ศาสนากับโลก

ศาสนากับโลก66%

ศาสนากับโลก ผู้เขียน:
ผู้แปล: จรัญ มะลูลีม
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 53

ศาสนากับโลก
  • ศาสนากับโลก ๑
  • โดย มุรตะฎอ มุเฏาะฮารี ๑
  • ด้วยพระนามแห่งพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเมตตากรุณายิ่ง ๒
  • การตีความอย่างผิดๆ ของผู้ถือสันโดษ ๔

  • การจูงใจให้สนใจในโลก ๑๒

  • การสละโลก ๑๘

  • ตรรกวิทยาแห่งพระมหาคัมภีร์กุรอาน ๒๒

  • ตรรกวิทยาและโลกทัศน์ของพระมหาคัมภีร์กุรอาน ๓๓

  • ลัทธิวัตถุนิยมและจริยธรรม ๓๕

  • การเคารพสิทธิและความรังเกียจโลก ๔๑

  • คุณค่าในตัวและคุณค่าที่สัมพันธ์กับสิ่งอื่น ๔๓

  • เหตุผลของมนุษย์ ๔๙

  • ความยุติธรรมและชะตากรรมของสังคม ๕๓

  • บทบาทของความยุติธรรมและความถูกต้องทางสังคมในด้านจิตใจ ๕๕

  • ความยุติธรรมในสังคม ความคิดและความศรัทธา ๖๕

  • การมองดูพระผู้เป็นเจ้าในแง่ร้าย ๖๙

  • ความยุติธรรมในสังคมและจริยธรรม ๗๑

  • ข้อยกเว้น ๗๓

  • ผลแห่งการแบ่งแยกในเรื่องจริยธรรม ๗๗

  • จริยธรรมที่ยุติธรรมในสังคมที่ยุติธรรม ๘๓

  • ความลับแห่งความสำเร็จของอิสลาม ๘๗

  • ผลแห่งความยุติธรรมที่มีต่อพฤติกรรมโดยทั่วๆ ไป ๙๑

  • เชิงอรรถ ๙๙

  • สารบัญ ๑๐๒

  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 53 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 10994 / ดาวน์โหลด: 4896
ขนาด ขนาด ขนาด
ศาสนากับโลก

ศาสนากับโลก

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

ศาสนากับโลก

โดย มุรตะฎอ มุเฏาะฮารี

แปลโดย จรัญ มะลูลีม

จัดพิมพ์ในรูปแบบห้องสมุดออนไลน์โดยเว็บไซต์อัลฮะซะนัยน์

ด้วยพระนามแห่งพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเมตตากรุณายิ่ง

เรื่องที่จะอภิปรายกันในตอนนี้ ก็คือ ทรรศนะของศาสนาที่มีต่อ “โลก ” แน่ละ การอภิปรายของเราจะกำจัดอยู่แต่เพียงทรรศนะของอิสลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแนวทางของตรรกวิทยา ซึ่งแนวทางนี้ได้ถูกใช้อยู่ในพระมหาคัมภีร์กุรอานอันบริสุทธิ์

ควรจะเข้าใจได้ด้วยว่า แนวทางเชิงตรรกวิทยานี้เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะในบรรดาเรื่องราวที่มีการเทศนาและการบรรยายทางศาสนานั้น เรื่องที่พูดกันอยู่ทั่วไปก็คือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโลก

“โลก” ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นหัวข้อใหญ่ คือ “ความเลวร้ายของโลก ” “ ข้อแนะนำให้ปฏิเสธและละเว้นจากเรื่องทางโลก ” และอื่นๆ เมื่อใดก็ตามที่บุคคลได้รับการกระตุ้นให้เป็นนักเผยแพร่และบรรยายแก่ประชาชนสิ่งแรกที่เข้ามาในจิตใจของบุคคล เช่นนี้ คือ ความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้บทกวีบางบทหรือบทร้อยแก้วหรือคำสอนอันบริสุทธิ์บางอย่างเกี่ยวกับโลก

ดังนั้น เมื่อมนุษย์ชาติ จะมิได้รับฟังเรื่องใดเท่ากับเรื่องนี้และในเมื่อเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับศีลธรรมและจริยธรรมและกับวิถีทางที่ผู้คนต้องประสบในชีวิตประจำวันแล้ว มันจึงเป็นเรื่องเบื้องต้นที่สำคัญ เป็นเรื่องที่เมื่อตีความหมายด้วยการใช้เหตุผลแล้วจะมีผลในการขัดเกลาความประพฤติด้านจริยธรรมให้สมดุลซึ่งรวมถึงการนับถือตนเอง ทัศนคติที่สูงส่ง ความเจริญรุ่งเรืองและความสัมพันธ์ที่ดีภายในสังคม

อย่างไรก็ตาม เมื่อมันถูกตีความอย่างผิดๆ ก็จะเป็นเหตุให้เกิดความมึนงงและการละเลยไม่แยแสต่อความรู้สึกใดๆ เป็นที่มาแห่งความโชคร้าย หมดความหวังทั้งมวลและเป็นความทุกข์ยากของบุคคลและสังคมด้วย

การตีความอย่างผิดๆ ของผู้ถือสันโดษ

เป็นเรื่องที่น่าเสียใจว่าการตีความในแบบหลังนี้ได้แพร่ขยายออกไป ข้อแนะนำ คำเทศนา และบทกวีทางประวัติศาสตร์และร้อยแก้วในเรื่องเหล่านี้จะปรากฎอยู่เสมอในรูปแบบที่สองเหตุผลในเรื่องนี้มีอยู่สองประการ ประการที่หนึ่ง ก็คือ อิทธิพลของความคิดที่ไม่ใช่แบบอิสลามกับปรัชญาที่อาศัยมุมมองในแง่ร้ายต่อโลกและต่อความมีอยู่ทางวัตถุและต่อกิจการทางโลกซึ่งแพร่หลายอยู่ในหมู่มุสลิม

เนื่องมาจากการผสมผสานกันของผู้คนที่แตกต่างกันภายในชุมชนมุสลิม เหตุผลอื่นคือเหตุการณ์ทางประวิติศาสตร์ที่ไม่น่าชื่นชม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาเหตุด้านสังคมที่ปรากฎอยู่เหนือบรรยากาศของอิสลามตลอดหนึ่งพันสี่ร้อยปีที่ผ่านมาแล้ว

อย่างไรก็ตาม เราจะต้องมองผ่านเรื่องเหล่านี้ไปเพื่อมาตรวจสอบอย่างละเอียดถึงตรรกวิทยาของพระมหาคัมภีร์กุรอานอันบริสุทธิ์ เราจะต้องดูว่าปรัชญาในแง่ร้ายเหล่านี้มีอยู่ในพระมหาคัมภีร์กุรอานเองหรือว่ามันเป็นเพียงการเสแสร้งแต่งขึ้นมา

พระมหาคัมภีร์กุรอานแนะนำว่า “โลก ” นั่นคือ ที่อยู่ชั่วคราว ไม่มีค่าควรแก่ความหวังและความปรารถนาตัวอย่างของโองการนี้ได้บอกเราว่า “โลก ” นั่นคือ ที่อยู่ชั่วคราว ไม่มีค่าควรแก่ความหวังและความปรารถนาตัวอย่างของโองการนี้ได้บอกเราว่า

“อันทรัพย์สมบัติและบรรดาลูกๆ นั้น เป็นเพียงสิ่งประดับในชีวิตทางโลกนี้เท่านั้น แต่การกระทำที่ดีย่อมเป็นสิ่งไม่ตายย่อมประเสริฐกว่าในพระผู้อภิบาลของเจ้าซึ่งเกี่ยวข้องกับการตอบแทนและความหวัง ” (๑๘: ๔๖)

กระนั้นก็ตาม ถึงแม้ว่าพระมหาคัมภีร์กุรอานจะถือว่าโลกนี้ไม่มีค่าควรแก่ความหวังและความปรารถนาของมนุษย์เราก็ไม่เคยได้รับการบอกเล่าว่าสรรพสิ่งที่มีอยู่และสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นทั้งหลาย – ทั้งแผ่นฟ้า ผืนดิน ภูเขา แม่น้ำ ทะเล ที่ราบ ป่า ทะเลทราย พืชผัก สัตว์ และเขตแดนของความมีอยู่ของมนุษย์และระบบทั้งหลายของมัน ความเคลื่อนไหว และการพัฒนาในปัจจุบัน - ว่าเป็นเรื่องไม่ดี ไร้ผลและไร้ประโยชน์

ตรงกันข้ามพระมหาคัมภีร์อันกุรอานแสดงถึงกฏระเบียบอันมีระเบียบอันมีระบบ นั่นคือ การสร้างในลักษณะเป็นระบบอันถูกต้องและยุติธรรม และพระผู้เป็นเจ้าได้ทรงบอกแก่เราว่า

“เรามิได้สร้างฟากฟ้าและพื้นดิน รวมทั้งสรรพสิ่งระหว่างทั้งสองนั้นเพียงเพื่อความสนุกสนาน ” (๔๔: ๓๘)

ยิ่งกว่านั้นในคัมภีร์อัลกุรอาน มีการให้สัตย์สาบาน โดยส่วนหนึ่งของการสร้าง นี่เน้นถึงจุดที่ว่า โลกทางกายภาพเองนั้นมีความหมายอย่างยิ่ง คำสาบานอย่างเช่น ขอยืนยันด้วยดวงตะวันและแสงสว่างของมันและดวงจันทร์เมื่อมันโครจรตามดวงตะวัน ( ๙๑ : ๑-๒ ) ขอยืนยันด้วยต้นมะเดื่อและต้นมะกอก และภูเขาซีนาย และเมืองอันปลอดภัยนี้ (มักกะฮ์) ( ๙๕ : ๑-๓ )

“ขอยืนยันด้วยบรรดาม้าที่ส่งเสียงหอบขณะวิ่ง …” (๑๐๐ : ๑ ) “และชีวิต (มนุษย์) …” ( ๙๑ : ๗ ) แล้วเรายังได้รับการบอกเล่าในพระมหาคัมภีร์อันกุรอานว่า “เจ้าจักไม่เห็นเลยว่าในการบันดาลของพระผู้ทรงเมตตายิ่ง (เราะห์มาน) นั้น

จะมีความขัดแย้งกันเอง แล้วจงหันสายตากลับมาพิเคราะห์อีกเถิดว่าเจ้าเห็นความบกพร่องบ้างไหม ” (๖๗ : ๓ )

เป็นเรื่องสำคัญว่า ทรรศนะในแง่ร้ายเกี่ยวกับการสร้างและวงจรและระเบียบอันเป็นระเบียบของโลกนั้นขัดแย้งกับความคิดของอิสลาม นั่นคือแก่นแท้แห่งความคิดอันสำคัญของอิสลามคือหลักของเตาฮีด (เอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า ทฤษฎีในด้านร้ายเหล่านี้สามารถมีอยู่ได้โดยอาศัยลัทธิวัตถุนิยมและการปฏิเสธแหล่งความจริง ความยุติธรรมและเหตุผล หรือวางอยู่บนหลักการที่นักปรัชญาบางคนแหล่งลัทธิที่ถือสิ่งที่เป็นคู่ถืออยู่เท่านั้น นั่นก็คือ แหล่งกำเนิดแห่งชีวิตสองแหล่งซึ่งขัดกัน อย่างหนึ่งเป็นแหล่งแห่งความดี ส่วนอีกแหล่งหนึ่งเป็นแหล่งแห่งความชั่วร้าย

อย่างไรก็ตาม ในศาสนาที่ถือพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวนั้น ความเชื่อในเรื่องความเมตตาและปรานีทั้งหลาย การรู้จักและรู้สึกได้ถึงพระผู้เป็นเจ้า จึงไม่มีที่ว่างให้แก่ความคิดในแง่ร้ายตามที่ได้กล่าวไว้อย่างแจ่มแจ้งในโองการหลายโองการในพระมหาคัมภีร์กุรอาน

สิ่งที่ได้บอกไว้ในพระมหาคัมภีร์กุรอานเกี่ยวกับโลก ก็คือ โลกนั้นเป็นสิ่งที่มีกำหนดตายตัวและต้องแตกทำลายไป และโลกเปรียบเหมือนต้นไม้ คือ พุ่งขึ้นมาจากพื้นดินหลังฝนตกแล้วก็เจริญเติบโตขึ้น หลังจากนั้น ก็จะกลายเป็นสีเหลืองและแห้งเหี่ยวลงแล้วค่อยๆ แตกทำลายไปสิ้นนั้น อันที่จริงจะเชิดชูคุณค่ามนุษย์ให้สูงส่งขึ้น ด้วยวิธีนี้ เราได้รับการบอกเล่าว่า อย่าถือว่าโลกเป็นจุดสุดยอดแห่งความหวังและความปรารถนาทั้งสิ้นของเรา แต่ก็ไม่ได้เป็นเหตุผลให้ใครๆ คิดว่าโลกนี้เลวร้ายและน่าชังไปทั้งหมด

ดังนั้น จึงไม่มีนักวิชาการที่ดีคนใดของอิสลาม จะตีความตามโองการของพระมหาคัมภีร์กุรอานในข้อที่เกี่ยวกับโลกไปในทางที่ไม่ดีต่อโลกหรือขัดต่อวงจรและความเคลื่อนไหวของมันได้

การจูงใจให้สนใจในโลก

โองการของพระมหาคัมภีร์กุรอานที่เกี่ยวกับโลกนั้น มีการตีความกันไปหลายอย่าง หนึ่งในทรรศนะเหล่านี้ ก็คือ โลกในตัวมันเองแล้วมิได้มีความเลวร้าย ในเมื่อมันประกอบไปด้วยสิ่งต่างๆ ทางโลก ซึ่งได้แจ้งไว้ในพระมหาคัมภีร์กุรอาน โดยตัวมันเองไม่ได้เป็นสิ่งชั่วร้ายอะไร เพราะมันประกอบไปด้วยสัญลักษณ์ทั้งสิ้นขององค์พระผู้สร้าง ผู้ทรงเชิดชูเราขึ้นสู่ที่สูงพร้อมกับสิ่งเหล่านั้น ดังนั้น จึงไม่ได้เป็นสิ่งเลวร้าย

สิ่งที่เลวร้ายและน่าอับอายในทรรศนะนี้ ก็คือ ความหลงใหลและความปรารถนาในสิ่งเหล่านี้ ในทรรศนะนี้ แต่ไม่ใช่ตัวของโลกเองหรอกที่เลวทราม และเรารู้ว่าการตีความเช่นนี้ มีอยู่ในบทกวีและร้อยแก้วจำนวนนับไม่ถ้วน

และนี่คือ การตีความที่แพร่หลายมากที่สุด มุสลิมส่วนมากเมื่อถูกถามถึงความเลวร้ายของโลก ก็จะตอบว่า ความรักที่มีต่อโลกเป็นเรื่องเลวทราม และโลกโดยตัวของมันเองแล้วเป็นของดี มิฉะนั้น พระผู้เป็นเจ้าคงจะไม่สร้างมันขึ้นมา อย่างไรก็ตาม เมื่อเราพิจารณาถึงการตีความนี้อย่างรอบคอบแล้ว เราก็จะพบว่าทั้งๆ ที่โลกได้รับความนิยม แต่ก็ไม่ใช่ว่ามันจะไม่มีปัญหาเอาเสียเลย และจะเห็นว่ามันไม่เป็นไปตามการตีความอัลกุรอานอย่างแท้จริง

ประการแรก เราต้องมองดูก่อนว่า ความติดใจซึ่งมนุษย์มีต่อโลกนั้น เป็นธรรมชาติและเป็นความติดใจตามสัญชาติญาณหรือไม่ – นั่นคือ ความติดใจนั้นถูกสร้างขึ้นมาให้เป็นหนึ่งในสัญชาติญาณของมนุษย์หรือเปล่า ? หรือว่ามันจะปรากฎขึ้นมาในตัวคนในฐานะเป็นผลของเหตุการณ์เฉพาะตอนหลัง เหมือนอย่างการสร้างและเลียนแบบนิสัยตัวอย่างเช่น พ่อแม่ รักลูกในขณะที่เด็กก็รักพ่อแม่ของเขา ผู้หญิงและผู้ชายต่างก็ถูกดึงดูดจากกันและกันเพราะเป็นเพศตรงข้ามกัน ทุกๆ คนถูกจูงใจด้วยทรัพย์สมบัติและความร่ารวย ความเคารพนับถือ ความมีชื่อเสียงและอื่นๆ ความดึงดูดใจเป็นเรื่องธรรมดาและเป็นสัญชาติญาณของมนุษย์ชาติหรือไม่ ? หรือว่าเป็นผลที่เกิดมาโดยบังเอิญของการเลี้ยงดูที่ไม่ดี ?

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ความดึงดูดใจและความรักเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมชาติและเรื่องของสัญชาติญาณ ดังนั้น เป็นไปได้อย่างไรว่า มันจะเลวทรามและชั่วร้าย และจะกลายเป็นสิ่งที่เราจะต้องผลักใสมันออกไปได้อย่างไร ? ความจูงใจเหล่านี้มีมาแต่กำไเนิดในจิตใจของมนุษย์ ในทำนองเดียวกัน ที่เราไม่อาจกล่าวได้ว่า ส่วนใดส่วนหนึ่งของจักรวาลรอบๆ ตัวเราเป็นสิ่งชั่วหรือเลวทราม หรือว่า การสร้างสรรค์นั้นเป็นไปโดยปราศจากความรอบรู้ (ฮิกมะฮฺ) ของพระผู้เป็นเจ้า ในทานองเดียวกัน เราก็ไม่อาจกล่าวได้ว่า ส่วนหนึ่งส่วนใดของมนุษย์จำเป็นจะต้องเลวร้าย หรือการสร้างมนุษย์ขึ้นมานั้นปราศจากความรอบรู้เช่นเดียวกันเพราะไม่มีเส้นโลหิตเล็กๆ หรือแขนขาหรือแม้แต่เส้นผมของมนุษย์ที่เป็นส่วนเกินหรือไร้ประโยชน์อยู่เลย ดังนั้น มันจึงเป็นพลัง สัญชาติญาณและเป็นส่วนหนึ่งของดวงวิญญาณของมนุษย์

ในบรรดาความปรารถนาและความดึงดูดใจทั้งหลายนั้นไม่มีความปรารถนาอันเป็นธรรรมชาติและสัญชาติญาณหรือความดึงดูดใจที่ถูกสร้างขึ้นโดยปราศจากความรอบรู้ ปราศจากวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายเลย ความปรารถนาอันเป็นธรรมชาติและสัญชาติญาณทั้งหลายที่เกิดขึ้นด้วยความรอบรู้ของพระผู้เป็นเจ้า และหากว่าไม่มีสิ่งเหล่านี้อยู่ พื้นฐานของชีวิตทั้งหมดก็จะแตกสลายไป

ยิ่งกว่านั้นความรักเหล่านี้ได้ถูกกล่าวถึงว่า เป็นสัญลักษณ์แห่งความรอบรู้ของพระผู้เป็นเจ้าหรือฮิกมะฮ์ในพระมหาคัมภีร์กุรอานเอง ตัวอย่างเช่น

ในซูเราะฮ์หนึ่งที่กล่าวถึงการสร้างมนุษย์ การนอนหรือสิ่งอื่นๆ ที่ถูกกล่าวถึงในฐานะที่เป็นเครื่องหมายแห่งความรอบรู้ของพระผู้เป็นเจ้านั้นเราได้รับการบอกเล่าว่า

“และ สัญลักษณ์บางอย่างของพระองค์ คือ การที่พระองค์ทรงบันดาลความรักและเมตตาให้มีขึ้นระหว่างพวกเจ้า แท้จริงในนั้นย่อมเป็นนานาสัญลักษณ์สำหรับกลุ่มชนที่ตริตรอง ”

(๓๐:๒๑)

ถ้าหากว่าความรักสามีหรือภรรยาเป็นเรื่องเลวทรามแล้ว มันก็คงไม่ได้รับการบอกกล่าวไว้ในโองการนี้ในฐานะที่เป็นเครื่องหมายอันสูงส่งของพระผู้เป็นเจ้า

เป็นที่แลเห็นได้อย่างชัดเจนแล้วว่า ความรักใคร่เอ็นดูเหล่านี้ได้ถูกบรรจุไว้ในธรรมชาติของมนุษย์ และเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า มันเป็นวิถีทางสำหรับกิจการทางโลก เพื่อจะได้มีระเบียบและกระแสทางที่เป็นระบบ หากว่าความรักเหล่านี้ไม่มีอยู่แล้วก็จะไม่มีการสืบต่อของผู้คนมาเป็นรุ่นๆ ชีวิตหรือวัฒนธรรมก็จะไม่ก้าวหน้าไปได้ หรือสัญชาติญาณของมนุษย์และการงานการอุตสาหกรรมหรือการต่อสู้ใด ๆ ก็คงมีอยู่ไม่ได้ กล่าวโดยสังเขป ก็คือมนุษยชาติจะไม่มีอยู่บนหน้าแผ่นดิน

การสละโลก

ถ้าเราพิจารณาถึงการตีความและทรรศนะเกี่ยวกับโลกทั้งสองอย่างนี้ – อย่างหนึ่ง คือ ทรรศนะของผู้ที่มองโลกและความเพลิดเพลินเจริญใจของมันว่าเป็นสิ่งชั่วร้ายเลวทราม อีกทรรศนะหนึ่ง คือ ผู้ที่ถือว่าตัวของโลกเองเป็นสิ่งที่ดี แต่ความยั่วยวนของมันและความหลงใหลไปในโลกนั้นเป็นสิ่งเลวทราม ขอให้เรามาพิจารณากันว่า โลกให้ความสุขต่อมนุษย์และปลดปล่อยเขาจากความทุกข์ยากโดยวิธีใด

บรรดาผู้มีทรรศนะในทางลบเกี่ยวกับโลกและความเป็นอยู่ทั้งหลาย ต่างถือว่า ความมีอยู่และชีวิตเป็นเรื่องร้ายกาจเลวทรามไม่มีทางแก้ไขใดๆ นอกจาก ยอมรับความผิดหวังไร้ที่หมายและฆ่าตัวตาย นี่เป็นทรรศนะที่อ่อนแอที่สุดและคนที่มีความทุกข์มากที่สุดในโลก คือ ผู้ที่มีทรรศนะเช่นนี้

๑๐

อีกทางหนึ่งผู้มองโลกว่า เป็นของดี แต่มีทรรศนะว่าความยั่วยวนใจและความหลงใหลที่มีต่อมันเป็นเรื่องเลวร้ายนั้นกล่าวว่า การสร้างและการเผา การก่อสร้างและทาลายเป็นสิ่งเปล่าประโยชน์โดยสิ้นเชิงเช่นเดียวกันและหนทางไปสู่ความสุขและอิสรภาพของมนุษย์นั้นอยู่ที่การต่อสู้กับความปรารถนาและความรักของเขา และการตัดรากเหง้าของมันออกเสียจากตัวตนของเขา จากทรรศนะนี้มนุษย์ก็จะเป็นอิสระจากความเลวทรามร้ายกาจทั้งปวง กลายเป็นผู้ที่มีความสุขอยู่ในทรวงอก

ทรรศนะแรก ไม่จำเป็นต้องมีคำตอบใด ๆ แต่คำตอบต่อทรรศนะที่สองก็คือ

ประการแรก

ทฤษฎีทางปรัชญาที่ลึกซึ้งล่าสุดได้รับการยืนยันโดยจิตวิทยาว่า สัญชาติญาณตามธรรมชาติและความรักที่มีอยู่ในจิตใจมนุษย์นั้น ไม่อาจจะระงับหรือขจัดตัดรอนให้หมดไปได้ เท่าที่จะทำได้มากที่สุด ก็คือโดยอาศัยการบำเพ็ญทุกขกริยา คนที่บำเพ็ญทุกขกริยาจะถูกนำไปสู่ความสำนึกภายใน แต่จะปรากฎตัวออกมาในรูปแบบที่มีอันตรายโดยผ่านช่องทางที่ผิดธรรมชาติ ก่อให้เกิดผลข้างเคียง คือ การทำงานอย่างผิดพลาดของระบบประสาทและจิตวิญญาณ

ประการที่สอง

หากว่าสามารถจะตัดขาดสิ่งนั้นได้ก็จะเป็นอันตรายร้อยเปอร์เซ็นต์เช่นเดียวกับการตัดแขนขาหรืออวัยวะที่สำคัญออกไป

๑๑

สัญชาติญาณตามธรรมชาติของมนุษย์แต่ละอย่างและทุกอย่างนั้นเป็นพลังที่ได้ถูกบรรจุไว้ในตัวเรา เพื่อจะได้กระตุ้นให้มีการกระทำและการเคลื่อนไหว ในการสร้างมันขึ้นมานั้นไม่ใช่เรื่อง เล่นๆ หรือไร้ประโยชน์ แล้วเพราะเหตุใดเล่าแหล่งกำเนิดของพลังเหล่านี้ จึงควรจะถูกละเลย หรือถูกทาลายให้พินาศไป ?

ตรรกวิทยาแห่งพระมหาคัมภีร์กุรอาน

ข้อความจากพระมหาคัมภีร์กุรอาน ก็คือ ความปรารถนาและความรักที่มีต่อโลกนั้น ไม่จำเป็นจะต้องเป็นสิ่งเลวทราม พระมหาคัมภีร์กุรอานไม่เคยวางแนวทางใดๆ ที่จะนำความสุขมาให้ด้วยการตัดหรือทำลายความปรารถนาตามธรรมชาติ และความติดใจของเราลงไปเลย

สิ่งที่พระมหาคัมภีร์กุรอานวิจารณ์และตำหนิ ก็คือ ความรักที่มากมายล้นเหลือเกินไป หมายความถึง การที่ขึ้นอยู่กับโลกของวัตถุด้วยความพึงพอใจ และแน่ใจอยู่กับวัตถุเพียงอย่างเดียว พระมหาคัมภีร์กุรอานบอกเราว่า

“อันทรัพย์สมบัติและบรรดาลูกๆ นั้น เป็นเพียงสิ่งประดับในชีวิตทางโลกนี้เท่านั้นแต่การกระทำที่ดีย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ตายและย่อมประเสริฐกว่าในทรรศนะขององค์ผู้อภิบาลของเจ้าซึ่งเกี่ยวข้องกับการตอบแทนและความหวัง ( ๑๘:๔๖)

๑๒

และคำว่า “ความหวัง ” ในตอนท้ายของโองการนี้ ทำให้เราเข้าใจได้อย่างชัดเจนว่าโองการนี้เกี่ยวกับจุดหมายและอุดมคติของมนุษย์

พระมหาคัมภีร์กุรอานอันบริสุทธิ์กล่าวถึงผู้คนที่ชอบทางโลกด้วยคำต่อไปนี้ คือ

“…แท้จริงบรรดาผู้ไม่มุ่งหวังที่จะพบกับเรา และมีความพึงพอใจในชีวิตทางโลกนี้และได้พบความสงบในชีวิตเช่นนั้น คนเหล่านี้ คือ ผู้ละเลยต่อสัญลักษณ์ต่างๆ ของเรา ” (๑๐:๗)

โองการนี้ตำหนิการที่มนุษย์มีความสุขและพอใจอยู่แต่เฉพาะวัตถุ ไม่เหลือความคิดใด ๆ ได้เลยสาหรับโลกหน้าหรือสำหรับพระผู้เป็นเจ้า และหาความสงบจากชีวิตทางวัตถุเท่านั้น ดังนั้น เหล่านี้จึงเป็นลักษณะของผู้ที่มุ่งทางโลก ในความหมายที่น่าติเตียน

ในตอนอื่นของพระมหาคัมภีร์กุรอาน เราได้รับการบอกเล่าว่า

“ดังนั้นเจ้าจงหันออกจากบุคคลที่หันเหจากคำตักเตือนของเราเถิด และเขามิได้มุ่งหมายสิ่งใดทั้งสิ้น นอกจากชีวิตทางโลกนี้เท่านั้น นั่นแหละ คือ ขอบเขตแห่งความรู้ของพวกเขา ” (๕๓: ๒๙-๓๐)

อีกครั้งหนึ่งที่มีการกล่าวถึงมนุษย์ และตาหนิบรรดาผู้ซึ่งไม่ปรารถนา และไม่มีจุดหมายใดมากไปกว่าโลกทางวัตถุ และบรรดาผู้ที่ความคิดของเขามิได้ไปไกลเกินกว่านี้

๑๓

หรืออีกแห่งว่า

“ความลุ่มหลงในความใคร่ต่างๆ คือ ความลุ่มหลงในสตรี บุตร ในเงินและทองซึ่งมีอยู่ในทรัพย์สมบัติที่สะสมไว้ในม้าฝีเท้าจัด ในปศุสัตว์และไร่นา เหล่านี้คือ สิ่งซึ่งอำนวยความสุขในชีวิตทางโลก แต่จุดหมายที่ดีที่สุด คือการมุ่งไปสู่พระผู้เป็นเจ้า ” (๓:๑๔)

โองการนี้ ก็เช่นกันมิได้ตำหนิเฉพาะความปรารถนาตามธรรมชาติและความรักเท่านั้น แต่ได้ตำหนิไปถึงเรื่องที่ว่า ความรักที่มีต่อสิ่งของที่ปรารถนานั้นถูกทำให้สวยงามตามทัศนะของคนบางคนและถูกถือว่าเป็นสิ่งยิ่งใหญ่และสวยงามมากกว่าที่มันเป็นอยู่จริง ๆ และได้ทำให้คนบางคนหลงเสน่ห์ของมัน

๑๔

กลายเป็นความคิดในอุดมคติแต่อย่างเดียวของพวกเขาเหล่านั้น ในทำนองเดียวกัน เราได้รับการบอกเล่าว่า “เจ้าพอใจกับชีวิตในโลกนี้ แทนที่จะพอใจกับชีวิตในโลกหน้าเช่นนั้นหรือ ? ส่วนของชีวิตในโลกนี้

เมื่อเปรียบเทียบกับชีวิตในโลกหน้านั้นมิได้เป็นสิ่งใดเลยนอกจากสิ่งน้อยนิด ”

ความมุ่งหมายของโองการเหล่านี้ก็เพื่อจะวิจารณ์ตำหนิติเตียน ความพึงใจและการหลงเสน่ห์ทางโลกแต่อย่างเดียว

ความรักที่มีต่อทรัพย์สมบัติ ลูกหลาน ส่วนประกอบอื่นๆ แห่งชีวิตทางโลกนั้น แตกต่างจากความพึงพอใจในสิ่งเหล่านั้นแต่อย่างเดียว และถือว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นศูนย์กลางแห่งความหวัง และความปรารถนาของตน

เมื่อจุดหมายมันมีไว้เพื่อป้องกันมนุษย์จากการถูกผูกขาดโดยความปรารถนาทางโลกทางแก้ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่การตำหนิติเตียน โจมตีหรือพยายามที่จะถอนรากถอนโคนธรรมชาติทั้งหลายออกไป ตรงกันข้าม ทางแก้ปัญหาอยู่ที่การรอดพ้นและการได้รับประโยชน์จากห่วงโซ่แห่งการเป็นอิสระ ความปรารถนาทางธรรมชาติ ซึ่งปรากฏขึ้นมา หลังจากความปรารถนาทางวัตถุซึ่งจาเป็นต้องนำมันมาสู่ชีวิตและส่งเสริมมัน

๑๕

ดังนั้น ความมุ่งหมายของคำสอนทางศาสนา จะต้องเป็นไปเพื่อปลุกความรู้สึกอันสูงส่งเหล่านี้ของมนุษย์ให้ตื่นขึ้น อันเป็นความรู้สึกที่สูงส่งและมีเกียรติ มีกำเนิดมาจากแหล่งที่สูงส่ง ความรู้สึกทางวัตถุ และจำเป็นต้องปลุกขึ้นมา ความรู้สึกเหล่านี้คือความรู้สึกทางวัตถุและจำเป็นต้องปลุกขึ้นมา ความรู้สึกเหล่านี้ คือ ความรู้สึกทางด้านจิตวิญญาณและการกระตุ้น ปลุกเร้าที่จำเป็นนั้นจะต้องได้มาจากศาสนา

ในความรัก ความชอบแต่ละอันและทุกอัน เปรียบเสมือนน้ำพุที่ไหลมาจากดวงวิญญาณ ความมุ่งหมายของศาสนานั้นไม่ต้องการกีดขวางกระแสแห่งความดึงดูดทางวัตถุ ความมุ่งหมายทางศาสนา ก็คือ การเปิด และทำให้น้ำพุอื่นๆ ที่ไหลอยู่กลายเป็นน้ำพุในด้านจิตวิญญาณ หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งศาสนานั้นจะต้องไม่จำกัดและลดพลังทางความรู้สึกทางเพศซึ่งถูกสร้างขึ้นมาคู่กับการสร้างอื่นๆ นอกจากนี้ ด้วยความรอบรู้ของพระผู้เป็นเจ้า สิ่งที่ศาสนาจะต้องทำ ก็คือ เป็นอิสระจากห่วงโซ่ที่แตกต่างกันทางพลังจิตวิญญาณ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับการปลดปล่อย

เรื่องนี้สามารถทำให้เข้าใจชัดเจน โดยตัวอย่างง่ายๆ : สมมติว่า ชายคนหนึ่งมีบุตรชายคนหนึ่ง ซึ่งเขาต้องส่งบุตรชายคนนั้นไปโรงเรียน และหลังจากนั้น เขาเห็นว่า ความสนใจทั้งสิ้นของบุตรอยู่กับการเล่นและการกินเท่านั้น ในกรณีนี้

๑๖

จึงเป็นเรื่องธรรมดาว่า ชายผู้นั้นย่อมไม่มีความสุขและจะไม่พูดกับบุตรอย่างดี เขาจะตำหนิติเตียนบุตรชายและบางทีอาจเรียกเขาว่าเป็นคนตะกละตะกรามไร้ประโยชน์ก็ได้ เขาทำเช่นนี้ก็เพราะเขาต้องการให้บุตรชายสนใจในบทเรียนและหนังสือ สนใจในการอ่านการเขียนและอื่นๆ และตามธรรมชาติของมนุษย์แล้ว ความสนใจในสิ่งเหล่านี้จะปรากฏขึ้นในเด็กๆ หลังความสนใจในการเล่นและการกิน

ยิ่งกว่านั้น ความสนใจที่สูงกว่านี้จำเป็นจะต้องได้รับการกระตุ้นและการส่งเสริม สัญชาติญาณความปรารถนาในความรู้นั้นมีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกผู้ทุกคน แต่จะสงบนิ่งอยู่อย่างช่วยไม่ได้จนกว่ามันจะถูกปลุกเร้า

อย่างไรก็ตาม ไม่มีเหตุผลใดที่จะคิดว่า บิดาต้องการที่จะให้บุตรชายหยุดเล่นหรือหยุดกิน หากวันหนึ่งเขาได้พบว่าบุตรชายของเขาหมดความสนใจในการเล่นและในอาหารแล้ว เขาก็จะรู้สึกลำบากใจทันที และอาจทึกทักเอาว่าเป็นขั้นตอนของความป่วยไข้ที่แสดงออกมาและอาจส่งบุตรไปหาหมอก็ได้ บิดารู้ว่าในขณะที่บุตรชายของเขาแข็งแรงขึ้นนั้น เขาจะต้องสนใจในการไปโรงเรียนและในหนังสือ แต่จะต้องมีความสุข มีการเล่นการกินในเวลาที่เหมาะสมด้วย

๑๗

ตรรกวิทยาและโลกทัศน์ของพระมหาคัมภีร์กุรอาน

แนวทางตรรกวิทยา ซึ่งพระมหาคัมภีร์กุรอานแสดงให้เห็นในเรื่องโลกและข้อห้าม มิให้คนเราอุทิศความสนใจทั้งหมดต่อโลกนั้น เป็นสาเหตุบางอย่างของทรรศนะ แห่งพระมหาคัมภีร์กุรอานเกี่ยวกับโลกมีอยู่ว่า ความสุขของชีวิตมิได้จากัดอยู่แต่วัตถุและชีวิตทางโลกเท่านั้น ในขณะที่ยอมรับความงดงามของโลกนี้ในระดับที่เหมาะสมแล้ว

พระมหาคัมภีร์กุรอานยังกล่าวถึงการมีอยู่ของสิ่งอื่นๆ ที่ยิ่งใหญ่กว่า จนเมื่อเปรียบเทียบกับโลกนี้แล้ว โลกนี้แทบจะไม่ใช่อะไรเลย

ในทำนองเดียวกันในเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์นั้น พระมหาคัมภีร์กุรอานยืนยันว่า ชีวิตนี้มิได้จำกัดอยู่แค่ขอบเขต ของชีวิตในโลกนี้ แต่มนุษย์มีชีวิตในโลกหน้าด้วย ตามความคิดของพระมหาคัมภีร์กุรอานแล้ว ขอบเขตแห่งชีวิตมนุษย์นั้นขยายออกไปเกินกว่าชีวิตของโลกนี้จนถึงขอบเขตที่ไม่รู้จบ ดังนั้นจึงเป็นที่กระจ่างชัดว่ามนุษย์จะต้องไม่มองเห็นว่าโลกเป็นความปรารถนาสุดยอดทั้งหมดทั้งสิ้นของเขา

ดังนั้น ความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว ในฐานะที่เป็นสาขาหนึ่งของโลกทัศน์และปรัชญาของอิสลามจึงไม่ยอมให้เรามองโลกและกามวิสัยในแง่ร้าย ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ดังนั้น จึงต้องมีความคิดของอิสลาม อีกสาขาหนึ่ง ซึ่งชี้ให้เห็นความจำเป็นที่จุดหมายและความหวังสูงสุดของมนุษย์จะต้องอยู่เหนือโลกและกิจการทางโลก นี่ก็คือ สาขาที่เกี่ยวกับความรู้ว่ามีโลกหน้า

๑๘

ลัทธิวัตถุนิยมและจริยธรรม

นอกจากนี้ สาขาอื่นที่สำคัญของสานักคิดอิสลามก็ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการลดความสำคัญของโลกแห่งวัตถุลงไปด้วย นั่นคือ สาขา จริยธรรม และการขัดเกลาศีลธรรม

นอกจากเป็นที่ยอมรับของสำนักคิดอื่นแล้ว สาขานี้ยังมีความคิดว่าเพื่อจะทำให้สังคมของมนุษย์เป็นสังคมที่มีอารยธรรมจะต้องมีแนวทางบางอย่างที่ทาให้ความละโมภอยู่ในสายกลาง และชักชวนผู้คนให้รับเอาความปรารถนาด้านจริยธรรมและจิตวิญญาณ ไฟแห่งตัณหาและความละโมภโลภมากยิ่งลุกโชนแรงขึ้นเท่าไร นอกจากจะไม่เพิ่มสิ่งใดให้แก่ความเข้มแข็งของสังคมแล้ว สังคมยิ่งจะถูกทำลายและทำให้เสียหายไปได้ง่ายๆ ด้วย

ในเรื่องความสุขนั้นถึงแม้ว่าคนเราไม่ควรจะมีความสุขจนสุดกู่และความสุขและความรุ่งเรืองนั้นอยู่ที่การละเว้นจากสิ่งใดๆ เกือบทุกสิ่งเหมือนอย่างที่นักปรัชญาบางคนคิดก็ตาม แต่ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า ความไม่สนใจต่อโลกและความสำราญของมันนั้นเป็นเงื่อนไขอันแรกของความสุขที่แท้จริงทั้งในส่วนบุคคลและสังคม

ในที่นี้ เราจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาอื่นๆ ซึ่งจะต้องมีการอธิบาย ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในเรื่องการป้องกันมิให้มนุษย์มีความปรารถนาและติดตรึงอยู่แค่โลกฝ่ายวัตถุเท่านั้นเป็นไปได้ที่ใครจะคิดคลางแคลงใจว่าเราควรจะรักโลกทั้งสองโลก

๑๙

และอาจจะคิดสงสัยด้วยว่า อุดมคติของมนุษย์ที่มีความสมดุลย์เป็นอย่างดีนั้นจะต้องเป็นทั้งโลกวัตถุและพระผู้เป็นเจ้าอันเป็นลัทธิเชื่อในพระเจ้าหลายองค์

ย่อมไม่เป็นไปอย่างแน่นอน! นี่มิได้เป็นจุดหมายของอิสลาม จุดหมายของอิสลาม ก็คือ มนุษย์นั้นมีความสัมพันธ์ต่อสิ่งดึงดูด สิ่งดึงดูดซึ่งพระผู้เป็นเจ้าได้สร้างขึ้นมาในมนุษย์ตามความรอบรู้ของพระองค์ บรรดาศาสดาและอิมามได้รับการอำนวยพรจากสิ่งดึงดูดเดียวกันและพวกเขาได้ขอบพระคุณผู้เป็นเจ้าในสิ่งเหล่านี้ ไม่อาจเป็นไปได้ที่จะยุติความรู้สึกเหล่านี้และไม่ใช่ของดีด้วยที่จะยุติมัน ถ้าหากว่าความรู้สึกนั้นมีอยู่

มนุษย์นั้นมีความสามารถอื่นๆ ที่ไปไกลเกินกว่าความรักใคร่แบบโลกิยะ มีความสามารถที่จะมีอุดมคติ อุดมคติของมนุษย์ จะต้องไม่เป็นโลกวัตถุ ความรักและความชอบชนิดที่ไม่ดี ความปรารถนาและความรักเป็นรูปแบบหนึ่งของสติปัญญาที่อยู่ในระดับปัจจัยที่จำเป็นของชีวิต

อย่างไรก็ตาม ความฉลาดในการมีอุดมคติ เป็นความฉลาดพิเศษซึ่งมีแหล่งของมันอยู่ในแก่นแท้ของมนุษย์และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมนุษย์ บรรดาศาสดาไม่ได้มีมาเพื่อทำลายความปรารถนาและความรักหรือเพื่อให้ต้นตอของมันเหือดแห้งไปแต่อย่างใด สิ่งที่ท่านได้กระทำ คือ การขจัดโลกวัตถุออกไปจากตำแหน่งสุดยอดของอุดมคติของมนุษย์โดยยกเอาพระผู้เป็นเจ้าและโลกหน้าเข้ามาแทนที่มัน ในความจริงแล้ว บรรดาศาสดา ได้ทำงานเพื่อปกป้องโลกและความรู้สึกทางโลกิยะที่มีอยู่ มิให้ปล่อยให้ตำแหน่งตามธรรมชาติของมันเป็นเรื่องน่าสนใจน่าดึงดูดใจและน่าปรารถนา

๒๐

ซึ่งเป็นข้อผูกพันระหว่างมนุษย์และสิ่งที่อยู่รอบตัวเขาไปเสีย – ด้วยการส่งตำแหน่งนั้นผ่านไปยังที่ตั้งอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเรียกกันว่า หัวใจมนุษย์ ท่านศาสดามาเพื่อปกป้องโลกและชีวิตทางวัตถุธรรมมิให้เข้าไปครอบครองสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์และกั้นขวางการเดินทางไปสู่อนันตภาพอันสมบูรณ์ยิ่งของมนุษย์ได้

ดังนั้น เราจึงได้เห็นข้อความในพระมหาคัมภีร์กุรอานที่ว่า

“อัลลอฮฺไม่ทรงบันดาลสองหัวใจไว้ในร่างของชายคนเดียว ”

(๓๓:๔)

เราจะต้องไม่ทึกทักเอาว่า โองการนี้แสดงถึงว่า ถ้าหากเราไม่ถูกดึงดูดไปสู่พระผู้เป็นเจ้า อย่างเช่น สามีหรือภรรยาของเรา ลูกหลาน ทรัพย์สมบัติและอื่นๆ หามิได้ ปัญหามีอยู่ว่ามนุษย์จะต้องมีจุดหมายหนึ่งที่สูงสุดและเป็นจุดรวมสำหรับความปรารถนาของเขาอยู่จุดหนึ่ง การมีความรักในหลายๆ สิ่งในแก่นแท้นั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้แน่นอนและแน่ชัดอยู่ในตัวมันเองอยู่แล้ว แต่สองสิ่งที่ได้สามารถไปด้วยกันได้ ก็คือ การมีพระผู้เป็นเจ้าเป็นศูนย์กลางแห่งความหวังและความรารถนาและยังมีโลกอยู่ในฐานะนั้นอีกด้วย

๒๑

การเคารพสิทธิและความรังเกียจโลก

จากเนื้อหาแห่งกฎเกณฑ์ของอิสลามในเรื่องความยุติธรรมและความภักดีของบุคคลที่มีต่อกันและกันในเรื่องความยุติธรรมและหน้ที่ของบรรดาผู้นำและเจ้าหน้าที่ ในเรื่องการตัดสินและหน้าที่อื่นๆของผู้บริหารและผู้พิพากษา และปัญหาที่เกี่ยวกับหน้าที่ของพวกเขาและในเรื่องพยานนั้น

เป็นที่กระจ่างชัดว่า ในศาสนานี้สิทธิของบุคคลได้รับความเคารพในขอบเขตใดและการปฏิบัติของเขาถือว่าเป็นข้องบังคับในขอบเขตใดบ้าง

สิ่งนี้กระตุ้นให้เกิดคำถามและข้อสงสัยว่า สิทธิ์เหล่านี้จะได้รับการเคารพอย่างไรในอิสลาม เมื่อทฤษฎีทั้งหมดของอิสลามนั้นขึ้นอยู่อย่างชัดเจนกับความรังเกียจโลกและความน่าหลงใหลของมัน สิทธิของผู้คนที่มีต่อกันและกันนั้นเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมของชีวิตในโลก ตัวอย่างเช่น คนๆ หนึ่งไม่ควรหยิบฉวย และใช้ทรัพย์สมบัติของผู้อื่นใด เมื่อบุคคลผู้หนึ่งเห็นว่าสิ่งใดๆ ไม่มีค่า เขาก็ย่อมเห็นว่าสิ่งอื่นๆ ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องหรือขึ้นอยู่กับสิ่งนั้นก็ย่อมไม่มีค่าไปด้วย ดังนั้น เมื่อทรรศนะของอิสลามเห็นว่าตัวของโลกเองและชีวิตทางโลกนั้นไร้ค่า อิสลามจะถือว่าสิทธิที่เกี่ยวข้องกับโลกและชีวิตทางโลกมีความสำคัญและมีค่าควรแก่การเคารพได้อย่างไรได้ ?

๒๒

คุณค่าในตัวและคุณค่าที่สัมพันธ์กับสิ่งอื่น

ในการตอบปัญหาข้อนี้ จะต้องกล่าวเสียก่อนว่า เราจะต้องเข้าใจความหมายที่แท้จริงของทรรศนะของอิสลาม – ที่ว่าโลกไม่มีคุณค่าให้แจ่มแจ้งเสียก่อน ความคลุมเครือในเรื่องนี้จะนำไปสู่ความสงสัยและความหวาดหวั่น หากว่าจะพิจารณาถึงคุณค่าและความมีค่าของวัตถุเองแล้วทุกอย่างย่อมมีค่า อีกด้านหนึ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างมีค่าในตัวของมันเอง เพราะทุกๆ สิ่งเป็นสิ่งหนึ่งของการสร้าง และการสร้างในตัวของมันแล้ว คือ แก่นแท้ของคุณค่านั่นเอง นักปรัชญากล่าวว่า ความมีอยู่นั้นมีคุณประโยชน์เท่าเทียมกัน

อย่างไรก็ตาม เมื่อเราพิจารณาถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใด ในด้านความสัมพันธ์กับสิ่งอื่นในฐานะที่มีผลต่ออีกสิ่งหนึ่ง เราก็จะเห็นว่าเป็นไปได้ที่วัตถุสิ่งหนึ่งในความสัมพันธ์กับวัตถุอื่นจะเป็นสิ่งที่ค่อนข้างจะไร้ค่า นั่นก็คือ เป็นไปได้ที่มันจะไม่มีผลต่อสิ่งอื่นเลยไม่ว่าจะเป็นด้านผลประโยชน์หรือความสูญเสีย อีกด้านหนึ่ง ก็เป็นไปได้เท่าๆ กันที่มันจะมีค่า ในเมื่อมันมีผลเมื่อเป็นผลบวก

เราก็กล่าวว่า มันมีค่าเป็นบวก และหากว่ามีผลลบ เราก็กล่าวว่ามีค่าลบ ด้วยการมองดูที่ค่าบวกซึ่งเป็นคุณค่าของสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวกับสิ่งอื่น-เราจะเห็นได้ว่ามันอาจจะเป็นสิ่งหนึ่งที่มีสองรูปแบบ แต่ได้รับการพิจารณาแต่ด้านเดียว ตัวอย่างเช่น ความหมายที่เรากล่าวว่า เงินมีค่าต่อมนุษย์ เราสามารถพิจารณาค่าแบบสัมพัทธ์ด้วยการเปรียบเทียบกับค่าสัมพัทธ์กับสิ่งที่สาม เช่นเงินนั้นมีค่าต่อมนุษย์แค่ไหน เมื่อเปรียบเทียบกับสุขภาพความรู้และจริยธรรม

๒๓

อันเม็ดทรายหรือแมลงวันหรือยุงในทรรศนะของมนุษย์นั้นไม่มีค่าอย่างใดเลย ความมีอยู่ของมันไม่มีผลต่อมนุษย์แต่อย่างใด แน่นอนปรากฏว่า ในขณะที่สิ่งนั้นเองไร้ค่า ดังนั้น สิทธิที่เกี่ยวกับมันไร้ค่าเช่นกัน ตามทรรศนะของมนุษย์ ส่วนอีกทางหนึ่ง เงินมีค่าต่อมนุษย์ เพราะว่ามันมีประโยชน์ต่อสภาพความเป็นอยู่ของเขาและสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ความคิดและแผนการของเขาได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับสุขภาพ ความรู้และเกียรติแล้วมันได้เสียคุณค่าของมันไปและกลายเป็นสิ่งไร้ค่าไปไม่ใช่ว่ามีค่าน้อย แต่ไม่มีคุณค่าเอาเสียเลย มิใช่ว่าหากเงินจำนวนมีค่ามากพอก็จะเทียบเท่ากับเกียรติยศได้ไม่ใช่เช่นนั้นเลย ผู้ที่รักเงินและในเวลาเดียวกันก็มีลักษณะสูงส่งและมีเกียรตินั้นจะดิ้นรนหาเงินเฉพาะตราบเท่าที่เกียรติยศและความเคารพตัวเองยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปเท่านั้น และขณะใดที่เงินเป็นสาเหตุที่ทำให้เกียรติยศและการเคารพตัวเองของเขาต้องเสียไปแล้ว เขาก็จะละเลยเงินจำนวนนั้นไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม แม้ว่า ทรัพย์สมบัติทั้งหมดของโลกจะถูกมอบให้เขากระนั้น เขาก็ยังไม่พร้อมที่จะจ่ายราคาแห่งเกียรติยศและการเคารพตัวเองเพื่อเงินนั้น ในทรรศนะของบุคลิกเช่นนั้น เงินมีคุณค่า แต่ไม่ใช่เป็นสิ่งที่มีค่าเท่าเทียมกับการเคารพตัวเองเกียรติยศ และจริยธรรม-เมื่อเปรียบเทียบคุณค่าเช่นนั้น คุณค่าของเงินก็จะจืดจางไปอย่างง่ายดาย ไม่ใช้เป็นปัญหาว่าเงินจำนวนน้อยไม่อาจไปเทียบได้ แต่เงินจำนวนมากจะเทียบได้ตรงกันข้าม แม้เงินจำนวนมากก็ไม่อาจเทียบได้กับเกียรติยศและความเครพแม้แต่น้อยนิดได้

๒๔

ท่านอะลี (อ) ได้แสดงความรู้สึกออกมาดังนี้

“ในนามแห่งพระผู้เป็นเจ้า! หากว่าฉัน (จะ) ได้รับดินแดนเจ็ดแห่งซึ่งภายในท้องฟ้าของมันเหล่านั้นมีการขบถต่อพระผู้เป็นเจ้าโดยแย่งชิงเปลือกข้าวบาร์เล่ย์มาจากมดแล้ว ฉันก็จะไม่รับเอา! ”

นี่ หมายความว่า ชีวิตทั้งหมดตามทรรศนะของท่านอะลี (อ) แล้วไม่มีค่าไปกว่าการกระทำที่ไม่ยุติธรรมแม้แต่ต่อมดตัวเล็กๆ

ในประโยคนี้ท่านอะลี (อ) ไม่ได้ดูถูกคุณค่าของโลกและสิ่งที่มีอยู่ในนั้น ตรงกันข้าม ท่านยกระดับคุณค่าของความยุติธรรมนั้น

ท่านไม่ได้จงใจที่จะบอกเราว่า โลกและทุกสิ่งที่อยู่ใต้ต้องฟ้าเป็นสิ่งไร้ค่า แต่ท่านก็ไม่ต้องการมันเลย ถ้าหากต้องแลกเปลี่ยนกับการกระทาสิ่งที่ไม่ยุติธรรมต่อมด สิ่งที่ท่านได้บอกเราก็คือว่าความอยุติธรรมนั้นเป็นเรื่องร้ายกาจเสียจนทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตเป็นสิ่งที่ไร้ค่าไปเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาอันน้อยนิดแห่งความอยุติธรรมที่เกิดจากการแย่งชิงเปลือกขนมปังข้าวบาร์เลย์มาจากมด ดังนั้น เราจะเห็นว่าโลกไม่มีคุณค่าในทรรศนะของท่านศาสดานั้นถูกต้องตามความหมายแห่งการเปรียบเทียบคุณค่าหรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า โลกไม่มีคุณค่า หากว่าคนๆ หนึ่ง ต้องยกเลิกจริยธรรมและหลักสำคัญ-โกหก ไม่รักษาคำพูด สร้างความอยุติธรรม เหยียบย่ำสิทธิของผู้อื่นและอื่น ๆ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อโลกและผลประโยชน์ทางวัตถุ

๒๕

โลกไม่มีคุณค่าในแง่ที่ว่า เราก่อความอยุติธรรมด้วยการสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นเพื่อความสุขทางโลกและความสะดวกสบาย หรือแม้แต่การที่เราเหยียบย่ำสิทธิของมดก็ตาม

เหตุผลของมนุษย์

การใช้เหตุผลนั้นเป็นทางที่ดีที่สุดในการคิดและในการมองสิ่งต่าง ๆ เป็นสิ่งดีงาม เป็นการผิดที่จะคิดว่าทรรศนะของศาสนามีอยู่ว่า โลกนี้มีค่าน้อยเสียจนกระทั่งเราไม่ได้รับการบอกเล่าถึงผลของการกล่าวเท็จ การกระทำที่หลอกลวงหรือความอยุติธรรมที่กระทำขึ้นก็ไร้ผล ความจริง ก็คือว่า ศาสนานั้นให้ความสำคัญเป็นอันมากต่อสิทธิและหลักการ ความเชื่อศรัทธาและจริยธรรม ศาสนาถือว่า เราจะต้องมองข้ามโลกและสิ่งที่มีอยู่ในโลกไปเพื่อสิ่งเหล่านี้

และนี่คือความจริง ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์และคุณค่าทางจิตใจ เราก็จะไม่สามารถสรุปเป็นอย่างอื่นได้ ทั่วโลก แม้แต่นักวัตถุนิยมก็ยังต้องให้ความสำคัญต่อสิทธิและหลักการ และถือว่า ความสะดวกสบายทางวัตถุและความสำราญเป็นสิ่งเล็กน้อยกว่าความเชื่อ หลักการและสิทธิ

อย่างไรก็ตาม ความจริงยังมีอยู่ เรื่องนี้อธิบายไว้อย่างสมบูรณ์ในภาษาเฉพาะอย่างหนึ่ง เพื่อแสดงถึงความไร้ค่าและความไม่สำคัญของโลก นั่นคือภาษาศาสนา

๒๖

แค่เหตุผลนี้จะมอบให้มนุษย์ชาติ มนุษย์จะถูกทำให้เชื่อว่าความศรัทธา หลักการ และสิทธินั้นมีความสูงส่งกว่า ความสุขสบายและความสำราญทางวัตถุก็แต่เมื่อมีพื้นฐานแห่งศาสนาอยู่ที่นั้น พื้นฐานในการยอมรับว่ามนุษยธรรมอยู่เหนือกว่าผลประโยชน์ทางโลกก็หมดไปด้วย

อีกด้านหนึ่ง เมื่อใดก็ตามที่เราพิจารณาถึงโลกเอง โดยมองข้ามความจริงที่ว่าคนเราได้ทำบาป คัดค้านหลักการ เหยียบย่ำสิทธิก็เพราะเห็นแก่โลก

เราก็จะเห็นว่าโลกมีค่าในทางบวกสำหรับเรา

ท่านศาสดาผู้บริสุทธิ์ได้กล่าวว่า “โลกนี้เป็นที่ไถหว่านสำหรับโลกหน้า ” หรือท่านอะลี (อ) ได้กล่าวว่า “มันเป็นสถานที่สำหรับก้มกราบของผู้ที่รักพระผู้เป็นเจ้าเป็นสถานที่แห่งการนมัสการของศาสนทูตของพระองค์ เป็นสถานที่สำหรับการลงวิวรณ์ (วะฮีย์) ของพระผู้เป็นเจ้า และเป็นท้องตลาดสำหรับผู้ปกป้องพระผู้เป็นเจ้า

ศาสนาอิสลามพร้อมด้วยระบบที่บริสุทธ์ของมัน มิได้ลดคุณค่าของโลกดังที่เข้าใจกัน สิ่งที่อิสลามทำ ก็คือ การยกระดับและโฆษณาถึงคุณค่าทางจิตใจ ถึงการตักเตือนให้มีการกระทำที่มีคุณธรรมเพื่อพระผู้เป็นเจ้า (ตักวา) และสิทธิทางสังคม ทั้งหมดนี้ มีคนจำนวนน้อยเท่านั้นที่เข้าใจ ดังนั้น ความไร้ค่าของโลก ก็คือ ความไร้ค่าในเชิงเปรียบเทียบ มิใช่ว่าไม่สอดคล้องที่มีอยู่ในนั้นแต่อย่างใด

ดังนั้น ข้อกำหนดของอิสลามเกี่ยวกับสิทธิซึ่งได้กล่าวไว้แล้วในการอภิปรายในตอนนั้น จึงเป็นการบ่งบอกถึงความจริงว่าความไร้ค่าของโลกในทรรศนะของอิสลามนั้น ก็คือ ความไร้ค่าในเชิงเปรียบเทียบ นั่นเอง

๒๗

ความยุติธรรมและชะตากรรมของสังคม

ประการที่สอง ในการตอบปัญหาดังกล่าว ข้าพเจ้าขอถามว่า อิสลามต้องการให้สังคมมุสลิมดำรงอยู่หรือไม่ แน่นอน อิสลามย่อมต้องการดั่งนั้น จากนั้นข้าพเจ้าก็จะถามว่าเป็นไปได้ไหมสำหรับสังคมอิสลามที่จะมีชีวิตอยู่โดยปราศจากการหมุนอยู่รอบแกนแห่งความยุติธรรมและการรักษาสิทธิของสมาชิกของมัน

ท่านศาสดา ผู้ประเสริฐของเราไม่ได้บอกเราดอกหรือว่า “ทรัพย์สมบัติอาจเหลืออยู่กับผู้ไม่ศรัทธาได้แต่จะไม่เหลืออยู่กับผู้อยุติธรรม ?” นั่นก็คือ เมื่อสังคมมีความใจกว้างและยุติธรรม มันก็สามารถดำรงอยู่ได้อย่างไม่เปลี่ยนแปลงถึงแม้ว่าสมาชิกของมันจะเป็นคนนอกศาสนา ในทางตรงกันข้าม เมื่อความอยุติธรรมแผ่ไปทั่วสังคม อันเป็นผลมาจากความแตกต่างทางชนชั้น สังคมก็จะไม่ดำรงอยู่อย่างเดิม ถึงแม้ว่าสมาชิกของสังคมนั้นจะมีความเชื่อความศรัทธาเป็นมุสลิมทั้งสิ้นก็ตาม

พระมหาคัมภีร์กุรอานนั้นเต็มไปด้วยโองการที่บอกเราถึงเหตุผลแห่งความพินาศของประชาชนกลุ่มนั้นกลุ่มนี้อันเนื่องมาจากความอยุติธรรมของพวกเขาเอง ในตอนหนึ่งเราได้รับการบอกเล่าว่า “และผู้อภิบาลของเจ้าไม่ได้ทรงทำลายล้างบรรดาเมืองต่างๆโดยอยุติธรรมเลย ในเมื่อชาวเมืองเหล่านั้นยังประพฤติตัวดีอยู่ ” (๑๑:๑๑๗)

๒๘

นักตีความส่วนมากเห็นพ้องกันว่าที่กล่าวถึง “ความอยุติธรรม ” คือความอยุติธรรมของการตั้งภาคี (ชิริก) นั่นเอง เพราะการตั้งภาคีนั้นเป็นความอยุติธรรมชนิดหนึ่ง “แท้จริงการตั้งภาคีนั้น เป็นความอยุติธรรมอันใหญ่หลวงยิ่ง ” (๓๑:๑๓)

ดังนั้น จึง เป็นเรื่องที่เห็นได้ว่า สิ่งที่เราได้รับการบอกกล่าวก็คือ พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงบริสุทธิ์และยิ่งใหญ่ไม่ได้ทำลายอารยธรรม เพราะความไม่ศรัทธาหรือการเชื่อในพระเจ้าหลายองค์ของผู้คน ตราบเท่าที่สิทธิทางสังคมและความสัมพันธ์ของพวกเขาเป็นไปอย่างถูกต้องและเที่ยงธรรม ดังนั้น นี่จึงเป็นเหตุผลข้อที่สองที่ว่าเหตุใดอิสลามจึงบรรจุข้อบังคับเกี่ยวกับสิทธิทางโลกและทางศีลธรรมไว้

บทบาทของความยุติธรรมและความถูกต้องทางสังคมในด้านจิตใจ

ประการที่สาม ขอให้เราสมมติว่า ความไร้ค่าของโลก มิได้เป็นไปในเชิงเปรียบเทียบและสัมพัทธ์ ขอให้เราสมมติว่า โลกในทรรศนะของศาสนานั้นเป็นสิ่งชั่วร้ายที่ไร้คุณสมบัติ อย่างไรก็ตาม ถ้าเราสงสัยอย่างนี้ ก็ยังมีอย่างหนึ่งซึ่งเราไม่อาจสงสัยได้เลย นั่นคือ เหตุผลและจุดหมายซึ่งพระผู้เป็นเจ้าได้ส่งบรรดาศาสดามายังเรา ศาสดาทั้งหลายได้มาเพื่อสอนศรัทธาอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง “ฉันถูกส่งมาเพื่อทำให้จริยธรรมสมบูรณ์ ”

ท่านศาสดากล่าวไว้ดังนี้ ท่านได้สนับสนุนให้ผู้คนประพฤติดีและหยุดยั้งพวกเขาจากการกระทำชั่ว ในทรรศนะของอิสลามสิ่งต่างๆ ในกลุ่มหนึ่งดีและสิ่งต่างๆ ของอีกกลุ่มหนึ่งไม่ดี ท่านศาสดาได้มาเชิญชวนให้มนุษยชาติไปสู่ความดีและให้ขจัดความชั่วออกไป

๒๙

ย่อมเป็นที่กระจ่างแจ้งต่อทุกคนว่าคำสอนของอิสลามมีอยู่สามส่วน คือ ความเชื่อ (อะกออิด) จริยธรรม (อัคลาก) และคำสั่ง (อะห์กาม) ที่เกี่ยวกับการกระทำ ความเชื่อนั้นรวมทั้งความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้า และเอกภาพของพระองค์ ความเชื่อในท่านศาสดาและเชื่อในผลรางวัลและการตอบแทนในโลกหน้า ด้วยตัวอย่างเช่น คำสอนทางจริยธรรมได้บอกเราให้เป็นผู้อ่อนน้อม ภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า (ตักวา) พอใจในพระผู้เป็นเจ้า กตัญญู อดทน ให้อภัยและกรุณา เป็นผู้รักสัญญาและสมานฉันท์กับคนอื่นๆ

มีจิตใจที่บริสุทธิ์พ้นจากความมุ่งร้ายแห่งการอิจฉาริษยา (ฮิซาดัต) เจตนาร้าย หวาดกลัวและตระหนี่ไม่สร้างความอยุติธรรมและมุ่งร้ายและอื่นๆ การสั่งให้กระทำเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันดี ข้อกำหนดบางอย่างแบ่งออกเป็นหมู่ภายใต้หัวข้อของการเคารพภักดี (อิบาดัต) ซึ่งมีอยู่ในหลายรูปแบบเช่น การถือบวช ทำฮัจญ์ ญิฮาดและบัญชาให้กระทำสิ่งที่ยอมรับกันว่า เป็นความดีและละเว้นจากสิ่งที่ได้รับการรังเกียจว่า เป็นความชั่ว (อัมริ บิลมะอฺรูฟ วะนาฮีอะนิลมุนกัร) และอื่นๆ มีอีกหลายอย่างที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์กันทางสังคม อย่างเช่น ข้อห้ามจากการพูดเท็จ การลอบกัด การด่าทอ การฆาตกรรม การดื่มของมึนเมา การพนัน การกินดอกเบี้ย การเสแสร้งและอื่นๆ

ดังนั้น ถ้าหากว่าเราสงสัยไม่แน่ใจในเรื่องใดแล้ว แนวทางแห่งคำสอนทางศาสนาเหล่านี้ก็จะทำให้เราเข้าใจได้ชัดเจนอย่างแท้จริง ไม่มีใครปฏิเสธว่าจุดสำคัญของอิสลาม ก็คือ การถือว่าสิ่งที่ดีนั้นควรเกิดขึ้นและสิ่งไม่ดีก็ไม่ควรเกิดขึ้น

๓๐

ทีนี้ ขอให้เราตั้งปัญหากับตัวเองว่า เมื่อมีการรักษาสิทธิของผู้คนไว้ และสังคมมีความถูกต้องไม่มีการเลือกที่รักมักที่ชัง ไม่มีความขาดแคลนและไม่มีความรู้สึกในหมู่ประชาชนว่าถูกหลอกลวง ความเชื่อที่บริสุทธิ์ จริยธรรม หัวใจและการกระทำจะมีมากขึ้นในสังคมหรือไม่ และพื้นฐานอาชญากรรม จริยธรรมที่ไม่ถูกต้องและความเชื่อที่นอกลู่นอกทางจะลดลงไปไหม ? หรือว่าตรงกันข้าม คือ สังคมที่ไม่ยุติธรรมจะเป็นสถานที่สาหรับชำระล้างดวงวิญญาณให้บริสุทธิ์และทำให้ตัวตนที่ละเอียดอ่อนยิ่งดีขึ้น

ยิ่งมีความอยุติธรรมมากที่สุด มีการสูญเสียความไม่ลงรอยกัน และความขัดแย้งกันมากเท่าไรก็ยิ่งดีขึ้นเท่านั้นเช่นนั้นหรือ ? ทรรศนะทั้งสองนี้อันไหนถูกต้อง ? หรือมีความเป็นไปได้ว่า เงื่อนไขของสังคมไม่ว่าจะเป็นแบบไหนก็ตาม ไม่ได้เกี่ยวข้องแต่อย่างใดกับจริยธรรมของบุคคล และการคำนึงถึงเรื่องจริยธรรมเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ?

ไม่มีคนมีสติดีคนไหนที่จะกล่าวว่า สังคมยิ่งยุ่งเหยิงมากขึ้นซึ่งเกี่ยวเนื่องมาจากความยุติธรรมและสิทธิ มีมากเท่าไรพื้นฐานสำหรับความบริสุทธิ์ของความศรัทธาและการขัดเกลาตัวเองและการกระทำที่ถูกต้องก็จะยิ่งสมบูรณ์ขึ้น อย่างมากที่สุดที่จะพูดได้ ก็คือ ความมีอยู่และความไม่มีอยู่ของความยุติธรรมในสังคม การรักษาสิทธิและไม่รักษาสิทธิของผู้คน จะไม่ก่อให้เกิดความแตกต่างต่อจริยธรรมของบุคคลแต่อย่างใด

ความคิดของคนเคร่งศาสนาจำนวนมากในปัจจุบันนี้มีอยู่ว่า นี่เป็นขอบเขตสองอย่างที่ต่างกันไม่มีทางที่จะเกี่ยวข้องกันได้เลย

๓๑

อย่างไรก็ตาม ใครที่คิดในแนวนี้ควรได้รับคาบอกเล่าว่า ขอแสดงความยินดีแก่ความเข้าใจอันคลุมเครือของท่านขอแสดงความยินดีต่อแนวความคิดอันน่าเย้ยหยัน สภาพทั่วไปความมีอยู่และไม่มีอยู่ของความยุติธรรมในสังคมนั้น มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ จริยธรรมของมนุษย์หรือแม้แต่กระทั่งมีผลต่อความคิดและความเชื่อของมนุษย์อย่างแน่นอน สิ่งเหล่านี้มีผลทั้งสามระดับ คือระดับความคิดและความเชื่อระดับคิดเรื่องโชคชะตาที่ปรากฏขึ้นมามีอยู่ไม่มากไปกว่าสองแหล่ง แหล่งหนึ่ง คือ ศาสนา บางครั้ง กวีก็ได้รับการดลใจจากโองการของพระมหาคัมภีร์กุรอานอันบริสุทธิ์และแบบอย่างของท่านศาสดาและของบรรดาอิมามนั้นเราจะไม่พบตอนใดเลยที่พูดถึงเรื่องโชคชะตา แหล่งความดลใจอื่นที่เป็ฯไปได้คือเหตุผลและความรู้ทางปรัชญา แต่กระนั้นก็ดีนับจากสมัยดั้งเดิมมานั้น เมื่อไรก็ตามที่มีการพูดถึงโชคชะตาในวงการเช่นนั้นหรือในหนังสือ ก็จะเป็นการพูดถึงมันในฐานะที่เพียงเรื่องไสยศาสตร์เท่านั้นเอง

ถ้าเช่นนั้น ความคิดเกี่ยวกับโชคชะตาและอำนาจที่น่าประหลาดของมันเกิดขึ้นมาจากไหนเล่า ในเมื่อคิดกันว่าอานาจของโชคชะตานั้นมีอยู่เหนือกว่าเหตุผล ความรู้ งาน ความทักษะ อุตสาหกรรม ความเข้มแข็ง และที่จริงแล้วก็คือทุกสิ่งนั่นเอง

๓๒

พื้นฐานแห่งการดลใจสำหรับความคิดแบบของมารร้ายนี้มิใช่อะไรมากไปกว่าความไม่เป็นระเบียบของสังคมเป็นระบบที่คนบางคนมีสิทธิพิเศษและคนส่วนมากขาดสิทธิ เป็นระบบเลือกที่รักมักที่ชังโดยปราศจากความดีงาม เมื่อใดก็ตามที่ความยุติธรรมของสังคมโยกคลอนไป เมื่อใดก็ตามที่ไม่มีการรักษาคุณงามความดีและสิทธิไว้ เมื่อใดก็ตามที่การถือเอาตัวบุคคลและการยอมรับกลุ่มนั้นกลุ่มนี้มีอิทธิพลสูงกว่าและเหนือกว่าการพิจารณาถึงความสามารถและความดีงาม เมื่อใดก็ตามที่สิ่งนี้เกิดขึ้น ความคิดในเรื่องโชคชะตาและความคิดในทำนองที่แท้จริงของโชคชะตาได้เป็นอย่างดี พวกเขาอาจหาหลักฐานที่จะพิสูจน์ความมีอยู่ของมันหรือคานิยามของมันได้ก็ตาม ก็ยังไม่มีใครสักคนเดียวที่จะตอบได้

ผู้ยิ่งใหญ่เหล่านี้ได้แต่เพียงสังเกตุภาวะที่คลุมเครือแปลกประหลาด และจากนี้เองความเชื่อในเรื่องโชคชะตาจึงเกิดขึ้นมา อะไรหรือที่พวกเขาสังเกตเห็น พวกเขาอยู่ในสังคมและแลเห็นในทางหนึ่งว่าคนเราใช้ระยะเวลาในช่วงชีวิตของเขาไปในการต่อสู้ดิ้นรน แต่กระนั้นก็ยังมีชีวิตอยู่กับความสะดวกสบายและความสาเร็จเป็นสิ่งที่ได้รับความนับถือ สิ่งที่พวกเขาเห็นการปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไป ให้มีความสุขอยู่กับความสะดวกสบายและความสาเร็จเป็นสิ่งที่ได้รับความนับถือ สิ่งที่พวกเขาเห็น ก็คือ ความชั่วร้ายได้รับเกียรติและความมีเหตุผลกลับได้รับการปฏิบัติต่ออย่างดูถูก สิ่งที่พวกเขาได้เห็น ก็คือ ความขาดสมดุลระหว่างการต่อสู้ ทักษะและความชำนาญในด้านหนึ่งและความปลาบปลื้ม กำไรและสิทธิส่วนบุคคลของคน ๆ หนึ่งในอีกด้านหนึ่ง เพราะว่านี่เป็นสิ่งที่เขาได้เห็นในสังคมของพวกเขา ข้อสังเกตเกี่ยวกับสังคมของพวกเขาก็จะค่อย ๆ เข้าสู่แบบของปรัชญา ซึ่งสามารถเรียกกันว่า “ปรัชญาแห่งโชคชะตา ”

๓๓

ชื่อที่คนเหล่านี้มอบให้แก่กรณีของความวุ่นวายจากความยุติธรรม ไม่ว่าพวกเขาจะเข้าใจมันหรือไม่ ก็คือ คำว่าโชคชะตา และบางครั้งก็ยกย่องมันเหมือนกับคนปัญญาอ่อนโชคชะตาความคิดและปรัชญา ไม่มีแหล่งที่มาแต่อย่างใ ดยกเว้นจากความยุ่งเหยิงของส่วนแบ่งที่อยุติธรรม ไม่ถูกต้องในสังคมเท่านั้น

เมื่อมองข้ามแหล่งนี้ไป แหล่งแห่งการดลใจสำหรับความจริยธรรมและศีลธรรม กับระดับของพฤติกรรมและจริยธรรม

ความยุติธรรมในสังคม ความคิดและความศรัทธา

ประการแรก ขอให้เรามุ่งมาที่ระดับความคิดและความเชื่อ เมื่อไรก็ตามที่เราหันมาดูงานเขียนและทรรศนะของงานและความคิดของนักเขียนและนักกวีที่ยิ่งใหญ่ของอิสลามแล้ว เราก็จะเห็นได้ว่าในขณะที่คนเหล่านั้นได้รู้ถึงความเป็นจริงอันยิ่งใหญ่ พวกเขาก็ได้พบการแสดงออกอันบริสุทธิ์แห่งความรอบรู้ของพระผู้เป็นเจ้า (ฮิกมะฮ์) และจะกลายเป็นผู้ที่มีความคิดและทรรศนะที่ละเอียดอ่อน แต่ก็ยังมีอยู่บางเวลาที่ความคิดของพวกเขายังมีราคีอันเหลือไว้ให้พวกเราแปลกใจกัน ตัวอย่างเช่น เราเห็นคนเหล่านั้นให้ความสาคัญในเรื่องโชคชะตา สิ่งอันไม่สมควรจากสิ่งทั้งหมดซึ่งสร้างความตื่นเต้นให้แก่พวกเขามากที่สุดก็คือโชค ด้วยการกล่าวว่า “ตัวของมนุษย์อาจหลับได้ แต่โชคของเขาตื่นอยู่เสมอ! ” ในทรรศนะของคนเหล่านี้ เมื่อโชคเกิดขึ้นมาคราใด สิ่งอื่น ๆ ทั้งหมดก็ไร้ค่า ทั้งความรู้ เหตุผล การต่อสู้ ทักษะความสามารถ งานฝีมือ ความเข้มแข็งของอาวุธ-เมื่อเปรียบเทียบกับโชคแล้วสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ไม่มีค่าอะไรเลย!

๓๔

มีบทกวีและข้อเขียนเกี่ยวกับโชคชะตานับพันที่ถูกเขียนขึ้นโดยคนมีชื่อเสียงยิ่งใหญ่ แน่ล่ะหากคนเหล่านี้ถูกถามถึงลักษณะของโชคชะตาที่แท้จริง

ไม่ว่าที่พวกเขาจะนิยามมันได้หรือไม่ และเมื่อพวกเขาได้นิยามมันอยู่บ่อย ๆ จนรู้ถึงลักษณะเดียวกันก็จะแข็งกล้าและเป็นที่นิยม นี่เป็นเพราะว่าโชคชะตานั้นหมายถึงการไม่มีสิ่งหนึ่งเป็นเงื่อนไขสำหรับสิ่งอื่นอันใด

จะมีอะไรแตกต่างกันเล่าระหว่างผู้ที่ถือว่ามีผลแห่งความมานะพยายามและการดิ้นรนต่อสู้ ผู้มีความเชื่อว่า

“มนุษย์จะไม่ได้รับสิ่งใด นอกจากสิ่งที่เขาได้ดิ้นรนหาเท่านั้น ” (๕๓:๓๙)

กับคนที่กล่าวว่าความพยายามทั้งหมดย่อมไร้ผลและไม่มีอะไรในชีวิตที่เป็นเงื่อนไขสำหรับสิ่งอื่น ๆ ? มีความแตกต่างกันแค่ไหนระหว่างผู้มีความเชื่อว่า

“แท้จริงอัลลอฮ์ ไม่ทรงเปลี่ยนแปลงสภาพของชุมชนใด จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงสภาพของตัวเอง ” (๑๓.๑๑) ๔

กับผู้เชื่อในโชคเคราะห์! ดังนั้นจึงเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าคุณค่าของความยุติธรรมในสังคมมีผลต่อความคิดและความเชื่ออย่างไร

๓๕

การมองดูพระผู้เป็นเจ้าในแง่ร้าย

หากเรามองดูงานเขียนของมุสลิมอีกครั้งเราก็จะพบตัวอย่างอื่นๆ อีก

เราจะสังเกตเห็นว่าแนวความคิดเช่นนั้น อาจเรียกได้ว่า “ความรู้สึกโทษพระผู้เป็นเจ้า ”

ซึ่งหมายถึง การสาปแช่งวงจรแห่งการสร้างสรรค์ของพระผู้เป็นเจ้า อันมีผลต่อชีวิตด้านวัตถุของบุคคลนั่นเอง! พระองค์ถูกเรียกว่าทรราชย์ผู้กดขี่โหดร้าย แต่ละชื่อและทุกๆ ชื่อของพระองค์ซึ่งบอกถึงเรื่องราวแห่งการ

กดขี่ ข่มเหง ทรยศและหลอกลวง ได้ถูกมอบให้แด่พระองค์จนถึงขั้นที่กล่าวว่าพระผู้เป็นเจ้ามีเจตนาร้ายต่อความดีและความบริสุทธิ์เอาทีเดียว

อย่างไรก็ตาม การร้องทุกข์ต่อว่าพระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่เกี่ยวกับเรื่องสวรรค์เจ็ดชั้น เวลาและที่ว่างแห่งการสร้างโลกตรงข้ามมันเป็นการร้องทุกข์ถึงสภาพแวดล้อมทางสังคมของตัวผู้ฟ้องร้องเอง อะไรก็ตามที่พวกเขากล่าวมานั้น คือผลสะท้อนของบุคลิกลักษณะ ความรู้สึกภายในจิตใจตัวเขาเองนั่นเอง ยิ่งกว่านั้นคาพูดของตัวเองเท่านั้นแต่ยังร้องทุกข์ถึงสภาพแห่งยุคสมัยของเขาและสังคมทั้งหมดด้วย เมื่อกวีมองไปรอบตัวเขาและแลเห็นความ

อยุติธรรมและความกดขี่อยู่ทุกหนทุกแห่งไม่ว่าเขาจะไม่เข้าใจถึงมูลเหตุหรือว่าจะไม่เข้าใจถึงมูลเหตุหรือว่าจะไม่เข้าใจ แต่ก็ไม่สามารถกล่าวออกมาได้ทุกอย่างก็ตาม ดูเหมือนว่าเขาจะเปิดทางให้แก่ความรู้สึกในสิ่งที่เขาแลเห็นเหมือนกับ “กงล้อ อันคดงอของพระผู้เป็นเจ้า ” ผลที่ตามมาจากสภาพเหล่านี้ก็คือการมองโลกไปในแง่ร้ายและความหวาดระแวงสงสัยในเรื่องกระแสแห่งการสร้างได้ถูกพัฒนาขึ้น

๓๖

ความคิดเกิดกล้าแกร่งขึ้นกว่าพระผู้เป็นเจ้านั้น มีความอยุติธรรมต่อความดีของมนุษย์ชาติและระหว่างพระผู้เป็นเจ้ากับความดีนั้นมีศัตรูและความมุ่งร้ายโบร่ำโบราณรูปแบบหนึ่ง ในสภาพเช่นนั้น แน่นอนผู้คนจะกลายเป็นผู้มีเจตนาร้าย พวกเขาจะแสดงความชั่วร้ายต่อสิ่งถูกสร้างหรือแม้แต่กับพระผู้สร้างเอง

ดังนั้น ผลโดยตรงต่อความบิดเบี้ยวของความยุติธรรมทางสังคม คือ ความบิดเบี้ยวแห่งแบบแผนของความคิด พร้อมกับความเชื่อในระบบที่ยุ่งเหยิงและความไร้ค่าขององค์ประกอบอันแท้จริงของความรุ่งเรืองซึ่งปรากฏในรูปแบบของความเชื่อในโชคชะตา อันเป็นผลที่เราจะพบได้แม้แต่ในงานเขียนของมุสลิม อีกอย่างหนึ่ง คือ ความคิดในแง่ร้ายและความระแวงสงสัย “การมีความคิดในแง่ร้าย ” ต่อสิ่งถูกสร้างและพระผู้สร้างผู้บริสุทธิ์ เหล่านี้เป็นผลสะท้อนสองอย่างของความอยุติธรรมในเรื่องความคิดและความเชื่อ

ความยุติธรรมในสังคมและจริยธรรม

คราวนี้ ขอให้เราดูว่า ระบบสังคมที่แพร่หลายอยู่นี้ เป็นมูลเหตุแห่งการทุจริตจริยธรรมและรบกวนจิตวิญญาณอย่างไร จริยธรรมที่ดีและเลว ก็เหมือนสิ่งอื่นๆ ในโลกนั่นแหละ ย่อมมีมูลเหตุ ทั้งจริยธรรมที่ดีและจริยธรรมที่ไม่ดีต่างก็ไม่เคยปรากฏโดยไม่มีสาเหตุ เบ้าหลอมและธรรมชาติของบุคคลเป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพสภาพและข้อแนะนำของสิ่งแวดล้อมนั้นมีผล และอย่างหนึ่งที่มีผลอย่างแน่นอนต่อการทุจริตในด้านจริยธรรมของบุคคลและทาจิตวิญญาณของเขาเป็นพิษ ก็คือ การสูญเสียและความรู้สึกว่าถูกหลอกลวง ความอิจฉามุ่งร้ายเจตนาร้าย ความเป็นศัตรูและความประสงค์ร้าย ทั้งหมดนี้เริ่มต้นจากที่นี่เอง

๓๗

ข้อยกเว้น

แน่ละต้องมีข้อยกเว้นอยู่ มีคนที่ขาดแคลนอยู่ซึ่งการกระทำที่อยุติธรรมไม่มีผลต่อเขา อย่างไรก็ตาม คนเช่นนั้นมีจุดเด่นอยู่ คือ จิตวิญญาณของเขามีภูมิคุ้มกันต่อความชั่วดังกล่าว พลังแห่งศรัทธาของพวกเขามีอยู่มากเสียจนความชั่วร้ายเช่นนั้นถูกยับยั้งไว้ คนพิเศษเช่นนั้นอยู่ในระดับเหนือกว่าระดับความคิดของคนทั่วไป – ขอให้เรายกตัวอย่าง :

ขอให้นึกถึงครอบครัวหนึ่งซึ่งประกอบไปด้วยพ่อแม่และลูก ๆ ในบ้านของครอบครัวนี้ อาหาร ผลไม้ ของหวานและเสื้อผ้าทั้งหมดถูกแบ่งกันในครอบครัว ความคิด ทรรศนะ

และความรู้สึกของลูกในโอกาสเช่นนั้นย่อมไม่เหมือนกับความคิดทรรศนะ และความรู้สึกของพ่อแม่ พวกเขาไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกัน พวกเขามีอยู่สองระดับ

ประการแรก ความรู้สึกที่ลูกมีต่อกันและกัน : เมื่อไรก็ตามที่ลูกคนหนึ่งเห็นว่าส่วนของอาหาร ผลไม้ ของหวานหรือเสื้อผ้าของตนมีน้อยกว่าคนอื่น ๆ เขาก็จะเสียใจ จะขัดเคืองจะคร่ำควญและเพราะว่าพวกเขามีความรู้สึกว่าขาดทุนและตกอยู่ใต้ความอยุติธรรม เขาก็จะเกิดความตั้งใจที่จะแก้แค้นขึ้นมา ดังนั้นพ่อแม่ที่ต้องการให้ลูกมีความสุข และมีสุขภาพกายและจิตใจดีจึงพบว่าเป็นเรื่องจาเป็นที่จะต้องหลีกเลี่ยงจากรูปแบบแห่งการเลือที่รักมักที่ชังเสียตั้งแต่ต้น

๓๘

การเลือกที่รักมักที่ชังเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งความขัดแย้ง เป็นเมล็ดพันธุ์แห่งความอิจฉามุ่งร้าย และเมล็ดพันธุ์แห่งการแก้แค้น การเลือกที่รักมักที่ชังกลายเป็นมูลเหตุของความกดดัน ความระทมทุกข์ และไร้ความสุขในจิตใจของลูกที่ต้องสูญเสีย และเด็กที่เคยเป็นที่ชื่นชมก็จะกลายเป็นเด็กเห็นแก่ตัว ไม่ไว้วางใจคนอื่น มีเจตนารมณ์ที่อ่อนแอ ก่อความผิดอย่างรวดเร็วจนอาจเรียกได้ว่าเสียคน พ่อแม่ส่วนมากเมื่อลูกเกิดไม่สบายขึ้นมาก็จะพาไปหาหมอแต่พวกเขาให้ความสนใมจแต่เพียงเล็กน้อยต่อสุขภาพและความสมบูรณ์แห่งจิตใจของลูกๆ ของพวกเขา สิ่งเหล่านี้พวกเขาคิดว่าไม่สำคัญ ในขณะที่ความสำคัญของสุขภาพจิตนั้นมีไม่น้อยไปกว่าสุขภาพกายเลย ตามความจริงแล้วมันสำคัญกว่ามากมายนัก

ประเด็น ก็คือว่า เพราะเหตุว่าเด็กคิดในระดับหนึ่ง การขาดความสัมพันธ์แก่กันและกัน ย่อมมีผลร้ายแก่ทั้งสองผ่าย อย่างไรก็ตาม พ่อแม่มีความคิดและเหตุผลอยู่ในระดับสูง ได้คิดด้วยแนวทางที่แตกต่างกันไปและมีรูปแบบแห่งความกรุณาเป็นพิเศษ พ่อแม่เหล่านั้นมิได้เดือดร้อนใจจากการสูญเสียชนิดนี้ ไม่ว่าเขาจะได้รับอาหารหรือผลไม้หรือของหวานน้อยกว่าลูกของเขาหรือไม่ได้รับเลยก็ตาม ก็ไม่ใช่ว่าเขาจะไม่มีความสุข เขาไม่รู้สึกคับแค้นใจอะไร

ในสังคมนี้ก็เช่นเดียวกัน บุคคลพิเศษผู้ซึ่งเหมือนกับพ่อแม่ของชาติ ไม่ได้รับผลของการสูญเสียอะไรไปในสภาพของการต้องสูญเสีย และความอยุติธรรม คนเหล่านี้ก็เหมือนกับพ่อแม่ทั้งหลายที่ต้องการสิ่งที่ดีที่สุดสาหรับลูก ๆ ของตนคือต้องการสิ่งดีที่สุดสำหรับชาติของพวกเขา

๓๙

ในสงครามอุฮุด ท่านศาสดาผู้บริสุทธิ์ เมื่อถูกศัตรูของท่านขว้างหินใส่หน้าของท่าน และทำให้ท่านฟันหัก ได้ยกมือขึ้นขอพรโดยกล่าวว่า

“โอ้ พระผู้เป็นเจ้า ของทรงนำทางให้ประชาชนของข้าพระองค์(และยกโทษให้พวกเขาเถิด)เพราะว่าแน่แท้พวกเขาเป็นผู้ไม่รู้ ”

ในทำนองเดียวกัน เมื่อพูดถึงสวนผลไม้ฟะดัก ท่านอะลี (อ) ได้กล่าวว่า “กลุ่มหนึ่งโลภอยากจะได้มันอีกกลุ่มใช้มันอย่างเสรี ฉันจะทำอะไรกับฟะดัก

หรือ(ทรัพย์สมบัติ)ได้ยิ่งไปกว่าฟะดักเล่า เมื่อวันพรุ่งนี้เครื่องหมายของตัวตนก็คือหลุมศพ มันคงอยู่อย่างไม่แบ่งแยกในความมืดของมัน ”

ผลแห่งการแบ่งแยกในเรื่องจริยธรรม

ดังนั้น คนเหล่านี้จึงเป็นบุคคลพิเศษ ในขณะที่คนอื่น ๆ ผู้สร้างชาติต่าง ๆ ของมนุษย์ก็เหมือนกับลูก ๆ ของครอบครัว บรรดาลูก ที่ขาดสิ่งที่คนอื่นได้รับก็จะตกอยู่ภายใต้ความกดดันและทุกข์ทรมานในจิตใจ และกลายเป็นคนคิดร้าย พยาบาทในขณะที่จิตใจของผู้ที่ถูกตามใจบางคนในหมู่พวกเขากลายเป็นเด็กที่เสียคน เห็นแก่ตัว ไม่แยแส เฉี่อยชา สุรุ่ยสุร่ายและฟุ่มเฟือย ความมุ่งร้าย อิจฉาริษยา เจตนาร้าย พยาบาท ความเป็นศัตรู และความเกลียดชังได้เพิ่มโตขึ้นในกลุ่มหนึ่งในขณะที่กลุ่มอื่นๆ ไม่แยแสต่อการฟุ่มเฟือยและสุรุ่ยสุร่าย ดังนั้น เราจึงแลเห็นสภาพทั่วไปในฐานะอันเป็นผลที่เกิดจากความอยุติธรรมที่ปรากฎอยู่ในหมู่ผู้คนได้อย่างง่ายดาย

๔๐

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53