การรู้จักอัล-กุรอาน

การรู้จักอัล-กุรอาน12%

การรู้จักอัล-กุรอาน ผู้เขียน:
ผู้แปล: เชคชรีฟ เกตุสมบูรณ์
กลุ่ม: ห้องสมุดกุรอาน
หน้าต่างๆ: 154

การรู้จักอัล-กุรอาน
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 154 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 52032 / ดาวน์โหลด: 5898
ขนาด ขนาด ขนาด
การรู้จักอัล-กุรอาน

การรู้จักอัล-กุรอาน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

ค. แนวทางหลักสำหรับการท่องจำอัล-กุรอาน

๑. อ่านโองการซํ้า หมายถึง เริ่มต้นอ่านอัล-กุรอานและอ่านซํ้าไปมาจนจำ ซึ่งวิธีการนี้มีรายละเอียดว่า บางครั้งอ่านจนจบโองการโดยอ่านซํ้าไปซํ้ามา หรือบางครั้งแบ่งโองการออกเป็นส่วนต่างๆ หมายถึง สังเกตช่วงหยุดของโองการและแบ่งไปตามนั้น มิใช่แบ่งตามความสั้นยาวของโองการ หลังจากนั้นให้อ่านซ้ำไปซํ้ามาจนจำ หลังจากท่องจำแล้วกี่โองการก็ตามให้อ่านทวนใหม่ตั้งแต่แรกจนจบ

๒. ฟังอัล-กุรอานจากเทปบันทึก หมายถึงการอ่านโองการซํ้าพร้อมกับฟังเสียง ซึ่งแนวทางนี้การฝึกฝนและการฟังมีผลอย่างมากต่อการท่องจำ

๓. ใช้วิธีการเขียนโองการ หมายถึงให้เขียนโองการซํ้าหลาย ๆ ครั้งจนกระทั่งเกิดความเคยชินโดยไม่ต้องดูตัวบทเวลาเขียนครั้งต่อไป ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้จำอัล-กุรอานไปในตัว

ข้อควรพิจารณา

นักท่องจำอัล-กุรอานและผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายต่างให้ทัศนะว่าวิธีการแรกเป็นวิธีที่ดีที่สุด

ง. การท่องจำอัล-กุรอานและเด็ก

ประสบการณ์ได้บอกว่าช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับท่องจำอัล-กุรอานคือ เริ่มตั้งแต่อายุ ๖ ถึง ๑๕ ปี เนื่องจากในวัยนี้สมองเด็กยังว่างอยู่ไม่มีเรื่องต้องคิด ไม่ต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว ซึ่งเป็นวัยที่มีความเหมาะสมที่สุด

๘๑

แน่นอนว่าก่อนวัยนี้ตัวการอื่นๆ ก็มีผลไม่น้อยต่อการท่องจำอัล-กุรอานเช่น

๑. การอ่านอัล-กุรอานของมารดาที่กำลังตั้งครรภ์ ซึ่งมีผลในทางบวกอย่างมากกับทารกที่อยู่ในครรภ์ และตัวการสำคัญก่อนช่วงนี้คือ อสุจิที่สะอาดของบิดา พลังอีหม่าน ความยำเกรง และจิตใจที่ใสสะอาดของบิดามารดาเป็นตัวการสำคัญที่จะให้จิตวิญญาณแก่ทารกน้อยในครรภ์

๒. การอ่านอัล-กุรอานให้ทารกที่อยู่ในวัยกินนม ซึ่งเป็นสาเหตุให้เด็กมีความคุ้นเคยกับอัล-กุรอาน

บางท่านได้เขียนว่า การอ่านอัล-กุรอานให้เด็กเป็นภารกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่งและเป็นการกระทำมีความเหมาะสมที่สุด ซึ่งในอนาคตสิ่งนี้จะกลายเป็นตัวการสำคัญสำหรับการท่องจำอัล-กุรอาน

๓. การเชิญชวนเด็กให้รักที่จะอ่านและท่องจำอัล-กุรอาน แต่การบังคับเด็กให้ท่องจำเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง ทว่าเป็นวิธีที่จะทำให้เด็กมีปฏิกิริยาแข็งกร้าวและไม่ชอบอัล-กุรอานในที่สุด

วิธีดึงดูดใจที่ดีที่สุดเพื่อให้เด็กมีความรักและคิดอยากท่องจำอัล-กุรอานคือ การเล่าเรื่องเล่าต่างๆ ในอัล-กุรอานพร้อมกับอ่านโองการประกอบ

******************

๘๒

หมวดที่ ๓ ผลสะท้อนของอัล-กุรอานที่มีต่อมนุษย์

อัล-กุรอานนั้นเหมือนกับการอ่าน การท่องจำ ความเข้าใจ และการปฏิบัติที่มีผลต่อมนุษย์ ซึ่งการส่งผลของอัล-กุรอานมีทั้งส่วนตัวและส่วนรวม

ณ ที่นี้จะขอกล่าวบางกรณีเท่านั้น เช่น

ก. การส่งผลในการอ่านอัล-กุรอาน

ตามที่กล่าวมาแล้วในหัวข้อมารยาททั้งภายนอกและภายใน ของการอ่านอัล-กุรอานมีผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก กล่าวคือ

๑. เป็นการรำลึกถึงอัลลอฮฺ

นักอ่านอัล-กุรอานทั้งหลายจะเริ่มอ่านด้วยการระลึกถึงพระผู้เป็นเจ้า โดยกล่าวว่า บิสมิลลาฮฺ ฮิรเราะฮฺมานิรรอฮีม ซึ่งการกล่าวประโยคนี้ออกมา

ถือว่าเป็นการรำลึกถึงพระองค์ที่ดีที่สุด และทำให้เรารู้จักสัจธรรมมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ไม่ว่ามนุษย์รำลึกถึงพระองค์มากเท่าใด มนุษย์ก็จะใกล้ชิดกับพระองค์มากเท่านั้น

๒.เป็นการเปิดประตูแห่งการเคารพภักดี

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า ประตูแห่งการเคารพภักดีสามารถเปิดได้ด้วยการกล่าวบิสมิลลาฮฮฺ ( ๑)

๑ซะฟีนะตุลบิฮาร เล่ม ๒ หน้า ๔๑๗

๘๓

ดังนั้น จะเห็นว่าหนึ่งในประโยชน์สำคัญของการอ่านอัล-กุรอานคือการเริ่มต้นด้วยบิสมิลลาฮฺ เท่ากับเป็นการเปิดประตูแห่งการเคารพภักดี

๓. เป็นการปิดประตูบาป

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า ประตูแห่งบาปทั้งหลายสามารถปิดได้ด้วยการกล่าวขอความคุ้มครองจากพระองค์ว่า

อะอูซุบิลลาฮิมินัชชัยฏอนิรเราะญีม ( ๒)

๒อ้างแล้วเล่มเดิม

ดังที่กล่าวไปแล้วว่า หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัล-กุรอาน คือ

การขอความคุ้มครองจากพระองค์ ซึ่งประโยชน์คือเป็นการปิดประตูบาปต่างๆ

๔. ประสบความสำเร็จในการอ่านดุอาอฺก่อนและหลังการอ่านอัล-กุรอาน

ดุอาอฺ หมายถึง การเรียกร้องหรือการวิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้าในสิ่งที่ตนปรารถนา ดังที่กล่าวไปแล้วว่าเป็นสิ่งที่ดีก่อนและหลังการอ่านอัล-กุรอานให้ดุอาอฺ ซึ่งสามารถดุอาอฺตามที่ริวายะฮฺที่ได้กล่าวไว้ หรือทุกดุอาอฺที่ต้องการสามารถกล่าวได้ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามทั้งสองกรณี ดุอาอฺคือ เตาฟีกสำหรับผู้อ่านอัล-กุรอานเพราะเท่ากับได้สนทนาและวิงวอนในสิ่งที่ตนปรารถนาจากพระองค์ และบั้นปลายสุดท้ายเท่ากับมนุษย์มีเตาฟีกเพิ่มขึ้นในการดำเนินชีวิต ทั้งทางโลกและทางธรรม

๘๔

๕. รางวัลของผู้อ่านอัล-กุรอานคือดุอาอฺถูกยอมรับ

ท่านอิมามซอดิก (อ.) รายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า บุคคลใดเปิดอัล-กุรอานและอ่านจนจบดุอาอฺของเขาจะถูกตอบรับ ณ อัลลอฮฺ ( ๑)

๑บิฮารุลอันวาร เล่ม ๘๙ หน้า ๒๐๔

๖. อัล-กุรอานเป็นสาเหตุให้อีหม่านเพิ่มพูน

เมื่อมีซูเราะฮฺถูกประทานลงมาได้มีคนหนึ่งพูดว่า อัล-กุรอานบทนี้ทำให้ผู้ใดมีอีห่มานเพิ่มขึ้นบ้าง อัล-กุรอานกล่าวว่า

وَإِذَا مَا أُنزِلَتْ سُورَةٌ فَمِنْهُم مَّن يَقُولُ أَيُّكُمْ زَادَتْهُ هَذِهِ إِيمَانًا فَأَمَّا الَّذِينَ آمَنُواْ فَزَادَتْهُمْ إِيمَانًا وَهُمْ يَسْتَبْشِرُونَ

และเมื่ออัล-กุรอานบทหนึ่งถูกประทานลงมา ดังนั้น ในหมู่พวกเขามี

ผู้กล่าวว่า มีใครบ้างจากพวกท่านที่บทนี้ทำให้เขามีศรัทธาเพิ่มขึ้น ฉะนั้นสำหรับบรรดาผู้ศรัทธา บทนี้ได้ทำให้ศรัทธาของพวกเขาเพิ่มขึ้น แล้วพวกเขาก็มีความปิติยินดี ( ๑)

๑อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺอัต เตาบะฮฺ ๑๒๔

๘๕

อีกโองการหนึ่งกล่าวว่า

وَإِذَا تُلِيَتْ عَلَيْهِمْ آيَاتُهُ زَادَتْهُمْ إِيمَانًا وَعَلَى رَبِّهِمْ يَتَوَكَّلُونَ

และเมื่อบรรดาโองการของพระองค์ถูกอ่านแก่พวกเขา โองการเหล่านั้นได้เพิ่มพูนความศรัทธาแก่พวกเขา (อันฟาล ๒)

๗. ความโปรดปรานของพระองค์ถูกประทานลงมากับอัล-กุรอาน

อัล-กุรอานกล่าวว่า และเราได้ประทานส่วนหนึ่งจากอัล-กุรอานลงมา ซึ่งเป็นการบำบัดและความเมตตาแก่บรรดาผู้ศรัทธา ( ๒)

๒อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัลอิซรออฺ ๘๒

ดังนั้น นักอ่านอัล-กุรอานคือ บุคคลแรกที่มีส่วนร่วมในความโปรดปรานของอัล-กุรอาน

๘. อัล-กุรอานเป็นชะฟาอฺ

อัล-กุรอานเป็นโอสถที่บำบัดโรคภายในของมนุษย์ อาการป่วยใข้ทางจิตใจ และเป็นยารักษาสำหรับบุคคลที่มีอาการป่วยทางใจที่มนุษย์ด้วยกันไม่สามารถรักษาให้หายได้ และโดยเหตุผลแล้วบุคคลแรกที่ได้รับการรักษาโดยอัล-กุรอานคือ ผู้อ่านอัล-กุรอานทั้งหลาย

๘๖

๙. การชี้นำของพระผู้เป็นเจ้า

อัล-กุรอานเป็นคัมภีร์แห่งการชี้นำ บุคคลแรกที่ได้รับการชี้นำจาก

อัล-กุรอานคือ ผู้ศรัทธาและผู้มีความยำเกรง อัล-กุรอานกล่าวว่า

จงกล่าวเถิด มุฮัมมัด อัล-กุรอานเป็นทางนำและเป็นการบำบัดแก่บรรดา

ผู้ศรัทธา ส่วนบรรดาผู้ไม่ศรัทธานั้น ( ๑)

๑.อัล - กุรอาน อัซ ฟุซซิลัต ๔๔

จริงอยู่ที่ว่าการชี้นำแบ่งออกเป็นหลายขั้นตอน แต่ละคนจะได้รับไม่เท่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถและความพอดี แต่อย่างไรก็ตามทุกคนมีสิ่ทธิ์ได้รับประโยชน์จากการชี้นำทั้งสิ้นแต่จะมากหรือน้อยอย่างไร ขึ้นอยู่กับอีหม่านและความยำเกรงของแต่ละคนว่าจะมากน้อยเพียงใด

๑๐.ทำความสะอาดภายในและสร้างสรรค์จิตวิญญาณ

ผู้อ่านอัล-กุรอาน ถ้าหากใส่ใจต่อมารยาทด้านในของการอ่านมากเท่าใด ความบริสุทธิ์ใจ และความสงบมั่นของจิตวิญญาณก็จะเพิ่มมากขึ้นไปตามขั้นตอน เท่ากับเป็นการขัดเกลาจิตใจและสร้างสรรค์จิตวิญญาณไปในตัว

๘๗

๑๑. ความสะอาดตามชัรอียฺ

ก่อนอ่านอัล-กุรอาน ผู้อ่านทุกท่านต้องฆุซลฺหรือวุฎูอฺก่อน เพื่อขจัดความโสมมและความโสโครกของจิตวิญญาณให้หมดไป หมายถึงวุฎูอฺและฆุซลฺนั้นจะช่วยสร้างรัศมีและขจัดความโสมมภายในจิตใจให้หมดไป เรียกว่าเป็นความสะอาดตามชัรอียฺ ดุจดังเช่นที่ได้ขจัดความโสโครกให้หมดไปจากร่างกาย

๑๒. อนามัยส่วนตัว

ผู้อ่านอัล-กุรอานควรจะแปรงฟัน อาบนํ้า มีวุฎูอฺ หรือสวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ซึ่งการกระทำเช่นนี้เท่ากับเป็นการรักษาความสะอาดส่วนตัว ทำให้เป็นคนมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง

๑๓. กลายเป็นชาวกุรอาน

การอ่านและการสร้างความคุ้นเคยกับอัล-กุรอาน จะทำให้มนุษย์ได้รับรัศมีและอยู่ภายใต้คำสอนของอัล-กุรอานไปโดยปริยายที่ละน้อย และเขาจะกลายเป็นมนุษย์กุรอานไปในที่สุด หมายถึงจะปฏิบัติตัวและไม่กระทำสิ่งใดขัดกับอัล-กุรอานเด็ดขาด กิริยามารยาทจะกลายเป็นกิริยาของอัล-กุรอาน ความเชื่อก็อัล-กุรอาน ความสะอาดก็อัล-กุรอาน อีกนัยหนึ่ง เท่ากับเขาได้ย้อมตัวเองดัวยสีสันของอัล-กุรอาน ฐานันดรของเขาจะสูงส่งขึ้นไปเรื่อย ๆ จนกลายเป็นภาพลักษณ์และคำพูดของอัล-กุรอาน

๘๘

๑๔. ความคิดจะเติบโต

ขณะที่อ่านอัล-กุรอาน ถ้าตรึกตรองตามไปทีละน้อย จะเป็นสาเหตุทำให้ความคิดอ่านของตนั้นนเติบโตตามไปด้วย แน่นอนเมื่อความคิดเติบโตก็จะทำให้การดำเนินชีวิตประสบแต่ความสำเร็จ

๑๕. เป็นการอิบาดะฮฺทางสายตา

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า การมองไปที่หน้ากระดาษของอัล-กุรอานเป็นอิบาดะฮฺ ( ๑)

แน่นอนพระวัจนะของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เหมาะสมสำหรับบุคคลที่อ่านอัล-กุรอานเป็นประจำ ท่าน (ซ็อล ฯ) กล่าวอีกว่า สายตาได้รับประโยชน์จากการอิบาดะฮฺก็เมื่อยามที่มองไปยังอัล-กุรอาน ( ๒)

๑บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๘๙ หน้า ๑๙๙

๒มะฮัจญะตุลบัยฎอ เล่ม๒ หน้า ๒๓๑

๑๖. ส่งผลต่อการเลี้ยงดูบุตร

เมื่อบิดา มารดา อ่านอัล-กุรอานในบ้าน แน่นอนย่อมส่งผลในทางบวกแก่บุตรและธิดาของตน เท่ากับเป็นการอบรมสั่งสอนบุตรในทางอ้อม และเป็นสาเหตุทำให้บุตรของตนมีความรักต่ออัล-กุรอาน

๘๙

๑๗. เป็นการชำระล้างบาปต่าง ๆ

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า การอ่านอัล-กุรอานเป็นการขอลุแก่โทษบาปกรรม ( ๑)

๑๘. ทำให้ปลอดภัยจากไฟนรก

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า การอ่านอัล-กุรอานคืออุปสรรคขวางกั้นไฟนรก และเป็นสาเหตุให้ปลอดภัยจากการลงโทษของพระองค์

๑๙. เป็นการสนทนากับพระผู้เป็นเจ้า

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า เมื่อใดก็ตามหากพวกท่านต้องการสนทนากับพระผู้อภิบาลละก็จงอ่านอัล-กุรอาน ( ๒)

๒๐. การอ่านอัล-กุรอานทำให้จิตใจมีชีวิตชีวา ( ๓)

๒๑. การอ่านอัล-กุรอานเป็นอุปสรรคในการทำอนาจารทั้งหลาย

แน่นอนถ้าหากเราเป็นนักอ่านอัล-กุรอานที่แท้จริง และรู้จักไตร่ตรองโองการต่าง ๆ วิถีชีวิตและความคิดอ่านของเราย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี

๑บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๙๒ หน้า ๑๗

๒บิฮารุลอันวาร เล่ม ๙๒ หน้า ๑๗

๓อ้างแล้วเล่มเดิม

๙๐

และนอกเหนือจากการอ่านแล้ว ยังได้ปฏิบัติตามอัล-กุรอานอีกต่างหาก ความชั่วและความอนาจารทั้งหลายจะเกิดในสังคมได้อย่างไร

ข. ผลการอ่านอัล-กุรอานที่เกิดกับชีวิตทางสังคม

ประเด็นที่กล่าวถึงมารยาททั้งภายนอกและภายใน เกี่ยวกับการอ่าน

อัล- กุรอาน สามารถกล่าวได้ว่าสิ่งนี้มีบทบาทมากกับวิถีชีวิตทางสังคม เช่น

๑. เป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมอัล-กุรอานแก่สังคม

เมื่อทุกคนอ่านอัล-กุรอานจากเล่มผลที่จะตามมาคือ การพิมพ์อัล-กุรอานให้พอดีกับจำนวนคน เมื่ออัล-กุรอานถูกพิมพ์มาก และการอ่านได้รับความนิยมมากเท่าใดวัฒนธรรมของอัล-กุรอานก็จะเติบโตมากเท่านั้น และเป็นการเรียกร้องให้ประชาชนให้สนใจอัล-กุรอานมากยิ่งขึ้น เช่น ในอิหร่านปัจจุบันเมื่อเทียบกับอิหร่านก่อนการปฏิวัติจะแตกต่างกันลิบลิ่ว สมัยก่อนไม่มีคนสนใจอัล-กุรอานเท่าที่ควร จะมีเฉพากผู้ใหญ่ คนสูงอายุ และนักเรียนศาสนาเท่านั้น อิหร่านไม่เคยมีชื่อเสียงเรื่องการอ่าน และการท่องจำอัล-กุรอาน แต่ปัจจุบันนี้อิหร่านสามารถพัฒนาการอ่าน และการท่องจำอัล-กุรอานเป็นอันดับหนึ่งในเอเซียหรือในโลกก็ว่าได้ ทุกสาขาอาชีพในอิหร่านมีนักกอรียฺและนักท่องจำส่งเข้าแข่งขันเสมอ มีนักท่องจำอัล-กุรอานรุ่นจิ๋วตั้งแต่อายุ ๓ ขวบขึ้นไปจำนวนมากมาย สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของวัฒธรรมอัล-กุรอานและความสนใจของประชาชน

๙๑

๒. การพบวิชาการสมัยใหม่และแนวทาง

ภายใต้ร่มเงาของการอ่านอัล-กุรอานทำให้พบวิชาการใหม่ ๆ เช่น หลักการอ่านอัล-กุรอาน ความรู้เกี่ยวกับอัล-กุรอาน และการอธิบาย

อัล-กุรอาน

๓. การประกวดแข่งขันอัล-กุรอานอย่างต่อเนื่อง

เมื่อสังคมต้อนรับการอ่านอัล-กุรอานมากขึ้น การแข่งขันในเชิงวิชาการทั้งการอ่าน การท่องจำ และการอธิบายอัล-กุรอานตามหน่วยงาน

องค์กรต่าง ๆ และระดับประเทศก็มีมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งผลที่ตามมาคือ ประชาชนส่วนใหญ่รักการฝึกฝนความศรัทธาของตนไปโดยปริยาย

๔. ทำให้ภาษาอัล-กุรอานเติบโตมากขึ้น

เมื่อสังคมมีการอ่านอัล-กุรอานกันมากยิ่งขึ้นภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นภาษาอัล-กุรอานก็ได้รับความสนใจมากขึ้นตามลำดับ อีกด้านหนึ่งภาษาอาหรับถือเป็นภาษากลางสำหรับชาวมุสลิมทุกคน เมื่อทุกคนเข้าใจภาษา

อัลกุรอานมากขึ้น การโจมตีทางด้านวัฒนธรรมก็จะลดน้อยลงไปตามลำดับ ประกอบกับทำให้มีการสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน มีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

๙๒

๕. ผลของการยอมรับการเรียนรู้อัล-กุรอาน

การเติบโตด้านการอ่านอัล-กุรอานเป็นสาเหตุทำให้วัฒนธรรม ความรู้ และจริยธรรมอิสลามเติบโตตามไปด้วย และเป็นการสนับสนุนให้ประชาชนลำรึกถึงอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ดีวิธีหนึ่ง อีกทั้งเป็นการสอนให้ประชาชนรำลึกถึงพระองค์ในทางอ้อม

๖. อัล-กุรอานเป็นยาบาบัดอาการป่วยไข้ของสังคม

ดังที่ทราบแล้วว่าอัล-กุรอานเป็นยารักษาอาการป่วยไข้ภายในดีที่สุด ซึ่งเป็นสาเหตุในการบำบัดสังคมไปในตัว อัล-กุรอานกล่าวว่า

قُلْ هُوَ لِلَّذِينَ آمَنُوا هُدًى وَشِفَا

อัลกุรอานเป็นแนวทางที่เที่ยงธรรม เป็นทางนำและเป็นการบำบัดบรรดาผู้ศรัทธา ( ๑)

๑อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัซ ฟุซซิลัต ๔๔

وَنُنَزِّلُ مِنَ الْقُرْآنِ مَا هُوَ شِفَاءٌ وَرَحْمَةٌ لِّلْمُؤْمِنِينَ

และเราได้ให้ส่วนหนึ่งจากอัลกุรอานเป็นการบำบัดและความเมตตาแก่บรรดาผู้ศรัทธา ( ๒)

๒อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล อิซรอ ๘๒

๙๓

อัล-กุรอานยํ้าเน้นเสมอเรื่องการต่อสู้กับสิ่งอานาจารและความชั่วร้าย และเป็นยาบำบัดความป่วยไข้ของสังคมที่ดีที่สุด อัล-กุรอานปลุกจิตวิญญาณของสังคมให้ตื่นขึ้น และสอนประชาชาติให้รู้จักการเสียสละทั้งเลือดเนื้อและทรัพย์สิน เพื่อปกป้องมาตุภูมิและศาสนาของตน

แน่นอนการที่อัล-กุรอานสอนเช่นนี้เนื่องจากสิ่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ที่สามารถทำให้สังคมมนุษย์รอดพ้นความวิบัด มีความจำเริญ และมีความสมบูรณ์ บนพื้นฐานดังกล่าวทำให้ประชาชาติแสดงความเคารพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่คิดร้าย หรืออคติ หรือนินทาว่าร้ายกันและกัน ในอีกด้านหนึ่งถ้าสังคมใดปราศจากสิ่งเหล่านี้ สังคมนั้นก็จะกลายเป็นสังคมที่สะอาดบริสุทธิ์ และมีความสงบเรียบร้อย

๗. การช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากการปกครองที่กดขี่ของทรราช

อัล-กุรอาน กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า

وَلَقَدْ بَعَثْنَا فِي كُلِّ أُمَّةٍ رَّسُولًا أَنِ اعْبُدُوا اللَّـهَ وَاجْتَنِبُوا الطَّاغُوتَ ۖ

แน่นอน เราได้ส่งเราะซูลลงมาในทุกๆ ประชาชาติ เพื่อเชิญชวนมนุษย์ไปสู่การเคารพภักดีต่อพระเจ้า และออกห่างจากบรรดาผู้อธรรม ( ๑)

๑อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อันนะฮฺลิ ๓๖

๙๔

๘. เพื่อการช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากการตั้งภาคีเทียบเคียงกับพระเจ้า

๙. การช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากให้รอดพ้นจากบิดเบือน

อัล-กุรอานกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า

فَالَّذِينَ آمَنُوا بِهِ وَعَزَّرُوهُ وَنَصَرُوهُ وَاتَّبَعُوا النُّورَ الَّذِي أُنزِلَ مَعَهُ ۙ أُولَـٰئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُونَ

ดังนั้น บรรดาผู้ที่ศรัทธาต่อเขา และให้ความสำคัญแก่เขาและช่วยเหลือเขา และปฏิบัติตามแสงสว่าง)ที่ถูกประทานลงมาแก่เขา ชนเหล่านี้แหละคือบรรดาผู้ที่สำเร็จ ( ๒)

๒อัล - กุรอาน บทอัลอะอฺรอฟ / ๑๕๗

การแพร่ขยายการอ่านอัล-กุรอานเป็นสาเหตุทำให้ วัฒนธรรมของการอัล-กุรอานก็ถูกปฏิบัติไปโดยปริยาย ดังจะเห็นว่า การช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากการกดขี่ การบิดเบือน และการตั้งภาคีเทียบเคียงพระเจ้าล้วนเป็นวัฒนธรรมของอัล-กุรอานทั้งสิ้น

๙๕

บทที่ ๒ ผลสะท้อนของการท่องจำอัล-กุรอานที่มีต่อมนุษย์และสังคม

ประโยชน์ทั้งหลายที่มีต่อการอ่านอัล-กุรอานได้กล่าวไปแล้ว ซึ่งสิ่งนั้นเป็นสัจจะสำหรับการท่องจำอัล-กุรอานเช่นกัน ก่อนหน้านี้ได้กล่าวถึงมารยาทและเงื่อนไขของการท่องจำอัล-กุรอาน พร้อมทั้งกล่าวถึงริวายะฮฺและโองการที่เกี่ยวข้องกับการท่องจำมาแล้ว ในบทนี้จะขอยํ้าเน้นถึงโองการต่างๆ เหล่านั้น เช่น

๑. การท่องจำอัล-กุรอานเป็นสาเหตุให้อัลลอฮฺ (ซบ.) อภัยในความผิด ต่างๆ ( ๑)

๑มุซตัดร็อก อัลวะซาอิล เล่ม ๔ หมวด ๑๗ หน้า ๒๖๙ ฮะดีษที่ ๔๖๖๙

บางริวายะฮฺกล่าวว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่ทรงลงโทษหัวใจที่เป็นแหล่งรวบรวมโองการต่าง ๆ ของพระองค์ ( ๒)

๒มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่ม ๘ หน้า ๗๖

๒. นักท่องจำอัล-กุรอาน ถ้าปฏิบัติตามสิ่งที่ตนได้ท่องจำ เขาคือพลพรรคของอัลลอฮฺ ( ๓)

๓อุซูลกาฟียฺ เล่ม ๒ หน้า ๔๔๑

๙๖

๓. การท่องจำหนึ่งโองการเทียบเท่าสวรรค์หนึ่งชั้น ( ๔)

๔บิฮารุลอันวาร เล่ม ๘๙ หน้า ๒๒

๔. การท่องจำอัล-กุรอานเป็นความโปรดปรานของอัลลอฮฺ (ซบ.)

ท่าน อิมามซอดิก (อ.) กล่าวสิ่งนี้ไว้ในบทดุอาอฺของท่าน ( ๕)

๕อุซูลกาฟียฺ เล่ม ๒ หน้า ๔๑๗

๕. การท่องจำอัล-กุรอาน การอ่านโองการซํ้าไปซํ้ามาเป็นการรำลึก

อัลลอฮฺ (ซบ.) ที่ดีทีสุด ซึ่งสิ่งนี้เป็นเตาฟีกอย่างหนึ่งของพระองค์

๖. เป็นการเก็บข้อมูลหลายประการจากอัล-กุรอาน นักท่องจำได้พยายามเก็บรายละเอียดทั้งหมดของอัล-กุรอานทั้งซูเราะฮฺ โองการ การเแปล

การตัฟซีร และสาเหตุของการประทานโองการ เพื่อเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีที่สุดระหว่างสติปัญญากับอัล-กุรอาน และเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ท่องจำได้เร็วที่สุด

๗. การท่องจำเป็นบทนำของการปฏิบัติตามอัล-กุรอาน นักท่องจำ

อัล- กุรอาน เมื่อเทียบกับนักอ่านอัล-กุรอานจะมีการปฏิบัติตามอัล-กุรอานมากกว่า

๘. นักท่องจำอัล-กุรอานตามความเป็นจริงแล้วเขาคืออัล-กุรอานพูดได้

****************

๙๗

หมวดที่ ๔ ขั้นตอนการรู้จักอัล-กุรอาน

อัล-กุรอานุลกะรีมเปรียบเสมือนเป็นสำรับอาหารที่ทรงคุณค่ายิ่งของ

พระผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงเชิญชวนแขกผู้มีเกียรติทุกท่านสู่สำรับอาหารของพระองค์ และให้ใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดเท่าที่มีความสามารถ แต่ละคนสามารถได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอานตามความสามารถและการขวนขวายของตน

การชี้นำ (ฮิดายะฮฺ) ของอัล-กุรอานเป็นไปตามขั้นตอน ซึ่งบางขั้นตอนเป็นการชี้นำสำหรับคนทั่วไป และบางขั้นตอนของการชี้นำสำหรับบุคคลที่มีเงื่อนไขเฉพาะเจาะจงพิเศษเท่านั้น

บางครั้งอาจกล่าวได้ว่า อัล-กุรอานถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำทางมนุษย์ทั้งหมด เพื่อให้ประชาชนทั้งหลายได้เข้าสู่ภายใต้ร่มเงาแห่งการชี้นำของ

อัล- กุรอาน กล่าวว่า เพื่อชี้นามวลมนุษยชาติ ( ๑)

๑อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺบะเกาะเราะฮฺ / ๑๘๕

บางครั้งอาจกล่าวได้ว่า อัล-กุรอานถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำกลุ่มชนที่เฉพาะเจาะจงพิเศษ หมายถึงการได้รับการชี้นำขั้นสูงสุดของอัล-กุรอาน เช่น กลุ่มชนที่มีความยำเกรง

๙๘

อัล-กุรอานกล่าวว่า เพื่อชี้นำมวลผู้มีความยำเกรง ( ๑)

กลุ่มชนที่มีความดีงาม อัล-กุรอาน กล่าวว่า เพื่อชี้นาและเป็นการเมตตาแก่บรรดาผู้กระทาความดี ( ๒)

ในบางครั้ง บางกลุ่มชนใช้ประโยชน์จากความหมายภายนอก หรือเพียงแค่มองไปยังอัล-กุรอานเท่านั้น แต่บางกลุ่มชนได้พิจารณาไตร่ตรองและเข้าไปสู่การอธิบายความหมายที่ลึกซึ้งของอัล-กุรอาน

หนังสือเล่มที่อยู่ตรงหน้าท่านผู้อ่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย พยายามรวบรวมขั้นตอนที่ง่ายที่สุด และรวบรัดเพื่อสร้างความเข้าใจและได้รับประโยชน์มากที่สุดจากอัล-กุรอาน ที่สำคัญที่สุดเพื่อเป็นบันไดก้าวไปสู่การชี้นำขั้นสูงสุดของอัล- กุรอาน เพื่อที่ว่าตัวเราจะได้กลายเป็นชาวอัล-กุรอาน

๑. การมองไปยังอัล-กุรอาน

ขั้นตอนแรกในการรู้จักอัล-กุรอาน หรือคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์แห่งพระผู้เป็นเจ้าคือ การมองไปยังคัมภีร์เป็นขั้นตอนที่ง่ายที่สุดสำหรับการได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอาน เนื่องจากอัล-กุรอานนั้นเป็นรัศมี กล่าวว่า มนุษยชาติทั้งหลาย แน่นอนได้มีหลักฐานจากพระผู้อภิบาลของพวกเจ้ามายังพวกเจ้าแล้ว และเราได้ให้แสงสว่างอันชัดแจ้งลงมายังพวกเจ้าด้วย ( ๓)

๑อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺบะเกาะเราะฮฺ / ๒

๒อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺลุกมาน / ๓

๓อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺนิซาอฺ / ๑๗๔

๙๙

และการมองไปยังอัล-กุรอานเป็นอิบาดะฮฺ ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า การมองไปยังเล่มของอัล-กุรอาน หมายถึงหน้ากระดาษของอัล-กุรอานเป็น

อิบาดะฮฺ ( ๑)

๑บิฮารุลอันวาร เล่ม ๘๙ หน้า ๑๙๙

แม้กระทั่งผู้ท่องจำอัล-กุรอานยังได้รับคำแนะนำว่าให้มองไปยัง

อัล-กุรอานขณะอ่าน ( ๒)

๒อุซูลกาฟียฺ เล่ม ๒ หน้า ๔๔๙ พิมพ์ที่มักตะบะตุลอิสลามียะฮฺ เตหะราน ๑๓๘๘ สุริยคติ

ขั้นตอนดังกล่าวได้ครอบคลุมการได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอานทั้งผู้ที่มีความรู้ และไม่มีความรู้ และยังเป็นแนวทางสำหรับบุคคลที่ยังไม่สามารถอ่านอัล-กุรอาน ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวตามความเป็นจริงแล้วอวัยวะทุกส่วนบนร่างกายต่างได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอานทั้งสิ้น เช่น สายตาได้รับประโยชน์จากการมองไปยังอัล-กุรอาน

๒. การฟังอัล-กุรอาน

ขั้นตอนที่สองสำหรับการได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอานคือ ขณะที่อ่านอัล-กุรอานให้ฟังด้วยความตั้งใจ และใคร่ครวญในความหมาย

๑๐๐

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154