การรู้จักอัล-กุรอาน

การรู้จักอัล-กุรอาน37%

การรู้จักอัล-กุรอาน ผู้เขียน:
ผู้แปล: เชคชรีฟ เกตุสมบูรณ์
กลุ่ม: ห้องสมุดกุรอาน
หน้าต่างๆ: 154

การรู้จักอัล-กุรอาน
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 154 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 52026 / ดาวน์โหลด: 5898
ขนาด ขนาด ขนาด
การรู้จักอัล-กุรอาน

การรู้จักอัล-กุรอาน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

ค. แนวทางหลักสำหรับการท่องจำอัล-กุรอาน

๑. อ่านโองการซํ้า หมายถึง เริ่มต้นอ่านอัล-กุรอานและอ่านซํ้าไปมาจนจำ ซึ่งวิธีการนี้มีรายละเอียดว่า บางครั้งอ่านจนจบโองการโดยอ่านซํ้าไปซํ้ามา หรือบางครั้งแบ่งโองการออกเป็นส่วนต่างๆ หมายถึง สังเกตช่วงหยุดของโองการและแบ่งไปตามนั้น มิใช่แบ่งตามความสั้นยาวของโองการ หลังจากนั้นให้อ่านซ้ำไปซํ้ามาจนจำ หลังจากท่องจำแล้วกี่โองการก็ตามให้อ่านทวนใหม่ตั้งแต่แรกจนจบ

๒. ฟังอัล-กุรอานจากเทปบันทึก หมายถึงการอ่านโองการซํ้าพร้อมกับฟังเสียง ซึ่งแนวทางนี้การฝึกฝนและการฟังมีผลอย่างมากต่อการท่องจำ

๓. ใช้วิธีการเขียนโองการ หมายถึงให้เขียนโองการซํ้าหลาย ๆ ครั้งจนกระทั่งเกิดความเคยชินโดยไม่ต้องดูตัวบทเวลาเขียนครั้งต่อไป ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้จำอัล-กุรอานไปในตัว

ข้อควรพิจารณา

นักท่องจำอัล-กุรอานและผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายต่างให้ทัศนะว่าวิธีการแรกเป็นวิธีที่ดีที่สุด

ง. การท่องจำอัล-กุรอานและเด็ก

ประสบการณ์ได้บอกว่าช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับท่องจำอัล-กุรอานคือ เริ่มตั้งแต่อายุ ๖ ถึง ๑๕ ปี เนื่องจากในวัยนี้สมองเด็กยังว่างอยู่ไม่มีเรื่องต้องคิด ไม่ต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว ซึ่งเป็นวัยที่มีความเหมาะสมที่สุด

๘๑

แน่นอนว่าก่อนวัยนี้ตัวการอื่นๆ ก็มีผลไม่น้อยต่อการท่องจำอัล-กุรอานเช่น

๑. การอ่านอัล-กุรอานของมารดาที่กำลังตั้งครรภ์ ซึ่งมีผลในทางบวกอย่างมากกับทารกที่อยู่ในครรภ์ และตัวการสำคัญก่อนช่วงนี้คือ อสุจิที่สะอาดของบิดา พลังอีหม่าน ความยำเกรง และจิตใจที่ใสสะอาดของบิดามารดาเป็นตัวการสำคัญที่จะให้จิตวิญญาณแก่ทารกน้อยในครรภ์

๒. การอ่านอัล-กุรอานให้ทารกที่อยู่ในวัยกินนม ซึ่งเป็นสาเหตุให้เด็กมีความคุ้นเคยกับอัล-กุรอาน

บางท่านได้เขียนว่า การอ่านอัล-กุรอานให้เด็กเป็นภารกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่งและเป็นการกระทำมีความเหมาะสมที่สุด ซึ่งในอนาคตสิ่งนี้จะกลายเป็นตัวการสำคัญสำหรับการท่องจำอัล-กุรอาน

๓. การเชิญชวนเด็กให้รักที่จะอ่านและท่องจำอัล-กุรอาน แต่การบังคับเด็กให้ท่องจำเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง ทว่าเป็นวิธีที่จะทำให้เด็กมีปฏิกิริยาแข็งกร้าวและไม่ชอบอัล-กุรอานในที่สุด

วิธีดึงดูดใจที่ดีที่สุดเพื่อให้เด็กมีความรักและคิดอยากท่องจำอัล-กุรอานคือ การเล่าเรื่องเล่าต่างๆ ในอัล-กุรอานพร้อมกับอ่านโองการประกอบ

******************

๘๒

หมวดที่ ๓ ผลสะท้อนของอัล-กุรอานที่มีต่อมนุษย์

อัล-กุรอานนั้นเหมือนกับการอ่าน การท่องจำ ความเข้าใจ และการปฏิบัติที่มีผลต่อมนุษย์ ซึ่งการส่งผลของอัล-กุรอานมีทั้งส่วนตัวและส่วนรวม

ณ ที่นี้จะขอกล่าวบางกรณีเท่านั้น เช่น

ก. การส่งผลในการอ่านอัล-กุรอาน

ตามที่กล่าวมาแล้วในหัวข้อมารยาททั้งภายนอกและภายใน ของการอ่านอัล-กุรอานมีผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก กล่าวคือ

๑. เป็นการรำลึกถึงอัลลอฮฺ

นักอ่านอัล-กุรอานทั้งหลายจะเริ่มอ่านด้วยการระลึกถึงพระผู้เป็นเจ้า โดยกล่าวว่า บิสมิลลาฮฺ ฮิรเราะฮฺมานิรรอฮีม ซึ่งการกล่าวประโยคนี้ออกมา

ถือว่าเป็นการรำลึกถึงพระองค์ที่ดีที่สุด และทำให้เรารู้จักสัจธรรมมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ไม่ว่ามนุษย์รำลึกถึงพระองค์มากเท่าใด มนุษย์ก็จะใกล้ชิดกับพระองค์มากเท่านั้น

๒.เป็นการเปิดประตูแห่งการเคารพภักดี

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า ประตูแห่งการเคารพภักดีสามารถเปิดได้ด้วยการกล่าวบิสมิลลาฮฮฺ ( ๑)

๑ซะฟีนะตุลบิฮาร เล่ม ๒ หน้า ๔๑๗

๘๓

ดังนั้น จะเห็นว่าหนึ่งในประโยชน์สำคัญของการอ่านอัล-กุรอานคือการเริ่มต้นด้วยบิสมิลลาฮฺ เท่ากับเป็นการเปิดประตูแห่งการเคารพภักดี

๓. เป็นการปิดประตูบาป

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า ประตูแห่งบาปทั้งหลายสามารถปิดได้ด้วยการกล่าวขอความคุ้มครองจากพระองค์ว่า

อะอูซุบิลลาฮิมินัชชัยฏอนิรเราะญีม ( ๒)

๒อ้างแล้วเล่มเดิม

ดังที่กล่าวไปแล้วว่า หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัล-กุรอาน คือ

การขอความคุ้มครองจากพระองค์ ซึ่งประโยชน์คือเป็นการปิดประตูบาปต่างๆ

๔. ประสบความสำเร็จในการอ่านดุอาอฺก่อนและหลังการอ่านอัล-กุรอาน

ดุอาอฺ หมายถึง การเรียกร้องหรือการวิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้าในสิ่งที่ตนปรารถนา ดังที่กล่าวไปแล้วว่าเป็นสิ่งที่ดีก่อนและหลังการอ่านอัล-กุรอานให้ดุอาอฺ ซึ่งสามารถดุอาอฺตามที่ริวายะฮฺที่ได้กล่าวไว้ หรือทุกดุอาอฺที่ต้องการสามารถกล่าวได้ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามทั้งสองกรณี ดุอาอฺคือ เตาฟีกสำหรับผู้อ่านอัล-กุรอานเพราะเท่ากับได้สนทนาและวิงวอนในสิ่งที่ตนปรารถนาจากพระองค์ และบั้นปลายสุดท้ายเท่ากับมนุษย์มีเตาฟีกเพิ่มขึ้นในการดำเนินชีวิต ทั้งทางโลกและทางธรรม

๘๔

๕. รางวัลของผู้อ่านอัล-กุรอานคือดุอาอฺถูกยอมรับ

ท่านอิมามซอดิก (อ.) รายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า บุคคลใดเปิดอัล-กุรอานและอ่านจนจบดุอาอฺของเขาจะถูกตอบรับ ณ อัลลอฮฺ ( ๑)

๑บิฮารุลอันวาร เล่ม ๘๙ หน้า ๒๐๔

๖. อัล-กุรอานเป็นสาเหตุให้อีหม่านเพิ่มพูน

เมื่อมีซูเราะฮฺถูกประทานลงมาได้มีคนหนึ่งพูดว่า อัล-กุรอานบทนี้ทำให้ผู้ใดมีอีห่มานเพิ่มขึ้นบ้าง อัล-กุรอานกล่าวว่า

وَإِذَا مَا أُنزِلَتْ سُورَةٌ فَمِنْهُم مَّن يَقُولُ أَيُّكُمْ زَادَتْهُ هَذِهِ إِيمَانًا فَأَمَّا الَّذِينَ آمَنُواْ فَزَادَتْهُمْ إِيمَانًا وَهُمْ يَسْتَبْشِرُونَ

และเมื่ออัล-กุรอานบทหนึ่งถูกประทานลงมา ดังนั้น ในหมู่พวกเขามี

ผู้กล่าวว่า มีใครบ้างจากพวกท่านที่บทนี้ทำให้เขามีศรัทธาเพิ่มขึ้น ฉะนั้นสำหรับบรรดาผู้ศรัทธา บทนี้ได้ทำให้ศรัทธาของพวกเขาเพิ่มขึ้น แล้วพวกเขาก็มีความปิติยินดี ( ๑)

๑อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺอัต เตาบะฮฺ ๑๒๔

๘๕

อีกโองการหนึ่งกล่าวว่า

وَإِذَا تُلِيَتْ عَلَيْهِمْ آيَاتُهُ زَادَتْهُمْ إِيمَانًا وَعَلَى رَبِّهِمْ يَتَوَكَّلُونَ

และเมื่อบรรดาโองการของพระองค์ถูกอ่านแก่พวกเขา โองการเหล่านั้นได้เพิ่มพูนความศรัทธาแก่พวกเขา (อันฟาล ๒)

๗. ความโปรดปรานของพระองค์ถูกประทานลงมากับอัล-กุรอาน

อัล-กุรอานกล่าวว่า และเราได้ประทานส่วนหนึ่งจากอัล-กุรอานลงมา ซึ่งเป็นการบำบัดและความเมตตาแก่บรรดาผู้ศรัทธา ( ๒)

๒อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัลอิซรออฺ ๘๒

ดังนั้น นักอ่านอัล-กุรอานคือ บุคคลแรกที่มีส่วนร่วมในความโปรดปรานของอัล-กุรอาน

๘. อัล-กุรอานเป็นชะฟาอฺ

อัล-กุรอานเป็นโอสถที่บำบัดโรคภายในของมนุษย์ อาการป่วยใข้ทางจิตใจ และเป็นยารักษาสำหรับบุคคลที่มีอาการป่วยทางใจที่มนุษย์ด้วยกันไม่สามารถรักษาให้หายได้ และโดยเหตุผลแล้วบุคคลแรกที่ได้รับการรักษาโดยอัล-กุรอานคือ ผู้อ่านอัล-กุรอานทั้งหลาย

๘๖

๙. การชี้นำของพระผู้เป็นเจ้า

อัล-กุรอานเป็นคัมภีร์แห่งการชี้นำ บุคคลแรกที่ได้รับการชี้นำจาก

อัล-กุรอานคือ ผู้ศรัทธาและผู้มีความยำเกรง อัล-กุรอานกล่าวว่า

จงกล่าวเถิด มุฮัมมัด อัล-กุรอานเป็นทางนำและเป็นการบำบัดแก่บรรดา

ผู้ศรัทธา ส่วนบรรดาผู้ไม่ศรัทธานั้น ( ๑)

๑.อัล - กุรอาน อัซ ฟุซซิลัต ๔๔

จริงอยู่ที่ว่าการชี้นำแบ่งออกเป็นหลายขั้นตอน แต่ละคนจะได้รับไม่เท่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถและความพอดี แต่อย่างไรก็ตามทุกคนมีสิ่ทธิ์ได้รับประโยชน์จากการชี้นำทั้งสิ้นแต่จะมากหรือน้อยอย่างไร ขึ้นอยู่กับอีหม่านและความยำเกรงของแต่ละคนว่าจะมากน้อยเพียงใด

๑๐.ทำความสะอาดภายในและสร้างสรรค์จิตวิญญาณ

ผู้อ่านอัล-กุรอาน ถ้าหากใส่ใจต่อมารยาทด้านในของการอ่านมากเท่าใด ความบริสุทธิ์ใจ และความสงบมั่นของจิตวิญญาณก็จะเพิ่มมากขึ้นไปตามขั้นตอน เท่ากับเป็นการขัดเกลาจิตใจและสร้างสรรค์จิตวิญญาณไปในตัว

๘๗

๑๑. ความสะอาดตามชัรอียฺ

ก่อนอ่านอัล-กุรอาน ผู้อ่านทุกท่านต้องฆุซลฺหรือวุฎูอฺก่อน เพื่อขจัดความโสมมและความโสโครกของจิตวิญญาณให้หมดไป หมายถึงวุฎูอฺและฆุซลฺนั้นจะช่วยสร้างรัศมีและขจัดความโสมมภายในจิตใจให้หมดไป เรียกว่าเป็นความสะอาดตามชัรอียฺ ดุจดังเช่นที่ได้ขจัดความโสโครกให้หมดไปจากร่างกาย

๑๒. อนามัยส่วนตัว

ผู้อ่านอัล-กุรอานควรจะแปรงฟัน อาบนํ้า มีวุฎูอฺ หรือสวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ซึ่งการกระทำเช่นนี้เท่ากับเป็นการรักษาความสะอาดส่วนตัว ทำให้เป็นคนมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง

๑๓. กลายเป็นชาวกุรอาน

การอ่านและการสร้างความคุ้นเคยกับอัล-กุรอาน จะทำให้มนุษย์ได้รับรัศมีและอยู่ภายใต้คำสอนของอัล-กุรอานไปโดยปริยายที่ละน้อย และเขาจะกลายเป็นมนุษย์กุรอานไปในที่สุด หมายถึงจะปฏิบัติตัวและไม่กระทำสิ่งใดขัดกับอัล-กุรอานเด็ดขาด กิริยามารยาทจะกลายเป็นกิริยาของอัล-กุรอาน ความเชื่อก็อัล-กุรอาน ความสะอาดก็อัล-กุรอาน อีกนัยหนึ่ง เท่ากับเขาได้ย้อมตัวเองดัวยสีสันของอัล-กุรอาน ฐานันดรของเขาจะสูงส่งขึ้นไปเรื่อย ๆ จนกลายเป็นภาพลักษณ์และคำพูดของอัล-กุรอาน

๘๘

๑๔. ความคิดจะเติบโต

ขณะที่อ่านอัล-กุรอาน ถ้าตรึกตรองตามไปทีละน้อย จะเป็นสาเหตุทำให้ความคิดอ่านของตนั้นนเติบโตตามไปด้วย แน่นอนเมื่อความคิดเติบโตก็จะทำให้การดำเนินชีวิตประสบแต่ความสำเร็จ

๑๕. เป็นการอิบาดะฮฺทางสายตา

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า การมองไปที่หน้ากระดาษของอัล-กุรอานเป็นอิบาดะฮฺ ( ๑)

แน่นอนพระวัจนะของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เหมาะสมสำหรับบุคคลที่อ่านอัล-กุรอานเป็นประจำ ท่าน (ซ็อล ฯ) กล่าวอีกว่า สายตาได้รับประโยชน์จากการอิบาดะฮฺก็เมื่อยามที่มองไปยังอัล-กุรอาน ( ๒)

๑บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๘๙ หน้า ๑๙๙

๒มะฮัจญะตุลบัยฎอ เล่ม๒ หน้า ๒๓๑

๑๖. ส่งผลต่อการเลี้ยงดูบุตร

เมื่อบิดา มารดา อ่านอัล-กุรอานในบ้าน แน่นอนย่อมส่งผลในทางบวกแก่บุตรและธิดาของตน เท่ากับเป็นการอบรมสั่งสอนบุตรในทางอ้อม และเป็นสาเหตุทำให้บุตรของตนมีความรักต่ออัล-กุรอาน

๘๙

๑๗. เป็นการชำระล้างบาปต่าง ๆ

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า การอ่านอัล-กุรอานเป็นการขอลุแก่โทษบาปกรรม ( ๑)

๑๘. ทำให้ปลอดภัยจากไฟนรก

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า การอ่านอัล-กุรอานคืออุปสรรคขวางกั้นไฟนรก และเป็นสาเหตุให้ปลอดภัยจากการลงโทษของพระองค์

๑๙. เป็นการสนทนากับพระผู้เป็นเจ้า

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า เมื่อใดก็ตามหากพวกท่านต้องการสนทนากับพระผู้อภิบาลละก็จงอ่านอัล-กุรอาน ( ๒)

๒๐. การอ่านอัล-กุรอานทำให้จิตใจมีชีวิตชีวา ( ๓)

๒๑. การอ่านอัล-กุรอานเป็นอุปสรรคในการทำอนาจารทั้งหลาย

แน่นอนถ้าหากเราเป็นนักอ่านอัล-กุรอานที่แท้จริง และรู้จักไตร่ตรองโองการต่าง ๆ วิถีชีวิตและความคิดอ่านของเราย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี

๑บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๙๒ หน้า ๑๗

๒บิฮารุลอันวาร เล่ม ๙๒ หน้า ๑๗

๓อ้างแล้วเล่มเดิม

๙๐

และนอกเหนือจากการอ่านแล้ว ยังได้ปฏิบัติตามอัล-กุรอานอีกต่างหาก ความชั่วและความอนาจารทั้งหลายจะเกิดในสังคมได้อย่างไร

ข. ผลการอ่านอัล-กุรอานที่เกิดกับชีวิตทางสังคม

ประเด็นที่กล่าวถึงมารยาททั้งภายนอกและภายใน เกี่ยวกับการอ่าน

อัล- กุรอาน สามารถกล่าวได้ว่าสิ่งนี้มีบทบาทมากกับวิถีชีวิตทางสังคม เช่น

๑. เป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมอัล-กุรอานแก่สังคม

เมื่อทุกคนอ่านอัล-กุรอานจากเล่มผลที่จะตามมาคือ การพิมพ์อัล-กุรอานให้พอดีกับจำนวนคน เมื่ออัล-กุรอานถูกพิมพ์มาก และการอ่านได้รับความนิยมมากเท่าใดวัฒนธรรมของอัล-กุรอานก็จะเติบโตมากเท่านั้น และเป็นการเรียกร้องให้ประชาชนให้สนใจอัล-กุรอานมากยิ่งขึ้น เช่น ในอิหร่านปัจจุบันเมื่อเทียบกับอิหร่านก่อนการปฏิวัติจะแตกต่างกันลิบลิ่ว สมัยก่อนไม่มีคนสนใจอัล-กุรอานเท่าที่ควร จะมีเฉพากผู้ใหญ่ คนสูงอายุ และนักเรียนศาสนาเท่านั้น อิหร่านไม่เคยมีชื่อเสียงเรื่องการอ่าน และการท่องจำอัล-กุรอาน แต่ปัจจุบันนี้อิหร่านสามารถพัฒนาการอ่าน และการท่องจำอัล-กุรอานเป็นอันดับหนึ่งในเอเซียหรือในโลกก็ว่าได้ ทุกสาขาอาชีพในอิหร่านมีนักกอรียฺและนักท่องจำส่งเข้าแข่งขันเสมอ มีนักท่องจำอัล-กุรอานรุ่นจิ๋วตั้งแต่อายุ ๓ ขวบขึ้นไปจำนวนมากมาย สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของวัฒธรรมอัล-กุรอานและความสนใจของประชาชน

๙๑

๒. การพบวิชาการสมัยใหม่และแนวทาง

ภายใต้ร่มเงาของการอ่านอัล-กุรอานทำให้พบวิชาการใหม่ ๆ เช่น หลักการอ่านอัล-กุรอาน ความรู้เกี่ยวกับอัล-กุรอาน และการอธิบาย

อัล-กุรอาน

๓. การประกวดแข่งขันอัล-กุรอานอย่างต่อเนื่อง

เมื่อสังคมต้อนรับการอ่านอัล-กุรอานมากขึ้น การแข่งขันในเชิงวิชาการทั้งการอ่าน การท่องจำ และการอธิบายอัล-กุรอานตามหน่วยงาน

องค์กรต่าง ๆ และระดับประเทศก็มีมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งผลที่ตามมาคือ ประชาชนส่วนใหญ่รักการฝึกฝนความศรัทธาของตนไปโดยปริยาย

๔. ทำให้ภาษาอัล-กุรอานเติบโตมากขึ้น

เมื่อสังคมมีการอ่านอัล-กุรอานกันมากยิ่งขึ้นภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นภาษาอัล-กุรอานก็ได้รับความสนใจมากขึ้นตามลำดับ อีกด้านหนึ่งภาษาอาหรับถือเป็นภาษากลางสำหรับชาวมุสลิมทุกคน เมื่อทุกคนเข้าใจภาษา

อัลกุรอานมากขึ้น การโจมตีทางด้านวัฒนธรรมก็จะลดน้อยลงไปตามลำดับ ประกอบกับทำให้มีการสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน มีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

๙๒

๕. ผลของการยอมรับการเรียนรู้อัล-กุรอาน

การเติบโตด้านการอ่านอัล-กุรอานเป็นสาเหตุทำให้วัฒนธรรม ความรู้ และจริยธรรมอิสลามเติบโตตามไปด้วย และเป็นการสนับสนุนให้ประชาชนลำรึกถึงอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ดีวิธีหนึ่ง อีกทั้งเป็นการสอนให้ประชาชนรำลึกถึงพระองค์ในทางอ้อม

๖. อัล-กุรอานเป็นยาบาบัดอาการป่วยไข้ของสังคม

ดังที่ทราบแล้วว่าอัล-กุรอานเป็นยารักษาอาการป่วยไข้ภายในดีที่สุด ซึ่งเป็นสาเหตุในการบำบัดสังคมไปในตัว อัล-กุรอานกล่าวว่า

قُلْ هُوَ لِلَّذِينَ آمَنُوا هُدًى وَشِفَا

อัลกุรอานเป็นแนวทางที่เที่ยงธรรม เป็นทางนำและเป็นการบำบัดบรรดาผู้ศรัทธา ( ๑)

๑อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัซ ฟุซซิลัต ๔๔

وَنُنَزِّلُ مِنَ الْقُرْآنِ مَا هُوَ شِفَاءٌ وَرَحْمَةٌ لِّلْمُؤْمِنِينَ

และเราได้ให้ส่วนหนึ่งจากอัลกุรอานเป็นการบำบัดและความเมตตาแก่บรรดาผู้ศรัทธา ( ๒)

๒อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล อิซรอ ๘๒

๙๓

อัล-กุรอานยํ้าเน้นเสมอเรื่องการต่อสู้กับสิ่งอานาจารและความชั่วร้าย และเป็นยาบำบัดความป่วยไข้ของสังคมที่ดีที่สุด อัล-กุรอานปลุกจิตวิญญาณของสังคมให้ตื่นขึ้น และสอนประชาชาติให้รู้จักการเสียสละทั้งเลือดเนื้อและทรัพย์สิน เพื่อปกป้องมาตุภูมิและศาสนาของตน

แน่นอนการที่อัล-กุรอานสอนเช่นนี้เนื่องจากสิ่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ที่สามารถทำให้สังคมมนุษย์รอดพ้นความวิบัด มีความจำเริญ และมีความสมบูรณ์ บนพื้นฐานดังกล่าวทำให้ประชาชาติแสดงความเคารพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่คิดร้าย หรืออคติ หรือนินทาว่าร้ายกันและกัน ในอีกด้านหนึ่งถ้าสังคมใดปราศจากสิ่งเหล่านี้ สังคมนั้นก็จะกลายเป็นสังคมที่สะอาดบริสุทธิ์ และมีความสงบเรียบร้อย

๗. การช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากการปกครองที่กดขี่ของทรราช

อัล-กุรอาน กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า

وَلَقَدْ بَعَثْنَا فِي كُلِّ أُمَّةٍ رَّسُولًا أَنِ اعْبُدُوا اللَّـهَ وَاجْتَنِبُوا الطَّاغُوتَ ۖ

แน่นอน เราได้ส่งเราะซูลลงมาในทุกๆ ประชาชาติ เพื่อเชิญชวนมนุษย์ไปสู่การเคารพภักดีต่อพระเจ้า และออกห่างจากบรรดาผู้อธรรม ( ๑)

๑อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อันนะฮฺลิ ๓๖

๙๔

๘. เพื่อการช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากการตั้งภาคีเทียบเคียงกับพระเจ้า

๙. การช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากให้รอดพ้นจากบิดเบือน

อัล-กุรอานกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า

فَالَّذِينَ آمَنُوا بِهِ وَعَزَّرُوهُ وَنَصَرُوهُ وَاتَّبَعُوا النُّورَ الَّذِي أُنزِلَ مَعَهُ ۙ أُولَـٰئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُونَ

ดังนั้น บรรดาผู้ที่ศรัทธาต่อเขา และให้ความสำคัญแก่เขาและช่วยเหลือเขา และปฏิบัติตามแสงสว่าง)ที่ถูกประทานลงมาแก่เขา ชนเหล่านี้แหละคือบรรดาผู้ที่สำเร็จ ( ๒)

๒อัล - กุรอาน บทอัลอะอฺรอฟ / ๑๕๗

การแพร่ขยายการอ่านอัล-กุรอานเป็นสาเหตุทำให้ วัฒนธรรมของการอัล-กุรอานก็ถูกปฏิบัติไปโดยปริยาย ดังจะเห็นว่า การช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากการกดขี่ การบิดเบือน และการตั้งภาคีเทียบเคียงพระเจ้าล้วนเป็นวัฒนธรรมของอัล-กุรอานทั้งสิ้น

๙๕

บทที่ ๒ ผลสะท้อนของการท่องจำอัล-กุรอานที่มีต่อมนุษย์และสังคม

ประโยชน์ทั้งหลายที่มีต่อการอ่านอัล-กุรอานได้กล่าวไปแล้ว ซึ่งสิ่งนั้นเป็นสัจจะสำหรับการท่องจำอัล-กุรอานเช่นกัน ก่อนหน้านี้ได้กล่าวถึงมารยาทและเงื่อนไขของการท่องจำอัล-กุรอาน พร้อมทั้งกล่าวถึงริวายะฮฺและโองการที่เกี่ยวข้องกับการท่องจำมาแล้ว ในบทนี้จะขอยํ้าเน้นถึงโองการต่างๆ เหล่านั้น เช่น

๑. การท่องจำอัล-กุรอานเป็นสาเหตุให้อัลลอฮฺ (ซบ.) อภัยในความผิด ต่างๆ ( ๑)

๑มุซตัดร็อก อัลวะซาอิล เล่ม ๔ หมวด ๑๗ หน้า ๒๖๙ ฮะดีษที่ ๔๖๖๙

บางริวายะฮฺกล่าวว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่ทรงลงโทษหัวใจที่เป็นแหล่งรวบรวมโองการต่าง ๆ ของพระองค์ ( ๒)

๒มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่ม ๘ หน้า ๗๖

๒. นักท่องจำอัล-กุรอาน ถ้าปฏิบัติตามสิ่งที่ตนได้ท่องจำ เขาคือพลพรรคของอัลลอฮฺ ( ๓)

๓อุซูลกาฟียฺ เล่ม ๒ หน้า ๔๔๑

๙๖

๓. การท่องจำหนึ่งโองการเทียบเท่าสวรรค์หนึ่งชั้น ( ๔)

๔บิฮารุลอันวาร เล่ม ๘๙ หน้า ๒๒

๔. การท่องจำอัล-กุรอานเป็นความโปรดปรานของอัลลอฮฺ (ซบ.)

ท่าน อิมามซอดิก (อ.) กล่าวสิ่งนี้ไว้ในบทดุอาอฺของท่าน ( ๕)

๕อุซูลกาฟียฺ เล่ม ๒ หน้า ๔๑๗

๕. การท่องจำอัล-กุรอาน การอ่านโองการซํ้าไปซํ้ามาเป็นการรำลึก

อัลลอฮฺ (ซบ.) ที่ดีทีสุด ซึ่งสิ่งนี้เป็นเตาฟีกอย่างหนึ่งของพระองค์

๖. เป็นการเก็บข้อมูลหลายประการจากอัล-กุรอาน นักท่องจำได้พยายามเก็บรายละเอียดทั้งหมดของอัล-กุรอานทั้งซูเราะฮฺ โองการ การเแปล

การตัฟซีร และสาเหตุของการประทานโองการ เพื่อเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีที่สุดระหว่างสติปัญญากับอัล-กุรอาน และเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ท่องจำได้เร็วที่สุด

๗. การท่องจำเป็นบทนำของการปฏิบัติตามอัล-กุรอาน นักท่องจำ

อัล- กุรอาน เมื่อเทียบกับนักอ่านอัล-กุรอานจะมีการปฏิบัติตามอัล-กุรอานมากกว่า

๘. นักท่องจำอัล-กุรอานตามความเป็นจริงแล้วเขาคืออัล-กุรอานพูดได้

****************

๙๗

หมวดที่ ๔ ขั้นตอนการรู้จักอัล-กุรอาน

อัล-กุรอานุลกะรีมเปรียบเสมือนเป็นสำรับอาหารที่ทรงคุณค่ายิ่งของ

พระผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงเชิญชวนแขกผู้มีเกียรติทุกท่านสู่สำรับอาหารของพระองค์ และให้ใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดเท่าที่มีความสามารถ แต่ละคนสามารถได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอานตามความสามารถและการขวนขวายของตน

การชี้นำ (ฮิดายะฮฺ) ของอัล-กุรอานเป็นไปตามขั้นตอน ซึ่งบางขั้นตอนเป็นการชี้นำสำหรับคนทั่วไป และบางขั้นตอนของการชี้นำสำหรับบุคคลที่มีเงื่อนไขเฉพาะเจาะจงพิเศษเท่านั้น

บางครั้งอาจกล่าวได้ว่า อัล-กุรอานถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำทางมนุษย์ทั้งหมด เพื่อให้ประชาชนทั้งหลายได้เข้าสู่ภายใต้ร่มเงาแห่งการชี้นำของ

อัล- กุรอาน กล่าวว่า เพื่อชี้นามวลมนุษยชาติ ( ๑)

๑อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺบะเกาะเราะฮฺ / ๑๘๕

บางครั้งอาจกล่าวได้ว่า อัล-กุรอานถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำกลุ่มชนที่เฉพาะเจาะจงพิเศษ หมายถึงการได้รับการชี้นำขั้นสูงสุดของอัล-กุรอาน เช่น กลุ่มชนที่มีความยำเกรง

๙๘

อัล-กุรอานกล่าวว่า เพื่อชี้นำมวลผู้มีความยำเกรง ( ๑)

กลุ่มชนที่มีความดีงาม อัล-กุรอาน กล่าวว่า เพื่อชี้นาและเป็นการเมตตาแก่บรรดาผู้กระทาความดี ( ๒)

ในบางครั้ง บางกลุ่มชนใช้ประโยชน์จากความหมายภายนอก หรือเพียงแค่มองไปยังอัล-กุรอานเท่านั้น แต่บางกลุ่มชนได้พิจารณาไตร่ตรองและเข้าไปสู่การอธิบายความหมายที่ลึกซึ้งของอัล-กุรอาน

หนังสือเล่มที่อยู่ตรงหน้าท่านผู้อ่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย พยายามรวบรวมขั้นตอนที่ง่ายที่สุด และรวบรัดเพื่อสร้างความเข้าใจและได้รับประโยชน์มากที่สุดจากอัล-กุรอาน ที่สำคัญที่สุดเพื่อเป็นบันไดก้าวไปสู่การชี้นำขั้นสูงสุดของอัล- กุรอาน เพื่อที่ว่าตัวเราจะได้กลายเป็นชาวอัล-กุรอาน

๑. การมองไปยังอัล-กุรอาน

ขั้นตอนแรกในการรู้จักอัล-กุรอาน หรือคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์แห่งพระผู้เป็นเจ้าคือ การมองไปยังคัมภีร์เป็นขั้นตอนที่ง่ายที่สุดสำหรับการได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอาน เนื่องจากอัล-กุรอานนั้นเป็นรัศมี กล่าวว่า มนุษยชาติทั้งหลาย แน่นอนได้มีหลักฐานจากพระผู้อภิบาลของพวกเจ้ามายังพวกเจ้าแล้ว และเราได้ให้แสงสว่างอันชัดแจ้งลงมายังพวกเจ้าด้วย ( ๓)

๑อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺบะเกาะเราะฮฺ / ๒

๒อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺลุกมาน / ๓

๓อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺนิซาอฺ / ๑๗๔

๙๙

และการมองไปยังอัล-กุรอานเป็นอิบาดะฮฺ ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า การมองไปยังเล่มของอัล-กุรอาน หมายถึงหน้ากระดาษของอัล-กุรอานเป็น

อิบาดะฮฺ ( ๑)

๑บิฮารุลอันวาร เล่ม ๘๙ หน้า ๑๙๙

แม้กระทั่งผู้ท่องจำอัล-กุรอานยังได้รับคำแนะนำว่าให้มองไปยัง

อัล-กุรอานขณะอ่าน ( ๒)

๒อุซูลกาฟียฺ เล่ม ๒ หน้า ๔๔๙ พิมพ์ที่มักตะบะตุลอิสลามียะฮฺ เตหะราน ๑๓๘๘ สุริยคติ

ขั้นตอนดังกล่าวได้ครอบคลุมการได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอานทั้งผู้ที่มีความรู้ และไม่มีความรู้ และยังเป็นแนวทางสำหรับบุคคลที่ยังไม่สามารถอ่านอัล-กุรอาน ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวตามความเป็นจริงแล้วอวัยวะทุกส่วนบนร่างกายต่างได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอานทั้งสิ้น เช่น สายตาได้รับประโยชน์จากการมองไปยังอัล-กุรอาน

๒. การฟังอัล-กุรอาน

ขั้นตอนที่สองสำหรับการได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอานคือ ขณะที่อ่านอัล-กุรอานให้ฟังด้วยความตั้งใจ และใคร่ครวญในความหมาย

๑๐๐

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

11. การยึดมั่นอัล-กุรอาน

การยึดมั่นอัล-กุรอานเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำหรับการได้รับประโยชน์และการรู้จักอัล-กุรอาน หลายต่อหลายโองการได้เชิญชวนให้ปวงบ่วงทั้งทำการยึดมั่นกับ-อัล-กุรอาน เช่น ในซูเราะฮฺ ซุครุฟ พระองค์ตรัสกับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า

فَاسْتَمْسِكْ بِالَّذِي أُوحِيَ إِلَيْكَ إِنَّكَ عَلَى صِرَاطٍ مُّسْتَقِيمٍ

ดังนั้นจงยึดมั่นตามที่ได้ถูกวะฮียฺแก่เจ้า แท้จริงเจ้านั้นอยู่บนแนวทางอันเที่ยงตรง( 1)

อัล-กุรอานซูเราะฮฺ อะอฺรอฟ กล่าวว่า

وَٱلَّذِينَ يُمَسِّكُونَ بِٱلۡكِتَـٰبِ وَأَقَامُواْ ٱلصَّلَوٰةَ إِنَّا لَا نُضِيعُ أَجۡرَ ٱلۡمُصۡلِحِينَ

และบรรดาผู้ที่ยึดถือคัมภีร์และดำรงนมาซ แท้จริงเราจะไม่ทำลายรางวัลของผู้ปรับปรุงแก้ไขทั้งหลาย ( 2)

--------------------------------------------------------

1อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัซซุครุฟ 43

2อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล - อะอฺรอฟ 170

๑๒๑

จุดประสงค์ของคำว่า กิตาบ ในโองการนั้นหมายถึง คัมภีร์เตารอต หรืออัล-กุรอาน บรรดานักตัฟซีรได้อธิบายไว้ 2 ลักษณะดังนี้

ตะมัซซุก หมายถึงการยึดมั่น หรือการยึดติดกับสิ่งๆ หนึ่งเพื่อปกป้องรักษาไม่ให้ของสิ่งนั้นสุญเสียไป ซึ่งสามารถแยกออกเป็นการยึดมั่นที่สามารถสัมผัสได้ (ฮิซซียฺ) กับการยึดมั่นที่สัมผัสไม่ได้เป็นการสัมผัสด้านใน (มะอฺนะวีย)

1. การยึดมั่นที่สัมผัสได้ หมายถึง การที่ได้จับหรือถืออัล-กุรอานไว้ในมืออย่างมั่นคง พร้อมกับปกปักรักษาปกและเล่มอัล-กุรอานไม่ให้เสื่อมสลาย ถึงแม้ว่าการยึดมั่นลักษณะเช่นนี้จะมีประโยชน์และเป็นการกระทำที่ดีก็ตาม แต่ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของโองการ

2. การยึดมั่นที่เป็นการสัมผัสด้านใน (มะอฺนะวีย) ซึ่งถือว่าเป็นการยึดมั่นที่แท้จริงเนื่องจากมนุษย์ได้ยึดมั่นด้วยความสมบูรณ์อย่างแท้จริง ด้วยความเลื่อมในศรัทธา และด้วยหัวใจที่จะปกป้องไม่ให้เสื่อมสลายพร้อมกับไม่อนุญาตให้ตนปฏิบัติขัดแย้งกับอัล-กุรอาน แม้จะเล็กเท่าผลธุลีก็ตาม

อีกทั้งได้ทุมเทชีวิตจิตใจเพื่อการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจกับอัล-กุรอาน ( 1)

1ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ เล่ม 6 หน้า 453

สรุป หนึ่งในหน้าที่ของเราที่มีต่อัล-กุรอานคือ การยึดมั่นอย่างแท้จริงกับอัล-กุรอาน และจุดประสงค์คือ การยึดมั่นแบบมะอฺนะวียฺ

๑๒๒

12. การแปลอัล-กุรอาน

การแปลอัล-กุรอานเป็นอีกหนึ่งในขั้นตอนของการรู้จักอัล-กุรอาน

การแปลอัล-กุรอานสำหรับบุคคลที่มีความเข้าใจภาษาอาหรับดีพอ และมีเงื่อนไขที่คู่ควรเหมาะสม หรือเลือกใช้การแปลเป็นภาษาอื่นเป็นตัวช่วย กรณีที่ไม่มีความสันทัดภาษาอาหรับดีพอ

การแปลอัล-กุรอานสำหรับบุคคลที่ไม่มีเงื่อนไขพอเพียง หรือไม่มีความรู้เรื่องการอรรถาธิบายอัล-กุรอาน มิได้นำเอาสัญลักษณ์ข้างเคียง (ริวายะฮฺและโองการอื่น) มาช่วยในการแปล และไม่ใช้ปัญญาถือว่าไม่อนุญาต เนื่องจากบั้นปลายสุดท้ายจะกลายเป็นการอรรถาธิบายอัล-กุรอานตามทัศนะของตนเอง ซึ่งถือว่าไม่อนุญาต

ดังนั้น การแปลอัล-กุรอาน จึงถือว่าเป็นบทสรุปของการตัฟซีร ซึ่งผู้ที่สามารถกระทำสิ่งนี้ได้คือ นักอรรถาธิบายอัล-กุรอานนั่นเอง

การแปลอัล-กุรอานสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้

1. การแปลคำต่อคำ หมายถึง การแปลทุกคำพูดของอัล-กุรอานเป็นภาษาที่สอง โดยไม่ได้ใส่ใจต่อการอธิบาย โครงสร้างของภาษาที่สอง และรูปประโยค หรืออีกนัยหนึ่งคือไม่ได้ใส่ใจต่อหลักภาษาที่ใช้

การแปลเช่นนี้มีประโยชน์สำหรับการเรียนรู้ภาษาอาหรับในเบื้องต้น และเพื่อให้ชำนาญต่อภาษาอาหรับ

๑๒๓

2. การแปลอิสระ หมายถึง การแปลเป็นภาษาที่สองในเชิงสรุปความหมายโดยรวมของโองการ โดยอาศัยตัฟซีรเป็นตัวช่วยในการแปล โดยปกติการแปลลักษณะเช่นนี้จะเพิ่มการอธิบายลงไปเล็กน้อยโดยใส่ไว้ในวงเล็บ ซึ่งผู้แปลมีความอิสระในการแปล เพราะตนเข้าใจโองการอย่างไรก็จะถ่ายทอดเป็นภาษาที่สองออกมาทันที การแปลลักษณะเช่นนี้เหมาะสมและเป็นประโยชน์สำหรับการสร้างความเข้าใจในความหมาย และการอรรถาธิบายโองการโดยรวม

3. การแปลประโยคต่อประโยค หมายถึง การสร้างความเข้าใจประโยคของอัล-กุรอานเสียก่อน หลังจากนั้นจึงถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาที่สองโดยกวดขันเรื่องหลักภาษาเป็นพิเศษ และไม่มีการอธิบายเพิ่มเติมในเชิงของ การตัฟซีร

การแปลลักษณะเช่นนี้จะมีความมั่นคง ละเอียด และถูกต้องมากที่สุด อย่างเช่น การแปลเป็นภาษาฟารซียฺของท่านอายะตุลลอฮฺ มะการิมชีรอซียฺ หรือของอุซตาฟูลอดวันด์ เป็นต้น

ข้อควรพิจารณา นักวิชาการบางท่านได้ให้ทัศนะว่าการแปลอัล-กุรอานเป็นภาษาที่สองไม่อาจทำให้สมบูรณ์ได้เด็ดขาด ถ้าเป็นเช่นนั้นก็จะเกิด

อัล-กุรอานเล่มที่สองขึ้นมาทันที (ปัญหายุ่งยากในการแปลเป็นเหตุผลที่ดีพอสำหรับข้อกล่าวอ้างข้างต้น)

๑๒๔

13. การอรรถาธิบายอัล-กุรอาน

การอรรถาธิบายอัล-กุรอานเป็นขั้นตอนที่ลุ่มลึกที่สุดสำหรับการรู้จัก

อัล-กุรอาน ซึ่งจะขอนำเสนอโครงสำคัญของการตัฟซีรในเชิงสรุปดังนี้

1. ตะอฺรีฟ (คำนิยาม) ตัฟซีรในเชิงภาษาหมายถึง การเปิดเผย การทำให้ความหมายของคำๆ หนึ่งกระจ่าง อีกนัยหนึ่ง การตัฟซีร หมายถึง การฉีกสิ่งกีดขวางที่กั้นประเด็นต่างๆ อันเป็นรูปลักษณ์ที่แท้จริงของคำ

ความหมายในเชิงของนักปราชญ์ ตัฟซีรหมายถึง การอธิบายความหมายโองการอัล-กุรอาน และการฉีกม่านที่กั้นเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่โองการต้องการกล่าวถึงออกมา

ข้อควรพิจารณา อัล-กุรอานคือรัศมีและเป็นคัมภีร์ที่ชัดแจ้ง ไม่มีจุดประเด็นใดที่มืดบอดเด็ดขาด ดังนั้น ในความเป็นจริงหัวใจและจิตวิญญาณของเราต่างหากที่มีความมืดบอด เราจำเป็นต้องขัดเกลาตัวเองก่อนให้สะอาดเพื่อจะได้เข้าใจ ความหมายและเจตนารมณ์ของอัล-กุรอาน

2. การตัฟซีรอัล-กุรอานอย่างน้อยที่สุดต้องมี 3 เงื่อนไข

อนุญาต ให้บุคคลที่มีเงื่อนไขของนักตัฟซีรทั้งหมด สามารถตัฟซีร

อัล-กุรอานโดยอาศัยตัฟซีรที่เชื่อถือได้ก่อนหน้านั้นเป็นเกณฑ์ในการตัฟซีร

๑๒๕

วาญิบ สำหรับนักตัฟซีรที่จะต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องในหลักศรัทธาของตน และต้องป้องกันการหลงทางออกไป อีกทั้งสามารถอธิบายกฏเกณฑ์ต่างๆ ของพระผู้เป็นเจ้าที่ปรากฏในอัล-กุรอานได้

ฮะรอม สำหรับบุคคลที่ไม่มีเงื่อนไขของนักตัฟซีร หรือไม่ใส่ใจต่อเงื่อนไขของการตัฟซีร และได้ตัฟซีรตามทัศนะของตนเอง

3. การตัฟซีรตามทัศนะตนเองหมายถึงอะไร หมายถึงผู้อธิบายอัล-กุรอานมีเงื่อนไขไม่เพียงพอต่อการตัฟซีร และไม่ใส่ใจต่อสัญลักษณ์ทั้งสติปัญญา โองการ และริวายะฮฺในการตัฟซีร การตัฟซีรเช่นนี้ถือว่าใช้ไม่ได้ ริวายะฮฺกล่าวว่า สถานที่พำนักของผู้อธิบายอัล-กุรอานด้วยทัศนะของตนเองคือ

ไฟนรก

4. จากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นเข้าใจได้ว่าขั้นตอนต่อไปนี้ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการตัฟซีร

- การอ่านโองการต่าง

- การแปลคำหรือประโยค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแปลคำต่อคำ

- การตะดับบุรและการตะฟักกุรเกี่ยวกับโองการต่างๆ เพื่อความเข้าใจโดยไม่ได้อธิบายออกมา

- การอ้างถึงตับซีรไม่ใช่การตัฟซีร

๑๒๖

ข้อควรพิจารณา ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างการตะดับบุดและการ

ตะฟักกุรในอัล-กุรอาน กับการอธิบายอัล-กุรอานตามทัศนะของตัวเอง แน่นอนว่าการตะดับบุรและการตะฟักกุรนั้นเป็นประโยชน์กับและมีความจำเป็นต่อตนเอง แต่ถ้าต้องการอธิบายให้บุคคลอื่นทราบจำเป็นต้องอาศัยการตัฟซีร หรือต้องมีเงื่อนไขของการตัฟซีรอยู่ด้วยจึงจะถือว่าเชื่อถือได้

มิเช่นนั้นแล้วจะกลายเป็นการตัฟซีรด้วยทัศนะตนเอง ซึ่งถือว่า ฮะรอม

5. แนวทางในการตัฟซีรคืออะไร

การแบ่งแนวทางตัฟซีรอัล-กุรอานในเบื้องต้นสามารถแบ่งออกเป็น

2 แนวทางดังนี้

1. ตัฟซีรเมาฎูอียฺ หมายถึง การนำเอาโองการที่กล่าวถึงเรื่องเดียวกันมารวมไว้ที่เดียวกันและทำการอธิบายไปตามประเด็นเหล่านั้น เช่น เรื่องความเป็นเอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า นบูวัต หรืออิมามะฮฺเป็นต้น

2. ตัฟซีรตัรตีบียฺ หมายถึง การอธิบายอัล-กุรอานตั้งแต่แรกจนกระทั่งจบเรียงไปตามซูเราะฮฺ และโองการ

ส่วนการแบ่งอีกประเภทหนึ่งกล่าวคือ ถ้าพิจารณาการแบ่ง 2 ประเด็นข้างต้นแล้ว จะเห็นว่าแต่ละประเด็นยังสามารถแบ่งออกได้อีก 7 ประเด็น เช่น การตัฟซีรอัล-กุรอานด้วยอัล-กุรอาน ตัฟซีรดัวยสติปัญญา

ตัฟซีรด้วยริวายะฮฺ ตัฟซีรด้วยวิทยาศาสตร์ ตัฟซีรด้วยทัศนะตัวเอง

ตัฟซีรด้วยรหัสยะ และการตัฟซีรด้วยหลักการอิจญฺติฮาด

๑๒๗

6. เงื่อนไขของนักตัฟซีรคืออะไร

บุคคลที่มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้สามารถอธิบายอัล-กุรอานได้ แต่ต้องกวดขันเรื่องเงื่อนไข และเอาใจใส่ต่อหลักการเหล่านั้นเป็นพิเศษ

1. มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับหลักภาษาอาหรับ และต้องมีความสันทัดต่อกฎไวยากรณ์เหล่านั้น เช่น มีความรู้เรื่องการแยกคำ ไวยากรณ์ ความหมาย วาทศิลปฺ และอื่น ๆ

2. มีความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของการประทานอัล-กุรอาน (อัสบาบุลนุซูล)

3. มีความรู้เกี่ยวกับอัล-กุรอานโดยทั่วไป เช่น โองการที่เป็นนาซิค มันซูค มักกียะฮฺ มะดะนียะฮฺ มุฮฺกัม และมุตะชาบิฮ์

4. มีความรู้เรื่องฟิกฮฺ

5. มีความรู้เรื่องอุซูล

6. มีความรู้เรื่องฮะดีษ

7. มีความรู้เรื่องการอ่านในสำนวนต่าง ๆ

8. มีความรู้เรื่องปรัชญา ศาสนศาสตร์ สังคม และจริยธรรม

9. ต้องหลีกเลี่ยงการคาดการณ์ หรือการเปรียบเทียบ

10. ต้องรู้จักตัฟซีรและคำพูดของนักตัฟซีรก่อนหน้านั้นและต้องไม่ลอกเลียนแบบ

๑๒๘

7. ตัฟซีรที่สำคัญของชีอะฮฺ

ส่วนนี้ขอนำเสนอเฉพาะตัฟซีรที่มีความสำคัญและมีชื่อเสียง ซึ่งเป็นที่รู้จักของนักวิชาการทั่วไป

1. ตัฟซีร มัจมะอุลบะยาน มัรฮูมเฏาะบัรซีย์

2. ตัฟซีร นูรุษษะเกาะลัยนฺ มัรฮูมฮุวัยซียฺ

3. ตัฟซีร อัลมีซาน มัรฮูมอัลลามะฮฺเฏาะบาเฏาะบาอียฺ

4. ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ อายะตุลลอฮฺ มะการิม ชีรอซียฺ

5. ตัฟซีร เมาฎูอฺ พะยอเมกุรอาน อายะตุลลอฮฺ มะการิม ชีรอซียฺ

6. ตัฟซีร เมาฎูอฺ มันชูเรญอวีด อายะตุลลอฮฺ ญะอฺฟัร ซุบฮานียฺ

แนวทางของตัฟซีรที่กล่าวนามข้างต้น

ตัฟซีร มัจมะอุลบะยาน ส่วนใหญ่จะกวดขันเรื่องหลักภาษา และหลักไวยากรณ์ภาษาอาหรับ การอ่าน สาเหตุที่ประทานโองการ คำกล่าวของนักตัฟซีรที่สำคัญจากบรรดาเศาะฮาบะฮฺ และตาบิอีน

ตัฟซีร นูรุษษะเกาะลัยนฺ เป็นตัฟซีรริวายะฮฺโดยการนำเอาริวายะฮฺของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) มาอธิบายโองการ

ตัฟซีร อัลมีซาน เป็นตัฟซีรอัล-กุรอานด้วยอัล-กุรอานและส่วนใหญ่อาศัยสติปัญญาเป็นหลักในการตัฟซีร

๑๒๙

ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ เป็นตัฟซีรสมัยใหม่ที่ผสมผสานระหว่างการตัฟซีร

อัล-กุรอานด้วยอัล-กุรอานและตัฟซีรด้วยสติปัญญา ส่วนใหญ่จะกล่าวถึงสังคม ประเด็นความรู้สมัยใหม่ และความเร้นลับของโองการ

ตัฟซีร เมาฎูอฺ พะยอเมกุรอาน มีทั้งสิ้น 10 เล่ม เป็นผลงานที่มีจากนักเขียนตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ

ตัฟซีร เมาฎูอฺ มันชูเรญอวีด มีทั้งสิ้น 10 เล่ม เป็นตัฟซีรเมาฎูอฺชุดแรกที่

อายะตุลลอฮฺ ซุบฮานียฺได้แขียนขึ้นมา

14. การตะอฺวีล

การเข้าใจเรื่องการตะอฺวีลอัลกุรอานถือว่าเป็นการเข้าใจที่ลึกซึ้ง และเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญสำหรับการรู้จักอัล-กุรอาน

ตะอฺวีล ในเชิงภาษามาจากรากศัพท์คำว่า อัลเอาวัล หมายถึง การกลับไปสู่แหล่งเดิม หรือไปสู่รากฐานเดิม หรือการกลับสิ่งหนึ่งไปยังเป้าหมายเดิมของตน( 1)

ในทัศนะของนักตัฟซีรกล่าวว่า คำว่าตะอฺวีล มีหลายความหมายด้วยกัน อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอียฺกล่าวว่า ตะอฺวีลคือความจริงที่อธิบาย

อัล-กุรอาน หรือคัมภีร์อันทรงเกียรติที่นอกจากผู้บริสุทธิ์แล้วไม่มีผู้ใดสามารถสัมผัสได้( 2)

1มุฟรอดาต รอฆิบ เอซฟาฮานียฺ หมวดคำว่า เอาวัล

2ตัฟซีร อัลมีซาน เล่ม 5 หน้า 25

๑๓๐

บางทัศนะ กล่าวว่า ตะอฺวีล คือการตัฟซีรนั้นเอง

บางทัศนะ กล่าวว่า ตะอฺวีล คือสิ่งที่ภายนอกอัล-กุรอานกำลังกล่าวถึง

บางทัศนะ กล่าวว่า ตะอฺวีล คือการตีความของโองการที่มีความเคลือบแคลง

บางทัศนะ กล่าวว่า ตะอฺวีล คือความหมายที่สองของอัล-กุรอาน หรือความหมายด้านในนั่นเอง

คำว่าตะอฺวีล ถูกกล่าวไว้ในอัล-กุรอาน 7 ซูเราะฮฺด้วยกัน ซึ่งเมื่อรวมแล้วเท่ากับว่าคำนี้ถูกใช้ทั้งสิ้น 17 ครั้ง ในความหมายที่แตกต่างกัน

1. ตะอฺวีล ให้ความหมายว่า ตัฟซีร หรือ ตับยีน หรือการตีความ ดังที่อัล-กุรอานกล่าวว่า

وَمَا یَعْلَمُ تَأْوِیلَهُ إِلاَّ اللّهُ وَالرَّاسِخُونَ فِی الْعِلْمِ

และไม่มีใครรู้การตีความโองการได้นอกจากอัลลอฮฺ และบรรดาผู้ที่มั่นคงในความรู้เท่านั้น( 1)

๑๓๑

2. ตะอฺวีล ให้ความหมายว่า ด้านหลัง หรือการย้อนกลับ อัล-กุรอานกล่าวว่า

فَإِن تَنَازَعْتُمْ فِي شَيْءٍ فَرُدُّوهُ إِلَى اللَّـهِ وَالرَّسُولِ إِن كُنتُمْ تُؤْمِنُونَ بِاللَّـهِ وَالْيَوْمِ الْآخِرِ ۚ ذَٰلِكَ خَيْرٌ وَأَحْسَنُ تَأْوِيلًا

แต่ถ้าพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั้นกลับไปยังอัลลอฮฺ และเราะซูลหากพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลก นั่นแหละเป็นสิ่งที่ดียิ่งและเป็นการกลับไปที่สวยยิ่ง( 2)

3. ตะอฺวีล ให้ความหมายว่า การเกิดของสิ่งหนึ่งและได้แจ้งข่าวการเกิดของสิ่งนั้น อัล-กุรอานกล่าวว่า

هَلْ يَنظُرُونَ إِلَّا تَأْوِيلَهُ ۚ يَوْمَ يَأْتِي تَأْوِيلُهُ

เขาเหล่านั้นมิได้คอยอะไร นอกจากผลสุดท้ายแห่งคัมภีร์นั้นเท่านั้น วันที่ผลสุดท้ายแห่งคัมภีร์จะมานั้น( 3)

-----------------------------------------------------

1อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อาลิอิมรอน 7

2อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ นิซาอฺ 59

3อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล อะอฺรอฟ 53

๑๓๒

รหัสยะ ความเร้นลับ และปรัชญาของอะฮฺกาม เช่น เรื่องราวของศาสดา มูซา (อ.) กับศาสดาคิฎิรฺ (อ.) อัล-กุรอานกล่าวว่า

ذَٰلِكَ تَأْوِيلُ مَا لَمْ تَسْطِع عَّلَيْهِ صَبْرًا

นั่นคือความลับที่ท่านไม่สามารถมีความอดทนในสิ่งนั้นๆ ได้ ( 1)

ข้อควรพิจารณา

เพื่อศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ศึกษาได้จากตัฟซีรอัลมีซาน และตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ ซูเราะฮฺ อาลิอิมรอน โองการที่ 7

1อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัลกะฮฺฟฺ 82

15. การรับด้านในของอัล-กุรอาน

ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายด้านในของอัล-กุรอานเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่ยุ่งยาก และเป็นความเข้าใจลุ่มลึกของอัล-กุรอาน คำว่า บัฏนฺ ในเชิงภาษา หมายถึง สิ่งที่แตกต่างไปจากภายนอก หมายถึง ภายในเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่นอกเหนือไปจากภายนอก ซึ่งประสาทสัมผัสทั้ง 5 ไม่อาจรับรู้ได้ ฉะนั้น จึงเรียกสิ่งนั้นว่า บัฏนฺ บางครั้งสิ่งที่ลำบากต่อความเข้าใจ หรือสิ่งที่ยุ่งยากก็เรียก บัฏนฺ เช่นกัน ( 2)

2มุฟรอดาต รอฆิบ เอซฟาฮานียฺ หมวดคำว่า บัฏนฺ

๑๓๓

คำว่า บัฏนฺ ในอัล-กุรอานจะถูกใช้เกี่ยวกับคุณลักษณะ (ซิฟัต) ของพระผู้เป็นเจ้า เช่น กล่าวว่า

هُوَ الْأَوَّلُ وَالْآخِرُ وَالظَّاهِرُ وَالْبَاطِنُ ۖ وَهُوَ بِكُلِّ شَيْءٍ عَلِيمٌ

พระองค์ทรงเป็นองค์แรกและองค์สุดท้าย ทรงเปิดเผยและทรงเร้นลับ พระองค์เป็นผู้ทรงรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง( 3)

3อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล ฮะดีด 3

และถูกใช้เกี่ยวกับนิอฺมัตต่าง ๆ เช่นกล่าวว่า

أَسْبَغَ عَلَيْكُمْ نِعَمَهُ ظَاهِرَةً وَبَاطِنَةً

พระองค์ได้ทรงประทานความโปรดปรานมากมายของพระองค์อย่างครบครันแก่พวกเจ้า ทั้งที่เปิดเผยและที่ซ่อนเร้น( 1)

และบางครั้งคำว่า บัฏนฺ ถูกใช้ในลักษณะอื่น

ท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า

ان للقرآن بطنا و للبطن بطن

แท้จริงอัล-กุรอานนั้นมีความหมายซ่อนเร้น (บัฏนฺ) และบนความซ่อนเร้นนั้นมีความซ่อนเร้น( 2)

๑๓๔

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า

وَ إِنَّ القُرآنَ ظَاهِرُهُ أَنِيقٌ، وَ بَاطِنُهُ عَمِيقٌ

ภายนอกของอัล-กุรอานนั้นสวยงาม ส่วนภายในนั้นลุ่มลึก( 3)

1อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ ลุกมาน 20

2บิฮารุลอันวาร เล่ม 92 หน้า 95, มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่ม 8 หน้า 94/95

3นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คำเทศนาที่ 18

เกี่ยวกับคำว่า บัฏนฺ นี้ อัล-กุรอานได้กล่าวอธิบายไว้อย่างมากมาย แต่ที่ดีที่สุดสำหรับคำอธิบายคือ ความหมายซ่อนเร้นของทุกโองการคือ ความหมายทั่วไปเพียงแค่พิจารณาโองการอย่างละเอียดถี่ถ้วนจะเข้าใจได้ทันที แต่ไม่สามารถตีความหมายที่ซ่อนเร้นจากความหมายภายนอกของโองการได้ เกี่ยวกับเรื่องนี้จะสังเกตุเห็นว่ามีริวายะฮฺตัฟซีรจำนวนมากมายจากบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ได้อธิบายความหมายที่ซ่อนเร้นของอัล-กุรอานไว้ เช่น อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัลมุลกฺ โองการที่ 30 กล่าวว่า

قُلْ أَرَأَيْتُمْ إِنْ أَصْبَحَ مَاؤُكُمْ غَوْرًا فَمَن يَأْتِيكُم بِمَاءٍ مَّعِينٍ

จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด พวกท่านจงบอกฉันซิว่า หากแหล่งนํ้าของพวกท่านเหือดแห้งลง ดังนั้นผู้ใดเล่าจะนำนํ้าที่ท่วมทันมาให้พวกท่าน

อัลกุรอาน ซูเราะฮ์อัลมุลก์ 30

๑๓๕

จะสังเกตเห็นว่าภายนอกของโองการกำลังกล่าวถึงเรื่อง น้าดื่ม

แต่ริวายะฮฺจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) กล่าวอธิบายว่า จุดประส่งค์ของนํ้าในที่นี้หมายถึง อิมามและความรู้ของท่าน

عن الرضا (ع) : سئل عن هذه الآية فقال : ماؤاكم ابوابكم اى الامام عليه السلام والائمة ابواب الله بينه و بين خلقه (فمن يأتيكم بماء معين) يعني بعلم الامام

มีผู้ถามท่านอิมามริฎอ (อ.) เกี่ยวกับโองการข้างต้น ท่านอิมาม (อ.) ตอบว่า มะอฺวากุมอับวาบุกุม หมายถึง บรรดาอิมาม (อ.) ส่วนอะอิมมะฮฺเป็นประตูแห่งอัลลอฮฺ ที่อยู่ระหว่างพระองค์กับสรรพสิ่งถูกสร้าง ดังนั้นผู้ใดเล่าจะนำนํ้าที่ท่วมทันมาให้พวกท่าน หมายถึง ความรู้ของบรรอิมาม( 1)

1ตัฟซีร อัล กุมมี เล่ม 2 หน้า 379

ท่านอิมามริฎอ (อ.) ได้อธิบายความหมายคำว่า น้ำ ในโองการว่าหมายถึง บรรดาอิมามและความรู้ของท่านได้อย่างไร

เนื่องจากนํ้า คือ สิ่งที่ให้ชีวิตภายนอกแก่สรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย ส่วนบรรดาอิมามและความรู้ของท่านคือสิ่งที่ให้ความรู้ภายในแก่สรรพสิ่งทั้งหลายและสังคม

๑๓๖

ในความเป็นจริงสามารถนำโองการด้านบนเปลี่ยนเป็นความหมายที่ครอบคลุมทั้งหมดได้ หลังจากนั้น ค่อยแนะนำอิมามซึ่งอยู่ในฐานะตัวอย่างที่อัล-กุรอานกล่าวถึง หมายถึง นํ้านั้นครอบคลุมทั้งความจริงและสิ่งเปรียบเปรย

กล่าวคือ นํ้า คือ สิ่งที่ให้ชีวิตแก่ทุกสิ่ง เหมือนกับอิมามและความรู้ของท่านที่ให้ชีวิตแก่จิตวิญญาณทั้งหลาย และนี่เป็นเพียงตัวอย่างที่สามารถค้นคว้าความหมายที่ซ่อนเร้นของโองการได้

16 .การปฏิบัติตามอัล-กุรอานและธำรงความยุติธรรม

ขั้นตอนสุดท้ายสำหรับการรู้จักอัล-กุรอาน และการได้รับประโยชน์

อันมากมายจากพระคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์คือ การปฏิบัติตามคำสั่งต่าง ๆ ที

อัล-กุรอานกล่าวถึง ซึงสิ่งนี้ได้นำเอาความจำเริญทั้งฟากฟ้าและแผ่นดินมาสู่มนุษย์ และนำพาสังคมมนุษย์ไปสู่ความผาสุก ความจำเริญ และความก้าวหน้าที่ไม่มีที่สิ้นสุด

๑๓๗

อัล-กุรอาน ซูเราะอฺ มาอิดะฮฺได้กล่าวถึง คัมภีร์แห่งฟากฟ้าและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของพระผู้เป็นเจ้า เช่น กล่าวว่า

وَلَوْ أَنَّهُمْ أَقَامُوا التَّوْرَاةَ وَالْإِنجِيلَ وَمَا أُنزِلَ إِلَيْهِم مِّن رَّبِّهِمْ لَأَكَلُوا مِن فَوْقِهِمْ وَمِن تَحْتِ أَرْجُلِهِم

และหากว่าเขาเหล่านั้นได้ดำรงไว้ซึ่งอัต-เตารอต และอัล-อินญีล และสิ่งที่ถูกประทานลงมา (อัล-กุรอาน) ยังพวกเขา (ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด) จากพระผู้อภิบาลของพวกเขา แน่นอนพวกเขาก็จะได้บริโภคสิ่งที่มาจากเบื้องบน (ฟากฟ้า) ของพวกเขา และที่มาจากภายใต้เท้า (แผ่นดิน) ของพวกเขา( 1)

1อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล มาอิดะฮฺ 66

อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล ฮะดีดได้กล่าวแนะนำเป้าหมายในการประทานบรรดาศาสดาลงมาสั่งสอนมนุษยชาติ

๑๓๘

การประทานคัมภีร์ต่าง ๆ และการธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมในสังคม

อัล-กุรอานกล่าวว่า

لَقَدْ أَرْسَلْنَا رُسُلَنَا بِالْبَيِّنَاتِ وَأَنزَلْنَا مَعَهُمُ الْكِتَابَ وَالْمِيزَانَ لِيَقُومَ النَّاسُ بِالْقِسْطِ

แน่นอน เราได้ส่งบรรดาเราะซูลของเราพร้อมด้วยหลักฐานทั้งหลายอันชัดแจ้ง และเราได้ประทานคัมภีร์และความยุติธรรมลงมาพร้อมกับพวกเขา เพื่อมนุษย์จะได้ดำรงอยู่บนความเที่ยงธรรม( 1)

1อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล ฮะดีด 25

๑๓๙

หมวดที่ 5 ทั่วไปเกี่ยวกับอัล-กุรอาน

ในหมวดนี้ต้องการนำเสนอศัพท์บางคำที่เป็นกุญแจไขไปสู่ความหมาย และข้อมูลที่เฉพาะสำหรับอัล-กุรอาน และประวัติโดยสรุปของคัมภีร์

1. คำว่ากุรอาน

นามดังกล่าวอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสไว้ในคัมภีร์ และสอนมนุษย์ให้รู้จักคัมภีร์แห่งฟากฟ้าโดยใช้คำว่า กุรอาน โดยกล่าวว่า

إِنَّهُ لَقُرْآنٌ كَرِيمٌ

แท้จริงนี่คือ กุรอานอันทรงเกียรติ( 2)

2 อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล วากิอะฮฺ 77

อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัลนะฮฺลิ กล่าวว่า

فَإِذَا قَرَأْتَ الْقُرْآنَ فَاسْتَعِذْ بِاللَّـهِ مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيمِ

ดังนั้น เมื่อเจ้าอ่านอัล-กรุอาน ก็จงขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺให้พ้นจากชัยฏอนที่ถูกสาปแช่ง( 1)

1 อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล - นะฮฺลิ 98

๑๔๐

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154