เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

นบีมุฮัมมัดในทัศนะต่างศาสนิก

1 ทัศนะต่างๆ 01.0 / 5
ศาสดามุฮัมมัด(ศ.)ที่ศาสนิกอื่นรู้จัก
"มุฮัมมัดไม่ใช่บิดาของใครในหมู่พวกเจ้า แต่เขาคือศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ และเป็นศาสดาคนสุดท้าย"(อัล-กุรอาน 33/40)
ศาสดามุฮัมมัด(ขอความ สันติและความจำเริญจงมีแด่ท่านและวงศ์วานของท่าน) ศาสดาแห่งอิสลาม สำหรับชาวมุสลิมนั้นท่านเป็นบุคคลที่สมบูรณ์เพียบพร้อมไปหมดทุกด้าน ปราศจากข้อบกพร่อง รอดพ้นจากบาปและมลทินทั้งปวง

ต่อไปนี้คือการรวบรวม คำพูดสั้นๆ ที่พูดถึงศาสดามุฮัมมัด(ศ.) แห่งอิสลาม ของบุคคลผู้มีชื่อเสียงในแวดวงต่างๆ ที่ไม่ใช่มุสลิม ทั้งบุคคลสำคัญทางการศึกษา นักเขียน นักปรัชญา นักประพันธ์ นักการเมือง และกิจกรรมทั้งหลายที่เป็นชาวตะวันออกและตะวันตก

เท่าที่รู้บุคคลเหล่า นี้ไม่เคยเป็นมุสลิม ดังนั้น คำพูดของพวกเขาจึงสะท้อนถึงทัศนคติส่วนตัวของพวกเขาในแง่มุมต่างๆ ของชีวิตของท่านศาสดา(ศ.)

มหาตมะ มุฮันดัส การัมจันด์ คานธี
นักคิด รัฐบุรุษ และผู้นำชาตินิยมชาวอินเดีย (1869-1948)
"ข้าพเจ้าเชื่อเหลือ เกินว่า ไม่ใช่เพราะดาบเลยที่ทำให้อิสลามมีชัยชนะได้ในวันแห่งการวางรากฐานของชีวิต มันเป็นความเรียบง่ายอย่างมั่นคง เป็นการแสดงความสลายตัวตนของศาสดา การยึดมั่นต่อคำปฏิญาณของเขา การอุทิศตนอย่างแรงกล้าของเขาต่อเพื่อนและสาวกผู้ปฏิบัติตามของเขา ความกล้าหาญของเขา ความไม่หวาดกลัวสิ่งใดของเขา และความเชื่อมั่นอย่างแท้จริงในพระผู้เป็นเจ้าและภารกิจของเขา ทั้งหมดเหล่านี้ ไม่ใช่ดาบที่นำทุกสิ่งทุกอย่างมาวางตรงหน้าพวกเขาได้ และไม่อาจทำให้ผ่านพ้นปัญหาทุกอย่างไปได้"
(ยัง อินเดีย, 1928, ฉบับที่ 5)

เอ็ดเวิร์ด กิบบอน
นักประวัติ ศาสตร์ชาวอังกฤษคนสำคัญที่สุดในสมัยของเขา (1737-1794)
"ความสำเร็จที่ยิ่ง ใหญ่ที่สุดในชีวิตของมุฮัมมัด เกิดขึ้นมาจากกองทัพแห่งศีลธรรมอย่างแท้จริง โดยไม่ต้องมีการใช้ดาบ"
(ฮิสเทอร์รี่ ออฟ เดอะ ซาราเซ็น เอ็มไพร์, ลอนดอน, 1870)

"ความจำของเขา(มุฮัม มัด) มีมากมายและแม่นยำ สติปัญญาของเขาแสดงออกอย่างง่ายดายและเข้ากับสังคม จิตนาการของเขาเลิศลอย การตัดสินของเขาชัดเจน รวดเร็ว และเด็ดขาด เขามีความกล้าหาญทั้งในด้านความคิดและการกระทำ"
(ฮิสเทอร์รี่ ออฟ เดอะ ดิคลายน์ แอนด์ ฟอลล์ ออฟ เดอะ โรมัน เอ็มไพร์, ลอนดอน, 1838, เล่ม 5, หน้า 335)

จอห์น วิลเลียม เดรพเปอร์
นักวิทยา ศาสตร์ นักปรัชญา และนักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกัน (1811-1882)
"สี่ปีหลังจากจัสติเนียนได้เสียชีวิตลงในปีค.ศ.569 ชายผู้หนึ่งได้ถือกำเนิดขึ้นที่มักกะฮฺในดินแดนอาหรับ ผู้ซึ่งมีอิทธิพลมากที่สุดในบรรดามนุษย์ที่ทำหน้าที่เพื่อมวลมนุษย์...เขา คือมุฮัมมัด"
(อะ ฮิสเทอรี่ ออฟ ดิ อินเทลเล็กชวล ดิแวลอพเมนท์ ออฟ ยุโรป, ลอนดอน, 1875, เล่ม 1 หน้า 329-330)

เดวิด จอร์จ โฮการ์ธ
นักโบราณคดี นักประพันธ์ชาวอังกฤษ ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์แอฟโมเลียน อ๊อกส์ฟอร์ด (1862-1927)
"ไม่ว่าในเรื่องใหญ่ หรือเรื่องเล็ก ความประพฤติประจำวันของเขาได้สร้างคุณสมบัติของผู้มีคุณธรรม ซึ่งผู้ศึกษาเรียนรู้หลายล้านคนในปัจจุบันได้นำมาปฏิบัติด้วยความสำนึก ไม่เคยมีเผ่าพันธ์มนุษย์คนใดที่จะได้รับพิจารณาว่าเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งทุกแง่มุมของชีวิตเขาถูกนำมาปฏิบัติเลียนแบบอย่างละเอียดอ่อนเช่นนี้ การปฏิบัติตัวของผู้ก่อตั้งคริสต์ศาสนาก็ไม่ได้เข้าครอบงำแบบแผนการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายของสาวกของเขาเช่นนี้เลย ไม่มีผู้ก่อตั้งศาสนาใดที่มีความสันโดษและโดดเด่นเช่นศาสดาผู้เผยแพร่ศาสนา ของชาวมุสลิมเลย"
(อารเบีย, อ๊อกส์ฟอร์ด, 1922, หน้า 52)

ไมเคิล เอช. ฮาร์ท
ศาสตราจารย์ ด้านดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ และประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์(1932- )
"การที่ข้าพเจ้าเลือก มุฮัมมัด(ศ.) ให้เป็นผู้นำในรายชื่อของผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุดของโลกนั้นอาจทำให้ผู้อ่านบางคนประหลาดใจ และหลายคนอาจตั้งคำถาม แต่เขาเป็นมนุษย์คนเดียวในประวัติศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดทั้งในด้านศาสนาและชีวิตทางโลก"
(เดอะ ฮันเดร็ด : อะ แรงกิง ออฟ เดอะ โมสท์ อินฟลูเอินเชียล เพอร์เซินส์ อิน ฮิสเทอรี่, นิวยอร์ค, 1978, หน้า 33)

วิลเลียม มอนต์โกเมอรี่ วัตต์
ศาสตราจารย์(เกียรติคุณ) ด้านการศึกษาภาษาอาหรับและอิสลามของมหาวิทยาลัย อีดินเบอร์ก (1909- )
"ความพร้อมของเขาในการรับมือกับความยากลำบากของผู้ศรัทธาในตัวเขา และลักษณะแห่งคุณธรรมอันสูงส่งของผู้ที่เชื่อถือศรัทธาในตัวเขาและมองดูเขาเป็นผู้นำ และความยิ่งใหญ่ในความสำเร็จสูงสุดของเขา ทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลรองรับความสมบูรณ์ในพื้นฐานของเขา การตั้งข้อสมมุติว่ามุฮัมมัดเป็นคนหลอกลวงนั้นทำให้เกิดปัญหามากกว่าการแก้ปัญหา ยิ่งกว่านั้น ไม่มีบุคคลผู้ยิ่งใหญ่คนใดในประวัติศาสตร์ที่เป็นที่ชื่นชมอย่างต่ำต้อยในตะวันตกเหมือนมุฮัมมัดเลย"
(มุฮัมมัด แอท เมกกา, อ๊อกส์ฟอร์ด, 1953, หน้า 52)

แอลฟองเซ เดอ ลามาร์ติเน
กวีและ รัฐบุรุษชาวฝรั่งเศส (1790-1869)
"นักปรัชญา, นักพูด, นักเผยแพร่ศาสนา, ผู้ออกกฎหมาย, นักรบ, ผู้พิชิต ตามแนวความคิด, นักปฏิรูปหลักการอย่างมีเหตุผลของศาสนาที่ไม่มีรูปบูชา ผู้ก่อตั้งอาณาจักรทางโลกทั้งยี่สิบและหนึ่งอาณาจักรทางจิตวิญญาณ นั่นคือมุฮัมมัด ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานทั้งหมดซึ่งความยิ่งใหญ่ของมนุษย์อาจจะวัดได้ เราอาจจะถามได้ว่า มีมนุษย์คนใดที่ยิ่งใหญ่กว่าเขาอีกหรือ?"
(บทแปลจาก ฮิสทอเร เดอ ลา ตุรกีเอ, ปารีส, 1854, เล่ม 2, หน้า 276-277)

แอนนี่ เบเซนท์
นักญาณนิยมและ ผู้นำชาตินิยมในอินเดีย ประธานสมาคองเกรสแห่งชาติอินเดียในปี 1917 (1847-1933)
"เป็นไปไม่ได้สำหรับ ผู้ที่ศึกษาชีวิตและบุคลิกลักษณะของศาสดาผู้ยิ่งใหญ่แห่งดินแดนอาหรับ และสำหรับผู้ที่รู้วิธีการสอนและวิธีการใช้ชีวิตของเขา ที่จะรู้สึกเป็นอย่างอื่นนอกจากเคารพนับถือต่อศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ ศาสนทูตผู้ยิ่งใหญ่ของพระเจ้า และถึงแม้ว่าข้าพเจ้าจะพูดหลายสิ่งหลายอย่างที่อาจคล้ายคลึงกับหลายๆ อย่าง แต่กระนั้น ข้าพเจ้าเองรู้สึกว่าเมื่อใดก็ตามที่ข้าพเจ้าอ่านเรื่องราวเหล่านั้นอีกครั้ง มันจะเกิดความรู้สึกของการชื่นชมยกย่องอีกอย่างหนึ่ง ความเคารพนับถือในรูปแบบใหม่สำหรับครูชาวอาหรับผู้ยิ่งใหญ่ท่านนั้น"
(เดอะ ไลฟ์ แอนด์ ทีชชิ่งส์ ออฟ มุฮัมมัด, มัดรัส, 1932, หน้า 4)



ขอขอบคุณเว็บไซต์ อะห์ลุลบัยต์อคาเดมี (ประเทศไทย)

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม