ศาสนากับโลก (ตอนที่ 12) ความยุติธรรมในสังคม ความคิดและความศรัทธา

ประการแรก ขอให้เรามุ่งมาที่ระดับความคิดและความเชื่อ เมื่อไรก็ตามที่เราหันมาดูงานเขียนและทรรศนะของงานและความคิดของนักเขียนและนักกวีที่ยิ่งใหญ่ของอิสลามแล้ว เราก็จะเห็นได้ว่าในขณะที่คนเหล่านั้นได้รู้ถึงความเป็นจริงอันยิ่งใหญ่ พวกเขาก็ได้พบการแสดงออกอันบริสุทธิ์แห่งความรอบรู้ของพระผู้เป็นเจ้า (ฮิกมะฮ์) และจะกลายเป็นผู้ที่มีความคิดและทรรศนะที่ละเอียดอ่อน แต่ก็ยังมีอยู่บางเวลาที่ความคิดของพวกเขายังมีราคีอันเหลือไว้ให้พวกเราแปลกใจกัน ตัวอย่างเช่น เราเห็นคนเหล่านั้นให้ความสาคัญในเรื่องโชคชะตา สิ่งอันไม่สมควรจากสิ่งทั้งหมดซึ่งสร้างความตื่นเต้นให้แก่พวกเขามากที่สุดก็คือโชค ด้วยการกล่าวว่า “ตัวของมนุษย์อาจหลับได้ แต่โชคของเขาตื่นอยู่เสมอ! ” ในทรรศนะของคนเหล่านี้ เมื่อโชคเกิดขึ้นมาคราใด สิ่งอื่น ๆ ทั้งหมดก็ไร้ค่า ทั้งความรู้ เหตุผล การต่อสู้ ทักษะความสามารถ งานฝีมือ ความเข้มแข็งของอาวุธ-เมื่อเปรียบเทียบกับโชคแล้วสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ไม่มีค่าอะไรเลย!
 

มีบทกวีและข้อเขียนเกี่ยวกับโชคชะตานับพันที่ถูกเขียนขึ้นโดยคนมีชื่อเสียงยิ่งใหญ่ แน่ล่ะหากคนเหล่านี้ถูกถามถึงลักษณะของโชคชะตาที่แท้จริง

 

ไม่ว่าที่พวกเขาจะนิยามมันได้หรือไม่ และเมื่อพวกเขาได้นิยามมันอยู่บ่อย ๆ จนรู้ถึงลักษณะเดียวกันก็จะแข็งกล้าและเป็นที่นิยม นี่เป็นเพราะว่าโชคชะตานั้นหมายถึงการไม่มีสิ่งหนึ่งเป็นเงื่อนไขสำหรับสิ่งอื่นอันใด

 

จะมีอะไรแตกต่างกันเล่าระหว่างผู้ที่ถือว่ามีผลแห่งความมานะพยายามและการดิ้นรนต่อสู้ ผู้มีความเชื่อว่า

“มนุษย์จะไม่ได้รับสิ่งใด นอกจากสิ่งที่เขาได้ดิ้นรนหาเท่านั้น ” (๕๓:๓๙)

 

กับคนที่กล่าวว่าความพยายามทั้งหมดย่อมไร้ผลและไม่มีอะไรในชีวิตที่เป็นเงื่อนไขสำหรับสิ่งอื่น ๆ ? มีความแตกต่างกันแค่ไหนระหว่างผู้มีความเชื่อว่า

“แท้จริงอัลลอฮ์ ไม่ทรงเปลี่ยนแปลงสภาพของชุมชนใด จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงสภาพของตัวเอง ” (๑๓.๑๑) ๔

 

กับผู้เชื่อในโชคเคราะห์! ดังนั้นจึงเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าคุณค่าของความยุติธรรมในสังคมมีผลต่อความคิดและความเชื่ออย่างไร
 

การมองดูพระผู้เป็นเจ้าในแง่ร้าย

 

หากเรามองดูงานเขียนของมุสลิมอีกครั้งเราก็จะพบตัวอย่างอื่นๆ อีก

 

เราจะสังเกตเห็นว่าแนวความคิดเช่นนั้น อาจเรียกได้ว่า “ความรู้สึกโทษพระผู้เป็นเจ้า ”

 

ซึ่งหมายถึง การสาปแช่งวงจรแห่งการสร้างสรรค์ของพระผู้เป็นเจ้า อันมีผลต่อชีวิตด้านวัตถุของบุคคลนั่นเอง! พระองค์ถูกเรียกว่าทรราชย์ผู้กดขี่โหดร้าย แต่ละชื่อและทุกๆ ชื่อของพระองค์ซึ่งบอกถึงเรื่องราวแห่งการ

 

กดขี่ ข่มเหง ทรยศและหลอกลวง ได้ถูกมอบให้แด่พระองค์จนถึงขั้นที่กล่าวว่าพระผู้เป็นเจ้ามีเจตนาร้ายต่อความดีและความบริสุทธิ์เอาทีเดียว

 

อย่างไรก็ตาม การร้องทุกข์ต่อว่าพระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่เกี่ยวกับเรื่องสวรรค์เจ็ดชั้น เวลาและที่ว่างแห่งการสร้างโลกตรงข้ามมันเป็นการร้องทุกข์ถึงสภาพแวดล้อมทางสังคมของตัวผู้ฟ้องร้องเอง อะไรก็ตามที่พวกเขากล่าวมานั้น คือผลสะท้อนของบุคลิกลักษณะ ความรู้สึกภายในจิตใจตัวเขาเองนั่นเอง ยิ่งกว่านั้นคาพูดของตัวเองเท่านั้นแต่ยังร้องทุกข์ถึงสภาพแห่งยุคสมัยของเขาและสังคมทั้งหมดด้วย เมื่อกวีมองไปรอบตัวเขาและแลเห็นความ

 

อยุติธรรมและความกดขี่อยู่ทุกหนทุกแห่งไม่ว่าเขาจะไม่เข้าใจถึงมูลเหตุหรือว่าจะไม่เข้าใจถึงมูลเหตุหรือว่าจะไม่เข้าใจ แต่ก็ไม่สามารถกล่าวออกมาได้ทุกอย่างก็ตาม ดูเหมือนว่าเขาจะเปิดทางให้แก่ความรู้สึกในสิ่งที่เขาแลเห็นเหมือนกับ “กงล้อ อันคดงอของพระผู้เป็นเจ้า ” ผลที่ตามมาจากสภาพเหล่านี้ก็คือการมองโลกไปในแง่ร้ายและความหวาดระแวงสงสัยในเรื่องกระแสแห่งการสร้างได้ถูกพัฒนาขึ้น


เขียนโดย ชะฮีดมุเฏาะฮะรี
แปล จรัญ มะลูลีม