ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร0%

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 14760
ดาวน์โหลด: 3040

รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 239 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 14760 / ดาวน์โหลด: 3040
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

(๓) คำสั่งเสียของท่านอิมามที่ ๕

ต่อท่านอุมัร บินอับดุลอะซีซ

เมื่อครั้งที่ท่านอุมัร บินอับดุลอะซีซ(ร.ฏ.)ซึ่งเป็นเจ้าเมืองได้มาเยือนนครมะดีนะฮฺนั้น ผู้ป่าวประกาศได้ประกาศว่า

“ คนใดที่ถูกกลั่นแกล้ง ถูกเอารัดเอาเปรียบ ขอให้มาที่นี่ ”

ปรากฏว่าท่านอะบูญะอ์ฟัร(อ)ได้เข้ามา ครั้นเมื่อเจ้าเมืองได้เห็นท่าน(อ)ก็เข้ามาต้อนรับและเชิญให้ท่าน(อ)นั่งบนที่นั่งของตน

ท่านอิมาม(อ)กล่าวว่า

“ อันที่จริงโลกตุนยานี้เป็นตลาดแห่งหนึ่ง ซึ่งมนุษย์ซื้อขายของที่มีคุณและของที่มีโทษ คนจำนวนไม่น้อยที่ซื้อขายของที่มีโทษต่อพวกเขาเองและพวกเขาก็ไม่เปลี่ยนแปลงอะไร จนกระทั่งความตายได้มาถึง พวกเขาจึงออกจากโลกตุนยานี้ไปในฐานะที่ถูกตำหนิ เนื่องจากไม่นำพากับสิ่งที่ให้คุณแก่พวกเขาในปรโลก

พวกเขาแบ่งสันปันส่วนสิ่งของที่รวบรวมกันมาให้แก่ผู้ที่ไม่ยกย่อง

สรรเสริญพวกเขา แล้วก็กลายเป็นพวกของผู้ที่มิได้ให้อภัยแก่พวกเขา ”

“ ขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ เราเชื่อมั่นว่า จะได้ดูกิจการงานเหล่านั้นที่เรากลัวว่ามันจะประสบแก่พวกเขา ดังนั้นจงยับยั้งจากมัน แล้วจงยำเกรงต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) และจงทำตัวของท่านให้อยู่ในสองประการคือ

- จงพิจารณาในสิ่งที่ท่านชอบจะให้อยู่กับตัวท่าน เมื่อท่านนำไปมอบให้แก่อัลลอฮ์ (ซ.บ.)

แล้วพระองค์ก็มอบมันเบื้องหน้าท่าน

- และจงพิจารณาในสิ่งที่เมื่อท่านนำไปเสนอให้แก่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) แล้วพระองค์ก็จะฉีกมันทิ้งตามหลังท่านมา

จงอย่าปรารถนาอย่างเด็ดขาดกับของที่ไร้ค่าสำหรับคนในอดีตของ

พวกท่าน จงเปิดประตูกว้าง จงคลี่คลายม่านกำบัง จงเป็นธรรมกับผู้ได้รับความไม่เป็นธรรม และจงปฏิเสธผู้อธรรม

(๓) อัล -มะนากิบ เล่ม ๒ , หน้า ๒๙๓. บิฮารุล-อันวาร เล่ม ๑๑ , หน้า ๙๔

(๔) คำสั่งเสียของท่านอิมามที่ ๕

ต่อท่านญาบิร บินญุอฟี

ท่านอิมามมุฮัมมัด บินอะลี(อ)ได้สั่งเสียแก่ท่านญาบิร บินญุอฟี(ร.ฏ.)ไว้ดังนี้

“ จงพำนักพักพิงในโลกดุนยานี้ ให้เหมือนกับกับสถานที่หยุดพักแห่งหนึ่งที่ท่านต้องเดินทางจากไป หรือสถานที่นอนหลับสักงีบหนึ่ง แล้วก็ตื่นขึ้นมาโดยที่ไม่มีอะไรติดตัวท่านไปเลย

อันที่จริงสิ่งที่อยู่กับผู้มีปัญญาและผู้ที่รู้จักอัลลอฮ์(ซ.บ.)อย่างแท้จริงมีเพียงเสมือนคลังสมบัติที่ให้ร่มเงา ดังนั้นอันใดก็ตามที่อัลลอฮ์มมอบหมายให้ท่านดูแลรักษา เช่น ศาสนาและวิทยปัญญาของพระองค์นั้น ท่านก็จะต้องพิทักษ์รักษาให้ดี

( ๔) ฮิลยะตุ้ล-เอาลิยาอ์ เล่ม ๓ , หน้า ๑๘๗.

(๕) คำสั่งเสียของท่านอิมามที่ ๕

ต่อสหายของท่าน

ท่านอิมามอะบูญะอ์ฟัร(อ)ได้สั่งเสียต่อสหายบางคนของท่าน(อ)ซึ่งมีใจความดังนี้

“ พวกท่านมีหน้าที่ต้องสำรวมตน ต้องมีความมานะพยายาม ต้องพูดความจริง และทำหน้าที่ตามสัญญาต่อผู้ที่มอบหมายไว้แก่พวกท่าน ”

ไม่ว่าจะเป็นคนดีหรือเลว เพราะถึงแม้คนนั้นจะเป็นฆาตรกรที่สังหาร ท่านอิมามอะลี บินอะบีฏอลิบ(อ) ฉันก็ยังจะต้องรักษาหน้าที่ตามสัญญาที่ฉนมีต่อเขาให้จงได้(๕)

( ๕) อะอยานุชชีอะฮฺ กอฟ ๒/๗๔.

(๖) คำสั่งเสียของท่านอิมามที่ ๕

ต่อสหายของท่าน

ท่านอิมามมุฮัมมัด อัล-บากิร(อ) ได้สั่งเสียต่อสหายบางคนของท่าน(อ)ซึ่งมีใจความดังนี้

“ จงยืนหยัดในสัจธรรม และจงหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่ไม่ให้คุณแก่ท่านจงออกห่างจากศัตรูของท่าน และจงระมัดระวังเพื่อนของท่านจากกลุ่มชนต่าง ๆ นอกจากผู้ที่ซื่อตรงด้วยความกลัวอัลลอฮ์

( ซ.บ.) จงอย่าเป็นเพื่อนกับคนชั่วและจงอย่าเอาความลับของท่านเปิดเผยแก่เขา จงปรึกษาหารือกิจการงานของท่านกับผู้ที่ยำเกรงต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) (๖)

( ๖) ตะฮัฟฟุล-อุกูล หน้า ๒๑๓.

(๗) คำสั่งเสียของท่านอิมามที่ ๕

ต่อคณะสหายของท่านญาบิร อันศอรี

ท่านญาบิร อันศอรี(ร.ฏ.) เล่าว่า :

พวกเราได้เข้าพบท่านอะบูญะอฟัร(อ)โดยไปกันเป็นคณะ หลังจากเสร็จพิธีการแล้วพวกเราก็อำลาจากท่าน(อ) โดยกล่าวกับท่าน(อ)ว่า

“ โปรดสั่งเสียเราด้วยเถิด โอ้บุตรของท่านศาสดา (ศ) ”

ท่านอิมามบากิร(อ)จึงได้กล่าวว่า

“ คนที่แข็งแรงในหมู่พวกท่านจะต้องช่วยเหลือคนที่อ่อนแอกว่าคนที่ร่ำรวยในหมู่พวกท่าน จะต้องเผื่อแผ่แก่คนยากจน ทุกคนจะต้องอบรมสั่งสอนเพื่อนพ้องของตนเหมือนอย่างอบรมสั่งสอนตัวเอง จงปิดบังอำพรางความลับของเรา และจงอย่าเอาภาระของประชาชนทั้งหลายมาวางลงบนความรับผิดชอบของเรา

จงพิจารณาคำสั่งของเราที่มายังพวกท่าน ครั้นหากพวกท่านเห็นว่ามันสอดคล้องกับอัล-กุรอาน ก็จงรับเอาไว้ และถ้าหากพวกท่านเห็นว่ามันขัดแย้งกับอัล-กุอานล่ะก็ จงละทิ้งมันเสีย ถ้าหากพวกท่านเผชิญกับปัญหาที่น่าเคลือบแคลงสงสัยก็จงได้หยุดยั้งเสียก่อนและให้นำเรื่องนั้น ๆ มาเสนอแก่เรา เพื่อเราจะได้อธิบายให้กระจ่างแก่พวกท่านตามที่ได้มีการอธิบายไว้

แล้วสำหรับเรา ครั้นหากพวกท่านทำตามคำสั่งเสียของเรา พวกท่านก็จะไม่หวนกลับไปเป็นอย่างอื่น หากพวกท่านคนใดตายก่อนที่อัล-กฺออิมจะมาปรากฏก็เท่ากับเขาได้เป็นชะฮีด แต่ถ้าหากได้มี

ชีวิตอยู่จนได้พบกับอัล-กออิมของเราก็จะได้ร่วมงานต่อสู้กับเขา

เขาจะได้รางวัลเท่ากับสองชะฮีด และผู้ใดที่ตายลงต่อหน้าเขา ด้วยน้ำมือของศัตรูของเรา ก็จะได้รางวัลเท่ากับ ๒๐ ชะฮีด(๗)

( ๗) บิฮารุล-อันวาร เล่ม ๑๗ , หน้า ๑๖๖.

(๘) คำสั่งเสียของท่านอิมามที่ ๕

ต่อลูกหลานตระกูลฮาชิม

เมื่อครั้งที่ประชาชนในตระกูลฮาชิมได้มารวมกันที่บ้านของท่าน

อิมามมุฮัมมัด บากิร(อ)

ท่านอิมาม(อ)กล่าวว่า

“ จงยำเกรงต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) เถิด ชีอะฮฺของอาลิมุฮัมมัด จงเป็นแกนกลางในการให้พวก ‘ ฆอลี ’ ( มีแนวความเชื่อเกี่ยวกับท่าน

อิมามอะลีแบบสุดโต่งไม่ถูกต้อง) คืนกลับมาหาและให้พวก ‘ ตาลี

( ล้าหลัง) ได้เข้ามาติดตามพวกท่าน ”

เขาเหล่านั้นถามว่า

“ พวก ‘ ฆอลี ’ หมายถึงใคร ? ”

ท่าน(อ)ตอบว่า

“ ก็คือพวกที่พูดในเรื่องของเราอย่างชนิดที่เราเองไม่เคยกล่าวไว้ อย่างนั้นเกี่ยวกับตัวของพวกเรา ”

แล้วพวกเขาได้ถามอีกว่า

“ แล้วพวก ‘ ตาลี ’ หมายถึงใคร ? ”

ท่านอิมาม(อ)ตอบว่า

“ หมายถึงผู้เรียกร้องแต่สิ่งที่ดีงาม และได้รับความดีงามเพิ่มพูนยิ่งขึ้น ”

“ ขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ว่า ระหว่างเรากับอัลลอฮ์ (ซ.บ.) นั้น ไม่มีลักษณะความเป็นเครือญาติสนิทใด ๆ และสำหรับพวกเรากับอัลลอฮ์ (ซ.บ.) นั้น ไม่มีอะไรเป็นข้อขัดแย้ง และเรามิได้ใกล้ชิดต่อพระองค์เพราะสิ่งอื่นใด นอกจากโดยการปฏิบัติตาม ดังนั้นถ้าคนใดในหมู่พวกท่าน

เป็นคนเชื่อฟังอัลลอฮ์(ซ.บ.) ทำงานไปด้วยความเชื่อฟังอัลลอฮ์(ซ.บ.)ความรักต่อพวกเราอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)ก็ยังประโยชน์ต่อพวกเขา แต่ถ้าคนใดในหมู่พวกท่านทรยศต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.) กระทำการงานไปด้วยการละเมิดต่อพระองค์ ความรักต่อพวกเราก็ไร้ประโยชน์ต่อพวกเขา ”

“ และเขาจะถูกลงโทษไม่ได้รับการยกเว้น ”

ท่านอิมาม(อ)กล่าวประโยคดังกล่าว ๓ ครั้ง(๘)

( ๘) อ้างเล่มเดิม หน้าเดิม

(๙) คำสั่งเสียของท่านอิมามที่ ๕

ต่อบุตรของท่านคนหนึ่ง

ท่านอิมามมุฮัมมัด อัล-บากิร(อ) ได้สั่งเสียแก่บุตรชายของท่านคนหนึ่ง ซึ่งมีใจความดังนี้

“ โอ้ ลูกเอ๋ย เมื่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ประทานความโปรดปรานอันใดมายังเจ้า ก็จงกล่าวเถิดว่า

‘ อัลฮัมดุลิลลาฮฺ ’ และถ้าพระองค์ทรงบันดาลให้เจ้าต้องโศกเศร้าสลดในงานอันใดก็ตาม เจ้าก็จงกล่าวว่า

‘ ลาเฮาละ วะลากู วะตะอิลลา บิลลาฮฺ ’

และถ้าหากริซกี(ปัจจัยยังชีพ)เชือนแชที่จะมายังเจ้า ก็จงกล่าวว่า ‘ อัซตัฆฟิรุลลอฮฺ ’ เถิด (๙)

( ๙) อ้างเล่มเดิม หน้า ๑๖๘.

(๑๐) คำสั่งเสียของท่านอิมามที่ ๕

ต่อชีอะฮฺของท่าน

ท่านอิมามมุฮัมมัด อัล-บากิร(อ)ได้มีคำสั่งเสียต่อชีอะฮฺของท่าน(อ)โดยเน้นหนักในเรื่องการศึกษา

“ พวกท่านจงศึกษาหาความรู้ เพราะถ้าหากท่านได้สอนวิชาก็เท่ากับได้ความดี ถ้าท่านศึกษาวิชาการก็เท่ากับทำการอิบาดะฮฺ

ถ้าท่านทบทวนวิชาการก็เท่ากับการ ‘ ตัซบีฮฺ ’

ถ้าท่านวิเคราะห์ปัญหาทางวาการก็เท่ากับดิ้นรนต่อสู้ (ญิฮาด)

ถ้าท่านได้อบรมสั่งสอนเท่ากับท่านได้บริจาคทาน

และถ้าท่านให้วิชาการแก่พรรคพวกก็เท่ากับได้เครือญาติ ความรู้คือผลไม้แห่งสรวงสวรรค์ ความรู้เป็นเครื่องให้ความอบอุ่นในยามที่อยู่โดดเดี่ยว เป็นเพื่อนในยามที่ตกเป็นคนแปลกหน้า เป็นมิตรในยามอยู่ลำพัง เป็นสิ่งนำทางในยามมืด เป็นผู้ช่วยในยามเดือดร้อน

เป็นอาวุธในยามอยู่กับศัตรู อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงยกฐานะของคนพวกหนึ่งให้สูงส่งด้วยวิชาความรู้

แล้วทรงบันดาลให้พวกเขาอยู่กับความดีในฐานะผู้นำ และสำหรับมวลมนุษย์นั้นมีอิมามที่นำทางให้

โดยการกระทำและให้บทเรียนด้วยแนวทางสร้างสรรค์ของพวกท่าน ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งของเปียกและของแห้งต่างอวยพรให้พวกท่านทั้งหมู่ฝูงปลาในทะเล ทั้งหมู่สิงสาราสัตว์ในป่า(๑๐)

( ๑๐) อ้างเล่มเดิม

สุภาษิตของ

อิมามมุฮัมมัดบากิร(อ)

ในช่วงเวลาที่ข้าพเจ้าบันทึกสุภาษิตต่าง ๆ ของท่านอิมาม

มุฮัมมัดอัล-บากิร(อ)เสนอแก่ท่านผู้อ่านอยู่

ข้าพเจ้ามีความคิดที่ว่า จะนำเอามาศึกษาในเชิงวิเคราะห์ คิดพิจารณาศึกษาอย่างเจาะลึก

แล้วนำมาปฏิบัติอย่างเคร่งครัดกับวิชาการความรู้ที่สรุปมาได้ และถ้าหากได้ทำอย่างนี้แล้ว

เราสามารถที่จะเข้าถึงเป้าหมายอันสูงส่งที่ท่านอิมาม(อ)ปรารถนาจากการกล่าวถ้อยคำเหล่านี้เอาไว้นั่นเอง

เราจะขอกล่าวถึงสุภาษิตของท่านอิมามบากิร(อ)เพียงบางส่วนดังนี้

สุภาษิตที่ ๑

ไม่ว่าจะเป็นหยาดหนึ่งของน้ำตาของใครก็ตามที่ไหลออกมา

อัลลอฮ์(ซ.บ.)จะทรงหวงห้ามใบหน้าของผู้เป็นเจ้าของน้ำตานั้นมิให้ต้องไฟนรก

ดังนั้นถ้าหากน้ำตานั้นไหลลงมาอาบแก้มใบหน้านั้นจะไม่เปื้อนด้วยละอองฝุ่นใด ๆ และจะไม่ต่ำต้อยในวันกิยามะฮฺเลย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดก็ดีย่อมมีรางวัลตอบแทนทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าหยาดน้ำตาที่ไหลหลั่งมานั้น อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงให้มันปิดกั้นทะเลแห่งความบาปได้ หากว่าคนที่ร้องไห้เพราะเสียใจกับประชาชาติอิสลาม แน่นอนอัลลอฮ์(ซ.บ.)จะทรงหวงห้ามประชาชาตินั้นมิให้ตกนรก

สุภาษิตที่ ๒

ไม่มีอิบาดะฮฺประเภทใดในทัศนะของอัลลอฮ์(ซ.บ.)จะประเสริฐกว่าการระวังรักษาท้องให้บริสุทธิ์(จากการกินของฮะรอม)

หรืออวัยวะเพศให้บริสุทธิ์จากการล่วงประเวณี และไม่มีอะไร

ที่อัลลอฮ์(ซ.บ.) ทรงรักยิ่งกว่าการที่พระองค์ถูกวิงวอนขอ จะไม่มีสิ่งใดปลดปล่อยภารกิจให้เสร็จลุล่วงได้นอกจากดุอาอ์

ความดีที่ส่งผลตอบแทนได้อย่างรวดเร็วที่สุดคือ การเผยแผ่คุณธรรมและความยุติธรรม

ความชั่วที่ส่งผลตอบแทนได้รวดเร็วที่สุดคือการละเมิด

ศาสนบัญญัติ จะถือว่าคน ๆหนึ่งบกพร่องอย่างถึงที่สุดแล้ว

ถ้าหากมองเห็นแต่สิ่งที่มาจากคนอื่น

แต่มองไม่เห็นสิ่งที่มาจากตัวของเขาเอง โดยสั่งสอนคนอื่นในสิ่งที่ตนเองไม่สามารถกระทำให้เป็นไปได้ และการที่ตำหนิมวลสมาชิกของตนในสิ่งที่ไม่เหมาะสมไม่ควร(๑)

( ๑) ตัซกิเราะตุล-เคาวาศ หน้า ๑๙๑.

สุภาษิตที่ ๓

ความประเสริฐ ๓ อย่างสำหรับโลกนี้และในปรโลกมีดังนี้คือ

- ๑- ท่านจะต้องอภัยให้แก่คนที่มีความอธรรมต่อท่าน

- ๒- ท่านจะต้องติดต่อสัมพันธักับผู้ที่ตัดขาดจากท่าน

- ๓- ท่านจะต้องอ่อนโยน ถ้าหากการกระทำที่โง่เขลาถูกกระทำขึ้นแก่ท่าน

สุภาษิตที่ ๔

คนใดที่พูดความจริง ถือว่างานของผู้นั้นสะอาด

คนใดที่มีเจตนาดีงาม ริซดีของเขาจะเพิ่มพูน

คนใดที่กระทำความดีต่อสมาชิกของตน ย่อมมีอายุยืนยาว

สุภาษิตที่ ๕

งานที่ยากยิ่ง ๓ ประการ ได้แก่

(๑) การให้ความเท่าเทียมกันในด้านทรัพย์สินเงินทองในหมู่พี่น้อง

(๒) การให้ความเป็นกลางระหว่างคนอื่นกับตัวเอง

(๓) การรำลึกถึงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ในทุก ๆ โอกาส

สุภาษิตที่ ๖

คนที่ขาดทุนที่สุดในวันปรโลกได้แก่ คนที่ครองตนอยู่ในความยุติธรรม แต่แล้วได้กระทำขัดแย้งกับสิ่งนั้นกับบุคคลอื่น( ๒)

(๒) อะอยานุช-ซีอะฮฺ ๔ กอฟ ๒/๗๑-๗๔.

สุภาษิตที่ ๗

ไม่มีการนำสิ่งหนึ่งมาประกอบกับสิ่งหนึ่งได้ดีงามยิ่งกว่า ความอ่อนโยนประกอบด้วยความรู้

สุภาษิตที่ ๘

ผู้รู้ที่ยังประโยชน์ด้วยการกระทำของขา ย่อมประเสริฐกว่าผู้ที่หมั่นทำอิบาดะฮฺ ๑ , ๐๐๐ คน

สุภาษิตที่ ๙

ชีอะฮฺของเรานั้น คือ ผู้ที่เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮ์(ซ.บ.)

สุภาษิตที่ ๑๐

ท่านพึงระวังไว้ซึ่งการพิพาท เพราะมันจะทำให้เกิดความเสียหายและจะปลูกฝังความหลอกลวง

สุภาษิตที่ ๑๑

- ผู้ใดที่มอบจริยธรรมที่ดี และมอบความเป็นมิตรให้ เท่ากับได้มอบความดีและความสุขให้เขาจะมีความเป็นอยู่ที่ดีทั้งในโลกนี้และปรโลก

- ผู้ใดที่ยับยั้งซึ่งจริยธรรมที่ดี และความเป็นมิตรก็จะกลายเป็นหนทางไปสู่ความชั่วร้ายทุกประการ นอกจากผู้ที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงคุ้มครองเท่านั้น (๓)

( ๓) กัซฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า ๒๑๕-๒๑๖.

สุภาษิตที่ ๑๒

ถ้าความหยิ่งทรนงเข้าสู่จิตใจของคนใด สติปัญญาก็จะลดน้อยถอยลงไปตามปริมาณนั้น

สุภาษิตที่ ๑๓

จะรู้ซึ้งถึงความรักในจิตใจของพี่น้องที่มีต่อท่านได้โดยสิ่งที่มีอยู่ในจิตใจของท่าน(๔)

( ๔) นูรุล-อับศอร หน้า ๒๐๙.

สุภาษิตที่ ๑๔

ความมั่งคั่งและเกียรติยศจะวนเวียนอยู่ในจิตใจของผู้ศรัทธา ครั้นถ้ามันเข้าไปถึงที่ที่มีการตะวักกัล(มอบหมายทุกการงานยังอัลลอฮ์)แล้วมันก็จะพำนักอยู่ที่นั่นตลอดไป

สุภาษิตที่ ๑๕

สายฟ้าแลบจะสัมผัสกับคนทุกประเภท ทั้งผู้ศรัทธาและไม่ศรัทธา แต่มันจะไม่สัมผัสกับคนที่มีการซิกรุลลอฮฺ(รำลึกถึงอัลลอฮ์)

สุภาษิตที่ ๑๖

ทุกอย่างจะมีตัวทำลาย ตัวทำลายความรู้คือการหลงลืม

สุภาษิตที่ ๑๗

การตายของผู้รู้จะเป็นที่ชื่นชอบของ ‘ อิบลิซ ’ ยิ่งกว่า การตายของผู้เพียร การเคารพภักดี ๗๐คน (๕)

( ๕) ฮิลยะตุ้ล-เอาลิยาอ์ เล่ม ๓ , หน้า ๑๘๑-๑๘๘.

สุภาษิตที่ ๑๘

ไม่มีสิ่งใดที่สามารถจูงใจพี่น้องได้อยู่กับท่านได้ เท่ากับการทำความดีต่อพวกเขา(๖)

( ๖) อัล-มุซัรเราะอุรรอวีย์ หน้า ๓๗.

สุภาษิตที่ ๑๙

ความบริบูรณ์เหนือความบริบูรณ์ทุกประการ คือ ความเข้าใจในเรื่องของศาสนา ความอดทน และการรู้จักประมาณในการครองชีพ

สุภาษิตที่ ๒๐

ในการกำหนดทุกประการของอัลลอฮ์(ซ.บ.)นั้นย่อมให้คุณแก่ผู้ศรัทธา

สุภาษิตที่ ๒

ผู้ที่อัลลอฮ์(ซ.บ.)ไม่ทรงบันดาลให้ตัวเขาเองสอนตัวเองนั้น การสั่งสอนของคนทั้งหลายจะไม่อำนวยผลใด ๆ ต่อเขาเลย

สุภาษิตที่ ๒๒

การงานใด ๆ ย่อมไม่ถูกยอมรับ นอกจากจะต้องมีความรู้ และความรู้จะมีไม่ได้นอกจากด้วยการทำงาน ใครจะมีความรู้ก็ย่อมแสดงออกมาที่ผลงาน ส่วนคนที่ไม่มีความรู้ก็จะไม่มีการงานใด ๆ แสดงออกมา

สุภาษิตที่ ๒๓

นอกเสียจากคนที่มีตักวาต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.)และเชื่อฟังต่อพระองค์แล้ว ไม่ถือว่าเป็นชีอะฮฺของเรา และไม่ถือว่าพวกเขาจะมีความรู้ นอกจากด้วยการถ่อมตน สำรวมตน รักษาสัญญา รำลึกถึงอัลลอฮ์(ซ.บ.)มาก ๆ ถือศีลอด นมาซ อดทน ทำความดีต่อพ่อแม่ ผูกพันกับเพื่อนบ้าน ทั้งคนยากจน คนขัดสน คนมีหนี้สินล้นพ้นตัว และเด็กกำพร้า พูดความจริง อ่านอัล-กุรอาน รักษาลิ้นของตนมิให้รังควานเพพื่อนมนุษย์ นอกจากทำความดี และเป็นพี่น้องที่ให้ความอบอุ่นต่อเขาในสิ่งต่างๆ

สุภาษิตที่ ๒๔

การติดต่อสัมพันธ์กับญาติมิตรนั้น เป็นการซักฟอกการงาน ทำให้ทรัพย์สินเจริญงอกงาม

สกัดกั้นเภทภัยต่าง ๆ ทำให้การถูกสอบสวนเป็นไปอย่างสะดวก(ในวันกิยามะฮฺ) และทำให้มีความอบอุ่นเมื่อถึงวาระสุดท้าย

สุภาษิตที่ ๒๕

ความเกียจคร้านจะทำลายทั้งศาสนาและโลกดุนยา

สุภาษิตที่ ๒๖

อันที่จริงชีอะฮฺของอะลีนั้น หมายถึงแต่เพียงผู้ที่ทุ่มเทความรักให้แก่พวกเรา มีความชอบต่อการจงรักภักดีต่อเรา แบกภาระในการเกื้อกูลศาสนา แม้เขาจะโกรธเขาก็จะไม่อธรรม แม้เขาจะยินดี

เขาก็จะไม่ฟุ่มเฟือย คนที่อยู่ใกล้ชิดกับเขาก็จะได้รับความจำเริญ คนที่รวมงานกับเขาก็จะได้รับความปลอดภัย( ๗)

( ๗) ตะฮัฟฟุล-อุกูล หน้า ๒๑๙.

สุภาษิตที่ ๒๗

คนหยิ่งทะนงตนนั้น อัลลอฮ์(ซ.บ.)จะทรงถอดถอนอาภรณ์ของเขาออก

สุภาษิตที่ ๒๘

การชนะด้วยความดีนั้นถือเป็นเกียรติยศ แต่การเอาชนะด้วยความชั่วนั้นถือเป็นที่น่ารังเกียจ

สุภาษิตที่ ๒๙

ผู้ได้รับความอธรรมนั้นจะเอาศาสนาของผู้อธรรมมาได้มากกว่าที่ผู้อธรรมจะเอาโลกดุนยาไปจากผู้ได้รับความไม่เป็นธรรม

สุภาษิตที่ ๓๐

เมื่ออัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงประจักษ์ในเจตนาดีของคนใดคนหนึ่ง พระองค์ก็จะทรงประทานการปกป้องคุ้มครองให้แก่เขา

สุภาษิตที่ ๓๑

คนใดที่ทำงานด้วยความรู้ที่เขามี อัลลอฮ์(ซ.บ.)จะทรงสอนให้เขารู้ในสิ่งที่เขาไม่รู้( ๘)

( ๘) บิฮารุล-อันวาร เล่ม ๑๗ , หน้า ๑๖๘.

สุภาษิตที่ ๓๒

ผู้ศรัทธานั้นหมายถึงเพียงคนที่ ถ้าหากมีความพอใจในสิ่งที่ใด ๆ ความพอใจนั้น ๆ ของเขา ก็มิได้นำเขาให้เข้าไปอยู่ในความบาปและความผิดพลาด ถ้าเขาโกรธ ความโกรธของเขาก็มิได้นำเขาให้ออกไปจากการพูดความจริง ผู้ศรัทธานั้น เมื่อมีความสามารถใด ๆ ความสามารถนั้น ๆ ของเขาก็จะไม่นำเขาออกไปสู่ความเสียหาย และไปสู่สิ่งที่เขาไม่มีสิทธิ

สุภาษิตที่ ๓๓

คนที่ขาดทุนอย่างยับเยินมี ๓ ประเภท ได้แก่ คนที่หลงคิดว่า ตนเองมีผลงานมากพอแล้ว

คนที่หลงลืมความบาปของตัวเอง และคนที่ชอบแต่ความเห็นของตน

สุภาษิตที่ ๓๔

ความอธรรมมี ๓ ประเภท ได้แก่

๑. ความอธรรมที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงให้อภัย

๒. ความอธรรมที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ไม่ทรงให้อภัย และ

๓. ความอธรรมที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ไม่ทรงให้โอกาส

สำหรับความอธรรมที่อัลลอฮ์(ซ.บ.)ไม่ทรงให้อภัยนั้นคือ การตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.)

ส่วนความอธรรมที่พระองค์ทรงให้อภัยนั้นคือ ความผิดพลาดของมนุษย์ที่มีขึ้นระหว่างเขากับพระองค์

ส่วนความอธรรมที่พระองค์ไม่ทรงให้โอกาสคือ หนี้สินที่มีต่อกันในระหว่งปวงบ่าว( ๙)

( ๙) อัล-คิศ็อล หน้า ๑๐๕ , ๑๑๒.

สุภาษิตที่ ๓๕

คนเลวที่สุด ได้แก่ คนที่มีสองหน้าสองลิ้น คือ จะเผื่อแผ่กับพี่น้องของตนตามทัศนะของอัลลอฮ์(ซ.บ.)ในยามเปิดเผย จะโกงกินพี่น้องของตนในยามลับ ถ้าหากพี่น้องของเขาถูกหยิบยื่น

เขาจะริษยา และถ้าพี่น้องของเขาถูกทดสอบ เขาก็จะยิ่งลิดรอน

สุภาษิตที่ ๓๖

การทำความดีและบริจาคทาน จะสกัดกั้นความยากจนและช่วยให้อายุยืน อีกทั้งจะช่วยปกป้องคนบาปที่ตายไปแล้วถึง ๗๐ คน

สุภาษิตที่ ๓๗

สามประการที่ยากยิ่งสำหรับปวงบ่าวที่จะทำได้นั้นคือ ให้ความเป็นธรรมต่อผู้ศรัทธายิ่งกว่าตนเอง ให้ความเสมอภาคแก่พี่น้องของตน รำลึกถึงอัลลอฮ์(ซ.บ.)ในทุกโอกาส หมายถึงจะต้องระลึกถึงพระองค์ในยามละเมิดบทบัญญัติด้วยความเป็นทุกข์กับสิ่งนั้น ๆ โดยเปล่ยนมาเป็นการรำลึกถึงอัลลอฮ์(ซ.บ.)แทนที่จะทำการละเมิดในสิ่งนั้น

ดังพระดำรัสของพระองค์ที่ว่า :

“ แท้จริงบรรดาผู้ที่สำรวมคนนั้น ถ้ามีกลุ่มหนึ่งของมารร้ายมาสัมผัสกับเขา เขาก็จะรำลึกถึงอัลลอฮ์ เมื่อนั้นเขาก็จะเห็นอย่างชัดเจน ” ( อัล-อะอรอฟ: ๒๐๑) (๑๐)

( ๑๐) อัล-ศิศ็อล หน้า ๓๘ , ๔๘ , ๑๓๑.

สุภาษิตที่ ๓๘

แท้จริงถ้าหากคนใดคนหนึ่งทำบาป ความบาปนั้นก็จะทำลายริซกีของเขา(๑๑)

( ๑๑) อุศูลุล-กาฟี หน้า ๔๔๐.

สุภาษิตที่ ๓๙

คนที่น่าตำหนิที่สุด คือคนที่รู้ในข้อตำหนิของคนอื่น แต่มองไม่เห็นความบกพร่องอันมาจากตัวเขาเอง หรือคนที่ตำหนิคนอื่นในกรณีความผิดเดียวกับที่เขาเองก็ทำอยู่ ซึ่งเขายังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หรือกล่าวร้ายต่อสมาชิกของตนในสิ่งที่เขาเองก็ยังไม่เห็น

สุภาษิตที่ ๔๐

ไม่มีเภทภัยใดจะมาประสบกับคนใดคนหนึ่ง นอกจากโดยบาปที่เขาได้กระทำไป ส่วนที่อัลลอฮ์(ซ.บ.)ยกให้แล้วนั้นมีมาก(๑๒)

( ๑๒) วะซาอิลุช-ชีอะฮฺ เล่ม ๑๑ , หน้า ๒๓๐ และ ๒๓๘.

สุภาษิตที่ ๔๑

ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์ นี่คือสัจธรรม ถ้าคนใดเปิดประตูการแก่ตนเอง เขาก็จะมิได้รับอะไรนอกจากอัลลอฮ์(ซ.บ.)จะทรงเปิดประตูแห่งความยากจนแก่เขา(๑๓)

( ๑๓) บิฮารุล-อันวาร เล่ม ๙๖ , หน้า ๑๕๘.

วินิจฉัยของอิมามบากิร(อ)

ว่าด้วยเรื่องดวงอาทิตย์และดวงจันทร์

บรรดาอิมามของเรานั้นมีความรู้ล้ำยุคล้ำสมัย และยังให้คุณประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลังในการศึกษา

พวกท่าน(อ)มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในแขนงวิชาการ ความรู้และศิลปวิทยาเป็นที่เชิดชูยกย่องจากบรรดาสานุศิษย์ ด้วยถ้อยคำต่าง ๆ ในฐานะที่เป็นผู้ปูพื้นฐานทางวิชาการสมัยใหม่