เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

เอกภาพในแนวทางของอะฮ์ลุลบัยต์(อ) ตอนที่ 2

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5


ความสัมพันธ์ระหว่างเอกภาพและความศรัทธา


วะฮ์ดะห์ มีแหล่งที่มาจากความเชื่อและอีหม่านที่แท้จริง สังคมของมนุษย์ที่เปี่ยมด้วยกับความเชื่อมั่นและศรัทธาอันแรงกล้า เราจะไม่พบถึงความขัดแย้งและความแตกแยกในสังคมนั้น

 

วะฮ์ดะห์ จึงเป็นภารกิจที่จะสร้างรากฐานให้เข้มแข็งได้ จำเป็นต้องอาศัยความรู้ ความศรัทธาที่ถูกต้อง และการขัดเกลาตนเอง เพราะตรรกที่ว่าบุคคลผู้ซึ่ง ตกอยู่ในความเขลา ความโกรธกริ้ว การใช้อารมณ์เป็นหลักในการตัดสินใจ ยึดถือให้ดุนยา นำหน้า อาคิเราะฮ์  หรือตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของมุนาฟิก และศัตรูของศาสนา ที่ยังตกอยู่ในกับดักเหล่านี้ จะสามารถสร้างสันติภาพ ความรักและความเป็นพี่น้องได้อย่างไร ?

 

เอกภาพ ซึ่งเป็นผลผลิตของความศรัทธา และการเรียกร้องสู่สัจธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเป็นรากฐานในการสร้างสังคมแห่งอัลกุรอาน สังคมที่สอนให้เรารู้จักถึง ความสูงส่ง ความเสียสละ ความเป็นพี่น้อง และสิ่งดีงามที่อยู่ภายใต้ร่มเงาของอัลกุรอาน จะเกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าหาก ผู้เผยแพร่ยังยึดอคติเป็นหลักในการตัดสินใจ

 

การมีศรัทธาอย่างถูกต้องตามมาตรฐานของอัลกุรอานเท่านั้น จึงจะสามารถสร้างเอกภาพ และความเป็นหนึ่งเดียวให้เกิดขึ้นในสังคมของมนุษย์ได้ เพราะเมื่อทุกคนให้คุณค่าต่อคุณธรรมจากอัลกุรอาน คนในสังคมก็จะขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน

 

วะฮ์ดะห์ จึงเป็นของขวัญจากพระเจ้า ที่พระองค์จะทรงมอบให้เฉพาะกับผู้ศรัทธา

 


ความขัดแย้งในประเด็นเรื่องศาสนา อันเป็นเหตุให้เกิดสำนักคิดและการให้ค่านิยมที่แตกต่างในทัศนะอิสลามนั้น โดยกุรอานถือว่า ความขัดแย้ง มีจุดเริ่มต้นมาจากการไม่ยอมรับในสัจธรรม เนื่องด้วยอารมณ์ใฝ่ต่ำอย่างหนึ่งของมนุษย์ คือ ความอิจฉา ริษยา

 

وَمَا تَفَرِّقُوا الاِّ من‌ْ بَعْد مَا جَاءَهُم‌ُ الْعلْم‌ُ بَغْيَاً بَيْنَهُم‌ْ

 

และพวกเขามิได้แตกแยกกัน เว้นแต่หลังจากได้มีความรู้มายังพวกเขาแล้ว ทั้งนี้ เพราะความริษยาระหว่างพวกเขากันเอง

ซูเราะฮ์ อัชชูรอ : 14

 


ความขัดแย้งอันนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่พวกเขาได้รู้ความจริงแล้ว ไม่ใช่เกิดจากความไม่รู้ แต่ไม่ต้องการที่จะยอมรับมัน จึงทำให้มีกลุ่มต่างๆเกิดขึ้นมา ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ความกลับกลอกและความแตกแยกนั้นคือ สัญลักษณ์ของความอ่อนแอของอีหม่านหรือศรัทธาและการยอมให้ตนเองอยู่ในโอวาทของชัยฏอน เพราะสังคมแห่งผู้ศรัทธา ซึ่งวางรากฐานบนอีหม่าน ความรัก ความเป็นพี่น้อง การปฏิบัติตามอัลกุรอานและสาส์นของศาสดานั้น จะเป็นสังคมที่มีเอกภาพ ความรัก ความเมตตาต่อกัน เป็นแก่นและจะเป็นสังคมที่ยอมรับคำตัดสินของพวกเขาอย่างสุดหัวใจ

 

 อัลกุรอานกล่าวว่า

 

مُحَمِّدٌ رِّسُول‌ُ للِّه‌ وَ لِّذين‌َ مَعَه‌ُ أَشدِّاءُ عَلَي‌ لْكُفِّار رُحَمَاءُ بَيْنَهُم‌ْ

 

มูฮัมมัด คือ รอซูลของพระองค์อัลลอฮ์ และบรรดาผู้ที่อยู่ร่วมกับเขานั้น เป็นผู้ที่เข้มแข็งและกล้าหาญต่อบรรดาผู้ปฏิเสธ เป็นผู้เมตตาต่อระหว่างพวกเขาด้วยกันเอง))

ซูเราะฮ์ อัลฟัตฮ์ : 29

 


บทสรุป

 

 จากการพิจารณาถึง สถานะของวะฮดะห์หรือเอกภาพในอัลกุรอานและวจนะของอะฮ์ลุลบัยต์ ชี้ให้เห็นว่า สัญลักษณ์ของการมีอีหม่านที่อ่อนแอและสาเหตุของความแตกแยก คือ ความอิจฉาริษยา ที่กัดกินจิตใจของมนุษย์ ขณะที่สัญลักษณ์ที่ทำให้มีศรัทธาที่เข้มแข็งก็คือ ความเป็นเอกภาพซึ่งและกัน

 


บทความโดย Muhammad Behesti

ขอขอบคุณเว็บไซต์เอบีนิวส์ทูเดย์

 

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม