความจำของตนกับสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของโองการ หรือสร้างสัญลัษณ์ในสติปัญญาของตน เพื่อจะได้สามารถถ่ายทอดสัญลักษณ์เหล่านั้นลงบนโองการหรือคำที่เป็นเป้าหมายของตน

ถ้าไม่สนใจต่อสิ่งเหล่านี้จะเป็นสาเหตุทำให้ปัญญาของตนลืมอย่างรวดเร็ว ตัวอย่าง เช่น ให้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโองการที่ความสงสัย กับประเด็นที่มีความสงสัยกับชื่อซูเราะฮฺ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของซูเราะฮฺกับความหมายของโองการ โดยให้เลือกคำที่มีความหมายดีที่สุดของโองการ

ข้อควรพิจารณา การใส่ใจในความหมายของโองการ การอธิบายโองการ หรือการศึกษาสาเหตุของการประทานโองการมีผลอย่างมากต่อการท่องจำอัล-กุรอานและทำให้โองการดังกล่าวอยู่ในความทรงจำได้นานที่สุด

๑๐. การท่องจำชื่อซูเราะฮฺต่างๆ

เป็นความจำเป็นสำหรับนักท่องจำอัล-กุรอานทั้งหลาย ก่อนจะเริ่มจำเป็นต้องท่องชื่อซูเราะฮฺทั้ง ๑๑๔ ซูเราะฮฺเสียก่อน กล่าวคือ

ให้ท่องจำที่ละ ๕ ซูเราะฮฺเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ จนครบ

๗๓

๑๑. ท่องจำโองการที่กล่าวซ้ำหรือที่คล้ายคลึงกัน

การท่องจำโองการเหล่านี้ต้องระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษ และต้องอ่านซํ้ามากกว่าโองการอื่นๆ เพื่อให้มีความผิดพลาดน้อยที่สุดและที่สำคัญต้องจดไว้ว่าโองการดังกล่าวคล้ายกับอัล-กุรอานโองการใดบ้าง

๑๒. การเรียนรู้กฎไวยากรณ์ภาษาอาหรับ

การเรียนรู้ภาษาอาหรับและกฎไวยากรณ์เป็นสาเหตุทำให้นักท่องจำ

ไม่ค่อยมีความผิดพลาดด้านการอ่านหรือการใส่สระที่คำ และยังเป็นสาเหตุทำให้การอ่านโองการที่มีความคลุมเครือผิดพลาดน้อยลง นอกจากนั้นไวยากรณ์ภาษาอาหรับยังช่วยทำให้มีความเข้าใจอัล-กุรอานดียิ่งขึ้น ซึ่งมีผลต่อการท่องจำอย่างยิ่ง

๑๓. ให้ท่องจำที่ละน้อยแต่จำให้ดี

นักท่องจำหลายท่านพยายามบังคับตัวเองและนำความรู้ต่างๆ เข้ามารวมอยู่ในการท่องจำด้วย แน่นอนการทำเช่นนี้เป็นความสำเร็จช่วงสั้นๆ เท่านั้น ซึ่งเขาจะลืมในเวลาอันรวดเร็ว

ดังนั้น การท่องจำอัล-กุรอานควรจะท่องจำที่ละน้อยเหมาะสมกับความสามารถและเวลาของบุคคล

๗๔

๑๔. ประเมินความสามารถของตัวเอง

บุคคลที่ต้องการท่องจำอัล-กุรอานโดยตรงสิ่งจำเป็นต้องปฏิบัติก่อน

- ต้องตรวจสอบความสามารถของตนเองก่อน

- ทดสอบระดับเสียงสูง กลาง และตํ่าของตนเอง

- ทดลองการอ่านเร็ว ปานกลาง และช้าของตนเอง

หลังจากนั้นให้เลือกระดับเสียง และวิธีการอ่านที่ดีที่สุดให้กับตนเอง

๑๕. สถานที่เหมาะสมต่อการท่องจำ

สถานที่ท่องจำอัล-กุรอานควรเป็น

- สติปัญญาและความทรงจำควรมีอิสระและได้รับความสะบาย เพื่อว่าจะได้ถ่ายทอดความรู้สู่สติปัญญาอย่างง่ายดาย

- สถานที่นั้นไม่ควรรูปภาพหรือสีสันต่าง ๆ มากมายนักเพื่อให้มีจิตใจมั่นคง ไม่ใจลอยไปยังที่ต่างๆ

- ถ้าสามารถทำได้ให้เลือกสถานที่เตรียมไว้เฉพาะ สำหรับการท่องจำเพียงอย่างเดียว

ข้อควรพิจารณา ไม่ควรท่องจำอัล-กุรอานขณะเดินทางไปมา เนื่องจากในสภาพเช่นนั้นจิตใจไม่มั่นคงอยู่กับที่ เว้นเสียแต่ว่ามีความจำเป็นและไม่มีเวลาอื่นอีกแล้ว

๗๕

๑๖. ช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการท่องจำ

ช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการท่องจำคือ ช่วงที่ไม่ได้ยุ่งกับภาระกิจอย่างอื่น เป็นช่วงที่จิตใจว่างปลอดโปร่งจากทุกปัญหา ฉะนั้น เวลาที่ดีทีสุดสำหรับการท่องจำคือ ตอนเช้าตรู่เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวจิตใจ และพลังความคิดได้รับการผักผ่อนอย่างเพียงพอ

ข้อควรพิจารณา การกำหนดเวลาที่แน่นอนตายตัว มีผลต่อการท่องจำอัล-กุรอานอย่างมาก

๑๗. การท่องจำอัล-กุรอานและมองอัล-กุรอานเวลาอ่านไม่ขัดแย้งกัน

ผู้ถามได้ถามท่านอิมามซอดิก (อ.) ว่า ฉันท่องจำอัล-กุรอานทั้งเล่มจะให้ฉันอ่านปากเปล่าหรือว่าเวลาอ่านให้มองอัล-กุรอานดีกว่า

ท่านอิมาม (อ.) ตอบว่า ไม่ ทว่าเวลาอ่านเจ้าจงมองอัล-กุรอานดีกว่า เจ้าไม่รู้ดอกหรือว่าการมองอัล-กุรอานนั้นเป็นอิบาดะฮฺ

ท่านอิมามกล่าวต่อว่า บุคคลที่มองอัล-กุรอานเวลาอ่านสายตาของเขาจะได้รับประโยชน์ บาปของบิดามารดาจะได้รับการอภัย แม้ว่าท่านทั้งจะเป็นการฟิรก็ตาม (อุซูลกาฟียฺ เล่ม ๒ หน้าที่ ๖๑๓ ฮะดีษที่ ๕)

๗๖

ข้อควรพิจารณา นักท่องจำอัล-กุรอานมี ๒ ประเภท

ประเภทที่ ๑. บุคคลที่มุ่งมั่นอยู่กับการท่องจำอัล-กุรอาน แน่นอนว่าการฝึกฝนการท่องจำเป็นสิ่งจำเป็น ฉะนั้นจะต้องไม่มองอัล-กุรอาน เวลาอ่าน

ประเภทที่ ๒. บุคคลที่ท่องจำสมบูรณ์ทั้งเล่มเป็นกลุ่มชนที่ริวายะฮฺข้างต้นได้กล่าวกับเขาว่า เวลาอ่านให้มองอัล-กุรอาน

แน่นอนการมองอัล-กุรอานเวลาอ่านนั้น มีประโยชน์มากมายดังที่

ริวายะฮฺข้างต้นได้อธิบายไว้ และนักปราชญ์อิสลามยังได้กล่าวสำทับไว้อีกว่านอกจากประโยชน์ดังกล่าวแล้ว ยังส่งผลให้มีการพิมพ์อัล-กุรอานอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นการป้องกันการสูญสลายของอัล-กุรอานในทางอ้อม

๑๘. แก้ไขข้อคลางแคลง

นักท่องจำอัล-กุรอานเวลาท่องจำอาจจำคำหรือโองการผิดพลาด ซึ่ง

บางคนรู้ตัวและบางคนไม่รู้ตัว ดังนั้น เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดเหล่านั้นควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

๑. ท่องอัล-กุรอานโดยให้คนอื่นตรวจสอบการอ่านของตนจาก

อัล-กุรอาน

๒. คำที่อ่านผิดและอ่านติดปากอยู่เป็นประจำให้เขียนให้ถูก เพื่อว่าจะได้สร้างสัมพันธ์ระหว่างความทรงจำกับคำที่แก้ไขแล้ว

๗๗

๓. คำที่จำผิดควรเขียนให้สวยงามและอ่านดังๆ ซํ้าไปซํ้ามาหลายๆ ครั้งเพื่อแทนที่คำที่จำผิดมาตลอด

๑๙. ฝึกฝนและอ่านซ้ำ

การฝึกฝนและอ่านซํ้าใน ๒ ระดับมีความจำเป็น

- ฝึกฝนก่อนที่จะท่องจำทั้งเล่มอันเป็นสาเหตุให้สมองจำโองการได้ทั้งหมด

- หลังจากท่องจำทั้งเล่มไม่ว่าจะนานเป็นเดือนหรือเป็นปีก็ตามให้อ่านซํ้าทุกวันเพื่อป้องกันการลืม

๒๐. ท่องจำหมายเลขและสัญลักษณ์ต่าง ๆ

ถ้าสามารถท่องจำอัล-กุรอานพร้อมกับหมายเลขโองการ หน้า และชื่อบทต่างๆ หรือสัญลักษณ์อื่นๆ ถ้ามีจะเป็นการดีอย่างยิ่ง เนื่องจากจะทำให้ผู้ท่องจำลืมช้าเพราะสมองได้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโองการและสัญลักษณ์เหล่านั้นอย่างดี

๒๑. การป้องกันการลืมโองการ

การลืมเป็นความโปรดปรานอย่างหนึ่งที่พระผู้เป็นเจ้าได้ประทานให้กับมนุษย์ มิฉะนั้นแล้วมนุษย์จะมีปัญหากับตนเองเนื่องจากสติปัญญาได้บันทึกเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นทุกเวลาและทุกวัน เช่น สมมุติว่าไม่เคยลืมความทุกข์หรือเรื่องเศร้าที่เกิดขึ้น เขาก็จะกลายเป็นคนเศร้าไปโดยปริยาย

๗๘

แต่ในบางครั้ง การลืมก็สร้างปัญหาให้กับมนุษย์ไม่น้อย เช่นกัน อย่างเช่นการท่องจำอัล-กุรอานเป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการนำเสนอวิธีป้องกันการลืมไว้ดังนี้ ตัวอย่าง ฝึกฝนหลังการท่องจำ จำสัญลักษณ์ต่างๆ หมายเลขโองการหรือเลขหน้าดังที่กล่าวมาแล้ว

ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้รายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า

ดุอาอฺดังต่อไปนี้ เป็นดุอาอฺที่ป้องกันการลืมได้อย่างดี

اللَّهُمَّ ارْحَمْنِي بِتَرْكِ الْمَعاصِي أَبَدًا مَا أبْقَيْتَنِي ، وَارْحَمْنِي مِنْ أَنْ أَتَكَلَّفَ مَا لاَ يَعْنيني ، وَارْزُقْني حُسْنَ النَّظرَ فِيمَا يُرْضِيكَ عَنِّي ، اللَّهُمَّ بَديعَ السَّمَواتِ وَالأرْضِ ذَا الجَلاَلِ وَالإكْرَامِ وَالعِزَّةِ الَّتِي لاَ تُرَامُ ، أَسْأَلُكَ يَا الله ، بِجَلالِكَ وَنُورِ وَجْهَكَ أَنْ تُلْزِمَ قَلْبِي حِفْظَ كِتَابِكَ كَما عَلَّمْتَنِي ، وَارْزُقْنِي أَنْ أَتْلُوَهُ عَلَى النَّحْوَ الَّذي يُرْضِيكَ عَنِّي ، وَأسْأَلَُكَ أَنْ تُنَوِّرَ بِالْكِتَابِ بَصَرِي ، وَتُطْلِقَ بِهِ لِسَانِي ، وَتُفْرِّجَ بِهِ عَنْ قَلْبِي ، وَتَشْرَحَ بِهِ صَدْرِي ، وَتَسْتَعْمِلَ بِهِ بَدَنِي ، وَتُقَوِّيني عَلَى ذَلِكَ ، وَتُعِينُني عَلَيْهِ ، فَإنَّهُ لاَ يُعينُني عَلَى الْخَيْر غَيْرُكَ وَلاَ يُوَفِّقُ لَهُ إِلَّا أَنْتَ

โอ้ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดเมตตาให้ข้าฯละทิ้งการทำบาปกับพระองค์ตลอดไปตราบที่พระองค์ให้ข้าฯดำรงอยู่ โปรดเมตตาข้าฯอย่าให้ประสบกับภาระที่ไม่ก่อประโยชน์แก่ข้าฯ โปรดประทานทัศนะที่ดีแก่ข้าฯ ในสิ่งที่จะทำให้พระองค์พึงพอพระทัยต่อข้าฯ โปรดบังคับหัวใจของข้าฯให้จดจำคัมภีร์ของพระองค์ดังที่พระองค์ได้ทรงสอนข้าฯ โปรดประทานให้ข้าฯได้อ่านคัมภีร์ตามวิธีที่พระองค์พึงพอพระทัยจากข้าฯ

๗๙

โอ้ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดบันดาลให้สายตาของข้าฯสว่างไสวด้วยคัมภีร์ของพระองค์ โปรดเปิดหัวอกของข้าฯด้วยอัล-กุรอาน โปรดทำให้หัวใจขอข้าฯเบิกบานด้วยอัล-กุรอาน โปรดให้ลิ้นของข้าฯพูดด้วยอัล-กุรอาน โปรดให้ร่างกายของข้าฯปฏิบัติตามอัล-กุรอาน โปรดให้ข้าฯเข็มแข็งในสิ่งนั้น โปรดช่วยเหลือข้าฯบนการกระทำนั้น แน่นอนไม่มีผู้ช่วยเหลืออื่นใดนอกจากพระองค์ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ ( ๑)

๑ อุซูลกาฟียฺ เล่ม ๒ หน้า ๔๒๐

๓. แนวทางในการท่องจำ

แนวทางในการท่องจำอัล-กุรอานสามารถแบ่งออกเป็น ๓ แนวทาง ซึ่งบรรดานักท่องจำทั้งหลายสามารถตรวจสอบความสามารถ และพิจารณาเงื่อนไขแล้วแนวทางใดเหมาะสมกับตัวเองให้เลือกแนวทางนั้น

ข้อควรพิจารณา

การลอกเรียนแบบแนวทางในการท่องจำอัล-กุรอานเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งประสบการณ์ได้สอนให้รู้ว่า การลอกเรียนแบบเป็นวิธีการที่ไม่ยั่งยืนที่ไม่มีความมั่นคงแต่อย่างใด แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องสนใจประสบการณ์ของคนอื่น ทว่าหมายถึงนักท่องจำอัล-กุรอานต้องเลือกแนวทางที่เหมาะสมกับความสามารถให้กับตนเองและดำเนินตามแนวทางนั้นไปตลอด

๘๐

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154