ปรัชญาแห่งศีลอด


ขัดเกลาจิตวิญญาณด้วยศีลอด
หนึ่งในพระบัญชาที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงบัญชาแก่มนุษย์ได้แก่การถือศีลอดเพื่อเป็นการปกป้องให้มนุษย์นั้นออกห่าง จากการกระทำความผิด และยับยั้งตนเองไม่ให้ตกเป็นทาสของอารมณ์ใฝ่ต่ำและเล่ห์เพทุบายของชัยฏอนมาร ร้าย ขณะเดียวกันเป็นการนำพาตัวเองเข้าสู่แนวทางของบรรดาศาสดา (อ.) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) อัล-กุรอานได้กล่าวถึงบัญชาดังกล่าวว่า โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ได้มีบัญญัติแก่พวกเจ้าให้ถือศีลอด ประดุจที่เคยบัญญัติมาแล้วแก่บรรดาชนในยุคก่อนหน้าเจ้า ทั้งนี้เพื่อพวกเจ้าจะได้ยำเกรง[๑]

การถือศีลอดจึงเป็นหนึ่งในแนวทางที่สร้างความยำเกรงให้กับมนุษย์ เป็นการฝึกฝนตนเองเพื่อนำไปสู่การมีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) ผลประการหนึ่งจากการฝึกฝนดังกล่าวคือหลักประกันสำหรับผู้ที่ถือศีลอดที่ว่า เขาจะได้พบกับความจำเริญและความผาสุกยิ่งทั้งโลกนี้และปรโลกหน้า หะดีษกุดซีย์รายงานว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้เรียนถามอัลลอฮฺ (ซบ.) ว่า อิบาดะฮฺแรกคืออะไร ? ตรัสว่า การถือศีลอด ท่านศาสดาถามต่ออีกว่า โอ้พระผู้อภิบาลของฉันผลของการถือศีลอดคืออะไร ?

ตรัสว่า ผลของการถือศีลอดคือ การทำให้จิตใจบรรลุถึงขั้นปัญญาญาณ ได้รับวิทยปัญญาและผลของมันคือการรู้จักพระผู้เป็นเจ้า ส่วนผลของการรู้จักพระผู้เป็นเจ้าคือการเข้าใจในพระผู้อภิบาล และยังทำให้บรรลุถึงขั้นสมบูรณ์ของความเชื่อมั่นไม่สงสัย (ขั้นยะกีน) ทำให้วิถีชีวิตของเขาอิงแอบอยู่กับพระผู้เป็นเจ้าเสมอ ผลที่ได้รับคือชีวิตของเขาไม่ว่าจะเผชิญกับความสุขหรือความทุกข์ยากสิ่งนั้น ไม่อาจเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของเขาให้ออกไปจากพระผู้เป็นเจ้าได้ และเมื่อถึงคราวที่บ่าวที่มีความรักอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้พบกับวาระสุดท้ายจะมีมลาอิกะฮฺมายืนอยู่เหนือศีรษะของเขาพร้อมกับยื่นน้ำ จากสระเกาษัรฺและเครื่องสวรรค์ให้เขาดื่ม เพื่อเขาจะได้ไม่ต้องประสบกับความยากลำบากในการปลิดดวงวิญญาณ หลังจากนั้นจะให้รางวัลอันยิ่งใหญ่แก่เขาและพูดว่า ยินดีด้วยสำหรับสถานที่พำนักที่ประเสริฐพร้อมกับตำแหน่งอันทรงเกียรติ เพียงแค่กระพริบตาเท่านั้นท่านจะได้ไปอยู่ ณ เบื้องพระพักตร์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) ในตำแหน่งการพบพระองค์ ที่ไม่มีสิ่งใดเป็นอุปสรรคขวางกั้นระหว่างท่านกับอัลลอฮฺ (ซบ.) อีกต่อไป[๒]

ร่อมะฎอนเป็นเดือนแห่งพระผู้เป็นเจ้า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นปฐมบทของทุกสรรพสิ่ง ทรงเป็นพระผู้สร้างท้องฟ้าและแผ่นดิน ในโลกทัศน์แห่งเตาฮีดนั้นจะมีบางสถานที่และบางเวลามีความพิเศษอยู่ในตัว อย่างเช่นเดือนร่อมะฎอน ซึ่งถือว่าเป็นเดือนแห่งพระผู้เป็นเจ้า วันและเวลาในเดือนนี้มีความพิเศษและประเสริฐกว่าเดือนอื่นทั้งหมด ดังทีท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า โอ้มวลมุสลิมทั้งหลาย แท้จริงเดือนแห่งอัลลอฮฺได้เข้ามาสู่พวกท่านด้วยความจำเริญ ความเมตตาและการอภัย ซึ่งเป็นเดือนเดียวทีมีความประเสริฐยิ่ง ณ พระองค์ เวลากลางคืน, กลางวันและช่วงเวลาของมันเป็นช่วงเวลาที่ประเสริฐที่สุด อีกทั้งเป็นเดือนที่พวกท่านได้รับเชิญให้เป็นแขกของอัลลอฮฺ และพวกท่านได้ถูกรวมเข้ากับบรรดาผู้ที่ได้รับเกียรติยิ่งทั้งหลาย ณ อัลลอฮฺ เดือนนี้ลมหายใจเข้าออกของพวกท่านถือเป็นการตัสบีห์ (ถวายความสดุดีต่ออัลลอฮฺ) การนอนของพวกท่านถือเป็นอิบาดะฮฺ การกระทำของพวกท่านจะถูกยอมรับ ดุอาอ์ของพวกท่านจะถูกตอบสนองจากพระองค์ ดังนั้นพวกท่านจงวิงวอนขอพรต่ออัลลอฮฺ ให้ทรงอำนวยโอกาสเพื่อการถือศีลอดและการอ่านอัล-กุรอาน[๓]

จากพระวัจนะของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) สามารถสรุปได้ทันที่ว่าสาเหตุทีเดือนร่อมะฎอนมีความประเสริฐกว่าเดือนอื่น นั้นเป็นเพราะอะไร ? แน่นอนเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าบรรดาความโปรดปราน (นิอ์มัต) ของอัลลอฮฺ (ซบ.) ล้วนเป็นสิ่งมีคุณค่า ซึ่ง ณ ที่นี้การชี้นำ (ฮิดายะฮฺ) ถือว่าเป็นความโปรดปรานที่ประเสริฐที่สุดที่พระองค์ได้ประทานให้กับบรรดาผู้ ศรัทธาทั้งหลาย เพราะว่าไม่มีโปรดปรานใดที่จะสูงไปกว่าการที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้เชิญให้มนุษย์เป็นแขกของพระองค์ และทรงชุบชีวิตที่ตายแล้วของพวกเขาด้วยกับน้ำแห่งคุณธรรม ไม่มีความโปรดปรานใดจะสูงไปกว่าการที่มนุษย์สามารถนำพาชีวิตให้หลุดพ้นจาก การพันธนาการของโลกและวัตถุ ไปสู่เสรีภาพแห่งความสัจจริง ไม่มีความโปรดปรานใดสูงไปกว่าการที่มนุษย์สามารถลืมสภาพความเป็นเดรัจฉานใน ตัวเอง การไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ใฝ่ต่ำและชัยฏอนมารร้าย ไม่มีความโปรดปรานใดจะสูงไปกว่าการที่มนุษย์พัฒนาความสมบูรณ์ของตนเองไปสู่ พระผู้เป็นเจ้าและมีความเชื่อว่าสิ่งนั้นมีคุณค่าและสูงส่งกว่าทรัพย์สิน สฤงคารและสิ่งอื่นใดทั้งหมด

อิสลามได้ประณามการฝึกฝนร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงเพื่อไปสูการเชื่อฟัง พระเจ้าแห่งอารมณ์และตัณหา อิสลามสรรเสริญบุคคลที่บำรุงรักษาร่างกายของตนให้สมบูรณ์แข็งแรงเพื่อเป็น สื่อในการพัฒนาจิตใจไปสู่คุณธรรมขั้นสูงสุด ฉะนั้น ณ ตรงนี้การกระทำใดก็ตามที่ก่อให้เกิดเสียหายและเป็นอันตรายต่อตัวเองถือว่า เป็นหะรอม (ไม่อนุญาต)ให้กระทำ ถึงแม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นบัญญัติจากพระผู้เป็นเจ้าก็ตาม อาทิเช่นการถือศีลอด อิสลามได้กำหนดว่าการถือศีลอดเป็นบัญญัติสำหรับมุสลิมทั้งหลาย แต่ถ้าถือศีลอดแล้วเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายจะไม่อนุญาตให้ถือ บางทัศนะถือว่าเป็นหะรอมด้วยซ้ำ ด้วยกฎที่ว่าอัลลอฮฺไม่ทรงประสงค์ให้มนุษย์ได้รับความยากลำบาก

กฎเกณฑ์และแบบฉบับมากมายที่อิสลามได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการรักษาสุขภาพ และพลานามัยให้สมบูรณ์ อาจเป็นไปได้ที่บางคนอาจมองไม่เป็นความแตกต่างระหว่างการดูแลรักษาสุขภาพอัน เป็นของสุขภาพพลานามัย กับการดูแลรักษาสภาพจิตใจซึ่งเป็นเรื่องของศีลธรรมจรรยา พวกเขาคิดว่าอิสลามคงจะไม่เห็นด้วยในเรื่องการรักษาสุขภาพ ทั้งที่ในความเป็นจริงอิสลามได้ให้ความสำคัญต่อเรื่องสุขภาพไม่น้อยไปกว่า การให้ความสำคัญเรื่องจิตใจ ฉะนั้นจะเห็นว่าภารกิจใดก็ตามที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ตนเองอิสลามถือว่าเป็น การกระทำที่ไม่ถูกต้องและไม่อนุญาตให้กระทำ เหมือนกับเรื่องการปฏิบัติตามอารมณ์ของตนเองอิสลามถือว่าเป็นสิ่งตรงกันข้าม และเป็นภาพที่ขัดแย้งกับการพัฒนาจิตวิญญาณ และยังเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคร้ายแก่จิตใจ การไม่ดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้สะอาดหรือทำไม่ถูกวิธีก็เป็นสาเหตุทำให้ ร่างกายป่วยและไม่สบาย

ปรัชญาการถือศีลอด ปรัชญาการถือศีลอดเพื่อรักษาร่างกายและจิตใจให้สมบูรณ์แข็งแรง ดังคำพูดทีว่าสติปัญญาที่สมบูรณ์ขึ้นอยู่ร่างกายที่แข็งแรง บรรดานักวิชาการทั้งที่เป็นมุสลิมและไม่ใช่มุสลิมได้เขียนหนังตำรามากมาย เกี่ยวกับเรื่องนี้ บางส่วนของเนื้อหาสาระที่ตำราเหล่านั้นกล่าวถึงเรื่องการขจัดการย่อยอาหาร ที่ไม่ดี การสนับสนุนสุขภาพพลานามัยส่วนรวม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไส้ติ่งอักเสบ การทำความสะอาดช่องทางเดินปัสสาวะ การรักษาโรคติดต่อต่าง ๆ โรคผิวหนัง และการขจัดไขมันส่วนเกิน ศีลอดมีผลอย่างมากต่อการรักษาโรคต่างๆที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ อย่างไรก็ตามมนุษย์ไม่สามารถปฏิเสธคุณค่าของการถือศีลอด ที่ว่าการถือศีลอดทำให้ร่างกายและจิตวิญญาณมีความสมบูรณ์แข็งแรง ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า จงถือศีลอดเพื่อให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ด้วยสาเหตุนี้เองที่ทำให้การชดใช้ (กะฎอ) ศีลอดที่ขาดไปเป็นข้อบังคับ (วาญิบ) แม้กระทั่งสตรีที่มีรอบเดือนในช่วงถือศีลอดเมื่อหมดรอบเดือนแล้วเธอต้องถือ ศีลอดชดใช้ ขณะที่นมาซที่ได้ขาดในช่วงนั้นไม่เป็นวาญิบต้องชดใช้[๔]

การถือศีลอดนั้นเท่ากับเป็นการลดการทำงานของอวัยวะทุกส่วนบนร่างกายไม่ ว่าจะเป็นกระเพราะอาหาร เส้นเลือด ต่อมต่าง ๆ ระบบปราสาท ลำไส้ ฯลฯ เพราะการทำงานตลอดทั้งวันทั้งคืนของอวัยวะเหล่านั้นโดยไม่มีการพักผ่อนย่อม นำมาซึ่งการเสื่อมสภาพและการทรุดโทรม แต่ต้องไม่เข้าใจผิดว่าการถือศีลอดได้ทำให้ร่างกายได้พักผ่อนหมายถึงร่างกาย ไม่ได้หยุดการทำงาน แต่ทว่าได้ทำงานช้าลงเพื่อจะได้มีโอกาสพักผ่อน ด้วยเหตุนี้เองจะพบว่าการถือศีลอดจะช่วยลดอาการปัสสาวะกระปริดกระปอย โรคความอ้วน โรคกระเพราะอาหาร และโรคลำไส้อักเสบ จึงได้มีคำกล่าวว่า การถือศีลอดนั้นจะทำให้อายุยืน ร่างกายกระปรี่กระเป่า ลดความเกียจคร้านและความอ่อนแอไปจากร่างกาย นอกจากนั้นยังช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยจากโรคภัยต่าง ๆได้มากมาย[๕] ปัจจุบันประเทศในแถบยุโรปได้เปิดโรงพยาบาลขึ้นหลายแห่ง โดยใช้วิธีถือศีลอดรักษาโรคร้ายต่าง ๆ ดังนั้น เมื่อเดือนร่อมะฎอนเวียนมาถึงวิถีการดำเนินชีวิตจึงได้เปลี่ยนไป อันเป็นการสร้างสิ่งใหม่และความปิติยินดีให้กับจิตวิญญาณของตนเพราะจิต วิญญาณของมนุษย์นั้นรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อแผนการดำเนินชีวิต อาหารและการนอนหลับตลอดเวลา นักจิตวิทยาได้ค้นพบว่า ความสุขที่ผู้ถือศีลอดได้รับขณะละศีลอดนั้นไม่อาจหาความสุขใดมาเปรียบเทียบ ได้ เพราะว่าบุคคลที่ถือศีลอดได้ระวังเรื่องการกินและการดื่มตลอดทั้งวัน ครั้นเมื่อถึงเวลาละศีลอดเขาจึงมีความรู้สึกว่าตนได้อิสรภาพจากกฎเกณฑ์ดัง กล่าวแล้ว ซึ่งอิสรภาพนั้นเองเป็นตัวนำความปิติยินดีมาสู่มนุษย์ ริวายะฮฺกล่าวว่า ผู้ที่ถือศีลอดนั้นจะมีความสุขอยู่สองช่วงกล่าวคือ ช่วงเวลาละศีลอด และช่วงเวลาที่เขาได้พบกับอัลลอฮฺ (ซบ.)

ผลของการถือศีลอดจะช่วยสร้างความสงบมั่นและความปลอดภัยแก่มนุษย์ เพราะมนุษย์นั้นเข้าใจว่าการถือศีลอดเป็นหนึ่งในแนวทางที่ทำให้เขาได้ สัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับอัลลอฮฺ (ซบ.) อัล-กุรอานกล่าวว่า พึงสังวรไว้ว่าการรำลึกถึงอัลลอฮฺเท่านั้นทำให้จิตใจสงบ[๖]ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ความสงบนั้นถือเป็นเครื่องป้องกันที่ดีที่สุดจากความหวาดกลัว ความตื่นเต้นและความวิตกกังวนต่าง ๆ

ศีลอดในทัศนะของนักวิชาการ ด.ร.อลิซซีซ คารล์ ได้บันทึกไว้ในหนังสือ มนุษย์เป็นสรรพสิ่งที่ไม่รู้จักว่า การถือศีลอด ได้ลดปริมาณน้ำตาลในเลือดที่ตับ ลดไขมันที่ได้สะสมไว้ใต้ผิวหนัง โปรตีน กล้ามเนื้อ ต่อม และเซลล์ต่างๆในตับจะมีอิสระในการเผาผลาญอาหารที่ได้สะสมไว้มากขึ้น[๗]

ด.ร. คาร์เรล กล่าวว่า ศาสนาต่าง ๆ ได้เน้นว่าการถือศีลอดคือความจำเป็นในศาสนา แน่นอนในตอนแรกจะมีความรู้สึกว่า หิวและกระหาย ในบางครั้งรู้สึกถึงความอ่อนแอและความเหน็ดเหนื่อย แต่อย่างไรก็ตามในศีลอดนั้นยังมีความรู้ที่เรายังไม่เข้าใจอีกมากมายซ่อน อยู่ อย่างน้อยสุดศีลอดได้ทำการชำระล้างจิตใจ และอวัยวะภายในส่วนอื่น ๆให้สะอาดบริสุทธิ์ขึ้น[๘]

ด.ร.ยอน ฟุรูมูซานได้เรียกวิธีการรักษาด้วยการถือศีลอดว่า เป็นการชำระล้างร่างกายและอวัยวะส่วนต่าง ๆเนื่องจากเมื่อเริ่มถือศีลอดลิ้นของเขาจะหยุดการทำงาน เหงื่อตามตัวจะออกมากกว่าปรกติ ปากจะมีกลิ่นเหม็นและบางครั้งจะมีน้ำไหลออกทางจมูก ทั้งหมดเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ของการชำระล้างร่างกายอย่างสมบูรณ์ หลังจากนั้นสองสามวันกลิ่นจะค่อย ๆหายไปจากตัวเขาการขับถ่ายปัสสาวะจะลดน้อยลง เขาจะมีความรู้สึกว่าสบายตัวและมีความสุขสดชื่นชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อนในช่วง เวลานั้นอวัยวะส่วนต่าง ๆจะได้เวลาพักผ่อน

ด.ร ตูมานียานซ์ ได้เขียนเกี่ยวกับการถือศีลอดว่า ประโยชน์ของการรับประทานน้อย และการหลีกเลี่ยงจากอาหารนานาชนิดในช่วงเวลาสั้น ๆ นั้นจะทำให้กระเพราะที่เต็มไปด้วยอาหารและทำงานมาตลอดสิบเอ็ดเดือนได้มี โอกาสพักผ่อน และเผาผลาญอาหารที่ตกค้างอยู่ให้หมดไป ตับ หัวใจ และอวัยวะส่วนอื่นก็เช่นเดียวกันรวมไปถึงระบบการย่อยอาหารเนื่องจากการรับ ประทานน้อยทำให้มันได้มีโอกาสพักผ่อนเหมือนกับอวัยวะส่วนอื่น การถือศีลอดคือการละเว้นการกินและการดื่มในช่วงเวลาที่เฉพาะเจาะจงของปี ถือว่าเป็นการเยียวยาที่ดีที่สุดและเป็นการรักษาสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงโดย วิธีธรรมชาติ แพทย์ทั้งในอดีตและปัจจุบันต่างให้ความสนใจต่อการถือศีลอดอย่างยิ่ง โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและระบบการย่อย ซึ่งมีผลกระทบกับตับและไตแม้ว่าจนถึงปัจจุบันวิวัฒนาการทางการแพทย์จะพัฒนา ไปไกลแล้วก็ตามแต่ก็ยังไม่สามารถผลิตยาเพื่อรักษาโรคดังกล่าวได้ แต่ทว่าการถือศีลอดนั้นสามารถบำบัดได้อย่างดี และศีลอดยังเป็นยาที่ดีที่สุดในการบำบัดรักษาโรคทางเดินอาหารและระบบการย่อย และโรคที่เกิดกับตับอันเป็นสาเหตุทำให้กลายเป็นโรคดีซ่านการบำบัดที่ดีที่ สุดคือการถือศีลอด เพราะหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคดีซ่านคือตับได้มีการทำงานอย่างหนัก ปราศจากการพักผ่อน

ด.ร.กูอิล พา กล่าวว่า มีคนไข้อยู่สี่ห้าคนที่เป็นโรคเกี่ยวกับลำไส้ ซึ่งพวกเขาได้รักษาโดยใช้วิธีถือศีลอด

ด.ร อเล็กซีย์ ซูฟูรีน ได้บันทึกไว้ในตำราของตนว่าขณะถือศีลอดร่างกายได้ใช้อาหารที่ได้สะสมเอาไว้ ในตัวแทน และด้วยเหตุนี้เองสิ่งที่เป็นพิษและสิ่งที่สามารถแพร่เชื้อได้ที่สะสมอยู่ใน ร่างกายมนุษย์ อันเป็นบ่อเกิดของโรคร้ายต่าง ๆ ได้ถูกทำลายลงอย่าอัตโนมัติ การถือศีลอดเท่ากับเป็นการทำลายโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ฉะนั้นเป็นการดีที่เราควรทำความสะอาดร่างกายของเราด้วยการถือศีลอด

โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่นักวิชาการเหล่านี้ได้ค้นพบว่าวิธีรักษาที่ดีที่สุดคือการถือศีลอดได้แก่ กระเพราะอักเสบ โรคซิฟิลิส วัณโรค ไข้หวัดเรื้อรัง โรคท้องมาน โปลิโอ เลือดน้อย ความอ่อนเพลีย โรคตับอักเสบ การทำลายต่อมที่เป็นบ่อเกิดของโรคมะเร็ง และการเลิกยาเสพติดทั้งหลาย

ด.ร.คารีโอ ชาวอเมริกันได้เขียนว่า ผู้ป่วยเป็นโรคทั้งหลายในปีหนึ่ง ๆ เขาต้องละเว้นการรับประทานอาหารสักช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพราะเมื่อรับประทานเข้าไปก็จะทำให้เชื้อโรคในร่างกายแข็งแรงขึ้นมา แต่ถ้าเราหลีกเลี่ยงการับประทานจะทำให้เชื้อโรคนั้นอ่อนแอลง ท่านยังได้เขียนต่ออีกว่า การถือศีลอดที่ศาสนาอิสลามได้กำหนดให้เป็นข้อบังสำหรับมุสลิมทุกคน เท่ากับเป็นหลักประกันสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง

การถือศีลอด ยังเป็นการลดและควบคุมอารมณ์ใฝ่ต่ำ และความต้องการในทางลบทั้งหลายแหล่ของมนุษย์ เพราะเมื่อเราต้องการให้ศีลอดเป็นตัวขัดเกลาจิตวิญญาณแล้วเราจะพบว่าตัวการ สำคัญที่ขัดแย้งกับความเป็นมนุษย์ของคนเรามีอยู่สี่อย่างด้วยกัน ความเห็นแก่ตัว อารมณ์ใฝ่ต่ำ การถืออัตตาตัวตน และความต้องการที่มาจากชัยฏอนมารร้าย ตราบใดที่มนุษย์ยังไม่สามารถหลีกเลี่ยงความต้องการเหล่านี้ได้ เขาก็ยังคงทำการกดขี่ข่มเหง การอนาจารต่าง ๆ การเข่นฆ่า ลักขโมย และการทำความผิดบาปอื่น ๆ ได้ต่อไป

การถือศีลอด เป็นวิธีการหนึ่งที่มนุษย์สามารถใช้เป็นมาตรการในการควบคุมอารมณ์ใฝ่ต่ำของ ตนเอง และควบคุมการทำงานของอวัยวะทุกส่วนบนร่างกาย มนุษย์ตราบที่เขายังเป็นทาสของอารมณ์ใฝ่ต่ำอยู่นั้น เขาจะไม่มีวันประสบความสำเร็จและพบกับความผาสุกได้อย่างแน่นอน เพราะว่าอารมณ์นั้นมันจะทำให้เขายึดติดอยู่กับโลก และความงดงามจอมปลอมทั้งหลายและเมื่อจิตวิญญาณของมนุษย์ยังพันธนาการอยู่กับ สิ่งเหล่านี้ เขาจะหลุดพ้นการตกเป็นเชลยของอารมณ์แห่งตนได้อย่างไร ดังนั้น อารมณ์ใฝ่ต่ำถือว่าเป็นศัตรูภายในที่ร้ายกาจยิ่งของมนุษย์ การเอาชนะมันไม่ง่ายเหมือนเอาชนะศัตรูที่อยู่ภายนอก และไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถทำได้เสมอไป ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า การญิ ฮาดที่ยิ่งใหญ่คือการต่อสู้กับอารมณ์ของตนเอง

ผลของการถือศีลอด การถือศีลอดเป็น แหล่งกำเนิดความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้าที่ได้ไหลรินอยู่ภายในจิตใจของผู้ที่ เรียกร้องหาความจริง

การถือศีลอดเป็น สำรับอาหารสวรรค์ที่ได้ตั้งอยู่ตรงกลางหัวใจของผู้ที่ถือศีลอดทั้งหลาย

การถือศีลอดเป็น พลังที่ช่วยให้จิตวิญญาณยืนหยัดได้อย่างสมเกียรติในสนามของความอดทน

การถือศีลอดเป็น พลังที่มาเปลี่ยนความมืดมิดแห่งความเห็นแก่ตัว การถืออัตตาตัวตนเป็นใหญ่ให้เป็นรัศมีของความนอบน้อมถ่อมตนและความเสียสละ

การถือศีลอดเป็น ผู้ช่วยเหลือผู้ที่กระทำความผิดบาปที่สำนึกตนแล้วให้รอดพ้นจากไฟนรก

การถือศีลอดเป็น ผู้ให้การเลี้ยงดูพลังแห่งความดี และการรีบเร่งกระทำในความดีที่มีอยู่ในตัวมนุษย์

การถือศีลอดเป็น ตัวเสริมสร้างความสวยงามให้กับบุคคลที่มุ่งมั่น อยู่กับอิบาดะฮฺให้มีความสวยงามยิ่งขึ้น

การถือศีลอดเป็น ตัวชักนำจิตวิญญาณของมนุษย์ไปสู่สายใยแห่งความ เมตตาของพระผู้เป็นเจ้า

การถือศีลอดเป็น ตัวชำระล้างจิตวิญญาณของมนุษย์ให้สะอาดจากความ ผิดบาปและการไร้สาระ

การถือศีลอดเป็น บันไดที่ทอดให้มนุษย์เดินผ่านแม่น้ำแห่งอารมณ์ ใฝ่ต่ำของตนไปสู่ชายฝั่งแห่งความผาสุก

การถือศีลอดเป็น พลังทีคอยปลุกจิตใจมนุษย์ให้ตื่นจากความผิดบาป และความโสมมทั้งหลาย

การถือศีลอดเป็น สื่อที่นำพาหูและจิตวิญญาณของผู้ศรัทธาไปเชื่อม ต่อกับพลังอันยิ่งใหญ่แห่งพระผู้เป็นเจ้า

การถือศีลอดเป็น เสมือนต้นไม้แรกแย้มแห่งความศรัทธาที่ได้ขึ้น อยู่ท่ามกลางสวนดอกไม้แห่งจิตวิญญาณ

การถือศีลอดเป็น อาวุธที่คอยทิ่มแทงชัยฏอนมารร้ายซึ่งเป็นศัตรู ตัวฉกาจแห่งการชี้นำ (ฮิดายะฮฺ)

การถือศีลอดเป็น น้ำผึ้งที่หวานชื่นแห่งสวนสวรรค์ที่ไหลลงสู่จิต ใจของผู้ศรัทธาที่มีความบริสุทธิ์ใจ

เชิงอรรถ [๑] บะก่อเราะฮฺ / ๑๘๓
[๒] นะฮฺญุลคิฏอบะฮฺ หน้าที่ ๒๓๑๖
[๓] อ้างแล้ว หน้าที่ ๓๒๑๘
[๔] อิกติบาซ มุฮัมมัอดัชตีย์ ความคิดกับความศรัทธาในอิสลาม หน้าที่ ๕, ๒๖๓
[๕] อิกติบาซ ซัยยิดมุฮัมมัด ชีรอซีย์ การถือศีลอดและเดือนแห่งอัลลอฮฺ แปลโดยมุศฏ่อฟา ซะมานีย์ หน้าที่ ๖๔๕
[๖] เราะอ์ดุ / ๒๘
[๗] รูเซะฮ์ ฎิยาฟัต นุรฺ หน้าที่ ๘, ๙, ๑๐, ๑๑, ๕๖
[๘] อ้างแล้ว หน้าที่ ๑๓,๑๔,๑๕, ๔๙




ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัชชีอะฮ์