ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร0%

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 14671
ดาวน์โหลด: 3014

รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 239 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 14671 / ดาวน์โหลด: 3014
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

อัตชีวประวัติอิมามมุฮัมมัด อัลบากิร

เขียน

ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล

จัดพิมพ์และเรียบเรียงโดยเว็บไซต์อัลฮะซะนัยน์

www.alhassanain.org/thai

บทนำ

รัศมีอันเจิดจำรัสแห่งชีวิตของท่านอิมามที่ ๕ แห่งวงศ์วาน

อะฮฺลุลบัยต์(อ) คือ ท่านอิมามมุฮัมมัด บินอะลี บินฮุเซน บิน

อะมีรุลมุอ์มินีน อะลี บิน อะบีฏอลิบ(อ) ท่านคือ อิมาม(อ) ที่เป็นศูนย์รวมแห่งความประเสริฐทั้งมวล สุดท้ายแห่งแบบฉบับอันทรงเกียรติ โลกก้าวล้ำหน้าด้วยกับวิชาความรู้ของท่าน(อ)

ตำรับตำราทั้งหลายมากมายด้วยถ้อยคำของท่าน(อ) มันไม่เป็นการเกินเลยที่จะกล่าวเช่นนั้น ก็ในเมื่อท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ตั้งฉายานามของท่าน(อ)ว่า ‘ อัล-บากิร ’: จากฮะดีษของท่านญาบิร

บิน อับดุลลอฮฺ อัล-อันศอรี (ร.ฏ.)เพราะท่าน(อ)นั้นเป็นผู้ที่แตกฉานในวิชาความรู้ทุกสาขา เป็นผู้จุดประกายและเผยแพร่มันอย่างแท้จริง

ในหมู่บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)

นอกจากท่านอิมามญะอฟัรอัศ-ศอดิก(อ) แล้วไม่มีใครเป็นผู้รายงานฮะดีษที่ถูกอ้างถึง มากยิ่งไปกว่าท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร(อ) ในตำราฟิกฮฺ (นิติศาสตร์อิสลาม) การรายงานฮะดีษ หนังสือตัฟซีร (อรรถาธิบายอัลกุรอาน ตำราว่าด้วยจริยธรรม มารยาท เต็มไปด้วยเรื่องราวคำพูด ทัศนะอันบริสุทธิ์ของท่าน(อ)

ศอฮาบะฮฺแต่ละคนของท่าน(อ)เช่น ท่านมุฮัมมัด บินมุสลิม(ร.ฏ.) รายงานฮะดีษคนเดียวถึง ๓๐ , ๐๐๐ ฮะดีษ ท่านญาบิร อัล-ญุอฟี (ร.ฏ.) รายงานฮะดีษถึง ๗๐ , ๐๐๐ ฮะดีษ

สิ่งที่กล่าวไปแล้ว ใช่ว่าจะเป็นการแบ่งระดับของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)ก็หาไม่

เพราะตามความเชื่อของเรา พวกท่าน(อ)ทั้งหมดเท่าเทียมกันด้านวิชาการความรู้ ดีเด่นเหมือนๆ กัน

ในเรื่องความประเสริฐอันเนื่องจากพวกท่าน(อ)เหล่านั้นเรียนรู้มาจากสิ่งที่มาอันเดียวกัน คือ คัมภีร์ของอัลลอฮ์(ซ.บ.) แบบฉบับของท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ) และสิ่งที่อัลลอฮ์(ซ.บ.) ได้ปลูกฝังในตัวของ

พวกท่าน(อ)เหล่านั้น จากความรู้อันอมตะ (อิลมุนละดุนนี) ด้วยคุณลักษณะอันประเสริฐที่ว่า พวกท่าน(อ)เหล่านั้นคือ

อิมามแห่งสัจธรรม ผู้ปกครองแห่งมนุษยชาติและสิ่งที่ถูกสร้าง

ทั้งมวลเป็นทายาทของท่านศาสดา(ศ)ผู้ทรงเกียรติ

ใช่แล้ว ในช่วงร่วมสมัยของท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร(อ)เป็นยุคสมัยที่เป็นเสมือนกับซากศพราชวงศ์ของอุมัยยะฮฺใกล้ถึงกาลดับสูญล่มสลาย ท่าน(อ)จึงสบโอกาสในการที่จะเผยแพร่สาส์นของพระผู้เป็นเจ้า วิชาความรู้ทั้งมวล เท่าที่โอกาสจะเอื้ออำนวย เช่นเดียวกับบุตรชายของท่าน ( อ) คือ ท่านอิมามญะอ์ฟัรศอดิก (อ) ที่อยู่ในช่วงแห่งการสู้รบของสองราชวงศ์ คือ อุมะวีและอับบาซี

และได้ทำหน้าที่แทนบิดาของท่าน(อ)ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

หากแม้นว่าโอกาสเหล่านี้ได้ประสบกับท่านอิมามมูซา(อ)

หรือท่านอิมามญะวาด(อ)ละก็ แน่นอนเหลือเกินว่า ท่าน(อ)จะทำได้ไม่ยิ่งหย่อนกว่าบุคคลทั้งสอง(อ)เลย

แต่... เราจะต้องจดจำไว้ด้วยว่า วิชาความรู้และการเผยแพร่มันนั้นเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของชีวิตอย่างสมถะของท่าน(อ) ความเพียบพร้อมในด้านจริยธรรมอันงดงามของท่าน(อ) วิถีชีวิตที่ดีเลิศของท่าน(อ) ยังถูกนับว่าดีเลิศที่สุดในหมู่ประชาชนสมัยนั้น

หนังสือเล่มนี้เป็นเพียงเกล็ดชีวิตอันเล็กน้อยของท่านอิมามผู้ยิ่งใหญ่ บุตรของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)อันประเสริฐ หลานของฮุเซน

อัช-ชะฮีด ความจำเป็นอันเร่งด่วนของเราก็คือ น้อมเอาวิถีชีวิตของท่าน(อ) เป็นแบบแผนการดำเนินชีวิตของตัวเอง

“ จงกล่าวเถิดว่า จงปฏิบัติการงาน (ที่ดี) เถิด อัลลอฮ์ , รอซูลของพระองค์ และมุอ์มินทั้งหลายก็จะประจักษ์แจ้งถึงการงานของพวกท่าน ” ( อัต-เตาบะฮฺ: ๑๕)

ชีวประวัติของอิมามบากิร(อ)

นามจริง

มุฮัมมัด บินอะลี(อ)

ปู่

อิมาม ฮุเซน อัช-ชะฮีด(อ)

บิดา

อิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน(อ)

มารดา

ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ บุตรีของอิมามฮะซัน(อ)

ท่านอิมามบากิร(อ)จึงเป็นคนที่อยู่ในเชื้อสายของตระกูลฮาชิมทั้งสองฝ่าย มีเชื้อสายมาจากท่านอะลี(อ) และท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ(อ) ทั้งทางฝ่ายบิดาและมารดา นับว่าเป็นบุคคลแรกที่ถือกำเนิดมาสองสายจากบุตรของอิมามฮะซัน(อ)และอิมามฮุเซน(อ)

การประสูติ

ท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร(อ)ประสูติ เมื่อวันศุกร์ เดือนรอญับ

ฮ.ศ.๕๗ แต่มีบางรายงานบอกว่า ประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ ๓ เดือน

ซอฟัร ปีเดียวกัน

บุคลิกภาพ

ท่าน(อ)มีส่วนละม้ายคล้ายคลึงท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)มากที่สุด ด้วยเหตุนี้ ท่าน(อ)จึงได้ฉายานามว่า ‘ ชะบีฮฺ ’ ( คล้ายคลึงท่านศาสดา (ศ)) ท่าน (อ) เป็นคนที่มีเรือนร่างสมส่วน ผิวพรรณดี เส้นผมสลวย

สวยงามทอดรับกับเรือนร่างที่บึกบึน มีสุรเสียงไพเราะเพราะพริ้ง และมีศีรษะที่ได้สัดส่วนงดงาม

ท่าน(อ)ได้ใช้ชีวิตอยู่กับท่านอิมามฮุเซน(อ)ผู้เป็นปู่ถึง ๔ ปี และได้เห็นเหตุการณ์นองเลือดในเหตุการณ์กัรบะลาอ์

สมญานาม

อะบูญะอฟัร

ฉายานาม

อัล-บากิร

อัช-ชากิรุลิลลาฮฺ

อัล-อามีน

อัล-ฮาดี

และอัช-ชะบีฮฺ

ลายสลักบนแหวน

ความว่า ‘ เกียรติยศทั้งมวลเป็นของอัลลอฮ์ ’

ภรรยาที่ปรากฏชื่อเสียง

ท่านหญิงอุมมุฟัรวะฮฺ บินติ กฺอซิม บิน มุฮัมมัด บิน อะบีบักรฺ

ท่านหญิงอุมมุฮะกีม บินติ อะซัด บิน มุฆีเราะฮฺ อัษ-ษะกอฟียะฮฺ

บุตรชาย

อิมามญะอ์ฟัรอัศ-ศอดิก(อ)

อับดุลลอฮฺ

อิบรอฮีม

อุบัยดิลลาฮฺ

และอะลี

บุตรสาว

ซัยนับ

อุมมุซะละมะฮฺ

กวีเอกในสมัยของท่าน(อ)

กะษีรอิซซะฮฺ

อัล-กุมีต

อัล-วะริด อะซะดี(น้องชายของกุมีต)

และซัยยิด อัล-ฮุมัยรี

คนรับใช้ที่สนิท

ญาบิร อัล-ญุอฟี

วิชาความรู้และคำสอนของท่าน(อ)

เป็นวิชาการที่ได้แพร่หลายไปทั่วโลก จนกระทั่งท่านญาบิร อัล-ญุอฟี(ร.ฏ.)ได้เคยกล่าวไว้ว่า:-

“ ท่านอะบูญะอฟัรนั้นได้สอนฮะดีษต่างๆ ให้แก่ข้าพเจ้าถึง ๗๐ , ๐๐๐ ฮะดีษ ”

และท่านมุฮัมมัด บินมุสลิม(ร.ฎ.)ก็ได้กล่าวไว้ว่า

“ ข้าพเจ้าได้ศึกษาฮะดีษจำนวน ๓๐ , ๐๐๐ ฮะดีษจากท่าน (อ) ”

หนังสือที่ท่าน(อ)รวบรวมไว้มีหลายเล่ม เช่น หนังสือตัฟซีร ดังที่ท่าน อิบนุ อัน-นะดีมได้เคยกล่าวถึงไว้ และยังมีสาส์นที่ส่งไปยังท่านซะอัด อัล-ค็อยร์ ผู้มีเชื้อสายจากตระกูลอุมัยยะฮฺ ทั้งฉบับที่ ๑ และฉบับที่ ๒ และอีกเล่มหนึ่งคือ อัล-ฮิดายะฮฺ(๑)

( ๑) อะอ์ยานุช-ชีอะฮฺ ๔ กอฟ ๒/๖๕.

ท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร(อ)เป็นผู้ที่แนะนำให้เจ้าเมืองคนหนึ่งที่ชื่อว่า อับดุลมาลิก บินมัรวาน ใช้เงินเหรียญดิรฮัมและดีนาร อีกทั้งยังได้สอนวิธีการดำเนินงานในเรื่องนี้อีกด้วย

คอลีฟะฮฺ(ผู้ปกครอง )ในสมัยของท่าน(อ)

คอลีฟะฮ์ในสมัยที่ท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร บินอะลี(อ)ดำรงตำแหน่งเป็นอิมามนั้น มีดังต่อไปนี้

- วะลีด บินอับดุลมาลิก

- สุลัยมาน บินอับดุลมาลิก

- อุมัร บินอับดุลอะซีซ

- ยะซีด บินอับดุลมาลิก

- ฮิชาม บินอับดุลมาลิก

วายชนม์

ท่าน(อ)เสียชีวิตเมื่อวันจันทร์ที่ ๗ เดือนซุลฮิจญะฮฺ ฮ.ศ.๑๑๔ รวมอายุขัยของท่าน(อ)ได้ ๕๗ ปี

ท่าน(อ)ได้ดำรงตำแหน่งเป็นอิมาม ๑๙ ปี

สุสาน

ท่าน(อ)ถูกฝังอยู่ที่สุสานอัล-บะเกียอ ใกล้กับบิดาคือ

ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน(อ) และพี่ชายของปู่ของท่าน(อ)คือ ท่านฮะซัน(อ) สุสานของท่าน(อ)ถูกทำลายในวันที่ ๘ เดือนเชาวาล ปี

ฮ.ศ.๑๓๔๔ พวกวะฮาบีได้ทำการรื้อทำลายสุสานของท่าน(อ) ตลอดทั้งสุสานอื่น ๆ ของบรรดาอิมาม ( อ) ท่านอื่นอีกด้วย

ข้อบัญญัติเกี่ยวกับตำแหน่งคอลีฟะฮฺของอิมามบากิร(อ)

เรื่องราวของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยต์(อ)ที่มีความดีเด่นเป็นพิเศษแตกต่างไปจากบุคคลอื่น ๆ นั้น นอกเหนือจากด้านวิชาความรู้ เกียรติคุณ การมีตักวาและการมีความสำรวมตนแล้วยังมีอยู่อีกสิ่งหนึ่ง นั่นคือ การที่ท่านศาสนทูต(ศ) ผู้เป็นปู่ทวดของพวกท่านได้วางข้อบัญญัติให้แก่พวกท่าน และได้แต่งตั้งพวกท่านให้ดำรงตำแหน่งเป็นอิมามของประชาชาติอิสลาม

และเป็นประมุขสูงสุดของศาสนา เป็นดวงประทีปส่องทางไปยังความปลอดภัย และเป็นเสมือนดวงดาวที่ชี้นำทิศทางอันถูกต้อง

ได้มีรายงาน(ริวายะฮฺ)ตรงกันอย่างเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับข้อบัญญัติต่าง ๆ ในการแต่งตั้งบรรดาอิมาม(อ) จนถึงกับว่า นักปราชญ์บางท่านได้รวบรวมตำราขึ้นมาหลายเล่มเพื่อบันทึกเรื่องราวอันนี้ไว้โดยเฉพาะ(๑)

( ๑) (โปรดดูหนังสือ ‘ กิฟายะตุล-อะษัร ฟิน นุศูศิ อะลัล-อะอิมมะติล อิษนาอะชัร ’ และหนังสือ ‘ มุคตะฏิบุล-อะษัร ฟินนัศศิ อะลัลอะอิมมะติล อิษนาอะชัร ’ และหนังสือ ‘ อัล-อิชตินศอร ฟินนัศฺศิอะลัล อะอิมมะติล อัฏฮารฺ ’ ทุกเล่มถูกจัดพิมพ์ต่างยุคต่างสมัยกัน และยังมี เล่มอื่น ๆ อีกมาก)

นอกเหนือจากนี้แล้ว ก็ยังมีระบุไว้ในตำราฮะดีษ ตำราประวัติศาสตร์และบรรณานุกรม ฉบับต่าง ๆ อีกด้วย

บรรดาอิมาม(อ)นั้นโดยหน้าที่ของพวกท่านเอง พวกท่านก็ได้ดำเนินการวางข้อบัญญัติแต่งตั้งโดยที่อิมามท่านแรกได้วางข้อบัญญัติในการแต่งตั้งอิมามมุฮัมมัด บากิร(อ)หรืออะบูญะอฟัร(อ)นั้น มีรายงานสอดคล้องตรงกันที่บันทึกมาจากปวงปราชญ์ในยุคต่อจากตาบิอีน ( ซะลัฟ) เช่น ท่านญาบิร อิบนุยะซีด อัล-ญุอฟี โดยที่ท่านจะกล่าวถึงอิมาม บากิร (อ) ในเวลาที่ท่านบอกเล่าเรื่องราว

ริวายัตว่า

“ ทายาทคนหนึ่งแห่งบรรดาทายาทศาสดา ได้สอนฮะดีษให้แก่ฉันไว้ดังนี้... ”

และบางครั้งบท่านก็กล่าวว่า

“ ทายาทแห่งวิชาการของบรรดานบี นั่นคือท่านมุฮัมมัด บินอะลี บินฮุเซน (อ) ได้สอนฉันไว้ดังนี้... (๒)

( ๒) อัล-อิรชาด หน้า ๒๘๑.

เราจะย้อนกลับมากล่าวถึงรายงานเกี่ยวกับข้อบัญญัติต่าง ๆ บางส่วนที่ถือเป็นหลักฐานแต่งตั้งอิมามอัล-บากิร(อ) อันเป็นข้อบัญญัติที่มาจากบิดาของท่าน(อ)เอง นั่นคือ อิมามซัยนุลอบิดีน ( อ) ดังนี้

ข้อบัญญัติที่ ๑

ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน(อ)ได้กล่าวว่า :

“ แน่นอนยิ่ง เขา (มุฮัมมัด บากิร) นั้นเป็นอิมาม เป็นทั้งบิดาของบรรดาอิมาม (อ) เป็นแหล่งที่มาของวิชาการ เขาคือผู้มีความแตกฉานทางด้านวิชาการอย่างแท้จริง ขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ เขาคือคนที่คล้ายกับท่านศาสดา (ศ) มากที่สุด ( ๓)

( ๓) กิฟายะตุล-อะษัร

ข้อบัญญัติที่ ๒

ท่านซุ์ฮฺรี(ร.ฏ.)ได้กล่าวไว้ว่า :

ข้าพเจ้าได้เข้าเยี่ยมท่านอิมามอะลี บินฮุเซน(อ) เมื่อตอนที่ท่าน(อ)ป่วยหนัก

ข้าพเจ้าได้ถามท่านอะลี(อ)ว่า

“ โอ้ ท่านผู้เป็นบุตรของท่านศาสดา ถ้าหากท่านมีอันเป็นไป ต้องลาจากพวกเรา แล้วพวกเราจะยึดถือใครเป็นหลัก หลังจากท่าน ?”

ท่านอิมามอะลี บินฮุเซน(อ)ได้ตอบว่า

“ อะบูอับดุลลอฮฺเอ๋ย ขอให้พวกท่านยึดถือบุตรของฉันคนนี้เถิด

( ในขณะนั้นท่าน (อ) ได้ชี้มือไปยังท่านมุฮัมมัด บุตรชายของท่าน) แท้จริงเข้าคือทายาท และผู้สืบมรดกของฉัน เขาคือคลังแห่งวิชาความรู้ของฉัน เขาคือรากฐานแห่งความเฉลียวฉลาด และเป็น

บากิรุล-อิลมฺ ”

ข้าพเจ้าได้กล่าวอีกว่า

“ ข้าแต่บุตรของท่านศาสดา (ศ) คำว่า ‘ บากิรุล-อิลมฺ ’ หมายความว่าอย่างไร ? ”

ท่านอะลี บินฮุเซน(อ)ตอบว่า

“ อีกไม่นานนัก บรรดาชีอะฮฺของฉันกลุ่มหนึ่งจะมีความเห็นที่แตกต่างกัน แล้วจะพากันไป

ขึ้นตรงยังเขา เขาทำหน้าที่แจกแจงวิชาความรู้ให้แก่คนเหล่านั้นอย่างแตกฉาน(ความหมายชองบากิรุล-อิลมฺ) (๔)

( ๔) อ้างเล่มเดิม.

ข้อบัญญัติที่ ๓

ท่านมัซอูดี(ร.ฮ.)ได้กล่าวว่า :

เมื่อท่านอะลี บินฮุเซน(อ)จวนจะถึงแก่กรรม ท่าน(อ)ได้นำ

อะบูญะอฟัร(อิมามมุฮัมมัด บากิร บุตรชายของท่าน(อ)ออกมา แล้วได้สั่งเสีย ครั้นแล้วบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ใกล้ชิดกับท่าน(อ)ก็ได้เข้า

มารับฟังคำสั่งเสียอย่างเปิดเผย และหลังจากนั้นท่าน(อ)ก็ได้มอบฉายานามอันทรงเกียรติให้แก่อิมามมุฮัมมัด บากิร(อ)

และให้เป็นผู้สืบทอดมรดกของบรรดานบีอีกด้วย(๕)

( ๕) อิษบาตุล-วะศียะฮฺ หน้า ๑๔๒.

ข้อบัญญัติที่ ๔

ครั้งหนึ่งท่านญาบิร(ร.ฏ.) ได้เข้าเยี่ยมท่านอิมามอะลี บินฮุเซน(อ)

แล้วได้พบกับท่านมุฮัมมัด บินอะลี(อ) ซึ่งในขณะนั้นยังเป็น

เด็กเล็ก ๆ อยู่

ท่านญาบิร(ร.ฎ.)ได้ถามท่านอะลี(อ)ว่า

“ เด็กคนนี้เป็นใคร ”

ท่านอิมามอะลี บินฮุเซน(อ) ตอบว่า

“ เด็กคนนี้เป็นบุตรของฉันเอง เขาคือผู้ทำหน้าที่รับผิดชอบภารกิจศาสนาภายหลังจากฉัน เขาคือมุฮัมมัต อัล-บากิร (อ) ” ( ๖)

(๖) อิษบาตุล-ฮุดา เล่ม ๕ , หน้า ๒๖๓.

หลักฐานทางฮะดีษของอิมามที่ ๕

หากจะรวบรวมฮะดีษของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ที่กล่าวถึง

เกียรติคุณของบรรดาฮฺลุลบัยตฺ ( อ) กันแล้วก็จะเห็นได้ว่า

มันเป็นเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งเพราะท่านศาสดา (ศ) ได้

กล่าวถึงอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)ของท่าน(ศ)ไว้เสมอในทุก ๆ โอกาส

บางครั้งท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)จะระบุรายชื่อของพวกเขาทีละคนและบางครั้งท่าน(ศ) จะกล่าวถึงพวกเขาในลักษณะรวม ๆ และในบางครั้งท่าน(ศ)ให้ความสำคัญต่อเรื่องราวและการดำเนินงานของพวกเขา และท่านมีจุดประสงค์ที่สำคัญเกี่ยวกับความเป็นไปของพวกเขาในหน้ากระดาษของเรา

ต่อไปนี้จะนำเอาฮะดีษของท่านศาสดา(ศ)พียงบางส่วนมาเสนอที่เกี่ยวกับท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร(อ) อิมามที่ ๕ ของเราดังนี้

ฮะดีษที่ ๑

ท่านมุฮัมมัด บินอัซลัม อัล-มักกีได้กล่าวไว้ว่า :

ครั้งหนึ่งพวกเราอยู่กับท่านญาบิร บินอับดุลลอฮฺ(ร.ฎ.) แล้ว

ท่านอิมามอะลี บินฮุเซน(อ) ได้เข้ามาหาเขาพร้อมลูกชายที่ชื่อ

‘ มุฮัมมัด ’ ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นเด็กเล็ก ๆ อยู่

ท่านอิมามอะลี(อ) ได้กล่าวแก่มุฮัมมัด(อ)บุตรชายของท่าน(อ)ว่า

“ จูบศีรษะลุงของเจ้าเถิด ”

แล้วท่านมุฮัมมัด(อ)ได้โน้มกายเข้าไปจูบศีรษะของท่านญาบิร(ร.ฎ.)แล้วท่านญาบิร(ร.ฎ.)กล่าวว่า

“ เด็กคนนี้เป็นใคร ? ”

ซึ่งในขณะนั้นสายตาท่านญาบิร(ร.ฎ.)ฝ้าฟางไปแล้ว

ท่านอิมามอะลี(อ) กล่าวกับท่านญาบิร(ร.ฎ.)ว่า

“ เด็กคนนี้คือ ‘ มุฮัมมัด ’ บุตรชายของข้าพเจ้า ”

ท่านญาบิร(ร.ฎ.)ได้เอื้อมมือเข้าไปกอดแล้วกล่าวว่า

“ โอ้ มุฮัมมัดเอ๋ย ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ได้ฝากสลามมายังท่าน ”

ท่านมุฮัมมัด(อ)ได้ถามท่านญาบิร(ร.ฎ.)ว่า

“ เรื่องราวมันเป็นอย่างไรหรือ โอ้ ท่านอะบูอับดุลลอฮฺ ? ”

ท่านญาบิร(ร.ฏ.)ตอบว่า

“ ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าเคยอยู่กับท่านศาสดา และท่านฮุเซนก็อยู่บนตักของท่าน (ศ) โดยที่เขากำลังเล่นกันอยู่

ท่าน(ศ)กล่าวว่า :

ญาบิรเอ๋ย จะมีบุตรคนหนึ่งของฮุเซนเกิดมา แล้วเขาจะมีชื่อว่า ‘ อะลี ’ ในวันกิยามะฮฺ จะมีการประกาศว่า: ผู้เป็นประมุขของเหล่าบรรดาผู้เคารพภักดียืนขึ้น ครั้นแล้วผู้ที่ยืนขึ้นในวันนั้นคือ เขาเอง

‘ อะลี ’ บุตรของฮุเซนและ ‘ อะลี ’ จะมีบุตรชายอีกคนหนึ่งชื่อว่า ‘ มุฮัมมัด ’

ญาบิรเอ๋ย ถ้าท่านได้พบเขา ก็จงนำสลามของฉันไปฝากบอกเขาด้วย ฉันรู้ว่า แน่นอนท่านจะต้องได้อยู่จนทันพบกับเขา ก่อนจะถึงวาระสุดท้าย ”

หลังจากนั้นแล้วไม่นาน ท่านญาบิร(ร.ฎ.)ก็ได้ถึงแก่กรรม(๑)

( ๑) มะฏอลิบุซ-ซุอูล หน้า ๘๑.

ฮะดีษที่ ๒

ท่านญาบิร บินอับดุลลอฮฺ อัล-อันศอรี(ร.ฎ.)ได้กล่าวว่า :

ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้เคยกล่าวไว้กับข้าพเจ้าว่า

“ แท้จริง ท่านจะมีชีวิตอยู่จนกว่าได้เห็นชายคนหนึ่งซึ่งเป็นบุตรหลานของฉัน เขาเป็นคนที่คล้ายคลึงกับฉันมากที่สุด ชื่อของเขาจะเป็นชื่อเดียวกับฉัน ถ้าท่านได้เห็นเขา ท่านจะรู้ทันที

ดังนั้นจงนำสลามจากฉันไปฝากบอกเขาด้วย(๒)

( ๒) ตารีค ยะอกูบี เล่ม ๓ , หน้า ๖๓.

( ๕) อิษบาตุล-วะศียะฮฺ หน้า ๑๔๒.

ฮะดีษที่ ๓

ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้กล่าวกับท่านญาบิร(ร.ฏ.)ว่า

“ ญาบิรเอ๋ย หวังว่าท่านคงจะอยู่จนได้มีโอกาสพบกับบุตรชายคนหนึ่งของบุตรชายของ ‘ ฮุเซน ’ ชื่อของเขาจะเหมือนกับชื่อฉัน เขาจะมีความแตกฉานทางวิชาการอย่างยิ่ง ครั้งถ้าท่านได้พบกับเขาก็จงฝากบอกสลามของฉันแก่เขาด้วย ” ( ๓)

( ๓ ) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ , หน้า ๒๙๕.

ฮะดีษที่ ๔

ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้กล่าวกับท่านญาบิร(ร.ฎ.)ว่า

“ ญาบิรเอ๋ย หวังว่าเจ้าคงจะได้อยู่จนพบกับบุตรชายของฉันคนหนึ่งที่เกิดจาก ‘ ฮุเซน ’ เขาจะมีชื่อว่า ‘ มุฮัมมัด ’ เขาจะมีความแตกฉานทางวิชาการของบรรดานบีอย่างแท้จริง ครั้นถ้าเจ้าได้พบกับเขาก็จงได้ฝากสลามของฉันแก่เขาด้วย ”

ท่านญาบิร(ร.ฎ.)กล่าวว่า : แล้วอัลลอฮ์(ซ.บ.)ก็ทรงประวิงอายุของข้าพเจ้าไว้จนข้าพเจ้าได้พบ ‘ อัล-บากิร ’ แล้วข้าพเจ้าก็ฝากบอกสลามจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ผู้เป็นปู่ทวดของเขาให้แก่เขา (๔)

( ๔) ซะบาอิกุซ-ซฺะฮับ หน้า ๗๒.

การอิบาดะฮฺของท่านอะบูญะอฟัร(อ)

บทเรียนที่ดำรงอยู่ชีวิตของบรรดาอิมาม(อ)นั้นมีความสัมพันธ์กับการอิบาดะฮฺ นั่นคือชีวิตทั้งหมดของพวกท่าน(อ)มีเพื่ออัลลอฮ์(ซ.บ.) และอยู่ในวิถีทางของพระองค์ เมื่อพวกท่าน(อ)เสร็จสิ้นจากนมาซก็จะเริ่มการขอดุอาอ์ และในเมื่อเสร็จจากการขอดุอาอ์ก็จะเปลี่ยนไปทำการซิกรุลลอฮฺ(การรำลึกถึงอัลลอฮ์)

เรื่องราวนี้มิได้แปลกประหลาดแต่ประการใด แต่ที่น่าแปลกก็คือว่า การทำอิบาดะฮฺของพวกท่าน(อ) ถึงแม้จะเป็นหน้าที่ประการหนึ่งในหลาย ๆ ประการของการดำเนินชีวิต แต่นั่นก็ได้กลายมาเป็นบทเรียนที่คงดำรงอยู่และป็นแหล่งที่มาแห่งวิชาการ

แต่นั่นก็ได้กลายมาเป็นบทเรียนที่คงดำรงอยู่และเป็นแหล่งที่มาแห่งวิชาการ ตลอดจนถึงแง่มุมต่าง ๆ ในด้าน ๆ ของพวกท่านในการชี้นำประชาชาติและพัฒนาสังคม เราจะนำเอาเรื่องราวที่เกี่ยวกับการอิบาดะฮฺของท่านอิมามมุฮัมมัดบากิร(อ) บางส่วนมากล่าวถึงต่อไปนี้

๑.ท่านอิมามศอดิก(อ)ได้กล่าวไว้ว่า :

ท่านอิมามอะบูญะอฟัร(อ) บิดาของฉันทำการ ‘ ซิกรุลลอฮ์ ’ ( เช่น กล่าวอัลลอฮ์อักบัร อัล-ฮัมดุลิลลาฮฺ ฯลฯ) อย่างมากมาย ฉันได้เคยเดินทางไปพร้อมกับท่าน (อ) ในขณะที่เดินทางท่าน (อ) ก็จะกล่าว ‘ ซิกรุลลอฮฺ ’

เมื่อฉันรับประทานอาหารร่วมกับท่าน(อ) ในขณะที่รับประทานอาหาร ท่าน(อ)ก็จะกล่าว

‘ ซิกรุลลอฮฺ ’

แม้แต่ในขณะที่ท่าน(อ)สนทนากับประชาชน ท่าน(อ)ก็ยังไม่วายเว้นจากการกล่าว ‘ ซิกรุลลอฮฺ ’ ฉันได้เห็นลิ้นของท่าน (อ) สัมผัสกับเพดานเหลือกแล้วกล่าวว่า ‘ ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ ’ เสมอ

ท่าน(อ)เคยเรียกพวกเรามาชุมนุมพร้อมกัน แล้วสั่งให้พวกเรากล่าว ‘ ซิกรุลลอฮฺ ’ จนกระทั่งตะวันขึ้น และได้สั่งให้พวกเราอ่านคัมภีร์ ซึ่งพวกเราก็ได้อ่านกัน ส่วนคนไหนที่ไม่อ่าน ท่าน (อ) ก็จะสั่งให้กล่าว ‘ ซิกรุลลอฮฺ ’ ( ๑)

( ๑) อะอยานุช-ชีอะฮฺ ๔ กอฟ ๒/๔๘.

๒.ท่านอัฟละฮ์ ผู้รับใช้คนหนึ่งของท่านอิมามบากิร(อ) ได้กล่าวว่า :

ฉันได้ออกเดินทางไปทำฮัจญ์พร้อมกับท่านมุฮัมมัด บินอะลี(อ) ครั้นเมื่อท่าน(อ)ได้เข้าไปในมัสญิด ท่าน(อ)ก็ได้มองไปยัง

บัยตุลลอฮฺ แล้วท่าน(อ)ก็ร้องได้เสียงดัง

ข้าพเจ้าได้เคยกล่าวกับท่าน(อ)ว่า

“ โอ้ ผู้เป็นเสมือนบิดาและมารดาของข้าพเจ้า แท้จริงประชาชนทั้งหลายกำลังมองมายังท่านอยู่ ท่านน่าจะลดเสียงของท่านลง

สักนิด ”

ท่านมุฮัมมัด บินอะลี(อ)ได้กล่าวกับข้าพเจ้าว่า

“ โอ้ อัฟละฮฺเอ๋ย ฉันอดร้องไห้ไม่ได้หรอก เพราะว่าอัลลอฮ์ (ซ.บ.) กำลังทรงมองมายังฉันด้วยความเมตตา โดยที่แน่จะได้รับชัยชนะจากความเมตตานั้น ณ พระองค์ในวันพรุ่งนี้ ”

หลังจากนั้นท่าน(อ)ได้เวียนรอบบัยตุลลอฮฺ เสร็จแล้วท่าน(อ)ก็ได้เข้ามานมาซ ๒ ร่อกะอัต

ที่อัล-มะกอม เมื่อท่าน(อ)ยกศีรษะของท่าน(อ)ขึ้นจากการชุญูด ปรากฏว่าสถานที่ซุญูดของท่าน(อ)ชุ่มโชกไปด้วยน้ำตา( ๒)

( ๒) มะฏออลิบุซ-ซุอูล เล่ม ๒ , หน้า ๕๒. กัซฟุล-ฆฺมมะฮฺ

หน้า ๒๑๑. นูรุล-ฮับศอร หน้า ๒๐๗. อัล-ฟุซูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า ๑๙๗.

๓.ท่านอิมามศอดิก(อ)ได้กล่าวว่า :

ในยามค่ำคืน ท่านอิมามบากิร(อ)บิดาของฉันจะกล่าววิงวอนขออภัยโทษด้วยความนอบน้อมถ่อมตัวเสมอว่า

“ โอ้ อัลลอฮ์... พระองค์ได้ทรงบัญชากิจการต่าง ๆ ให้แก่ข้าพระองค์แล้ว แต่ข้าฯยังมิได้สนองคำบัญชา พระองค์ทรงห้ามข้าฯในกิจการต่าง ๆ ไว้แล้ว แต่ข้าฯก็ยังมิได้หยุดยั้ง ข้าฯเป็นบ่าวของพระองค์ และจะไม่ขออุทธรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น ( ๓)

( ๓) ศิฟะตุศ-ค็อฟวะฮฺ เล่ม ๒ , หน้า ๑๒. นูรุล-อับศอร หน้า ๑๓๐.

อัล-ฟุซูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า ๑๙๔.

กัซฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า ๒๑๑.

๔.ท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร(อ)ได้ทำนมาซในวันหนึ่งมากถึง

๑๕๐ ร่อกะอัต(๔)

( ๔) อัล-มุซัรริอุร-ร่อวี หน้า ๓๗.

วิถีชีวิตของอิมามบากิร(อ)

ถ้าหากบรรดามุสลิมได้ยึดถือเอาวิถีชีวิตของ่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)และของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติแล้ว แน่นอนเหลือเกินว่าพวกเขาจะต้องได้รับมรรคผลอันยิ่งใหญ่ในการดำเนินชีวิตและด้านจริยธรรม

ประชาชาติอิสลามทั้งหลายจะต้องได้รับความเจริญรุ่งเรืองในสาขาต่าง ๆ และเขาเหล่านั้นจะได้รับชัยชนะอันยิ่งใหญ่ทั้งในสังคมภายในและภายนอก ทั้งนี้ก็เพราะว่า ในหมู่บรรดามนุษยชาตินั้นไม่เคยปรากฏว่ามีผู้นำนักปราชญ์และนักคิดใด ๆ ที่จะมีวิถีการดำเนินชีวิตอันสูงส่งเช่นนี้ ไม่ว่าจะเป็นในยุคใดสมัยใดก็ตาม(๑)

๑) โปรดดูหนังสือ “ ซีร่อตุล-อะอิมมะฮฺ ” จัดพิมพ์โดยสถาบันเผยแพร่วัฒนธรรมอิสลามแห่งกัรบะลาอ์

หวังว่าบรรดามุสลิมทั้งหลายจะได้หวนย้อนคืนกลับสู่แนวทางอันนี้โดยยึดถือปฏิบัติตามแนวทางอันบริสุทธิ์นี้