ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร22%

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 239 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 19246 / ดาวน์โหลด: 4948
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

สิ่งที่ยืนยันเรื่องนี้ก็คือ การทดสอบและการเรียนรู้ของบรรดานักปราชญ์ในสาขาวิชาการต่าง ๆ

ขอสาบานด้วยพระนามอัลลอฮ์ ถ้าหากนักปราชญ์และนักค้นคว้าเหล่านั้น ได้ศึกษาถึงถ้อยคำเหล่านี้ที่มาจากบรรดอิมาม(อ)ที่เคยมีมาก่อนถึง ๑๓ ศตวรรษ ในยุคสมัยที่เต็มไปด้วยเครื่องมือต่าง ๆ อย่างนี้ แน่นอนที่สุด พวกเขาจะเป็นคนที่ศรัทธาต่อบรรดาอิมามอย่างรวดเร็วที่สุด และจะเป็นผู้ที่รักบรรดาอิมามมากกว่ามนุษย์ทั้งมวล ในขณะที่นักปราชญ์ตะวันตกเคยกล่าวไว้ว่า

“ ศาสนาอิสลามถูกสกัดกั้นโดยชาวมุสลิม ”

บรรดาอิมามก็ถูกสกัดกั้นโดยบรรดาชีอะฮฺที่มิได้เผยแผ่วิชาความรู้ของท่าน และมิให้โอกาสแก่ชาวโลกในการมองเห็นภาพที่แท้จริงของพวกท่าน(อ)

ในบทนี้ ข้าพเจ้าจะนำคำสอนของท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร(อ)ที่นักปราชญ์ผู้ทรงเกียรติ คือ

ท่านมุฮัมมัด อิบนุลฮะซัน อัศ-ศิฟาร(เสียชีวิต ฮ.ศ.๒๙๐)ได้กล่าวไว้

และท่านซัยยิดอาชิม อัล-บะฮฺรอนี (เสียชีวิต ฮ.ศ.๑๑๐๗) ได้นำมากล่าวไว้ในตัฟซีระอัล-บุรฮานของท่าน ดังมีใจความว่า :

ท่านญาบิร บินยะซีดได้รายงานจากท่านอะบูญะอฟัร(อ)ความว่า :

ท่านอิมาม(อ)ได้กล่าวว่า

“ ยังมีดวงอาทิตย์อื่นนอกเหนือจากดวงอาทิตย์ที่พวกท่านเห็นอยู่นี้อีก ๔๐ ดวง ระยะทางระหว่างดวงอาทิตย์เหล่านั้นแต่ละดวงคือ ๔๐ ปี ในที่แห่งนั้นมีสิ่งถูกสร้างเป็นจำนวนมาก

พวกเขาไม่รับรู้ว่า อัลลอฮ์(ซ.บ.)ได้ทรงสร้างท่านนบีอาดัมหรือไม่ และแท้จริงยังมีดวงจันทร์อื่น

นอกเหนือจากดวงจันทร์ดวงนี้ของท่าน ยังมีอีก ๔๐ ช่วงเวหาระหว่างห้วงเวลาหนึ่งกับห้วงเวหาหนึ่งเป็นระยะทางไกลถึง ๔๐ ปี ซึ่งในแต่ละห้วงเวหานั้น มีสิ่งที่ถูกสร้างมากมาย

เขาเหล่านั้นมิได้รู้เลยว่าอัลลอฮ์(ซ.บ.)ได้ทรงสร้างท่านนบีอาดัมหรือไม่ อย่างไร เขาเหล่านั้นถูกดลบันดาลให้รู้เยี่ยงฝูงผึ้งทั้งหลาย ” ( ๑)

( ๑) บะศออิตด-ดะร่อญาต อัล-บุรฮาน ฟี ตัฟซีริล-กุรอาน เล่ม ๑ , หน้า ๔ { จำนวนตัวเลข ณ ที่นี้

ท่านชัยยิตฮิบบะตุดดีน ชะฮฺริซตานี(ร.ฮ.)กล่าวไว้หลัง จากได้บันทึกข้อความเหล่านี้และข้อความอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันว่า :

“ ผลสรุปนั่นก็คือ นักปราชญ์ในสมัยก่อนยืนยันเป็นที่แน่นอนว่าไม่มีใครเสนอความคิดเกี่ยวกับเรื่องการมีดวงอาทิตย์หลายดวง และไม่ยอมรับทัศนะที่มีความเห็นว่ามีดวงอาทิตย์มากมาย

จนกระทั่งมาถึงยุคหลัง ๆ นี่เอง เมื่อเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้เจริญก้าวหน้าอย่างครบครัน

บรรดานักปราชญ์จึงมีความเห็นว่ายังมีดวงอาทิตย์อีกมากมาย เนื่องจากสามารถค้นคว้าได้โดยวิธีการสมัยใหม่ ๆ

เช่น เครื่องมือที่นำมาใช้ในเรื่องแสงและกล้องดูดาวประเภทต่าง ๆ ยิ่งกว่านั้น

พวกเขายังสามารถรับรู้ถึงระดับชั้นต่าง ๆ ของแสงที่มีอยู่ และรวมไปถึงหมู่ดาวฤกษ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในนั้น อีกทั้งรากเหง้าพื้นฐานอันเป็นบ่อเกิดของแสง และนักปราชญ์เหล่านั้นยังได้เปรียบเทียบความ

ห่างไกลและขนาดต่าง ๆ ของมันอีกด้วย ผลสรุปก็คือว่า

พวกนักปราชญ์เหล่านั้นมีทัศนะที่บ่งชี้ให้เห็นว่ามีดาวฤกษ์ต่าง ๆ อยู่อีก ซึ่งนั้นก็คือดวงอาทิตย์อีกหลายดวง ซึ่งมีแสงสว่างในตัวเอง

มีความร้อนด้วยตัวของมันเอง กำลังโคจรอยู่ในห้วงอวกาศอันกว้างใหญ่ไพศาลโดยที่เราไม่สามารถกำหนดขอบเขตความกว้างไกลที่มากมายเช่นนั้นได้เลย และดวงอาทิตย์เหล่านั้นไม่มีส่วนสัมพันธ์

ใด ๆ กับโลกของเรา อีกทั้งไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ กับระบบโคจรของดวงอาทิตย์ดวงนี้ กล่าวคือ

แต่ะละดวงก็มีระบบโคจรเป็นของตัวเองโดยเฉพาะ และมีโลกเป็นบริวารของตัวเองโดยเฉพาะอันประกอบด้วยดินแดนต่าง ๆ และ

มีดวงจันทร์หลายดวงโคจรหมุนเวียนอยู่ แสดงถึงการมีจำนวนมาก – ผู้เรียบเรียง }

รอบ ๆ ในระบบของมัน เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ที่เป็นศูนย์กลางระบบการโคจรในระบบจักรวาลของเรา ทัศนะเหล่านี้นับวันจะยิ่งแพร่หลายและถูกยอมรับมากยิ่งขึ้น จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ได้เป็น

ที่ยอมรับกันอย่างเป็นเอกฉันท์แล้วว่า

ดวงอาทิตย์มีจำนวนหลายดวง ”

สำหรับบทบัญญัติในศาสนาอิสลามนั้นได้เสนอแนวความคิดในเรื่องนี้ล่วงหน้าบรรดานักปราชญ์ในสมัยหลังนานมากกว่า

๑ , ๐๐๐ ปีแล้ว

กล่าวคือ ได้มีการแถลงไว้อย่างชัดเจนในตำราหลายเล่มว่า

มีดวงอาทิตย์และดวงจันทร์อยู่ในจักรวาลจำนวนมากมายหลายดวง บ้างก็เป็นการแถลงอย่างผิวเผิน บ้างก็เป็นการแถลงอย่างยืนยัน

ท่านซัยยิด ฮิบบะตุดดีน ชะฮฺริซตานี(ร.ฮ.) ได้กล่าวในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับระบบการโคจรที่ถูกกำกับไว้ในห้วงเวลาว่า :

ศาสตราจารย์สองท่านได้แก่ ‘ เฮอร์ชิว ’ ผู้เชี่ยวชาญในวิชาดาราศาสตร์ ‘ เออร์โนซาและอารอโก ’ ตลอดจนนักปราชญ์อีกคณะหนึ่ง ซึ่งเป็นชนรุ่นหลัง นักปราชญ์สองท่านแรกนี้ได้ให้ทัศนะว่า ระบบการโคจรของสากลจักรวาลนั้นเป็นไปด้วยการถูกกำกับไว้ และเป็นการนำพาสรรพสิ่งทั้งมวล แม้กระทั่งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ซึ่งมีจำนวนมากมายหลายดวง ผลสรุปก็คือว่า สรรพสิ่ง

ทั้งหลายเหล่านั้นล้วนเป็นสิ่งที่อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงสร้างไว้ทั้งสิ้น ตามสภาพการณ์ที่ได้จัดเตรียมไว้ให้เป็นถิ่นฐานของมัน เช่น สัตว์ชนิดต่าง ๆ จำพวก ‘ งู ’ ที่มีการใช้ชีวิตอยู่ในไฟ

ท่านได้กล่าวว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ในสมัยหลังจำนวนหนึ่งได้ให้ทัศนะถึงเรื่องการมีอยู่ของสัตว์ โดยเฉพาะในดวงจันทร์ เช่น ท่านเฮร์ก ท่านเฮอร์ซิล ท่านดูกา ท่านกาซิเน่ และท่านอาราโกที่ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับดวงดาวต่าง ๆ และยังมีนักปราชญ์อีกจำนวนหนึ่งที่ได้ให้คำยืนยันและเสนอหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ ซึ่งบางทีเราอาจจะนำมากล่าวถึงเมื่อตอนที่อธิบายถึงเรื่องราวเกี่ยวกับดวงจันทร์(๒)

( ๒) โปรดพิจารณาดูหนังสือ อัล-ฮัยอะตฺ วัล-อิสลาม หน้า ๒๒๖ , ๒๒๙ , ๒๓๒ และข้อความที่อธิบายประกอบในหนังสือนี้ นั่นคือหมวยที่ ๙ หน้า ๒๖๔ ที่กล่าวไว้ว่า ฟลาเมอยูน มีความเชื่อมั่นว่า สิ่งที่มีชีวิตมีอยู่ในดวงจันทร์

ท่านชะอริซตานี(ร.ฮ.)ได้กล่าวไว้ในบทสรุปของคำอธิบายในเรื่องนี้ไว้ว่า :

“ พี่น้องที่รักทั้งหลาย นี่คือความเป็นไปของโลกที่ได้แสดงออกมาอย่างเปิดเผยและเห็นได้ชัด โดยวิวัฒนาการในหลาย ๆ ยุค หลาย ๆ สมัย จนกระทั่งได้มีทฤษฏีและมีอุปกรณ์เครื่องไม้

เครื่องมือที่เจริญก้าวหน้า ปรากฏออกมาบ่งชี้ถึงข้อสรุปของแนวความคิดใหม่ ๆ อันนี้

และได้ทำให้ชาวตะวันตกมีความรู้สึกภูมิใจที่สามารถเปิดเผยเรื่องราวเหล่านี้ได้และได้ทำให้บรรดาชาวตะวันออกมีความรู้สึกภาคภูมิใจที่สามารถนำเรื่องนี้มาตีแผ่นได้ แต่ได้โปรดพิจารณาต่อบรรดาทายาทของศาสดามุฮัมมัด(ศ)ด้วยเถิดว่า เป็นไปได้อย่างไรที่ท่านสามารถกล่าวถึงเรื่องราวเช่นนี้ไว้

ได้ในสมัยโบราณกาล อันเป็นอดีตที่ผ่านมาหลายยุคหลายสมัย ซึ่งในขณะนั้นไม่ปรากฏว่าจะมีสายตาและจะมีแนวความคิดเกี่ยวกับพื้นฐานวิชาการด้านนี้แต่อย่างใดเลย และไม่มีดวงใจของผู้ใดที่

กระตุ้นให้มีการใช้ความคิดแม้แต่บางแง่มุมของเรื่องราวที่มีความหมายในทำนองนี้

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม

บรรดาอิมาม(อ)มิได้มุ่งที่จะสร้างความสำคัญใด ๆ ขึ้นมาสำหรับการเปิดเผยความจริงที่เร้นลับในด้านนี้และมิได้ประสงค์ในอันที่จะนำความน่าประทับใจในด้านนี้มาไว้สำหรับัวของพวกท่าน(อ)

หากแต่สิ่งที่พวกท่าน(อ)ได้เน้นและต้องการก็คือ

เสนอแนวความคิดที่ให้การยอมรับและให้ความสำคัญสูงสุดต่อวิชาความรู้ของพระผู้เป็นเจ้า และมีความประสงค์ในอันที่จะรักษาวิชาการทางศาสนบัญญัติและปรารถนาที่จะนำมนุษยชาติให้เข้าไปสู่การพัฒนาอาณาจักรแห่งจิตวิญญาณ

และสร้างความเพียบพร้อมบริบูรณ์ และประกอบกิจการงานเพื่อชีวิตหลังจากที่ได้ตายไปแล้ว เพราะนี่คือ สิ่งสำคัญอย่างใหญ่หลวงที่ทุกชีวิตจะต้องยอมรับยอมจำนน ดังนั้นชัยชนะอัน

ยิ่งใหญ่จะเป็นของผู้ที่มีความตื่นตัวทางสติปัญญา และผู้ที่เสาะแสวงหาความโปรดปรานอยู่เป็นเนืองนิจ(๓)

(๓) อัล-ฮัยอะตุ วัล-อิสลาม หน้า ๒๓๖.

ถาม ~ตอบ

ของอิมามที่ ๕

ในความเชื่อถือของเราที่มีต่อท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)และบรรดาอิมาม(อ)นั้น ส่วนหนึ่งก็คือ

ความมีปรีชาสามารถในอันที่จะนำมาซึ่งปาฏิหาริย์ อันเป็นหลักที่ยืนยันถึงความเป็นนบี(ศ)และความเป็นอิมาม(อ)และเป็นการสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นสำหรับหลักความเชื่อถือและเป็นการปิดช่องว่างอันมีอยู่ระหว่างความจริงและความเท็จ

ได้มีการนำเอาเรื่องราวของท่านนบี(ศ)และบรรดาอิมาม(อ)มาอธิบายเกี่ยวกับปาฏิหาริย์และคุณวิเศษต่าง ๆ อย่างมากมายของพวกท่าน อันได้ปรากฏเป็นหลักฐานที่ยืนยันโดยบรรดาสานุศิษย์ที่มีชื่อเสียงของพวกท่าน(อ)

ข้าพเจ้าได้นำเรื่องราวที่กล่าวถึงพวกท่านในส่วนที่เกี่ยวกับปาฏิหาริย์(มุอญิซาต)ต่าง ๆ มาเสนอไว้ในหนังสือเล่มนี้ ก็เนื่องจากความศรัทธาของข้าพเจ้าที่มีต่อชีวิตทุกแง่ทุกมุมของพวกท่านว่า

ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นปาฏิหาริย์และคำพูดของพวกท่านทุกประโยคย่อมถือได้ว่าเป็นหลักฐานอันชัดแจ้ง ข้าพเจ้าถือว่า ปาฏิหาริย์อย่างหนึ่งที่ปรากฏอย่างเป็นรูปลักษณ์ และให้ความหมายอันสุงส่งไว้

นั้น มีอยู่ในการให้คำวิสัชนาของพวกท่านเอง นั่นคือความเพียบพร้อมบริบูรณ์ ทางด้านแขนงวิชาศิลปะ และความรู้แขนงต่าง ๆ ซึ่งไม่มีบุคคลหนึ่งบุคคลใดสามารถทำได้ให้เสมอเหมือนกับพวกเขา

ในฐานะที่พวกท่านได้ให้คำตอบ เกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ จนเป็นที่ยอมรับและคำตอบนั้น ๆ พวกท่านก็ได้ให้รายละเอียดถี่ถ้วนอย่างน่าสนใจ

เราจะนำเอาบางส่วนจากการตอบคำถามของท่านอิมามบากิร(อ)มากล่าวถึงดังต่อไปนี้

ถาม-ตอบ

-๑-

ท่านอับร็อชได้ถามท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร(อ)เกี่ยวกับโองการของอัลลอฮ์(ซ.บ.)ที่ว่า :

“ วันนั้นแผ่นดินจะถูกเปลี่ยนให้เป็นแผ่นดินอื่น ”

( อิบรอฮีม: ๔๘)

แล้วเขาถามว่า

“ แล้วคนทั้งหลายจะกินจะดื่มอย่างไร ?

จนกระทั่งพระองค์จำแนกแยกแยะระหว่างพวกเขาเหล่านั้นใน

วันกิยามะฮฺ ”

ท่านอิมาม(อ)ตอบว่า

“ คนทั้งหลายจะอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เช่นเดียวกันกับสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในโลกนี้ซึ่งในโลกนั้นมีแม่น้ำที่กระจัดกระจายแตกออกไปหลายสาย เขาเหล่านั้นจะกินและจะดื่มจนกระทั่งเสร็จสิ้นการสอบสวน ”

ฮิชาม ค่อลีฟะฮฺคนหนึ่งในราชวงศ์อุมัยยะฮฺได้ส่งคนรับใช้ให้ไปพูดกับอิมามบากิร(อ)ว่า

“ อะไรคือสิ่งที่สร้างภาระ จนคนเหล่านั้นมิอาจจะกินและดื่มได้ ? ”

ท่านอิมามบากิร(อ)ตอบว่า

“ พวกท่านจะต้องให้น้ำหรือสิ่งที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงประทานมายังพวกทานจุนเจือแก่พวกเราด้วยเถิด ” ( ๑)

( ๑) กัซฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า ๒๑๓.

ถามตอบ

-๒-

ชายคนหนึ่งได้สั่งเสียให้บริจาคเงินแก่อัล-กะอบะฮฺเป็นจำนวน

๑ , ๐๐๐ ดิรฮัม แล้วผู้ที่รับคำสั่งเสียก็ได้เดินทางไปที่เมืองมักกะฮฺ แล้วถามหาบนีชัยบะอ เมื่อพวกบนีชัยบะฮฺมาพบก็ได้แจ้งเรื่องราวต่าง ๆ ให้พวกบนีชัยบะฮฺทราบ พวกบนีชัยบะฮฺก็พูดกับเขาว่า

“ หน้าที่รับผิดชอบของท่านจบสิ้นแล้ว ดังนั้นจงมอบเงินดังกล่าวให้แก่พวกเราเถิด ”

คนทั้งหลายได้กล่าวว่า

“ จงถามอะบูญะอฟัรก่อนเถิด ”

แล้วพวกเขาก็ได้ถามเรื่องนี้แก่ท่านอิมาม(อ)

ท่าน(อ)ก็ตอบว่า

“ แท้จริงอัล-กะอบะฮฺมีความมั่งคั่งมากกว่าเงินจำนวนนี้เสียอีก โปรดมองดูบุคคลที่มาเยี่ยมเยียนอาคารแห่งนี้ซิ บ้างก็หมดสิ้นซึ่งทรัพย์สินต่าง ๆ เสียแล้ว หรือค่าใช้จ่ายของบางคนก็หมดแล้ว

หรือไม่ การเดินทางของเขาบางคนก็ต้องหยุดชะงักลง หรือบางคนก็หมดความสามารถที่จะกลับไปยังครอบครัวของตน งนั้นโปรดมอบเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่คนเหล่านั้นเสียเถิด(๒)

( ๒) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ , หน้า ๒๘๗.

ถามตอบ

-๓-

ครั้งหนึ่งมีคนถามท่านมุฮัมมัด บากิร(อ)ว่า

“ เช้านี้ท่านมีความเป็นอยู่อย่างไรบ้าง ? ”

ท่านอิมาม(อ)ตอบว่า

“ เช้านี้เรากำลังอยู่ในความรื่นรมย์กับความโปรดปรานของพระผู้เป็นเจ้า แต่เป็นผู้ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความบาป พระผู้เป็นเจ้าทรงรักเราจึงประทานสิ่งที่ดีงามให้ และเรากลับทำในสิ่งที่ทรยศต่อพระองค์ และรายังจะต้องแสวงหาการพึ่งพาต่อพระองค์ในขณะที่พระงค์ทรงมั่งคั่งมีล้นเหลือเหนือไปจากพวกเรา (๓)

( ๓) บิฮารุล-อันวาร เล่ม ๑๑ , หน้า ๘๗.

ถามตอบ

-๔-

ได้มีคนถามท่านอิมามบากิร(อ)ว่า

“ ความตายเป็นอย่างไร ? ”

ท่านอิมาม(อ)ตอบว่า

“ มันก็เหมือนกับการนอนหลับที่เข้ามาครอบงำพวกท่านในทุก ๆ คืน เพียงแต่ว่ามันเป็นการนอนหลับที่ยาวนานเท่านั้น ” ( ๔)

( ๔) อัล-อาคิเราะตุวัล-อักลฺ ของมุฆนียฮฺ หน้า ๑๓๖.

ถามตอบ

-๕

มีคนถามท่านอิมามอะบูญะอฟัร(อ)ว่า

“ ใครคือคนที่มีความสามารถมากที่สุด ? ”

ท่าน(อ)ตอบว่า

“ คนที่ไม่เคยมองเห็นว่าโลกดุนยานี้มีอานุภาพใด ๆ สำหรับตัวของเขาเลย ”

กับคำถามเดียวกันนี้ท่าน(อ)ยังได้ถูกถามอีกครั้งหนึ่งและได้ตอบว่า

“ ได้แก่ บุคคลผู้ซึ่งไม่เคยมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปเพราะฝีมือของคนที่อยู่ในโลกนี้ ” ( ๕)

( ๕) บิฮารุล-อันวาร เล่ม ๑๗ , หน้า ๑๖๘.

ถามตอบ

-๖-

ท่านมุฮัมมัด บิน มุสลิม ได้ถามท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร(อ)ว่า

“ เพราะเหตุอันใดจึงต้องมีการยืนยันกันอย่างชัดแจ้งในเรื่องการทำนิกะฮฺ ? ”

ท่านอิมาม(อ)ตอบว่า

“ เป็นเพราะเหตุผลในเรื่องของการสืบมรดก ” ( ๖)

( ๖) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ , หน้า ๒๙๑.

ถามตอบ

-๗-

ท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร(อ)ได้ถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องของนบีอาดัม(อ)ว่า

“ เมื่อตอนที่ท่านประกอบพิธีฮัจญ์ ท่านโกนผมด้วยอะไร แล้วใครทำการโกนผมให้ท่าน ? ”

ท่าน(อ)ตอบว่า

“ มะลาอิกะฮฺ ญิบรออีล ได้เสด็จลงมาหาท่านนบีอาดัม (อ) พร้อมกับนำแก้วเจียระไนจากสวนสวรรค์ แล้วได้นำแก้วเจียระไนนั้นไปวางไว้บนศีรษะของนบีอาดัม (อ) แล้วเส้นผมของนบีอาดัมก็หลุดล่วงลงมา (๗)

( ๗) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ , หน้า ๒๙๑.

ถามตอบ

-๘-

ท่านอิมามอะบูญะอฟัร(อ)ได้ถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องการอาบน้ำ ฆุซุลมัยยิต การนมาซให้แก่มัยยิตและการอาบน้ำมัยยิตสำหรับผู้ทำพิธีอาบน้ำฆุซุลให้แก่มัยยิต

ท่านอิมาม(อ)ตอบว่า

“ มัยยิตจะต้องได้รับการอาบน้ำฆุซุลก็เพราะว่า มัยยิตนั้นมีมลทินต่อการที่จะให้มะลาอิกะฮฺเข้ามาพบกับเขา

ในขณะที่บรรดามะลาอิกะฮฺนั้นเป็นผู้สะอาดบริสุทธิ์ ทำนองเดียวกันกับผู้ทำพิธีอาบน้ำฆุซุลมัยยิตที่จะต้องอาบน้ำฆุซุลให้แก่ตัวเอง เนื่องจากบรรดาผู้ศรัทธายังจะต้องมาพบกับเขา

และเหตุผลของการทำนมาซให้แก่มัยยิตก็เพราะเหตุผลว่า จะเป็นการช่วยเหลือให้การอนุเคราะห์กับมัยยิต และเพื่อเป็นการวิงวอนขอต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.)ในเรื่องนั้น( ๘)

(๘) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ , หน้า ๒๙๑.

ถามตอบ

-๙-

ท่านอิมามบากิร(อ)ได้ถูกถามเกี่ยวกับเรื่องการตักบีรในนมาซ

มัยยิตท่าน(อ)ตอบว่า

“ ที่ต้องทำการตักบีรนมาซมัยยิต ๕ ครั้งก็เนื่องจากเรามีนมาซฟัรฎ ๕ นมาซ โดยที่กำหนดให้นมาซหนึ่ง ๆ นั้นมีการนำมาสรุปด้วยตักบีร ๑ ครั้ง ( ๙)

(๙) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ , หน้า ๒๙๑.

ถามตอบ

-๑๐-

ท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร(อ)ได้ถูกถามเกี่ยวกับผู้หญิงคนหนึ่งที่ประสบอุบัติเหตุที่หน้าท้อง

จนกระทั่งเสียชีวิต และเด็กในครรภ์ของนางยังเคลื่อนไหวตัวอยู่ไปมา

ท่านอิมาม(อ)ได้ตอบว่า

“ ให้ผ่าท้องของมัยยิตได้ และให้ทำการนำเด็กทารกออกมา ” ( ๑๐)

( ๑๐) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ , หน้า ๒๘๘.

ถามตอบ

-๑๑-

ท่านนาฟิอ บินอัซร๊อก ได้ถามท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร(อ)เกี่ยวกับโองการหนึ่งของอัล-กุรอานที่ว่า :

“ และเจ้าจงถามผู้ที่เราได้ส่งมาก่อนหน้าเจ้า อันได้แก่ บรรดาศาสนทูตของเราเถิดว่า เราได้กำหนดให้มีพระเจ้าอื่นนอกเหนือจากพระผู้ทรงกรุณาให้พวกเขาเคารพภักดีบ้างไหม ”

( อัซ์-ซุครุฟ: ๔๕)

เขาได้ถามว่า

“ บุคคลที่ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ) ได้ถามนั้นเป็นใคร ในเมื่อระยะเวลาระหว่างท่านนบีมุฮัมมัดกับนบีอีซาห่างไกลกันถึง ๕๐๐ ปี

ท่านอิมาม(อ)ได้อ่านโองการที่ว่า :

“ มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์ ผู้ทรงบันดาลให้บ่าวของพระองค์ผู้หนึ่ง (นบีมุฮัมมัด) เดินทางในยามกลางคืนอันเงียบสงัด (ขึ้นสู่ชั้นฟ้า) ” ( อัล-อิซรออ์: ๑)

แล้วหลังจากนั้นอิมาม(อ)ได้อธิบายว่า

“ ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ) ได้มีโอกาสร่วมชุมนุมกันกับบรรดาศาสดาในยุคก่อน ๆ และได้ทำนมาซร่วมกับพวกเขาเหล่านั้น ” ( ๑๑)

( ๑๑) อัล-มะนากิบ เล่ม๒ , หน้า ๒๘๙.

ถามตอบ

-๑๒-

ท่านอับดุลลอฮฺ บินนาฟิอ บิน อัซร็อกฺได้ถามว่า

“ ฉันจะแก้ปัญหาเกี่ยวกับการที่ชายคนหนึ่งถกเถียงกับฉันได้อย่างไร ? ในคำถามที่ว่า

“ ท่านอะลีนั้นได้ทำสงครามโดยสังหารชาวเมืองนะฮ์รอวานในขณะที่ท่านมิได้เป็นคนผิดในการเดินทางไปทำสงครามที่นั่น ”

มีคนเสนอแนวความคิดให้ท่านอับดุลลอฮฺนำเรื่องนี้ไปถามอิมามมุฮัมมัด บากิร(อ)

ท่านอิมาม(อ)ได้ตอบว่า

“ มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ที่ได้ทรงให้เกียรติยกย่องพวกเราด้วยฐานะความเป็นนบีของพระองค์ และได้กำหนดให้พวกเราเป็นที่ “ เนื่องจากเขาเคารพเชื่อฟังพระองค์ ”

ท่านอิมามอะบูญะอ์ฟัร(อ)กล่าวว่า

“ คนไหนที่คัดค้านขอให้ลุกขึ้นยืนเถิด ”

แล้วผู้ที่โต้เถียงก็ได้ลุกขึ้นยืน ในขณะที่ท่านอิมาม(อ)ได้อ่านโองการหนึ่งที่ว่า :

“ จนกระทั่งเส้นสีขาวจะได้เป็นที่กระจ่างชัดขึ้นจากเส้นด้ายสีดำเพื่อสูเจ้าจะได้แลเห็น ”

( อัล-บะกอเราะฮฺ: ๑๘๗.)

“ ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ว่า พระองค์ทรงรู้ว่าพระองค์จะทรงกระทำอย่างไรกับศาสนาของพระองค์ (๑๒)

( ๑๒) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ , หน้า ๒๘๙.

ถามตอบ

-๑๓-

ท่านฏอวูซ อัล-ยะมานี ได้ถามท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร(อ)ว่า

“ โปรดบอกข้าพเจ้าถึงเรื่องการโกหกครั้งแรกว่า ใครเป็นผู้โกหก และโกหกในเรื่องอะไร ?”

ท่านอิมาม(อ)ตอบว่า

“ อิบลีซนั่นเองที่เป็นผู้โกหกในครั้งแรก เมื่อมันกล่าวว่า:

“ ฉันดีกว่าเขา (อาดัม) พระองค์ทรงสร้างฉันมาจากไฟ แต่ทรงสร้างเขามาจากดิน ” ( ศ็อด: ๗๖)

ท่านฏอวูซถามอีกว่า

“ โปรดได้บอกเกี่ยวกับเรื่องคนที่เป็นพยานในเรื่องที่เป็นความจริง แต่แล้วพวกเขาได้กลายเป็นผู้โกหก ? ”

ท่านอิมาม(อ)ได้ตอบว่า

“ นั่นคือ พวกมุนาฟิก ในขณะที่กล่าวกับท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ว่า

“ เราขอยืนยันว่า ท่านเป็นศาสดาของอัลลอฮ์ (ศ) ดังที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้ทรงมีโองการเล่าไว้ในอัล-กุรอานว่า:

“ เมื่อพวกมุนาฟิกได้มาหาเจ้า เขาเหล่านั้นพูดว่า เราขอยืนยันว่า ท่านเป็นศาสดาของอัลลอฮ์ แต่ที่จริงแล้วอัลลอฮ์ทรงรู้ดีว่า เจ้าคือศาสดาของพระองค์และอัลลอฮ์ทรงยืนยันว่า

แท้จริงพวกมุนาฟีกนั้นเป็นผู้โกหกอย่างแน่นอน ”

( อัล-มุนาฟิกูน: ๑)

ท่านฏอวูซถามอีกว่า

“ โปรดแจ้งให้ฉันทราบเกี่ยวกับสิ่งที่บินได้ชนิดหนึ่ง ซึ่งได้บินอยู่เหนือศีรษะครั้งหนึ่ง ซึ่งก่อนหน้านั้นและหลังจากนั้นมิได้มีปรากฏอีกเลย ดังที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงตรัสไว้ในอัล-กุรอาน มันหมายถึงอะไร ? ”

ท่านอิมาม(อ)กล่าวตอบว่า

“ นั่นคือ ภูเขา ‘ ซีนาย ’ ที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงบันดาลให้มันโบยบินขึ้นเหนือพวกบนีอิสรออีล

จนกระทั่งมันได้แผ่ร่มเงาบดบังพวกบนีอิสรออีลด้วยสีสันแห่งการลงโทษ จนกระทั่งพวกเขาเหล่านั้นยอมรับคัมภีร์เตารอต และนั่นคือเรื่องราวตามโองการของพระองค์ที่ว่า :

“ และ (จงรำลึก) เมื่อตอนที่เราได้ยกภูเขาขึ้นไปอยู่ ณ เบื้องบนพวกเขา เสมือนหนึ่งว่าภูเขานั้นเป็นร่มเงาทมึนบดบังอยู่ จนพวกเขาหวั่นวิตกว่า มันจะหล่นลงมากับพวกเขา... ”

( อัล-อะอ์รอฟ: ๑๗๑)

ท่านฏอวูซถามอีกว่า

“ โปรดบอกข้าพเจ้าเกี่ยวกับทูตประเภทหนึ่งที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้ทรงส่งลงมาซึ่งมิได้เป็นทูตประเภทญิน มิได้เป็นทูตประเภทมนุษย์ และมิได้เป็นประเภทมะลาอิกะฮฺ

แต่อัลลอฮ์(ซ.บ.)ได้ตรัสไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ ?”

ท่านอิมาม(อ)ตอบว่า

“ หมายถึง อีกาตัวหนึ่งที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้ส่งมาเพื่อแสดงวิธีการฝังศพได้กอบีลได้ดูว่า จะฝังศพน้องชายของตนที่ตนได้ฆ่าอย่างไร ดังที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงมีโองการว่า:

“ แล้วอัลลอฮ์ได้ส่งอีกาตัวหนึ่งมาหากินในพื้นดินเพื่อแสดงให้เขาดูว่า จะฝังศพน้องชายของเขาอย่างไร... ” ( อัล-มาอิดะฮฺ: ๓๑)

เขาถามอีกว่า

“ โปรดบอกข้าพเจ้าเกี่ยวกับผู้ที่ตักเตือนพวกพ้องของตนเอง ซึ่งมิได้เป็นทั้งญิน มิได้เป็นทั้งมนุษย์ และมิได้เป็นทั้งมะลาอิกะฮฺ แต่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงตรัสไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ว่า หมายถึงอะไร ? ”

ท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร (อ)ตอบว่า

“ หมายถึง ‘ มด ’ เมื่อตอนที่พวกมันได้กล่าวว่า:

“... โอ้ บรรดาฝูงมดเอ๋ย จงเข้าไปอยู่ในสถานที่อาศัยของพวกเจ้ากันเถิด เพื่อว่าสุลัยมานและทหารของท่านจะไม่เหยียบย่ำพวกเจ้า โดยที่พวกเขาไม่รู้ตัว ” ( อัน-นัมลฺ: ๑๘)

ท่านฏอวูซกล่าวอีกว่า

“ โปรดบอกถึงผู้ซึ่งถูกใส่ร้ายที่มิได้เป็นญิน มิได้เป็นมนุษย์และมิได้เป็นมะลาอิกะฮฺแต่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงตรัสไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ว่าหมายถึงอะไร ”

ท่านอิมาม(อ)กล่าวว่า

“ หมายถึง ‘ สุนัขป่า ’ ซึ่งพี่ ๆ ของนบียูซุฟได้ให้ร้าย ”

ท่านฏอวูซถามอีกว่า “ โปรดบอกข้าพเจ้าเกี่ยวกับสิ่ง ๆ หนึ่งที่จำนวนเพียงน้อยนิดของมันนั้นเป็นที่อนุมัติ แต่จำนวนที่มากมายของมันนั้นเป็นสิ่งที่ต้องห้าม

ต่อไปนี้จะเป็นการกล่าวลำดับถึงเรื่องราวที่ดีเด่นในแง่มุมต่าง ๆ จากวิถีการดำเนินชีวิตของท่านอิมามอะบูญะอ์ฟัรอัล-บากิร(อ)

- ๑-

เมื่อท่านอิมามบากิร(อ)ได้พบเห็นผู้ประสบภัยพิบัติ ท่าน(อ)จะขอความคุ้มครองจากอัลลอฮ์(ซ.บ.)ในอาการที่สงบเงียบ(๒)

( ๒) กัซฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า ๒๒๑.

- ๒

ท่านมุฮัมมัด บิน มุนกะดิรได้กล่าวไว้ว่า :

เมื่อฉันได้เห็นท่านมุฮัมมัด บินมุนกะดิรได้ถามขึ้นว่า

“ สิ่งใดที่เป็นบทเรียนของท่าน ? ”

ท่านมุฮัมมัด บินมุนกะดิรได้เล่าว่า :

ครั้งหนึ่งฉันได้เคยเดินทางไปยังเมือมะดีนะฮฺ ท่ามกลาช่วงเวลาที่ร้อนจัดแล้วฉันได้พบกับท่านมุฮัมมัด บินอะลี

ซึ่งเป็นคนที่เคร่งครัดในศาสนา เขากำลังนั่งพิงทับคนรับใช้ผิวดำของเขาอยู่ ๒ คน ฉันบอกกับตัวเองว่า ผู้อาวุโสในตระกูลกุเรชคนนี้หาความสุขทางโลกอย่างนี้ในช่วงเวลาเช่นนี้กระนั้นหรือ ฉันยืนยันที่จะสั่งสอนเขา เมื่อฉันขยับเข้าไปใกล้ ฉันก็ได้กล่าวสลามแก่เขา ท่านอะลีได้ตอบรับสลาม ในขณะนั้นตัวของเขาเปียกโชกไปด้วยหยาดเหงื่อ ฉันได้กล่าวขึ้นว่า :

“ ขอให้อัลลอฮ์ (ซ.บ.) แก้ไขท่านด้วยเถิด ผู้อาวุโสแห่งตระกูลกุเรชมัวแต่หาความสุขทางโลกอยู่ในช่วงเวลาเช่นนี้กระนั้นหรือ ถ้าความตายมาเยือนท่านในชณะที่ท่านอยู่ในสภาพเช่นนี้

ท่านจะทำอย่างไร ?

ท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร(อ)ได้กล่าวตอบ ขณะที่ท่าน(อ)ได้ผละจากคนใช้ทั้งสองคน พลางกล่าวว่า

“ ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ถ้าความตายมาหาฉัน ในขณะที่ฉันอยู่อย่างนี้ ซึ่งฉันถือว่า ฉันกำลังทำหน้าที่ตามคำสั่งของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) นั่นคือ ฉันยับยั้งตัวของฉันมิให้ละเมิดต่อท่านและต่อมนุษย์ทั้งหลาย

ที่ฉันกลัวอยู่อย่างเดียวก็คือว่า ถ้าความตายจะมาหาฉันในขณะที่ฉัน

กำลังกระทำในสิ่งที่ละเมิดต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.)เท่านั้น ”

ท่านมุฮัมมัด บินมุนกะดิรจึงกล่าวว่า

“ ขอให้อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ประทานความเมตตาแก่ท่านด้วยเถิด ตอนแรกฉันต้องการที่จะให้บทเรียนแก่ท่าน แต่แล้วท่านกลับให้บทเรียนแก่ฉัน ” (๓)

( ๓) อัล-ฟุศูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า ๑๙๖. กัซฟุล-ฆุมมะฮ์ หน้า ๒๑๓.

- ๓-

ท่านอิมามศอดิก(อ)ได้กล่าวว่า :

ในบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ)นั้น บิดาของฉันเป็นคนที่มีทรัพย์สินน้อยที่สุด แต่เป็นคนที่มีเสบียงมากที่สุด ท่าน(อ)ได้บริจาคทานด้วย

เงินดีนารทุก ๆ วันศุกร์

แล้วท่าน(อ)ได้กล่าวว่า

“ การบริจาคทานในวันศุกร์นั้นจะเพิ่มพูนความดีงามอย่างมากมาย เนื่องในวันศุกร์เป็นวันที่มีความดีเหนือกว่าวันอื่น ๆ ทั้งปวง ( ๔)

( ๔) ษะวาบุล-อะอ์มาล หน้า ๑๘๕.

- ๔-

ในยามที่ท่านอิมามบากิร(อ)ยิ้มแย้มแจ่มใน ท่าน(อ)จะกล่าวดุอาอ์พร้อมกันไปว่า

“ โอ้ พระผู้เป็นเจ้า โปรดอย่าได้ลงโทษแก่ข้าพระองค์ ” (๕)

( ๕) มะฏอลิบุซ-ซะอูล เล่ม ๒ , หน้า ๕๒. กัซฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า ๒๑๑.

มีคนกลุ่มหนึ่งได้มาหาท่านอะบูญะอ์ฟัร(อ)แล้วคนเหล่านั้นก็ได้พบว่า ลูกชายคนเล็กของท่าน(อ)กำลังป่วยหนัก ซึ่งเขาเหล่านั้นเห็นว่าท่าน(อ)ได้ให้ความสนใจอยู่อย่างเป็นพิเศษ และด้วยความเป็นทุกข์อย่างยิ่ง ซึ่งท่าน(อ)ไม่สบายใจเลย

พวกเขาเหล่านั้นกล่าวกันว่า

“ หากมีอะไรเกิดขึ้น แน่นอนน่ากลัวที่สุดว่า เราจะต้องได้เห็นในสิ่งที่เราไม่พึงปรารถนา ”

แต่แล้วไม่นานก็ได้ยินเสียงร้องเรียกท่าน(อ)ขึ้นอย่างฉับพลัน ครั้งแล้วเมื่อท่าน(อ)กลับออกมาหาพวกเขาสีหน้าของท่าน(อ)ยังดูสงบ ราบเรียบเหมือนกับไม่ได้อยู่ในสถานการณ์เช่นนั้น

เลย คนเหล่านั้นพูดกับท่าน(อ)ว่า

“ พวกเรากลัวเหลือเกินว่า เราจะได้เห็นท่านในอาการที่เป็นทุกข์ระทมถ้าหากความสูญเสียเกิดขึ้นกับท่าน ซึ่งมันเท่ากับได้สร้างความทุกข์ให้เกิดขึ้นกับพวกเราด้วย ”

ท่านอิมามมุฮัมมัด บินอะลี(อ)ได้กล่าวว่า

“ แน่นนอนที่สุด เรารักและปรารถนาที่จะให้คนที่เรารักมีความสุขปลอดภัย แต่ถ้าคำบัญชาของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) มาถึง เราก็จะน้อมรับในสิ่งที่พระองค์ทรงต้องการ (๖)

( ๖) บิฮารุล-อันวาร เล่ม ๑๑ , หน้า ๘๖.

- ๖-

ท่านอะบูอับดุลลอฮ์(อ) ได้กล่าวว่า :

ในตอนที่ท่านอะบูญะอ์ฟัร(อ)เสียชีวิต ท่าน(อ)ได้ปล่อยทาสของท่าน(อ)ให้เป็นอิสระหลายคน ซึ่งแต่ละคนล้วนแล้วแต่ประพฤติตัวไม่ดี ส่วนคนที่ประพฤติตัวดีนั้นท่าน(อ)ยังคงไว้ให้อยู่กับท่าน(อ)ในฐานะทาสตามเดิม

ฉันได้ถามท่าน(อ)ว่า

“ โอ้ ท่านพ่อ ทำไมท่านจึงปลดปล่อยคนพวกนั้นให้เป็นอิสระและทำไมท่านจึงคงสภาพคนพวกนี้ไว้เหมือนเดิม ? ”

ท่านอิมาน(อ)ตอบว่า

“ แท้จริงแล้วคนทั้งสองพวกต่างก็ถูกลงโทษจากฉันไปแล้วเหมือน ๆ กัน เพราะฉะนั้นฉันจึงทำอย่างนี้ ” ( ๗)

( ๗) อัด-ดัมอะตุซ ซากิบะฮฺ หน้า ๔๑๕.

-๗-

ท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร(อ)ไม่ชอบที่จะได้ยินคนในบ้านของท่าน(อ)เรียกผู้ขอบริจาคทานว่า ‘ ผู้ขอ ’ แต่ท่านอิมาม (อ) สอนคนในบ้านว่า

“ พวกท่านจงเรียกชื่อของเขาเหล่านั้นด้วยชื่อที่ดี ๆ ของพวกเขาเถิด"(๘)

( ๘) อ้างเล่มเดิม หน้า ๔๑๖.

คุณธรรมและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของอิมามที่ ๕

ข้อสำคัญของคุณธรรมและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มิได้อยู่ตรงที่ว่า จะต้องมอบสิ่งของจำนวนมากมายมหาศาลให้ หากแต่ข้อสำคัญของมันอยู่ตรงที่การมอบให้นั้นจะต้องเกิดจากความศรัทธา

และความยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้า อีกทั้งจะต้องประกอบไปด้วยจริยธรรมที่ดีงาม ตลอดจนการรักษาชื่อเสียงเกียรติยศของผู้ขอ เช่นเดียวกันกับที่ว่าถ้าผู้รับมีความจำเป็นในเรื่องทรัพย์สินอย่างมาก การให้ก็จะต้องเป็นไปด้วยคุณธรรมอย่างสูงเช่นกัน

บรรดานักปราชญ์ผู้อรรถาธิบายอัล-กุรอานได้กล่าวถึงเรื่องราวของบางโองการที่ถูกประทานมาเกี่ยวกับตัวของท่านอะลี

อะมีรุล-มุอ์มินีน(อ) ถึงแม้จะเป็นการบริจาคสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ

แต่อัลลอฮ์(ซ.บ.)ก็ได้ทรงประทานโองการในเรื่องนี้ไว้ใน

อัล-กุรอานคือ

“ บรรดาผู้ซึ่งบริจาคทรัพย์สินของพวกเขาในยามกลางคืน และในยามกลางวัน ทั้งโดยลับและโดยเปิดเผยนั้น สำหรับพวกเขาคือ รางวัลของพวกเขาจากพระผู้อภิบาลของพวกเขา และจะไม่มีความ

หวาดกลัวใด ๆ จากพวกเขา และพวกเขาจะไม่เศร้าโศก ”

( อัล - บะกอเราะฮ์ : ๒๗๔)

ซึ่งเป็นโองการที่ถูกประทานมาหลังจากที่ท่านอิมามอะลี

บิน อะบีฏอลิบ(อ)ได้บริจาคเงิน ๔ดิรฮัมสุดท้ายของท่าน(อ)เท่าที่มีอยู่ โดยท่าน(อ)ได้บริจาคในยามกลางคืน ๑ ดิรฮัม ในยามกลางวัน

๑ ดิรฮัม ในยามลับ ๑ ดิรฮัม และในยามเปิดเผย ๑ ดิรฮัม

อีกโองการหนึ่งที่อัลลอฮ์(ซ.บ.)ได้ประทานลงมาในเรื่องของท่าน(อ)คือ

“ อันที่จริงแล้ว ผู้ปกครองของพวกสูเจ้ามี แต่เพียงอัลลลอฮ์ และศาสนทูตของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธาซึ่งดำรงนมาซ และจ่ายซะกาตในขณะโค้ง ”

( อัล - มาอิดะฮ์: ๕๕)

โองการนี้ได้ถูกประทานลงมาเนื่องจากท่านอิมามอะลี(อ)บริจาคแหวนของท่าน(อ)แก่ผู้มาขอบริจาคในมัสญิดของท่านศาสดา

มุฮัมมัด(ศ)แต่ไม่มีผู้ใดมอบอะไรให้ ขณะที่ท่านอิมามอะลี(อ)

นมาซอยู่ ท่าน(อ)ได้กระดิกนิ้วของท่าน(อ)เป็นสัญญาณส่งไปยัง

ผู้ขอคนนั้น ซึ่งเขาก็ได้ถอดแหวนวงนั้นของท่าน(อ)เอาไป

และยังมีอีกซูเราะฮ์หนึ่งที่ถูกประทานลงมาคือ ‘ อัล-ฆอชิยะฮฺ ’ เกี่ยวกับเรื่องของอะฮ์ลุลบัยต์ ( อ) หลังจากที่เขาได้บริจาคส่วนหนึ่งของแป้งสาลีให้แก่คนขัดสน เด็กกำพร้า และเชลย

มีรายงานจากท่านอะบู บะศีร(ร.ฎ.)ว่า :

ข้าพเจ้าได้กล่าวกับอิมามท่านหนึ่ง(หมายถึงระหว่างท่านอิมาม

บากิรหรืออิมามศอดิก)ว่า

“ การบริจาคที่ประเสริฐยิ่งนั้นเป็นอย่างไร ? ”

ท่านอิมาม(อ)ตอบว่า

“ หมายถึง ทุ่มเท เสียสละในสิ่งที่มีอยู่น้อยที่สุด เพราะฉันเคยได้ยินได้ฟังโองการหนึ่งของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ที่ตรัสว่า:

“ และเขาเหล่านั้นยอมให้ตัวของพวกเขารับความทุกข์เป็นการทดแทน ถึงแม้ว่าจะมีความจำเป็นเฉพาะกับพวกเขาอยู่ก็ตาม ” ( ๑)

( ๑) จากหนังสือ ‘ ษะวาบุล-อะอ์มาล ’ หน้า ๑๔๒.

ข้อที่ควรสังเกตก็คือว่า ถ้าการมอบให้และการบริจาคทานเป็นไปด้วยวิธีการอันถูกต้อง ก็ย่อมจะหมายถึงคุณค่าที่สูงส่งกว่าการพิจารณาในแง่ของจำนวนสิ่งของที่บริจาค เพราะการกระทำ

เช่นนี้ย่อมประกอบด้วยความบริสุทธิ์ใจ และการมุ่งถวายต่อพระผู้เป็นเจ้า

แนวทางอันละเอียดถี่ถ้วนนี้เองที่บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)ได้ถือปฏิบัติในขณะที่พวกเขามอบสิ่งของและบริจาค

แน่นอนที่สุด บรรดาอิมามเหล่านี้ได้ถวายตนอย่างใกล้ชิดยังอัลลอฮ์(ซ.บ.)โดยการบริจาคสิ่งต่าง ๆเหล่านั้น อีกทั้งยังเป็นการกระทำที่นำพวกท่านให้เข้าถูกยังพระองค์ นับเป็นเกียรติประวัติที่ควรค่าในการกล่าวถึงตลอดไปชั่วนิรันตร์ ท่ามกลางอนุชนรุ่นต่อไปในภายภาคหน้ายั่งยืนนาน

เราจะขอนำเอาเรื่องราวเหล่านี้บางส่วนของท่านอิมามอะบูญะอฟัร(อ)มาเสนอดังนี้

.... ๑....

‘ ซัลมา ’ หญิงรับใช้คนหนึ่งของท่านอิมามอะบูญะอ์ฟัร(อ) ได้กล่าวว่า:

ไม่ว่ายามใดที่มิตรสหายของท่าน(อ)เข้าพบ ทุกคนจะไม่สามารถออกมาจากการเข้าพบท่าน(อ)ได้

จนกว่าเขาเหล่านั้นจะได้รับประทานอาหารที่เอร็ดอร่อยเสียก่อน และท่าน(อ)จะมอบเสื้อผ้าอาภรณ์ที่สวยงามให้กับพวกเขาเหล่านั้นและท่าน(อ)ยังได้มอบเงินดีนารอีกจำนวนหนึ่งให้แก่พวกเขาเหล่านั้นด้วย

ข้าพเจ้าเคยพูดกับท่าน(อ)ในเรื่องนี้เพื่อที่จะให้ท่าน(อ)ลดปริมาณของที่จะบริจาคลงไปบ้าง

ท่าน(อ)กล่าวว่า

“ ซัลมาเอ๋ย อะไรก็ตามที่มันเป็นสิ่งดี ๆ ในโลกนี้ เราจะต้องนำมันมาเป็นสื่อสัมพันธ์กับหมู่พี่น้อง และเพื่อไมตรีจิตต่อกัน ” (๒)

( ๒) นูรุล-อับศอร หน้า ๒๐๗. กัซฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า ๒๑๑. อัล-ฟุศูลุล-มุฮิมมะฮ์ หน้า ๑๙๗. ศิฟะตุศ-ศ็อฟวะฮ์ เล่ม ๒ , หน้า ๖๓.

.... ๒....

ท่านอัมร์ บินดีนารและท่านอับดุลลอฮ์ บินตุฟัยล์ บินอามิรได้กล่าวว่า :

ไม่ว่าในยามใดที่เราได้พบกับท่านอะบูญะอ์ฟัรมุฮัมมัด บินอะลี(อ)ท่าน(อ)จะต้องนำส่งของบริจาคของขวัญเพื่อเป็นสื่อสัมพันธ์ และเสื้อผ้าอาภรณ์ให้แก่พวกเราเสมอไป

แล้วท่าน(อ)จะกล่าวว่า

“ นี่คือสิ่งของสำรองไว้สำหรับพวกท่าน ก่อนที่พวกท่านจะมาพบกับฉัน ” ( ๓) ( ๓) กัซฟุล-ฆุมมะฮ์ หน้า ๒๔๑. อะอ์ยานุช-ชีอะฮ์กอฟ ๒/๔๙.

.... ๓....

ท่านอัซวัด บินกะซีรได้กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าได้ร้องทุกข์ต่อท่านอะบูญะอ์ฟัร(อ)เกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคและการที่ญาติพี่น้องกระด้างกระเดื่อง

ท่าน(อ)กล่าววว่า

“ พี่น้องที่เลวยิ่งนั้นได้แก่ ผู้ที่เอาใจใส่ต่อเจ้าในขณะที่เจ้าร่ำรวยแต่ตัดขาดจากเจ้าในขณะที่เจ้ายากจน ”

หลังจากนั้นท่าน(อ)ได้ส่งคนรับใช้ให้นำถุงเงินออกมา ซึ่งในนั้นมีเงินจำนวน ๗๐๐ ดิรฮัม

แล้วกล่าวว่า

“ จงเอาเงินก้อนนี้ไปใช้จ่ายเถิด ครั้งเมื่อจ่ายเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จงบอกให้ฉันรู้ด้วย ” (๔)

( ๔) ศิฟาตุศ-ศ็อฟวะฮฺ เล่ม ๒ , หน้า ๖๓. อัล-ฟุซูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า ๑๙๗. กัซฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า๒๑๑. มะฏอลิบุซ-ซูอูล เล่ม ๒ , หน้า ๕๓.

๔....

ท่านซุลัยมาน บินก็อรรอมได้กล่าวว่า :

ท่านอะบูญะอ์ฟัร มุฮัมมัด บินอะลี(อ)นั้นได้เคยนำเงินมาจุนเจือพวกเราครั้งละ ๕๐๐ ดิรฮัมบ้าง ๖๐๐ ดิรฮัมบ้าง ๑ , ๐๐๐ ดิรฮัมบ้าง

ท่าน (อ)ไม่เคยแหนงหน่ายจากการผูกสัมพันธ์กับพี่น้องของท่าน(อ)และการติดต่อกับคนที่มีความต้องการและมีความมุ่งหวังจะได้รับจากท่าน(อ) ( ๕)

( ๕) อัล-ฟุศูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้ ๑๙๗. กัซฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า ๒๑๔. มะฏอลิบุซ-ซูอูล เล่ม ๒ , หน้า ๕๓.

๕....

ท่านอะบูอับดุลลอฮ์(อ)ได้กล่าว่า

ข้าพเจ้าได้เข้าไปพบบิดาของข้าพเจ้าในวันหนึ่ง ในขณะนั้นท่าน(อ)ได้บริจาคทานแก่คนยากจนหลายคนแห่งเมืองมะดีนะฮ์ ด้วยเงินจำนวน ๘ , ๐๐๐ ดีนาร และท่าน (อ) ได้ปล่อยทาสให้เป็นอิสระจำนวน ๑๑ คน ( ๖)

( ๖) บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม ๑๑ , ห น้า ( ๔) ศิฟาตุศ-ศ็อฟวะฮฺ เล่ม ๒ , หน้า ๖๓. อัล-ฟุซูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า ๑๙๗. กัซฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า๒๑๑. มะฏอลิบุซ-ซูอูล เล่ม ๒ , หน้า ๕๓. ห น้า ๘๖.

สำนักคิดทางวิชาการของอิมามบากิร(อ)

รัฐอันแข็งแกร่งที่มุอาวิยะฮฺได้สถาปนามันขึ้นมานั้น เกิดขึ้นด้วย

เลือดเนื้อของบรรดาศอฮาบะฮฺ และบรรดาตาบิอีน ผู้อาวุโสทั้งสิ้น ท่านอิมามฮะซัน(อ)ผู้ที่เป็นหลานของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) ท่านอัมร์ บินฮุมก์ อัล-ค็อซซาอี ท่านฮิจร์ บินอุดัย อัล-ฮินดี และบรรดามิตรสหาย ตลอดจนถึงบรรดามุลลิมรุ่นอาวุโสคนอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง

ท่านอิบนุ ฮินด์ นักปราชญ์ใหญ่คนหนึ่งได้ให้ข้อสังเกตว่า :

อาณาจักรการปกครองของอุมัยยะฮ์นั้นเป็นอาณาจักรที่คงไว้ซึ่งความเป็นเผด็จการเหนืออำนาจเผด็จการใด ๆ

หลังจากที่อิมามฮุเซน(อ)ได้พลีชีพไปเพราะถูกสังหารแล้ว การปะทะกำลังเริ่มมีขึ้น ซึ่งความเด็ดขาดของอับดุลมาลิก บินมัรวาน ก็มิได้ให้คุณประโยชน์แต่ประการใดแก่อาณาจักร แล้ว

ฮัจญาจ บินยูซุฟก็ได้แผ่อำนาจเข้ามาครอบงำโดยการปกครองแบบทรราชของตน แล้ว

อาณาจักรของวงศ์อุมัยยะฮ์ได้ถึงแก่การล่มสลายในรัชสมัยของฮิชาม บินอับดุลมาลิก เนื่องจากการรณรงค์ต่อสู้ของราชวงศ์

อับบาซิยะฮ์ที่ได้เริ่มต้นขึ้นในประเทศเปอร์เซีย(อิหร่าน)

ท่านอิมามอะบูญะอ์ฟัร(อ)ได้อาศัยเวลาในสภาพการณ์เหล่านี้เป็นโอกาสในการเปิดสำนักวิชาการของท่าน(อ)ขึ้นจนสามารถผลิตบรรดานักปราชญ์ออกมาจากสำนักวิชาการดังกล่าวจำนวน

หลายร้อยคน ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ยืนยันให้เห็นถึงความเป็นจริง

ตามที่ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้เคยแจ้งให้ท่านญาบิร บินอับดุลลอฮ์ อันศอรี(ร.ฏ.)ได้ทราบไว้ในกาลก่อนว่า

“ ญาบิรเอ๋ย หวังว่าเจ้าจะได้มีโอกาสอยู่ต่อไปจนทันได้พบกับบุตรชายคนหนึ่งของบุตรชายฮุเซน ชื่อของเขาจะเหมือนกับชื่อของฉัน เขาจะมีความแตกฉานทางวิชาการอย่างแท้จริง

หมายความว่า เขาสามารถที่จะอธิบายวิชาการในแขนงต่าง ๆ ได้อย่างถี่ถ้วน ครั้นถ้าหากเจ้าได้มีโอกาสพบเห็นเขา เจ้าก็จงฝากสลามฉันให้แก่เข้าด้วยเถิด ”

ความแตกฉานและความเก่งกาจสามารถทางวิชาการของท่านอิมามญะอ์ฟัร(อ)นั้นมีมากมายอย่างล้นเหลือ จนกระทั่งโลกนี้ดาษดื่นไปด้วยวิชาความรู้ของท่าน(อ) และได้มีการนำเอาวิชาความรู้ของท่าน(อ)มาแพร่หลายกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่เคยมีวิชาความรู้ของผู้ใดได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันไปอย่างนี้มาก่อน

ท่านญาบิร อัล-ญุอ์ฟี(ร.ฏ.)ได้กล่าวว่า

“ ท่านอะบูญะอ์ฟัรนั้นได้สอนฮะดีษให้แก่ข้าพเจ้าจำนวน ๗๐ , ๐๐๐ ฮะดีษ (๑)

( ๑) อะอ์ยานุช-ชีอะฮฺ ๔ กอฟ ๒/๒๘.

ท่านมุฮัมมัด บินมุสลิม(ร.ฏ.)ได้กล่าวว่า

“ ไม่ว่าข้าพเจ้าจะข้องใจในสิ่งใด ๆ ก็ตาม ข้าพเจ้าจะต้องเรียนถามท่านอะบูญะอ์ฟัร(อ) เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ เสมอ จนกระทั่งว่า ข้าพเจ้าได้เรียนถามฮะดีษต่าง ๆ จากท่านมากถึง ๓๐ , ๐๐๐ ฮะดีษ ( ๒)

( ๒) ริยาลุล-กุซซี หน้า ๑๐๙.

ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ในสมัยของท่าน(อ)บางคนยืนยันในการบอกเล่าเรื่องของท่าน(อ)ว่า

ประชาชนทั้งหลายได้พากันรุมล้อมท่านอิมามมุฮัมมัด บินอะลี(อ) เพื่อขอร้องให้ท่านออกคำวินิจฉัยความเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ทางศาสนบัญญัติ และคนเหล่านั้นต่างก็ได้ข้อปุจฉาในแขนงวิชาการต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาสลับซับซ้อนอย่างมากมาย

ซึ่งท่าน(อ)ก็มิได้ปฏิเสธแม้สักคำถามเดียวจนกระทั่งท่าน ( อ) ได้ออกคำวินิจฉัยความให้แก่เขาเหล่านั้นมากถึง ๑ , ๐๐๐ ปัญหา เสร็จแล้วท่านจึงมุ่งหน้าเพื่อเดินทางต่อไป ( ๓)

( ๓) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ , หน้า ๒๗๕.

ท่านเชคมุฟีด(ร.ฮ.)ได้กล่าวว่า :

ท่านอิมามบากิร หรือท่านมุฮัมมัด บินอะลี บินฮุเซน(อ)นั้น นับว่าเป็นตัวแทนของอิมามอะลี บินฮุเซน(อ)และเป็นทายาทของท่าน(อ)ท่ามกลางบรรดาพี่น้องจำนวนหลายคน ท่าน(อ)อยู่ใน

ฐานะที่เป็น ‘ อัล-กออิม ’ ( ผู้เป็นหลักฐานที่ดำรงอยู่)

สำหรับตำแหน่งอิมามภายหลังจากท่านอิมามอะลี บินฮุเซน (อ)ท่าน(อ)ได้สำแดงให้เป็นที่ปรากฏแก่บรรดาหมู่คณะของท่าน(อ)ถึงเกียรติคุณอันล้นพ้นเหลือในด้านวิชาการ ในด้านความมีสมถะ และความเป็นผู้นำ ท่าน(อ)เป็นผู้ที่ให้ข้อคิดเตือนสติปัญญาแก่พวกเขาทั้งหลาย และเป็นผู้สนับสนุนพวกเขาเหล่านั้นอย่างเต็มกำลัง

ความสามารถ ทั้งในโอกาสต่าง ๆ โดยทั่วไป และบางโอกาสเป็นการเฉพาะ ในหน้าประวัติศาสตร์นั้นจะเห็นได้ว่าไม่มีคนหนึ่งคนใดจากลูกหลานของท่านอิมามฮะซัน(อ)และอิมามฮุเซน(อ)จะเป็นผู้

ที่สำแดงให้ปรากฏถึงวิชาความรู้ทางศาสนา

ความรู้ทางประวัติศาสตร์และซุนนะฮฺ อีกทั้งความรู้ทางอัล-กุรอาน จริยศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ และวัฒนธรรม ให้เพียบพร้อมอย่างที่ท่านอะบูญะอ์ฟัร(อ)

ได้สำแดงให้ปรากฏ บรรดามวลมิตรสหายคนอื่น ๆ นั้น ล้วนแต่ได้เรียนรู้วิชาการทางศาสนาจากท่าน(อ)ผู้นี้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นบรรดานักปราชญ์ในรุ่นตาบิอีน หรือบรรดานักปราชญ์ของปวง

มุสลิมระดับแนวหน้า ล้วนแล้วแต่ได้กลายมาเป็นผู้รู้ก็เนื่องจากคุณงามความดีทางวิชาการของท่าน ( อ) และได้ถือเอา (อ) เป็นเยี่ยงอย่าง อีกทั้งได้ดำเนินชีวิตไปตามคุณลักษณะของท่าน (อ)

ดังที่มีปรากฏเป็นหลักฐานในบทกวีตอนหนึ่งซึ่งนักกวีผู้มีชื่อเสียงคือท่านกูรตีได้กล่าวไว้ว่า :

“ โอ้ ผู้ปราชญ์เปรื่องทางวิชาการของเหล่าบรรดาผู้มีตักวา โอ้ ผู้มีปัญญาที่ประเสริฐยิ่งของเหล่าบรรดานักปราชญ์ ” (๔)

( ๔) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ , หน้า ๒๘๔.

ท่านอิบนุชะฮ์ริออชูบ(ร.ฮ.)ได้กล่าวไว้ว่า :

บรรดานักปราชญ์อื่น ๆ ตลอดจนถึงนักปราชญ์ในรุ่นตาบิอีนและนักฟุกอฮา(นักนิติศาสตร์อิสลาม)รุ่นอาวุโสของบรรดามุสลิมนั้นต่างก็ได้เรียนรู้วิชาการทางศาสนาจากท่านมุฮัมมัด บินอะลี(อ)ดังนี้

ในรุ่นศอฮาบะฮ์ คือ ท่านญาบิร บินอับดุลลอฮ์ อันศอรี

ในรุ่นตาบิอีนคือ ท่านญาบิร บินยะซีด อัล-ญุอ์ฟี และท่านกีซาน ซัคติยานี ผู้เชียวชาญทางสาขาศูฟีจากบรรดานักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียง ผู้ซึ่งได้รับเอาความรู้จากท่าน(อ)มาบันทึกต่อนั้นคือ

ท่าน(อ)ฏ็อบรี ท่านบะลาซิรีย์ ท่านซะลามี และท่านคอฏีบ

คนกลุ่มนี้ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับตัวท่านอิมามบากิร(อ)ไว้ในตำราประวัติศาสตร์ของพวกตน

และยังมีบันทึกไว้ตามรายชื่อหนังสือดังนี้

หนังสือ ‘ อัล-มุวัฏเฏาะ ’ หนังสือ ‘ ชะรอฟุล-มุศฏอฟา ’ หนังสือ ‘ อัล-อิบานะฮฺ ’ หนังสือ ‘ มุชนะตัย อะบีฮะนีฟะฮ์ วัลมะรูซี ’ หนังสือ ‘ ตัรฆีบุล อิศฟะฮานี ’ หนังสือ ‘ บะซิฏุล-วาฮิดี ’ หนังสือ ‘ ดัฟซีรุล-นุกอซ ’ หนังสือ ‘ ตัฟซีร-ซะมัคชะรี ’ หนังสือ ‘ มะอริฟะตุ อุศูลิลฮะดีษ ’ และหนังสือ ‘ ริซาละตุซ ซัมอานีย์ ’

“ เจ้าของตำราเหล่านี้จะกล่าวด้วยประโยคเดียวกันว่า:

“ ท่านมุฮัมมัด อิบนุอะลีได้กล่าวไว้ ”

หรือบางทีพวกเขาก็จะกล่าวว่า :

“ ท่านมุฮัมมัด บากิรได้กล่าวไว้ดังนี้ ” ( ๕)

( ๕) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ , หน้า ๒๘๔.

ท่านอิบนุ ชะฮ์ริออชูบ(ร.ฮ.)ยังได้กล่าวอีกว่า :

บรรดานักปราชญ์ทั้งหลายได้ลงมติเห็นพ้องต้องกันว่า นักปราชญ์ทางศาสนา ผู้เชี่ยวชาญรุ่นแรกๆ นั้นมี ๖ ท่าน ทุกคนล้วนเป็นสานุศิษย์ของอะบูญะอ์ฟัร(อ)และอะบูอับดุลลอฮ์(อ)ผู้เป็นอิมามมะอศูมีน อันได้แก่

๑. ท่านซุรอเราะฮ์ บินอะอยุน

๒. ท่านมะอรูฟ บินค็อรบูซ อัล-มักกี

๓. ท่านอะบูบะศีร อัล-อะซะดี

๔. ท่านฟุฏัยล์ บินยะซาร

๕. ท่านมุฮัมมัด บินมุสลิม อัฏ-ฏออิฟี

๖. ท่านบุรอยด์ บินมุอาวิยะฮ์ อัล-ดัจลีล

ท่านอิบนุชะอริออชูบ ยังได้กล่าวอีกว่า :

ท่านฮุมรอน บินอะอ์ยุน อัช-ชัยบานี และพี่น้องของท่าน (เช่น ท่านบุกัยร์ ท่านอับดุลเราะฮ์มาน ท่านอับดุลมาลิก)

ส่วนหนึ่งจากสานุศิษย์ของท่านได้แก่

ท่านมุฮัมมัด บิน อิสมาอีล บินบะซีอ์ ท่านอับดุลลอฮ์ บินมัยมูน อัล-กีดาฮ์ ท่านมุฮัมมัด บินมัรวาน อัล-กูฟี ท่านอิสมาอีล บินฟัฏลาฮ์ อัล-ฮาชิมี ท่านอะบูฮารูน อัล-มักฟูฟ ท่านศอรีฟ นาศิฮ์

ท่านซะอีด บินศอรีฟ พัล-อัชกาฟ อัด-ดูลี ท่านอิสมาอีล อิบนุญาบิร อัล-ค็อษอะมี ท่านอุกะฮฺ บินบะชีร อัล-อะซะดี ท่านอัซลัม อัล-มักกี(คนสนิทของอิบนุฮะนะฟียะฮฺ) ท่านอะบูบาศีรลัยษ์ บิน บักตะรี

อัล-มุรอฏี ท่านอัล-กูมีต บิน เซด อัล-อะซะดี ท่านนาญิยะฮฺ บินอัมมาเราะฮ์ อัศ-ศ็อยดาวี ท่านมุอาซบินมุสลิม อัล-ฮิรอย์ อัน-นะฮฺวี และท่านบะชีร อัร-ริฮาล( ๖)

( ๖) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ , หน้า ๒๙๕.

ท่านอะบูนะอีม อิศบะฮานีได้กล่าวว่า : บรรดาตาบิอีนที่ได้ศึกษาวิชาความรู้จากท่านอิมามมุฮัมมัด บินอะลี(อ)นั้น ได้แก่

ท่านอัมร์ บินดีนาร ท่านอะฏออ อิบนุ อะบีริบาอ ท่านญาบิร อัล-ญุอฟี ท่านอะบาน บินตัฆลิบ

และมีบรรดาอิมามตลอดจนถึงนักปราชญ์ทางศาสนาอีกหลายท่านในรุ่นหลัง ที่ได้เรียนรู้เรื่องราวศาสนาที่มาจากท่านเช่น

ท่านลัยษ์ บินอะบีซะลิม ท่านอิบนุ ญุรีฮฺ ท่านฮัจญาจญ์ บินอิรฏอ( ๗) ( ๗) ฮิลยะตุ้ล-เอาลิยาอ์ เล่ม ๓ , หน้า ๑๘๘.

จากวันนั้นถึงวันนี้ กาลเวลาได้ผ่านไปแล้ว ๑๓ ทศวรรษที่ท่านอิมามมุฮัมมัด บินอะลี(อ)ได้สถาปนาสำนักวิชาการนี้ขึ้นมา ความรู้ทางศาสนบัญญัติฮะดีษและตัฟซีร ตลอดจนถึงวิชาการแขนงอื่นๆ ก็ยังคงมีอยู่อย่างไม่ขาดสาย สายธารแห่งวิชาความรู้อันบริสุทธิ์ยังดำเนินติดต่อกันมาอย่างต่อเนื่องไม่เคยหยุดยั้ง

การตัฟซีรพระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน

ในบทที่ผ่านมา ท่านได้อ่านถึงเรื่องราวของทางวิชาการของท่าน

อิมามมุฮัมมัด บินอะลี(อ)ไปแล้ว จะเห็นได้ว่าการสถาปนาขึ้นมาซึ่งสำนักวิชาการอันยิ่งใหญ่ของท่านอิมาม(อ)ในการสร้างสรรศิษยานุศิษย์ให้มีความรู้ในแขนงต่าง ๆ นั้นได้มีแขนงวิชาความรู้ในด้านการตัฟซีรอัล-กุรอานอีกด้วย

ถ้าหากคนทั้งหลายให้การยอมรับต่อบรรดาอิมามโดยหวนย้อนไปพิจารณาวิชาการตัฟซีรของพวกท่านโดยเฉพาะแล้วไซร้ จะได้เห็นว่า ท่านเหล่านี้มีความเชี่ยวชาญในวิชาการด้านนี้เป็นพิเศษเหนือกว่าบุคคลอื่น ๆ ทั้งนี้ ก็เพราะว่าพวกท่าน(อ)คือ ศูนย์หลักของพระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน


3

4

5

6

7

8

9