เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ประวัติศาสตร์ มุบาฮะละฮ์ ตอนที่ 1

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ประวัติศาสตร์ มุบาฮะละฮ์ ตอนที่ 1

 

เหตุเกิดวันที่ 24 เดือน ซุลฮิจญะฮ์ ปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 9

 

มุบาฮะละฮ์มีหลักฐานระบุว่า เป็นเรื่องจริง เป็นความภาคภูมิใจของประชาชาติมุสลิม

 

1-เกร็ดประวัติศาสตร์


เมื่อท่านนบีมุฮัมมัด(ศ็อลฯ)ได้ประกาศศาสนาอิสลาม ที่มักกะฮ์ 13 ปี ต่อจากนั้นท่านก้อพยพไปตั้งรัฐอิสลามขึ้นที่นครมะดีนะฮ์ แล้วท่านได้เริ่มส่งสารไปยังกษัตริย์และผู้ปกครองในดินแดนต่างๆ
เพื่อเชิญชวนพวกเขาสู่อิสลาม


สารฉบับหนึ่งส่งมาที่เมืองนัจญ์รอน ประเทศซาอุดิอารเบีย เป็นที่อยู่อาศัยของชาวนะซอรอและยะฮูดี(คริสต์และยิว)

อบูฮาริษะฮ์(ดำรงตำแหน่งอุสกุฟ-สังฆนายก)แห่งเมืองนัจญ์รอนได้รับสารจากท่านนบี


อุสกุฟได้อ่านเนื้อหาอย่างละเอียดจากนั้นได้สั่งประชุมทันที มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้นำศาสนา, นักการเมืองและผู้สูงศักดิ์
มติในที่ประชุมมีว่า ให้ส่งคณะทูตไปเมืองมะดีนะฮ์ เพื่อตรวจสอบความจริงเกี่ยวกับการเป็นศาสดาของท่านนบีมุฮัมมัด(ศ็อลฯ)


ที่ประชุมได้คัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิได้ 60 คนเพื่อปฏิบัติภารกิจสำคัญนี้ มีหัวหน้าคณะ 3 คนคือ
1- สังฆราช อบูฮาริษะฮ์
2-อากิ๊บ (อับดุลมะซีห์) กุนซือเจ้าความคิด
3-อัยฮัม ผู้อาวุโสทั้งอายุและสมณศักดิ์

 

คณะทูตคริสเตียนเดินทางมาถึงเมืองมะดีนะฮ์ และได้เข้าพบนบีมุฮัมมัด(ศ็อลฯ)ที่มัสยิดมะดีนะฮ์(ขณะนั้นท่านนบีพึ่งนมาซอัศริเสร็จ) ชาวคริสต์ทุกคนสวมชุดนักบุญ ทอจากผ้าไหม สวมแหวนทอง แบกไม้กางเขนไว้ทบนบ่า งดงามตระการตา


พวกเขาให้สลามท่านนบี ท่านนบีได้ตอบรับสลาม และให้การต้อนรับพวกเขาอย่างสมเกียรติ พร้อมกับรับของกำนัลที่พวกเขานำมามอบให้


พอดีเวลาอัศริเป็นเวลาสวดมนต์ของศาสนาคริสต์ ชาวคริสต์จึงขออนุญาตท่านนบี(ศ็อลฯ)สวดมนต์ในมัสยิด บรรดาซอฮาบะฮ์ต้องการขัดขวาง


แต่ท่านนบี(ศ็อลฯ)อนุญาตให้พวกเขาสวดได้ ท่านนบี(ศ็อลฯ)บอกกับบรรดามุสลิมว่า ปล่อยให้พวกเขาทำเถิด


หลังจากสวดมนต์เสร็จ พวกเขาได้หันมาสนทนากับท่านนบี(ศ็อลฯ)


ท่าน(ศ็อลฯ)นบีได้กล่าวกับสังฆราชและอากิ๊บว่า : จงเข้ารับอิสลามเถิด


ทั้งสองตอบว่า : เรารับอิสลามก่อนท่านนานแล้ว


ท่านนบีกล่าวว่า : มีบางสิ่งที่ขัดขวางท่านทั้งสองมิให้เข้ารับอิสลาม พวกท่านอ้างว่าพระเจ้ามีบุตร พวกท่านกราบไหว้ไม้กางเขน และทานเนื้อสุกร ทั้งสองตอบว่า : หากพระเยซูไม่ใช่บุตรของพระเจ้า แล้วใครเป็นบิดาของเขาล่ะ

 

อีกรายงานหนึ่งเล่าว่า


ชาวคริสต์ทั้งสองถามท่านนบี(ศ็อลฯ)ว่า : ท่านจะว่าอย่างไรเกี่ยวกับอีซา(เยซู)
ท่านนบี(ศ็อลฯ)เงียบไม่ตอบสิ่งใด จนอัลกุรอานได้ประทานลงมาว่า

 

إِنَّ مَثَلَ عِيسَى عِنْدَ اللَّهِ كَمَثَلِ آدَمَ خَلَقَهُ مِنْ تُرَابٍ ثُمَّ قَالَ لَهُ كُنْ فَيَكُونُ

 

แท้จริงอุปมาเรื่องอีซา ณ. อัลลอฮ์ เปรียบดั่งอาดัม พระองค์ทรงสร้างเขามาจากดิน แล้วทรงตรัสกับเขาว่า จงเป็นแล้วเขาก็เป็นขึ้นมา (อาลิอิมรอน : 59)

 

เมื่ออัลลอฮ์ ตะอาลา ทรงสร้างอาดัมมาจากดินโดยไม่มีบิดามารดา แล้วทรงสร้างอีซามาจากมารดาฝ่ายเดียวโดยไม่มีบิดา ย่อมถือว่ามหัศจรรย์น้อยกว่าเรื่องของอาดัมอีก
การสนทนายังดำเนินต่อไปจนคณะทูตแห่งนัจญ์รอนกล่าวกับท่านนบี(ศ็อลฯ)ว่า เราไม่เห็นได้อะไรเพิ่มจากท่านเลยในเรื่องของผู้ที่เรานับถือ


นอกจาก แค่ความแตกต่างระหว่างพระเยซูกับอาดัมในด้านที่มีแม่กับไม่มีพ่อแม่เท่านั้น


เราจึงไม่ขอยอมรับข้อพิสูจน์ที่ท่านยกมา อัลลอฮ์ตะอาลาจึงทรงประทานโองการที่ 61 ซูเราะฮ์อาลิอิมรอนลงมา


ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ็อลฯ)จึงท้าฝ่ายนะซอรอ(คริสต์)ให้มาทำมุบาฮะละฮ์กัน ซึ่งฝ่ายนะซอรอขอพลัดไปวันพรุ่งนี้ ตอนเช้าจนถึงดวงอาทิตย์ขึ้น นี่คือที่มาของ(โองการ มุบาฮะละฮ์ )

 

มีบางรายงานเล่าว่า : สังฆราชได้ถามท่านนบี(ศ็อลฯ)ว่า ท่านจะว่าอย่างเกี่ยวกับพระเยซู


ท่านนบีตอบว่า เขาเป็นบ่าวคนหนึ่งของอัลลอฮ์ พระองค์ทรงคัดเลือกเขามาเป็นศาสดา


สังฆราชกล่าวว่า อีซามีบิดาหรือไม่ ท่านนบีตอบว่า มารดาเขาไม่เคยสมรสกับใครแล้วจะมีบิดาได้อย่างไร


สังฆราชกล่าวว่า แล้วท่านมาบอกว่า เขาเป็นบ่าวคนหนึ่งได้อย่างไร ท่านเคยเห็นมนุษย์คนไหนที่เกิดมาโดยไม่มีบิดาบ้างไหม


อัลลอฮ์ ตะอาลา จึงทรงประทานโองการลงมาว่า

 

إِنَّ مَثَلَ عِيسَى عِنْدَ اللَّهِ كَمَثَلِ آَدَمَ خَلَقَهُ مِنْ تُرَابٍ ثُمَّ قَالَ لَهُ كُنْ فَيَكُونُ (59) الْحَقُّ مِنْ رَبِّكَ فَلَا تَكُنْ مِنَ الْمُمْتَرِينَ (60) فَمَنْ حَاجَّكَ فِيهِ مِنْ بَعْدِ مَا جَاءَكَ مِنَ الْعِلْمِ فَقُلْ تَعَالَوْا نَدْعُ أَبْنَاءَنَا وَأَبْنَاءَكُمْ وَنِسَاءَنَا وَنِسَاءَكُمْ وَأَنْفُسَنَا وَأَنْفُسَكُمْ ثُمَّ نَبْتَهِلْ فَنَجْعَلْ لَعْنَةَ اللَّهِ عَلَى الْكَاذِبِينَ (61)

 

“แท้จริงอุปมาของอีซานั้น ดังอุปมัยของอาดัม พระองค์ทรงบังเกิดเขาจากดิน และได้ทรงประกาศิตแก่เขาว่า จงเป็นขึ้นเถิด แล้วเขาก็เป็นขึ้น
ความจริงนั้นมาจากพระผู้อภิบาลของเจ้า ดังนั้นจงอย่าเป็นหนึ่งในหมู่ผู้สงสัยเป็นอันขาด ดังนั้นผู้ใดที่โต้เถียงเจ้า(มุฮัมมัด)ในเรื่องของอีซา(ว่าเป็นบุตรของพระเจ้า)
หลังจากที่ได้มีความรู้มายังเจ้าแล้ว จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)ว่า ท่านทั้งหลาย(ชาวคริสต์)จงมาเถิด เราก็จะเรียกลูก ๆ ของเรา และลูกของพวกท่านและเรียกบรรดาผู้หญิงของเรา และบรรดาผู้หญิงของพวกท่านและตัวของเรา และตัวของพวกท่าน

และเราจะมาวิงวอน (ต่อพระเจ้า)กัน ด้วยความนอบน้อม โดยที่เราจะขอให้อัลลอฮ์ทรงลงโทษทัณฑ์แก่บรรดาผู้โกหก”


(อาลิอิมรอน: 59 – 61)


ท่านนบี(ศ็อลฯ)ได้อ่านโองการดังกล่าวให้ชาวคริสต์ฟัง และได้ท้าพวกเขาให้มาทำมุบาฮะละฮ์กัน


ท่านนบีกล่าวว่า แท้จริงอัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงแจ้งแก่ฉันว่า อะซาบโทษทัณฑ์จะลงมายังผู้อยู่กับความเท็จหลังการทำมุบาฮะละฮ์ เพื่อจะแสดงให้เห็นว่าฝ่ายใดถูกและฝ่ายใดผิด

 

ชาวคริสต์ได้ขอเลื่อนเวลาการทำมุบาฮะละฮ์ไปวันพรุ่งนี้ จากนั้นพวกเขาได้กลับไปปรึกษาหารือกัน


สังฆราชกล่าวกับพวกเขาว่า จงสังเกตุดูว่าพรุ่งนี้ หากมุฮัมมัดพาลูกและครอบครัวของเขาออกมาสาบาน พวกเจ้าจงอย่ามุบาฮะละฮ์กับเขา

 

รุ่งเช้าท่านนบี(ศ็อลฯ)จูงมือท่านอะลีมา โดยที่มีฮะซันและฮูเซนเดินอยู่ข้างหน้า ส่วนท่านหญิงฟาฏิมะฮ์บุตรสาวเดินอยู่ข้างหลัง

 

สังฆราชเดินนำหน้าคณะมา พอเห็นนบี(ศ็อลฯ)เดินตรงมาหา เขาจึงถามว่า ท่านพาใครมามุบาฮะละฮ์


ท่าน(ศ็อลฯ)ตอบว่า


นี่อาลี ลูกของลุงฉันและเป็นบุตรเขยของฉัน เขาเป็นบิดาของหลานชายทั้งสองของฉัน เขาคือคนที่ฉันรักมากที่สุด

 

เด็กสองคนนี้เป็นบุตรของลูกสาวฉันที่เกิดจากอะลีทั้งสองเป็นที่รักยิ่งของฉัน

 

ส่วนสตรีนางนี้ชื่อฟาฏิมะฮ์ นางเป็นสตรีที่มีเกียรติมากที่สุดและเป็นญาติที่สนิทที่สุดของฉัน

 

สังฆราชหันมามองอากิบและอับดุลมะซีห์ พลางกล่าวกับพวกเขาว่า จงดูเถิด มุฮัมมัดพาบุตรกับครอบครัวของเขาออกมามุบาฮะละฮ์กับพวกเราเพื่อปกป้องสัจธรรมของเขา
ชาวคริสต์หวั่นเกรงว่า จะเกิดเพทภัยกับพวกเขาและไม่กล้าทำมุบาฮะละฮ์ด้วย แต่ขอประนีประนอมกับฝ่ายมุสลิมโดยยอมจ่ายญิซยะฮ์(บรรณาการ)แทน
ท่านนบี(ศ็อลฯ)ยอมรับข้อเสนอของฝ่ายคริสต์คือ ยอมรับญิซยะฮ์แทนจากนั้นชาวคริสต์จึงได้ลากลับไป


ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป และข้อความ

 

บทความโดย เชคอับดุลญะวาด สว่างวรรณ

 

 โปรดรออ่านตอนต่อไป

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม