การรู้จักอัล-กุรอาน

การรู้จักอัล-กุรอาน25%

การรู้จักอัล-กุรอาน ผู้เขียน:
ผู้แปล: เชคชรีฟ เกตุสมบูรณ์
กลุ่ม: ห้องสมุดกุรอาน
หน้าต่างๆ: 154

การรู้จักอัล-กุรอาน
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 154 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 52039 / ดาวน์โหลด: 5898
ขนาด ขนาด ขนาด
การรู้จักอัล-กุรอาน

การรู้จักอัล-กุรอาน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

ค. แนวทางหลักสำหรับการท่องจำอัล-กุรอาน

๑. อ่านโองการซํ้า หมายถึง เริ่มต้นอ่านอัล-กุรอานและอ่านซํ้าไปมาจนจำ ซึ่งวิธีการนี้มีรายละเอียดว่า บางครั้งอ่านจนจบโองการโดยอ่านซํ้าไปซํ้ามา หรือบางครั้งแบ่งโองการออกเป็นส่วนต่างๆ หมายถึง สังเกตช่วงหยุดของโองการและแบ่งไปตามนั้น มิใช่แบ่งตามความสั้นยาวของโองการ หลังจากนั้นให้อ่านซ้ำไปซํ้ามาจนจำ หลังจากท่องจำแล้วกี่โองการก็ตามให้อ่านทวนใหม่ตั้งแต่แรกจนจบ

๒. ฟังอัล-กุรอานจากเทปบันทึก หมายถึงการอ่านโองการซํ้าพร้อมกับฟังเสียง ซึ่งแนวทางนี้การฝึกฝนและการฟังมีผลอย่างมากต่อการท่องจำ

๓. ใช้วิธีการเขียนโองการ หมายถึงให้เขียนโองการซํ้าหลาย ๆ ครั้งจนกระทั่งเกิดความเคยชินโดยไม่ต้องดูตัวบทเวลาเขียนครั้งต่อไป ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้จำอัล-กุรอานไปในตัว

ข้อควรพิจารณา

นักท่องจำอัล-กุรอานและผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายต่างให้ทัศนะว่าวิธีการแรกเป็นวิธีที่ดีที่สุด

ง. การท่องจำอัล-กุรอานและเด็ก

ประสบการณ์ได้บอกว่าช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับท่องจำอัล-กุรอานคือ เริ่มตั้งแต่อายุ ๖ ถึง ๑๕ ปี เนื่องจากในวัยนี้สมองเด็กยังว่างอยู่ไม่มีเรื่องต้องคิด ไม่ต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว ซึ่งเป็นวัยที่มีความเหมาะสมที่สุด

๘๑

แน่นอนว่าก่อนวัยนี้ตัวการอื่นๆ ก็มีผลไม่น้อยต่อการท่องจำอัล-กุรอานเช่น

๑. การอ่านอัล-กุรอานของมารดาที่กำลังตั้งครรภ์ ซึ่งมีผลในทางบวกอย่างมากกับทารกที่อยู่ในครรภ์ และตัวการสำคัญก่อนช่วงนี้คือ อสุจิที่สะอาดของบิดา พลังอีหม่าน ความยำเกรง และจิตใจที่ใสสะอาดของบิดามารดาเป็นตัวการสำคัญที่จะให้จิตวิญญาณแก่ทารกน้อยในครรภ์

๒. การอ่านอัล-กุรอานให้ทารกที่อยู่ในวัยกินนม ซึ่งเป็นสาเหตุให้เด็กมีความคุ้นเคยกับอัล-กุรอาน

บางท่านได้เขียนว่า การอ่านอัล-กุรอานให้เด็กเป็นภารกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่งและเป็นการกระทำมีความเหมาะสมที่สุด ซึ่งในอนาคตสิ่งนี้จะกลายเป็นตัวการสำคัญสำหรับการท่องจำอัล-กุรอาน

๓. การเชิญชวนเด็กให้รักที่จะอ่านและท่องจำอัล-กุรอาน แต่การบังคับเด็กให้ท่องจำเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง ทว่าเป็นวิธีที่จะทำให้เด็กมีปฏิกิริยาแข็งกร้าวและไม่ชอบอัล-กุรอานในที่สุด

วิธีดึงดูดใจที่ดีที่สุดเพื่อให้เด็กมีความรักและคิดอยากท่องจำอัล-กุรอานคือ การเล่าเรื่องเล่าต่างๆ ในอัล-กุรอานพร้อมกับอ่านโองการประกอบ

******************

๘๒

หมวดที่ ๓ ผลสะท้อนของอัล-กุรอานที่มีต่อมนุษย์

อัล-กุรอานนั้นเหมือนกับการอ่าน การท่องจำ ความเข้าใจ และการปฏิบัติที่มีผลต่อมนุษย์ ซึ่งการส่งผลของอัล-กุรอานมีทั้งส่วนตัวและส่วนรวม

ณ ที่นี้จะขอกล่าวบางกรณีเท่านั้น เช่น

ก. การส่งผลในการอ่านอัล-กุรอาน

ตามที่กล่าวมาแล้วในหัวข้อมารยาททั้งภายนอกและภายใน ของการอ่านอัล-กุรอานมีผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก กล่าวคือ

๑. เป็นการรำลึกถึงอัลลอฮฺ

นักอ่านอัล-กุรอานทั้งหลายจะเริ่มอ่านด้วยการระลึกถึงพระผู้เป็นเจ้า โดยกล่าวว่า บิสมิลลาฮฺ ฮิรเราะฮฺมานิรรอฮีม ซึ่งการกล่าวประโยคนี้ออกมา

ถือว่าเป็นการรำลึกถึงพระองค์ที่ดีที่สุด และทำให้เรารู้จักสัจธรรมมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ไม่ว่ามนุษย์รำลึกถึงพระองค์มากเท่าใด มนุษย์ก็จะใกล้ชิดกับพระองค์มากเท่านั้น

๒.เป็นการเปิดประตูแห่งการเคารพภักดี

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า ประตูแห่งการเคารพภักดีสามารถเปิดได้ด้วยการกล่าวบิสมิลลาฮฮฺ ( ๑)

๑ซะฟีนะตุลบิฮาร เล่ม ๒ หน้า ๔๑๗

๘๓

ดังนั้น จะเห็นว่าหนึ่งในประโยชน์สำคัญของการอ่านอัล-กุรอานคือการเริ่มต้นด้วยบิสมิลลาฮฺ เท่ากับเป็นการเปิดประตูแห่งการเคารพภักดี

๓. เป็นการปิดประตูบาป

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า ประตูแห่งบาปทั้งหลายสามารถปิดได้ด้วยการกล่าวขอความคุ้มครองจากพระองค์ว่า

อะอูซุบิลลาฮิมินัชชัยฏอนิรเราะญีม ( ๒)

๒อ้างแล้วเล่มเดิม

ดังที่กล่าวไปแล้วว่า หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัล-กุรอาน คือ

การขอความคุ้มครองจากพระองค์ ซึ่งประโยชน์คือเป็นการปิดประตูบาปต่างๆ

๔. ประสบความสำเร็จในการอ่านดุอาอฺก่อนและหลังการอ่านอัล-กุรอาน

ดุอาอฺ หมายถึง การเรียกร้องหรือการวิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้าในสิ่งที่ตนปรารถนา ดังที่กล่าวไปแล้วว่าเป็นสิ่งที่ดีก่อนและหลังการอ่านอัล-กุรอานให้ดุอาอฺ ซึ่งสามารถดุอาอฺตามที่ริวายะฮฺที่ได้กล่าวไว้ หรือทุกดุอาอฺที่ต้องการสามารถกล่าวได้ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามทั้งสองกรณี ดุอาอฺคือ เตาฟีกสำหรับผู้อ่านอัล-กุรอานเพราะเท่ากับได้สนทนาและวิงวอนในสิ่งที่ตนปรารถนาจากพระองค์ และบั้นปลายสุดท้ายเท่ากับมนุษย์มีเตาฟีกเพิ่มขึ้นในการดำเนินชีวิต ทั้งทางโลกและทางธรรม

๘๔

๕. รางวัลของผู้อ่านอัล-กุรอานคือดุอาอฺถูกยอมรับ

ท่านอิมามซอดิก (อ.) รายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า บุคคลใดเปิดอัล-กุรอานและอ่านจนจบดุอาอฺของเขาจะถูกตอบรับ ณ อัลลอฮฺ ( ๑)

๑บิฮารุลอันวาร เล่ม ๘๙ หน้า ๒๐๔

๖. อัล-กุรอานเป็นสาเหตุให้อีหม่านเพิ่มพูน

เมื่อมีซูเราะฮฺถูกประทานลงมาได้มีคนหนึ่งพูดว่า อัล-กุรอานบทนี้ทำให้ผู้ใดมีอีห่มานเพิ่มขึ้นบ้าง อัล-กุรอานกล่าวว่า

وَإِذَا مَا أُنزِلَتْ سُورَةٌ فَمِنْهُم مَّن يَقُولُ أَيُّكُمْ زَادَتْهُ هَذِهِ إِيمَانًا فَأَمَّا الَّذِينَ آمَنُواْ فَزَادَتْهُمْ إِيمَانًا وَهُمْ يَسْتَبْشِرُونَ

และเมื่ออัล-กุรอานบทหนึ่งถูกประทานลงมา ดังนั้น ในหมู่พวกเขามี

ผู้กล่าวว่า มีใครบ้างจากพวกท่านที่บทนี้ทำให้เขามีศรัทธาเพิ่มขึ้น ฉะนั้นสำหรับบรรดาผู้ศรัทธา บทนี้ได้ทำให้ศรัทธาของพวกเขาเพิ่มขึ้น แล้วพวกเขาก็มีความปิติยินดี ( ๑)

๑อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺอัต เตาบะฮฺ ๑๒๔

๘๕

อีกโองการหนึ่งกล่าวว่า

وَإِذَا تُلِيَتْ عَلَيْهِمْ آيَاتُهُ زَادَتْهُمْ إِيمَانًا وَعَلَى رَبِّهِمْ يَتَوَكَّلُونَ

และเมื่อบรรดาโองการของพระองค์ถูกอ่านแก่พวกเขา โองการเหล่านั้นได้เพิ่มพูนความศรัทธาแก่พวกเขา (อันฟาล ๒)

๗. ความโปรดปรานของพระองค์ถูกประทานลงมากับอัล-กุรอาน

อัล-กุรอานกล่าวว่า และเราได้ประทานส่วนหนึ่งจากอัล-กุรอานลงมา ซึ่งเป็นการบำบัดและความเมตตาแก่บรรดาผู้ศรัทธา ( ๒)

๒อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัลอิซรออฺ ๘๒

ดังนั้น นักอ่านอัล-กุรอานคือ บุคคลแรกที่มีส่วนร่วมในความโปรดปรานของอัล-กุรอาน

๘. อัล-กุรอานเป็นชะฟาอฺ

อัล-กุรอานเป็นโอสถที่บำบัดโรคภายในของมนุษย์ อาการป่วยใข้ทางจิตใจ และเป็นยารักษาสำหรับบุคคลที่มีอาการป่วยทางใจที่มนุษย์ด้วยกันไม่สามารถรักษาให้หายได้ และโดยเหตุผลแล้วบุคคลแรกที่ได้รับการรักษาโดยอัล-กุรอานคือ ผู้อ่านอัล-กุรอานทั้งหลาย

๘๖

๙. การชี้นำของพระผู้เป็นเจ้า

อัล-กุรอานเป็นคัมภีร์แห่งการชี้นำ บุคคลแรกที่ได้รับการชี้นำจาก

อัล-กุรอานคือ ผู้ศรัทธาและผู้มีความยำเกรง อัล-กุรอานกล่าวว่า

จงกล่าวเถิด มุฮัมมัด อัล-กุรอานเป็นทางนำและเป็นการบำบัดแก่บรรดา

ผู้ศรัทธา ส่วนบรรดาผู้ไม่ศรัทธานั้น ( ๑)

๑.อัล - กุรอาน อัซ ฟุซซิลัต ๔๔

จริงอยู่ที่ว่าการชี้นำแบ่งออกเป็นหลายขั้นตอน แต่ละคนจะได้รับไม่เท่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถและความพอดี แต่อย่างไรก็ตามทุกคนมีสิ่ทธิ์ได้รับประโยชน์จากการชี้นำทั้งสิ้นแต่จะมากหรือน้อยอย่างไร ขึ้นอยู่กับอีหม่านและความยำเกรงของแต่ละคนว่าจะมากน้อยเพียงใด

๑๐.ทำความสะอาดภายในและสร้างสรรค์จิตวิญญาณ

ผู้อ่านอัล-กุรอาน ถ้าหากใส่ใจต่อมารยาทด้านในของการอ่านมากเท่าใด ความบริสุทธิ์ใจ และความสงบมั่นของจิตวิญญาณก็จะเพิ่มมากขึ้นไปตามขั้นตอน เท่ากับเป็นการขัดเกลาจิตใจและสร้างสรรค์จิตวิญญาณไปในตัว

๘๗

๑๑. ความสะอาดตามชัรอียฺ

ก่อนอ่านอัล-กุรอาน ผู้อ่านทุกท่านต้องฆุซลฺหรือวุฎูอฺก่อน เพื่อขจัดความโสมมและความโสโครกของจิตวิญญาณให้หมดไป หมายถึงวุฎูอฺและฆุซลฺนั้นจะช่วยสร้างรัศมีและขจัดความโสมมภายในจิตใจให้หมดไป เรียกว่าเป็นความสะอาดตามชัรอียฺ ดุจดังเช่นที่ได้ขจัดความโสโครกให้หมดไปจากร่างกาย

๑๒. อนามัยส่วนตัว

ผู้อ่านอัล-กุรอานควรจะแปรงฟัน อาบนํ้า มีวุฎูอฺ หรือสวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ซึ่งการกระทำเช่นนี้เท่ากับเป็นการรักษาความสะอาดส่วนตัว ทำให้เป็นคนมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง

๑๓. กลายเป็นชาวกุรอาน

การอ่านและการสร้างความคุ้นเคยกับอัล-กุรอาน จะทำให้มนุษย์ได้รับรัศมีและอยู่ภายใต้คำสอนของอัล-กุรอานไปโดยปริยายที่ละน้อย และเขาจะกลายเป็นมนุษย์กุรอานไปในที่สุด หมายถึงจะปฏิบัติตัวและไม่กระทำสิ่งใดขัดกับอัล-กุรอานเด็ดขาด กิริยามารยาทจะกลายเป็นกิริยาของอัล-กุรอาน ความเชื่อก็อัล-กุรอาน ความสะอาดก็อัล-กุรอาน อีกนัยหนึ่ง เท่ากับเขาได้ย้อมตัวเองดัวยสีสันของอัล-กุรอาน ฐานันดรของเขาจะสูงส่งขึ้นไปเรื่อย ๆ จนกลายเป็นภาพลักษณ์และคำพูดของอัล-กุรอาน

๘๘

๑๔. ความคิดจะเติบโต

ขณะที่อ่านอัล-กุรอาน ถ้าตรึกตรองตามไปทีละน้อย จะเป็นสาเหตุทำให้ความคิดอ่านของตนั้นนเติบโตตามไปด้วย แน่นอนเมื่อความคิดเติบโตก็จะทำให้การดำเนินชีวิตประสบแต่ความสำเร็จ

๑๕. เป็นการอิบาดะฮฺทางสายตา

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า การมองไปที่หน้ากระดาษของอัล-กุรอานเป็นอิบาดะฮฺ ( ๑)

แน่นอนพระวัจนะของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เหมาะสมสำหรับบุคคลที่อ่านอัล-กุรอานเป็นประจำ ท่าน (ซ็อล ฯ) กล่าวอีกว่า สายตาได้รับประโยชน์จากการอิบาดะฮฺก็เมื่อยามที่มองไปยังอัล-กุรอาน ( ๒)

๑บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๘๙ หน้า ๑๙๙

๒มะฮัจญะตุลบัยฎอ เล่ม๒ หน้า ๒๓๑

๑๖. ส่งผลต่อการเลี้ยงดูบุตร

เมื่อบิดา มารดา อ่านอัล-กุรอานในบ้าน แน่นอนย่อมส่งผลในทางบวกแก่บุตรและธิดาของตน เท่ากับเป็นการอบรมสั่งสอนบุตรในทางอ้อม และเป็นสาเหตุทำให้บุตรของตนมีความรักต่ออัล-กุรอาน

๘๙

๑๗. เป็นการชำระล้างบาปต่าง ๆ

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า การอ่านอัล-กุรอานเป็นการขอลุแก่โทษบาปกรรม ( ๑)

๑๘. ทำให้ปลอดภัยจากไฟนรก

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า การอ่านอัล-กุรอานคืออุปสรรคขวางกั้นไฟนรก และเป็นสาเหตุให้ปลอดภัยจากการลงโทษของพระองค์

๑๙. เป็นการสนทนากับพระผู้เป็นเจ้า

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า เมื่อใดก็ตามหากพวกท่านต้องการสนทนากับพระผู้อภิบาลละก็จงอ่านอัล-กุรอาน ( ๒)

๒๐. การอ่านอัล-กุรอานทำให้จิตใจมีชีวิตชีวา ( ๓)

๒๑. การอ่านอัล-กุรอานเป็นอุปสรรคในการทำอนาจารทั้งหลาย

แน่นอนถ้าหากเราเป็นนักอ่านอัล-กุรอานที่แท้จริง และรู้จักไตร่ตรองโองการต่าง ๆ วิถีชีวิตและความคิดอ่านของเราย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี

๑บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๙๒ หน้า ๑๗

๒บิฮารุลอันวาร เล่ม ๙๒ หน้า ๑๗

๓อ้างแล้วเล่มเดิม

๙๐

และนอกเหนือจากการอ่านแล้ว ยังได้ปฏิบัติตามอัล-กุรอานอีกต่างหาก ความชั่วและความอนาจารทั้งหลายจะเกิดในสังคมได้อย่างไร

ข. ผลการอ่านอัล-กุรอานที่เกิดกับชีวิตทางสังคม

ประเด็นที่กล่าวถึงมารยาททั้งภายนอกและภายใน เกี่ยวกับการอ่าน

อัล- กุรอาน สามารถกล่าวได้ว่าสิ่งนี้มีบทบาทมากกับวิถีชีวิตทางสังคม เช่น

๑. เป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมอัล-กุรอานแก่สังคม

เมื่อทุกคนอ่านอัล-กุรอานจากเล่มผลที่จะตามมาคือ การพิมพ์อัล-กุรอานให้พอดีกับจำนวนคน เมื่ออัล-กุรอานถูกพิมพ์มาก และการอ่านได้รับความนิยมมากเท่าใดวัฒนธรรมของอัล-กุรอานก็จะเติบโตมากเท่านั้น และเป็นการเรียกร้องให้ประชาชนให้สนใจอัล-กุรอานมากยิ่งขึ้น เช่น ในอิหร่านปัจจุบันเมื่อเทียบกับอิหร่านก่อนการปฏิวัติจะแตกต่างกันลิบลิ่ว สมัยก่อนไม่มีคนสนใจอัล-กุรอานเท่าที่ควร จะมีเฉพากผู้ใหญ่ คนสูงอายุ และนักเรียนศาสนาเท่านั้น อิหร่านไม่เคยมีชื่อเสียงเรื่องการอ่าน และการท่องจำอัล-กุรอาน แต่ปัจจุบันนี้อิหร่านสามารถพัฒนาการอ่าน และการท่องจำอัล-กุรอานเป็นอันดับหนึ่งในเอเซียหรือในโลกก็ว่าได้ ทุกสาขาอาชีพในอิหร่านมีนักกอรียฺและนักท่องจำส่งเข้าแข่งขันเสมอ มีนักท่องจำอัล-กุรอานรุ่นจิ๋วตั้งแต่อายุ ๓ ขวบขึ้นไปจำนวนมากมาย สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของวัฒธรรมอัล-กุรอานและความสนใจของประชาชน

๙๑

๒. การพบวิชาการสมัยใหม่และแนวทาง

ภายใต้ร่มเงาของการอ่านอัล-กุรอานทำให้พบวิชาการใหม่ ๆ เช่น หลักการอ่านอัล-กุรอาน ความรู้เกี่ยวกับอัล-กุรอาน และการอธิบาย

อัล-กุรอาน

๓. การประกวดแข่งขันอัล-กุรอานอย่างต่อเนื่อง

เมื่อสังคมต้อนรับการอ่านอัล-กุรอานมากขึ้น การแข่งขันในเชิงวิชาการทั้งการอ่าน การท่องจำ และการอธิบายอัล-กุรอานตามหน่วยงาน

องค์กรต่าง ๆ และระดับประเทศก็มีมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งผลที่ตามมาคือ ประชาชนส่วนใหญ่รักการฝึกฝนความศรัทธาของตนไปโดยปริยาย

๔. ทำให้ภาษาอัล-กุรอานเติบโตมากขึ้น

เมื่อสังคมมีการอ่านอัล-กุรอานกันมากยิ่งขึ้นภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นภาษาอัล-กุรอานก็ได้รับความสนใจมากขึ้นตามลำดับ อีกด้านหนึ่งภาษาอาหรับถือเป็นภาษากลางสำหรับชาวมุสลิมทุกคน เมื่อทุกคนเข้าใจภาษา

อัลกุรอานมากขึ้น การโจมตีทางด้านวัฒนธรรมก็จะลดน้อยลงไปตามลำดับ ประกอบกับทำให้มีการสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน มีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

๙๒

๕. ผลของการยอมรับการเรียนรู้อัล-กุรอาน

การเติบโตด้านการอ่านอัล-กุรอานเป็นสาเหตุทำให้วัฒนธรรม ความรู้ และจริยธรรมอิสลามเติบโตตามไปด้วย และเป็นการสนับสนุนให้ประชาชนลำรึกถึงอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ดีวิธีหนึ่ง อีกทั้งเป็นการสอนให้ประชาชนรำลึกถึงพระองค์ในทางอ้อม

๖. อัล-กุรอานเป็นยาบาบัดอาการป่วยไข้ของสังคม

ดังที่ทราบแล้วว่าอัล-กุรอานเป็นยารักษาอาการป่วยไข้ภายในดีที่สุด ซึ่งเป็นสาเหตุในการบำบัดสังคมไปในตัว อัล-กุรอานกล่าวว่า

قُلْ هُوَ لِلَّذِينَ آمَنُوا هُدًى وَشِفَا

อัลกุรอานเป็นแนวทางที่เที่ยงธรรม เป็นทางนำและเป็นการบำบัดบรรดาผู้ศรัทธา ( ๑)

๑อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัซ ฟุซซิลัต ๔๔

وَنُنَزِّلُ مِنَ الْقُرْآنِ مَا هُوَ شِفَاءٌ وَرَحْمَةٌ لِّلْمُؤْمِنِينَ

และเราได้ให้ส่วนหนึ่งจากอัลกุรอานเป็นการบำบัดและความเมตตาแก่บรรดาผู้ศรัทธา ( ๒)

๒อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล อิซรอ ๘๒

๙๓

อัล-กุรอานยํ้าเน้นเสมอเรื่องการต่อสู้กับสิ่งอานาจารและความชั่วร้าย และเป็นยาบำบัดความป่วยไข้ของสังคมที่ดีที่สุด อัล-กุรอานปลุกจิตวิญญาณของสังคมให้ตื่นขึ้น และสอนประชาชาติให้รู้จักการเสียสละทั้งเลือดเนื้อและทรัพย์สิน เพื่อปกป้องมาตุภูมิและศาสนาของตน

แน่นอนการที่อัล-กุรอานสอนเช่นนี้เนื่องจากสิ่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ที่สามารถทำให้สังคมมนุษย์รอดพ้นความวิบัด มีความจำเริญ และมีความสมบูรณ์ บนพื้นฐานดังกล่าวทำให้ประชาชาติแสดงความเคารพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่คิดร้าย หรืออคติ หรือนินทาว่าร้ายกันและกัน ในอีกด้านหนึ่งถ้าสังคมใดปราศจากสิ่งเหล่านี้ สังคมนั้นก็จะกลายเป็นสังคมที่สะอาดบริสุทธิ์ และมีความสงบเรียบร้อย

๗. การช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากการปกครองที่กดขี่ของทรราช

อัล-กุรอาน กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า

وَلَقَدْ بَعَثْنَا فِي كُلِّ أُمَّةٍ رَّسُولًا أَنِ اعْبُدُوا اللَّـهَ وَاجْتَنِبُوا الطَّاغُوتَ ۖ

แน่นอน เราได้ส่งเราะซูลลงมาในทุกๆ ประชาชาติ เพื่อเชิญชวนมนุษย์ไปสู่การเคารพภักดีต่อพระเจ้า และออกห่างจากบรรดาผู้อธรรม ( ๑)

๑อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อันนะฮฺลิ ๓๖

๙๔

๘. เพื่อการช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากการตั้งภาคีเทียบเคียงกับพระเจ้า

๙. การช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากให้รอดพ้นจากบิดเบือน

อัล-กุรอานกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า

فَالَّذِينَ آمَنُوا بِهِ وَعَزَّرُوهُ وَنَصَرُوهُ وَاتَّبَعُوا النُّورَ الَّذِي أُنزِلَ مَعَهُ ۙ أُولَـٰئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُونَ

ดังนั้น บรรดาผู้ที่ศรัทธาต่อเขา และให้ความสำคัญแก่เขาและช่วยเหลือเขา และปฏิบัติตามแสงสว่าง)ที่ถูกประทานลงมาแก่เขา ชนเหล่านี้แหละคือบรรดาผู้ที่สำเร็จ ( ๒)

๒อัล - กุรอาน บทอัลอะอฺรอฟ / ๑๕๗

การแพร่ขยายการอ่านอัล-กุรอานเป็นสาเหตุทำให้ วัฒนธรรมของการอัล-กุรอานก็ถูกปฏิบัติไปโดยปริยาย ดังจะเห็นว่า การช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากการกดขี่ การบิดเบือน และการตั้งภาคีเทียบเคียงพระเจ้าล้วนเป็นวัฒนธรรมของอัล-กุรอานทั้งสิ้น

๙๕

บทที่ ๒ ผลสะท้อนของการท่องจำอัล-กุรอานที่มีต่อมนุษย์และสังคม

ประโยชน์ทั้งหลายที่มีต่อการอ่านอัล-กุรอานได้กล่าวไปแล้ว ซึ่งสิ่งนั้นเป็นสัจจะสำหรับการท่องจำอัล-กุรอานเช่นกัน ก่อนหน้านี้ได้กล่าวถึงมารยาทและเงื่อนไขของการท่องจำอัล-กุรอาน พร้อมทั้งกล่าวถึงริวายะฮฺและโองการที่เกี่ยวข้องกับการท่องจำมาแล้ว ในบทนี้จะขอยํ้าเน้นถึงโองการต่างๆ เหล่านั้น เช่น

๑. การท่องจำอัล-กุรอานเป็นสาเหตุให้อัลลอฮฺ (ซบ.) อภัยในความผิด ต่างๆ ( ๑)

๑มุซตัดร็อก อัลวะซาอิล เล่ม ๔ หมวด ๑๗ หน้า ๒๖๙ ฮะดีษที่ ๔๖๖๙

บางริวายะฮฺกล่าวว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่ทรงลงโทษหัวใจที่เป็นแหล่งรวบรวมโองการต่าง ๆ ของพระองค์ ( ๒)

๒มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่ม ๘ หน้า ๗๖

๒. นักท่องจำอัล-กุรอาน ถ้าปฏิบัติตามสิ่งที่ตนได้ท่องจำ เขาคือพลพรรคของอัลลอฮฺ ( ๓)

๓อุซูลกาฟียฺ เล่ม ๒ หน้า ๔๔๑

๙๖

๓. การท่องจำหนึ่งโองการเทียบเท่าสวรรค์หนึ่งชั้น ( ๔)

๔บิฮารุลอันวาร เล่ม ๘๙ หน้า ๒๒

๔. การท่องจำอัล-กุรอานเป็นความโปรดปรานของอัลลอฮฺ (ซบ.)

ท่าน อิมามซอดิก (อ.) กล่าวสิ่งนี้ไว้ในบทดุอาอฺของท่าน ( ๕)

๕อุซูลกาฟียฺ เล่ม ๒ หน้า ๔๑๗

๕. การท่องจำอัล-กุรอาน การอ่านโองการซํ้าไปซํ้ามาเป็นการรำลึก

อัลลอฮฺ (ซบ.) ที่ดีทีสุด ซึ่งสิ่งนี้เป็นเตาฟีกอย่างหนึ่งของพระองค์

๖. เป็นการเก็บข้อมูลหลายประการจากอัล-กุรอาน นักท่องจำได้พยายามเก็บรายละเอียดทั้งหมดของอัล-กุรอานทั้งซูเราะฮฺ โองการ การเแปล

การตัฟซีร และสาเหตุของการประทานโองการ เพื่อเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีที่สุดระหว่างสติปัญญากับอัล-กุรอาน และเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ท่องจำได้เร็วที่สุด

๗. การท่องจำเป็นบทนำของการปฏิบัติตามอัล-กุรอาน นักท่องจำ

อัล- กุรอาน เมื่อเทียบกับนักอ่านอัล-กุรอานจะมีการปฏิบัติตามอัล-กุรอานมากกว่า

๘. นักท่องจำอัล-กุรอานตามความเป็นจริงแล้วเขาคืออัล-กุรอานพูดได้

****************

๙๗

หมวดที่ ๔ ขั้นตอนการรู้จักอัล-กุรอาน

อัล-กุรอานุลกะรีมเปรียบเสมือนเป็นสำรับอาหารที่ทรงคุณค่ายิ่งของ

พระผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงเชิญชวนแขกผู้มีเกียรติทุกท่านสู่สำรับอาหารของพระองค์ และให้ใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดเท่าที่มีความสามารถ แต่ละคนสามารถได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอานตามความสามารถและการขวนขวายของตน

การชี้นำ (ฮิดายะฮฺ) ของอัล-กุรอานเป็นไปตามขั้นตอน ซึ่งบางขั้นตอนเป็นการชี้นำสำหรับคนทั่วไป และบางขั้นตอนของการชี้นำสำหรับบุคคลที่มีเงื่อนไขเฉพาะเจาะจงพิเศษเท่านั้น

บางครั้งอาจกล่าวได้ว่า อัล-กุรอานถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำทางมนุษย์ทั้งหมด เพื่อให้ประชาชนทั้งหลายได้เข้าสู่ภายใต้ร่มเงาแห่งการชี้นำของ

อัล- กุรอาน กล่าวว่า เพื่อชี้นามวลมนุษยชาติ ( ๑)

๑อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺบะเกาะเราะฮฺ / ๑๘๕

บางครั้งอาจกล่าวได้ว่า อัล-กุรอานถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำกลุ่มชนที่เฉพาะเจาะจงพิเศษ หมายถึงการได้รับการชี้นำขั้นสูงสุดของอัล-กุรอาน เช่น กลุ่มชนที่มีความยำเกรง

๙๘

อัล-กุรอานกล่าวว่า เพื่อชี้นำมวลผู้มีความยำเกรง ( ๑)

กลุ่มชนที่มีความดีงาม อัล-กุรอาน กล่าวว่า เพื่อชี้นาและเป็นการเมตตาแก่บรรดาผู้กระทาความดี ( ๒)

ในบางครั้ง บางกลุ่มชนใช้ประโยชน์จากความหมายภายนอก หรือเพียงแค่มองไปยังอัล-กุรอานเท่านั้น แต่บางกลุ่มชนได้พิจารณาไตร่ตรองและเข้าไปสู่การอธิบายความหมายที่ลึกซึ้งของอัล-กุรอาน

หนังสือเล่มที่อยู่ตรงหน้าท่านผู้อ่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย พยายามรวบรวมขั้นตอนที่ง่ายที่สุด และรวบรัดเพื่อสร้างความเข้าใจและได้รับประโยชน์มากที่สุดจากอัล-กุรอาน ที่สำคัญที่สุดเพื่อเป็นบันไดก้าวไปสู่การชี้นำขั้นสูงสุดของอัล- กุรอาน เพื่อที่ว่าตัวเราจะได้กลายเป็นชาวอัล-กุรอาน

๑. การมองไปยังอัล-กุรอาน

ขั้นตอนแรกในการรู้จักอัล-กุรอาน หรือคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์แห่งพระผู้เป็นเจ้าคือ การมองไปยังคัมภีร์เป็นขั้นตอนที่ง่ายที่สุดสำหรับการได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอาน เนื่องจากอัล-กุรอานนั้นเป็นรัศมี กล่าวว่า มนุษยชาติทั้งหลาย แน่นอนได้มีหลักฐานจากพระผู้อภิบาลของพวกเจ้ามายังพวกเจ้าแล้ว และเราได้ให้แสงสว่างอันชัดแจ้งลงมายังพวกเจ้าด้วย ( ๓)

๑อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺบะเกาะเราะฮฺ / ๒

๒อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺลุกมาน / ๓

๓อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺนิซาอฺ / ๑๗๔

๙๙

และการมองไปยังอัล-กุรอานเป็นอิบาดะฮฺ ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า การมองไปยังเล่มของอัล-กุรอาน หมายถึงหน้ากระดาษของอัล-กุรอานเป็น

อิบาดะฮฺ ( ๑)

๑บิฮารุลอันวาร เล่ม ๘๙ หน้า ๑๙๙

แม้กระทั่งผู้ท่องจำอัล-กุรอานยังได้รับคำแนะนำว่าให้มองไปยัง

อัล-กุรอานขณะอ่าน ( ๒)

๒อุซูลกาฟียฺ เล่ม ๒ หน้า ๔๔๙ พิมพ์ที่มักตะบะตุลอิสลามียะฮฺ เตหะราน ๑๓๘๘ สุริยคติ

ขั้นตอนดังกล่าวได้ครอบคลุมการได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอานทั้งผู้ที่มีความรู้ และไม่มีความรู้ และยังเป็นแนวทางสำหรับบุคคลที่ยังไม่สามารถอ่านอัล-กุรอาน ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวตามความเป็นจริงแล้วอวัยวะทุกส่วนบนร่างกายต่างได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอานทั้งสิ้น เช่น สายตาได้รับประโยชน์จากการมองไปยังอัล-กุรอาน

๒. การฟังอัล-กุรอาน

ขั้นตอนที่สองสำหรับการได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอานคือ ขณะที่อ่านอัล-กุรอานให้ฟังด้วยความตั้งใจ และใคร่ครวญในความหมาย

๑๐๐

อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า เมื่ออัล-กุรอานถูกอ่านขึ้น จงสดับฟังอัล-กุรอานเถิด และจงนิ่งเงียบ เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับการเอ็นดูเมตตา ( 3)

3อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล อะอฺรอฟ / 204

وَ إِذا قُرِئَ الْقُرْآنُ فَاسْتَمِعُوا لَهُ وَ أَنْصِتُوا لَعَلَّکُمْ تُرْحَمُونَ

คำว่า ( انصتوا ) มาจากคำว่า ( انصات ) หมายถึง การนิ่งเงียบที่ควบคู่กับการฟังด้วยความตั้งใจ 4

4ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 7 หน้า 70

การนิ่งเงียบในทุกที่หรือทุกสถานการณ์เพื่อฟังอัล-กุรอานเป็นมุซตะฮับ 1

ส่วนในนมาซญะมาอะฮฺการฟังอิมามอ่านอัล-กุรานของมะอฺมูม (ผู้นมาซตาม) เป็นวาญิบ 2

คำว่า อิซติมาอฺ หมายถึง การฟังด้วยความตั้งใจ หรือฟังอย่างมีอารมณ์ความรู้สึก มีความหมายเหมือนกับคำว่า อัซฆออฺ 3

คำว่า อัซฆออฺ แตกต่างกับคำว่า ซะมาอฺ หมายถึง การฟังผ่านเพียงอย่างเดียว หรือการฟังโดยปราศจากการใคร่ครวญ 4

๑๐๑

อัล-กรุอานโองการดังกล่าวได้กำหนดหน้าที่ 2 ประการให้กับเรา กล่าวคือ

1. การนิ่งเงียบเมื่อได้ยินหรืออ่านพจนารถของอัลลอฮฺ (ซบ.) ซึ่งเป็นปฐมบทของการ อิซติมาอฺ (ฟังด้วยความตั้งใจ)

2. ให้ฟังด้วยความตั้งใจ หมายถึง การใค่รครวญในความหมายและสาระของโองการ

ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) กล่าวว่า บุคคลใดก็ตามฟังพจนารถคำหนึ่ง โดยที่ตนไม่ได้เป็นผู้อ่าน อัลลอฮฺ ทรงบันทึกความดีให้แก่เขา และลบล้างบาปหนึ่งออกจากเขา พร้อมทั้งยกฐานันดรของเขาให้สูงขึ้นไปขั้นหนึ่ง 5

ข้อควรพิจารณา ขั้นตอนนี้ครอบคลุมทุกคนในสังคม แม้กระทั่งบุคคลที่ไม่สามารถอ่านอัล-กุรอานได้ ก็สามารถฟังความสัจจริงของอัล-กุรอานได้ด้วยจิตใจบริสุทธิ์

-----------------------------------------------

1อิซติฟตาอาตกุรอาน หน้า 147

2ตัฟซีรเนะมูเนะ เล่ม 7 หน้า 70 / 72

3มุฟรอดาต รอฆิบ เอซฟาฮานียฺ หมวดคาว่า ซัมอฺ

4ในเชิงภาษาอาหรับ คาว่า อิซติมาอฺ มาจากรูปกริยาของ อิซติอาล หมายถึง การทำให้เกิดความยากลาบาก ตรงนี้จึง หมายถึง การฟังด้วยความตั้งใจ หรือฟังโดยการใคร่ครวญ เหมือนความแตกต่างของคาว่า กะซะบะ กับ อิกติซาบ

5อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้า 448

๑๐๒

3. การอ่านอัล-กุรอาน

ขั้นตอนที่สามสำหรับการได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอานคือ การอ่าน

อัล- กุรอานจากตัวอัล-กุรอาน หมายถึง การอ่านคำและประโยคของ

อัล-กุรอาน โดยไม่เข้าใจในความหมาย การอ่านอัล-กุรอานสามารถร่วมกับขั้นตอนอื่น เช่น การมองไปยังอัล-กุรอาน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ครอบคลุมบุคคลทั่วไปในสังคม

สำหรับบุคคลที่เข้าใจและไม่เข้าใจในความหมายภาษาอาหรับ การอ่านอัล-กุรอานถือเป็นขั้นตอนแรกสำหรับการเรียนรู้ ริวายะฮฺจำนวนมากมายแนะนำให้มุสลิมทั้งหลายปฏิบัติเช่นนั้น

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า เป็นสิ่งที่ดีสำหรับมวลผู้ศรัทธาทั้งหลาย ก่อนที่จะอำลาจากโลกไปควรเรียนรู้อัล-กุรอาน หรืออยู่ในขั้นตอนของการเรียน รู้ 1

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า บุคคลที่ดีที่สุดในหมู่พวกเจ้าคือ ผู้ที่เรียนรู้อัล-กุรอานและสอนให้แก่บุคคลอื่น

ในขั้นตอนนี้เองจึงได้มีคำแนะนำให้อ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงที่ไพเราะ เป็นจังหวะไปตามความหมาย กวดขันเรื่องหลักการอ่าน (ตัจญฺวิด) และการออกเสียงสำเนียงให้ถูกต้องตามฐานที่เกิดเสียง 2

---------------------------------------------------

1บิอารุลอันวาร เล่ม 92 หน้า 182

2อ้างแล้ว เล่มเดิม หน้า 186

๑๐๓

ข้อควรพิจารณา แม้ว่าขั้นตอนดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการรู้จัก และการมักคุ้นกับอัล-กุรอานก็ตาม แต่จะต้องไม่เพียงพอหรือหยุดการรู้จักอัล-กุรอานอยู่เพียงแค่ขั้นตอนนั้น ทว่าขั้นตอนดังกล่าวเป็นบันไดที่จะนำไปสู่ขั้นตอนที่สูงกว่าต่อไป

4. การอ่านอัล-กุรอาน (การศึกษาพร้อมกับการอ่าน)

การอ่านอัล-กุรอาน เป็นขั้นตอนหนึ่งสำหรับการรู้จักอัล-กุรอาน โองการจำนวนมากมายได้กล่าวแนะนำถึง การอ่านอัล-กุรอานไว้ เช่น กล่าวว่า ดังนั้นพวกเจ้าจงอ่านอัลกุรอานตามแต่สะดวกเถิด 1

กะรออัต เป็นขั้นตอนหนึ่งของการอ่าน ซึ่งประเด็นดังกล่าวถ้าหากสังเกตุการใช้คำตามสำนวนภาษาอาหรับของคนอาหรับทั่วๆไป กับความหมายในเชิงของนักภาษาศาสตร์จะได้รับบทสรุปดังนี้

การใช้สำนวนของคนอาหรับทั่วไป เช่น มีผู้กล่าวว่า กะเราะตุลกิตาบะ ฉันได้อ่านจดหมายของเขาแล้ว หมายถึง เป็นการอ่านที่พร้อมกับสร้างความเข้าใจในเนื้อความของจดหมาย เขาจึงพูดว่า ฉันอ่านแล้ว

มุฟเราะดาต รอฆิบ เอซฟาฮานียฺ กล่าวว่า กะรออัต หมาถึงการอ่านที่คำหรือประโยคให้มีความสอดคล้อง หรือเรียงกันไปอย่างเป็นระเบียบ 2

-----------------------------------------------

1อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ มุซัมมิล 20

2มุฟเราะดาต รอฆิบ เอซฟาฮานียฺ หมวดคาว่า ดะรออัต

๑๐๔

ดังนั้น จะสังเกตุเห็นว่า ความเป็นระเบียบตามขั้นตอนมีบทบาทอย่างมากในการอ่าน และมีผลต่อการสร้างความเข้าใจ อีกทั้งมีผลต่อจิตใจของผู้อ่านอย่างยิ่ง

ริวายะฮฺจำนวนมากเมื่อกล่าวถึง การกะรออัต จะกล่าวว่า ขณะที่พวกเจ้ากำลังอ่านอัล-กุรอาน (กะรออัต) เท่ากับกำลังห้ามพวกเจ้า ถ้าไม่ได้ห้ามพวกเจ้า เท่ากับพวกเจ้าไม่ได้อ่าน 3

3มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่ม 8 หน้า 90

หมายถึง การอ่านที่แท้จริงคือ การอ่านทีมีผลต่อจิตใจ ปรับเปลี่ยนการกระทำของมนุษย์ และห้ามปรามเขามิให้ทำบาปซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ อ่านอัล-กุรอานพร้อมกับสร้างความเข้าใจในความหมายและเรื่องราวที่อัล-กุรอานกำลังกล่าวถึง

อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ มุซัมมิล โองการที่ 20 ที่กล่าวว่า ดังนั้นพวกเจ้าจงอ่านอัลกุรอานตามแต่สะดวกเถิด ท่านอิมามริฎอ (อ.) อธิบายว่า ให้อ่านเท่าที่เจ้ามีจิตใจนอบน้อม และภายในมีความสงบมั่น 1

1มัจมะอุลบะยาน ตอนอธิบายโองการดังกล่าว

ข้อควรพิจารณา ทุกวันนี้ที่มีการอ่านอัล-กุรอานตามงานและพิธีกรรม ต่าง ๆ ถือว่าเป็นการนำเสนอวิธีการอ่านอัล-กุรอานเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นเพียงนิยามหนึง และจากสิ่งที่กล่าวมาทำให้เข้าใจได้ว่า นิยาม ดังกล่าวนอกเหนือไป จากความหมายในเชิงภาษา และการอ่านอัล-กุรอาน

๑๐๕

5. ตัรตีลกุรอาน

อัล-กุรอานกะรีมได้กล่าวถึง การตัรตีล ซํ้าหลายครั้งด้วยกัน ซึ่งการตัรตีลจัดว่าเป็นหนึ่งในขั้นตอนของการรู้จักอัล-กุรอาน เช่น อัล-กุรอานกล่าวว่า

أَوْ زِدْ عَلَيْهِ وَرَتِّلِ الْقُرْآنَ تَرْتِيلًا

หรือมากกว่านั้น และจงอ่านอัลกุรอานช้า ๆ เป็นจังหวะ (ชัดถ้อยชัดคำ) 2

2 อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัลมุซซัมมิล / 4

คำว่าตัรตีล ( ترتيل ) มาจากคำว่า ( رتل ) หมายถึง ความเป็นระเบียบ ประสานเข้าด้วยกัน การได้รับกฎระเบียบของสิ่งหนึ่งจากแนวทางที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใด

หรือการขับคำออกจากปากด้วยความง่ายดายและถูกต้อง การอ่านออกเสียงเป็นจังหวะ เหล่านี้เรียกว่า การตัรตีล ( 1)

1มุฟรอดาต รอฆิบ เอซฟาฮานียฺ หมวดคำว่า เราะตะละ

ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ กล่าวว่า ตัรตีล (อ่านอย่างเป็นจังหวะ) ตามความหมายของรากศัพท์เดิมหมายถึง การจัดระเบียบ หรือจัดจังหวะ ในที่นี้หมายถึง การอ่านอัล-กุรอานอย่างเป็นจังหวะด้วยท้วงทำนองที่ไพเราะ พร้อมกับการออกเสียงอักษรบนฐานเสียงที่ถูกต้อง การอธิบายคำและใคร่ครวญในความหมายของโองการ ตลอดจนการไตร่ตรองในบทสรุป

๑๐๖

ท่านอิมามซอดิก (อ.) อธิบายถึงการตัรตีล (อ่านอย่างเป็นจังหวะ) ว่า เมื่ออ่านโองการผ่านไปถ้าในโองการนั้นกล่าวถึงสวรรค์ ให้หยุดและทูลขอสรวงสวรรค์จากพระองค์ (ให้สร้างตนเองเพื่อสวรรค์) แต่ถ้าโองการที่อ่านผ่านไปกล่าวถึงนรกและการลงโทษ ให้หยุดและขอความคุ้มครองจากพระองค์ให้ตนรอดพ้นและห่างไกลจากสิ่งเหล่านั้น ( 2)

2ตัฟซีร เนะมูเนะฮ เล่มที่ 25 ตอนอธิบาย ซูเราะฮฺ อัลมุซซัมมิล / 4

อีกนัยหนึ่งการอ่านอย่างเป็นจังหวะ (ตัรตีล) ซึ่งมีองค์ประกอบ 2 ประการ หรือมี 2 ขั้นตอนดังนี้

1. ตัรตีลลัฟซียฺ หมายถึง การออกอักษรบนฐานเสียงที่ถูกต้อง การกวด ขันเรื่องการหยุด การไม่อ่านข้าม และความต่อเนื่องในการอ่าน

2. ตัรตีลมะอฺนะวียฺ หมายถึง การใคร่ครวญในโองการและคิดว่าตนคือบุคคลที่อัล-กุรอานกำลังกล่าวถึง กล่าวคือ ข้อแนะนำต่าง ๆ ที่อัล-กุรอานกำลังแจ้งอยู่นั้นหมายถึงตน และมอบหมายการบำบัดความเจ็บปวดทั้งหมดของตนด้วยโองการต่าง ๆ ของพระองค์ ( 1)

1มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่ม 8 หน้า 87

มีริวายะฮฺอีกมากมายที่กล่าวถึงเรื่องการ อ่านตัรตีล

๑๐๗

ข้อควรพิจารณา ทุกวันนี้ที่มีการอ่านอัล-กุรอานตามงานและพิธีกรรม ต่าง ๆ ในรูปแบบของตัรตีล ถือว่าเป็นการนำเสนอวิธีการอ่านอัล-กุรอานในแนวทางใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นเพียงนิยามหนึ่ง และจากสิ่งที่กล่าวมาทำให้เข้าใจได้ว่า นิยาม ดังกล่าวนอกเหนือไปจากความหมายในเชิงภาษาของ

อัล-กุรอาน และริวายะฮฺ ตัรตีลตามความหมายที่กล่าวมานอกเหนือไปจาก การตัรตีลที่สังคมเข้าใจ

ข้อควรพิจารณา ความแตกต่างของการอ่านตัรตีลกับกะรออัตคือ กะรออัตเน้นเรื่องการอ่านอัล-กุรอาน โดยใคร่ครวญในความหมายและผลที่จะเกิดกับจิตใจ ส่วนการอ่านแบบตัรตีลเน้นเรื่องจังหวะทำนอง การออกเสียงและกวดขันเรื่องการหยุด พร้อมทั้งมีการใคร่ครวญเพื่อสร้างความสงบแก่จิตใจ

6. ตะลาวะตุลกุรอาน

การตะลาวัต เป็นอีกหนึ่งในขั้นตอนของการรู้จักอัล-กุรอาน มีหลายที่ด้วยกันที่อัล-กุรอานกล่าวถึง การตะลาวัต เช่น กล่าวว่า

الَّذِينَ آتَيْنَاهُمُ الْكِتَابَ يَتْلُونَهُ حَقَّ تِلَاوَتِهِ أُولَٰئِكَ يُؤْمِنُونَ بِهِ

บรรดาผู้ที่เราได้ให้คัมภีร์แก่พวกเขาโดยที่พวกเขาอ่านคัมภีร์อย่างจริงจัง ชนเหล่านี้คือ ผู้ที่ศรัทธาต่อศาสดา ( 2)

2อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ บะเกาะเราะฮฺ 121

๑๐๘

บางโองการกล่าวว่าหน้าที่ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือการอ่านคัมภีร์ โองการกล่าวว่า

هُوَ الَّذِي بَعَثَ فِي الْأُمِّيِّينَ رَسُولًا مِّنْهُمْ يَتْلُو عَلَيْهِمْ آيَاتِهِ

พระองค์ทรงแต่งตั้งเราะซูลขึ้นคนหนึ่งในหมู่ผู้ไม่รู้จักหนังสือจากพวกเขา เพื่อสาธยายโองการต่าง ๆ ของพระองค์แก่พวกเขา ( 1)

และยังมีอัล-กุรอานโองการอื่นกล่าวสนับสนุนประเด็นดังกล่าว เช่น

อัล- กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล บะเกาะเราะฮฺ 129 / 151, ซูเราะฮฺ อาลิอิมรอน 164, ซูเราะฮฺเกาะซ็อศ 59

คำว่า ตะลาวัต มาจากคำว่า ตะลา หมายถึง การติดตาม หรือการตามอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ การมาของสิ่งหนึ่งบางครั้งอาจแฝงมากับอีกสิ่งหนึ่ง และบางครั้งเป็นการติดตามสิ่งหนึ่งโดยมีจุดประสงค์เพื่อปฏิบัติตาม การอ่านคัมภีร์ของพระผู้เป็นเจ้า หมายถึง การอ่านเพื่อปฏิบัติตามคำสั่างห้ามและคำสั้งใช้ของพระองค์ ดังนั้น การตะวาวัต จึงเฉพาะเจาะจงมากกว่า การกะรออัต แม้ว่าทั้งสองคำจะให้ความหมายว่า อ่าน ก็ตาม ( 2)

1อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ ญุมุอะฮฺ 2

2มุฟรอดาต รอฆิบ เอซฟาอานียฺ หมวดคาว่า ตะลา

นักตัฟซีรบางท่านได้อธิบายสิทธิของการตะลาวัต ไว้ว่า การให้นิยามว่าตะลาวัต มีความหมายมาก เป็นเหมือนสัญญาณที่ชัดแจ้งสำหรับเราเมื่ออยู่ต่อหน้าพระคัมภีร์อันทรงเกียรติ

๑๐๙

ประชาชนเมื่ออยู่ต่อหน้าพระคัมภีร์สามารถแบ่งได้หลายกลุ่ม ดังนี้

- บางกลุ่มเพียงแค่กวดขันเรื่องการอ่านออกเสียงคำต่างๆ

- บางกลุ่มไม่เพียงแต่กวดขันเรื่องการอ่าน แต่ใคร่ครวญในความหมายของโอการด้วย

- บางกลุ่มยึดเอาอัล-กุรอานเป็นครรลองในการดำเนินชีวิต และยอมรับว่าอัล-กุรอานคือแบบอย่างที่สมบูรณ์

กล่าวคือ การอ่านคำและเข้าใจในความหมายจัดว่าเป็นปฐมบทที่โน้มนำไปสู่การปฏิบัติ และสิ่งนี้คือสิทธิของการตะลาวัต

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) อธิบายโองการที่กล่าวว่า พวกเขาอ่านคัมภีร์อย่างจริงจัง ว่าหมายถึง การปฏิบัติตามในสิทธิที่ควรปฏิบัติ( 1)

1มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่ม 8 หน้า 84

7. การเรียนรู้อัล-กุรอาน (การย้อนกลับไปยังอัล-กุรอาน)

หนึ่งในขั้นตอนของการได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอานคือ การเรียนรู้ ซึ่งอัล-กุรอานได้กล่าวถึงประเด็นนี้หลายครั้งด้วยกัน

๑๑๐

อัล-กุรอานกล่าวถึงชาวคัมภีร์ว่า

أَلَمْ يُؤْخَذْ عَلَيْهِم مِّيثَاقُ الْكِتَابِ أَن لَّا يَقُولُوا عَلَى اللَّهِ إِلَّا الْحَقَّ وَدَرَسُوا مَا فِيهِ

มิได้ถูกเอาแก่พวกเขาดอกหรือ ซึ่งข้อสัญญาแห่งคัมภีร์ว่า พวกเขาจะไม่กล่าวพาดพิงเกี่ยวกับอัลลอฮฺ นอกจากความจริงเท่านั้น และพวกเขาก็ได้ศึกษาสิ่งที่อยู่ในคัมภีร์แล้ว( 2)

2อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัลอะอฺรอฟ 169

นักภาษาศาสตร์กล่าวว่า คำว่า ดะเราะซะ นั้นมีองค์ประกอบหลายอย่างด้วยกันกล่าวคือ

1. การอ่านสิ่งหนึ่งอย่าต่อเนื่อง หมายถึง ความต่อเนื่องในการอ่าน ดังนั้น การอ่านเพียงครั้งเดียวจึงไม่ถือว่าเป็นการอ่านหรือเป็นการเรียนรู้ ( 3)

3กอมุซอัล - กุรอาน เล่ม 2 หน้า 338 หมวดคาว่า ดะเราะซะ

2. การทำซํ้าสิ่งๆ หนึ่ง คือ การเรียนรู้ถึงสิ่งนั้น เช่น การเวลาทบทวนบทเรียนที่ครูบาอาจารย์ได้สอนสั่งมาซํ้าหลาย ๆ ครั้ง เรียกว่าเป็นการเรียนรู้ บางครั้ง เราจะเห็นว่าอาคารบ้านเรือนดูเก่าแก่มาก (ดัรซฺ วะ อินดิรอซ)

ที่กล่าวเช่นนั้นเนื่องจากว่า ทั้งลม ฝน แสงแดด และสิ่งอื่นๆ ได้เกิดซํ้าไปซํ้ามาอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นสาเหตุทำให้อาคารเก่าเร็วขึ้น ( 1)

1 ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 6 หน้า 434

๑๑๑

3. การคงเหลือร่องรอยของสิ่ง ๆ หนึ่งเรียกว่าเป็นของเก่าแก่ เช่น เมื่อสภาพเดิมของบ้านหมดสภาพลงก็กลายเป็นบ้านเก่า แต่ยังคงเหลือร่องรอยให้เห็นจึงเรียกว่า (ดัรซุดดาซ) แต่บางครั้งร่องรอยของความรู้คงหลงเหลืออยู่เนื่องจากการท่องจำเรียกว่า (ดัรซุลอิลมิ) หรือ (ดัรซุลกิตาบ)

จากจุดนี้จะเห็นว่าการคงสภาพหลงเหลืออยู่ของความรู้หรือหนังสือ เนื่องจากความต่อเนื่องในการเรียนรู้ จึงเรียกสิ่งนั้นว่า ดัรซฺ ( 2)

จากคำกล่าวของนักอรรถาธิบายอัล-กุรอานและนักภาษาศาสตร์ทำให้ได้บทสรุปว่า คำว่า ดัรซฺ ในโองการ 169 ซูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ ให้ความหมายว่า ความต่อเนื่อง การทำซํ้า และการศีกษาคัมภีร์แห่งฟากฟ้า

ในอีกที่หนึ่งอัล-กุรอานกล่าวว่า

ما کانَ لِبَشَرٍ أَنْ يُؤْتِيَهُ اللَّهُ الْکِتابَ وَ الْحُکْمَ وَ النُّبُوَّةَ ثُمَّ يَقُولَ لِلنَّاسِ کُونُوا عِباداً لي‏ مِنْ دُونِ اللَّهِ وَ لکِنْ کُونُوا رَبَّانِيِّينَ بِما کُنْتُمْ تُعَلِّمُونَ الْکِتابَ وَ بِما کُنْتُمْ تَدْرُسُونَ

2 มุฟรอดาต เอซฟาฮานียฺ หมวดคำว่า ดะเราะซะ

ไม่เคยปรากฏแก่บุคคลใดที่อัลลอฮฺทรงประทานคัมภีร์และข้อตัดสิน และการเป็นนบีแก่เขา หลังจากนั้นเขากล่าวแก่ผู้คนว่า ท่านทั้งหลายจงเป็นบ่าวของฉัน นอกจากอัลลอฮฺ ทว่า (ขาจะกล่าวว่า) ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ที่ผูกพันธ์กับพระผู้อภิบาลเถิดเถิด เนื่องจากพวกท่านเคยเรียนคัมภีร์มา ( 1)

1อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อาลิอิมรอน 79

๑๑๒

คำว่า ร็อบบานียฺ จะกล่าวแก่บุคคลที่ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับพระผู้เป็นเจ้ามีความมั่นคงสูง เนื่องจากคำนี้มาจากรากศัพท์ของคำว่า

ร็อบบะ หมายถึง การอบรมสั่งสอน การดูและ ด้วยเหตุนี้คำๆ นี้ จะใช้กับบุคคลที่ให้การอบรมสั่งสอน หรือปรับปรุงบุคคลอื่น

ฉะนั้น เป้าหมายของบรรดาศาสดาจึงมิใช่การเลี้ยงดูบรรดาประชาชาติ แต่หมายถึงการให้การอบรม เป็นผู้สั่งสอน เป็นครูฝึก และเป็นผู้นำพวกเขา ซึ่งบุคคลเหล่านี้คือกลุ่มชนที่ได้ผ่าน 2 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. เคยเรียนรู้และเห็นคัมภีร์มาก่อน

2. เคยเห็นบทเรียนของคัมภีร์มาก่อน

ความแตกต่างของคำว่า ตะอฺลีม กับ ตัดรีซ อยู่ที่ว่า ตะอฺลีม มีความหมายกว้างกว่า และครอบคลุมการสอนทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการสอนปากเปล่า การสอนโดยใช้สื่อในการสอน และครอบคลุมผู้เรียนทั้งคนโง่และฉลาด

ส่วนคำว่า ตัดรีซ คือการสอนที่สอนโดยอาศัยสื่อซึ่งอาจเป็นตำรา หนังสือ หรือจากการรวบรวมข้อมูลเป็นแผ่น ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบคำทั้งสองจะเห็นว่า คำว่า ตัดรีซ มีความหมายแคบกว่าคำว่า ตะอฺลีม( 1)

1ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ เล่ม 2 หน้า 482

๑๑๓

สรุปว่าเราสามารถรู้จักอัล-กุรอานในระดับที่สูงขึ้นไปได้ด้วยวิธีการอ่านซํ้า อ่านด้วยความใคร่ครวญ และเรียนรู้ถึงความหมาย แต่สิ่งที่ควรจำคือ

อัล-กุรอานต่างไปจากคัมภีร์เล่มอื่นเนื่องจากอัล-กุรอานมีความใหม่อยู่เสมอ การเรียนรู้ซํ้าไปซํ้ามาจะไม่ทำให้มีความเบื่อหน่าย

ริวายะฮฺกล่าวว่ามีคนหนึ่งถามท่านอิมามซอดิก (อ.) ว่า ทำไมอัล-กุรอานยิ่งพิมพ์เผยแพร่ ยิ่งมีการเรียนรู้มากเท่าใด ยิ่งมีความหวานชื่นมากเท่านั้น ท่าน อิมามตอบว่า เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่ได้ประทานอัล-กุรอานลงมาให้ประชาชาติหรือช่วงเวลาที่เฉพาะเจาะจง

อัล-กุรอานจะเป็นคัมภีร์ใหม่เสมอตราบจนถึงวันกิยามะฮฺ และจะให้ความหวานชื่นแก่ทุกประชาชาติ ( 2)

8. การท่องจำและอัล-กุรอาน

หนึ่งในขั้นตอนของการรู้จักอัล-กุรอานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับทุกคนคือ การท่องจำโองการต่างๆ นั่นเอง

ริวายะฮฺจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) มากมายได้กล่าวเน้นเรื่องการท่องจำอัล- กุรอาน เข่น ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) จะไม่ทรงลงโทษบุคคลที่หัวใจของเขาได้บรรจุอัล-กุรอานเอาไว้ ( 3)

-------------------------------------------------

2บิอารุลอันวาร เล่ม 92 หน้า 15

3วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 4 หน้า 524

๑๑๔

แน่นอนถ้าหากหัวใจคือที่พำนักพจนารถของพระผู้เป็นเจ้าแล้วละก็ เท่ากับว่าบุคคลนั้นได้ปกป้องพระดำรัสของพระองค์ และพระองค์จะทรงปกป้องดำรัสของพระองค์ ดังนั้น หัวใจในฐานะแผ่นบันทึกพระดำรัสก็จะถูกปกป้องไปโดยปริยาย

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า บุคคลใดท่องจำอัล-กุรอาน ซึ่งความทรงจำของเขาอ่อนแอมาก อัลลอฮจะประทาน 2 รางวัลแก่เขา ( 1)

ยังจะไม่ดีไปกว่านี้อีกหรือ การที่เรามิได้ถูกห้ามการได้รับผลประโยชน์จากอัล-กุรอานโดยขั้นตอนดังกล่าว เนื่องจากวิธีดังกล่าวมีคุณประโยชน์มากมายสำหรับมนุษย์เอง อย่างน้อยสุดตนได้กลายเป็นผู้ปกป้องรักษาอัล- กุรอาน ทำให้ความทรงจำดีขึ้น เป็นผู้มักคุ้นกับอัล-กุรอาน ที่สำคัญที่สุดจะได้รับผลบุญมากมายจากพระผู้อภิบาล ริวายะฮฺกล่าวว่า ในวันกิยามะฮฺจะมีเสียงตะโกนบอกกับเขาว่า จงอ่าน และจงขึ้นไปด้านบน ทุกโองการที่อ่านจะทำให้ฐานันดรของเขาในสวรรค์สูงขึ้นไปเรื่อยๆ( 2)

1อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้าที่ 433/4

2บิฮารุลอันวาร เล่ม 89 หน้า 22

9. การไตร่ตรองในอัล-กุรอาน

อีกประการหนึ่งสำหรับขั้นตอนการรู้จักอัล-กุรอานคือ การไตร่ตรองและใคร่ครวญในอัล-กุรอาน ซึ่งประเด็นดังกล่าวมีโองการมากมายได้ยํ้าเน้นเอาไว้ และอัล-กุรอานกล่าวเชิญชวนเสมอให้มีการใคร่ครวญในตัวเอง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าการใคร่ครวญเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญของการประทาน

อัล-กุรอาน

๑๑๕

ดังที่กล่าวว่า

كِتَـٰبٌ أَنزَلۡنَـٰهُ إِلَيۡكَ مُبَـٰرَكٌ۬ لِّيَدَّبَّرُوٓاْ ءَايَـٰتِهِۦ وَلِيَتَذَكَّرَ أُوْلُواْ ٱلۡأَلۡبَـٰبِ

คัมภีร์ (อัล-กุรอาน) เราได้ประทานลงมาให้แก่เจ้าซึ่งมีความจำเริญ เพื่อพวกเขาจะได้พินิจพิจารณาฌองการต่าง ๆ ของอัล-กุรอานและเพื่อปวงผู้มีสติปัญญาจะได้ใคร่ครวญ ( 1)

ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ ได้อธิบายโองการดังกล่าวว่า เป้าหมายในการประทานคัมภีร์อันทรงเกียรติ มิได้ให้อ่านแต่เพียงอย่างเดียว ทว่าเป้าหมายหลักของการประทานคือการใคร่ครวญและไตร่ตรองในคัมภีร์ ( 2)

บางครั้งอัล-กุรอานกล่าวว่าประณามบุคคลที่ไม่ใคร่ครวญในอัล-กุรอาน เช่น กล่าวว่า

أَ فَلا يَتَدَبَّرُونَ الْقُرْآنَ أَمْ عَلي‏ قُلُوبٍ أَقْفالُها

พวกเขามิได้พิจารณาใคร่ครวญอัล-กุรอานดอกหรือ หรือว่าหัวใจของพวกเขามีกุญแจหลายดอกลั่นอยู่( 3)

ริวายะฮฺจำนวนมากมายได้กล่าวเน้นถึงการใคร่ครวญในอัล-กุรอาน เช่น ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า พึงสังวรไว้เถิดว่าการอ่านที่ไม่มีการใคร่ครวญในนั้นไม่มีความดีงามใด ๆ ทั้งสิ้น( 4)

-------------------------------------------------------------

1อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ ซ็อด โองการ 29

2ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 19 หน้า 268

3อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ มุฮัมมัด 24

4บิฮารุลอันวาร เล่ม 92 หน้า 211, เล่ม 2 หน้า 49

๑๑๖

คำว่า ตะดับบุร มาจากรากศัพท์คำว่า ดะบะเราะ หมายถึง ด้านหลังของสิ่งหนึ่ง ดังนั้น ตะดับบุร จึงหมายถึง การครุ่นคิดเบื้องหลังของภารกิจทั้งหลาย( 5)

5 มุฟรอดาต รอฆิบ เอซฟาฮานียฺ หมวดคำว่า ดะบะเราะ

หมายถึง บั้นปลายสุดท้ายของการงานหรือปรากฏการณ์ที่ได้เห็น หลังจากนั้นได้ใคร่ครวญและทบทวนในเหตุการณ์เหล่านั้น

ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ กล่าวว่า ตะดับบุร มาจากรากศัพท์ของคำว่า ดะบะเราะ หมายถึง การพิสูจน์บทสรุปของสิ่ง ๆ หนึ่ง ต่างกับการ ตะฟักกุร (การคิด) ซึ่งส่วนมากจะคิดถึงสาเหตุที่เกิดของสิ่งๆ นั้น และทั้งสองคำถูกใช้ใน

อัล-กุรอานในความหมายที่กว้าง

คำว่า อักฟาล ในโองการที่ 24 ซูเราะฮฺ มุฮัมมัด เป็นพหูพจน์ของคำว่า

กุฟลิ ซึ่งมาจากรากศัพท์ของคำว่า กุฟูล หมายถึง การกลับ หรือ กุฟีล ให้ความหมายว่า สิ่งที่แห้ง ดังจะเห็นว่าถ้ามีคนๆ หนึ่งปิดประตูและใส่กุญแจอย่างดี ผู้ที่เห็นว่าประตูใส่กุญแจไว้ เขาก็จะหันหลังกลับทันที เหมือนกันสิ่งของที่แห้งจะไม่มีสิ่งใดซึมผ่านมันเข้าไปได้ ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวว่า กุฟีล

การที่จะได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอาน จำเป็นอย่างยิ่งที่บุคคลนั้นต้องมีการขัดเกลาตนเองเสียก่อน เพราะอะไร เนื่องจากว่าถ้าหัวใจของเราถูกใส่กุญแจไว้ หมายถึง ถูกอารมณ์ใฝ่ตํ่าครอบงำ หรือถูกความยะโสโอหัง

ความอคติอวดดี และความเห็นแก่ตัวควบคุมอยู่ โดยไม่ยอมให้สิ่งอื่นหรือแม้แต่รัศมีของอัล- กุรอานเล็ดลอดเข้าไปจะมีประโยชน์อันใดอีก

ฉะนั้น นี่คือความหมายของโองการที่กำลังกล่าวถึง ( 1)

1 ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 21 หน้า 467/9

๑๑๗

ข้อควรพิจารณา การตะดับบุร ก็คือ ความเข้าใจด้านใน หรือการตะอฺวีล และเป้าหมายของอัล-กุรอานซึ่งแอบแฝงอยู่ที่คำต่าง ๆ เช่น

เรื่องราวเกี่ยวกับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ที่ปรากฏในอัล-กุรอาน โดยมีเป้าหมายเพื่อสาธยายแบบฉบับของพระผู้เป็นเจ้า และให้บทเรียนอันทรงคุณค่า และมีความสำคัญอย่างยิ่ง สิ่งสำคัญคือการสร้างความเข้าใจในสาส์นทั่วๆ ไปของเรื่องราวดังกล่าว เพื่อนำมาเป็นบทเรียนให้แก่ตัวเอง

10. การคิดในอัล-กุรอาน (ตะฟักกุร)

ขั้นตอนการรู้จักอัล-กุรอานอีกประการหนึ่งคือ การคิดในโองการต่างๆ ของพระองค์ ซึ่งมีหลายโองการที่ได้กล่าวถึงประเด็นนี้เอาไว้ เช่น กล่าวว่า

إِنَّا أَنْزَلْناهُ قُرْآناً عَرَبِيًّا لَعَلَّکُمْ تَعْقِلُونَ

แท้จริงพวกเราได้ประทานอัล-กุรอานแก่เขาเป็นภาษาอาหรับเพื่อพวกเจ้าจะใช้ปัญญาคิด( 1)

1อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ ยูซุฟ 2

๑๑๘

บางครั้งอัล-กุรอานได้แนะนำว่าเป้าหมายของการประทานอัล-กุรอานคือการคิดไตร่ตรองของมนุษย์ ดังที่กล่าวว่า

بِالْبَيِّناتِ وَ الزُّبُرِ وَ أَنْزَلْنا إِلَيْکَ الذِّکْرَ لِتُبَيِّنَ لِلنَّاسِ ما نُزِّلَ إِلَيْهِمْ وَ لَعَلَّهُمْ يَتَفَکَّرُونَ

ด้วยหลักฐานทั้งหลายที่ชัดแจ้ง และคัมภีร์ต่างๆ ที่ศักดิ์สิทธิ์ เราได้ประทานอัล-กุรอานแก่เจ้าเพื่อเจ้าจะได้สาธยายแก่มนุษย์ในสิ่งที่ได้ถูกประทานมาแก่พวกเขา เพื่อพวกเขาจะได้ไตร่ตรอง( 2)

ริวายะฮฺจำนวนมากมายได้เชิญชวนมนุษย์ไตร่ตรองในโองการต่าง ๆ ของพระองค์( 3)

-------------------------------------------------------------------

2อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล นะฮฺลิ 44

3มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่ม 8 หน้า 88

๑๑๙

ดังที่เคยกล่าวมาแล้วว่านักอรรถาธิบายอัล-กุรอานบางท่านในยุคปัจจุบันกล่าวว่า ตะฟักกุร คือการไตร่ตรองถึงสาเหตุที่เกิดของสิ่งนั้น

ส่วน การตะดับบุร คือการไตร่ตรองถึงผลหรือบทสรุปของการเกิดของสิ่งนั้น( 1)

1ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ เล่ม 21 หน้า 469

ในวิชาตรรกวิทยาได้กล่าวว่า เหตุผลนั้นมี 2 ลักษณะกล่าวคือ

ลิมมียฺ กับ อินนียฺ

เหตุผลที่เป็นลิมมียฺ หมายถึง การคิดจากสาเหตุที่เกิดไปหามูลเหตุแห่งการเกิด

ส่วนเหตุผลที่อินนีย์ คือการคิดจากมูลเหตุที่เกิดไปหาสาเหตุของการเกิด

บางที่อาจกล่าวได้ว่า การตะดับบุรนั้นหมายถึง เหตุผลที่เป็นอินนียฺ

ส่วนการตะฟักกุรนั้น หมายถึงเหตุผลที่เป็นลิมมียฺ

ข้อควรพิจารณา ตะฟักกุร คือความเข้าใจภายนอกของอัล-กุรอาน หรืออีกนัยหนึ่งคือ การอรรถาธิบาย เช่น ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวของบรรดาศาสดาทั้งหลาย

๑๒๐

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154