ศาสนากับโลก (ตอนที่ 13) การมองดูพระผู้เป็นเจ้าในแง่ร้าย

หากเรามองดูงานเขียนของมุสลิมอีกครั้ง เราก็จะพบตัวอย่างอื่นๆ อีก

เราจะสังเกตเห็นว่าแนวความคิดเช่นนั้น อาจเรียกได้ว่า “ความรู้สึกโทษพระผู้เป็นเจ้า ”

 

ซึ่งหมายถึง การสาปแช่งวงจรแห่งการสร้างสรรค์ของพระผู้เป็นเจ้า อันมีผลต่อชีวิตด้านวัตถุของบุคคลนั่นเอง! พระองค์ถูกเรียกว่าทรราชย์ผู้กดขี่โหดร้าย แต่ละชื่อและทุกๆ ชื่อของพระองค์ซึ่งบอกถึงเรื่องราวแห่งการกดขี่ ข่มเหง ทรยศและหลอกลวง ได้ถูกมอบให้แด่พระองค์จนถึงขั้นที่กล่าวว่าพระผู้เป็นเจ้ามีเจตนาร้ายต่อความดีและความบริสุทธิ์เอาทีเดียว

 

อย่างไรก็ตาม การร้องทุกข์ต่อว่าพระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่เกี่ยวกับเรื่องสวรรค์เจ็ดชั้น เวลาและที่ว่างแห่งการสร้างโลกตรงข้ามมันเป็นการร้องทุกข์ถึงสภาพแวดล้อมทางสังคมของตัวผู้ฟ้องร้องเอง อะไรก็ตามที่พวกเขากล่าวมานั้น คือผลสะท้อนของบุคลิกลักษณะ ความรู้สึกภายในจิตใจตัวเขาเองนั่นเอง ยิ่งกว่านั้นคาพูดของตัวเองเท่านั้นแต่ยังร้องทุกข์ถึงสภาพแห่งยุคสมัยของเขาและสังคมทั้งหมดด้วย เมื่อกวีมองไปรอบตัวเขาและแลเห็นความอยุติธรรมและความกดขี่อยู่ทุกหนทุกแห่งไม่ว่าเขาจะไม่เข้าใจถึงมูลเหตุหรือว่าจะไม่เข้าใจถึงมูลเหตุหรือว่าจะไม่เข้าใจ แต่ก็ไม่สามารถกล่าวออกมาได้ทุกอย่างก็ตาม ดูเหมือนว่าเขาจะเปิดทางให้แก่ความรู้สึกในสิ่งที่เขาแลเห็นเหมือนกับ “กงล้อ อันคดงอของพระผู้เป็นเจ้า ” ผลที่ตามมาจากสภาพเหล่านี้ก็คือการมองโลกไปในแง่ร้ายและความหวาดระแวงสงสัยในเรื่องกระแสแห่งการสร้างได้ถูกพัฒนาขึ้น

 

ความคิดเกิดกล้าแกร่งขึ้นกว่าพระผู้เป็นเจ้านั้น มีความอยุติธรรมต่อความดีของมนุษย์ชาติและระหว่างพระผู้เป็นเจ้ากับความดีนั้นมีศัตรูและความมุ่งร้ายโบร่ำโบราณรูปแบบหนึ่ง ในสภาพเช่นนั้น แน่นอนผู้คนจะกลายเป็นผู้มีเจตนาร้าย พวกเขาจะแสดงความชั่วร้ายต่อสิ่งถูกสร้างหรือแม้แต่กับพระผู้สร้างเอง

 

ดังนั้น ผลโดยตรงต่อความบิดเบี้ยวของความยุติธรรมทางสังคม คือ ความบิดเบี้ยวแห่งแบบแผนของความคิด พร้อมกับความเชื่อในระบบที่ยุ่งเหยิงและความไร้ค่าขององค์ประกอบอันแท้จริงของความรุ่งเรืองซึ่งปรากฏในรูปแบบของความเชื่อในโชคชะตา อันเป็นผลที่เราจะพบได้แม้แต่ในงานเขียนของมุสลิม อีกอย่างหนึ่ง คือ ความคิดในแง่ร้ายและความระแวงสงสัย “การมีความคิดในแง่ร้าย ” ต่อสิ่งถูกสร้างและพระผู้สร้างผู้บริสุทธิ์ เหล่านี้เป็นผลสะท้อนสองอย่างของความอยุติธรรมในเรื่องความคิดและความเชื่อ


เขียนโดย ชะฮีดมุเฏาะฮะรี
แปล จรัญ มะลูลีม