114บทเรียนจากนมาซ

114บทเรียนจากนมาซ0%

114บทเรียนจากนมาซ ผู้เขียน:
กลุ่ม: ตำราจริยศาสตร์
หน้าต่างๆ: 7

114บทเรียนจากนมาซ

ผู้เขียน: เชค มุฮ์ซิน กิรออะตี
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 7
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 92156
ดาวน์โหลด: 456

รายละเอียด:

114บทเรียนจากนมาซ
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 7 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 92156 / ดาวน์โหลด: 456
ขนาด ขนาด ขนาด
114บทเรียนจากนมาซ

114บทเรียนจากนมาซ

ผู้เขียน:
ภาษาไทย
114 บทเรียนจากนมาซ 114 บทเรียนจากนมาซ
ผู้ประพันธ์: เชค มุฮฺซิน กิรออะตี



๑. นมาซในศาสนาต่าง ๆ
นมาซปรากฏอยู่ในศาสนาของศาสดาอีซา (อ.) ก่อนการมาของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) อัล-กุรอานได้กล่าวถึงคำพูดของท่านอีซา (อ.)ว่า “พระผู้เป็นเจ้าได้แนะนำฉันเกี่ยวกับนมาซ(وَأَوْصَانِي بِالصَّلَاةِ (ซูเราะฮฺมัรยัม :๓๑))

และได้ตรัสกับท่านศาสดามูซา (อ.) ว่า “จงดำรงนมาซเพื่อการระลึกเถิด”(أَقِمْ الصَّلَاةَ لِذِكْرِي (ซู เราะฮฺอัฎ-ฎอฮา : ๑๔)

ได้มีการดำรงนมาซอยู่ก่อนแล้วในสมัยของท่านศาสดาชุอัยบฺ ซึ่งเป็นบิดาภริยาของท่านศาสดามูซา อัล-กุรอานกล่าวว่า “โอ้ชุอัยบฺนมาซของท่านได้บัญชาต่อท่าน ให้เราละทิ้งสิ่งที่บรรพบุรุษของเราได้เคยนมัสการมาก่อนกระนั้นหรือ”(يَا شُعَيْبُ أَصَلاتُكَ تَأْمُرُكَ أَنْ نَتْرُكَ مَا يَعْبُدُ آبَاؤُنَا (ซูเราะฮฺฮูด : ๗๘)

ในสมัยของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ซึ่งเป็นยุคสมัยก่อนบรรดาศาสดาทั้งหลาย ท่านได้ทำการขอกับพระผู้เป็นเจ้าว่า ขอให้พระองค์โปรดประทานเตาฟีก (ความสำเร็จ) ให้ท่านและลูกหลานเป็นผู้ดำรงนมาซ
อัล-กุรอานกล่าวว่า “โอ้ข้าแต่พระผู้อภิบาล โปรดบันดาลให้ข้าพเจ้าและผู้สืบตระกูลของข้าพเจ้า เป็นผู้ดำรงนมาซเถิด”(رَبِّ اجْعَلْنِي مُقِيمَ الصَّلاةِ وَمِنْ ذُرِّيَّتِي (ซูเราะฮฺอิบรอฮีม : ๔๐)

ท่านลุกมานฮะกีม ได้กล่าวแนะนำบุตรของท่านว่า “โอ้ลูกรัก เจ้าจงนมาซเถิดและเจ้าจงเชิญชวนสู่ความดี และห้ามปรามจากความชั่ว” (يَا بُنَيَّ أَقِمْ الصَّلاةَ وَأْمُرْ بِالْمَعْرُوفِ وَانْهَ عَنْ الْمُنكَرِ (ซูเราะฮฺลุกมาน : ๑๗)

ถ้าสังเกตจะเห็นว่าส่วนมากแล้ว อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีบัญชาให้ดำรงนมาซควบคู่กับการจ่ายซะกาต (บริจาค) แต่ในบางครั้งถ้าพระองค์กล่าวถึงเยาวชนซึ่งโดยปกติแล้วพวกเขายังไม่มีรายได้ พระองค์จะแทนที่การจ่ายซะกาต ด้วยกับการเชิญชวนสู่ความดี และห้ามปรามจากความชั่วดังโองการที่กล่าวไว้ข้างต้น

๒. ไม่มีอิบาดะฮฺใดได้รับการเผยแพร่และรณรงค์เทียบเท่านมาซ
ปรกติมุสลิมต้องดำรงนมาซวันละ ๕ เวลา และทุกนมาซต้องอะซานและกล่าวอิกอมะฮฺ ซึ่งรวมแล้วจะพบว่าในวันหนึ่ง ๆ จะมีการกล่าวเสียงเรียกจากฟากฟ้าทั้งสองเป็นรายละเอียดดังนี้

- หัยยะอะลัศเศาะลาฮฺ ๒๐ ครั้ง
- หัยยะอะลั้ลฟะลาหฺ ๒๐ ครั้ง
- หัยยะอะลาค็อยริ้ลอะมั้ล ๒๐ ครั้ง
ซึ่งจุดประสงค์ของ ฟะลาห ฺและค็อยริ้ลอะมั้ล ในอะซานนั้นหมายถึงนมาซ ดังนั้นตลอดทั้งวันทั้งคืน มุสลิมคนหนึ่งต้องกล่าวคำว่า "หัยยะ"(จงรีบเร่ง) ถึง ๖๐ ครั้งด้วยกัน เพื่อเป็นการเรียกร้องไปสู่การปฏิบัตินมาซด้วยความยินดีและปราโมทย์ ด้วยเหตุนี้สามารถกล่าวได้ว่า ไม่มีอิบาดะฮฺใดถูกเชิญชวนให้ปฏิบัติมากเท่ากับนมาซ

อิสลามได้สอนว่า จงอะซานด้วยเสียงดังและด้วยท่วงทำนองที่ไพเราะ ซึ่งผู้อะซานนั้นจะได้รับมรรคผลมากมาย
*การอะซาน (ประกาศ) เชิญชวนให้ไปสู่หัจญ์เป็นหน้าที่ของท่าน ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ส่วนการอะซานไปสู่การปฏิบัตินมาซเป็นหน้าที่ของพวกเรา
*การอะซานเป็นการทำลายความนิ่งเฉยและเฉื่อยชา
*การอะซานเป็นการจรรโลงศาสตร์ และเป็นวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของอิสลาม
*การอะซานเป็นดั่งลำนำทางศาสนา แม้ว่าจะเป็นประโยคสั้น ๆ แต่เปี่ยมไปด้วยความหมาย
*การอะซานเป็นการปลุกให้ตื่นจากการหลับไหลและการหลงลืม
*การอะซานเป็นสัญลักษณ์ของผู้เคร่งครัดในศาสนา และเป็นเครื่องหมายของวิญญาณที่ไม่เคยหลับไหล

๓. นมาซเป็นมงกุฎของอิบาดะฮฺทั้งหลาย
อิสลามจะกำหนดความเป็นพิเศษของทุกสิ่งทุกอย่างเอาไว้ เช่น วันและเวลาที่ประเสริฐที่สุด คือ ลัยละตุ้ลก็อดรฺ วันที่ดีที่สุดในรอบสัปดาห์คือวันศุกร์ กำหนดให้มีการอ่านดุอาอฺในวันและค่ำคืนที่มีความประเสริฐเช่น ลัยละตุ้ลมับอัษ (วันแต่งตั้งให้ท่านมุฮัมมัดดำรงตำแหน่งศาสดา) ค่ำวันเกิดของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และค่ำวันศุกร์ ฯลฯ ซึ่งท่านจะไม่พบเลยว่าในวันต่าง ๆ ที่มีความศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น จะไม่มีการกำหนดให้ปฏิบัตินมาซ

๔. นมาซเป็นอิบาดะฮฺที่มีความหลากหลายที่สุด
แม้ว่าหัจญ์ ญิฮาด วุฎู่ และฆุสลฺ (การอาบน้ำตามหลักการของศาสนา) จะมีหลายประเภท แต่อิบาดะฮฺเหล่านั้นก็ยังไม่หลากหลายเหมือนนมาซ เพราะนมาซมีหลายประเภทด้วยกัน ดังที่เราสามารถพบเห็นรายละเอียดได้จากคำ อธิบายอิบาดะฮฺในหนังสือ ดุอาอฺมะฟาตีหุ้ลญันนาน ของท่านเชคอับบาสกุมมีย์
บรรดาอิมาม (อ.) แต่ละท่านจะมีนมาซสุนัตเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป เช่น นมาซมุสตะฮับ(สุนัต)ของท่านอิมามซะมาน (อ.) จะแตกต่างไปจากนมาซสุนัตของท่านอิมามอะลี (อ.)

๕. นมาซกับการฮิจญะเราะฮฺ (อพยพ)
ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) กล่าวว่า “โอ้ข้าแต่พระผู้อภิบาล ข้าพเจ้าได้พาครอบครัวไปอาศัยอยู่ในทะเลทรายที่แห้งแล้งปราศจากน้ำและต้นไม้ ซึ่งการที่ข้าพเจ้าได้ทำเช่นนี้ เพราะมีความปรารถนาที่จะดำรงนมาซต่อพระองค์”
“โอ้องค์พระผู้อภิบาลของเรา แท้จริงข้าพเจ้าได้ให้ที่อยู่อาศัยแก่ผู้สืบ ตระกูลบางคนของข้าพเจ้า บนที่แห้งแล้งปราศจากน้ำและต้นไม้ใกล้กับบ้านที่เป็นฮะร่ามของพระองค์ โอ้พระผู้อภิบาลของเราเพื่อพวกเขาจะได้ดำรงนมาซ” (رَبَّنَا إِنِّي أَسْكَنتُ مِنْ ذُرِّيَّتِي بِوَادٍ غَيْرِ ذِي زَرْعٍ عِنْدَ بَيْتِكَ الْمُحَرَّمِ رَبَّنَا لِيُقِيمُوا الصَّلاة (ซูเราะฮฺอิบรอฮีม : ๓๘)

หน้าที่ของผู้ที่มีความปรารถนานมาซ คือต้องเดินทางและอพยพไปยังสถานที่กันดาร ปราศจากน้ำและพืชพันธ์ ที่มีแต่ความน่าสะพรึงกลัวเพื่อชูธงของนมาซให้ประชาโลกได้เห็นความศักดิ์สิทธิ์

๖. การละเว้นการประชุมที่มีความสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์เพื่อดำรงนมาซ
ศอบิอีนเป็นนามลัทธิศาสนาหนึ่งที่กล่าวไว้ในอัล-กุรอาน บรรดาศอบิอีนได้มีความคลั่งไคล้ในตัวของท่านยะหฺยา (อ.) ขณะเดียวกันก็มีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของฤกษ์ยามและหมู่ดวงดาวต่าง ๆ ปัจจุบันยังมีกลุ่มคนเหล่านี้อยู่ในแคว้นคูซิสตานของอิหร่าน พวกเขาจะมีการนมาซและมีการจัดพิธีกรรมพิเศษ

ลัทธินี้มีผู้นำที่เป็นปราชญ์ชั้นสูง แต่มีความอวดดีและหยิ่งจองหองผู้นำ ของเขาเคยสนทนากับท่านอิมามริฎอ (อ.) หลายครั้งเกี่ยวกับความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ของอิสลามแต่สุดท้ายก็ไม่ยอมรับความจริงมีอยู่ครั้งหนึ่งของการสนทนา ท่านอิมามริฏอ (อ.) ได้ใช้ตรรกศาสตร์พิสูจน์ความจริงกับเขาและเขาได้ยอมรับพร้อมทั้งพูดว่า “จิตวิญญาณของฉันได้อ่อนลง และกำลังจะยอมรับศาสนาของท่าน" ในเวลานั้นเสียงอะซานได้ดังขึ้น ท่านอิมาม (อ.) จึงยุติการสนทนา ประชาชนพากันแปลกใจและได้พูดว่า โอ้ท่านอิมามตอนนี้เป็นโอกาสดี อาจจะไม่มีโอกาสเช่นนี้อีกแล้ว ท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าวว่า “นมาซต้องมาก่อนภารกิจอื่นใด” เมื่อพวกเขาได้เห็นความเคร่งครัดของท่านอิมาม (อ.) เช่นนั้น ยิ่งทำให้พวกเขามีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้น และเมื่อท่านอิมาม (อ.) นมาซเสร็จ ได้มีการสนทนาต่อจนกระทั่งพวกเขายอมรับอิสลามในที่สุด

๗. นมาซตรงเวลาขณะทำสงคราม
ท่านอิบนุอับบาสได้รายงานว่า “ขณะทำสงครามบ่อยครั้งที่เห็นท่านอิมามอะลี (อ.) แหงนมองท้องฟ้า” และท่านทำเช่นนี้อยู่ตลอดเวลาฉันเกิดความสงสัย จึงเข้ามาหาท่านและถามว่า...“โอ้เมาลาอะลี ท่านแหงนมองดูท้องฟ้าทำไมหรือ” ท่านอิมาม (อ.) ได้ตอบว่า “เพราะฉันไม่ปรารถนาให้นมาซที่ตรงเวลาต้องสูญเสียไป” ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า “ขณะนี้ท่านกำลังทำสงครามอยู่นะ”

ท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าวว่า “ เราไม่ควรเพิกเฉยหรือละเลยต่อนมาซที่ตรงเวลา”

๘. ในบางกรณีการพักผ่อนดีกว่าการหักโหมทำอิบาดะฮฺ
ครั้งหนึ่งท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้นมาซญะมะอะฮศุบฮฺร่วมกับบรรดาผู้ศรัทธาคนอื่น ๆ แต่ไม่เห็นท่านอิมามอะลี (อ.) อยู่ในแถวนมาซ ท่านจึงรีบไปยังบ้านของท่านอะลี (อ.) และได้ถามท่านหญิงฟาฏิมะฮฺว่า “ทำไมเมื่อเช้านี้อะลีจึงไม่ไปนมาซญะมะอะฮฺที่มัสญิด”
ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) ได้กล่าวตอบว่า “เพราะเมื่อคืนนี้ท่านอะลี ได้ทำอิบาดะฮฺตลอดทั้งคืน คงจะเหนื่อยจึงไม่ได้ไปร่วมนมาซญะมาอะฮกับท่านที่มัสญิด”
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จึงได้กล่าวกับท่านหญิงฟาฎิมะฮฺว่า “ โอ้ฟาฏิมะฮฺลูกรักเอ๋ยลูกจงบอกกับอะลีเถิดว่า ในเวลากลางคืนไม่ต้องทำอิบาดะฮฺมาก ควรจะแบ่งเวลาเพื่อการพักผ่อนบ้างจะได้มีกำลังไปร่วมนมาซญะมาอะฮฺในตอนเช้า ซึ่งไม่ควรเสียโอกาสไป

ดังนั้น จะสังเกตเห็นว่าการนอนหลับเพื่อออมแรงไว้ไปร่วมนมาซญะมาอะฮฺ นั้นดีกว่าการทำอิบาดะฮฺและขอมุนาญาต ที่เป็นเหตุทำให้นมาซญะมาอะฮฺต้องสูญเสียไป การเน้นสำทับของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เกี่ยวกับเรื่องนี้ ต้องการจะบอกว่าความประเสริฐของนมาซญะมาอะฮฺนั้น มีมากกว่าการดำรงอิบาดะฮฺและมะนาญาตตลอดทั้งคืน

๙. นมาซในที่สาธารณะมิใช่หลบซ่อน
ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ไดเข้าสู่แผ่นดินกัรบะลาเมื่อวันที่ ๒ ของเดือนมุฮัรรอม และเป็นชะฮาดัต ในวันที่ ๑๐ ของเดือน เมื่อนับเวลาที่ท่านอิมาม (อ.) อยู่ในกัรบะลาเป็นเวลา ๘ วันพอดี ซึ่งตามกฏชัรอียฺผู้ที่เดินทางไม่ถึงสิบวันจะต้องทำนมาซเดินทาง (หมายถึงนมาซที่มี ๔ เราะกะอัตให้ทำแค่ ๒ เราะกะอัต)

ฉะนั้นนมาซสองเราะกะอัตใช้เวลาไม่เกิน ๒-๓ นาที โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะสงคราม ขณะเดียวกันจะเห็นว่าในวันอาชูรอนั้นท่านอิมาม (อ.) ได้กลับมายังที่พักหลายครั้ง ถ้าท่านอิมาม (อ.) ประสงค์จะนมาซให้เสร็จก่อนแล้วค่อยออกไปสู้รบใหม่ย่อมทำได้ เพราะนมาซใช้เวลาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ในทางกลับกันท่านอิมาม (อ.) ได้ทำนมาซท่ามกลางกองทหารและการสู้รบ โดยมีทหารสองนายคอยยืนเป็นกำบังให้กับท่านอิมาม พวกเขาได้เป็นชะฮีดเพราะลูกธนูของศัตรู

ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่านมาซของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในวันอาชูรอเป็นนมาซที่เปิดเผยที่ปฏิบัติต่อหน้าประชาชน แน่นอนการประท้วงด้วยนมาซ หรือแลดงออกถึงความสำคัญของนมาซย่อมมีค่าอยู่ในตัวของมัน ฉะนั้น สถานที่ปฏิบัตินมาซของเราตามโรงแรม ห้องอาหาร สนามบิน หรือบริษัทห้างร้าน ฯลฯ ไม่ควรหลบ ๆ ซ่อน ๆ สมควรทำในที่เปิดเผยต่อหน้าประชาชนเพราะในที่ใดก็ตามถ้าคุณค่าของศาสนาจืดจาง ความงามของอบายมุขก็จะเข้าครอบงำ

๑๐. ผู้ให้ทุนสร้างมัสญิด ผู้ออกแบบ ผู้ตกแต่งภายในและผู้ก่อสร้างต้องเป็นผู้ที่ดำรงนมาซ
โองการที่ ๑๗ ซูเราะฮฺเตาบะฮฺกล่าวว่า “แท้จริงผู้ที่ทำการซ่อมแซมมัสญิดของอัลลอฮฺ คือ ผู้ที่มีศรัทธาต่ออัลลอฮฺต่อวันกิยามัตและเป็นผู้ดำรงนมาซ”
เมื่อพิจารณาโองการจะเห็นว่าผู้ที่มีสิทธิซ่อมแซม หรือสร้างมัสญิดนั้นนอกจากต้องมีอีมาน มีความกล้าหาญ จ่ายซะกาตแล้วยังต้องเป็นผู้ดำรงนมาซอีกต่างหาก

คนที่ไม่ดีไม่มีหน้าที่ทำนุบำรุงมัสญิดของอัลลอฮฺ (ซบ.) เพราะมัสญิดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสถานที่ใช้ปฏิบัติอิบาดะฮไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะให้ภารกิจเหล่านี้ไปตก อยู่ในมือของคนที่ไม่มีเกียรติ หรือคนที่ไม่มีความเหมาะสม อัล-กุรอานกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า “บรรดามุชริกีนไม่มีสิทธิทำนุบำรุงมัสญิด” และฮะดีษกล่าวว่า “เมื่อพวกกดขี่ (ซอลิม) ทำการสร้างมัสญิด เจ้าจงอย่าให้ความร่วมมือเด็ดขาด”

๑๑. สุราและการพนันเป็นสิ่งฮะรอมเพราะเป็นอุปสรรคต่อการนมาซ
สุราและการพนันเป็นสิ่งที่สร้างความเสียหายและเป็นอันตรายต่อร่างกายและจิตวิญญาณ อีกทั้งนำความเสื่อมเสียมาสู่สังคม แม้ผลเสียของสุราและการพนันมีมากมาย แต่พระองค์เลือกที่หยิบยกผลเสียที่มีต่อการนมาซเป็นสาเหตุหลัก

อัล-กุรอานกล่าวว่า “มันทั้งสอง (สุราและการพนัน) ได้ห้ามเจ้าไม่ให้ทำการระลึกถึงอัลลอฮฺและการนมาซ”(وَيَصُدَّكُمْ عَنْ ذِكْرِ اللَّهِ وَعَنْ الصَّلاةِ (ซูเราะฮฺอัล-มาอิดะฮฺ : ๙๑)
ท่ามกลางผลเสียทางการแพทย์มากมายนับไม่ถ้วนของสุรา แต่โองการข้างต้นได้เน้นถึงผลเสียทางจิตวิญญาณและสังคมเอาไว้ ผลเสียต่อสังคมคือการก่อให้เกิดความบาดหมางขึ้น และผลเสียทางจิตวิญญาณคือการที่สุราเป็นเหตุให้มนุษย์ลืมการระลึกถึงอัลลอฮฺ (ซบ.) และนมาซ

๑๒. การเอาใจใส่ต่อนมาซของคนในครอบครัว
อัล-กุรอานได้กล่าวถึงคำวิงวอนของศาสดาอิบรอฮีมไว้มากมาย แต่คำวิงวอนที่ท่านได้ขอให้พระองค์โปรดปรานแก่ลูกหลานของท่านมีเพียงสองข้อสำคัญ นั่นก็คือ การขอให้ลูกหลานท่านได้เป็นผู้นำสังคม และขอให้พวกเขาเป็นผู้ดำรงนมาซ

โดยท่านวอนขอจากพระองค์ว่า “โอ้ข้าฯแต่พระผู้อภิบาล โปรดบันดาลให้ข้าฯและผู้สืบตระกูลของข้าฯเป็นผู้ดำรงนมาซ” (رَبِّ اجْعَلْنِي مُقِيمَ الصَّلاةِ وَمِنْ ذُرِّيَّتِي (ซูเราะฮฺอิบรอฮีม : ๔๐)
จะสังเกตเห็นว่าท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) มิได้ขอพรให้เป้นผู้ดำรงนมาซเพียงอย่างเดียว แต่ท่านยอมสละความสุขสบาย อพยพและเร่ร่อนอยู่กลางทะเลทรายเพื่อให้ได้เป็นผู้ดำรงนมาซ

๑๓. การดำรงนมาซเป็นหน้าที่อันดับต้นๆของรัฐอิสลาม
อัล-กุรอานกล่าวว่า “(ประชาชาติอิสลาม) คือ หมู่ชนที่หากเรามอบอำนาจการปกครองบนหน้าแผ่นดินแก่พวกเขา พวกเขาก็จะดำรงนมาซ”(الَّذِينَ إِنْ مَكَّنَّاهُمْ فِي الْأَرْضِ أَقَامُوا الصَّلاةَ (ซูเราะฮฺอัล-ฮิจญ์ : ๔๑)

บรรดามุสลิมเมื่อพวกเขาได้อำนาจมาสิ่งแรกที่พวกเขาจะปฏิบัติคือ การดำรงนมาซ สิ่งเหล่านี้คือแบบอย่างของพวกเราที่ต้องสืบสวนต่อไป ขออย่าให้ผู้จัดการหรือผู้บริหารของเราคิดถึงแต่ผลกำไรและนั่งไขว่ห้างอยู่ หน้าบริษัท ขออย่าให้บรรดานักวิชาการทั้งหลายคิดแต่พียงฝึกผู้เชี่ยวชาญ และขออย่าให้หน่วยงานรัฐคำนึงแต่เพียงการผลิตหรือการกระจายสินค้าเพียงอย่างเดียว เพราะหน้าที่ประการแรกของของรัฐอิสลามคือ การจัดให้มีการนมาซ”

๑๔. นมาซไม่มีวันหยุด
อัล-กุรอานกล่าวว่า (นบีอีซา (อ.)กล่าวว่า)“และพระองค์ทรงแนะนำฉันเกี่ยวกับนมาซ และจ่ายซะกาตตราบที่ฉันยังมีชีวิตอยู่”(وَأَوْصَانِي بِالصَّلاةِ وَالزَّكَاةِ مَا دُمْتُ حَيًّا (ซูเราะฮฺมัรยัม : ๓๑)

ในบางครั้งกฎเกณฑ์ในอิสลามก็ได้รับการยกเว้น เนื่องจากมีเหตุผลและอุปสรรคอย่างอื่น เช่น การออกศึกสงครามไม่เป็นวาญิบ(ข้อบังคับ)สำหรับคนตาบอดหรือคนพิการ การถือศีลอดไม่วาญิบสำหรับผู้เจ็บป่วย การจ่ายคุมุสฺหรือซะกาตและเดินทางไปประกอบพิธีหัจญ์ ไม่เป็นวาญิบสำหรับผู้ไร้ความสามารถ มีเพียงอิบาดะฮฺเดียวที่มิได้รับการยกเลิกไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม แม้แต่ในช่วงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต อิบาดะห์นั้นก็คือ นมาซ (ถึงแม้ว่าสตรีช่วงมีระดูไม่ต้องทำนมาซแต่หลังจากหมดระดูแล้วต้องกะฎอชดใช้)

๑๕. นมาซเคียงคู่อัธยาศัยอันงดงาม
กุรอานกล่าวว่า "สูเจ้าจงกล่าวแก่มวลมนุษย์อย่างงดงาม และจงดำรงนมาซ"قولوا للناس حسنا و اقيموا الصلوة )

ด้วยคำพูดที่ไพเราะและนิ่นนวลสามรรถเชิญชวนผู้คนมาสู่นมาซได้ดีกว่า
ดังที่ประวัติศาสตร์ได้จารึกไว้ว่า ผู้คนจำนวนมากมายที่ดีงามและความประพฤติที่เรียบร้อยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มากกว่าผู้ที่ยอมรับอิสลามด้วยการหักล้างกันด้วยเหตุผลทางหลักฐานและสติปัญญา

หรือแม้แต่บรรดาผู้ปฏิเสธทั้งหลาย หากต้องมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือโต้คารมกันด้วยเหตุผลก็ควรเป็นไปในลักษณะที่ดี หมายถึงยอมรับในสิ่งที่ดีทั้งหลายของเขา หลังจากนั้นจงค่อยแสดงทัศนะและแง่คิดที่จะสร้าง สรรค์จรรโลง ซึ่งเป็นการดีกว่า การวิเคราะห์หรือวิจารณ์อย่างตรงไปตรงมา

๑๖. การดำรงนมาซเป็นวาญิบแรก (ข้อบังคับ) หลังจากที่ศรัทธา (อีมาน) ต่อเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า
อัล-กุรอานกล่าวว่า “ได้แก่บรรดาผู้ที่มีความศรัทธาต่อสิ่งเร้นลับและดำรงนมาซ”(الَّذِينَ يُؤْمِنُونَ بِالْغَيْبِ وَيُقِيمُونَ الصَّلاةَ (ซูเราะฮฺอัล-บะกอเราะฮฺ : ๒)
อัล-กุรอานได้อธิบายว่าหลังจากมีศรัทธาต่อสิ่งเร้นลับอันได้แก่ การมีศรัทธาต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) มะอาดและหมู่มวลมะลาอิกะฮฺแล้วจะสังเกตเห็นว่า การกระทำที่เป็นฐานรากของการกระทำทั้งหลาย ซึ่งได้รับการสรรเสริฐและสดุดีอย่างมากมาย คือการดำรงนมาซ

๑๗. อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงสรรเสริญผู้ที่เห็นความสำคัญของนมาซมากกว่าภารกิจอื่น
อัล-กุรอานกล่าวว่า “ชนกลุ่มหนึ่ง ธุรกิจการค้าไม่อาจทำให้พวกเขาลืมการรำลึกถึงอัลลอฮฺ และการดำรงนมาซได้” (رِجَالٌ لَا تُلْهِيهِمْ تِجَارَةٌ وَلَا بَيْعٌ (ซูเราะฮฺอันนูร : ๓๗)

อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ชะฮีดระญาอีย์ ได้กล่าวว่า “อย่าบอกกับนมาซว่าเดี๋ยวก่อน ฉันมีงาน แต่จงบอกกับงานว่าคอยก่อน ฉันต้องทำนมาซ”

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันศุกร์ซึ่งได้มีการแนะนำไว้อย่างมากกว่า จงปิดห้างร้านและหยุดธุรกิจได้ชั่วคราว อัล-กุรอานกล่าวว่า “และเจ้าจงหยุดการค้าขายไว้” เพื่อไปร่วมนมาซญุมอะฮฺแต่หลังจากนมาซเสร็จแล้ว อัล-กุรอานสัมทับว่า “ดังนั้น เจ้าจงแยกย้ายกันไปบนหน้าแผ่นดินเพื่อแสวงหาความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ” หมายถึง ไปเปิดร้านและดำเนินธุรกิจของท่านต่อไป ตรงนี้ นมาซจึงไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อภารกิจทางโลก เพราะเรียกร้องให้ท่านหยุดพักชั่วคราวเท่านั้นเอง จะสังเกตเห็นว่าพระองค์ให้ความสำคัญและให้เกียรติต่อภารกิจของมนุษย์เสมอ พระองค์มิทรงประสงค์ให้มนุษย์หยุดภารกิจของเขานาน ๆ มิทรงปรารถนารบกวนเวลาของมนุษย์

พระองค์จึงตรัสกับมนุษย์ด้วยถ้อยธรรมที่ไพเราะว่า “โอ้มวลผู้ศรัทธาเอ๋ย” ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงการให้เกียรติอย่างมากของพระผู้พระผู้เป็นเจ้ที่มีต่อบ่าวของพระองค์ หลังจากนั้นจึงตรัสต่อว่า “เมื่อเจ้าได้ยินเสียงอะซาน (เสียงเรียกร้องสู่การนมาซ) จงหยุดภารกิจไว้ชั่วคราว” ซึ่งหมายถึงว่า ไม่ได้ให้เจ้าหยุดตลอดทั้งวันเฉพาะช่วงที่มีการเรียกร้องสู่นมาซเท่านั้น และประโยคถัดมาพระองค์ตรัสแทนที่คำว่า “เศาะลาต” ด้วยคำว่า “ซิกรุ้ลลอฮฺ” หมายถึง การรำลึกถึงอัลลอฮฺในความหมายก็คือ นมาซ คือการรำลึกถึงอัลลอฮฺและพระองค์ตรัสว่า “เฉพาะวันศุกร์” มิได้หมายความว่า ทุกวันเจ้าต้องปฏิบัติเช่นนี้แค่เพียงสัปดาห์ละหนึ่งครั้งเท่านั้น ประโยคต่อมาพระองค์ตรัสว่า “การกระทำเช่นนี้เป็นการดีสำหรับเจ้า” และเมื่อเสร็จสิ้นนมาซแล้ว เจ้าจงแยกย้ายกันไป”

๑๘. นมาซกับการจำแนกระดับมนุษย์
แม้จะทราบความสำคัญของนมาซในทัศนะของพระองค์ไปแล้ว อย่างไรก็ตาม มุมมองของมนุษย์ต่อนมาซยังมีความแตกต่างกัน
คนบางกลุ่มวางตนเป็นอุปสรรคต่อผู้ดำรงนมาซว่า“เจ้าเห็นไหมผู้ที่ คอยกีดกันบ่าว (กลั่นแกล้ง) เมื่อเขาทำนมาซ” (أَرَأَيْتَ الَّذِي يَنْهَى * عَبْدًا إِذَا صَلَّى (ซูเราะฮฺอัล-อะลัก : ๙-๑๐)

อบูญะฮัลผู้ดื้อรั้นได้วางแผนว่าจะใช้เท้าถีบต้นคอท่านศาสดา (ศ็อลฯ)ขณะที่ศาสดาลงสุญูด พรรคพวกของอบูญะฮัลได้เห็นว่าเขาเดินไป แต่เมื่อใกล้จะถึงท่านศาสดา (ศ็อลฯ)เขากลับหันหลังกลับมา พวกเขาถามว่า “ทำไมไม่จัดการมุฮัมมัดล่ะ” ตอบว่า “เพราะฉันเห็นบ่อไฟกำลังลุกโชนอยู่เบื้องหน้า” (ตับสีรนิมูเนะฮฺ คัดลอกมาจากตับสีรฺมัจญะมาอุ้ลบัยยาน)

กลุ่มชนที่ชอบล้อเลียนการนมาซ อัล-กุรอานกล่าวว่า“และเมื่อเจ้าเรียกร้องให้มาทำนมาซ พวกเขาก็เย้ยหยันและล้อเล่น”(وَإِذَا نَادَيْتُمْ إِلَى الصَّلاةِ اتَّخَذُوهَا هُزُوًا (ซูเราะฮฺอัล-มาอิดะฮฺ : ๕๘)

กลุ่มชนที่แสดงอาการแหนงหน่ายต่อนมาซ อัล-กุรอานกล่าวว่า“และเมื่อพวกเขายืนขึ้นเพื่อดำรงนมาซ พวกเขาก็ยืนอย่างเกียจคร้าน” (قَامُوا إِلَى الصَّلاةِ قَامُوا كُسَالَى (ซูเราะฮฺอัน-นิสาอฺ : ๑๔๒)

กลุ่มชนที่ปฏิบัตินมาซด้วยความโอ้อวด อัล-กุรอานกล่าวว่า “เพื่อให้มนุษย์ได้เห็น พวกเขาไม่ทำการรำลึกถึงอัลลอฮฺเว้นแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น” (يُرَاءُونَ النَّاسَ وَلَا يَذْكُرُونَ اللَّهَ إِلَّا قَلِيلًا (ซูเราะฮฺอัน-นิสาอฺ : ๑๔๒)

กลุ่มชนที่ทำนมาซไม่สม่ำเสมอ อัล-กุรอานกล่าวว่า“ความหายนะได้ประสบแก่ผู้ดำรงนมาซ ผู้ซึ่งเผลอเรอในนมาซของพวกเขา”(فَوَيْلٌ لِلْمُصَلِّينَ *الَّذِينَ هُمْ عَنْ صَلاتِهِمْ سَاهُونَ (ซูเราะฮฺอัล-มาอูน : ๔)

ตัฟสีรฺได้อธิบายว่าจุดประสงค์ของคำว่า ซาฮูน หมายถึง การลืม เผลอเรอ การไม่สนใจขณะปฏิบัตินมาซ ไม่สนใจต่อเวลาและเงื่อนไขโดยปล่อยเวลาที่ประเสริฐของมันให้ล่าช้าออกไป หรือไม่มีความเชื่อต่อมรรคผลและการลงโทษหากละทิ้งการนมาซ

ฉะนั้น ถ้าการไม่เอาใจใส่ต่อนมาซเป็นความหายะนะแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นกับผู้ที่ละทิ้งนมาซโดยสิ้นเชิง
กลุ่มชนที่เห็นดุนยาความสำคัญมากกว่า พวกเขาจึงพูดว่าฉันก็จะคิดถึงนมาซ แต่เป็นเพราะมีโลกดุนยาอยู่เบื้องหน้า ฉันจึงลืมเลือนนมาซ

อัล-กุรอานกล่าวว่า“เมื่อพวกเขาได้มองเห็นกองคาราวานค้าขายหรือสิ่งไร้สาระ พวกเขาก็แยกตัวออกไปสุ่มัน โดยปล่อยให้เจ้ายืนอยู่เพียงลำพัง”(وَإِذَا رَأَوْا تِجَارَةً أَوْ لَهْوًا انفَضُّوا إِلَيْهَا وَتَرَكُوكَ قَائِمًا (ซูเราะฮฺอัล-ญุมุอะฮฺ : ๑๑)

โองการข้างต้นได้กล่าวสัมทับถึงเหตุการณ์หนึ่งว่า ขณะที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กำลังอ่านคุฎบะฮฺ (กล่าวเทศนาธรรม) นมาซญมุอฮฺอยู่นั้น ได้มีกองคาราวานค้าขายตีกลอง เพื่อประกาศว่าคาราวานค้าขายได้มาแล้ว ซึ่งประชาชนต่างวิ่งกรกันออกไปหาพ่อค้า เพื่อดูและซื้อสินค้าเหล่านั้น โดยทิ้งท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ให้ยืนอยู่ตามลำพัง ซึ่งประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่าเหลือผู้ฟังคุฏบะฮฺเพียง ๑๒ คนเท่านั้น

๑๙. บนบานและพยายามทุกอย่างเพื่อให้มีการดำรงนมาซ
บางคนได้นะซัร (บนบาน) ว่า หากมีบุตร ขอถวายบุตรของตนให้เป็นผู้รับใช้ในมัสญิด
อัล-กุรอานกล่าวว่า ครั้นเมื่อภรรยาของอิมรอนกล่าวว่า “โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน แท้จริงแล้วฉันขอบนกับพระองค์ว่า สิ่งที่อยู่ในครรภ์ของฉันขอถวายเป็นอิสระ”(إِنِّي نَذَرْتُ لَكَ مَا فِي بَطْنِي مُحَرَّرًا (ซูเราะฮฺอาลิอิมรอน : ๓๕)

โองการกล่าวถึงเรื่องราวของมารดาของท่านหญิงมัรยัม ซึ่งนางกล่าวว่า “โอ้พระผู้อภิบาล ฉันขอบนกับพระองค์ว่า บุตรของฉันในครรภ์นี้ขอถวายเพื่อเป็นผู้รับใช้ในบัยตุ้ลมุก็อศดัสอย่างเป็นอิสระ เพื่อเขาจะได้มีเวลาในการรับใช้มัสญิดอย่างเต็มที่” และเมื่อนางได้คลอดบุตรออกมาเป็นผู้หญิง นางจึงกล่าวว่า “โอ้พระผู้อภิบาลฉันได้บุตรี ซึ่งเธอคงไม่สามารถรับใช้มัสญิดได้เหมือนกับเด็กผู้ชาย” แต่อย่างไรก็ตาม ในที่สุดนางได้ทำตามคำบนของนางทุกประการ โดยท่านหญิงมัรยัมได้ทำหน้าที่ผู้รับใช้มัสญิดในที่สุด

มีศาสดาบางคนต้องพเนจรและอพยพ นำเอาครอบครัวออกไปตามทะเลทรายและสถานที่กันดาร ต้องทนทุกข์ทรมานเพียงเพื่อนมาซ
อัล-กุรอานกล่าวว่า“โอ้พระผู้อภิบาลของเรา แท้จริงข้าพเจ้าได้ให้สถานที่พักพิงแก่ผู้สืบ ตระกูลบางคนของข้าพเจ้าในสถานที่กันดาร ซึ่งปราศจากพืชพันธ์ใกล้กับบ้านที่เป็นฮะรัมของพระองค์ โอ้พระผู้อภิบาลของเราเพื่อพวกเขาจะได้ดำรงนมาซ” (رَبَّنَا إِنِّي أَسْكَنتُ مِنْ ذُرِّيَّتِي بِوَادٍ غَيْرِ ذِي زَرْعٍ عِنْدَ بَيْتِكَ الْمُحَرَّمِ رَبَّنَا لِيُقِيمُوا الصَّلاةَ (ซูเราะฮฺอิบรอฮีม : ๓๘)

จะสังเกตเห็นว่าท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ต้องทนลำบากตรากตรำนำเอาครอบครัวไปไว้ในสถานที่กันดารแห้งแล้งปราศจากน้ำและ ต้นไม้ โดยท่านได้ปรารภกับพระผู้เป็นเจ้าว่า “โอ้ข้าแต่พระองค์ การที่ข้าพเจ้าทำเช่นนี้เพื่อพวกเขาจะได้ดำรงนมาซ”

สิ่งที่ควรตั้งข้อสังเกตก็คือ ผู้สถาปนาบัยตุ้ลลอฮฺได้เดินทางมายังนครมักกะฮฺมิใช่เพื่อประกอบพิธีหัจญ์ แต่เพื่อการดำรงนมาซ ประหนึ่งเป็นการบ่งบอกว่าในทัศนะของท่าน การดำรงนมาซรายรอบบริเวณนั้น มีความสำคัญมากกว่าการเดินเวียนฏอวาฟในพิธีหัจญ์ บางครั้งท่านศาสดาอิบรอฮีมได้วิงวอนขอพร เพื่อให้บุตรหลานและผู้สืบ ตระกูลของตนเป็นผู้ดำรงนมาซ

อัล-กุรอานกล่าวว่า “โอ้พระผู้อภิบาล โปรดบันดาลให้ข้าและผู้สืบตระกูลของข้าเป็นผู้ดำรงนมาซ”(رَبِّ اجْعَلْنِي مُقِيمَ الصَّلاةِ وَمِنْ ذُرِّيَّتِي (ซูเราะฮฺอิบรอฮีม : ๔๐)

และเมื่อเราตรวจประวัติศาสตร์จะพบว่า ไม่มีศาสดาคนใดขอดุอาฮฺให้กับบุตรหลานของตนมากเกินไปกว่าท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ด้วยเหตุนี้ อัลลอฮฺ (ซบ.) จึงมอบบะรอกัตอันหลากหลายให้กับบุตรหลานของท่านศาสดาอิบรอฮีม ถึงขนาดที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า “ความปลอดภัยและสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ของฉันเป็นผลสืบเนื่องจาก บะรอกัตดุอาอฺของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.)




โปรดติดตามต่อ

ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัช ชีอะฮ์
114 บทเรียนจากนมาซ

บางคนต้องใช้ความอดทนอย่างมากสำหรับการรณรงค์ให้คนในครอบครัวนมาซ
อัล-กุรอานกล่าวว่า “และเจ้าจงสั่งให้ครอบครัวของเจ้านมาซ และเจ้าจงอดทนเพื่อการนั้น” (وَأْمُرْ أَهْلَكَ بِالصَّلاةِ وَاصْطَبِرْ عَلَيْهَا (ซูเราะฮฺฏอฮา : ๑๓๒)

หน้าที่รองประการแรกของมนุษย์ หลังจากหน้าที่ของตัวเอง คือ ครอบครัว เพราะในบางครั้งการอบรมคนในครอบครัวนั้นมีความยากลำบากกว่าการเชิญชวนคนภาย นอก ซึ่งต้องใช้ความอดทนและความอุตสาหะอย่างยิ่ง ผู้เป็นบุพการีทั้งหลายคงต้องสร้างความเข้าใจกับคำว่า “ความมีขันติ” นั้นคืออะไร มิใช่ว่าสอนสั่งพวกเขาสองสามครั้งแล้วไม่เกิดประโยชน์ ก็ปล่อยไปตามอำเภอน้ำใจสุดแต่บุญวาสนาจะพาพวกเขาไปทางไหน

บางคนได้กำหนดให้ช่วงเวลาที่ดีที่สุดเป็นเวลาของนมาซ ดังเช่นที่ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวกับท่านมาลิก อัชตัรว่า “เจ้าจงกำหนดให้ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของเจ้าเป็นเวลานมาซเถิด”
และท่านได้กล่าวอีกว่า “เจ้าจงพึงสังวรไว้เถิดว่าภารกิจการงานทั้งหลายของเจ้าต้องพึ่งพานมาซของเจ้า”

บางคนให้ความสนับสนุนและส่งเสริมให้คนอื่นดำรงนมาซ
อัล-กุรอานกล่าวว่า “และพวกเขาตักเตือนกันในเรื่องสัจธรรม” (ซูเราะฮฺอัล-อิศริ : ๓)

การส่งเสริมและการสนับสนุนกันนั้นอาจจะกระทำด้วยวาจา หากผู้ที่มีบทบาทในสังคมร่วมยืนนมาซในแถวแรกเสมอ หากผู้ศรัทธาไปมัสญิดโดยสวมใส่เสื้อผ้าที่แลดูสะอาดและประพรมน้ำหอมเสมอ หากอิมามเลือกอ่านซูเราะง่าย ๆ ในนมาซ ไม่ทำให้ยืดเยื้อจนเกิดความเบื่อหน่าย สิ่งเหล่านี้จะเป็นการรณรงค์ในเชิงปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อให้ผู้คนให้ความสำคัญต่อการนมาซในมัสญิด

หากอัครศาสดาขั้นสูงเฉกเช่นท่านศาสดาอิบรอฮีมและอิสมาอีล (อ.)อาสาเป็นผู้ทำความสะอาดบ้านของอัลลอฮฺ แน่นอนว่าหากบุคคลที่มีชื่อเสียงอาสาเป็นผู้ดำเนินการจัดพิธีนมาซญะมาอัต ย่อมมีผลต่อการเชิญชวนผู้คนมาร่วมนมาซอย่างแน่นอน

บางคนได้บริจาคทรัพย์สินของตนเพื่อการนมาซ เช่น มีชาวสวนบางเมืองในอิหร่านได้บริจาคเรือกสวนของตน เพื่อให้รายได้จากผลผลิตเป็นค่าใช้จ่ายของมัสญิดและกิจกรรมเกี่ยวกับนมาซ

บางคนต้องยอมถูกลงโทษอย่างสาหัส เพียงเพื่อต้องการดำรงนมาซ เช่น บรรดานักปฏิบัติอิสลามที่ถูกลงโทษในเรือนจำสมัยกษัตริย์ชาห์
บางคนเฉกเช่น ท่านซุเฮรต้องยอมสละชีพ โดยแอ่นอกรับลูกธนูในวันอาชูรอ เพื่อปกป้องท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ขณะดำรงนมาซ
และบางคนได้พลีชีพบนวิถีทางของนมาซ เช่น บรรดาชูฮะดามิหฺรอบ อาทิ ท่านอายะตุ้ลลอฮฺอิชรอฟีย์ อิศฟาฮานีย์ ท่านอายะตุ้ลลอฮฺดัสฆีบฺ ท่านอายะตุ้ลลอฮฺศุดูกีย์ ท่านอายะตุ้ลลอฮฺมะดะนีย์และท่านอายะตุ้ลลอฮฺกอฎีย์ฎอบาอีย์ บรรดาท่านเหล่านี้ได้ถูกพวกมุนาทิกีนลอบสังหารขณะนำนมาซ

และบางท่านสละชีพขณะนมาซ เช่น ท่านอิมามอลี (อ.)

๒๐. การละทิ้งนมาซ คือสาเหตุที่ทำให้เป็นชาวนรก
ในวันกิยามะฮฺจะมีการซักถามกันระหว่างชาวสวรรค์กับชาวนรก ซึ่งข้อซักถามของพวกเขา อัลกุร-อานบางซูเราะฮฺ เช่น (ซูเราะฮฺมุด-ดัษษิรฺ) ได้บรรยายสรุปไว้ว่า “และชาวสวรรค์ได้ถามชาวนรกว่า อะไรคือสาเหตุทำห้พวกท่านต้องถูกลงโทษในไฟนรกหรือ พวกเขาได้ตอบว่ามีอยู่สี่สาเหตุสำคัญที่ทำให้พวกเราเป็นชาวนรก ซึ่งหนึ่งในสี่สาเหตุนั้นคือ” “การที่พวกเราไม่ดำรงนมาซ พวกเราไม่เคยแจกจ่ายอาหารแก่คนอนาถา และพวกเราได้วิพากวิจารณ์ร่วมกับบรรดาผู้วิจารณ์ทั้งมวล และพวกเรากล่าวว่าวันตอบแทนเป็นเรื่องเท็จ”(قَالُوا لَمْ نَكُ مِنَ الْمُصَلِّينَ *وَلَمْ نَكُ نُطْعِمُ الْمِسْكِينَ *وَكُنَّا نَخُوضُ مَعَ الْخَائِضِينَ *وَكُنَّا نُكَذِّبُ بِيَوْمِ الدِّينِ (ซูเราะฮฺอัล-มุดดัษษิรฺ : ๔๓-๔๖)

ฉะนั้น นมาซจึงเป็นเสมือนดาบสองคมที่ให้คุณแก่ผู้ดูแลรักษา และให้โทษแก่ผู้ที่ละทิ้งมัน

๒๑. ผู้ละทิ้งนมาซ คือผู้ไม่มีความหวัง
ระหว่างความหมายของคำว่า รอญา อะมะลัน อุมนียะฮฺ และ สะฟาฮะฮฺ นั้นมีความแตกต่างกันอย่างมากมาย ซึ่งหากเราจะเปรียบเทียบความแตกต่างของคำทั้งสี่ ก็อาจเปรียบได้กับความหวังของเกษตรกร เพราะถ้าเกษตรกรคนหนึ่ง เอาใจใส่ดูแลพืชผลของตนและปฏิบัติไปตามคำแนะนำของเกษตรอำเภอ ซึ่งเขามีความหวังในผลผลิตของเขา ความหวังเช่นนี้เรียกว่า “รอญา”

ถ้าเกษตรกรผู้นี้ไม่ค่อยเอาใจใส่ดูแลพืชผลของตนเท่าไหร่นัก แต่เขาก็ยังหวังในผลผลิตของเขาความวังเช่นนี้เรียกว่า “อะมะลัน”
ถ้าเขาไม่สนใจเลยหรือไม่เคยเอาใจใส่ดูแลพืชผลแม้แต่นิดเดียว แต่ยังหวังว่าจะได้ผลผลิต ความหวังเช่นนี้เรียกว่า “อุมนียะฮฺ” เป็นความหวังที่เกิดจากภาพจินตนาการ

แต่ถ้าเกษตรกรผู้นี้ได้หว่างเมล็ดข้าวสาลีลงไป โดยหวังว่าจะได้ผลผลิตเป็นข้าวบาเล่ย์ ความหวังเช่นนี้เรียกว่า “สะฟาฮะฮฺ” หมายถึงความหวังที่เป็นไปไม่ได้ เหมือนกับคนที่ละทิ้งนมาซแต่มุ่งหวังรางวัลตอบแทนจากพระองค์
ถ้าหากพิจารณาอย่างรอบคอบจะพบว่า ความหวังประเภทที่หนึ่งและสองนั้น เป็นที่ยอมรับดังที่เราอ่านกันเสมอในดุอาฮฺ อบูอัมซะฮฺษุมาลีย์ว่า

“โอ้ข้าแต่พระองค์ สำหรับพวกเราแล้ว มีความหวังที่ยาวไกลและมากมาย (ในการอภัยของพระองค์)”

อีกประโยคหนึ่งกล่าวว่า“โอ้ข้าแต่พระองค์สำหรับพวกเราแล้ว พระองค์คือความหวังที่ยิ่งใหญ่”

ส่วนความหวังประเภทที่สาม ได้รับการวิจารณ์จากอัล-กุรอาน เพราะพวกชาวคำภีร์พูดว่า “จะไม่มีใครได้เข้าสวรรค์ นอกจากยะฮูดี หรือนัศรอนี” อัล-กุรอานกล่าววิจารณ์ว่า “นี่เป็นความเชื่อและเป็นความหวังลม ๆ แล้ง ๆ ”

ความหวังประเภทที่สี่ เป็นความหวังที่เป็นไปไม่ได้ เพราะพวกเขาหวังให้อัลลอฮฺ (ซบ.) ทำให้จักรภพนี้พินาศ ขณะที่พระองค์ คือผู้ทรงกรรมสิทธิ์และเป็นผู้บริบาลจักรภพนี้

ชีวิตที่เป็นสุขและมีพรไพบูลย์ คือชีวิตที่อยู่บนวิถีทางของพระผู้เป็นเจ้า มีการเคารพสักกระ สร้างความคุ้นเคยต่อพระองค์ และมีการดำรงนมาซ ฉะนั้น ผู้ที่ละทิ้งนมาซ ไม่สมควรมีความหวังในความช่วยเหลือใด ๆ จากพระองค์

๒๒. นมาซ คือกุญแจที่จะทำให้อิบาดะฮฺอื่นได้รับการตอบรับ
การให้ความสำคัญต่อนมาซนั้น เพียงพอแล้วหากเจะพิจารณาจากบัญชาของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่มีต่อท่านมุฮัมมัดบินอบีบักร ผู้เป็นตัวแทนของท่านในอียิปต์ โดยท่านได้กล่าวว่า “โอ้มุฮัมมัดเอ๋ย ท่านจงนมาซให้ตรงเวลาพร้อมกับประชาชน เพราะว่าภารกิจอย่างอื่น ๆ นั้นต้องมาหลังนมาซของท่าน”

ริวายะฮฺกล่าวว่า “ถ้านมาซได้รับการตอบรับ อิบาดะฮฺอื่น ๆ ก็จะได้รับการตอบรับไปด้วย แต่ถ้านมาซถูกปฏิเสธ อิบาดะฮฺอื่นก็ถูกปฏิเสธด้วยเช่นกัน”
ดังนั้น จะเห็นว่าอิบาดะฮฺอื่น ๆ จะได้รับการตอบรับหรือไม่ขึ้นอยู่กับนมาซ นมาซจึงถือว่าเป็นกุญแจสำคัญและเป็นมงกุฎของอิบาดะฮฺทั้งหมด

นมาซเปรียบเสมือนใบขับขี่ เพราะเมื่อใดก็ตามที่ตำรวจจราจรเรียกท่าน และต้องการดูใบขับขี่ ถ้าท่านส่งบัตรอื่นไปให้ แน่นอนตำรวจจะไม่ยอมรับ ไม่ว่าท่านจะส่งบัตรไปให้กี่ใบก็ตาม เพราะใบอนุญาตให้ขับขี่ยานยนต์ได้ คือใบขับขี่ ถ้าท่านไม่มีใบขับขี่ บัตรอื่น ๆ ก็ไม่มีความหมาย นมาซก็เช่นเดียวกัน ถ้าไม่ได้รับการตอบรับอิบาดะฮฺอื่น ๆ ที่ท่านสั่งสมไว้อย่างมากมายก็ไม่ถูกยอมรับไปด้วย

๒๓. นมาซ คือคำพูดประโยคแรกและเป็นวะศียัตสุดท้าย
บางริวายะกล่าวว่า “นมาซเป็นคำเชิญชวนอันดับแรกของบรรดาศาสดา (อ.) แต่เป็นพินัยกรรมฉบับสุดท้ายของบรรดาเอาลิยาอฺ (มวลมิตรของอัลลอฮฺ)” ประวัติศาสตร์ได้กล่าวถึงชีวประวัติของท่านอิมามศอดิก (อ.) ไว้ว่า “ในวาระสุดท้ายแห่งชีวิตอันจำเริญก่อนที่ท่านจะอำลาจากโลกไปท่านได้สั่งเสีย กับบุตรหลานของท่านที่รวมกันอยู่ในขณะนั้นว่า...“ชะฟาอัตของเราจะไม่ครอบคลุมไปถึงผู้ที่ไม่ให้ความสำคัญต่อนมาซ และทำนมาซด้วยความเกียจคร้าน”

๒๔. นมาซ คือเครื่องมือทดสอบตนเอง
ฮะดีษกล่าวว่า “ใครก็ตามที่ต้องการรู้ว่าตำแหน่งและฐานะภาพของตน ณ อัลลอฮฺเป็นอย่างไร ก็จงพิจารณาถึงสถานภาพของอัลลอฮฺในหัวใจของเขา”((บิฮารุ้ลอันวาร เล่มที่ ๗๕ หน้า ๑๙๙ เบรุต)

ดังนั้น ถ้าเสียงอะซานและนมาซมีความศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่เคารพสำหรับท่าน ตัวท่านก็ถือว่ามีเกียรติ ณ อัลลอฮฺ แต่ถ้าบัญชาของพระองค์ไม่มีความแตกต่างสำหรับท่าน ท่านก็ไม่มีค่าและไม่มีเกียรติ ใด ณ พระองค์ เช่นกัน หากนมาซสามารถหักห้ามท่านจากความผิดบาปและอบายมุขทั้งหลาย แสดงว่านมาซของท่านได้รับการตอบรับแล้ว

๒๕. นมาซ คือคำถามแรกในวันกิยามะฮฺ
หะดีษกล่าวว่า “ในวันกิยามะฮฺ สิ่งที่ถูกถามและถูกตรวจสอบเป็นอันแรกคือ นมาซ”(บิฮารุ้ลอันวารเล่มที่ ๗ หน้าที่ ๒๖๗ เบรุต)

)๒๖. นมาซ คือการรำลึกถึงอัลลอฮฺ (ซบ.
อัล-กุรอานกล่าวว่า “จงดำรงนมาซเพื่อรำลึกถึงฉัน” เป็นดำรัสที่พระองค์ทรงตรัสกับท่านศาสดามูซา(อ.)

นมาซ เป็นวิธีการที่เฉพาะเจาะจงเพียงเพื่อระลึกถึงพระองค์เท่านั้น ถึงแม้ว่านมาซเป็นการรำลึกด้วยจิต แต่อวัยวะต่าง ๆ ภายนอกก็มีส่วนร่วมด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ถ้าปราศจากอวัยวะเหล่านี้ ยากที่จะทำให้การรำลึกนั้นสมบูรณ์ เริ่มตั้งแต่การทำน้ำนมาซจะสังเกตเห็นว่ามีการมัสหฺ (เช็ด) ที่ศรีษะและเท้าทั้งสอง เมื่อทำสัจญะดะฮฺอวัยวะทั้งเจ็ดส่วนต้องจรดแนบพื้น ขณะที่ปากต้องทำการสรรเสริญ และจิตใจต้องมีสมาธิ โดยมีจุดศูนย์รวมอยู่ที่พระองค์ ด้วยตาทั้งสองต้องไม่ปิด ต้องสวมใส่เสื้อผ้าปกคลุมร่างกายให้มิดชิด ขณะที่ทำรุกูอฺ หลังของเขาต้องโค้งก้มลง เมื่อเวลาตักบีร “อัลลอฮุอักบัร” มือทั้งสองต้องยกขึ้นเสมอติ่งหู ลำคอต้องยืดตรงเมื่อทำรุกูอฺ อีกความหมายหนึ่งคือ ขณะปฏิบัตินมาซ อวัยวะทุกส่วนของร่างกายต้องสำรวมเพื่อการระลึกถึงพระองค์

๒๗. นมาซกับการขอบคุณ
หนึ่งในความของนมาซ คือการของคุณต่อองค์พระผู้อภิบาล ผู้ทรงเกรียงไกรแห่งสากลจักวาล
อัล-กุรอานกล่าวว่า “เจ้าจงนมัสการต่อองค์พระผู้อภิบาลของเจ้า ซึ่งทรงบันดาลเจ้าและบรรดาผู้ที่มาก่อนหน้าแล้ว”(اعْبُدُوا رَبَّكُمْ الَّذِي خَلَقَكُمْ وَالَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ (ซูเราะฮฺอัล-บะกอเราะฮฺ : ๒๑)

การขอบคุณต่อพระผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในความโปรดปรานทั้งหลาย ถือว่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่มีคุณค่ายิ่ง ในอัล-กุรอานกล่าวว่า “เราได้ประทานเกาษัรและความดีอันล้นเหลือแก่เจ้า ดังนั้น เจ้าจงนมาซ” หมายถึงเจ้าจงทำการขอบคุณในสิ่งที่เรา (อัลลอฮฺ) ประทานให้กับเจ้า ด้วยการดำรงนมาซเถิด

ฉะนั้น นมาซจึงถือว่าเป็นการขอบคุณที่ดีที่สุด เพราะอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงสอนวิธีการ และรูปแบบของการขอบคุณด้วยพระองค์เอง อีกทั้งพระองค์ทรงโปรดการขอบคุณประเภทนี้มากกว่าการขอบคุณประเภทอื่น ตลอดจนเหล่าบรรดาศาสดาทั้งหลายและเอาลิยาอฺของพระองค์ (หมู่มวลมิตร) ก็ยึดนมาซเป็นวิธีการขอบคุณตลอดมา นมาซจึงเป็นการขอบคุณที่แสดงออกด้วยกับการกระทำเป็นการฝึกฝนตนเองเป็นการขอบคุณที่ธำรงอยู่ตลอดกาล และเป็นการสร้างสรรค์จรรโลง

๒๘. นมาซกับกิยามะฮฺ (อวสานของจักรวาล)
เมื่อกล่าวถึง วันกิยามะฮฺ(วันฟื้นคืนชีพ)จะพบว่า จากเหตุการณ์ดังกล่าว ประชาชนได้ถูกแบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ ดังนี้

- พวกเขามีความสงสัยเคลือบแคลงต่อวันกิยามะฮฺ
อัล-กุรอานกล่าวว่า “พวกเจ้ามีความสงสัยในเรื่องการฟื้นคืนชีพ” (ซูเราะฮฺอัลฮัจญ์ : ๕)

- พวกเขาใคร่ครวญเกี่ยวกับกิยามะฮฺเสมอ
อัล-กุรอานกล่าวว่า“พวกเขาใคร่ครวญเสมอว่า พวกเขาต้องได้พบกับพระผู้อภิบาลของพวกเขาอย่างแน่นอน”(الَّذِينَ يَظُنُّونَ أَنَّهُمْ مُلَاقُوا رَبِّهِمْ (ซูเราะฮฺอัล-บะกอเราะฮฺ : ๔๖)

- พวกเขามีความเชื่อมั่น (ยะกีน) ต่อวันกิยามะฮฺ
อัล-กุรอานกล่าวว่า “อีกทั้งพวกเขามีความเชื่อมั่นในปรโลกหน้า” (ซูเราะฮฺอัล-บะกอเราะฮฺ : ๔)

- พวกเขาปฏิเสธวันกิยามะฮฺ
อัล-กุรอานกล่าวว่า “และพวกเราพูดว่าวันกิยามะฮฺเป็นเรื่องเท็จ” (ซูเราะฮฺอัลมุดัษษิร : ๔๖)

- พวกเขามีความเชื่อเกี่ยวกับวันกิยามะฮฺ แต่ทว่าเป็นพวกเผลอเรอ
อัล-กุรานกล่าวว่า “พวกเขาลืมวันสอบสวน” (ซูเราะฮฺศ็อด : ๒๖)

อัลกุรอานได้ขจัดความสงสัยเกี่ยวกับวันกิยามะฮฺ ด้วยกับการพิสูจน์ด้วยเหตุผล ทำการสรรเสริญยกย่องผู้ที่มีความศรัทธาเชื่อมั่นต่อมัน ขณะเดียวกันได้เรียกร้องเหตุผลจากบรรดาผู้ปฏิเสธทั้งหลาย ส่วนชนกลุ่มที่ห้าอัลกุรอานได้มีการเตือนสัมทับพวกเขาว่า อย่าลืมวันสอบส่วนที่อยู่เบื้องหน้า เพื่อพวกเขาจะได้ไม่ลืมเลือน

ฉะนั้น นมาซจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยขจัดความสงสัย เคลือบแคลง และเปลี่ยนความหลงลืมเหล่านั้นให้เป็นการระลึกถึง เพราะในวันหนึ่ง ๆ มนุษย์ต้องกล่าวว่า “มาลิกิเยามิดีน” (พระองค์ทรงสิทธิ์ในวันสอบสวน) ถึง ๑๐ ครั้ง ด้วยกันหมายถึง การเตือนสำทับตัวเองเกี่ยวกับวันกิยามะฮฺว่าตนต้องได้พบกับวัน ๆ นี้อย่างแน่นอน

๒๙. นมาซกับหนทางช่วยเหลือ
ขณะดำรงเราการนมาซ ได้ทูลขอหนทางที่เที่ยงตรงและเที่ยงธรรม ต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) เสมอมา ขณะที่บรรดาฏอฆูตและหมู่มวลผู้กระซิบกระซาบจากบรรดามารทั้งหลาย ได้ทำการคิดค้นแผนการร้ายทำการขู่เข็ญบังคับและเผยแพร่แผนการของตนอยู่ทุก วัน ถ้ามนุษย์ไม่เข้าสู่หนทางแห่งพระผู้เป็นเจ้าแล้ว อย่าหวังเลยว่าเขาจะรอดพ้นจากน้ำมือของมารที่มีแผนการและวิธีการใหม่ ๆ ที่ได้คิดค้นมาจากสติปัญญาอันแหลมคม เปรียบเสมือนสนามแม่ เหล็กที่มีพลังดึงดูดอันแรงกล้า คอยดึงดูดเราไปสู่แผนการชั่วร้ายของพวกมัน ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องพึ่งพิงหนทางที่มีพลังเหนือกว่าเพื่อช่วยเหลือตัวเราให้พ้นจากแผน การของมารและหนทางดังกล่าวคือ หนทางที่เที่ยงธรรมเท่านั้น

การที่มนุษย์ได้วอนขอว่า “ขอพระองค์โปรดนำทางพวกเราเข้าสู่หนทางที่เที่ยงตรงและเที่ยงธรรมเถิด” บนทางดังกล่าว คือหนทางของ

- อัลลอฮฺและบรรดาเอาลิยาอฺของพระองค์ (หมู่มวลมิตรของอัลลอฮฺ)
- หนทางที่ห่างไกลจากความผิดพลาดความเฉไฉ และการหลงผิด
- มิใช่หนทางของผู้ถูกกริ้วโกรธจากพระองค์
- เป็นหนทางที่ตอบสนองความปรารถนาอันเป็นความปรารถนาแห่งพระผู้เป็นเจ้าได้
- เป็นหนทางที่นำพามนุษย์ไปสู่สรวงสวรรค์
- เป็นหนทางของการพลีซึ่งเมื่อเขาจากโลกนี้ไป เขาจะถูกเรียกว่าเป็นชะฮีด
- เป็นหนทางที่เข้ากันกับธรรมชาติดั่งเดิมที่สมบูรณ์ของมนษย์

- เป็นหนทางที่อยู่เหนือกว่าปวงปราชญ์ และความรู้ของเรา
- เป็นหนทางที่มนุษย์ไม่เคยสงสัยเคลือบแคลง ยามที่เขาเคลื่อนไหวไปบนมัน
- เป็นหนทางที่ไม่ทำให้มนุษย์ผิดหวัง และสำนึกตัวภายหลัง
- เป็นหนทางที่สว่างไสว สดใส ใกล้และเด่นชัด มากกว่าหนทางอื่น ๆ
- เป็นหนทางของเหล่าบรรดาศาสดาชุฮะดา (ผู้พลี) กัลยาณชนและผู้สัจจริง
ทั้งหมดเหล่านี้ ล้วนเป็นเครื่องหมายของแนวทางที่เที่ยงตรง และเที่ยงธรรมซึ่งการรู้จักมันต้องอาศัยความปราณีตและลุ่มลึก ส่วนการเคลื่อนไหวไปบนมันต้องอาศัยเตาฟีก และการชี้นำจากพระผู้เป็นเจ้า
มีฮะดีษจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และบรรดาอะหฺลุลบัยตฺ (อ) จำนวนมากมายที่ยืนยันว่า แนวทางที่เที่ยงตรง หมายถึง อหฺลุลบัยตฺ (อ.) (ดูตับซีรโองการข้างต้น) หรือบางฮะดีษที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวเป็นนัยว่า “อุปมาอะหฺลุลบัยตฺของฉันเปรียบเสมือนเรือของนบีนูหฺ ใครได้ขึ้นเรือเขาจะได้รับความปลอดภัย ส่วนผู้ปฏิเสธเขาจะพบกับความหายนะ”

๓๐. นมาซ คือการทำสงครามกับมารร้ายชัยฏอน
มุสลิมทุกคนรู้จักคำว่า “มิหฺรอบ” กันอย่างดีหมายถึง สถานที่ยืนนมาซ คำ ๆ นี้ได้ปรากฎในอัล-กุรอานเกี่ยวกับนมาซ ของศาสดาซักการียา (อ.) ว่า “ขณะที่เรายืนนมาซในมิหฺรอบ”(ซูเราะฮฺอาลิอิมรอน : ๓๙)

และคำว่า “ยืนเพื่อดำรงนมาซ” ได้ถูกเรียกอีกอย่างว่า “ยืนในมิหฺรอบ” ซึ่งคำว่ามิหฺรอบในพจนานุกรมหมายถึง สถานที่ทำสงคราม ฉะนั้นการดำรงนมาซหรือการปรากฏตัวในมิหฺรอบเพื่อประกอบอิบาดะฮฺ จึงถือเป็นการทำสงครามกันระหว่างมนุษย์กับอิบลิส (มารร้าย) เพราะอิบลีส คือผู้ต่อต้านมนุษย์มิให้ดำรงอิบาดะฮฺ

๓๑. มิหฺรอบคือสนามรบที่แท้จริง วันหนึ่ง ๆ มนุษย์ต้องเข้าสู่สนามรบมิหฺรอบหลายครั้งด้วยกัน เพราะมนุษย์ต้องต่อสู้กับอารมณ์ใฝ่ต่ำของตน ชัยฏอนมารร้ายทั้งหลายและบรรดาฏอฆูตผู้กดขี่ คำ ๆ นี้มีผลอะไรกับสังคมและปัจเจกบุคคลบ้าง ปัจจุบันจะสังเกตเห็นว่าการยึดถือวัฒนธรรมผิด ๆ ได้สร้างผลเสียหายให้เกิดขึ้นอย่างมากมาย บรรดามุสลิมได้ตบแต่งประดับประดามิหฺรอบด้วยช่อดอกไม้ หรือกระเบื้องลวดลายต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงามหน้ามองเมื่อยามพบเห็น กลายเป็นสถานที่พำนักถาวรของชัยฏอนแทนที่มันจะหลบหนี

ครั้งหนึ่งท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวกับท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) ว่า “โอ้ฟาฏิมะฮฺลูกรัก ลูกจะนำเอาม่านที่มีลวดลายภาพที่อยู่ตรงด้านหน้าออกไปเถิด เพราะมันรบกวนสมาธิของพ่อขณะนมาซ"

แต่น่าเสียดายว่า วันนี้เราต้องเสียเงินจำนวนมาก เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับหินอ่อนหรือโมเสกที่สั่งทำพิเศษ เพื่อตบแต่งมิหฺรอบให้เกิดความสวยงาม อิสลามนั้นยิ่งลึกมากเท่าไหร่ยิ่งง่ายมากเท่านั้น และยิ่งประณีตก็ยิ่งมีพลังดึงดูด การเสียเงินจำนวนมากเป็นค่าตบแต่งเพื่อสร้างความสนใจให้กับคนไม่กี่คน ขณะที่เงินจำนวนนี้ถ้าหากนำไปเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอย่างอื่น เช่น กองทุนการศึกษา กองทุนเพื่อพัฒนาชุมชน หรือกองทุนเพื่อส่งเสริมกิจกรรมศาสนา ก็คงจะดีกว่าไม่น้อย

๓๒. สนับสนุนการขจัดความน่าเบื่อหน่าย
ท่านอิมามริฎอ (อ.) ได้กล่าวถึง ปรัชญาของนมาซญะมาอะฮฺว่า “หนึ่งในแง่ดีของนมาซญะมาอะฮฺ คือการขจัดอาการเบื่อหน่าย” เช่นเมื่อได้ยินนามอันประเสริฐของท่านอิมามมะฮฺดี (อ.) ผู้ที่มีความรักต่อท่านจะให้เกียรติและยืนขึ้นเพื่อแสดงความเคารพ แม้ผู้ที่มีความเบื่อหน่ายก็จะยืนด้วยเช่นกัน เพื่อให้เกียรติท่านอิมามการทำเช่นนี้เท่ากับเป็นการขจัดความเบื่อหน่ายไปในตัว

๓๓. นมาซเป็นบัญชาที่มีมายังท่านศาสดามูซา (อ.)
อัล-กุรอานกล่าวว่า “แท้จริงข้าคือ อัลลอฮฺ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากข้า ดังนั้น เจ้าจงนมัสการข้าเถิด และจงดำรงนมาซเพื่อระลึกถึงข้า”(إِنَّنِي أَنَا اللَّهُ لَا إِلَهَ إِلَّا أَنَا فَاعْبُدْنِي وَأَقِمْ الصَّلَاةَ لِذِكْرِي (ซูเราะฮฺฏอฮา : ๑๔)

อัสบาบุ้ลนุซูล (สาเหตุที่ประทานโองการ) ได้กล่าวว่า “ขณะที่ท่านศาสดามูซา (อ.) ได้เดินทางไปกับภริยาของท่าน ท่านได้เห็นกองไฟอยู่เบื้องหน้า จึงได้พูดกับภริยาของท่านว่า เดี๋ยวฉันจะไปนำเอาไฟมา เพื่อสร้างความอบอุ่น และท่านได้ไปขณะนั้นอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ประทานดำรัสแก่ท่านว่า...” “แท้จริงข้าคือ อัลลอฮฺ” และเมื่อพระองค์อธิบายความเป็นเอกภาพของพระองค์เรียบร้อยแล้ว พระองค์จึงตรัสอย่างเฉียบพลันกับท่านนบี (อ.) ว่า... “เจ้าจงดำรงนมาซ”

ฉะนั้น จะสังเกตเห็นว่า ระหว่างนมาซกับเตาฮีตมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งเตาฮีดนั้นจะนำเราไปสู่การนมาซ ส่วนนมาซซึ่งถือว่าเป็นสัจธรรมแห่งชีวิต และเป็นธรรมชาติของมนุษย์อย่างแท้จริง เป็นพลังที่สร้างความรู้สึกได้อย่างดี และทำให้วิญญาณของเตาฮีดในตัวเรามีชีวิตขึ้นมา

ก่อนเริ่มนมาซเป็นมุสตะฮับให้กล่าวว่า “อัลลอฮุอักบัร” และกล่าว “ตัสบีหาต” ในระกะอัตที่สามและสี่ทั้งหมดเหล่านี้ เป็นการสรรเสริญแก่นแท้แห่งเตาฮีตทั้งสิ้น และเป็นการแสดงออกของอีมาน

๓๔. การตัดสัมพันธ์กับนมาซเป็นการเปิดประตูไปสู่อบายมุขทั้งหลาย
อัล-กุรอานกล่าวว่า “ได้มีชนกลุ่มหนึ่งอุบัติขึ้นแทนภายหลังพวกเขา ซึ่งพวกเขาละเลยต่อ การนมาซ และพวกเขาตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ ดังนั้น พวกเขาจะต้องประสบกับ เหวนรก”(فَخَلَفَ مِنْ بَعْدِهِمْ خَلْفٌ أَضَاعُوا الصَّلاةَ وَاتَّبَعُوا الشَّهَوَاتِ (ซูเราะฮฺมัรยัม : ๕๙)

ประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่า หลังจากบรรดาศาสดา ได้มีชนกลุ่มหนึ่งอุบัติขึ้นมาทดแทน ซึ่งพวกเขาเป็นผู้ทำลายและทอดทิ้งนมาซ พวกเขาได้หันกลับไปปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำของตน โองการได้อธิบายว่า อันดับแรก พวกเขาได้ทำลายนมาซหลังจากนั้นจึงปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะนมาซ คือสายป่านที่ต่อเชื่อมกับอัลลอฮฺ (ซบ.) ฉะนั้น เมื่อมันขาดสะบั้นลงเขาจึงตกอยู่ในเหวของความผิดบาปตลอดกาล ดุจดังเช่น สายตัสบีหฺ เมื่อมันขาดลง บรรดาลูกปัดที่ร้อยอยู่ก็ล่วงหล่นสู่พื้นกระเด็นกระดอนไปคนละทิศคนละทาง

๓๕. ความสะอาดและความสงบของจิตใจ
อัล-กุรอานกล่าวว่า“และมาตรว่าอัลลอฮฺมิทรงปกป้องประชาชนบางกลุ่มไว้ด้วยกับบางกลุ่มชน แน่นอนบรรดาอาศรมต่าง ๆ บรรดาโบสถ์ของชาวคริสต์และชาวยิว และบรรดามัสญิดของชาวมุสลิม ที่มีการกล่าวรำลึกถึงพระนามของอัลลอฮฺ อย่างมากมาย ก็คงถูกทำลายพินาศสิ้นเป็นแน่”(وَلَوْلَا دَفْعُ اللَّهِ النَّاسَ بَعْضَهُمْ بِبَعْضٍ لَهُدِّمَتْ صَوَامِعُ وَبِيَعٌ وَصَلَوَاتٌ وَمَسَاجِدُ يُذْكَرُ فِيهَا اسْمُ اللَّهِ(ซูเราะฮฺอัล-หัจญ์ : ๔๐)

ในความหมายของโองการ ถ้าหากไม่มีกลุ่มชนผู้ศรัทธาคอยปกป้อง และคอยต่อต้านบรรดาผู้ก่อความเสียหายทั้งหลายบนหน้าแผ่นดิน แน่นอน สถานที่ประกอบอิบาดะฮฺไม่ว่าจะเป็นของมุสลิม คริสต์ ยะฮูดี และอื่น ๆ ก็คงถูกทำลาย ในกรณีเช่นนี้ ศาสนาจึงอนุญาตให้ทำการปกป้องสถานที่ประกอบอิบาดะฮฺให้ธำรงอยู่สืบไป แม้ว่าในบางครั้งต้องหลั่งเลือด หรือใช้ ชีวิตเข้าแลกก็ตาม

๓๖. ความสะอาดและความสงบของจิตใจ
ศาสนาอิสลามได้มีคำสั่งให้มวลมุสลิม ดำรงนมาซและสิ่งสำคัญเบื้องต้นสำหรับนมาซ คือความสะอาดภายนอกอันได้แก่ น้ำนมาซ หรือฆุสลฺ หรือการ ทำตะยัมมุม ส่วนการตอบรับนมาซนั้นขึ้นอยู่กับความสะอาดด้านใน

อัล-กุรอานกล่าวถึง ความสะอาดของจิตใจและกล่าวสัมทับว่า เพราะจิตใจที่สงบเท่านั้นที่สามารถกลับคืนสู่อัลลอฮฺ(ซบ.) ท่านอิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า “ดวงจิตที่สงบหมายถึง ดวงจิตที่ไม่มีความลังเลเคลือบแคลง และไม่มีการตั้งภาคี”

บางฮะดีษกล่าวว่า “อัลลอฮฺ (ซบ.)ทรงเพ่งพินิจวิญญาณของมนุษย์มิใช่ร่างกาย "เพราะในตัวมนุษย์มีสององค์ประกอบ นมาซก็เช่นเดียวกันกับมนุษย์และอัล-กุรอานที่มีทั้งภาพลักษณ์ภายนอกและแก่นแท้ภายใน สิ่งที่มนุษย์ได้กระทำกันอยู่ มาตรว่าการนมาซของเราถูกต้อง ก็เป็นเพียงภาพลักษณ์ภายนอกของนมาซเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม ภาพลักษณ์ภายนอกก็ถือว่าเป็นบันไดขั้นแรกที่จะก้าวไปสู่แก่นแท้ของนมาซ อันได้แก่

- นมาซบนพื้นฐานของการรู้จักและความรักที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า
- บนพื้นฐานที่มาจากความบริสุทธิ์ใจ และความผูกพันธุ์ที่มีต่อพระองค์
- นมาซที่ทำด้วยสมาธิ และความนอบน้อมถ่อมตน
- นมาซที่ห่างไกลจากความหยิ่งยะโส ความดื้อรั้น ความโอ้อวด และ ความดันทุรัง
- นมาซที่สร้างสรรค์สรรจรรโลง ก่อให้เกิดพลังขับเคลื่อนไปสู่คุณธรรม
- นมาซที่ออกกจากจิตใจที่ปราศจาก ความอคติ อารมณ์ใฝ่ต่ำ และมิใช่ จิตที่แข็งกระด้าง หรือจิตใจเป็นโรค

- นมาซที่ปกป้องมนุษย์ให้สูงส่ง และพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ผู้สมบูรณ์
- นมาซที่ทำให้มนุษย์มีจิตเมตตา และเปี่ยมล้นไปด้วยความปรานี
- นมาซที่ทำนุบำรุงสังคมให้เจริญเติบโตด้วยคุณธรรม


โปรดติดตามต่อ

ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัช ชีอะฮ์
114 บทเรียนจากนมาซ

๓๗. นมาซกับความจริงใจ
ใครก็ตามที่มีความรัก ย่อมปรารถนาที่จะอยู่ใกล้ชิดกับคนที่ตนรัก ปรารถนาที่จะพูดคุยและสนทนากับเขา ใฝ่ฝันที่จะได้พบเขาตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้เป็นสัจธรรมและเป็นธรรมชาติของมนุษย์อย่างแท้จริง ดังนั้นใครที่กล่าวอ้างว่าตนรักอัลลอฮฺ (ซบ.) และมีความปรารถนาที่จะเข้าเฝ้าพระองค์แต่ไม่เคยปฏิบัตินมาซเลย หรือไม่เคยให้ความสำคัญต่อการนมาซ ย่อมถือว่าคำกล่าวอ้างและคำพูดของเขาไม่เป็นความจริง ด้วยเหตุนี้นมาซจึงอยู่ในฐานะเครื่องพิสูจน์พันธะสัญญาต่อพระเจ้าที่มนุษย์กล่าวอ้าง และจากเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้รู้ว่านมาซของมุนาฟิกก็เหมือนกับอะอฺมาล (การงาน อื่น ๆ ) ของเขาที่ปราศจากความซื่อสัตย์

๓๘. นมาซกับเจตนาอันแน่วแน่
การมีสมาธิ มีความนอบน้อม และมีความตั้งใจอย่างสมบูรณ์ในนมาซ เป็นหนึ่งในคำสอนของอิสลาม และเป็นสัญลักษณ์ขอมุอฺมิน (ผู้ศรัทธา) ดังนั้น ถ้าปฏิบัตินมาซโดยไม่ตั้งใจ แน่นอนนมาซของเขาจะไม่ถูกยอมรับ ดังนั้นนมาซจะได้รับการตอบรับเท่าที่จิตใจของเขาแน่วแน่กับการนมาซ อย่างไรก็ตาม นอกจากความแน่วแน่ในเจตนาแล้ว อิสลามยังได้สอนอีกว่าควรนมาซด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์ที่สะอาด มีการพรมน้ำหอม พร้อมด้วยกิริยาที่สุขุมดวงจิตที่สงบมั่น

ริวายะฮฺได้กล่าวว่า “ท่านอิมามสัจญาด (อ.) ได้แต่งองค์ด้วยอาภรณ์ที่สะอาดแลดูสวยงาม และเรียบร้อย เมื่อท่านเดินผ่านไปประชาชนต่างพูดว่า ท่านอิมาม (อ.) แลดู สวยงามเหมือนเจ้าบ่าวที่จะไปเข้าพิธีวิวาห์”

ท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าวว่า “เพราะฉันกำลังจะไปเข้าคารวะพระผู้ทรงสร้างผู้ทรงสง่างามเป็นที่สุด”
จากแบบฉบับอันดีงามของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) สามารถกล่าวได้ว่า เป็นการดีสำหรับสตรีด้วยเช่นกัน ที่จะต้องแต่งตัวให้สวยงามเธอสามารถ พรมประน้ำหอม และสวมใส่เครื่องประดับตามที่เธอปรารถนา เมื่อยามที่เธอเข้าสู่การนมาซ

๓๙. นมาซคือการทำการค้าที่เต็มไปด้วยผลกำไร
อัล-กุรอานกล่าวว่า“เจ้าจงรำลึกถึงข้าเพื่อข้าจะได้รำลึกถึงเจ้า”(فَاذْكُرُونِي أَذْكُرْكُمْ (ซู เราะฮฺบะกอเราะฮฺ : ๑๕๒)

การที่มนุษย์รำลึกถึงอัลลอฮฺ (ซบ.) พระองค์มิได้รับประโยชน์ หรือผล กำไรในทางกลับกัน ถ้าพระองค์รำลึกถึงมนุษย์ถือว่าเป็นการุณย์พิเศษ ที่พระองค์ ได้กรุณาต่อเราอันได้แก่ ทรงอภัยในความผิดบาป ทรงแก้ไขปัญหา และทรง ตอบรับดุอาอฺของเรา ความการุณย์ของพระองค์ที่มีต่อมวลมนุษย์นั้นไม่มีที่ สิ้นสุด มีคุณค่ามหาศาลและเปี่ยมล้นไปด้วยความจำเริญ ความสิริมงคล และความไพบูลย์ทั้งลาย ดังนั้นขณะ ที่ปฏิบัตินมาซมนุษย์ได้รำลึกถึงอัลลอฮฺ (ซบ.) ถือเป็นการให้ชนิดหนึ่งแต่เป็นการให้ที่หาคุณค่าไม่ได้เลย ครั้นเมื่อมนุษย์รับจากพระองค์นั้น ช่างมากมายอันเป็นความการุณย์ที่สุดจะประมาณค่าได้

ดังนั้น มนุษย์ทำการรำลึกถึงอัลลอฮฺ (ซบ.) ขณะที่การรำลึกของเขา มิได้สร้างผลกำไรอันใดสำหรับพระองค์เพราะ “พระองค์ทรงปราศจากความต้องการทั้งมวล”(إِنَّ اللَّهَ غَنِيٌّ عَنْ الْعَالَمِينَ (ซูเราะฮฺอาลิอิมรอน : ๙๗)

แต่อย่างไรก็ตาม การรำลึกถึงอัลลอฮฺเป็นเหมือนการค้าที่มนุษย์ ได้สร้าง คุณค่าและผลกำไรให้ตัวเอง เพราะมันเป็นการค้าที่พระองค์ได้เชิญให้มนุษย์ มาลงทุน

๔๐. นมาซกับความสงบมั่น
โลกปัจจุบันแม้ว่าจะมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างสูง มีการพัฒนาไปสู่ความสุดโต่งทางวัตถุ และเป็นยุคที่การสื่อสารไร้พรมแดนการติดต่อ สื่อสารทั่วทุกมุมโลกแลดูว่าง่ายและสะดวกไปทั้งหมด แต่สิ่งเหล่านี้ ไม่อาจสร้างความสงบให้กับจิตของมนุษย์ได้ เพราะสถิติของผู้ป่วยโรคจิต หรือสถิติของผู้ใช้ยาควบคุมประสาทเพิ่มขึ้นมากอย่างน่ากลัว และยิ่งไปกว่านั้นสถิติของการฆ่าตัวตายเพียงคนเดียวหรือฆ่าตัวตายหมู่เมื่อเจอมรสุมทางเศรษฐกิจตกต่ำจนกลายเป็นผู้มีพันธะหนี้สินมากมายหรือกลายเป็นผู้ล้มละลาย ซึ่งเมื่อหาทางออกที่ดีให้กับชีวิตไม่ได้ ความฟุ้งซ่านของจิตได้ทำให้พวกเขาคิดสั้นและฆ่าตัวตายในที่สุด และเมื่อ พิจารณาให้ลึกลงไปจะพบว่าส่วนมากของผู้ฆ่าตัวตายล้วนเป็นผู้มีการศึกษาและอยู่ในสังคมที่เป็นอารยชนทั้งสิ้น สิ่งเหล่านี้เป็นคำตอบที่ดีให้กับเราว่า แท้จริงแล้วความสงบของจิตใจมิได้ขึ้นอยู่กับมัน ทรัพย์สินนอกกายเป็นองค์ประกอบหนึ่งของชีวิตเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้วมนุษย์ยังมีความปรารถนาในสิ่งที่เป็นสัจธรรมและเป็นธรรมชาติของมนุษย์อย่างแท้จริง ซึ่ง สิ่งนั้นก็คือ การรำลึกพระผู้เป็นเจ้า การมีศรัทธามั่น การมีความรัก และการมอบหมายความไว้วางใจต่อพระองค์

ได้มีการกล่าวว่า แก่นแท้ของนมาซเป็นการระลึกถึงพระผู้เป็นเจ้า และเป็นสิ่งเดียวที่สามารถสร้างสัมมาสมาธิในกับมนุษย์ อัล-กุรอานกล่าวว่า “แท้ จริงแล้วการระลึกถึงอัลลอฮฺ มิได้ทำให้จิตใจสงบดอกหรือ?” ในบางครั้ง เราอาจเคยพบคนที่มีบารมี มีอำนาจ มีเงินและมีความรู้ แต่เขากลับไม่มี ความสุขในชีวิต จิตใจต้องร้อนรุ่มและกระวนกระวายตลอดเวลา เป็นเพราะ ว่าเขาไม่มีสัมมาสมาธิ ผิดกับปุถุชนธรรมดาคนหนึ่งที่ชีวิตปราศจากทุกสิ่ง ยกเว้นความศรัทธาที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า แม้ว่ามันจะน้อยนิด แต่มันก็สามารถ ทำให้เขาสงบและมีสัมมาสมาธิได้

แน่นอนการระลึกถึงพระองค์ ได้สร้างสัมมาสมาธิให้กับเรา ซึ่งได้กล่า แล้วว่าดีที่สุดของการรำลึก คือการดำรงนมาซ เพราะนมาซเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้มนุษย์ใกล้ชิดกับพระผู้เป็นเจ้าได้มากที่สุด อย่างน้อยวันหนึ่ง ๆ มนุษย์ มีโอกาสใกล้ชิดกับพระองค์ถึง ๕ ครั้งด้วยกัน ปรัชญาได้กล่าวว่า มนุษย์ ทุกคนมีสององค์ประกอบที่สำคัญยิ่งกล่าวคือ สังขารและจิตวิญญาณใน วันหนึ่ง ๆ มนุษย์ต้องทำวุฎู่ ๕ ครั้งและต้องปฏิบัตินมาซวันละ ๕ เวลา ในความหมายก็คือ มุสลิมได้ทำการชำระร่างกาย ด้วยการทำวุฏู่และชำระ จิตวิญญาณด้วยกับการดำรงนมาซ ๕ เวลา ดำรงตนอยู่ในศีลธรรมและมโนจธรรม จึงเป็นผู้มีสัมมาสมาธิตลอดเวลา

ถ้าหากทำการวิเคราะห์ถึงมนุษย์ในปัจจุบัน จะพบว่าสิ่งที่ขาดหายไปจากมนุษย์ มิใช่ ความรู้หรือมิใช่ความชำนาญเฉพาะด้าน หากแต่เป็นสัมมาสมาธิ กล่าวคือ แม้ว่ามนุษย์จะมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและวัตถุอย่างสูง แต่ มนุษย์ก็ยังเป็นผู้มีความปรารถนาไม่มีที่สิ้นสุดในทุก ๆ ด้าน ซึ่งสามารถ พิจารณาได้จากปัญหา และความวุ่นวายที่เกิดขึ้นอยู่ทั่วทุกมุมโลกในปัจจุบัน

ในอดีตกาลกล่าวกันว่า ฟิรอาวน์เป็นกษัตริย์ที่มีอำนาจ และบารมีที่สุด แต่เป็นเพราะว่าเป็นผู้มีความสุดโต่งในอำนาจและบารมีของตน จึงตั้ง ตนเป็นพระเจ้าและบังคับให้ผู้คนทำการเคารพสักการะตน ขณะเดียวกัน ฟิรอาวน์มีความหวั่นวิตกกับคำทำนายของโหรที่ว่าชีวิต และอำนาจของเขา จะถูกทำลาย โดยเด็กผู้ชายที่มีความใกล้ชิดกับเขา ฟิรอาวน์จึงได้มีคำสั่งให้สังหารเด็กผู้ชายทุกคน ฉะนั้น จากประวัติศาสตร์ตรงจุดนี้ สิ่งที่ไม่อาจ พบได้ในตัวของฟิรอาวน์ คือสัมมาสมาธิแม้แต่ในยุคต่อมา จะพบว่ามีกลุ่มชนที่ดื้อรั้น และดันทุรังกับความจริงแสมอมา เฉกเช่น อะบูละฮับ อบูญะฮิล สองผู้ต่อต้านท่านศาสดา (ศ็อลฯ) หลักคำสอนและศาสนธรรม กลุ่มชนที่เป็น มุนาฟิกีนผู้มีความกลับกลอก หรือแม้แต่อุละมาอฺนักปราชญ์ที่มีความรู้ แต่ กลับเป็นผู้ที่ไม่มีสัมมาสมาธิ คนพวกนี้ถูกจัดอยู่ในจำพวกของโคลนตม ที่ยังมิได้หลุดพ้นจากธาตุของความเป็นดิน

ในปัจจุบันนี้ หากจะยกตัวอย่างของผู้ที่มีสัมมาสมาธิอย่างมั่นคง คงไม่มีใครยิ่งใหญ่เกินไปกว่าท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ผู้ที่บุคคลทั่วโลกรู้จักกันดีในฐานะของนักปราชญ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ในฐานะของผู้ฟื้นฟูอิสลามหลักคำสอนและศาสนธรรม หรือในฐานะของนักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่ ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ได้แสดงให้เห็นว่า การเป็นผู้มีสัมมาสมาธินั้นเป็นอย่างไร ในตอนนั้นเมื่อท่านเริ่มปราศรัยได้ไม่นานนัก ท่านก็ถูกจับกุมโดย ทหารรับใช้ของกษัตริย์ชาห์ที่บ้านพักของท่าน เพื่อนำตัวไปยังกรุงเตหราน ระหว่างที่ถูกจับกุม ท่านมิได้แสดงความหวาดกลัวอันใดแม้แต่นิดเดียว ตรง กันข้ามทหารของกษัตริย์ชาห์กลับแสดงความหวาดกลัวออกมาเมื่ออยู่ต่อ หน้าท่านอิมาม (รฎ.) จนท่านต้องปลอบพวกเขาว่า “จงอย่ากลัวฉัน แต่จงกลัวอัลลอฮฺเถิด และจงปฏิบัติหน้าที่ของพวกท่านต่อไป”

ครั้นเมื่อท่านถูกเนรเทศออกนอกประเทศ และเดินทางกลับมายังมาตุภูมิอีกครั้งหลังจาก ๑๕ ปีผ่านไป ขณะที่นั่งอยู่บนเครื่องบินนักข่าวได้สัมภาษณ์ท่านว่า “ท่านมีความรู้สึกอย่างไร” ท่านอิมามได้ตอบว่า “ฉันไม่รู้สึกอะไรเลย” คำ ๆ นี้ในวิชาอิรฟาน (วิชาที่ว่าด้วยการรู้จักซาตและซิฟาต ของพระผู้เป็นเจ้า) นั้นมีความหมายลุ่มลึกมาก เพราะสิ่งที่เป็นจริงในขณะนั้น คือรัฐบาลของกษัตริย์ชาห์ยังมีอำนาจอยู่ เป็นไปได้สูงที่เขาจะออกคำสั่งให้ยิงเครื่องบินลำที่ท่านอิมามโดยสารมาทิ้งเสียอย่างเฉียบพลัน หรือเมื่อถึงยังแผ่นดินอิหร่านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อาจมีคำสั่งให้จัดการขั้นเด็ดขาดกับท่านอิมาม ซึ่งตัวของท่านทราบดีถึงเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นจริง แต่ท่านหาได้มีความหวาดกลัวหรือมีความกระวนกระวายใจแต่อย่างไร และเมื่ออ่านพินัยกรรมประวัติศาสตร์ที่บันทึกว่า “ฉันได้จากโลกนี้ไปด้วยดวง จตที่สงบมั่นสู่โลกแห่งพระผู้เป็นเจ้า” ยิ่งทำให้พบว่าจิตของท่านมิได้ผูกพันอยู่กับสิ่งใดเลยไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน ตำแหน่งหรือความศิวิไลซ์ของโลก นอกจากพระผู้เป็นแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งจุดละเอียดอ่อนของความสัมพันธ์ดังกล่าวอยู่ที่ “นมาซ”

๔๑.นมาซ คือความศรัทธา
นับตั้งแต่รุ่งอรุณของอิสลาม มุสลิมได้ปฏิบัตินมาซ โดยหันหน้าไปทาง บัยตุ้ลมุก๊อดดิส (มัสญิดอัล-อักศอ) ต่อมาได้หันหน้าไปทางกิบละฮฺ ซึ่งเป็น สถานที่ตั้งของวิหารกะอฺบะฮฺ ตามเหตุผลที่อัล-กุรอาน ในซูเราะฮฺอัล-บะกอเราะฮฺ ได้กล่าวไว้ว่า บรรดามุสลิมได้ถามว่า แล้วนมาซที่พวกเราได้ปฏิบัติก่อนหน้านี้จะเป็นเช่นไร อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ประทานโองการมาในขณะนั้นเพื่อเป็นคำตอบว่า “นมาซของพวกท่านถูกต้อง และอัลลอฮฺจะไม่ทำลายมรรคผลของพวกเจ้า” ซึ่งจะสังเกตเห็นว่าอัลลอฮฺ (ซบ.) ใช้คำว่า “อีมาน” แทน คำว่านมาซดังนี้ว่า“อัลลอฮฺจะไม่ทำลายอีมานของพวกเจ้า”(وَكَذَلِكَ جَعَلْنَاكُمْ (ซูเราะฮฺอัลบะกอเราะฮฺ : ๑๔๓)

ความหมายของโองการก็คือ อีมานนั้นเท่าเทียมกับนมาซ เพราะแทน ที่พระองค์จะตรัสว่า นมาซของพวกเจ้ามิได้สูญเสียไปไหนถูกต้อง แต่ พระองค์กลับตรัสว่า “ข้าจะไม่ทำลายอีมานของพวกเจ้า” เป็นการแสดงให้ เห็นว่า “นมาซนั้นคือ อีมาน ฉะนั้น การละทิ้งนมาซ คือการไม่มี อีมานนั้นเอง”

๔๒. นมาซกับความเกรียงไกรของอัลลอฮฺ
คำ ๆ แรกที่เป็นวาญิบในนมาซคือ “อัลลอฮุอักบัร” หมาย ถึงอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงยิ่งใหญ่และเพียงพระองค์เท่านั้นที่ทรงเกรียงไกร ส่วนสรรพสิ่งอื่น ๆ ณ พระองค์ล้วนเป็นเพียงสิ่งเล็กน้อย เหมือนกับคนนั่งเครื่องบิน เมื่อเครื่องบินไต่ระดับสูงขึ้น ก็จะมองเห็นสรรพสิ่งทั้งหลายเล็กลง และยิ่งบินสูงมากเท่าไหร่ สรรพสิ่งที่อยู่เบื้องล่างก็จะเล็กลงมากเท่านั้นจนไม่อาจมองเห็นได้ในที่สุด

ทำนองเดียวกันคนที่ตระหนักอยู่เสมอว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงยิ่งใหญ่เสมอ ณ เขาและไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดใหญ่เทียบเท่ากับพระองค์ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นฎอฆูตหรือผู้มีอำนาจ หรือคนที่มีตำแหน่งและทรัพย์สฤงคารอื่น ๆ ก็จะไม่มีความหมายใด ๆ สำหรับเขา

ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวถึงคุณสมบัติของมุตตะกีน (ผู้มีความยำเกรง) ว่า

“ในทัศนะของเขาอัลลอฮฺ พระผู้ทรงสร้างทรงยิ่งใหญ่เสมอ ส่วนสรรพ สิ่งอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากพระองค์ล้วนเป็นผงธุลีทั้งสิ้น”(นะญุลบะลาเฆาะฮฺ คุฎบะฮฺ มุตตะกีน)

เมื่อเป็นเช่นนี้ โลกและความศิวิไลซ์ของมันจะไร้ความหมาย ความ หลงใหลที่มีต่อมันก็จะอันตรธานหายไป การช่วงชิง การนองเลือด และการ เข่นฆ่ากัน เพื่อลาภยศสรรเสริญก็จะไม่เกิดขึ้น ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) กล่าวว่า “อเมริกาไม่มีวันที่จะทำอะไรเราได้” คำกล่าวของท่านมิใช่ไร้เหตุผล บุคคลเฉกเช่นท่านอิมามผู้ซึ่งได้ผ่านประสบการณ์ชีวิต และมีความเชื่อมั่น อย่างเต็มวิญญาณว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมหายิ่งใหญ่ ฉะนั้น สำหรับท่าน แล้ว อเมริกาก็เปรียบเสมือนมดตัวเล็ก ๆ เท่านั้นเอง ท่านจึงไม่มีความหวาดกลัวหรือหวาดระแวงต่อเหตุการณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น

ท่านหญิงซัยนับ (อ.) ได้กล่าวในตอนบ่ายของวันอาชูรอว่า “โอ้ข้า แต่ พระผู้อภิบาล โปรดรับพลีที่เล็กน้อยจากเราเถิด”

แต่สิ่งที่เรารับทราบกันถึงเหตุการณ์ในกัรบะลา และการเป็นชะฮาดัต ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)นั้นยิ่งใหญ่มาก แต่สำหรับผู้ที่อัลลอฮฺทรงยิ่งใหญ่ในทัศนคติของเขา ไม่ว่าเหตุการณ์ใดก็ตามจะดูเล็กไปเสียทั้งหมด

ครั้นเมื่อรัฐบาลของบนีอุมัยยะฮฺถามท่านหญิงถึงเหตุการณ์ในกัรบะลาว่า “เจ้าเห็นเป็นอย่างไรบ้าง?” ท่านหญิง (อ.) ตอบว่า “ฉันไม่เห็นอะไรเลยนอกจากความสวยงาม” จะสังเกตเห็นว่าผู้ที่เป็นอาริฟ (รู้จักคุณลักษณะของพระผู้เป็นเจ้าอย่างดี) ยอมจำนนเสมอต่อการบริหารงานของพระองค์ ทุกภารกิจที่พระองค์ทรงโปรดล้วนเป็นปรัชญา และมีความสวยงามทั้งสิ้น

๔๓. นมาซกับความบริสุทธิ์ใจ
เงื่อนไขสำคัญที่ถูกต้องของนมาซคือ การเนียต เพื่อแสวงหาความใกล้ชิดต่อพระองค์ (กุรบะตัน) เพราะทุกอริยาบทหรือทุก ๆ คำพูดในนมาซไม่ว่าจะเป็นวาญิบหรือมุสตะฮับ หากกระทำโดยมีเจตนาอื่นใดที่มิใช่เพื่ออัลลอฮฺ (ซบ.) ถือว่านมาซบาฏิล (เสีย) หรือหากกำหนดเวลาหรือสถานที่นมาซเพื่อผู้อื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺ ก็ถือว่านมาซบาฏิลเช่นกัน แม้แต่การกระทำของเขาที่ได้แสดงออกมาขณะปฏิบัตินมาซ ถ้าทำเพื่อผู้อื่น นมาซของเขาก็บาฏิลเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ เมื่อใดจึงจะถือว่านมาซเป็นอิบาดะฮฺ เมื่อเขาผู้นั้นเนียตเพียงเพื่ออัลลอฮฺ (ซบ.) เท่านั้น หมายถึง การเนียตเพื่อแสวงหาความใกล้ชิดต่อพระองค์นับตั้งแต่เริ่มเข้าสู่การนมาซจบ แน่นอน สิ่งนี้เป็นเรื่องยาก แต่ถ้าใครก็ตามที่สามารถเอาชนะพลังดึงดูดและการยั่วยุของโลกดุนยา หรือสามารถตัดใจจากทุกสิ่งทุกอย่างได้ โดยเชื่อมต่อสายใจกับพระผู้เป็นเจ้า และการรำลึกถึงพระองค์เท่านั้นที่ตรึงตราอยู่เต็มดวงใจของเขา ยามเมื่อเขาอยู่ตามลำพัง เขาก็จะปิดประตูหัวใจที่เปรียบเสมือนเขตหวงห้ามของอัลลอฮฺ ไม่อนุญาตให้ผู้อื่นที่นอกเหนือจากพระองค์ย่างกรายเข้ามา ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ ถือว่าเขาได้ครอบครองอัญมณีอันล้ำค่า

ขณะที่นมาซเราได้กล่าวว่า “เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราขอ นมัสการ และเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราขอความช่วยเหลือ” หมายถึง เราได้ยอมจำนน และแสดงการเคารพภักดีที่มีต่อพระองค์ด้วยความบริสุทธิ์ใจ และความ บริสุทธิ์ใจนี้เองที่เราพึงปรารถนาจากพระองค์

๔๔. นมาซ คือมาตรวัด
อัล-กุรอานกล่าวว่า “นมาซ คือภารกิจที่หนักอึ้ง (เป็นเรื่องใหญ่) ยกเว้นสำหรับบรรดาผู้นอบน้อม”(وَإِنَّهَا لَكَبِيرَةٌ إِلَّا عَلَى الْخَاشِعِينَ (ซูเราะฮฺอัล-บะกอเราะฮฺ ๔๕)

ด้วยเหตุนี้ เมื่อใดที่เรารู้สึกว่านมาซคือความยุ่งยากและเป็นภาระที่หนักอึ้งนั้น แสดงว่าจิตใจของเราปราศจากความยำเกรง และความนอบน้อมที่มีต่อพระองค์อันเป็นเครื่องหมายของความอัปยศ และนิฟาก(กลับกลอก)

ท่านอิมามสัจญาด (อ.) ได้กล่าวถึงปรัชญาของนมาซไว้ในดุอาอฺ อบูฮัมซะฮฺ ษุมาลี (ดุอาอฺในเดือนรอมฎอน) ว่า...“โอ้ข้าแต่พระองค์ เมื่อถึงเวลานมาซ ทำไมพวกเราจึงไม่มีความสุข หรือเป็นเพราะว่าพระองค์ขับไสเราออกจากความเมตตาของพระองค์ หรือเป็นเพราะคำพูดที่หยาบคาย คำพูดที่ไร้สาระทำให้โอกาสเข้าเฝ้าของเราน้อยลง หรือพระองค์ทรงเห็นว่าเรามิใช่ผู้สัจจริง หรือเป็นเพราะว่าการคบเพื่อนไม่ดีทำให้เกิดผลเสียกแก่เรา” แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม หากผู้ศรัทธาคนใดคิดว่าการนมาซเป็นภาระที่หนักอึ้ง ย่อมบ่งบอกถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น

๔๕. นมาซ คือความกรุณาที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน
บางคนอาจจะไม่เคยมีความเมตตา หรือความเมตตาของเขาหาค่าไม่ได้ และอยู่ในขอบเขตจำกัด หรือไม่เคยเผื่อแผ่ความเมตตาของตนแก่คนอื่น หรือถ้าจะให้ความเมตตากับใครสักคนก็จะมีข้ออ้างสารพัดอย่าง แต่สำหรับอัลลอฮฺ (ซบ.)แล้ว

- ความเมตตาของพระองค์ไม่มีที่สิ้นสุด
- ความเมตตาของพระองค์มีไว้แก่ทุกคน
- พระองค์เชิญชวนมนุษย์ทุกคนไปสู่ความเมตตาของพระองค์
- พระองค์ทรงพึงพอพระทัยหากมีผู้เข้ามาสู่ความเมตตาของพระองค์
- พระองค์ทรงตอบรับมนุษย์ทุกคนโดยไม่คาดหวังสิ่งตอบแทน ของกำนัลและสิ่งแลกเปลี่ยน
- ความสัมพันธ์และการใช้ประโยชน์จากความเมตตาของพระองค์ ไม่ต้อง การเวลาและสถานที่จำกัด ไม่ต้องการสื่อกลาง ไม่มีกฎเกณฑ์และเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากความเป็นมิตรแท้ และความซื่อสัตย์

ดังนั้น จำเป็นที่เราต้องแสดงความซื่อสัตย์และความเป็นมิตรแท้ และ แสดงความปรารถนาในมิตรแท้จากพระองค์
๔๖. นมาซมิใช่การกระทำที่ซ้ำซาก หากแต่เป็นเพิ่มระดับความลึกซึ้ง
บางคนคิดว่านมาซคือการกระทำที่ซ้ำซากจำเจ แต่แท้ที่จริงแล้วมิได้เป็นเช่นนั้น เพราะนมาซคือบันไดที่พัฒนาไปสู่ความสูงส่ง ยิ่งผู้ปฏิบัตินมาซมีสมาธิและมีความนอบน้อมมากเท่าใด นมาซก็จะส่งผลให้ผู้ปฏิบัติมีความสูงส่งมากเท่านั้น จริงอยู่ภายนอกและรูปแบบของนมาซ เช่น รุกูอฺและสุญูดแม้ว่าจะเป็นการทำซ้ำหลายครั้ง แต่ในความเป็นจริงสิ่งเหล่านี้คือขั้นตอนที่นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพจิตวิญญาณให้สูงขึ้น เหมือนกับการขุดบ่อบาดาลที่ยิ่งขุดลึกลงไปมากเท่าใดก็ยิ่งลึกใกล้น้ำมากเท่านั้น สรุปแล้ว ภายนอกของนมาซดูเหมือนว่าเป็นสิ่งซ้ำซากจำเจ แต่ภายในนั้นลุ่มลึกและมีพลวัตทางจิตวิญญาณ ในอีกความหมายหนึ่งก็คือ นมาซเป็นบันไดที่ก้าวไปสู่ความสูงส่งนั้นเอง


โปรดติดตามต่อ

ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัช ชีอะฮ์
114 บทเรียนจากนมาซ

๔๗. นมาซกับธรรมชาติ
นมาซมิได้เป็นเพียงการสร้างสมาธิให้กับจิตใจอย่างเดียว แต่ทว่า เป็นการกระทำที่ร่วมมือกันของประชาชน เป็นการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ที่มีอยู่ เพราะก่อนปฏิบัตินมาซต้องสังเกตท้องฟ้าเพื่อจะได้รู้เวลานมาซ ต้องสังเกตดวงดาวเพื่อค้นหากิบละฮฺ ต้องพิจารณาถึงเงื่อนไขต่างๆของน้ำที่จะใช้อาบน้ำนมาซ,ดินที่จะวางเป็นที่สุญูด

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้แหงนมองท้องฟ้าโดยพิจารณาและตรึกตรองถึงหมู่ดวงดาวยามใกล้รุ่ง และอัญเชิญโองการกุรอานที่ว่า...“โอ้ข้าแต่องค์พระผู้อภิบาล แท้จริง พระองค์มิได้สร้างสิ่งเหล่านี้มาอย่างไร้สาระ” หลังจากนั้นท่านจึงได้ทำนมาซตะฮัจญุด

การพิจารณาเกี่ยวกับธรรมชาติ เป็นแนวทางหนึ่งที่นำไปสู่การรู้จักพระผู้เป็นเจ้า

อิสลามถือว่าการพิจารณาถึงธรรมชาติถือเป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่สนับสนุนให้หมกมุ่นในธรรมชาติ ธรรมชาติเปรียบเสมือนเครื่องหมายจราจร มิใช่สถานที่จอดพำนักถาวร น้ำในท้องทะเลมีไว้เพื่อเป็นเส้นทางให้เรือเดินแล่นสัญจรไปมา มิได้มีไว้ให้รั่วซึมเข้ามาในเรืออันเป็นเหตุให้เรืออัปปาง ดวงตะวันมีไว้เพื่อให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์จากแสงแดด มิได้มีไว้เพ่งมองด้วยตาเปล่าจนกระทั่งตาบอด

๔๘. นมาซกับการศึกษา
ถ้าปรารถนาที่จะปฏิบัตินมาซอย่างถูกต้อง จำเป็นต้องศึกษาและมีการ ฝึกฝน ผู้ปฏิบัติทุกคนต้องเรียนรู้คำในภาษาอาหรับ อะหฺกามอันเป็นบัญญัติ เกี่ยวกับนมาซ ทิศกิบละฮฺ ความสะอาดทั้งวุฎู่และฆุสุล ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับ ปฐมบทของนมาซ ตัวนมาซ มัสญิด การแก้ไขนมาซกรณีเกิดความสงสัย ในจำนวนระกะอัตของนมาซ หรือลืมบางอย่างในนมาซ ต้องรู้จักกฎเกณฑ์ และเงื่อนไขของมัน เพื่อแก้ไขหรือทดแทนส่วนที่ขาดหายไป

๔๙. นมาซกับมารยาท
คนที่ได้ยินเสียงอะซาน แล้วยังนิ่งเฉยทำตัวไม่รู้ร้อนเหมือนไม่มีอะไร เกิดขึ้นหรือไม่เห็นความแตกต่าง ถือว่าเป็นการแสดงมารยาทที่ไม่ดีกับนมาซ

อิสลามได้แนะนำว่า ท่านจงยืนปฏิบัตินมาซให้เรียบร้อย มือทั้งสอง ต้องแนบติดลำตัว ยืนตรงในท่าที่สงบนิ่ง จ้องมองไปยังสถานที่ ๆ จะลงสุญูด ต้องสวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ประพรมน้ำหอม ถ้าเข้าร่วมนมาซญะมาอะฮฺก็ควรต้องรักษาความพร้อมเพรียงของญะมาอะฮฺ สมควรรักษามารยาทต่ออิมามนำนมาซอย่างเคร่งครัด หมายถึงไม่ควรปฏิบัติสิ่งใดก่อนอิมาม เช่น ต้องไม่ ลงรุกูอฺหรือสุญูดก่อนอิมาม และเป็นการดีที่สุด ไม่สมควรกล่าวซิกรฺหรือ กล่าวคำใด ๆ ก่อนที่อิมามจะกล่าว ทั้งหมดเหล่านี้ถือว่าเป็นเงื่อนไขในการปฏิบัติและเป็นการเสริมสร้างมารยาทในการภักดีให้กับผู้ปฏิบัติ อันเป็นมารยาทที่อยู่บนพื้นฐานของคุณค่าทางจิตวิญญาณเช่น การรู้จัก(พระเจ้า) ความรัก ความถ่อมตน และสัมมาสมาธิ มิใช้อยู่บนพื้นฐานของความรู้สึกพ่ายแพ้และไร้แก่นสาร

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวถึง คนที่ชอบทำสุญูดเร็ว ๆ ว่า... “เขาทำเหมือนกับนกกาที่จิกกินอาหารบนพื้นดิน”

๕๐. นมาซกับการฟื้นฟูคุณค่า
อิมามญะมาอะฮฺ นอกจากจะต้องมีความยุติธรรม อ่านออกเสียงถูก ต้อง และเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนแล้ว ยังต้องมีคุณสมบัติอื่นๆอีก ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า...“ถ้าประชาชนไม่ยอมรับใครสักคนเป็นอิมาม แต่ตัวเขาเองยังฝืนเป็นอิมามต่อไป ถือว่า นมาซของเขาไม่ถูกยอมรับ” อิสลามสอนว่า ผู้ยืนนมาซในแถวแรกควรมีคุณสมบัติทางจริยธรรมหลายข้อเป็นการเฉพาะ เพราะคุณสมบัติดังกล่าวนั้นจะเป็นเครื่องกระตุ้นคุณค่าทางจิตวิญญาณในสังคม อันสอนให้รู้ว่า ใครก็ตามที่มีความเที่ยงธรรม มีความยำเกรง ควรได้รับเกียรติให้เป็นชนชั้นแนวหน้าของสังคม

๕๑. เสียงเรียกของนมาซนับตั้งแต่วันแรกเกิดจนถึงหลุมฝังศพ
อิสลามได้สอนว่า เมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว จงทำการอะซานทางหูขวา และอ่านอิกอมะฮฺทางหูซ้าย และเมื่อเขาตาย ก่อนจะนำร่างไปฝัง เป็นวาญิบต้องทำนาซมัยยิต (นมาซคนตาย ) ให้กับเขา ดังนั้น จะเห็นว่า ไม่มีอิบาดะฮฺใดมีความสัมพันธ์กับชีวิตของมนุษย์ นับตั้งแต่วินาทีแรกจนถึง วันอวสานของโลกเหมือนกับนมาซ

๕๒. นมาซกับการแก้ปัญหาสังคม
อัล-กุรอานกล่าวว่า
“เจ้าจงขอความช่วยเหลือด้วยความขันติ และด้วยการดำรงนมาซ “ (وَاسْتَعِينُوا بِالصَّبْرِ وَالصَّلَاةِ (ซูเราะฮฺอัล-บะกอเราะฮฺ : ๔๕ )

ฮะดีษได้กล่าวว่า เมื่อใดก็ตามที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และท่านอิมาม อะลี (อ.) ประสบกับปัญหา ท่านจะนมาซ

๕๓. ภาระอันยิ่งใหญ่ของบิดามารดาที่มีต่อบุตรคือการสอนนมาซ
ริวายะฮฺได้กล่าวว่า
“การสอนนมาซให้กับบุตร ถือเป็นภาระอันยิ่งใหญ่ของบิดา มารดา ซึ่งเป็นหน้าที่ของท่านทั้งสอง ที่ต้องเริ่มสอนบุตรให้รู้จักคำว่า ไม่มีพระเจ้า อื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ (ลาอิลาฮะอิ้ลลัลลอฮฺ)”

ตั้งแต่อายุสามขวบเป็นต้นไป หลังจากนั้นเริ่มสอนให้เขาคุ้นเคยกับ นมาซทีละน้อย
อัล-กุรอานได้กล่าวว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มีความกระตือรือร้นและให้ ความสำคัญต่อนมาซของบุตรของท่านอย่างมากพระองค์ (ซบ.) ได้ตรัสกับ ท่านศาสดาว่า
“และเจ้าจงสั่งให้ครอบครัวของเจ้าดำรงนมาซ และจงอดทนเพื่อการนั้น” (وَأْمُرْ أَهْلَكَ بِالصَّلَاةِ وَاصْطَبِرْ عَلَيْهَا (ซูเราะฮฺฏอฮา : ๑๓๒)

อัล-กุรอานได้กล่าวสรรเสริญท่านศาสดาอิสมาอีลว่า
“เขาเป็นผู้เชิญชวนครอบครัวให้ดำรงนมาซ”

ท่านลุกมาน (อ.) ได้แนะนำบุตรของท่านว่า
“โอ้ลูกรักเอ๋ย จงดำรงนมาซและจงบำเพ็ญความดีเถิด”(يَا بُنَيَّ أَقِمْ الصَّلَاةَ وَأْمُرْ بِالْمَعْرُوفِ (ซูเราะฮฺลุกมาน : ๑๗ )

ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ได้กล่าวในดุอาอฺของท่านว่า
“โอ้พระผู้อภิบาลของข้าโปรดทำให้ข้า และผู้สืบตระกูลของข้าเป็น ผู้ดำรงนมาซเถิด” (رَبِّ اجْعَلْنِي مُقِيمَ الصَّلَاةِ وَمِنْ ذُرِّيَّتِي (ซูเราะฮฺอิบรอฮีม : ๔๐)

๕๔. บั้นปลายชีวิตของผู้หลีกเลี่ยงการระลึกถึงอัลลอฮฺและนมาซ
นมาซ คือการรำลึกถึงอัลลอฮฺ (ซบ.) ถ้าหากใครลืมการรำลึกถึง พระองค์ บั้นปลายชีวิตของเขาย่อมพบกับความคับแคบ
อัล-กุรอานกล่าวว่า

“และใครหลีกเลี่ยงการระลึกถึงข้า ดังนั้น บั้นปลายชีวิตของเขาคับแคบยิ่งนัก” (وَمَنْ أَعْرَضَ عَنْ ذِكْرِي فَإِنَّ لَهُ مَعِيشَةً ضَنكًا (ซูเราะฮฺฏอฮา : ๑๒๔)

อาจมีบางคนบอกว่า “ฉันมิใช่ผู้เคร่งครัดนมาซเท่าไหร่นัก แต่ฉันก็มีชีวิตการเป็นอยู่ที่ดีไม่เดือดร้อน” สิ่งเหล่านี้มิใช่มาตรฐานในการวัดชีวิต ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องพิจารณาดูจากภายในชีวิตของเขา มิใช่ดูเพียงเปลือกนอกเพื่อจะได้รู้ว่า เขามีความสุขมีชีวิตที่รื่นรมย์และมีความปลอดภัยจริงหรือไม่ ถ้าหากเขาเผชิญกับอุปสรรคชีวิตบ้างเล็กน้อย เขาจะคิดและมองคนอื่นเป็นอย่างไร ตัวเขามีตักวา มีความยุติธรรมมากน้อยเพียงใด จิตวิญญาณของเขาสัมพันธ์อยู่กับสิ่งใด และเขามีความเชื่อมั่นกับอนาคตของเขาแค่ไหน?

ความตื่นเต้นและจิตใจที่เร้าร้อนปราศจากสัมมาสมาธิ ความไม่มั่นคง ของครอบครัว การตัดสินใจที่ไม่แน่นอน จิตใจที่อ่อนไหว ความอคติ มีความรู้สึกว่าตัวเองอยู่คนเดียวและเป็นคนแปลกหน้าเสมอ มีการทำความผิดบาป มาตรกรรม ลูกหนีออกจากบ้าน มีการหย่าร้าง ความรู้สึกพ่ายแพ้ และมีความหวาดกลัว สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในครอบครัวที่มีนมาซมากกว่า หรือ ครอบครัวที่ไม่มีนมาซ

๕๕. นมาซกับความตะวักกุล (การมอบหมายความไว้วางใจยังพระเจ้า)
ขณะนมาซนั้น เราจะกล่าวว่า “บิสมิ้ลลาฮฺ” หลายครั้งเพื่อเป็นการเตือน สัมทับให้กับตัวเอง เพราะตัวบาอฺในบิสมิลลาฮฺฯ นั้นสื่อถึงการขอความช่วยเหลือและการมอบความไว้วางใจต่อพระองค์ การเริ่มต้นการ ระลึกถึงพระองค์ ด้วยการมอบความไว้วางใจต่อพระองค์ เป็นการแสดงให้เห็นว่า เราปรารถนาที่จะขออำนาจการช่วยเหลือจากพระองค์ การรำลึกถึงพระองค์เป็นสัญลักษณ์แห่งความรักและความหถวิลหาพระองค์

๕๖. นมาซกับจิตวิญญาณที่ยิงใหญ่
นมาซนั้นเป็นการสรรเสริญอัลลอฮฺ (ซบ.) ในฐานะผู้ทรงอุบัติและทรงบริบาลสิ่งเหล่านั้น พระองค์ คือแหล่งที่มาของความเมตตา และความจำเริญทั้งหลาย ทรงเป็นเจ้าแห่งวันอวสานของโลก ฉะนั้น ถ้าใครได้สรรเสริญพระองค์ด้วยใจที่นอบน้อมบนพื้นฐานของความรู้และความเข้าใจ ยากยิ่งนักที่เขาจะไปสรรเสริญสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากพระองค์ ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กล่าวว่า...“ฉันซึ่งเป็นผู้สืบวงศ์วานท่านศาสดา(ศ็อลฯ) เติบโตมาจากตักของท่านหญิงฟาติมะฮฺ จะไม่ยอมให้สัตยาบัน (บัยอะฮฺ) กับคนเฉกเช่นยะซีดเด็ดขาด” แน่นอน เป็นหน้าที่ของมนุษย์ต้องสรรเสริญพระองค์ มิใช่ ยกย่องฏอฆูต เพราะพระองค์ทรงเป็นพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ทรงเมตตา และปรานี อีกทั้งทรงเป็นเจ้าแห่งวันสอบสวน

เมื่อเป็นเช่นนี้ ยังมีใครและอำนาจอื่นใดอีกหรือที่คู่ควรให้เราสรรเสริญ นอกเหนือจากพระองค์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดามุสลิม เมื่อใดที่เขา ทำการสรรเสริญผู้กดขี่บัลลังก์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) จะสั่นสะเทือนทันที

ดังนั้นจะเห็นว่า การสรรเสริญพระองค์เป็นเหตุทำให้จิตวิญญาณของ เรามีพลังและเติบโต และมันไม่พร้อมที่จะสรรเสริญสิ่งอื่นใดอีกนอกจาก พระองค์ ซึ่งพลังจิตที่เข้มแข็งนี้สารถสร้างได้จาก การดำรงนมาซและการ สรรเสริญที่มีต่อพระองค์ แต่น่าเสียดายที่ว่า ส่วนมากของมุสลิม มิได้ปฏิบัติ นมาซด้วยจิตที่มีสัมมาสมาธิ เขาจึงมิได้บรรลุยังเป้าหมายที่แท้จริงของนมาซ

๕๗. นมาซกับการเจริญรอยตามแบบอย่างที่ดีงาม
ประโยคที่กล่าวว่า “แนวทางของบรรดาผู้ซึ่งพระองค์ได้ทรงโปรดปรานแก่พวกเขา” แสดงให้เห็นว่า สิ่งที่เราปรารถนาจากพระองค์คือ ขอพระองค์โปรดทำให้เราได้เติบโตและเคลื่อนไหวอยู่บนแนวทางของหมู่ชนที่พระองค์ทรงโปรดด้วยเถิด อันได้แก่แนวทางของบรรดาผู้ซึ่งรู้จักพระองค์เป็นอย่างดี ผู้ที่มีความรักต่อพระองค์ ผู้ที่กำหนดวิถีชีวิตไว้บนแนวทางของพระองค์ ผู้ที่ต่อสู้ อดทน ยึดมั่นและไม่ยอมแยกจากพระองค์

อัล-กุรอานซูเราะฮฺนิสาอฺ โองการที่ ๖๙ ได้กล่าวถึงชนสี่กลุ่มที่พระองค์ ทรงโปรดปรานเป็นที่สุดอันได้แก่ บรรดาศาสดาทั้งหลาย บรรดาผู้พลีชีพ บนหนทางของพระองค์ บรรดาผู้สัจจริง และบรรดากัลยาณชน

ฉะนั้น ความโปรดปรานที่แท้จริงก็คือ อีมาน (ความศรัทธา) และความผูกพันที่มีพระองค์ (ซบ.) การขับดำเนินชีวิตไปบนความพึงพอพระทัยและแสดงความเสียสละบนแนวทางของพระองค์ การรักษาสัมพันธภาพระหว่างเรากับพระองค์

ทั้งนี้ก็เพราะความโปรดปรานทั่วไปที่เป็นวัตถุ สิงห์สาราสัตว์ทั่วไปก็ได้รับอานิสงค์ด้วยเช่นกัน อัล-กุรอานกล่าวว่า
“ทั้งนี้ เพื่ออำนวยประโยชน์แก่เจ้า และบรรดาปศุสัตว์ของเจ้า”(مَتَاعًا لَكُمْ وَلِأَنْعَامِكُمْ (ซูเราะฮฺนาซิอาต : ๓๓)

ด้วยเหตุนี้จะสังเกตเห็นว่า มนุษย์นั้นปรารถนาในความโปรดปราน จากพระองค์ทั้งสองแบบ เพียงแต่ว่าประการแรกนั้นมีความสำคัญมากกว่าประการที่สอง เพราะเป็นปัจจัยและเป็นเสบียงที่ติดตัวมนุษย์ไปตลอดกาล

แต่ปัจจุบันนี้มนุษย์บ้างกลุ่มเกิดความสับสน เพราะเขาได้ทุ่มเทแรง กายแรงใจและทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อชีวิตที่สะดวกสบายทางดุนยาเขาเลือก ใช้ปัจจัยแต่เพียงด้านเดียว ขณะเดียวกัน ก็ยังมีมนุษย์อีกบางกลุ่มที่มีความ เข้าใจและพยายามใช้ความรู้ ความสามารถ ด้วยกำลังทั้งหมดที่มีอยู่ในตัว เพื่อแสวงหาความโปรดปรานที่เป็นความด้านใน ด้วยความหวังอย่างเต็ม วิญญาณว่า เขาคงจะได้รับความโปรดปรานนั้นจากพระองค์ เพราะถือ ว่าเป็นสัจธรรมแห่งชีวิตและเป็นธรรมชาติ ของมนุษย์อย่างแท้จริง ฉะนั้น จำเป็นสำหรับผู้ศรัทธาทุกท่านที่ต้องวอนขอจากพระองค์เสมอว่า โปรดประทาน แนวทางของบรรดาผู้ซึ่งได้รับความโปรดปราน (นิอฺมัต) อย่างแท้จริงให้กับ เราด้วยเถิด

๕๘. นมาซกับความรู้
อัล-กุรอานได้กล่าวถึงนมาซของชาวฟ้าและฝูงนก และการตัสบีห์ของพวกเขาว่า
“มวลสรรพสิ่งในฟากฟ้าและแผ่นดินต่างแซ่ซ้องสดุดีแด่พระองค์รวมทั้งนกที่บินเป็นฝูงล้วนล่วงรู้ถึงการนมาซและการตัสบีห์ของเขาเอง” (أَلَمْ تَرَى أَنَّ اللَّهَ يُسَبِّحُ لَهُ مَنْ فِي السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضِ وَالطَّيْرُ صَافَّاتٍ كُلٌّ قَدْ عَلِمَ صَلَاتَهُ وَتَسْبِيحَهُ(ซูเราะฮฺอันนูร : ๔๑)

อีกโองการหนึ่งพระองค์ตรัสว่า
“พวกเจ้าจงอย่างปฏิบัตินมาซในขณะที่พวกเจ้ากำลังเมามาย จนกว่าพวกเจ้าจะรู้ในสิ่งที่พวกเจ้าพูด” (يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا لَا تَقْرَبُوا الصَّلَاةَ وَأَنْتُمْ سُكَارَى حَتَّى تَعْلَمُوا مَا تَقُولُونَ (ซูเราะฮฺอันนิสาอฺ : ๔๓)

เหล่านี้เป็นคำแนะนำเพื่อให้มนุษย์พึงสังวรตนเองขณะปฏิบัตินมาซ มีฮะดีษกล่าวเสริมในเรื่องนี้ว่า "นมาซของผู้รู้ดีกว่านมาซของพวกบำเพ็ญศีล"
อิสลามแนะนำบรรดาพ่อค้าและนักธุรกิจทั้งหลายว่า “จงศึกษาถึงสิ่งที่ฮะล้าลและฮะรอมก่อนแล้วจึงเริ่มทำการค้า” หมายถึง ศึกษาก่อนว่าสิ่งใดบ้างที่อนุญาตและไม่อนุญาตให้ทำการค้าขาย

การสอนนมาซเช่นเดียวกัน จำเป็นต้องสอนให้เยาวชนได้รับรู้ถึงบทเรียนที่แฝงอยู่ในการนมาซ เพื่อพวกเขาจะยืนขึ้นนมาซด้วยความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
๕๙. นมาซกับการญิฮาด
ศาสนบัญญัติแห่งอิสลามมีความสอดคล้องเกี่ยวโยงกันอย่างเป็นระบบ อาทิเช่น การนมาซกับการญิฮาด(ต่อสู้ในหนทางศาสนา)
อัล-กุรอานกล่าวถึงศพผู้ที่หนีสงครามว่า

“เจ้า(มุฮัมมัด)จงอย่าปฏิบัตินมาซ(มัยยิต)ให้กับพวกเขาทุกคนที่ตายเด็ดขาด และจงอย่ายืนบนหลุมฝังศพ (เยี่ยมและขอดุอาอฺให้) ของพวกเขา เพราะพวกเขา ทรยศต่ออัลลอฮฺและศาสนฑูตของพระองค์ และพวกเขาได้ตายขณะที่พวก เขาเป็นผู้ฝ่าฝืน” (لَا تُصَلِّ عَلَى أَحَدٍ مِنْهُمْ مَاتَ أَبَدًا وَلَا تَقُمْ عَلَى قَبْرِهِ إِنَّهُمْ كَفَرُوا بِاللَّهِ وَرَسُولِهِ وَمَاتُوا وَهُمْ فَاسِقُونَ (อัตเตาบะฮฺ : ๘๔)

ในช่วงสงครามแปดปีระหว่างอิรัคกับอิหร่าน ทหารอาสาสมัครคนหนึ่ง ได้เขียนจดหมายไว้ว่า...“ถ้าฉันตายไปในสนามรบ(ชะฮีด) โปรดอย่านำร่างของฉันไปฝังจนกว่าผู้คนทั้งสองฝ่ายที่ไม่ถูกกันจะคืนดีกัน” จะเห็นว่าอาสาสมัครผู้นี้ได้ใช้เลือดของตนเป็นตัวแก้ไขปัญหาสังคม ซึ่งแทนที่เขาจะพูด ว่า “ฉันไม่ยินยอมให้นายคนนั้นคนนี้ หรือคนกลุ่มโน้น กลุ่มนี้ มาร่วมงานศพของฉันเด็ดขาด” เพราะถ้าเขาพูดเช่นนี้ ไฟแห่งความร้าวรานและความอคติที่มีต่อกันคงจะรุนแรงยิ่งขึ้น

๖๐. ความต้องการนมาซในช่วงวัน
ช่วงเวลาใดก็ตามที่มีความยุ่งวุ่นวายมาก ช่วงเวลานั้นย่อมมีความต้องการนมาซมากเช่นกัน จะสังเกตุเห็นว่า เวลากลางคืน คนเราจะมีเวลาว่างไม่ต้องยุ่งกับปัญหาขีวิตนับตั้งแต่พลบค่ำเป็นต้นไป จนถึงเวลารุ่งอรุณของวันใหม่ ในช่วงเวลานั้นจะไม่มีนมาซที่เป็นวาญิบ ซึ่งความต้องการทางจิตวิญญาณของมนุษย์นั้น มักจะเพิ่มมากขึ้นในช่วงกลางวัน ขณะเดียวกัน อารมณ์ใฝ่ต่ำ บรรดาฏอฆูตผู้ละเมิด ความหลอกลวง เล่ห์เพทุบาย และความผิดบาปทั้งหลายจะปรากฏอย่างเด่นชัดในตอนกลางวันในรูปแบบต่าง ๆ เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ เมื่อเริ่มรุ่งอรุณของวันใหม่จนถึงเวลาพลบค่ำ อัลลอฮฺ (ซบ.) จึงได้กำหนดให้มวลมุสลิมปฏิบัตินมาซ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนกลางวันได้มีคำแนะนำเอาไว้ว่า

“เจ้าจงดำรงนมาซทั้งสองช่วงของกลางวัน” (أَقِمْ الصَّلَاةَ طَرَفِي النَّهَارِ (ซูเราะฮฺฮูด : ๑๑๔)

อีกโองการกล่าวว่า
“พวกเจ้าจงรักษาการนมาซ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนมาซช่วงกลาง” (حَافِظُوا عَلَى الصَّلَوَاتِ وَالصَّلَاةِ الْوُسْطَى (อัล-บะกอเราะฮฺ :๒๓๘)

อัล-กุรอานต้องการเตือนว่า พวกเจ้าอย่าประพฤติตัวเหมือนพวกมุนาฟิกีนผู้กลับกลอกผู้ที่ได้ละทิ้ง นมาซญะมะอะฮฺ (นมาซร่วมกัน)
ความผิดบาปและอบายมุขทั้งหลายจะติดตามมนุษย์ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่มีเวลาว่างอย่างพอเพียง เช่น วันศุกร์ซึ่งถือว่าเป็นวันหยุด ด้วยเหตุนี้ นมาซญุมุอะฮฺ จึงได้รับการเน้นและแนะนำไว้อย่างเป็นพิเศษให้ปฏิบัติ และเหตุที่บัญชาให้ปฏิบัตินมาซในตอนกลางวันอาจเป็นเพราะว่ามนุษย์อยู่ท่ามกลางอบายมุขมากมาย เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดมีความผิดพลาดหรือหลงระเริงไปกับสิ่งเหล่านั้น จึงกำหนดให้มีการปฏิบัตินมาซ

นอกจากนี้ การที่อิสลามกำหนดให้เด็กผู้หญิงบรรลุนิติภาวะทางศาสนาตั้งแต่อายุ ๙ ขวบบริบูรณ์ อาจเป็นเพราะด้วยความอ่อนโยนและความบริสุทธิทางจิตวิญญาณของพวกเธอ อาจจะทำให้พวกเธอถูกคุกคามจากฝุ่นควันแห่งกิเลสได้ง่าย

นอกจากนี้อิสลามยังสอนว่า เพื่อเป็นการขจัดปัญหาให้คลี่คลายไปในทางที่ดี อิสลามจึงแนะนำให้ปฏิบัตินมาซ(มุสตะฮับ)ให้บ่อยขึ้น
อัล-กุรอานกล่าวว่า

“เจ้าจงขอความช่วยเหลือด้วยความอดทน และการดำรงนมาซ” (وَاسْتَعِينُوا بِالصَّبْرِ وَالصَّلَاةِ (ซูเราะฮฺอัล-บะกอเราะฮฺ : ๔๕)

ดังนั้น เมื่อพิจารณาจะเห็นว่านมาซได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของมนุษย์อย่างลงตัว สามารถช่วยขจัดปัญหาของสังคมให้หมดไปได้ ขณะเดียวกันนมาซสามารถสร้างพลังให้กับมนุษย์ อันเป็นพลังที่เข้มแข็งจนกระทั่งสามารถสร้างความรู้สึกทางอารมณ์ และจิตวิญญาณได้อย่างดียากที่จะหาพลังใดเหมือน

๖๑. นมาซเป็นปราการอันมั่นคงที่ต้านทานความผิดบาป
ที่ใดที่มีป้อมปราการแห่งนมาซ ณ ที่นั้นชัยฏอนมารร้ายจะถอยทัพหนีอย่างไม่คิดชีวิต ในทางกลับกัน ถ้าสายลูกประคำแห่งนมาซในสังคมถูกตัดขาด ความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณต่างๆก็จะอันตรธานหายไป

อัล-กุรอานกล่าวว่า “แท้จริงนมาซสามารถยับยั้งความอนาจารและสิ่งต้องห้ามทั้งหลายได้” (إِنَّ الصَّلَاةَ تَنْهَى عَنْ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ (ซูเราะฮฺอัล-อังกะบูต :๔๕)

ผู้ปฏิบัตินมาซไม่ควรแสดงอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง สวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่อนุญาตและปฏิบัตินมาซบนสถานที่ฮะร่าม มีร่างกายสกปรกและรับปรานอาหารที่ไม่ฮะล้าลได้ เป็นหน้าที่ของเขาที่ต้องปกป้องนมาซมิให้บาฏิล (เสีย) ซึ่งการกระทำดังกล่าวเท่ากับเป็นการบังคับตัวเองให้ระวัง และออกห่างจากความอนาจารทั้งหลาย

การสร้างสัมพันธ์กับพระผู้เป็นเจ้า จะส่งผลให้จิตวิญญาณของมนุษย์บริสุทธิ์ และออกห่างจากความ ความผิดบาป อีกทั้งทำให้เขาเป็นผู้มีความละอาย ฉะนั้น เราจะไม่พบเจอผู้ที่ปฏิบัตินมาซด้วยความบริสุทธิ์ใจคนใดที่เมื่อออกจากมัสญิดแล้วเขาจะเดินเข้าสู่วงการพนันหรือสถานบำเรอความสุขและแหล่งมั่วสุมอบายมุขทั้งหลาย หรือไปประกอบกรรมชั่วอื่น ๆ ในทางกลับกันเมื่อใดที่รากแก้วของนมาซถูกทำลาย สังคมจะเปลี่ยนแปลงและมีความประพฤติเฉกเช่นชัยฏอนมารร้ายทันที

อัล-กุรอานกล่าวว่า
“(ภายหลังจากบรรดาศาสดา) ได้มีชนกลุ่มหนึ่งอุบัติขึ้นเพื่อทดแทน ซึ่งพวกเขาละเลยต่อการนมาซ พวกเขาปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ” (فَخَلَفَ مِنْ بَعْدِهِمْ خَلْفٌ أَضَاعُوا الصَّلَاةَ وَاتَّبَعُوا الشَّهَوَاتِ (ซูเราะฮฺมัรยัม : ๕๙)

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) อธิบายโองการดังกล่าวว่า “ภายหลังจาก ๖๐ ปี จะมีชนกลุ่มหนึ่งเกิดขึ้น พวกเขาจะเป็นพวกทำลายนมาซ” อัล-กุรอานได้ทำการเตือนว่าประวัติ ศาสตร์ไม่มีวันตาย ฉะนั้น เหมือนในอดีตได้มีพวกทำ ลายนมาซเกิดขึ้นแล้ว และแน่นอนว่า ในอนาคตก็ต้องมีคนจำพวกนี้เกิดขึ้นอีก (ตับสีร นิมูเนะฮฺ)

นมาซ คือสายป่านที่เชื่อมกันระหว่างอัลลอฮฺ (ซบ.) กับมนุษย์และด้วยกับนมาซนี้เอง ที่ทำให้ความสัมพันธ์และอีมานที่มีต่อพระองค์ (ซบ.) มั่น คงยิ่งขึ้น นมาซคือสัญลักษณ์ของมิตรแท้ เพราะโดยปกติแล้วคนที่มีความรักต่อกันย่อมมีอารมณ์ใฝ่ฝันรัญจวนถึงกันและกัน อยากอยู่ใกล้ อยากพบ และอยากพูดคุยกันให้มากกว่าปกติ

ฮะดีษกล่าวว่า
“ช่างประหลาดเหลือเกิน สำหรับผู้ที่กล่าวอ้างว่าเขารักอัลลอฮฺ(ซบ.) แต่ในยามรุ่ง อรุณเขาไม่เคยตื่นขึ้นมาพูดคุยขอพร และพบปะกับคนรักของเขา”

แน่นอน เมื่อมนุษย์ปลีกตัวออกห่างจากอ้อมอกของบรรดาเอาลิยาอฺ (มวลมิตรของอัลลอฮฺ) เขาก็ต้องตกอยู่ในน้ำมือของบรรดาฎอฆูต และพวกมารร้ายทั้งหลาย เมื่อมนุษย์ไม่มอบหมายความไว้วางใจต่ออัลลอฮฺ เขาก็ต้องหันไปพึ่งอารมณ์ใฝ่ต่ำจะตกเป็นทาสมัน เมื่อเขาตัดความสัมพันธ์ทางจิตวิญญาณจากอัลลอฮฺ เขาก็ต้องมีสัมพันธ์กับคนอื่นเป็นของธรรมดา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ มนุษย์สามารถทำให้มันแน่นแฟ้นขึ้นได้ ด้วยกับการปฏิบัตินมาซเสมอ นมาซจึงเปรียบเสมือนชนวนที่จะเชื่อมความสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่มีต่อพระองค์ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความเมตตาและความปรานีของพระองค์จะหลั่งไหลสู่มนุษย์ และการระลึกถึงวันแห่งการสอบสวนจะปรากฏเป็นรูป ธรรมอย่างชัดเจนทางปัญญาและจิตใจ มนุษย์จะไม่พร่ำเรียกถึงสิ่งอื่น “นอก จากแนวทางที่เที่ยงธรรมของพระองค์” ดุจเช่น ที่พระองค์เคยมอบแก่กลุ่มชนที่พระองค์ทรงประสงค์มาแล้ว ดังนั้นเป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่ต้องหมั่นขอ ดุอาอฺเสมอ ๆ ว่า “ขอพระองค์ โปรดประทานแนวทางที่เที่ยงตรง และโปรดนำเราให้ออกห่างจากแนวทางของบรรดาพวกที่พระองค์ทรงกริ้วด้วยเถิด”

๖๒. นมาซกับการจัดสรรเวลา
อัล-กุรอานซูเราะฮฺอัน-นูร โองการที่ ๕๘ ได้กล่าวถึงเยาวชนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัตติว่า เมื่อใดก็ตามที่ต้องการเข้าห้องของบิดามารดาต้องขออนุญาตเสียก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงสามเวลาดังต่อไปนี้ ก่อนนมาซศุบฮฺหลังจากนมาซอิชาอฺและตอนบ่าย อันเป็นช่วงเวลาที่คนส่วนใหญ่จะพักผ่อนและเปลี่ยนอิริยาบท ฉะนั้น จะสังเกตเห็นว่าเวลาดังกล่าวได้ถูกจัดให้ตรงและสอดคล้องกับเวลาของนมาซพอดี

๖๓. นมาซ คือเครื่องมือที่ใช้ชำระล้างความผิด
หลังจากโองการที่รณรงค์ให้นมาซ อัล-กุรอานได้กล่าวว่า
“แท้จริง แล้วคุณงามคามดีจะเป็นตัวทำลายล้างความผิดบาปทั้งหลาย” (ซูเราะฮฺอัล-ฮูด : ๑๑๔)

อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า
“เมื่อลืมตัวและได้ทำความผิดบาป จงปฏิบัตินมาซ ๒ ระกะอัต และขอพระองค์ให้ทรงยกโทษ แน่นอนความผิดบาปจะได้รับการอภัย (นะฮฺญุ้ลบะลาเฆาะฮฺ ฮิกมะฮฺ ๒๒๙ )

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า
“ความผิดบาปหากเกิดขึ้นในช่วงระหว่างสองนมาซ จะได้รับการอภัยอย่างแน่นอน” (ชัรห์อิบนุอะบิ้ลหะดีด เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๒๐๖)

ความผิดบาปที่ฮะดีษได้กล่าวถึง เป็นความผิดที่เกิดจากการหลงลืมต่อการระลึกถึงพระองค์ ฉะนั้น ความผิดในทำนองนี้สามารถลบล้างได้ด้วยการปฏิบัตินมาซหรือประกอบอิบาดะฮฺอย่างอื่น อันเป็นเหตุที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์และความใกล้ชิดกับพระองค์ ซึ่งการอภัยจะเป็นตัวทำลายความผิดนั้น

๖๔. นมาซกับการอบรมทีละขั้นตอน
รูปแบบของการอบรมสั่งสอนนั้น ต้องปฏิบัติอย่างเป็นระบบไปทีละน้อย ซึ่งอิสลามได้ให้ความสำคัญต่อสิ่งนี้ไว้อย่างมาก
ริวายะฮฺได้กล่าวถึงการอบรมสั่งสอนไว้ว่า สามปีแรกควรปล่อยให้เด็กเป็นอิสระเมื่อ อายุครบ ๓ ขวบ ต้องสอนประโยคว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอก จากอัลลอฮฺ” ๗ ครั้ง ให้กับเขา
อายุครบ ๓ ขวบ ๗ เดือนกับ ๒๐ วัน ให้สอนประโยคที่สองว่า “มุฮัมมัด คือศาสนทูตของอัลลอฮฺ”
อายุครบ ๔ ขวบบริบูรณ์ สอนให้การอ่านเศาะละวาตแก่ ท่านมุฮัมมัดและลูกหลานของท่าน
อายุครบ ๕ ขวบบริบูรณ์ พอที่จะจำแนกแยกแยะและรู้จักมือข้างขวาและข้างซ้าย จงสอนให้เขารู้จักกิบละฮฺและการสุญูด

เมื่ออายุครบ ๖ ขวบบริบูรณ์ จงสอนนมาซ การรุกูอฺ และสุญูดให้กับเขา
เมื่ออายุครบ ๗ ขวบบริบูรณ์ จงสอนให้เขารู้จักการล้างมือและใบหน้าในการทำวุฎู่อฺ
เมื่ออายุครบ ๙ ขวบบริบูรณ์ จงสอนนมาซอย่างจริงจัง และถ้าหากเขาดื้อดึงให้กล่าวตักเตือนและลงโทษในที่สุด(วะซาอิ้ล เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๑๙๓)

๖๕. นมาซ คือการระลึกถึงบรรดาชุฮะดา
เราได้รับการแนะนำไว้ว่า “สิ่งรองหน้าผากยามลงสุญูดที่ประเสริฐสุดของคือ ดินกัรบะลา หรือที่เรียกกันว่า “ตุรบะฮฺอิมามฮุซัยนฺ” ท่านอิมามศอดิก (อ.) ทุกครั้งที่ทำสุญูดท่านจะเอาหน้าผากแนบกับดินกัรบะลาเสมอ (วะซาอิ้ล เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๖๐๘)

การสุญูดลงบนดินกัรบะลาจะเป็นสาเหตุทำให้ม่านที่ขวางกั้นระหว่างมนุษย์กับอัลลอฮฺ (ซบ.) ถูกเปิดออกทำให้มนุษย์ใกล้ชิดกับพระองค์มากยิ่งขึ้น


โปรดติดตามต่อ

ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัช ชีอะฮ์
114 บทเรียนจากนมาซ

๖๖. นมาซกับชะฮาดะตัยน์
นมาซทุกสองระกะอัตจะต้องอ่านชะฮาดะตัยนฺ ๑ ครั้ง ซึ่งเป็นการปฏิญาณยืนยันถึงความเป็นหนึ่งเดียวของพระผู้เป็นเจ้า และยืนยันการเป็นศาสนทูตของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ฉะนั้น ในวันหนึ่งมุสลิมต้องกล่าวปฏิญาณถึง ๕ ครั้ง ด้วยกันเพื่อป้องกันมิให้ตนเองหลงไปในแนวทางที่ผิด อันเป็นแนวทางของบรรดาพวกที่พระองค์กริ้วโกรธ และเพื่อมิให้ลืมศาสดาและพระผู้เป็นเจ้าของศาสนานั้น และจำเป็นสำหรับมวลมสุลิมต้องกล่าวสรรเสริญท่านศาสดาและลูกหลาน เพราะแท้จริงผู้ที่ทำการสรรเสริญท่านก่อนใครทั้งหมด คืออัลลอฮฺและมะลาอิกะฮฺ อัล-กุรอานได้กล่าวสำทับเรื่องนี้ว่า “แท้จริงอัลลอฮฺ และมวลมะลาอิกะฮฺของพระองค์ ได้ทำการสรรเสริญนบี”

เมื่อพระองค์ยังทำการสรรเสริญแล้ว เราเป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดาทำไมจึงไม่ทำการสรรเสริญนบี หรือว่าท่านนบีมิใช่ผู้ช่วยเหลือเราให้รอดพ้นจากภยันตรายของไฟนรก หามิได้เป็นเช่นนั้น ดังนั้น พึงสังวรไว้เถิดว่า คราใดที่มนุษย์ออกห่างจากบรรดาศาสดา เขาจะตกอยู่ในหุบเหวของความหลงลืมทันที โอ้ข้าแต่พระองค์โปรดอย่าทำให้พวกเราเป็นเช่นนั้นเลย และตราบเท่าที่ชีวิตยังมีเราขอกล่าวสรรเสริญ และอำนวยพรให้ท่านมุฮัมมัดผู้เป็นบรมศาสดา ผู้ซึ่งชี้นำทางเราให้รอดพ้นจากไฟนรกตลอดจนลูกหลานของท่าน

๖๗. นมาซเป็นหลักประกันสำหรับจิตใจมนุษย์
อัล-กุรอานซูเราะฮฺอัล-มะอาริจญ์ กล่าวว่า “เมื่อความเลวร้ายได้สัมผัสเขา เขาก็วุ่นวายใจและเมื่อความดีได้สัมผัสเขา เขาก็แสดงความตระหนี่ถี่เหนียว ยกเว้นบรรดาผู้ดำรงนมาซ ได้แก่ผู้ซึ่งดำรงอยู่ในนมาซของพวกเขาอย่างเป็นอาจิณ”(إِذَا مَسَّهُ الشَّرُّ جَزُوعًا *وَإِذَا مَسَّهُ الْخَيْرُ مَنُوعًا *إِلَّا الْمُصَلِّينَ *الَّذِينَ هُمْ عَلَى صَلَاتِهِمْ دَائِمُونَ (อัล-มะอาริจญ์ : ๒๐- ๒๓)

การสานสัมพันธ์กับอัลลอฮฺ (ซบ.) ผู้ซึ่งมีอำนาจไม่มีที่สิ้นสุด จะมอบพลังและความเข้มแข็งแก่มนุษย์ จะทำให้มนุษย์มีความแน่วแน่ และเสริมสร้างวิญญาณแห่งการตะวักกุล(คาดหวังความสำเร็จจากพระองค์) และจะทำให้เขามีชัยเหนืออุปสรรคนานัปการ เหล่านี้เป็นผลลัพธ์ของผู้ที่ปฏิบัตินมาซด้วยความตั้งใจ มีสมาธิและมีความถ่อมตน มิใช่นมาซของผู้ที่ไม่มีความตั้งใจหรือนมาซแบบสุกเอาเผากิน

๖๘. นมาซกับการประสาทพร
ในวันหนึ่ง ๆ ผู้ศรัทธาต้องประสาทพรแด่พี่น้องร่วมศรัทธาถึง ๕ ครั้งว่า “อัสลามุอะลัยนาวะอะลาอิบาดิ้ลลาฮิศศอลิฮีน”

เฉพาะปวงบ่าวที่เป็นกัลยาณชนเท่านั้นที่เรากล่าวประสาทพรให้ มิใช่นายทุนหรือเศรษฐี หรือผู้ที่มีอำนาจ ดังนั้น ใครก็ตามที่กล่าวสลามให้แก่ปวงบ่าวทุกวัน เขาจะไม่ใช้เล่ห์เพทุบายกับผู้อื่น ไม่ดูถูกเหยียดหยามและจะไม่สวมเขาผู้ใดอย่างเด็ดขาด

๖๙. นมาซกับประชาชน
รูปแบบหลักของนมาซคือการปฏิบัติในรูปญะมาอะฮฺ (หมายถึงทำรวมกัน) การร่วมญะมาอะฮฺ คือการเข้าร่วมกับประชาชน อยู่กับประชาชน และแสดงความเป็นประชาชนที่ดี โดยปราศจากการแบ่งชั้นวรรณะ สีผิว ยศถาบรรดาศักดิ์ และชาติตระกูล

การมีอยู่ของอิมามคือความจำเป็นของการปฏิบัติมนาซญะมาอะฮฺ เพราะสังคมจะปราศจากผู้นำไม่ได้ และเมื่ออิมามเข้ามาสู่มัสญิดเป็นการแสดงให้เห็นว่าท่าน คืออิมามของคนทุกคนโดยเสมอภาค มิใช่อิมามของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ฉะนั้น จำเป็นสำหรับผู้เป็นอิมามญะมาอะฮฺ ขณะอ่านดุอาอฺในกุนูตจะต้องไม่อ่านดุอาอฺให้ตัวเอง เพราะคุณสมบัติหนึ่งของผู้นำสังคม คือ ต้องไม่แสดงความเห็นแก่ตัว ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่ว่าประชาชนจะเป็นคนจนหรือคนรวย เป็นคนรูปร่างหน้าตาดีหรือคนขี่เหล่น่าเกียจ ไม่มีใครดีไปกว่าใคร ยกเว้นคนที่มีความยำเกรงเท่านั้น ย่อมดีกว่าคนอื่น ๆ เสมอ ดังนั้น เป็นหน้าที่ของมวลมุสลิม ที่ต้องช่วยกันขจัดเกียรติยศจอมปลอมทั้งหลายเหล่านี้ ด้วยการเข้าร่วมนมาซญะมาอะฮฺ และเป็นหน้าที่ของประชาชนที่ต้องให้การต้อนรับผู้เป็นอิมาม ขณะเดียวกันไม่อนุญาตให้อิมามอวดตัวเองว่าดีกว่าคนอื่น หรือเป็นคนถืออัตตาตัวตน เมื่ออิมามผิดพลาดในนมาซประชาชนสามารถบอกกล่าวได้ ตรงนี้อิสลามต้องการบอกกับเราว่า อิมามกับประชาชนต่างต้องให้การระมัดระวังซึ่งกันและกัน

ผู้เป็นอิมามญะมาอะฮฺต้องเอาใจใส่จุดที่อ่อนแอที่สุดของประชาชน ซึ่งตรงนี้เป็นบทเรียนสำหรับเจ้าหน้าที่และบรรดาข้าราชาการทั้งหลายว่า ในการวางแผนงานต้องเอาใจใส่ดูและประชาชนให้ทั่วถึง

ในการเข้าร่วมนมาซญะมาอะฮฺ ผู้ตามต้องไม่ปฏิบัติก่อนอิมาม ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นระเบียบและมารยาทที่ดี สมมติว่าอิมามได้ทำความผิดบาป และประชาชนต่างรับรู้ในความผิดนั้น อิมามต้องแสดงความกล้าหาญด้วยการลาออก เพราะประชาชนหรือสังคมต้องไม่ตกอยู่ในน้ำมือของคนที่เป็นผู้ฝ่าฝืน (ฟาซิก) ซึ่งเป็นการแสดงถึงความเป็นเอกภาพ และการร่วมมือกันของประชาชน ดุจดังเช่นที่เวลาลงสัจญะดะฮฺทั้งหมดจะลงโดยพร้อมเพรียงกัน ดังนั้น ในทุกภารกิจการงานของเราก็สมควรเป็นเช่นนี้

การปฏิบัตินมาซญะมาอะฮฺนั้น ประชาชนมีโอกาสตักตวงความรู้และสร้างสรรค์ตักวาของตน ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพฤติกรรมที่อิมามได้แสดงออกมา เมื่อถึงตรงนี้จะสังเกตเห็นว่า ตำแหน่งอิมามญะมาอะฮฺไม่ใช่มรดกตกทอดของสายตระกูล เพราะใครก็ตามที่มีความสมบูรณ์ทางความรู้ และมีพฤติกรรมที่ดีงามมากว่าคนอื่นย่อมมีสิทธิเป็นอิมามมากกว่า

ผู้เป็นอิมามญะมาอะฮฺต้องปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์ และเงื่อนไขเหมือนกับคนอื่น มิใช่ถือว่าเป็นอิมามแล้วจะทำสิ่งใดก็ได้ตามอำเภอใจ เช่น อ่านนมาซ ตามที่ตนปรารถนา โดยไม่คำนึงถึงผู้ปฏิบัติตามคนอื่น

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวตำหนิคนที่เป็นอิมามญะมาอะฮฺคนหนึ่งเมื่อเขาอ่านซูเราะฮฺฟาติหะฮฺจบ เขาได้อ่านซูเราะฮฺบะกอเราะฮฺต่อ ว่าทำไม ท่านถึงไม่คำนึงถึงคนอื่นบ้าง หรือท่านต้องการทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายนมาซญะมาอะฮฺ ท่านจึงอ่านซูเราะฮฺยาว ๆ

๗๐. นมาซกับการประชาสัมพันธ์
ปัจจุบันจะพบว่า รัฐบาลทุกประเทศจะจัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งขึ้น เพื่อใช้ในงานประชาสัมพันธ์และเก็บข่าวสารข้อมูล อิสลามได้ให้ความตระหนักถึงสิ่งนี้ไว้เช่นกัน จะแตกต่างกันตรงที่รูปแบบเช่น อิสลามสนับสนุนให้มีความเป็นเอกภาพอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะ อิบาดะฮฺก็ให้จัดทำรวมกันภายใต้องค์กรมัสญิด และเชิญชวนมวลมุสลิมเข้าร่วมนมาซญะมาอะฮฺโดยพร้อมเพรียงกัน เพื่อว่าในโอกาสนั้นจะได้รับรู้ถึงความรู้สึก คำพูด อุปสรรคปัญหา ต่าง ๆ แผนการของศัตรู และแนวทางในการแก้ไขหรือการวางแผนเพื่อทำลายศัตรู ตลอดจนข่าวสารข้อมูลใหม่ ๆ ที่ผ่านการวิเคราะห์ จากนักวิชาการหรือจากอิมามผู้มีความฉลาดเชี่ยวชาญ มีความรู้ และมีความยำเกรง มุสลิมมีโอกาสได้ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบของกันและกัน และมีโอกาสหยุดยั้งความเสื่อมทรามของสังคม โดยร่วมกันระลึกถึงคุณงามความดี อ่านดุอาอฺให้พระองค์ทรงโปรดขจัดปัญหาและ อุปสรรคต่าง ๆ ของสังคมมุสลิมให้หมดไป และขอดุอาอฺให้กับญาติที่ล่วงลับไปแล้ว

๗๑. นมาซกับผู้นำ
นมาซญะมาอะฮฺเปรียบเสมือนสังคม ๆ หนึ่ง ที่ต้องการผู้นำที่มีคุณสมบัติเพรียบพร้อม ด้วยเหตุนี้จึงเป็นหน้าที่ที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับประชาชนที่ต้องเลือกผู้นำที่มีความเหมาะสม มีอีมาน มีตักวา เป็นที่ยอมรับและมีมารยาทที่ดีงาม เป็นการแสดงให้เห็นว่าเราไม่อาจปฎิบัติตามผู้นำทุกคนได้เสมอไป สถานภาพที่แท้จริงของอิมามญะมาอะฮฺ คือสื่อกลางที่เชื่อมต่อระหว่างมนุษย์กับอัลลอฮฺ (ซบ.) เราจึงไม่อาจมอบหมายตำแหน่งดังกล่าวให้แก่ผู้ที่ฝ่าฝืน หรือผู้กลับกลอก เพราะคนที่ยังทำความผิดบาปอยู่จะสามารถทำให้คนอื่นเห็นอานุภาพการยับยั้งบาปของนมาซได้อย่างไร? ฉะนั้น ผู้เป็นอิมามจึงต้องเป็นมนุษย์ผู้มีความสมบูรณ์ มีความรู้ และมีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) มิเช่นนั้นแล้วสายสัมพันธ์ระหว่างเรากับอัลลอฮฺ (ซบ.) จะเชื่อมต่อกันได้อย่างไร เพราะมนุษย์ไม่สามารถยึดสายเชือกทุกเส้นเพื่อให้ชีวิตปลอดภัยได้ ทำนองเดียวกันใช่ว่าทุกบันไดจะสามารถนำมนุษย์ไปสู่ด้านบนได้เสมอไป

มาตรว่าอิมามญะมาอะฮฺ ซึ่งเป็นผู้นำองค์กรเล็ก ๆ (มัสญิด) ยังต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติสมบูรณ์ทุกประการ และจะไปนับประสาอะไรกับอิมาม ผู้นำแห่งอาณาจักรและศาสนจักรที่ต้องมีคุณสมบัติที่เหนือไปกว่านี้ อิสลามจึงแนะนำว่า หากเราต้องปฏิบัตินมาซตามใครสักคน คน ๆ นั้นต้องมีอีมาน มีความยำเกรง และมีความยุติธรรมเพียงพอ อิมามต้องระวังกริยามารยาท และความประพฤติให้มากกว่าคนอื่น ต้องปรับปรุงและขัดเกลาจิตใจตลอดเวลาเพื่อให้ออกห่างจากอบายมุขทั้งหลาย

๗๒. นมาซกับการเคลื่อนไหว
สิ่งที่อิสลามปรารถนาจากประชาชาติคือการเคลื่อนไหวและความกระตือรือร้นเชิงจิตวิญญาณ คำพูดที่กล่าวว่า “จงเร่งรีบสู่การนมาซ” “จงเร่งรีบสู่การระลึก” นั้นหมายถึงว่า เมื่อเข้าสู่เวลานมาซและเสียงอะซานได้ดังขึ้น เราจะต้องเร่งรีบหยุดภารกิจการงานทั้งหมดเพื่อเข้าสู่การนมาซ

อัล-กุรอานกล่าวว่า “ผู้ศรัทธาที่แท้จริง ได้แก่ ผู้ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่การระลึกถึงพระผู้เป็นเจ้า ได้มาถึงเขาจะมีการหวั่นไหวด้วยความยำเกรง” ผู้ที่ได้ยินเสียงอะซานแต่ยังทำเฉยเมย เปรียบดั่งเด็กที่ได้ยินเสียงเรียกของพ่อแต่กลับแสดงอาการหูทวนลม

๗๓. นมาซกับความเป็นระเบียบ
การกำหนดเวลานมาซ การจัดแถวนมาซญะมาอะฮฺ การรุกูอฺและสุญูด โดยพร้อมเพรียงกัน การนั่ง การยืน การสงบนิ่ง การอ่านดุอาอฺพร้อม ๆ กัน การไม่ปฏิบัตินมาซก่อนหรือหลังเวลา สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการมีระบบของนมาซ

๗๔. นมาซกับการกำหนดทิศทาง
การปฏิบัตินมาซต้องหันหน้าไปสู่กับกิบละฮฺเพียงทิศเดียว พระเจ้าคือผู้เดียวที่มีสิทธิกำหนดกิบละฮฺให้กับมนุษย์ มิใช่ตัวเราหรือผู้มีอำนาจบาตรใหญ่ทั้งหลาย กิบละฮฺ คือสื่อในการรู้จักความเป็นมุสลิม ด้วยเหตุนี้ มุสลิมจึงถูกขนานนามว่าเป็น “อะฮฺลุกิบละฮฺ”(ชาวกิบละฮฺ) ผู้ที่เป็นมุสลิมนั้นไม่ว่าจะมีรสนิยมแบบไหน มีแนวความคิดอย่างไร ชนชาติใด ผิวสีอะไรก็ตาม ล้วนต้องหันหน้าไปทิศเดียวกันขณะปฏิบัตินมาซ แม้ว่าในบางครั้งตำแหน่งหน้าที่การงานจะชักจูงจิตใจเราให้ห่างไกลออกไป แต่เมื่อถึงเวลานมาซเราต้องผละจากสิ่งเหล่านั้นทั้งหมด แน่นอนว่า ผู้ที่ร่างกายยืนตรงกับทิศแห่งบ้านของพระองค์ ย่อมจะมีความพร้อมที่จะกำหนดให้ดวงใจมุ่งตรงสู่ทิศแห่งผู้เป็นเจ้าของบ้านอันศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวได้

กิบละฮฺของมุสลิมคือ อัล-กะอฺบะฮฺ ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่แรกที่ถูกกำหนด ให้เป็นสถานที่ประกอบอิบาดะฮฺ เป็นสถานที่เดียวที่เหล่าบรรดาศาสดาทั้งหลายได้มาเดินเวียนรอบ ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ได้จารึกรอยพระบาทไว้ ณ ที่นี้และเป็นสถานที่เดียวที่ยังความปลอดภัยที่สุดบนโลกนี้ ณ ที่นั้นทุกคนมีสิทธิเสรีภาพทัดเทียมกัน กะอฺบะฮฺเป็นสถานศักดิ์สิทธิ์และปราศจากกรรมสิทธ์ทั้งปวง

๗๕. นมาซกับความสะอาด
ผู้ปฏิบัตินมาซต้องมีร่างกายและสวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ถ้าหากมีนะญิส (สิ่งโสโครกทางศาสนา) เปรอะเปื้อนเสื้อผ้าหรือร่างกาย แม้ว่าจะเพียงเล็ก น้อยก็ตามถือว่านมาซบาฏิล (เสีย) นอกเสียจากในกรณีที่ได้รับการละเว้นเป็นพิเศษ อิสลามได้ให้ความสำคัญต่อความสะอาดอย่างมาก ท่านศาสดา (ศ็อลๆ) กล่าวว่า “ความ สะอาดเป็นส่วนหนึ่งของความศรัทธา”

ส่วนมรรคผลของความสะอาดเป็นที่ทราบกันดี ซึ่งบางฮะดีษท่านศาสดากล่าวว่า “หากแปรงฟันก่อนปฏิบัตินมาซ ดังนั้น นมาซทุก ๆ ระกะอัตจะมีค่าเท่ากับ ๗๐ ระกะอัต” ดังนั้น จงอย่าละเลยเรื่องแปรงฟันก่อนนมาซ

การปฏิบัตินมาซในขณะที่มีญุนูบ (สภาพภายหลังจากการร่วหลับนอนกับภรรยา และยังมิได้อาบน้ำตามบัญญัติของศาสนา) ถือว่านมาซบาฏิล เขาต้องอาบน้ำฆุสุล และเมื่อต้องอาบน้ำฆุสุล ก็ทำให้มุสลิมสร้างห้องน้ำมากขึ้น และเมื่อมีห้องน้ำมากขึ้น วิถีชีวิตของมุสลิมก็ถูกสุขอนามัยยิ่งขึ้น
มุสลิมต้องปฏิบัตินมาซวันละ ๕ เวลา และทำวุฎู่วันละ ๕ ครั้ง นั้นหมายถึงว่าเขาได้ดูแลความสะอาดให้กับตัวเองตลอดเวลา

๗๖. นมาซกับการบริจาค
นมาซเป็นสาเหตุให้มีการสร้างมัสญิด การเสียสละอุทิศเงินตราและที่ดิน การร่วมมือกันของประชาชนเพื่อก่อสร้างอาคารมัสญิด การบริจาคทั้งแรงกายและแรงใจ เพื่อพัฒนาสังคม นับตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา จะพบว่ามีผู้ศรัทธาจำนวนมากมายได้บริจาคทรัพย์สินให้กับมัสญิด สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นการบริจาคที่ถาวร เป็นการเสียสละเพื่อพระผู้เป็นเจ้า และเป็นการรับใช้สังคมอย่างแท้จริง อันเป็นผลพวงที่สืบเนื่องมาจากนมาซและมัสญิด

นอกจากนี้อิสลามยังถือว่า การบริจาคทรัพย์สินนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้บริจาค เพราะมันคือแสงประทีปที่ผู้บริจาคได้จัดเตรียมไว้ เพื่อวันพรุ่งนี้ที่มืดมิดของเขา การบริจาค คือสัญลักษณ์ของผู้มีกรรมสิทธิ์ ในของสิ่งนั้น และยังเป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่มีความรักต่อศาสนาและประชาชน

๗๗. นมาซกับการเลือกมิตร
สิ่งที่จำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคม คือความเป็นเพื่อน ซึ่งเพื่อนนั้นมีทั้งเพื่อนที่ดีและไม่ดี มีทั้งที่เป็นปราชญ์และดื้อรั้น ความเป็นเพื่อนนั้นมีอิทธิพลต่อชีวิตอย่างมากทั้งในแง่บวกและในแง่ลบ ฉะนั้น เป็นหน้าที่ของผู้ปกครองและตัวเราเองที่ต้องเลือกคบหาแต่เพื่อนที่ดี สถานที่ ๆ ดีที่ สุดในการเลือกเพื่อน คือมัสญิด เพราะคนส่วนมากไปมัสญิดเพื่อทำอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) ซึ่งการดำรงอิบาดะฮฺนั้นเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของคนดี

ถ้าเพื่อนคนนั้นเป็นผู้ละทิ้งนมาซแล้ว ทำไมเราต้องเป็นเพื่อนกับเขาด้วย อัลลอฮฺ (ซบ.) ยังถูกเขาทอดทิ้ง แล้วจะนับประสาอะไรกับเราผู้เป็นมนุษย์ปุถุชนธรรม เขาลืมความเมตตาและความการุณย์ ที่พระองค์มอบให้แก่เขา ฉะนั้น น้ำใจของเราที่มีต่อเขาจะมีความหมายอะไร เขาไม่เคยซื่อสัตย์ในสัญญาที่ให้กับพระองค์ (ซบ.) และจะมาซื่อสัตย์ในสัญญาที่มีต่อเพื่อนผู้ศรัทธากระนั้นหรือ เขาเป็นผู้ทำลายเจตนารมย์ของอัลลอฮฺ ส่วนน้ำใจของเราก็คงมีค่าแค่น้ำลายที่เขาถ่อมทิ้ง

ฮะดีษกล่าวว่า
“หนึ่งในบะระกัตของมัสญิดและนมาซ คือการพบเพื่อนที่ดี”

๗๘. นมาซกับการเลือกคู่ครอง
อิสลามได้แนะนำว่า หากเราได้พบกันคนที่เขามิใช่ผู้เคร่งครัดต่อนมาซ และอิบาดะฮฺ มิใช่ผู้รักษาความเป็นเอกภาพในหมู่มุสลิม และไม่ให้ความ สำคัญต่อสิ่งเหล่านี้ จงอย่าเลือกมาเป็นคู่ครองเด็ดขาด ดังนั้น ถ้าเราสามารถปฏิบัติได้เช่นนี้ เท่ากับเราเป็นผู้หนึ่งที่สนับสนุนการอิบาดะฮฺ และรักษาเสถียรภาพของมัสญิดให้มีผู้ดำรงอิบาดะฮฺตลอดเวลา

๗๙. นมาซกับการช่วยเหลือ
บะระกัตหนึ่งของนมาซ คือการช่วยเหลือ ดั่งที่ประวัติศาสตร์ได้จารึกไว้ว่า ในอดีตนั้นหากมีผู้เดือดร้อนเกิดขึ้น เขาจะไปมัสญิดเพื่อไปขอความช่วยเหลือหรือปรึกษาหารือกับคนอื่น เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ในสมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเสมอ ซึ่งครั้งหนึ่งได้มีคนจนเดินเข้ามาในมัสญิดและได้ขอความช่วยเหลือ แต่ไม่มีใครให้ความช่วยเหลือ เขาจึงได้ ตัดท้อถึงความเดือดร้อนของเขาต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) ขณะนั้นท่าน อิมามอะลี(อ.) กำลังนมาซอยู่ท่านได้แสดงสัญลักษณ์ เขาจึงเดินมาหาท่านและท่านได้มอบแหวนให้กับเขาไปขณะที่กำลังทำรุกูอฺ ทันใดนั้น โองการได้ถูกประทานลงมาว่า “แท้จริงแล้วผู้ปกครองท่านคือ อัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ และมุอฺมินผู้บริจาคทานขณะทำรุกูอฺ” (إِنَّمَا وَلِيُّكُمْ اللَّهُ وَرَسُولُهُ وَالَّذِينَ آمَنُوا الَّذِينَ يُقِيمُونَ الصَّلَاةَ وَيُؤْتُونَ الزَّكَاةَ وَهُمْ رَاكِعُونَ (ซูเราะฮฺอัล-มาอิดะฮฺ : ๕๕ )

เมื่อประชาชนได้ยินโองการ ต่างพากันมามัสญิด เพื่อดูว่าใครคือบุคคลที่อายะฮฺอัล-กุรอานได้ประทานมายังเขา เมื่อพวกเขามาถึงจึงพบว่าบุคคลนั้นคือ ท่านอิมามอะลี (อ.) ดังนั้น การที่เราพบว่ามีผู้บริจาคทรัพย์สิน เพื่อช่วยเหลือผู้เดือดร้อนหรือสร้างสาธารณูปโภคให้กับสังคม ให้การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ ล้วนเป็นบะระกัตที่เกิดจากนมาซทั้งสิ้น

ประวัติศาสตร์ได้บันทึกว่า ประชาชนได้ออกจากมัสญิดเพื่อเข้าสู่สนามรบ การบริหารและการตัดสินความต่าง ๆ ได้ถูกจัดให้มีขึ้นในมัสญิด แม้แต่การปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านก็เริ่มต้นที่มัสญิดด้วยเช่นกัน

๘๐. นมาซกับเศรษฐกิจที่ลงตัว
อิสลามได้สอนว่า “อุปกรณ์และเครื่องมือในการปฏิบัตินมาซ ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า สถานที่ ตลอดจนน้ำที่ใช้ทำฆุสลฺหรือวุฎู่ ต้องจัดหามาอย่างถูกต้องตามกฎบัญญัติของศาสนา” หมายถึงสิ่งเหล่านี้ต้องฮะล้าล (อนุมัติ) เพราะถ้าหากมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ได้มาอย่างไม่ถูกต้อง แม้ว่าจะเป็นกระดุม หรือด้ายเพียงหนึ่งเส้น อยู่บนตัวเราถือว่านมาซบาฏิล (เสีย) และยิ่งไปกว่านี้อิสลามสอนว่า “ถ้าหากท่านปรารถนาให้นมาซและดุอาอฺของท่านถูกตอบรับ พึงระวังเรื่องอาหารการกิน” เพราะอาหารที่ไม่ฮะล้าลเพียงคำเดียวจะเป็นเหตุทำให้อิบาดะฮฺของท่านไม่ ถูกตอบรับ

๘๑. นมาซกับความพร้อมเพรียง
หน้าผากคือจุดศูนย์กลางของร่างกาย ซึ่งมีความพร้อมเพรียงกับปลายนิ้วเท้าทั้งสอง ขณะทำสัจญะดะฮฺ
ไม่ว่าจะเป็นบุคคลประเภทใดก็ตาม เมื่อมานั่งอยู่ข้าง ๆ กันในแถวนมาซจะมีจิตใจ และคำพูดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นการฝึกการกระทำบนพื้นฐานของการมีอีมานที่เหมือนกัน เช่นเดียวกันนมาซ ญะมาอะฮฺ ก็ถือว่าเป็นการฝึกฝนการกระทำในฐานะที่เป็นผู้อยู่ร่วมสังคมเดียวกัน ดังนั้น ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะในการทำงาน เราสามารถฝึกได้จากนมาซ นมาซจึงเป็นแบบอย่างของการประสานงานของประชาชนทุกสาขาอาชีพ โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายแม้แต่นิดเดียว

๘๒.นมาซกับการบริหารองค์กร
ขณะปฏิบัตินมาซญะมาอะฮฺอยู่นั้น ถ้ามีเหตุเกิดกับอิมามกระทั่งไม่อาจนำนมาซต่อไปได้ เป็นหน้าที่ของคนที่อยู่ใกล้กับอิมามที่สุด ต้องขึ้นมาทำหน้าที่แทน การกระทำเช่นนี้เท่ากับเป็นการประกาศว่า แผนงานของอิสลามมิได้ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล ซึ่งหมายถึงว่าเมื่อคน ๆ นั้นจากไป แผนงานที่จัดเตรียมไว้ต้องดำเนินต่อไป เพราะแผนงานขึ้นอยู่กับการจัดตั้งและระบบ แม้ว่าผู้นำจะจากไปแต่ระบบยังอยู่และต้องดำเนินต่อไป ปัจเจกบุคคลมิใช่ความสำคัญระบบและความต่อเนื่องของงานต่างหากที่มีความสำคัญ

๘๓.นมาซกับการเอาใจใส่ผู้อื่น
อิมามญะมาอะฮฺหรือผู้ปฏิบัติตามคนอื่น หากมีความสงสัยเกี่ยวกับจำนวนระกะอัตสามารถขจัดความสงสัยให้แก่กันและกันได้ เช่น อิมามญะมาอะฮฺสงสัยว่าเป็นระกะอัตที่สามหรือระกะอัตที่สี่ ภายหลังจากสัจญะดะฮฺแล้ว ประชาชนลุกขึ้นเพื่อทำระกะอัตต่อไป อิมามก็ต้องลุกขึ้นด้วยเช่นกัน และให้ถือว่าเป็นระกะอัตที่สี่

แน่นอนหนึ่งในบะระกัตของนมาซญะมาอะฮฺ คือการขจัดความสงสัยและเคลือบแคลงต่าง ๆ พร้อมทั้งสร้างความมั่นใจให้กับบุคคลอื่น สิ่งเหล่า นั้นเป็นบทเรียนที่สอนให้รู้ว่า ระหว่างผู้นำและผู้ปฏิบัติตามจำเป็นต้องเอาใจใส่ดูแลซึ่งกันและกัน

๘๔.นมาซกับการเกื้อกูลกันในสังคม
การช่วยเหลือเกื้อกูลและการมีเมตตาจิตต่อกัน ส่วนใหญ่จะพบในสังคมของผู้เคร่งครัดในนมาซ และผู้ที่มีความผูกพันอยู่กับมัสญิด ซึ่งน้อยมากที่จะพบในสังคมแบบอื่น
วิถีชีวิตของคนที่มีความสัมพันธ์กับมัสญิด ถ้าใครสักคนขาดหายไปจะมีคนถามถึงด้วยความเป็นห่วงเป็นใย ถ้าเขาป่วยก็จะไปเยี่ยม ถ้ามีปัญหาก็จะช่วยกันแก้ไข ผู้คนที่มีความผูกพันอยู่กับมัสญิด จะไม่คิดว่าตนเองเป็นคนแปลกหน้า แม้ว่า ณ ที่นั้นจะไม่มีบุตรหรือญาติพี่น้องของตนอยู่ก็ตาม เขาก็จะมีความรู้สึกว่า ผู้คนที่อยู่รอบข้างเปรียบเสมือนบุตรและญาติที่น้องของเขา ฉะนั้น เราจะเห็นบ่อยครั้งว่าถ้ามีใครสักคนที่เป็นชาวมัสญิดได้เสียชีวิตลง แม้ว่าเขาอาจจะไม่ได้มียศฐาบรรดาศักดิ์หรือทรัพย์สินใดๆ แต่กลับมีผู้คนมาร่วมงานศพของเขาจำนวนมากมาย และในบางครั้งร้างรวงต่าง ๆ ก็จะปิดกิจการเพื่อให้เกียนติมาร่วมงาน

สิ่งเหล่านี้ เป็นการแสดงให้เห็น ถึงจิตใจที่มีความผูกพันและเมตตาที่มีต่อกัน ซึ่งยากยิ่งนักที่จะหาความรู้สึกใดมาเปรียบเทียบได้

๘๕. นมาซกับเกียรติยศ
บางครั้งจะพบว่า มีบางคนไม่กล้าที่จะทำความผิด เพราะมีคนรู้จักหรือเกรงใจญาติพี่น้อง แต่ถ้าเขาไปอยู่ที่อื่นที่ไม่มีคนรู้จักเขาสามารถทำความผิดได้อย่างเปิดเผย โดยไม่มีความหนักใจใด ๆ ผิดกับคนที่เขาเข้าร่วมนมาซญะมาอะฮฺประจำมีความผูกพันอยู่กับมัสญิดและ ประชาชน สิ่งเหล่านี้ได้สร้างภาพของความยำเกรงให้กับเขา ฉะนั้น แม้ว่าเขามีความสมารถทำความผิดได้เขาก็จะไม่ทำ เพราะเขาทราบดีว่าหากกระทำมันลงไปคุณงามความดีที่สั่งสมมา ตลอดจนชื่อเสียงทางศาสนาจะสูญสิ้นไป เท่ากับเป็นการถอดอาภรณ์ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ออกจากร่างกาย ผิดกับคนที่ไม่มีความ คุ้นเคยกับมัสญิด การทำความผิดแต่ละครั้งดูเป็นเรื่องธรรมดา มิได้สร้างความกังวลใจใด ๆ เพราะชื่อเสียงของเขาไม่ได้สั่งสมขึ้นมาบนพื้นฐานของศาสนา การเสียใจและความรู้สึกแห่งการสูญเสียจึงไม่มี




โปรดติดตามต่อ

ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัช ชีอะฮ์
114 บทเรียนจากนมาซ

๘๖. นมาซ คือการปรับปรุงตนเองและสังคม
อัล-กุรอานกล่าวถึงการไม่ทำลายผลรางวัลของบรรดาผู้ศรัทธาไว้เคียงข้างกับการดำรงนมาซว่า “แน่นอนเราจะไม่ทำลายรางวัลของบรรดาผู้ปรับปรุงตนเอง” (إِنَّا لَا نُضِيعُ أَجْرَ الْمُصْلِحِينَ (ซูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ :๑๗๐)

ขณะที่การดำรงนมาซ คือหน้าที่ประการแรกของบรรดาผู้ปรับปรุงตนเอง ฉะนั้น ถ้าเขาปฏิบัตินมาซอย่างถูกต้องตามกฎเกณฑ์ที่บัญญัติเอาไว้ พร้อมทั้งมีสมาธิมั่นคงจะทำให้ทั้งตัวเขา และสังคมพัฒนาไปสู่ความสูงส่งโดยควบคู่กัน ซึ่งในความเป็นจริงผู้ปฏิบัตินมาซ คือผู้ปรับปรุแก้ไข เพราะการอิบาดะฮฺไม่อาจบังคับให้ไปทำได้ ต้องสมัครใจและมีสมาธิที่มั่นคงจึงจะถือว่า การอิบาดะฮฺนั้นเป็นการปรับปรุงสังคมอย่างแท้จริง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นหน้าที่ของผู้ปฏิบัตินมาซทุกคน ที่ต้องช่วยกันปลดเปลื้องสังคมให้หลุดพ้นจากอบายมุขและความไม่ดีไม่งามทั้ง หลาย

๘๗. นมาซกับการเมือง
ริวายะฮฺจำนวนมากมายกล่าวว่า “มาตรว่าผู้ใดนมาซข้าง ๆ กะอฺบะฮฺ ณ นครมักกะฮฺอันศักดิ์สิทธิ์ตลอดอายุไขของเขา แต่ถ้าปฎิเสธผู้นำที่พระองค์ทรงแต่งตั้ง ถือว่านมาซเหล่านั้นทั้งหมดบาฏิล (เสีย)”
ซึ่งปัญหาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของสังคมมุสลิมในปัจจุบัน คือการมีผู้นำที่อ่อนแอ พวกเขาทำนมาซแต่ผู้นำของเขาเป็นคนขลาดกลัว ต้องอาศัยอำนาจใบบุญของคนอื่นที่นอกเหนือจากอัลลอฮฺ (ซบ.) เขาชอบแสดงและปากก็พร่ำเรียกเสมอว่า “เรามีความปรารถนาในหนทางที่เที่ยงธรรม” แต่การกระทำของ เขามันสวนทางกันกับความเป็นจริง

๘๘. นมาซกับการปรึกษาหารือ
อัล-กุรอานกล่าวถึงคุณสมบัติของมุอฺมิน (ผู้ศรัทธา) ดังนี้ว่า “พวก เขาทำการปรึกษาหารือและดำรงนมาซ”
จากโองการทำให้รู้ได้ว่า ทุก ๆ การปรึกษาหารือเพื่อแก้ไขปัญหานั้นต้องเคียงข้างกับนมาซเสมอ ถ้าการปรึกษาหารือมีความสำคัญนมาซย่อมสำคัญกว่าเสมอ ถ้ายอมเสียงบประมาณเพื่อจัดการประชุม เพียงแค่ต้องการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และปรึกษาหารือในเชิงปฏิบัติการเราก็ควรจัดตั้งองค์กร เพื่อบริหารมัสญิดให้มีความก้าวหน้าด้วยเช่นกัน เพราะตราบที่มัสญิดยังเต็มไปด้วยผู้ดำรงอิบาดะฮฺ ย่อมเป็นสัญญาณเตือนว่า สังคมของท่านยังปลอดภัยอยู่

๘๙.นมาซญะมาอะฮฺท่ามกลางศัตรูที่ถืออาวุธ
อัล-กุรอานซูเราะฮนิสาอฺ โองการที่ ๑๐๒ กล่าวว่า “(โอ้นบีเอ๋ย) เมื่อเจ้าอยู่ในกลุ่มของพวกเขา (ในสมรภูมิรบ) ดังนั้นเจ้าจงนมาซร่วมกับพวกเขา และให้พวกเขาถืออาวุธไว้ด้วย”
จากโองการอัล-กุรอานเข้าใจได้ดังนี้ ประการที่หนึ่ง พวกเขาต้องไม่ทำนมาซตามนบีคราวเดียวกันทั้งหมด ประการที่สอง ขณะปฏิบัตินมาซตามต้องถืออาวุธด้วย และเพื่อให้ทุกคนได้รับบะระกัตจากญะมาอะฮฺให้ปฏิบัติดังนี้ คือกลุ่มที่ถืออาวุธทั้งหมดปฏิบัติตามเฉพาะระกะอัตที่หนึ่ง ส่วนระกะอัตที่สองให้รีบทำเอง เมื่อเสร็จแล้วให้ถอยออกไป เพื่อให้อีกกลุ่มได้มีโอกาสเข้าร่วมญะมาอะฮฺบ้าง การทำเช่นนี้ได้ทั้งบะระกัตของนมาซญะมาอะฮฺ เตรียมพร้อมในการเผชิญหน้ากับศัตรู เป็นการให้ความเสมอภาคกันในหมู่มุสลิม มีการปฏิบัติอย่างรวดเร็วระหว่างกลุ่มที่หนึ่งกับกลุ่มที่สองในการสลับแถวญะ มาอะฮฺ และที่สำคัญทหารมุสลิมต้องมีวุฎู่อยู่ตลอดเวลา และต้องรู้อะหฺกามนมาซสงคราม

ข้อสังเกตอัล-กุรอานโองการเดียวกัน ที่ทั้งความสวยงามที่แฝงเร้นไว้ด้วยความสุขอิ่มเอิบ มีตารางอิบาดะฮฺที่แน่นอน มีการฝึกภาคสนาม การให้ความสำคัญต่อนมาซญะมาอะฮฺความรวดเร็วในการปฏิบัติ ความยุติธรรม การให้ความเสมอภาคในหมู่ทหาร การมีสมาธิต่ออัลลอฮฺและการไม่เผลอไผล จากศัตรู

๙๐.นมาซกับการแต่งกาย
อัล-กุรอานกล่าวว่า “ทรัพย์สินบุตรและธิดา คือสิ่งประดับชีวิตทางโลก” (الْمَالُ وَالْبَنُونَ زِينَةُ الْحَيَاةِ الدُّنْيَا (ซูเราะฮฺอัล-กะฮฺฟิ : ๔๖)
อัล-กุรอานกล่าวอีกว่า“เมื่อพวกเจ้าไปมัสญิดจงนำสิ่งประดับไปด้วย” (خُذُوا زِينَتَكُمْ عِنْدَ كُلِّ مَسْجِدٍ (ซูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ : ๓๐)

หมายความว่า ควรพาบรรดาบุตรหลานพร้อมทั้งสตางค์ร่วมไปมัสญิดด้วย เพื่อให้พวกเขาคุ้นเคยกับมัสญิด และถ้าหากท่านพบคนยากจนจะได้ช่วยเหลือเขาได้
ขณะเดียวกัน คำว่าสิ่งประดับเพื่อมัสญิดอาจจะตีความว่าเป็น การสวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด การประพรมน้ำหอม การมีสัมมาสมาธิ การเลือกอิมามที่มีคุณวุฒิและวัยวุฒิก็ได้

๙๑. นมาซ คือเงื่อนไขของการเป็นพี่น้องในอิสลาม
อัล-กุรอานซูเราะฮฺอัตเตาบะฮฺ ภายหลังจากได้แนะนำบรรดาผู้ปฏิเสธบรรดาผู้ตั้งภาคี และแผนการที่ชั่วร้ายของพวกเขา ได้กล่าวถึงเรื่องราวของพวกเขาไว้ว่า

“ดังนั้น ถ้าพวกเขาทำการสารภาพผิด และดำรงนมาซพร้อมทั้งบริจาคซะกาต ถือว่าพวกเขาเป็นพี่น้องร่วมศาสนาเดียวกันกับท่าน” (فَإِنْ تَابُوا وَأَقَامُوا الصَّلاةَ وَآتَوْا الزَّكَاةَ فَإِخْوَانُكُمْ فِي الدِّينِ (ซูเราะฮฺอัตเตาบะฮฺ : ๑๑)

จากโองการจะพบว่า หนึ่งในเงื่อนไขของการเป็นพี่น้องกันในอิสลาม คือการดำรงนมาซ

๙๒. บรรดาผู้ปฏิเสธเกลียดชังนมาซ
อัล-กุรอานกล่าวว่า “และเมื่อพวกเจ้าเรียกร้องให้มาทำนมาซ พวกเขาก็จะเอาคำเรียกร้องนั้นมาเย้ยหยันและเป็นสิ่งล้อเล่น” (وَإِذَا نَادَيْتُمْ إِلَى الصَّلَاةِ اتَّخَذُوهَا هُزُوًا وَلَعِبًا (ซูเราะฮฺอัล-มาอิดะฮฺ : ๕๘)

ในยุคแรกของอิสลามจะมียะฮูดีและนัศรอนีบางกลุ่ม เมื่อใดที่พวกเขาได้ยินเสียงอะซานหรือเห็นบรรดามุสลิมปฏิบัตินมาซ พวกเขาจะทำการเย้ยหยันดูถูก และแสดงความรังเกียจอย่างออกหน้าออกตาจนกระทั้งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีบัญชาลงมา ห้ามบรรดามุสลิมไม่ให้คบค้าสมาคมกับพวกเขา

๙๓. ไม่ควรเป็นมิตรกับผู้ที่เย้ยหยันนมาซ
ได้มีผู้ปฏิเสธสองคนนามว่า “ริฟาอะฮฺ” และ “สุวัยด์” เข้ารับอิสลาม ต่อมาภายหลังได้กลายเป็นพวกกลับกลอก (มุนาฟิกีน) ซึ่งในตอนนั้นยังมีมุสลิมบางคนไปมาหาสู่กับเขาทั้งสอง อัลลอฮฺ (ซบ.) จึงประทานกุรอานลงมาเตือนว่า
“โอ้บรรดาศรัทธาชนเอ๋ย จงอย่าเอาบรรดาพวกที่นำเอาศาสนาของพวกเจ้า มาเป็นสิ่งเย้ยหยันมาเป็นสิ่งล้อเล่น จากกลุ่มที่ถูกประทานคัมภีร์มาก่อนหน้าเจ้า และกลุ่มผู้ปฏิเสธมาเป็นมิตร เพราะเมื่อพวกเขาได้ยินเสียงเรียกร้องมาทำนมาซ พวกเขาจะเอาคำเรียกร้องนั้นมาเย้ยหยันและเป็นสิ่งล้อเล่น” (يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا لَا تَتَّخِذُوا الَّذِينَ اتَّخَذُوا دِينَكُمْ هُزُوًا وَلَعِبًا مِنْ الَّذِينَ أُوتُوا الْكِتَابَ مِنْ قَبْلِكُمْ وَالْكُفَّارَ أَوْلِيَاءَ وَاتَّقُوا اللَّهَ إِنْ كُنتُمْ مُؤْمِنِينَ* وَإِذَا نَادَيْتُمْ إِلَى الصَّلَاةِ اتَّخَذُوهَا هُزُوًا وَلَعِبًا(ซูเราะฮฺอัล-มาอิดะฮฺ : ๕๗-๕๘)

จากโองการจะสังเกตเห็นว่า การกระทำของพวกปฏิเสธสิ่งแรกที่พวกเขาทำคือการนำเอาศาสนาไปเป็นสิ่งล้อเล่น หลังจากนั้นกุรอานได้กล่าวเพิ่มเติมว่าพวกเขานำเอาเสียงอะซานไปเย้ยหยัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เรารู้ว่าอะซานและนมาซคือแก่นแท้และภาพลักษณ์ของศาสนา

๙๔. ผู้ที่ละทิ้งนมาซไม่สมควรได้รับเกียรติและความเคารพ
อัล-กุรอานกล่าวว่า “โอ้พระผู้อภิบาลของเรา เพื่อพวกเขาจะได้ดำรงนมาซ ขอพระองค์โปรดบันดาลให้จิตใจของประชาชนมีความรักเอ็นดูต่อพวกเขาด้วยเถิด” (رَبَّنَا إِنِّي أَسْكَنتُ مِنْ ذُرِّيَّتِي بِوَادٍ غَيْرِ ذِي زَرْعٍ عِنْدَ بَيْتِكَ الْمُحَرَّمِ رَبَّنَا لِيُقِيمُوا الصَّلَاةَ فَاجْعَلْ أَفْئِدَةً مِنْ النَّاسِ تَهْوِي إِلَيْهِمْ (ซูเราะฮฺอิบรอฮีม : ๓๗)

ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ทนลำบากพาครอบครัวไปอยู่ในถิ่นที่กันดารที่สุด ปราศจากต้นไม้และน้ำมีแต่ทะเลทรายกับความแห้งแล้ง เพียงเพื่อต้องการให้ครอบครัวของท่านดำรงนมาซ และขอให้ได้รับความรักและผูกพันจากประชาชน

ดังนั้นจะเห็นว่า บรรดาผู้ที่มีใจรักต่อนมาซ แม้ว่าจะยากลำบากสักแค่ไหนและไม่คำนึงว่า จะอยู่ ณ ที่ใด พวกเขาก็จะดำรงนมาซเสมอ และพร้อมเผชิญกับอุปสรรคปัญหาเหล่านั้นอย่างกล้าหาญ อัลลอฮฺ (ซบ.) จึงบันดาลให้ประชาชนมีความเอ็นดูพวกเขา แต่ถ้าเป็นผู้ละทิ้งนมาซ ต่อให้เป็นบุตรหลานของศาสดา เขาจะไม่ได้รับความเมตตา จากอัลลอฮฺ (ซบ.)และประชาชนเลยแม้แต่นิดเดียว

๙๕. ไม่มีอมั้ล (การงาน) ใด ๆ ในประวัติศาสตร์ที่จะได้รับเกียรติเหมือนนมาซ
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) บรรดาอะอิมมะฮฺผู้บริสุทธิ์ (อ.) บรรดาเศาะฮะบะฮฺ บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายทั้งชายและหญิง ตลอดหน้าประวัติศาสตร์อิสลามต่างได้ยืนยันเหมือนกับทั้งหมดว่า “นมาซคืออมั้ลที่ดีที่สุด” (หัยยะอะลาคอยริ้ลอะมั้ล) จนกระทั้งปัจจุบันทุกเช้าค่ำ เราก็ยังได้ยินผู้อะซานประกาศอยู่เสมอถึงความยิ่งใหญ่ และความประเสริฐที่สุดของนมาซ

๙๖. นมาซและการวางผังเมือง
การวางผังเมืองและการสร้างบ้านตามรูปแบบของอิสลาม สิ่งหนึ่งจะลืมไม่ได้ คือกิบละฮฺ
อัลกุรอานกล่าวว่า “เจ้าจงทำบ้านเรือนของเจ้าเป็นกิบละฮฺและจงดำรงนมาซ” (وَاجْعَلُوا بُيُوتَكُمْ قِبْلَةً وَأَقِيمُوا الصَّلَاةَ (ซูเราะฮฺยูนุส : ๘๗)

ซึ่งอัล-กุรอานได้กล่าวถึงท่านศาสดามูซา (อ.) และฮารูนว่า ท่านทั้งสองจงแก้ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยให้กับชาวบนีอิสรออีล และจงสร้างบ้านเรือนให้กับประชาชาติของท่าน เพื่อพวกเขาจะได้ไม่ต้องเร่ร่อนให้ลำบาก เพราะการมีบ้านเรือนและมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งนั้นทำให้มีความรู้สึกว่าตนเองมีประเทศมีมาตุภูมิ และคิดที่จะปกป้องมาตุภูมิของตน ขณะเดียวกัน ผังเมืองของท่านควรวางในลักษณะที่ทำให้บ้านเรือนตรงกับกิบละฮฺ เพื่อจะได้ไม่ลำบากในการหาทิศนมาซ

คำว่า “กิบละฮฺ” ในที่นี้อาจตีความเป็นอย่างอื่นก็ได้ แต่เมื่อพิจารณาจากคำว่า“จงดำรงนมาซ” ตามที่โองการระบุไว้ ให้ความหมายว่าเป็นทิศของการนมาซดีที่สุด

๙๗.พระผู้เป็นเจ้าทรงไม่ทอดทิ้งผู้นมาซ
เศรษฐีชาวกุเรชได้ยื่นข้อเสนอกับท่านศาสนา (ศ็อลฯ) ว่า “หากท่านขับพวกมุสลิมจน ๆ ที่เดินเท้าเปล่าเหล่านี้ออกไปไกลๆ พวกเราจะให้การสนับสนุนท่าน” อัลลอฮฺ (ซบ.) จึงไปประทานโองการลงมาว่า “โอ้มุฮัมมัด เจ้าจงอดทนอยู่กับพวกบรรดาผู้ซึ่งวอนขอจากพระผู้อภิบาลของพวกเขาทั้งในยามเช้าและยามเย็นเถิด” (وَاصْبِرْ نَفْسَكَ مَعَ الَّذِينَ يَدْعُونَ رَبَّهُمْ بِالْغَدَاةِ وَالْعَشِيِّ (ซูเราะฮฺอัลกะฮฺฟิ : ๒๘)

ท่านอิมามศอดิก (อ.) ได้อธิบายว่า พวกที่วอนขอทั้งในยามเช้าและยามเย็นหมายถึง ผู้ที่ปฏิบัตินมาซ ดังนั้น จงอย่าเอาใจพวกคนรวยและพวกผู้ดีทั้งหลายโดยทิ้งผู้ศรัทธาที่ยากจน

๙๘. นมาซกับอัล-กุรอาน
การให้ความสำคัญต่อนมาซ ประหนึ่งเป็นการให้ชีวิตกับอัล-กุรอาน เพราะในแต่ละวันต้องปฏิบัตินมาซถึง ๑๗ ระกะอัต ต้องอ่านซูเราะฮฺฟาติหะฮฺถึง ๑๐ ครั้ง และซูเราะฮฺนี้มี ๗ โองการ เท่ากับว่าในหนึ่งวันต้องอ่านอัล-กุรอาน ๗๐ โองการ (เฉพาะซูเราะฮฺฟาติหะฮฺ) และหลังจากอ่านซูเราะฮฺฟาติหะฮฺจบแล้ว ต้องอ่านอัล-กุรอานอีก ๑ ซูเราะฮฺ สมมติว่าเป็นซูเราะฮฺ อัตเตาฮีด ซึ่งมี ๕ โองการ เท่ากับได้อ่านอัล-กุรอานเพิ่มอีก ๕๐ โองการ ซึ่งรวมทั้งหมดในหนึ่งวันได้อ่านอัล-กุรอาน ๑๒๐ โองการ ถ้ามุสลิมทั้งหมดปฏิบัติได้เช่นนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ กับอัล-กุรอานจะเพิ่มมากขึ้นเป็นอนันต์ แต่ในบางครั้งผู้ปฏิบัตินมาซก็มิได้อ่านซูเราะฮฺอัตเตาฮีดเสมอไป มีการอ่านซูเราะฮฺอื่นที่มีโองการมากกว่า นั่นหมายถึงว่า อัล-กุรอานได้ถูกอันเชิญเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นเหตุให้มีการท่องจำอัล-กุรอานเพิ่มขึ้นด้วย และนอกเหนือไปจากนี้ในบางครั้งอัล-กุรอานกับนมาซ จะถูกกล่าวไว้เคียงข้างกันเช่น กล่าวว่า “พวกเขาได้อันเชิญพระมหาคัมภีร์อัล-กรุอานและดำรงนมาซ” (تْلُونَ كِتَابَ اللَّهِ وَأَقَامُوا الصَّلاةَ (ซูเราะฮฺอัล-ฟาฏิร : ๒๙) บางโองการกล่าวว่า“พวกเขาได้ยึดมั่นในคัมภีร์และดำรงนมาซ”(يُمَسِّكُونَ بِالْكِتَابِ وَأَقَامُوا الصَّلاةَ (ซูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ : ๑๒๐) จะสังเกตเห็นว่า อัล-กุรอานกับนมาซจะอยู่เคียงข้างกันเสมอ และเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน ดังนั้น การละทิ้งนมาซในอีกความหนึ่งก็คือ เขาได้ ละทิ้งอัล-กุรอาน และจะไม่มีผู้ใดละทิ้งอัล-กุรอาน นอกเสียจากเขาผู้นั้นเป็นผู้ปฏิเสธ (กาฟิร) หรือเป็นผู้ตั้งภาคีกับอัลลอฮฺ (ซบ.) (มุชริก) ๙๙. แถวนมาซนั้นคล้ายคลึงกับแถวของมวลมะลาอิกะฮฺ
นามชื่อซูเราะฮฺหนึ่งของอัล-กุรอานคือ “ศอฟฟาต” ซึ่งโองการแรกของ ซูเราะฮฺนี้ อัลลอฮฺ (ซ.บ) ได้สาบานด้วยมวลมะลาอิกะฮฺที่อยู่ในแถว และยังมีโองการอื่น ๆ อีกที่พระองค์ได้ตรัสถึงแถวของมวลมะลาอิกะฮฺ และการเตรียมพร้อมในการภักดีต่อพระองค์ อีกนามหนึ่งของซูเราะฮฺคือ “ศ็อฟ” ซูเราะฮฺนี้พระองค์ได้ทำการสรรเสริญเหล่าทหารที่ยืนอยู่ในแถว เพื่อทำศึกสงครามปกป้องอิสลาม (ญิฮาด) และ คำทั้งสอง “ศ็อฟ” กับ “ศอฟฟาต” เป็นนามของอัล-กุรอาน แสดงให้เห็นว่า อัล-กุรอานนั้นให้ความสำคัญต่อความเป็นระเบียบวินัย และเมื่อมนุษย์ยืนอยู่ในแถวนมาซญะมาอัต ซึ่งแถวที่มีความยิ่งใหญ่ จึงกล่าวเปรียบเทียบว่าแถวนมาซนั้นมีความละม้ายคล้ายคลึง กับแถวของมวลมะลาอิกะฮฺ ๑๐๐. นมาซได้รับการกล่าวถึงในอัล-กุรอานหลายโองการ
ซูเราะฮฺที่ใหญ่ที่สุดในอัล-กุรอานคือ ซูเราะฮฺอัล-บะกอเราะฮฺ ซึ่งซูเราะฮฺได้กล่าวถึงนมาซว่า “บรรดาผู้ยำเกรงคือ ผู้ดำรงนมาซ” ขณะเดียวกันซูเราะฮฺที่เล็กที่สุดคือ ซูเราะฮฺอัล-เกาษัร ซึ่งได้กล่าวถึงนมาซไว้เช่นกันว่า “เมื่อเราได้ประทานเกาษัรให้กับเจ้าแล้ว ดังนั้นเจ้าจงนมาซและเชือดพลี เพื่อพระผู้อภิบาลของเจ้า” เมื่อพิจารณาจะพบว่า ทั้งในซูเราะฮฺแรกที่ถูกประทาน และซูเราะฮฺสุดท้ายต่างกล่าวเน้นถึงนมาซ และเมื่อรวมทั้งหมดของอัล-กุรอาน จะพบว่านมาซได้รับการเอ่ยถึงมากเกินกว่า ๘๐ ครั้งด้วยกัน ๑๐๑. นมาซได้รับการกล่าวถึงเคียงข้างกับอิบาดะฮฺอื่น ๆ
บางครั้งนมาซได้รับการเอ่ยถึงพร้อมกับการถือศีลอดว่า
“จงขอความช่วยเหลือด้วยนมาซและความอดทน” (وَاسْتَعِينُوا بِالصَّبْرِ وَالصَّلاةِ (ซูเราะฮฺอัล-บะกอเราะฮฺ : ๔๕)

ตัฟซีรได้กล่าวอธิบายว่า จุดประสงค์ของความอดทนคือศีลอด นมาซได้รับการเอ่ยถึงพร้อมกับซะกาตว่า
“พวกเขาดำรงนมาซและจ่ายซะกาต” (وَيُقِيمُونَ الصَّلَاةَ وَيُؤْتُونَ الزَّكَاةَ (ซูเราะฮฺอัตเตาบะฮฺ: ๗๑)

นมาซได้รับการเอ่ยถึงพร้อมกับหัจญ์ว่า“เจ้าจงดำรงนมาซ ณ มะกอมอิบรอฮีม”(وَأَمْنًا وَاتَّخِذُوا مِنْ مَقَامِ إِبْرَاهِيمَ مُصَلًّى (บะกอเราะฮฺ : ๑๒๕)
นมาซได้รับการเอ่ยถึงพร้อมกับการญิฮาด ดังเช่น นมาซของท่านอิมามฮุเซน (อ.) ในตอนบ่ายของวันอาชูรอ
นมาซได้รับการเอ่ยถึงพร้อมกับการเชิญชวนไปสู่ความดี และห้ามปรามจากความชั่ว ดังคำสอนของท่านลุกมาน (อ.) ที่สอนบุตรของท่านว่า“โอ้ลูกรักเจ้าจงดำรงนมาซ และจงเชิญชวนไปสู่ความดี และจงห้ามปรามจากความชั่ว” (يَا بُنَيَّ أَقِمْ الصَّلاة وَأْمُرْ بِالْمَعْرُوفِ وَانْهَ عَنْ الْمُنكَرِ (ซูเราะฮฺลุกมาน: ๑๗)

นมาซได้รับการเอ่ยถึงพร้อมกับความยุติธรรมว่า“จงประกาศเถิดว่า พระผู้อภิบาลของฉันได้มีบัญชาให้ฉันดำรงความยุติธรรม และจงตั้งสมาธิ ณ ทุกมัสยิด (ขณะปฏิบัติอิบาดะฮฺ) ต่อพระองค์” (أَمَرَ رَبِّي بِالْقِسْطِ وَأَقِيمُوا وُجُوهَكُمْ عِنْدَ كُلِّ مَسْجِدٍ (ซูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ : ๒๙)

นมาซได้รับการเอ่ยถึงพร้อมกับการอัญเชิญพระมหาคัมภีร์อัล-กุรอานว่า
“จงอัญเชิญคัมภีร์ของอัลลอฮฺ และจงดำรงนมาซ” (الَّذِينَ يَتْلُونَ كِتَابَ اللَّهِ وَأَقَامُوا الصَّلاةَ (ซูเราะฮฺอัล-ฟาฏิร : ๒๙)

นมาซได้รับการเอ่ยถึงพร้อมกับการปรึกษาหารือว่า“พวกเขาดำรงนมาซและทำการปรึกษา หารือ กิจการงานของพวกเขาในหมู่พวกเขากันเอง” (وَأَقَامُوا الصَّلاةَ وَأَمْرُهُمْ شُورَى بَيْنَهُمْ (ซูเราะฮฺอัช-ชูรอ: ๓๘)

๑๐๒.นมาซกับความเมตตา
คำว่า การุณย์ (เราะฮฺมะฮฺ) ได้รับการเอ่ยถึงในนมาซไว้อย่างมากมาย ในรูปของคำว่า อัรเราะฮฺมาน (เมตตา) และ อัรเราะฮีม (ปรานี) เช่น
ใน บิสมิ้ลลา ฯ กล่าวว่า บิสมิ้ลลาฮิรเราะหฺมานิรเราะฮีม ทั้งในซูเราะฮฺฟาติหะฮฺ และซูเราะฮฺหลังจากฟาติหะฮฺ ซึ่งหลังจาก อัลฮัมดุลิ้ลลาฮิร็อบบิ้ลอาละ มีน กล่าวว่า อัรเราะหฺมานิรเราะฮีม ดังนั้น เมื่อคำนวนจะพบคำว่า อัรเราะหฺมาน และ อัรเราะฮีม ถูกกล่าวซ้ำหลายครั้งประมาณวันละ ๖๐ ครั้ง และการพร่ำกล่าวถึงความเมตตาวันละ ๖๐ ครั้งด้วยใจอันบริสุทธิย่อมกระตุ้นให้มนุษย์เกิดความโอบอ้อมอารีย์ ส่งผลให้การช่วยเหลือต่าง ๆ ความโปรดปราน การร่วมมือ การมุ่งหวังในสิ่งที่ดี การอภัย และการไม่เห็นแก่ตัว จะบังเกิดขึ้นในสังคมอย่างแน่นอน และเมื่อใดที่คนในสังคมมีความโอบอ้อมอารีย์กันและกัน สังคมนั้นก็จะมีความพร้อมที่จะได้รับสายฝนแห่งความเมตตาจากพระผู้เป็นเจ้า

๑๐๓. นมาซกับการประณาม
ทุก ๆ นมาซจะมีการประณามกลุ่มชนที่ได้รับความโกรธกริ้วและหลงผิด ดังที่เราอ่านเสมอว่า “ขอพระองค์โปรดนำเราเข้าสู่หนทางที่เที่ยงตรง ซึ่งเป็นหนทางของบรรดาผู้ที่พระองค์ได้ทรงประทานความโปรดปรานแก่พวก เขา มิใช่แนวทางของบรรดาผู้ที่ถูกกริ้วและบรรดาผู้ที่หลงผิด”

อัล-กุรอานกล่าวว่า กลุ่มชนที่ได้รับความกริ้วโกรธ คือบรรดาฟิรฺอาวน์ทั้งหลาย บรรดากอรูน อบูละฮับ บรรดาพวกกลับกลอก บรรดาอุละมาอฺที่ไม่ปฏิบัติตามความรู้ของตน บรรดายะฮูดีทั้งหลาย บรรดาผู้อวดอ้าง บรรดาผู้ถืออัตตาตัวตน และบรรดานักปราชญ์ผู้รู้ที่มีความลุ่มหลงต่อโลกดุนยา

ผู้คนกลุ่มนี้อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ใช้คำว่า กริ้วโกรธ และการสาปแช่งกับพวกเขา โดยพระองค์ถือว่าคนพวกนี้ได้หลงทางไปและหลงผิดออกไป แม้ว่าบนโลกพวกเขายังไม่ถูกลงโทษก็ตาม

๑๐๔. นมาซกับการตัสบีห์
ในการทำรุกูอฺและสุญูดต้องอ่าน “สุบหานั้ลลอฮฺ” ๓ ครั้ง หรืออ่านว่า “สุบหานะร็อบิยั้ลอะซีมิวะบิฮัมดิฮี” ๑ ครั้ง และอ่านว่า “สุบหานะร็อบบิยั้ลอะอฺลาวะบิฮัมดิฮี” ๑ ครั้ง ในสุญูดเพื่อเป็นการสรรเสริญอัลลอฮฺ (ซบ.)
เหตุผลที่ทำไมมนุษย์ต้องทำการสรรเสริญอัลลอฮฺ (ซบ.) อย่างน้อยที่สุด เพื่อมิให้มนุษย์น้อยหน้าหรืออับอายก่อสรรพสิ่งอื่น เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็นดิน ก้อนกรวด ก้อนทราย ต้นไม้ และหมู่ดวงดาวบนฟากฟ้า ต่างทำการสรรเสริญต่ออัลลอฮฺทั้งสิ้น แล้วไฉนมนุษย์ผู้มีสติปัญญาจึงไม่ทำการสรรเสริญพระองค์

อัล-กุรอานกล่าวว่า นกฮุดฮุด ได้มาหาท่านศาสดาสุไลมาน และได้แสดงความเสียใจต่อท่านศาสดาว่า ยังมีผู้คนเคารพดวงอาทิตย์ และมีผู้นำเป็นสตรี
การที่นกฮุดฮุด รู้จักเตาฮีด รู้จักชิริก(การตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์)ว่าเป็นอย่างไรและรู้ว่าชิริกนั้นไม่ดี อีกทั้งสามารถจำแนกบุรุษและสตรีได้ และยิ่งไปกว่านั้นมันได้ทำการสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ สิ่งเหล่านี้ยังไม่เพียงพออีกหรือที่จะเป็นเหตุโน้มนำมนุษย์ไปสู่การ สรรเสริญต่อพระองค์ อัล-กุรอานมิได้กล่าวกับเราดอกหรือว่า บรรดามดงานได้บอกกับมดที่เหลือว่า “พวกเจ้าจงรีบกลับไปรังเสีย เพราะสุไลมานกับกองทัพของเขากำลังจะมาถึง ซึ่งพวกเขาจะเหยียบย่ำพวกท่านตายอย่างไม่รู้ตัว” มันหมายความว่าอะไร การที่มดดำตัวเล็ก ๆ รู้ จักนามของผู้คนว่าใครเป็นใคร และรู้จักการสรรเสริญโดยกล่าวว่า “สุบหานั้ลลอฮฺ”

๑๐๕. กุรอาน คือนามหนึ่งของนมาซ
อัลกกุรอานซูเราะฮฺอัล-อัสรอ โองการที่ ๗๘ ได้กล่าวถึงนมาซว่า
“เจ้าจงดำรงนมาซในยามตะวันคล้อยจนถึงตอนกลางคืน และกุรอานแห่งรุ่งอรุณ เพราะแท้จริงกุรอานแห่งรุ่งอรุณนั้นได้รับการยืนยันไว้”

จุดประสงค์ของ ลิดุลูกิชชัมส์ หมายถึง ตอนบ่ายซึ่งช่วงเวลานั้นดวงอาทิตย์จะโคจรคล้อยไปทางทิศตะวันตก ส่วนคำว่า เฆาะสะกิ้ลลัยน์ หมายถึง ช่วงประมาณเที่ยงคืน ฉะนั้น จะสังเกตเห็นว่าช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงวันจนถึงเที่ยงคืน จะมีนมาซอยู่สี่ประเภท คือนมาซซุฮร นมาซอัศร นมาซมัฆริบ และนมาซอิชาอฺ ส่วนคำว่า กุรอานั้ลฟัจริ หมายถึง นมาซศุบฮฺ ซึ่งริวายะฮฺทั้งของสุนีย์และชีอะฮฺกล่าวว่า “การปฏิบัตินมาซจะได้รับการเป็นสักขีพยานยืนยัน จากมวลมะลาอิกะฮฺ ที่ประจำตอนกลางวันและกลางคืน” ซึ่งอัล-กุรอานใช้คำว่า กุรอาน แทนที่นมาซศุบฮฺ

๑๐๖. นมาซกับความสะอาดบริสุทธิ
อัล-กุรอานกล่าวว่า “เพื่อทำความสะอาดพวกเจ้า เพื่อให้นิอฺมัตที่สมบูรณ์ของพระองค์แก่เจ้า เพื่อพวกเจ้าจะได้ขอบคุณ”(لِيُطَهِّرَكُمْ وَلِيُتِمَّ نِعْمَتَهُ عَلَيْكُمْ لَعَلَّكُمْ تَشْكُرُونَ (ซูเราะฮฺอัลมาอิดะฮฺ : ๖)

“แท้จริงอัลลอฮฺทรงโปรดปรานผู้มีความสะอาด”(وَاللَّهُ يُحِبُّ الْمُطَّهِّرِينَ(ซูเราะฮฺอัตเตาบะฮฺ : ๑๐๘)

ถ้าความสะอาดภายนอกมีมรรคผลมากมายเช่นนี้ แน่นอนความสะอาดภายในจิตใจจากการฝ่าฝืน การโอ้อวด การตั้งภาคี ความสงสัย ความตระหนี่ถี่เหนียว ความอิจฉาริษยา และความไม่ดีอื่นๆ จะต้องมีมรรคผลเพิ่มขึ้นเป็นอนันต์

ความสะอาดภายในจิตใจนั้นมีคุณค่ามหาศาล ถึงขนาดที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทำการสรรเสริญบุคคลที่รักความสะอาด ซึ่งพระองค์ตรัสว่า
“จงปฏิบัตินมาซในมัสญิด เพราะในนั้นจะมีบรรดาบุรุษผู้ซึ่งปราถนาจะได้รับการชำระให้สะอาด” (فِيهِ رِجَالٌ يُحِبُّونَ أَنْ يَتَطَهَّرُوا (ซูเราะฮฺอัตเตาบะฮฺ : ๑๐๘)

๑๐๗. นมาซ อิบาดะฮ์ที่ทัดเทียมตำแหน่งผู้นำ
อัล-กุรอานใช้คำว่า วะมินซุรรียะตี ๒ ครั้ง ซึ่งทั้งสองครั้งได้รับการเอ่ยถึงโดยท่านศาสดาอิบรอฮีม(อ.) ครั้งที่หนึ่งท่านศาสดา(อ.) กล่าวภายหลังจากถูกทดสอบครั้งยิ่งใหญ่จากอัลลอฮฺ(ซบ.) และได้รับตำแหน่งผู้นำ (อิมาม) ในเวลาต่อมา ซึ่งขณะนั้นท่านได้ทูลขอต่ออัลลอฮฺทันทีว่า และหมายรวมถึง ”บรรดาลูกหลานของข้า ฯ ด้วยหรือไม่” พระองค์ตอบว่า “ พันธะสัญญาของข้าไม่รวมถึงผู้กดขี่”

อีกครั้งหนึ่งท่านกล่าว ขณะขอดุอาอฺเพื่อปฏิบัตินมาซว่า “โอ้ข้าแต่พระผู้อภิบาลโปรดประทานให้บุตรหลานของข้าเป็นผู้ดำรงนมาซเถิด” ดังนั้น จะสังเกตุเห็นว่าการได้รับตำแหน่งผู้นำ และการดำรงนมาซท่านศาสดา(ศ็อลฯ) ใช้คำว่า มินซุรรียะตี ทั้งสองครั้งนั่นหมายความว่า ตำแหน่งนมาซเหมือนกับตำแหน่งผู้นำ ซึ่งมีความสูงส่งทัดเทียมกัน


โปรดติดตามต่อ

ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัช ชีอะฮ์
114 บทเรียนจากนมาซ

๑๐๘. นมาซกับอาภรณ์
ริวายะฮฺกล่าวว่า บรรดาอิมาม (อ.) จะมีชุดเฉพาะเพื่อปฏิบัตินมาซ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนมาซอีดทั้งสอง และนมาซญุมุอะฮฺ ส่วนนมาซขอฝนได้รับการแนะนำว่าให้อิมามสวมใส่เสื้อผ้ากลับด้าน เพื่อแสดงความต่ำต้อยและเป็นการเพิ่มความนอบน้อม

นมาซเปรียบเสมือนการโบยบินของจิตใจสู่พระผู้เป็นเจ้า จึงต้องมีการเตรียมพร้อมในทุก ๆ ด้าน และแน่นอนถ้าปราศจากการเตรียมพร้อมดังกล่าว การโบยบินสู่พระเจ้าจะไม่เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ ฉะนั้น มารยาททั้งหมดของนมาซตลอดจนเงื่อนไขต่างๆที่อิสลามระบุไว้ถือเป็นเครื่องยืนยันถึงความสำคัญของการนมาซได้เป็นอย่างดี

ท่านอิมามริฎอ (อ.) ได้มอบชุดนมาซที่ท่านสวมใส่ปฏิบัตินมาซถึง ๑,๐๐๐,๐๐๐ ระกะอัต ให้กับ ดิอฺบิล นักกวีผู้ยิ่งใหญ่ผู้ซึ่งได้หลบหนีราชวงศ์อับบาสนานถึง ๒๐ ปี และได้เป็นชะฮีดหลังจากนมาซศุบฮฺในขณะที่เขามีอายุถึง ๙๐ ปี ก่อนที่เขาจะเสียชีวิต ประชาชนชาวเมืองกุม (ประเทศอิหร่าน) ได้ขอซื้อชุดด้วยราคาที่แพงลิบลิ่วในสมัยนั้น แต่ดิอฺบิลไม่ยอมขาย

๑๐๙. นมาซกับการดุอาอฺ
นอกเหนือจากดุอาอฺที่อ่านในขณะทำกุนูตแล้ว เรายังอ่านซ้ำประโยคที่ว่า “ขอพระองค์โปรดนำทางเราสู่แนวทางที่เที่ยงธรรม” ซึ่งถือว่าเป็นการวอนขอในนิอฺมัตที่ยิ่งใหญ่และดีที่สุด กล่าวคือเป็นการขอทางนำที่ถูกต้อง ซึ่งก่อนและหลังนมาซเราก็ขอดุอาอฺเป็นประจำอยู่แล้ว สรุปก็คือ ใครก็ตามที่ปฏิบัตินมาซเสมอจะกลายเป็นผู้ดุอาไปโดยปริยาย

แน่นอนการดุอาอฺย่อมมีมารยาทเฉพาะตัว อาทิเช่น ควรมีน้ำนมาซ และเริ่มต้นด้วยการสรรเสริญอัลลอฮฺ (ซบ.) และพรรณาถึงนิอฺมัตต่างๆที่มีความสำคัญเช่น การรู้จักพระเจ้า (มะอฺริฟัต) อิสลาม สติปัญญา ความรู้ วิลายะฮฺ อัล-กุรอาน ฯลฯ จากนั้นให้ทำการขอบคุณพระองค์ แล้วกล่าวเศาะละวาต(ประสาทพร)แด่ศาสดาและวงศ์วานของท่าน จากนั้นให้รำลึกถึงความผิดบาปที่เราเคยกระทำ แล้วขออภัยโทษด้วยความเสียใจ หลังจากนั้นจึงเริ่มดุอา ซึ่งควรจะดุอาเผื่อแผ่ผู้อื่นด้วย บุคคลที่เราสมควรดุอาอฺให้ คือมุอฺมิน บิดามารดาและผู้ที่มีสิทธิเหนือเรา

นมาซก็เช่นกัน เพราะอุดมไปด้วยการสรรเสริญอัลลอฮฺ (ซบ.) การบรรยายถึงนิอฺมัตต่าง ๆ การวิงวอนขอทางนำที่เที่ยงธรรม และความเมตตาจากพระองค์ แสดงให้เห็นว่านมาซนั้นมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับดุอาอฺ

๑๑๐. นมาซ คือคำอธิบายอัล-กุรอาน
อัล-กุรอานซูเราะฮฺนิสาอฺ โองการที่ ๑๖๑ ได้ตรัสถึง รางวัลของนักปราชญ์ผู้รู้ มุอฺมินผู้ศรัทธา ผู้ดำรงนมาซ ผู้จ่ายซะกาต อันเป็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่ ขณะที่พระองค์ตรัสถึงนามชื่อของกลุ่มต่าง ๆ นั้น จะสังเกตุเห็นว่า นามของผู้ปฏิบัตินมาซถูกกล่าวไว้อย่างพิเศษกว่ากลุ่มอื่น เช่น กล่าวว่า

- บรรดาผู้มีความชำนาญในความรู้
- บรรดาผู้มีความศรัทธาต่ออัลลอฮฺ
- บรรดาผู้ที่จ่ายซะกาต
- บรรดาผู้ที่ดำรงนมาซเป็นอาจิณ

ทั้งสี่ประโยคเฉพาะนมาซเท่านั้น พระองค์ตรัสไม่เหมือนกับสิ่งอื่น ซึ่งในความเป็นจริงพระองค์สามารถตรัสว่า มุกีมูน ก็ได้จะได้เหมือนกับ รอสิคูน หรือ มุอฺมินูน แต่พระองค์กับตรัสว่า มุกีมีน มันเป็นเพราะว่า พระองค์ให้ความพิเศษกับนมาซ

หรือในคำกล่าวของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ที่ว่า “อินนะ เศาะลาตี วะนุสุกี” คำว่า “นุสุก” นั้นหมายถึงว่า อิบาดะฮฺ ซึ่งครอบคลุมไปถึงนมาซด้วย แต่ในที่นี้นามของนมาซกับถูกกล่าวแยกไว้ต่างหาก เพราะพระองค์ประสงค์ให้เห็นความโดดเด่นของนมาซนั่นเอง

อัล-กุรอานซูเราะฮฺอันบิยาอฺ โองการที่ ๗๓ กล่าวว่า “และเราได้วะฮีย์ มายังพวกเขาให้ปฏิบัติคุณงามความดี และดำรงนมาซ”

ขณะที่นมาซ คือส่วนหนึ่งของคุณงามความดี (ค็อยรอต) ซึ่งคำว่า ค็อยรอตนั้น ครอบคลุมนมาซอยู่แล้ว แต่พระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) กับตรัสนามของนมาซไว้ต่างหากข้าง ๆ คำว่า ค็อยรอต สิ่งเหล่านี้แสดงให้ว่า กุรอานให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อนมาซอย่างเป็น

๑๑๑. นมาซด้วยความนอบน้อม เป็นเงื่อนไขแรกของอีมาน
อัลกุรอานกล่าวว่า

“แน่นอนบรรดาผู้ศรัทธาย่อมประสบชัยชนะ ผู้ซึ่งมีความนอบน้อมในนมาซของพวกเขา” (قَدْ أَفْلَحَ الْمُؤْمِنُونَ *الَّذِينَ هُمْ فِي صَلاتِهِمْ خَاشِعُونَ (ซูเราะฮฺอัล-มุอฺมินูน: ๑-๒)

ในแนวทางของบรรดาศาสดาทั้งหลาย เมื่อกล่าวถึงการประสบชัยชนะหมายถึง ชัยชนะด้านจิตวิญญาณ ส่วนแนวทางของพวก ฏอฆูต(ผู้อธรรม) ชัยชนะสุดยอดของพวกเขาคือการใช้อำนาจกดขี่ผู้อื่น ดังที่ฟิรอูนประกาศก้องว่า "วันนี้ ผู้มีอำนาจเหนือผู้อื่นคือผู้มีชัย" ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ใครที่ประกอบคุณงามความดี รับใช้สังคมและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน แต่หากเขาไม่ใส่ใจต่อนมาซ ถือว่าเขามิใช่ผู้ได้รับชัยชนะ

๑๑๒. นมาซกับความรื่นรมย์
อัล-กุรอานได้แนะนำบรรดาผู้กลับกลอก (มุนาฟิก) แก่สังคมว่า “เมื่อพวกเขาปฏิบัตินมาซ พวกเขาจะปฏิบัติด้วยความเกียจคร้าน”
ซูเราะฮฺอัต-เตาบะฮฺ โองการที่ ๕๔ ได้กล่าวตำหนิบรรดาผู้ที่บริจาคทานด้วยความจำใจไว้อย่างรุนแรงว่า “และพวกเขาจะไม่บริจาค นอกจากพวกเขาจะบริจาคด้วยกับความชิงชัง”

เหตุผลที่พวกเขาเป็นเช่นนี้เพราะว่า เป้าหมายของการบริจาคและการอิบาดะฮฺคือการยกระดับจิตวิญญาณให้สูงส่ง ซึ่งมันจะสัมฤทธิ์ผลก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นมีจิตใจผูกพันและมีความรักที่จะปฏิบัติ มิใช่กระทำด้วยความจำใจที่แฝงเร้นไว้ด้วยกับความชิงชัง

๑๑๓. ตำแหน่งของผู้ปฏิบัตินมาซ
อัล-กุรอานกล่าวถึงบางกลุ่มชนที่ปฏิบัตินมาซอย่างมีสมาธิ และมีความนอบน้อม เช่นกล่าวว่า “บรรดาผู้ซึ่งปฏิบัตินมาซของเขาด้วยความนอบน้อม” ซึ่งความนอบน้อมนั้นเป็นมารยาททั้งกาย วาจา และใจ

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้เห็นคน ๆ หนึ่งขณะปฏิบัตินมาซ ซึ่งมือของเขาลูบไล้หนวดเครา ท่านจึงกล่าวว่า “มาตรว่าจิตวิญญาณของเขามีสมาธิ และมีความนอบน้อม เขาจะไม่ทำเช่นนี้เด็ดขาด” (ตัฟซีร อัศศอฟีย์)

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ก่อนหน้านั้น “ขณะที่ปฏิบัตินมาซท่านจะจ้องมองท้องฟ้า” และหลังจากโองการถูกประทานลงมา ท่านได้จ้องมองพื้นดินตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา (ตัฟซีรนิมูเนะฮฺ คัดลอกมาจาก ตัฟซีรมัจญมะอุ้ลบัยยาน)

อัล-กุรอานกล่าวว่า บางกลุ่มชนจะมีการระมัดระวังนมาซของพวกเขา โดยกล่าวว่า “พวกเขาปกป้องนมาซของพวกเขา” ชื่อโองการข้างต้นถูกกล่าว ๒ ครั้ง ในอัล-กุรอาน
ในซูเราะฮฺอัล-อันอาม โองการที่ ๙๒ กล่าวว่าผู้ที่ทำการปกป้องนมาซของตนเป็นสัญลักษณ์ของคนที่อีมานต่อวันฟื้นคืนชีพ “และบรรดาผู้ที่มีความศรัทธาต่อวันปรโลกหน้า ย่อมศรัทธาในอัล-กุรอานและรักษานมาซของพวกเขา” อัล-กรุอานกล่าวว่า บางกลุ่มชนได้ละทิ้งภารกิจการงานเพื่อนมาซ“กลุ่มบุรุษผู้ทำการค้า ซึ่งการค้าขายไม่อาจทำให้พวกเขาลืมการกล่าวระลึกถึงอัลลอฮฺ และการดำรงนมาซ”(رِجَالٌ لَا تُلْهِيهِمْ تِجَارَةٌ وَلَا بَيْعٌ عَنْ ذِكْرِ اللَّهِ (ซูเราะฮฺนูร : ๓๘)

ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนหรือแม้แต่การขายปลีกชั่วครั้งชั่วคราว หาได้สามารถยับยั้งพวกเขาในการรำลึกถึงอัลลอฮฺ (ซบ.)ไม่
บางกลุ่มชนรีบเร่งไปสู่นมาซอย่างมีความสุขรื่นเริง

อัล-กุรอากล่าวว่า“พวกเขาจะรีบเร่งมายังการระลึกถึงอัลลอฮฺ และละทิ้งการค้าขาย” (فَاسْعَوْا إِلَى ذِكْرِ اللَّهِ وَذَرُوا الْبَيْعَ (ซูเราะฮฺอัล-ญุมุอะฮฺ : ๙)

บางกลุ่มชนสวมใส่เสื้อที่ดีที่สุดไปสู่การนมาซ
อัล-กุรอานกล่าวว่า“จงสวมใส่เสื้อผ้าที่ดีที่สุดเพื่อไปมัสญิด” (خُذُوا زِينَتَكُمْ عِنْدَ كُلِّ مَسْجِدٍ (ซูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ : ๓๑)

การแต่งตัวให้สะอาดเรียบร้อยเมื่อไปมัสญิด ถือว่าเป็นการประดับประดาให้มัสญิดมีความสวยงาม เป็นการให้เกียรติแก่ผู้ปฏิบัตินมาซคนอื่น ประชาชนทั่ว ๆ ไป และแก่ผู้อุทิศทรัพย์สินเพื่อสร้างมัสญิด

ในตอนท้ายของโองการได้เตือนสัมทับว่า “พวกเจ้าจงอย่าฟุ่มเฟือย”
บางคนมีความรักที่ยั่งยืนต่อการนมาซ
อัล-กุรอานกล่าวว่า“และบรรดาผู้ซึ่งได้ดำรงนมาซของเขาอย่างเป็นอาจิณ” (الَّذِينَ هُمْ عَلَى صَلاتِهِمْ دَائِمُون (ซูเราะฮฺอัล-มะอาริจญ์ : ๒๓)

ท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า
“จุดประสงค์ของคำว่า การดำรงนมาซเป็นอาจิณ หมายถึงนมาซมุสตะฮับต่าง ๆ”

แต่อัล-กุรอานซูเราะฮฺอัลมะอาริจญ์ โองการที่ ๓๔ กล่าวว่า “พวกเขาปกป้องรักษานมาซของพวกเขา” หมายถึง การปกป้องนมาซที่เป็นวาญิบที่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆอย่างครบถ้วน

บางคนจะตื่นก่อนรุ่งอรุณเพื่อปฏิบัตินมาซตะฮัจญุด
อัล-กุรอานกล่าวว่า“ดังนั้น เจ้าจงตื่นขึ้นเพื่อปฏิบัตินมาซ ตะฮัดยุด เถิดอันเป็นนมาซพิเศษสำหรับเจ้า” وَمِنْ اللَّيْلِ فَتَهَجَّدْ بِهِ نَافِلَةً لَكَ (ซูเราะฮฺอัลอัสรอ: ๗๙)

โองการข้างต้นได้ถูกประทานให้ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) โดยให้ท่านตื่นขึ้นมาในบางช่วงของกลางคืน เพื่ออัญเชิญอัล-กุรอาน ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่พิเศษสำหรับท่าน นักตัฟซีรได้อธิบายว่า การอัญเชิญอัล-กุรอานคือ การปฏิบัติ เศาะละตุ้ลลัยนฺ นั่นเอง

บางคนปฏิบัตินมาซในยามค่ำคืนกระทั่งรุ่งสาง
อัลกุรอานกล่าวว่า“และบรรดาผู้ใช้เวลากลางคืน ทำการนมัสการต่อองค์พระผู้อภิบางของเขาด้วยการกราบ (สุญูด) และยืน” (يَبِيتُونَ لِرَبِّهِمْ سُجَّدًا وَقِيَامًا (ซูเราะฮฺอัล-ฟุรกอน : ๖๔)

บางคนได้ทำการสัจญะดะฮฺพร้อมกับร้องไห้
อัลกุรอานกล่าวว่า “เขาทำการกราบพร้อมกับร้องไห้” (خَرُّوا سُجَّدًا وَبُكِيًّا (ซูเราะฮฺมัรยัม: ๕๘)

๑๑๔. นมาซปรารภกับมนุษย์
อัล-กุรอานและริวายะฮฺได้กล่าวว่า การงานของมนุษย์ที่ได้ขวนขวายเอาไว้ในอาลัมบัรซัค และในวันกิยามัติมันจะเปลี่ยนเป็นรูปร่างปรากฏต่อหน้าของมนุษย์ ซึ่งเรียกว่าเป็นการ "ตะญัสซุม อมั้ล" การงานที่ดีก็จะปรากฏเป็นรูปร่างที่ดี ส่วนการงานที่ไม่ดีก็จะปรากฏเป็นรูปร่างที่น่ารังเกียจ

ความน่ารังเกียจและความสวยงาม ขึ้นอยู่กับการกระทำของมนุษย์ทั้งสิ้น ริวายะฮฺได้กล่าวว่า “นมาซที่ดี มะลาอิกะฮฺจะนำขึ้นไปด้วยใบหน้าที่สวยงาม และนมาซจะพูดว่า ขออัลลอฮฺทรงปกป้องท่านดุจดังเช่นที่ท่านได้ปกป้องเรา”

ขณะเดียวกัน นมาซที่ปฏิบัติโดยไม่สนใจต่ออะหฺกามของนมาซ มะลาอิกะฮฺจะนำขึ้นไปด้วยใบหน้าที่กริ้วโกรธ และนมาซก็จะพูดว่า
“ขออัลลอฮฺทรงทำลายท่าน ดุจดังเช่นที่ท่านได้ทำลายเรา” (อัสรอร นมาซ,ท่านอิมามโคมัยนี หน้า ๖-๘)




จบบริบูรณ์

ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัช ชีอะฮ์

ทางเว็บไซต์อัลฮะซะนัยน์ได้ปรับเนื้อหาคำแปลบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่