ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร0%

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 14792
ดาวน์โหลด: 3049

รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 239 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 14792 / ดาวน์โหลด: 3049
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

ท่านกะซาอีได้กล่าวว่า :

วันหนึ่งข้าพเจ้าได้เข้าพบท่านรอชีดซึ่งขณะนั้นเขากำลังอยู่ในห้องทำงานส่วนตัว เบื้องหน้า

เขานั้นมีกองเงินจำนวนมากวางอยู่ เขาได้แยกเงินจำนวนมหาศาลนั้นเป็นส่วน ๆ แล้วสั่งให้แบ่งออกไปใช้สอยในกิจการที่จำเป็นโดยเฉพาะในมือของเขายังมีเหรียญดิรฮัมที่มีลายเขียน เขาได้ให้

ความสนใจในสิ่งนั้นเป็นอย่างมาก มีหลายสิ่งหลายประการที่เขาสนทนากับข้าพเจ้า

แล้วเขากล่าวว่า

“ รู้หรือไม่ว่า ใครเป็นคนแรกที่ใช้ลายเขียนนี้สลักลงในเหรียญทองและเงิน ? ”

ข้าพเจ้าตอบว่า

“ โอ้นายข้า เรื่องนี้มีขึ้นมาในสมัยของอับดุลมาลิก บินมัรวาน ”

เขากล่าวว่า

“ แล้วเจ้ารู้ถึงสาเหตุไหมว่า มันมีความเป็นมาอย่างไรสำหรับเรื่องนี้ ”

ข้าพเจ้าตอบว่า

“ ฉันไม่ทราบในเรื่องนี้เลย นอกจากรู้เพียงว่า ลายเขียนเหล่านี้มีขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยของอับดุลมาลิกเท่านั้น ”

เขากล่าวว่า

“ ฉันจะบอกให้เจ้ารู้ ธนบัตรนั้นมีขึ้นที่กรุงโรม และส่วนมากคนอียิปต์เป็นพวกคริสต์นิกายเกี่ยวกับกษัตริย์แห่งโรม และจะมีการลงตราแบบของโรม ถ้อยคำในตราประทับนั้นคือคำว่า ‘ พระบิดา

พระบุตร พระวิญญาณบริสุทธิ์ ’ ได้มีการใช้ธนบัตรแบบนี้เรื่อยมาจนถึงสมัยแรก ๆ ของอิสลาม

ก็ยังคงมีอยู่ต่อไปเหมือนเดิม จนกระทั่งกษัตริย์อับดุลมาลิกได้ให้ความสนใจในเรื่องนี้ขึ้นมา โดยพิจารณาไปยังดวงตราที่ประทับแล้วก็สั่งให้แปลเป็นภาษาอาหรับ ปรากฏว่า เมื่อเขารู้ว่ามีความหมายอย่างนั้นก็แสดงความโกรธมาก ”

( ต่อไปนี้เป็นบทสนทนาของรอชีดที่กล่าวถึงสมัยของอับดุลมาลิก บินมัรวาน)

เขา(อับดุลมาลิก)ได้กล่าวว่า

“ อันนี้เป็นการเหยียดหยามเกียรติของศาสนาอิสลาม ”

อีกทั้งยังมีดวงตราแบบธนบัตรที่ติดอยู่ตามภาชนะและเสื้อผ้า เพราะของสองอย่างนี้ทำในอียิปต์ และสิ่งของอย่างอื่นอีกที่ติดตราแบบนี้ เนื่องจากทำมาจากเมืองนี้ที่มีความศักยภาพสูง มีทรัพย์สินมาก และมีพลเมืองต่าง ๆ ทั่วสารทิศ และแน่นอนมันได้ถูกประทับตราด้วยสิ่งที่เป็นชิริก ( ตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.))

เขาจึงออกคำสั่งให้เขียนจดหมายไปถึงอับดุลอะซีซ บินมัรวานซึ่งเป็นเจ้าเมืองอียิปต์ บอกให้สั่งยกเลิกการใช้ดวงตรานี้อย่างที่เคยติดเป็นตราที่เสื้อผ้า ธนบัตร ม่านกั้น และอื่น ๆ และเสนอว่า

ให้ผลิตธนบัตรที่ประทับตราด้วย ‘ ซูเราะฮ์เตาฮีด ’ และคำว่า ‘ ชะฮิดัล ลอฮุ อันนะฮุ ลาอิลาฮะ อิลลาฮุวะ ’

( อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงยืนยันว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์) และนี่คือการประทับตราที่ธนบัตร โดยเฉพาะตราบจนถึงเวลานี้ ไม่บกพร่อง ไม่เพิ่มเติม และไม่เปลี่ยนแปลง

และอับดุลมาลิกยังได้เขียนหนังสือส่งไปยังเจ้าเมืองต่าง ๆ ทั้งหมดให้ยกเลิกเหรียญที่มีตราประทับแบบโรม และสั่งให้ลงโทษผู้ที่มีเหรียญชนิดนั้นไว้ในครอบครองด้วยการเฆี่ยนตีอย่างรุนแรง และให้คุมขังในเวลาที่ยาวนาน

ครั้นเมื่อได้มีการประทับตราใหม่บนธนบัตรด้วย ‘ ซูเราะฮ์เตาฮีด ’ ก็ได้มีการนำส่วนหนึ่งไปยังกรุงโรม

ข่าวคราวในเรื่องนี้ก็แพร่ออกไปจนได้ยินไปถึงกษัตริย์ของพวกโรม เมื่อได้แปลใจความในเหรียญนั้นให้ทราบ กษัตริย์กรุงโรมได้มีความโกรธกริ้วและบันดาลโทสะเป็นอย่างมาก จึงเขียนหนังสือส่งไปยังอับดุลมาลิกใจความว่า

“ แท้จริงการใช้ธนบัตรในอียิปต์และเมืองต่าง ๆ นั้นได้มีตราประทับของโรม และการประทับตราเช่นนั้นก็ดำเนินมาได้โดยตลอดด้วยตราของโรม จนท่านเองได้มาสั่งยกเลิกเสีย ดังนั้น

ถ้าหากคออลีฟะฮฺคนก่อน ๆ จากท่านทำถูกต้องแล้ว ก็แสดงว่าท่านทำผิดพลาด และถ้าหากสิ่งที่ท่านทำลงไปนั้นเป็นการถูกต้องก็แสดงว่า ค่อลีฟะฮฺคนก่อน ๆ จากท่าน เป็นคนทำผิดพลาด

ขอให้ท่านตัดสินใจตอบเอาอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ท่านต้องการจะตอบและแน่นอน ข้าพเจ้าได้ส่งมอบบรรณาการอันเหมาะสมกับตำแหน่งของท่านมาจำนวนหนึ่ง และข้าพเจ้าชอบที่จะให้ท่าน

ดำเนินการเปลี่ยนแปลงแบบของธนบัตรเหล่านั้นให้กลับเป็นรูปเดิมอย่างที่เคยเป็นมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม อันถือว่าจำเป็นที่จะขอบคุณต่อท่าน และให้ท่านรับเอาบรรณาการเหล่านี้ได้ ด้วยความนับถืออย่างยิ่ง ”

เมื่ออับดุลมาลิกได้อ่านข้อความจดหมายนี้ แล้วก็ส่งกลับไปยังทูตและแจ้งให้ทูตทราบว่า

เขาไม่ปรารถนาที่จะให้คำตอบใด ๆ และไม่ขอยอมรับเครื่องบรรณาการ

ดังนั้น ทูตก็ได้นำทั้งจดหมายและเครื่องบรรณาการกลับไปหาเจ้าของเดิม ครั้นเมื่อกษัตริย์โรมทราบเช่นนั้น ก็จัดแจงเพิ่มจำนวนของบรรณาการมากขึ้นกว่าเดิม และให้นำกลับไปหา

อับดุลมาลิกอีกแล้วกล่าวว่า

“ ข้าพเจ้าเข้าใจว่าบรรณาการที่ส่งมาคราวก่อนนั้น ท่านถือว่าเป็นของจำนวนน้อย ท่านจึงไม่รับและไม่ตอบจดหมายของข้าพเจ้า ดังนั้นข้าพเจ้าจึงเพิ่มจำนวนของบรรณาการให้มากขึ้น

สำหรับท่าน และข้าพเจ้าปรารถนามายังท่านในเรื่องเดียวกับที่เคยปรารถนามาก่อนนั้นคือ ให้เปลี่ยนตรานี้คืนกลับให้เป็นอย่างที่เคยเป็นในตอนแรก ”

เมื่ออับดุลมาลิกได้อ่านจดหมาย เขาก็มิได้ตอบอีก และส่งบรรณาการกลับคืนเหมือนเดิม

ฝ่ายกษัตริย์กรุงโรมก็ได้เขีนจดหมายอีก คราวนี้เขาได้กล่าวในจดหมายว่า

“ แท้จริงท่านดูหมิ่นต่อการที่จะตอบข้าพเจ้า และบรรณาการของข้าพเจ้า ซึ่งก็มิได้กระทบกระเทือนถึงความจำเป็นของข้าพเจ้าแต่ประการใด เพราะถ้าท่านคิดว่ามันเป็นของเล็กน้อย

ข้าพเจ้าก็เพิ่มจำนวนให้มากขึ้นแล้ว แต่ท่านยังคงกระทำเหมือนอย่างตอนแรก จนข้าพเจ้าได้เพิ่มจำนวนบรรณาการถึงสามครั้งแล้ว ข้าพเจ้าขอสาบานต่อพระนามของมะซีฮฺว่าท่านจะต้องคืนสภาพ

ตราให้เป็นเหมือนอย่างที่เคยเป็นมาแต่เดิมหรือไม่ข้าพเจ้าก็จะสั่งให้ผลิตเหรียญทั้งดีนารและดิรฮัม

ซึ่งท่านก็ทราบดีว่าข้าพเจ้าจารึกอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากตราที่เคยจารึกในประเทศของข้าพเจ้า

( เพราะเหรียญดีนารและดิรฮัม ไม่มีการสลักลายจารึกในประเทศอิสลาม) ดังนั้นเขาจะสลักตราบนเหรียญให้เป็นถ้อยคำที่ดูหมิ่นหยามต่อศาสนาของท่าน แล้วยามใดที่ท่านอ่านข้อความนั้น ท่านก็จงเก็บมันในกระเป๋าเสื้อของท่านเสียให้มันเปียกโชกด้วยเหงื่อ ดังนั้นข้าพเจ้าปรารถนาที่จะให้ท่านรับเครื่องบรรณาการ และคืนสภาพตราให้กลับเป็นเหมือนเดิม และให้ท่านถือว่าเครื่องบรรณาการนี้

เป็นสิ่งขอขมาจากข้าพเจ้า และความสัมพันธ์ระหว่างข้าพเจ้ากับท่านก็จะคงอยู่เป็นปัจจุบันต่อไป ”

ครั้นเมื่ออับดุลมาลิกได้อ่านจดหมายก็ให้รู้สึกมีความกล้ำกลืนสุดเหลือประมาณ และรู้สึกว่าโลกนี้คับแคบสำหรับเขาเสียนี่กระไร เข้าได้กล่าวว่า

“ ฉันคิดว่าฉันคือเด็กที่โชคร้ายที่สุดคนหนึ่งที่เกิดมาในอิสลาม เพราะฉันต้องปกป้องท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) ให้พ้นจากการลบหลู่ดูแคลนของกาฟิรคนนี้ให้ได้ตราบที่ยังมีเวลาเหลืออยู่

แต่การจะลบรอยตราประทับในเหรียญให้ได้ทั่งทั้งอาณาจักรอาหรับนั้นคงเป็นไปไม่ได้ เพราะเหรียญเหล่านี้ถูกใช้จ่ายหมุนเวียนในหมู่ประชาชนแล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเหรียญดีนารของโรมหรือดิรฮัมของพวกเขาเองก็ตาม ”

เขาได้จัดประชุมผู้รู้ของอิสลาม และปรึกาหารือ แต่ไม่มีใครแม้แต่สักคนเดียวที่สามารถเสนอความคิดเห็นให้เขารับฟงได้ ท่านรูฮฺ บินซันบาฆได้กล่าวขึ้นว่า

“ แท้จริงท่านก็ทราบดีอยู่แล้วว่า การเสนอความเห็น และการแนะนำหาทางออกสำหรับเรื่องนี้ควรเป็นใคร แต่กระนั้นท่านก็จงใจที่จะละทิ้งเขา ”

อับดุลมาลิก กล่าวว่า

“ ช้าก่อนท่าน แล้วใครล่ะ บอกมาเถิด ”

รูฮฺกล่าวว่า

“ อัล-บากิรแห่งอะฮฺลุลบัยตฺของท่านนบีมุฮัมมัด (ศ) ”

อับดุลมาลิกกล่าวว่า

“ จริงของท่าน แต่เขาคงจะไม่แสดงความคิดเห็นให้แก่ข้าพเจ้าในเรื่องนี้ ”

และอับดุลมาลิกก็เขียนจดหมายไปยังเจ้าเมืองของเขาที่มะดีนะฮฺว่า

“ ให้เชิญมุฮัมมัด บินอะลี บินฮุเซนมาพบข้าอย่างสมเกียรติ และให้มอบเงินแก่เขาเพื่อเตรียมการเดินทาง ๒๐๐ , ๐๐๐ ดิรฮัม เพื่อให้เขาใช้จ่ายอีก ๓๐๐ , ๐๐๐ ดิรฮัม และให้อำนวยความสะดวกแก่เขาไม่ว่าเขาจะนำใครก็ตามร่วมเดินทางด้วย ”

แต่ทูตก็ได้คุมท่าน(อ)เข้าพบตามที่ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติ

ครั้นเมื่อท่าน(อ)ได้รับทราบเรื่องราวทั้งหมดแล้ว

ท่านอิมามบากิร(อ)ก็ได้กล่าวกับอับดุลมาลิกว่า

“ เรื่องนี้มิได้เป็นภาระที่ยิ่งใหญ่อันใดสำหรับท่าน มันไม่มีอะไรเลย เพราะสองกรณีด้วยกัน นั่นคือ แท้จริงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) จะไม่ทรงบันดาลให้สิ้นสุดยุติลง เพียงแต่การที่กษัตริย์แห่งกรุงโรมข่มขู่ท่านในเรื่องของศาสดามุฮัมมัด (ศ) อีกประการหนึ่งก็คือ เรื่องนี้มีทางแก้ไขได้ ”

อับดุลมาลิกถามว่า

“ แล้วหนทางแก้ไขเป็นอย่างไร ? ”

ท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร(อ) กล่าวตอบว่า

“ จงเรียกนายช่างมาผลิตเหรียญต่อหน้าท่านเดี๋ยวนี้ให้เป็นเหรียญดิรฮัมและดีนาร และจงประทับตราด้านหนึ่งด้วย ‘ ซูเราะฮ์อัต-เตาฮีด ’ อีกด้านหนึ่งให้เป็นข้อความยกย่องท่านศาสดา (ศ) ให้มีระบุชื่อบ้านเมืองที่ผลิตเหรียญไว้ในกรอบวงกลมของเหรีญและให้ประทับตราปีที่ผลิตเหรียญลงไปด้วย

และให้กำหนดอัตราน้ำหนัก ๓๐ ดิรฮัม ให้เป็นเหรียญ ๓ ชนิด ชนิดแรกจำนวน ๑๐ เหรียญหนัก ๑๐ มิษกอล ชนิดที่ ๒ จำนวน ๑๐ เหรียญหนัก ๖ มิษกอล ชนิดที่ ๓ จำนวน ๑๐ เหรียญหนัก ๕

มิษกอลเป็นดิรฮัม และที่หนัก ๗ มิษกอลเป็นดีนาร ”

อับดุลมาลิกได้กระทำตามนี้ และท่านอิมามมุฮัมมัด บินอะลี บิน

ฮุเซน(อ)ยังได้สั่งให้อับดุลมาลิกประกาศใช้เหรียญนี้ในบ้านเมืองต่าง ๆ ของอิสลามทั้งหมด ให้ประชาชนดำเนินการซื้อขาย

กันกับเหรียญเหล่านี้ให้ออกประกาศคำสั่งประหารชีวิตผู้ที่ใช้เหรียญอย่างอื่นจะเป็นประเภทดิรฮัมหรือดีนาร หรือเหรียญอื่นใดก็ตาม พร้อมให้สั่งยกเลิกและเก็บส่งคืนกองคลังเพื่อที่จะเปลี่ยนสภาพ

ให้เป็นเหรียญตามแบบของอิสลาม

ดังนั้นอับดุลมาลิกก็ได้กระทำการตามนี้ ส่วนทูตของกรุงโรมก็ได้กลับไปแจ้งเรื่องเหล่านี้ให้กษัตริย์แห่งกรุงโรมทราบ

อับดุลมาลิกได้ให้คำตอบไปยังกษัตริย์แห่งกรุงโรมว่า

“ อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงยับยั้งมิให้ท่านกระทำในสิ่งที่ท่านสามารถจะกระทำ แน่นอนข้าพเจ้าได้แจ้งไปยังบรรดาข้าหลวงของข้าพเจ้าในประเทศต่าง ๆ ให้ทำอย่างนี้และให้ยกเลิกการใช้เหรียญที่มีตราประทับตามแบของโรม ”

ได้มีคนเสนอความเห็นต่อกษัตริย์แห่งกรุงโรมว่า

“ โปรดได้กระทำในสิ่งที่ท่านเห็นว่าจะข่มขู่เจ้าเมืองอาหรับได้เถิด ”

กษัตริย์แห่งกรุงโรมกล่าวว่า

“ ข้าตั้งใจจะกระทำ เพราะความแค้นต่อเขาตามที่ข้าได้เขียนไปยังเขา เพราะว่าข้าสามารถจะกระทำได้ ทั้งทรัพย์สินและอื่น ๆ ที่มีพร้อม เนื่องจากความยิ่งใหญ่ของกรุงโรม แต่บัดนี้ข้าจะไม่ทำ

แล้ว เพราะว่าถ้าหากทำขึ้นมาคนในประเทศอิสลามก็จะไม่ใช้เหรียญเหล่านั้น ”

เขายับยั้งไม่ทำตามผู้เสนอสิ่งที่ท่านอิมามมุฮัมมัดบากิร บินอะลี บินฮุเซน(อ)ได้ชี้แนะไว้ก็ยังคงเป็นผลสืบต่อจนถึงทุกวันนี้(๑)

( ๑) อัล-มุฮาชิน วัลมุซาวิอ์ ของอัล-บัยฮะกีย์ เล่ม ๒ หน้า ๑๒๙.

บทโต้ตอบของท่านอิมามบากิร(อ)กับฮิชาม บินอับดุลมาลิก

สภาพแวดล้อมในสังคมได้จงใจที่จะหันเหให้บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ละทิ้งการทำหน้าที่ในตำแหน่งตามที่อัลลอฮ์(ซ.บ.)และศาสดา

มุฮัมมัด(ศ)ได้แต่งตั้งพวกท่านไว้ จึงทำให้พวกท่านต้องอยู่กับเหย้าเรือน ไม่มีโอกาสได้สั่งสอนและห้ามปราม ส่วนอำนาจการปกครองก็ได้ตกไปอยู่ในกำมือของพวกที่มุ่งร้าย รังเกียจรังแกอย่างอยุติธรรมต่อบรรดาอิมาม(อ) เนื่องด้วยความทุจริตของคนเหล่านั้น

ที่มีต่อตำแหน่งของพวกท่านนั่นเอง พวกเขายังได้ละเมิดสิทธิของพวกท่าน จนกระทั่งยังได้ติดตามรังควาน เข่นฆ่า จับกุมคุมขัง และขับไล่ไสส่งออกจากบ้านเมือง จนถึงกับว่า :

ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน(อ)ได้เคยกล่าวไว้ว่า

“ ถ้าหากว่าท่านนบี (ศ) ได้เสนอเรื่องการสู้รบกับพวกเราให้แก่พวกเขาดุจดังที่ท่านเสนอเรื่องการเป็นทายาทไว้ที่พวกเราแก่พวกเขาแล้ว แน่นอนความรุนแรงที่พวกเขากระทำกันคงไม่มากมาย

ขนาดนี้ ”

ท่านอิมามอะบูญะอฟัร(อ)ได้ใช้ชีวิตในสมัยของผู้ปกครองราชวงศ์อุมัยยะฮฺหลายคน แต่

การดำเนินบทบาทที่รุนแรงต่อท่านมากที่สุด ได้แก่ การกระทำของฮิชาม บินอับดุลมาลิก กล่าวคือ

ฮิชามได้สังหารท่านซัยดฺ(ร.ฏ.)น้องชายของท่าน แล้วจับตัวท่านไปกักขังที่ซีเรีย อีกทั้งยังได้กล่าวถ้อยคำที่น่ารังเกียจให้ท่านฟัง

นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้นระหว่างอิมามบากิร(อ)กับฮิชาม บินอับดุลมาลิก ในด้านเกี่ยวกับการถามตอบ การสนทนาเรื่องต่าง ๆ อันจะนำมาเสนอโดยสรุปในบทนี้

ซึ่งบรรดาอิมามผู้ทรงเกียรติทั้งหลายที่เพียบพร้อมและนำหน้ามวลมนุษยชาติในแง่ของคุณธรรมและความดีได้นำมาบอกเล่าสืบทอดกันมา

ท่านอิมามศอดิก(อ)ได้เล่าว่า :

ฮิชามได้ออกคำสั่งไปยังเจ้าเมืองมะดีนะฮฺ เพื่อให้คุมตัวบิดาของฉัน ดังนั้น เขาก็ได้ควบคุมตัวพวกเราไปพร้อมกับท่านด้วย ครั้นเมื่อเราผ่านเข้าไปถึงเมืองดามัสกัส เราได้ถุกกักตัวไว้เป็นเวลา๓ วัน ต่อจากนั้นในวันที่ ๔ เขาอนุญาตให้เราเข้าไปได้ ขณะนั้น เขานั่งอยู่บนบัลลังค์ของกษัตริย์

ทหารและองครักษ์ของเขานั้นต่างก็ยืนชิดเท่าเหยียดตรงทั้งสองด้านและเขายังได้ให้นักแม่นธนูผู้อาวุโสในหมู่พรรคพวกของเขายืนคุมอยู่ ณ เบื้องหน้าของเขาด้วย

ครั้นเมื่อเราได้เดินเข้าไปโดยบิดาของฉันเดินนำหน้าและฉันเดินตามหลัง เขาก็ได้ร้องเรียกบิดาของฉันว่า

“ โอ้มุฮัมมัด โปรดแสดงฝีมือในการยิงธนูพร้อมกับผู้อาวุโสของพวกท่านเถิด ”

ท่าน(อ)ตอบเขาว่า

“ ฉันอายุมากเกินไปแล้วสำหรับการยิงธนู ขอท่านโปรดผ่อนผันแก่ฉันจะได้ไหม ? ”

เขาตอบว่า

“ ด้วยสิทธิของผู้ทรงให้เกียรติแก่เราด้วยศาสนาและนบีของพระองค์ ข้าจะไม่ผ่อนผันให้ท่าน ”

หลังจากนั้นแล้วฮิชามก็ได้โน้มตัวไปยังผู้อาวุโสของตระกูล

อุมัยยะฮฺพลางกล่าวว่า

“ โปรดส่งธนูของท่านให้เขาไปเถิด ”

บิดาของฉันก็รับคันธนูของผู้อาวุโสคนนั้นมาถือ ต่อจากนั้นท่าน(อ)ก็ยิงออกไปหนึ่งดอก ปรากฏว่า ธนูดอกนั้นปักลงใจกลางของเป้าพอดี ท่าน(อ)ได้ประทับคันธนู แล้วยิงออกไปเป็นดอกที่สอง ก็ปรากฏว่า ดอกธนูพุ่งตรงเข้าไปบนดอกแรก ผ่าแสกกลางของมันลงไปเลย หลังจากนั้นท่าน ( อ) ได้ยิงติดตามไปด้วยดอกธนูอีก ๙ ดอก จนกระทั่งบางดอกสามารถฉีกเข้ากลางของบางดอก

จนทำให้ฮิชามถึงกับตบมือลงบนที่นั่งของตนอย่างแรง จนเขามิอาจยับยั้งความรู้สึกได้

เขาได้กล่าวว่า

“ โอ้ อะบูญะอ์ฟัรเอ๋ย ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว่าท่านเป็นคนแม่นธนูที่สุดคนหนึ่งในบรรดาคนอาหรับและที่ไม่ใช่อาหรับ ไฉนท่านจึงอ้างว่า ท่านอายุมากเกินไปแล้วสำหรับการยิงธนู ”

หลังจากนั้น เขาก็ถึงกับแสดงความรู้สึกเสียใจในคำพูดของตนเองที่กล่าวออกไปแล้ว ฮิชาม เป็นคอลีฟะฮฺในสมัยบิดาของฉันคนเดียว คือ ไม่มีอิมามก่อนท่าน(อ)และหลังจากท่าน(อ)ในสมัยฮิชาม เขาครุ่นคิดหนักและนั่งทอดสายตาลงบนพื้น ขณะที่บิดาของฉันยืนอยู่เคียงข้าง พลางหันหน้าตรงไปยังเขา เมื่อเรายืนอยู่อย่างนั้นเป็นเวลานานมากขึ้น บิดาของฉันก็มีอาการขุ่นเคือง ท่าน(อ)

ครุ่นคิดอะไรอยู่ด้วยความกังวล และเมื่อบิดาของฉันรู้สึกโกรธได้แหงนหน้าขึ้นมองฟ้า จนคนที่ดูท่าน(อ)สามารถอ่านสีหน้าความโกรธในใบหน้าของท่าน(อ)ได้

เมื่อฮิชามเห็นอาการเช่นนั้นจากบิดาของฉัน เขาก็ได้กล่าวว่า

“ มาหาข้าพเจ้าซิ โอ้ อะบูญะอ์ฟัร ”

แล้วท่าน(อ)ก็ได้ขึ้นไปนั่งบนบัลลังก์และฉันก็ติดตามท่านไปด้วย เมื่อเข้าไปใกล้ ฮิชามก็ลุกขึ้นโค้งให้ท่าน แล้วนั่งลงทางด้านขวามือของท่าน หลังจากนั้นเขาก็โค้งให้ฉัน และให้ฉันนั่งด้านซ้ายมือบิดาของฉัน แล้วเขาก็หันหน้ามาทางบิดของฉันพลางกล่าวว่า

“ โอ้ มุฮัมมัดเอ๋ย ทั้งชาวอาหรับและมิใช่ชาวอาหรับต่างก็จะต้องอยู่ภายใต้การนำของคนตระกูลกุเรซตลอดไป ตราบเท่าที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ยังทรงประทานคนอย่างท่านมาให้หมู่พวกเขา

ใครเป็นคนสอนท่านในเรื่องการยิงธนูและท่านใช้เวลาเรียนนานเท่าไหร่ ?”

บิดาของฉันตอบว่า

“ ท่านเองก็ทราบดีอยู่แล้วว่า ชาวเมืองมะดีนฮฺนั้น เชี่ยวชาญในการฝึกยิงธนู สำหรับฉันนั้นได้เรียนมาตั้งแต่สมัยที่ยังเยาว์วัย

แต่มาฉันก็เลิก ครั้นพอท่านอะมีรุลมุอ์มินีนต้องการให้ฉันยิง นี่แหละฉันจึงเริ่มต้นใหม่อีกที ”

เขากล่าวกับท่าน(อ)อีกว่า

“ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นใครยิงแม่นอย่างนี้มาก่อนเลย และข้าพเจ้าคิดว่าในโลกนี้มีใครยิงเก่งอย่างนี้อีกแล้ว แล้วญะอฟัรล่ะ ยิงธนูได้เหมือนท่านไหม ? ”

ท่าน(อ)ตอบว่า

“ แท้จริงพวกเราคือผู้สืบมรดกอันครบถ้วนและบริบูรณ์ อันเป็นสิ่งที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงประทานให้แก่ศาสดาของพระองค์ (ศ) ในโองการที่ว่า:

“ วันนี้เราได้ประทานความสมบูรณ์ในศาสนาของสูเจ้าให้แก่สูเจ้า และประทานความบริบูรณ์ในความโปรดปรานของข้าให้แก่สูเจ้า และข้าพอใจให้อิสลามได้เป็นศาสนาสำหรับสูเจ้า ”

( อัล-มาอิดะฮฺ: ๓๑)

“ และแผ่นดินนี้ไม่เคยว่างเว้นจากผู้ท่ำให้เรื่องราวในศาสนาครบถ้วนซึ่งเป็นสิ่งที่บกพร่องสำหรับคนอื่นที่มิใช่พวกเรา ”

เมื่อเขาได้ฟังบิดาของฉันพูดเช่นนั้น สายตาของเขาเปลี่ยนแปลงไปในทันที ใบหน้าเริ่มปรากฏสีแดงระเรื่อ นั่นคืออาการที่บ่งบอกถึงความโกรธ ต่อจากนั้นเขาก็พยายามข่มใจให้เป็นปกติ

ยกศีรษะขึ้นแล้วกล่าวว่า

“ เราต่างก็เป็นลูกหลานของอับดุลมานาฟด้วยกัน มีสายเลือดเดียวกันมิใช่หรือ ? ”

บิดาของฉันกล่าวว่า

“ เราก็เป็นเช่นเดียวกันนั่นแหละ แต่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ผู้ทรงเกียรติทรงคัดเลือกพวกเราไว้ สำหรับคลังวิชาการอันลี้ลับและบริสุทธิ์ผุดผ่องของพระองค์ไว้เฉพาะ โดยมิได้คัดเลือกใครไว้เป็นการเฉพาะเหมือนเช่นพวกเรา ”

เขากล่าวว่า

“ อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงแต่งตั้งท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) มาจากตระกูลของอับดุลมะนาฟเพื่อไปยังมวลหมู่มนุษยชาติไม่ใช่หรือ ?

ไม่ว่าจะเป็นคนผิวขาว ผิวดำหรือผิวแดง พวกท่านจะได้รับมรดก

โดยที่คนอื่นนอกจากพวกท่านมิอาจได้รับอย่างไรกัน ทั้งที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)เป็นคนที่ถูกส่งมายังมนุษยชาติทั้งปวง

และด้วยเหตุนี้ที่อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงตรัสว่า

“ และสำหรับอัลลอฮ์นั้น เป็นผู้รับมอบมรดกแห่งชั้นฟ้าและแผ่นดิน ” ( อาลิ อิมรอน: ๑๘๐)

ดังนั้น ไฉนเลยที่พวกท่านจะได้รับมรดกทางวิชาการอย่างนี้ ในเมื่อไม่มีใครเป็นนบีอีกแล้ว

หลังจากศาสดามุฮัมมัด(ศ)และพวกท่านเองก็มิใช่นบีที่ไหนกัน ?”

ท่าน(อ)กล่าวตอบว่า

“ มีโองการหนึ่งที่พระองค์ทรงตรัสแก่นบีของพระองค์ว่า:

“ เจ้าอย่ากระดิกลิ้นของเจ้าเพื่อเร่งรีบกับมัน (ในการอ่าน) ”

( อัล-กิยามะฮฺ: ๑๖)

ซึ่งท่านจะไม่กระดิกลิ้นของท่านในเรื่องนั้นกับคนอื่นนอกเหนือจากพวกเราตามที่อัลลอฮ์ ( ซ.บ.) ทรงบัญชาให้ท่าน (ศ) ทำการเช่นนั้นเฉพาะกับพวกเรา ไม่ให้กระทำกับผู้อื่นนอกจากเรา

ท่าน ( ศ) จึงเป็นผู้กระซิบสอนเบา ๆ กับอะลี พี่น้องของท่าน โดยที่มิได้กระทำอย่างนั้นกับสาวกคนอื่น ๆของท่าน

ครั้นอัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงมีโองการมาว่า :

“ และหูที่มีการรับฟังเท่านั้นที่จะรับมันได้ ”

( อัล-ฮากเกาะฮฺ: ๑๒)

ซึ่งท่านศาสดา(ศ)ได้กล่าวแก่สาวกของท่านว่า

“ ฉันวิงวอนขอต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ว่า ให้พระองค์ทรงบันดาลการเป็นเช่นนั้นให้แก่หูของเจ้า โอ้อะลีเอ๋ย ”

ดังนั้นด้วยเหตุนี้อะลี บินอะบีฏอลิบ(อ)จึงได้กล่าวไว้ที่เมืองกูฟะฮฺว่า

“ ท่านศาสดา (ศ) ได้สอนวิชาความรู้ให้แก่ฉันถึง ๑ , ๐๐๐ ประตู ซึ่งท่าน (ศ) ได้เปิดประตูเหล่านั้นทุกบาน ๆ ละ ๑ , ๐๐๐ ประตูให้แก่ฉัน ”

ดังนั้น เหมือนอย่างที่อัลลอฮ์(ซ.บ.) ทรงคัดเลือกพี่น้องของท่านคือ ‘ อะลี ’ ไว้เป็นการเฉพาะเช่นกัน ให้เป็นคนได้รับความรู้อันลี้ลับ ในขณะที่ท่านมิได้เจาะจงไว้สำหรับคนใดคนหนึ่งในหมู่พรรคพวกของท่านเลย จนกระทั่งได้กลายมาอยู่ทีเรา กล่าวคือ เราได้รับมรดกของท่านโดยที่คนอื่นในหมู่พวกเรามิได้รับเลย ”

ฮิชาม บินอับดุลมาลิก กล่าวว่า

“ แท้จริงอะลีนั้น อ้างตนว่ามีความรู้ในสิ่งพ้นภาวะวิสัย

(อัล-ฆ็อยบฺ) ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ ( ซ.บ.) ว่า พระองค์มิได้เปิดเผยความรู้ในสิ่งที่พ้นภาวะวิสัยให้แก้ใครเลยสักคน แล้วไฉนเขาจึงอ้าง

ตนอย่างนั้นได้ ?”

บิดาของฉันกล่าวว่า

“ แท้จริงอัลลอฮ์ทรงประทานคัมภีร์มายังศาสดาของพระองค์ (ศ) ซึ่งในนั้นมีทั้งเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นผ่านมาแล้ว และเรื่องราวที่กำลังจะเกิดจนถึงวันกิยามะฮฺ

ในโองการหนึ่งความว่า :

“ และเราได้ประทานคัมภีร์มายังเจ้า เป็นการอธิบายอย่างชัดแจ้งสำหรับทุก ๆ สิ่งและเป็นทางนำ เป็นความเมตตา และข่าวดีสำหรับมวลมุสลิมฯ (อัน-นุฮฺลุ: ๘๙)

ในโองการหนึ่งทรงกล่าวว่า :

“ และ (เกี่ยวกับ) ทุกสิ่งนั้น เราได้พรรณนาไว้แล้วในอิมามอันชัดแจ้ง ” ( ยาซีน: ๑๒)

อีกโองการหนึ่งทรงตรัสว่า :

“ เรามิได้ทำตกหล่นอะไรไว้ในคัมภีร์เลยแม้แต่สิ่งเดียว ”

( อัล-อันอาม : ๓๘)

และอัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงมีวะฮฺยูแก่ศาสดาของพระองค์ว่า :

“ อย่าได้ยั้งความรู้ใด ๆ ไว้อันเกี่ยวกับสิ่งพ้นภาวะวิสัย และความรู้ที่เก็บรักษาไว้ แต่จะต้องบอกเล่าแกอะลี ” ( ฮะดีษกุดซี)

ดังนั้นท่าน(ศ)จึงสั่งให้ ‘ อะลี ’ รวบรวมอัล-กุรอานภายหลังจากท่าน (ศ) และมอบหมายการอาบน้ำมัยยิตของท่าน (ศ) และใส่เครื่องหอมให้ท่าน (ศ) โดยที่มิได้สั่งไว้กับพรรคพวกของท่าน (ศ) คนใดเลย