ศาสนากับโลก (ตอนที่ ๑)การตีความอย่างผิดๆ ของผู้ถือสันโดษ

 

พระมหาคัมภีร์กุรอานแนะนำว่า “โลก ” นั่นคือ ที่อยู่ชั่วคราว ไม่มีค่าควรแก่ความหวังและความปรารถนาตัวอย่างของโองการนี้ได้บอกเราว่า “โลก ” นั่นคือ ที่อยู่ชั่วคราว ไม่มีค่าควรแก่ความหวังและความปรารถนา

 

เรื่องที่จะอภิปรายกันในตอนนี้ ก็คือ ทรรศนะของศาสนาที่มีต่อ “โลก ” แน่ละ การอภิปรายของเราจะกำจัดอยู่แต่เพียงทรรศนะของอิสลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแนวทางของตรรกวิทยา ซึ่งแนวทางนี้ได้ถูกใช้อยู่ในพระมหาคัมภีร์กุรอานอันบริสุทธิ์

 

ควรจะเข้าใจได้ด้วยว่า แนวทางเชิงตรรกวิทยานี้เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะในบรรดาเรื่องราวที่มีการเทศนาและการบรรยายทางศาสนานั้น เรื่องที่พูดกันอยู่ทั่วไปก็คือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโลก

 

“โลก” ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นหัวข้อใหญ่ คือ “ความเลวร้ายของโลก ” “ ข้อแนะนำให้ปฏิเสธและละเว้นจากเรื่องทางโลก ” และอื่นๆ เมื่อใดก็ตามที่บุคคลได้รับการกระตุ้นให้เป็นนักเผยแพร่และบรรยายแก่ประชาชนสิ่งแรกที่เข้ามาในจิตใจของบุคคล เช่นนี้ คือ ความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้บทกวีบางบทหรือบทร้อยแก้วหรือคำสอนอันบริสุทธิ์บางอย่างเกี่ยวกับโลก

 

ดังนั้น เมื่อมนุษย์ชาติ จะมิได้รับฟังเรื่องใดเท่ากับเรื่องนี้และในเมื่อเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับศีลธรรมและจริยธรรมและกับวิถีทางที่ผู้คนต้องประสบในชีวิตประจำวันแล้ว มันจึงเป็นเรื่องเบื้องต้นที่สำคัญ เป็นเรื่องที่เมื่อตีความหมายด้วยการใช้เหตุผลแล้วจะมีผลในการขัดเกลาความประพฤติด้านจริยธรรมให้สมดุลซึ่งรวมถึงการนับถือตนเอง ทัศนคติที่สูงส่ง ความเจริญรุ่งเรืองและความสัมพันธ์ที่ดีภายในสังคม

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อมันถูกตีความอย่างผิดๆ ก็จะเป็นเหตุให้เกิดความมึนงงและการละเลยไม่แยแสต่อความรู้สึกใดๆ เป็นที่มาแห่งความโชคร้าย หมดความหวังทั้งมวลและเป็นความทุกข์ยากของบุคคลและสังคมด้วย

 

การตีความอย่างผิดๆ ของผู้ถือสันโดษ

 

เป็นเรื่องที่น่าเสียใจว่าการตีความในแบบหลังนี้ได้แพร่ขยายออกไป ข้อแนะนำ คำเทศนา และบทกวีทางประวัติศาสตร์และร้อยแก้วในเรื่องเหล่านี้จะปรากฏอยู่เสมอในรูปแบบที่สองเหตุผลในเรื่องนี้มีอยู่สองประการ ประการที่หนึ่ง ก็คือ อิทธิพลของความคิดที่ไม่ใช่แบบอิสลามกับปรัชญาที่อาศัยมุมมองในแง่ร้ายต่อโลกและต่อความมีอยู่ทางวัตถุและต่อกิจการทางโลกซึ่งแพร่หลายอยู่ในหมู่มุสลิม

 

เนื่องมาจากการผสมผสานกันของผู้คนที่แตกต่างกันภายในชุมชนมุสลิม เหตุผลอื่นคือเหตุการณ์ทางประวิติศาสตร์ที่ไม่น่าชื่นชม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาเหตุด้านสังคมที่ปรากฏอยู่เหนือบรรยากาศของอิสลามตลอดหนึ่งพันสี่ร้อยปีที่ผ่านมาแล้ว

 

อย่างไรก็ตาม เราจะต้องมองผ่านเรื่องเหล่านี้ไปเพื่อมาตรวจสอบอย่างละเอียดถึงตรรกวิทยาของพระมหาคัมภีร์กุรอานอันบริสุทธิ์ เราจะต้องดูว่าปรัชญาในแง่ร้ายเหล่านี้มีอยู่ในพระมหาคัมภีร์กุรอานเองหรือว่ามันเป็นเพียงการเสแสร้งแต่งขึ้นมา

 

พระมหาคัมภีร์กุรอานแนะนำว่า “โลก ” นั่นคือ ที่อยู่ชั่วคราว ไม่มีค่าควรแก่ความหวังและความปรารถนาตัวอย่างของโองการนี้ได้บอกเราว่า “โลก ” นั่นคือ ที่อยู่ชั่วคราว ไม่มีค่าควรแก่ความหวังและความปรารถนาตัวอย่างของโองการนี้ได้บอกเราว่า

 

“อันทรัพย์สมบัติและบรรดาลูกๆ นั้น เป็นเพียงสิ่งประดับในชีวิตทางโลกนี้เท่านั้น แต่การกระทำที่ดีย่อมเป็นสิ่งไม่ตายย่อมประเสริฐกว่าในพระผู้อภิบาลของเจ้าซึ่งเกี่ยวข้องกับการตอบแทนและความหวัง ” (๑๘: ๔๖)

 

กระนั้นก็ตาม ถึงแม้ว่าพระมหาคัมภีร์กุรอานจะถือว่าโลกนี้ไม่มีค่าควรแก่ความหวังและความปรารถนาของมนุษย์เราก็ไม่เคยได้รับการบอกเล่าว่าสรรพสิ่งที่มีอยู่และสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นทั้งหลาย – ทั้งแผ่นฟ้า ผืนดิน ภูเขา แม่น้ำ ทะเล ที่ราบ ป่า ทะเลทราย พืชผัก สัตว์ และเขตแดนของความมีอยู่ของมนุษย์และระบบทั้งหลายของมัน ความเคลื่อนไหว และการพัฒนาในปัจจุบัน – ว่าเป็นเรื่องไม่ดี ไร้ผลและไร้ประโยชน์

 

ตรงกันข้ามพระมหาคัมภีร์อันกุรอานแสดงถึงกฎระเบียบอันมีระเบียบอันมีระบบ นั่นคือ การสร้างในลักษณะเป็นระบบอันถูกต้องและยุติธรรม และพระผู้เป็นเจ้าได้ทรงบอกแก่เราว่า

 

“เรามิได้สร้างฟากฟ้าและพื้นดิน รวมทั้งสรรพสิ่งระหว่างทั้งสองนั้นเพียงเพื่อความสนุกสนาน ” (๔๔: ๓๘)

 

ยิ่งกว่านั้นในคัมภีร์อัลกุรอาน มีการให้สัตย์สาบาน โดยส่วนหนึ่งของการสร้าง นี่เน้นถึงจุดที่ว่า โลกทางกายภาพเองนั้นมีความหมายอย่างยิ่ง คำสาบานอย่างเช่น ขอยืนยันด้วยดวงตะวันและแสงสว่างของมันและดวงจันทร์เมื่อมันโครจรตามดวงตะวัน ( ๙๑ : ๑-๒ ) ขอยืนยันด้วยต้นมะเดื่อและต้นมะกอก และภูเขาซีนาย และเมืองอันปลอดภัยนี้ (มักกะฮ์) ( ๙๕ : ๑-๓ )

 

“ขอยืนยันด้วยบรรดาม้าที่ส่งเสียงหอบขณะวิ่ง …” (๑๐๐ : ๑ ) “และชีวิต (มนุษย์) …” ( ๙๑ : ๗ ) แล้วเรายังได้รับการบอกเล่าในพระมหาคัมภีร์อันกุรอานว่า “เจ้าจักไม่เห็นเลยว่าในการบันดาลของพระผู้ทรงเมตตายิ่ง (อัล-เราะห์มาน) นั้น

 

จะมีความขัดแย้งกันเอง แล้วจงหันสายตากลับมาพิเคราะห์อีกเถิดว่าเจ้าเห็นความบกพร่องบ้างไหม ” (๖๗ : ๓ )

 

เป็นเรื่องสำคัญว่า ทรรศนะในแง่ร้ายเกี่ยวกับการสร้างและวงจรและระเบียบอันเป็นระเบียบของโลกนั้นขัดแย้งกับความคิดของอิสลาม นั่นคือแก่นแท้แห่งความคิดอันสำคัญของอิสลามคือหลักของเตาฮีด (เอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า ทฤษฎีในด้านร้ายเหล่านี้สามารถมีอยู่ได้โดยอาศัยลัทธิวัตถุนิยมและการปฏิเสธแหล่งความจริง ความยุติธรรมและเหตุผล หรือวางอยู่บนหลักการที่นักปรัชญาบางคนแหล่งลัทธิที่ถือสิ่งที่เป็นคู่ถืออยู่เท่านั้น นั่นก็คือ แหล่งกำเนิดแห่งชีวิตสองแหล่งซึ่งขัดกัน อย่างหนึ่งเป็นแหล่งแห่งความดี ส่วนอีกแหล่งหนึ่งเป็นแหล่งแห่งความชั่วร้าย

 

อย่างไรก็ตาม ในศาสนาที่ถือพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวนั้น ความเชื่อในเรื่องความเมตตาและปรานีทั้งหลาย การรู้จักและรู้สึกได้ถึงพระผู้เป็นเจ้า จึงไม่มีที่ว่างให้แก่ความคิดในแง่ร้ายตามที่ได้กล่าวไว้อย่างแจ่มแจ้งในโองการหลายโองการในพระมหาคัมภีร์กุรอาน

 

สิ่งที่ได้บอกไว้ในพระมหาคัมภีร์กุรอานเกี่ยวกับโลก ก็คือ โลกนั้นเป็นสิ่งที่มีกำหนดตายตัวและต้องแตกทำลายไป และโลกเปรียบเหมือนต้นไม้ คือ พุ่งขึ้นมาจากพื้นดินหลังฝนตกแล้วก็เจริญเติบโตขึ้น หลังจากนั้น ก็จะกลายเป็นสีเหลืองและแห้งเหี่ยวลงแล้วค่อยๆ แตกทำลายไปสิ้นนั้น อันที่จริงจะเชิดชูคุณค่ามนุษย์ให้สูงส่งขึ้น ด้วยวิธีนี้ เราได้รับการบอกเล่าว่า อย่าถือว่าโลกเป็นจุดสุดยอดแห่งความหวังและความปรารถนาทั้งสิ้นของเรา แต่ก็ไม่ได้เป็นเหตุผลให้ใครๆ คิดว่าโลกนี้เลวร้ายและน่าชังไปทั้งหมด

 

ดังนั้น จึงไม่มีนักวิชาการที่ดีคนใดของอิสลาม จะตีความตามโองการของพระมหาคัมภีร์กุรอานในข้อที่เกี่ยวกับโลกไปในทางที่ไม่ดีต่อโลกหรือขัดต่อวงจรและความเคลื่อนไหวของมันได้

 

(โปรดติดตามตอนที่ ๒)

 

เขียนโดย ชะฮีดมุเฏาะฮะรี

 

แปล จรัญ มะลูลีม