เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อย่าให้มัสยิดร้องเรียนต่ออัลลอฮ์ในวันกิยามะฮ์

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

อย่าให้มัสยิดร้องเรียนต่ออัลลอฮ์ในวันกิยามะฮ์

 

สถานะที่เป็นพิเศษของมัสยิดในอิสลามนั้น จำเป็นต้องได้รับความสนใจที่เหมาะสมจากสังคมอิสลาม หากมิเช่นนั้นแล้วมัสยิดจะไปร้องเรียนต่อพระผู้เป็นเจ้าในวันกิยามะฮ์ ดังที่ ท่านอิมามญะอ์ฟัร อัซซอดิก (อ.) ได้กล่าวว่า :

 

ثَلَاثَةٌ يَشْكُونَ إِلَى اللَّهِ عَزَّ وَ جَلَّ : مَسْجِدٌ خَرَابٌ لَا يُصَلِّي فِيهِ أَهْلُهُ  وَ عَالِمٌ بَيْنَ جُهَّالٍ وَ مُصْحَفٌ مُعَلَّقٌ قَدْ وَقَعَ عَلَيْهِ الْغُبَارُ لَا يُقْرَأُ فِيهِ

  

  "สามสิ่งที่จะทำการร้องเรียน (มนุษย์) ต่ออัลลอฮ์ ผู้ทรงเกริกเกียรติ ผู้ทรงเกรียงไกร (ในวันกิยามะฮ์) คือ : 1.มัสยิดที่ผู้ฟังโดยที่สรรพบุรุษของมันไม่ทำนมาซในมัน 2.ผู้รู้ (ศาสนา) ที่อยู่ท่ามกลางคนโง่เขลา (โดยไม่ถูกใช้ประโยชน์จากความรู้ของเขา) 3.คัมภีร์ (อัลกุรอาน) ที่ถูกปิดไว้จนฝุ่นจับโดยที่ไม่ได้อ่าน" (1)

 

    ในริวายะฮ์ (คำรายงาน) อีกบทหนึ่ง ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ได้กล่าวว่า :

 

 یَجِی‏ءُ یَوْمَ الْقِیَامَةِ ثَلَاثَةٌ یَشْکُونَ الْمُصْحَفُ وَ الْمَسْجِدُ وَ الْعِتْرَةُ یَقُولُ الْمُصْحَفُ یَا رَبِّ حَرَّفُونِی وَ مَزَّقُونِی وَ یَقُولُ الْمَسْجِدُ یَا رَبِّ عَطَّلُونِی وَ ضَیَّعُونِی وَ یَقُولُ الْعِتْرَةُ یَا رَبِّ قَتَلُونَا وَ طَرَدُونَا وَ شَرَّدُونَا فَأَجْثُو لِلرُّکْبَتَیْنِ لِلْخُصُومَةِ فَیَقُولُ اللَّهُ جَلَّ جَلَالُهُ لِی أَنَا أَوْلَى بِذَلِكَ

 

"สามสิ่งจะมาร้องเรียนในวันกิยามะฮ์ คือ : อัลกุรอาน มัสยิดและอิตเราะฮ์ (ครอบครัวของศาสดา) อัลกุรอานจะกล่าวว่า : โอ้พระผู้อภิบาลของข้าฯ ! พวกเขาเผาข้าฯ และฉีกข้าฯ และมัสยิดจะกล่าวว่า : โอ้พระผู้อภิบาลของข้าฯ ! พวกเขาทิ้งหายไปจากข้าฯ และทำให้ข้าฯ ผุพังลง (โดยไม่สนใจ) และอิตเราะฮ์ (ครอบครัวของท่านศาสดา) จะกล่าวว่า : โอ้พระผู้อภิบาลของเหล่าข้าฯ ! พวกเขาสังหารเหล่าข้าฯ พวกเขาได้ผลักไสเหล่าข้าฯ และขับไล่เหล่าข้าฯ ในช่วงเวลานั้นฉันจะนั่งคุกเข่าเพื่อวอนขอให้ (อัลลอฮ์) ทำการพิพากษาคู่กรณี (ทั้งสาม) ดังนั้นอัลลอฮ์ ผู้ทรงเกรียงไกรจะทรงตรัสกับฉันว่า ข้าคู่ควรยิ่งที่จะจัดการต่อสิ่งนั้น" (2)

 

    การไม่ให้ความสำคัญต่อมัสยิดนั้น อาจจะเป็นในลักษณะต่างๆ เช่น การล็อกประตูมัสยิดโดยไม่มีการนมาซประจำวัน หรือผู้คนไปมายังมัสยิดจำนวนน้อยและการมีกิจกรรมทางศาสนาน้อย ดังนั้นเราต้องระมัดระวัง ไม่ใช่ว่าเราจะจัดสรรเงินไว้สำหรับสันทนาการและการเดินทางท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจของตน แต่สำหรับการช่วยเหลือมัสยิดเรากลับตระหนี่ถี่เหนียว เราจะจะต้องระมัดระวังพฤติกรรมของเราที่ปฏิบัติไม่เหมาะสมกับเยาวชนคนหนุ่มสาวของเราที่จะเป็นเหตุทำให้พวกเขาหันห่างออกจากการมามัสยิด (อย่างไรก็ดี เยาวชนและคนหนุ่มสาวเองก็จำเป็นจะต้องรักษาและเคารพเกียรติของมัสยิดด้วยเช่นกัน พฤติกรรมและการแต่งกายของพวกเขาจะต้องเหมาะสมกับสถานะของมัสยิดด้วย)  และเราซึ่งมีบ้านอยู่ใกล้เคียงกับมัสยิดจะต้องระมัดระวังในการให้ความสำคัญต่อการนมาซญะมาอัตในมัสยิด

 

    ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า :

 

لا صَلاةَ لِجارِ المَسجِدِ إلاّ في المَسجدِ ، إلاّ أن يكونَ لَهُ عُذرٌ أو بهِ عِلَّةٌ ، فقيلَ : ومَن جارُ المَسجدِ يا أميرَ المؤمنينَ ؟ قالَ : مَن سَمِعَ النِّداءَ

 

"นมาซจะไม่ถูกยอมรับสำหรับผู้ที่อยู่ใกล้เคียงมัสยิด นอกจาก (การนมาซ) ในมัสยิด เว้นแต่ผู้มีอุปสรรคหรือความป่วยไข้ มีผู้กล่าวว่า : โอ้ท่านอมีรุ้ลมุอ์มินีน! ผู้อยู่ใกล้เคียงมัสยิดคือใคร? ท่านกล่าวว่า : ผู้ที่ได้ยินเสียง (อาซาน) เรียก (ไปสู่การนมาซ)" (3)

 

แหล่งอ้างอิง :

 

1)- อัลกาฟี , เล่มที่ 2 , หน้าที่ 613

2)- อัล คิซ้อล, เล่มที่ 1 , หน้าที่ 175

3)- บิฮารุ้ลอันวาร, เล่มที่ 83, หน้าที่ 379; มุนตะค็อบ มีซานุ้ลฮิกมะฮ์, หน้าที่ 266

 

บคความ : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม