อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 21 เดือนรอมฎอน

อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 21 เดือนรอมฎอน 

 

بسم الله الر حمن الر حيم

اَللّهُمَّ اجْعَلْ لي فیهِ اِلى مَرْضاتِكَ دَلیلاً

وَلا تَجْعَلْ لِلشَّیْطانِ فیهِ عَلَىَّ سَبیلاً

وَاجْعَلِ الْجَنَّةَ لي مَنْزِلاً وَمَقیلاً

یا  قاضِىَ حَواَّئِجِ الطّالِبینَ 

 

ความหมาย

 

โอ้อัลลอฮ์ ในเดือนนี้โปรดประทานเหตุผลและทางนำให้ข้าฯอยู่ในความพึงพอพระทัยของพระองค์
โปรดอย่าให้ชัยฏอนมารร้ายมีอิทธิพลเหนือข้าฯ
โปรดทำให้สวรรค์เป็นบ้านและเป็นสถานที่พำนักอันถาวรแก่ข้าฯ 
โอ้พระผู้ทรงทำให้ความปรารถนาของผู้เรียกร้องสำเร็จสมบูรณ์

 

คำอธิบาย

 

“พระองค์จะทรงพึงพอพระทัยเราได้อย่างไร ?”

 

ในดุอาอ์ตะวัซซุล เราได้ทำการขอผ่านยังบรรดาสิบสี่มะอ์ศูม และขอความช่วยเหลือผ่านพวกท่าน  เพราะบรรดาอิมามมะอ์ศูมคือประทีปแห่งทางนำสำหรับมนุษย์ชาติ  เป็นเหตุผลและหลักฐานชี้นำสำหรับทุกคน  ซึ่งในวันนี้เราวิงวอนจากพระองค์โปรดชี้นำให้เราอยู่ในแนวทางแห่งความพึงพอพระทัยของพระองค์ 


ในบทดุอาอ์เราได้วอนขอจากพระองค์ โปรดประทานเตาฟิกให้กับเราทำความดีและสิ่งที่พระองค์ทรงพึงพอพระทัย  ฮะดีษรายงานว่า หากต้องการรู้ว่าพระองค์ทรงพึงพอพระทัยเราหรือไม่ ก็จงมองยังหัวใจของเราว่าเราพอใจพระองค์มากน้อยแค่ไหน


ถ้าหากเราพอใจต่อพระองค์ พึงรู้ว่าพระองค์ก็ทรงพึงพอพระทัยเรา  แต่เป็นที่น่าเสียดายที่มนุษย์จำนวนมากเป็นบุคคลที่ไม่พึงพอใจต่อพระองค์ ในวิถีชีวิตของพวกเขาจะพยายามหาเหตุผลหนึ่งร้อยประการ ทำไมพระองค์ไม่ทรงให้สิ่งนี้แก่ฉัน.... ทำไม่คนโน้นได้รับสิ่งนี้แต่ฉันไม่ได้ และทำไม.....

 

ฮะดีษรายงานว่า

 

 انتم کالمرضی و رب العالمین کالطبیب
 

 

พวกท่านเสมือนคนไข้และพระผู้อภิบาลแห่งสากลจักรวาล คือ ผู้เยียวยารักษา (หมอ)

 

   หมอทำหน้าที่อะไร ? จะตรวจรักษาอาการของคนไข้และเขียนใบสั่งยา  และจะเขียนใบสั่งยาเฉพาะโรคของแต่ละคน ซึ่งคนไข้ไม่สามารถที่จะท้วงติงหมอได้ว่าทำไมเขียนใบสั่งยานี้ให้แก่เขา  เนื่องจากว่าหมอย่อมรู้ดีถึงอาการของคนไข้ ว่าจะต้องรักษาตัวอย่างไร 

 

ในบางครั้งหมออาจจะห้ามคนไข้กินอาหารบางอย่าง  คนไข้จะทำการตำนิและท้วงติงหมอหรือว่าทำไมสั่งห้ามอาหารโปรดของเขา ?    คนไข้มีหน้าที่สองอย่างคือปฏิบัติตามหรือไม่ก็ขอบคุณ ?  แต่หากเขาเป็นคนมีสติ (อะกาย) เขาก็จะทำการขอบคุณหมอ  โดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ  

 

 ซึ่งเราเองก็ต้องเข้าใจในสิ่งนี้ในเรื่องที่เกี่ยวกับพระองค์ หากพระองค์ให้สิ่งนี้แก่คนอื่นและไม่ได้ให้เรา ก็พึงรู้ว่า เพราะสิ่งนี้ไม่เหมาะแก่เรา และเป็นโทษต่อเรา เพราะพระองค์ทรงเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับมนุษย์

 

เรากับพระองค์ก็เหมือนหมอกับคนไข้  เราก็เช่นกันที่จะต้องขอบคุณพระองค์เนื่องจากที่พระองค์ไม่ทรงตอบรับคำวิงวอนขอบางอย่าง  หากคู่เขย ญาติสนิทและเพื่อนๆร่ำรวยและมีเงินทองมากมายกายกอง ส่วนเราไม่มีก็เนื่องจากว่าพระองค์ทรงรู้ถึงมัศลาฮัตที่จะเกิดขึ้น(สิ่งที่เป็นสิ่งที่ดีสำหรับเรา)

 

หากเราพอใจต่อการกำหนดและการประทานของพระองค์ก็ถือว่า อัลฮัมดุลิลาห์ แต่หากเราไม่พอใจต่อสิ่งนี้ ก็จะเริ่มมีการนินทากล่าวร้ายเพื่อนฝูงและญาติสนิทที่รวยกว่าเราในรูปลักษณะต่างๆนานา เช่น เขาอาจจะได้เงินทองมาจากการทำงานที่ไม่สุจริต และสิ่งที่ไม่ฮาลาล และอื่น...ๆ 
 


พึงรู้ว่าความอิจฉาคือต้นเหตุของการนินทา และตราบใดที่รากเหง้าของความอิจฉาไม่ถูกทำลายลงด้วยการพึงพอใจในสิ่งที่พระองค์ประทานแล้ว เขาก็จะยังคงจมปลักอยู่ในสภาพนี้ต่อไป  ดังนั้นจงพยายามขจัดและทำลายความอิจฉานี้ออกไปจากหัวใจของเราให้ได้


 
ฮะดีษรายงานว่า สุนัขมีคุณลักษณะที่ดีอยู่ในตัวสิบอย่าง  หนึ่งในนั้นคือจะพอใจต่อเจ้าของมัน  ทุกอย่างที่เจ้าของมันให้ มันก็จะพอใจในสิ่งนั้น  และจะมีความซื่อสัตย์ต่อเจ้าของ  
แต่สำหรับเราแล้วเมื่อเราทำการขอดุอาอ์ต่อพระองค์สองสามครั้งและไม่ถูกตอบรับ เราก็มักจะทิ้งพระองค์และหันหลังให้กับพระองค์....   ดังนั้นจงเรียนรู้คุณลักษณะที่ดีอันนี้ไว้

 

ประโยคถัดมา

 

وَ لاَ تَجْعَلْ لِلشَّیطَانِ فِیهِ عَلَی سَبِیلاً

 

โอ้พระองค์ ในเดือนรอมฎอนนี้และเดือนต่อๆไป โปรดอย่าให้ชัยฏอนมารร้ายมีอิทธิพลเหนือข้าฯ

 

หากต้องการไม่ให้ชัยฏอนมีอิทธิพลเหนือเรา จะต้องทำอย่างไร ?

 

ฮะดีษรายงานจากท่านศาสดา(ซ็อลฯ)ว่า


 
 ثَلَاثَةٌ مَعْصُومُونَ مِنْ إِبْلِيسَ وَ جُنُودِهِ الذَّاكِرُونَ لِلَّهِ وَ

 الْبَاكُونَ مِنْ خَشْيَةِ اللَّهِ وَ الْمُسْتَغْفِرُونَ بِالْأَسْحَارِ 

 

มีบุคคลสามจำพวกที่ชัยฏอนและข้าสมุนของขัยฏอนจะไม่เข้าใกล้ 

 

จำพวกแรกคือ 


 الذاکرون لله

 

บุคคลที่รำลึกถึงพระองค์อยู่ตลอดเวลา

 

สอง 


المستغفرین بالاسحار

 

บุคคลที่กล่าวอิสติฆฟารในยามรุ่งสาง(ซะฮัร)

 

และสาม 


الباکون لله

 

ผู้ที่ร่ำไห้เนื่องจากความเกรงกลัวต่อพระองค์

 

(หนังสือ มุสตัดร็อก วะซาอิล เล่มที่ 12   หน้า 147)

 

ประโยคถัดมา

 

وَ اجْعَلِ الْجَنَّةَ لِي مَنْزِلاً وَ مَقِیلاً

 

โปรดทำให้สวรรค์เป็นบ้านและเป็นสถานที่พำนักอันถาวรแก่ข้าฯ 

 

หากจากโลกนี้ไปด้วยอิมานและความศรัทธา ก็จะได้รับอานิสงค์และชะฟาอัตในสิ่งนี้ และก็จะได้เป็นชาวสวรรค์

 

یا قَاضِی حَوَائِجِ الطَّالِبِین

 

โอ้พระผู้ทรงทำให้ความปรารถนาของผู้เรียกร้องสำเร็จสมบูรณ์


บทความโดย เชคอิบรอฮิม อาแว