เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

คุณลักษณะของบรรดาผู้ยำเกรง ประการที่ 7

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

คุณลักษณะของบรรดาผู้ยำเกรง ประการที่ 7

 

ท่านอิมามอะลี(อ) ได้กล่าวว่า


لَوْلا الْاَجَلُ الَّذِي کَتَبَ اللّهُ عَلَیْهِمْ لَمْ تَستَقِرَّ أَرْوَاحُهُمْ فِي أَجْسَادِهِمْ طَرْفَةَ عَين
 

“หากแม้นไม่อาญัล (กำหนดอายุขัย) ที่อัลลอฮ์ ทรงกำหนดไว้สำหรับเขาแล้วไซร้ วิญญาณของพวกเขาจะไม่สิ่งอยู่ในร่างแม้เพียงชั่วพริบตาเดียว”


ซึ่งมุสลิมต้องเชื่อว่า ทุกคนมีกำหนดระยะเวลาที่จะต้องมาอยู่บนโลกนี้ซึ่งเรียกว่า อาญัล ถ้าเกิดคนใดมีอาญัล ที่จะต้องอยู่ถึง 100 ปีเขาก็จะต้องอยู่ 100 ปีเขาจะเสียชีวิตก่อนเวลาที่อัลลอฮ์ (ซบ.)กำหนดให้เขาไม่ได้แต่บรรดามุตตะกีน ถ้าหากไม่ใช่เพราะเวลาที่กำหนด วิญญาณของเขาก็จะไม่อยู่ในเรือนร่างของเขาแม้แต่กระพริบตาเดียว การที่เขาดำรงอยู่บนโลกนี้ไม่ใช่เพราะเขาหลงใหลในโลกนี้ ไม่ใช่เพราะเขาสนุกสนานในโลกนี้ แต่ที่ต้องดำรงชีวิตด้วยปัจจัยยังชีพเพราะอัลลอฮ์(ซบ.) ได้บันทึกกำหนดเวลาให้กับเขาแล้ว ดังนั้นเขาจึงจำเป็นที่จะต้องอยู่ต่อไปเพื่อที่จะให้ครบตามเวลากำหนดแต่ถ้าไม่ใช่เพราะเวลาที่ถูกกำหนดแล้ว วิญญาณของเขาก็ไม่พร้อมที่จะอยู่ในร่างกายของเขาแม้แต่กระพริบตาเดียว ไม่ใช่วินาทีเดียว


ซึ่งเรามาดูสาเหตุทำไมจึงเป็นอย่างนั้น ทำไมเขาไม่อยากมีชีวิตอยู่แม้เพียงกระพริบตาเดียว


ท่านอิมามอะลี(อ) กล่าวว่า


شَوْقًا إِلَی الثَّوَابِ ، وَ خَوفًا مِنَ الْعِقَابِ
 

“ เพราะ(พวกเขา) ปรารถนาที่จะได้รับรางวัลและกลัวการลงโทษ”


ซึ่งแน่นอน ความเชื่อที่มีในตัวมนุษย์ที่ว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วสำหรับศาสนาที่สอนให้มนุษย์รู้จักบาปบุญคุณโทษ ศาสนาที่สอนให้มนุษย์รู้จักสวรรค์ นรก เชื่อในผลกรรมดีและผลกรรมชั่วใครที่ทำดีเขาก็จะได้รับผลตอบแทนที่ดี ใครที่ทำชั่วเขาก็จะได้รับผลตอบแทนที่เจ็บปวด ซึ่งในหลายศาสนาก็จะอธิบายในลักษณะของนรกและสวรรค์ หรือผลบุญและการลงโทษ


ดังนั้นคนที่เป็นมุตตะกีนที่แท้จริง เขาอยู่ในโลกนี้เพราะเขาถือว่าเขาเป็นคนดี ดังนั้นเมื่อเขาเป็นคนดีซึ่งตามความเชื่อของมุสลิมนั้นรางวัลแห่งความดีมนุษย์จะได้รับอย่างสมบูรณ์ต่อเมื่อเขาได้จากโลกนี้ไป คือเชื่อในปรโลก อีกโลกหนึ่งเป็นโลกแห่งการตอบแทนความดีของมนุษย์ ความดีนั้นเขาจะได้รับการตอบแทนทั้งโลกนี้และโลกหน้า คนที่ทำดีไม่จำเป็นต้องไปรอผลการตอบแทนในโลกหน้า ในโลกนี้ที่เขาอาศัยอยู่ก็จะมีผลดีของมันในการที่เขานั้นได้กระทำดี แต่การตอบแทนที่สมบูรณ์นั้นจะไปเกิดในโลกหน้า ดังนั้น ผู้มีตักวาเมื่อเขาได้ทำความดีอย่างมากมายและรางวัลที่เขาจะได้รับอย่างสมบูรณ์อยู่อีกโลกหนึ่ง ดังนั้นเขาถือว่าไม่มีเหตุผลใดที่เขาจะมารั้งตัวเองในโลกนี้ เพื่อเสวยสุขเพียงเล็กน้อยและเป็นความสุขที่ไม่ถาวร ไม่นิรันดร ทั้งๆที่โลกหน้าหรือปรโลกตามความเชื่อของศาสนาอิสลามถือว่าเป็นโลกที่นิรันดร เป็นโลกที่ไม่สิ้นสุด ดังนั้นเหตุผลก็คือเขาก็จะรีบไปโลกหน้าเพื่อที่จะไปรับรางวัลและกลัวการลงโทษในโลกหน้า


ทำไมบรรดามุตตะกีนจะต้องกลัวการลงโทษทั้งๆที่เขาเป็นคนดี


เหตุผลอันหนึ่งคือว่า การดำเนินชีวิตของมนุษย์ในโลกนี้นั้นผิดได้ตลอดเวลา ดังนั้นก่อนที่ความผิดพลาดของเขาจะเกิดในโลกนี้ เรามาดูในประโยคแรก สาเหตุหนึ่งที่บรรดามุตตะกีน ต้องการจากโลกนี้ไปอย่างรวดเร็วเพราะความต้องการในการที่จะไปรับความดี รางวัลการตอบแทนที่พระเจ้าให้กับเขาแต่คำที่ตามหลังมาก็ยังมีอีกเหตุผลหนึ่งที่จะทำให้เขาต้องการจากโลกนี้อย่างรวดเร็ว เหมือนกันในลักษณะเดียวกันก็คือไม่อยากจะอยู่ในโลกนี้แม้แต่เพียงกระพริบตาเดียว เหตุผลอันที่สองเพราะความกลัวในความผิดเพราะผู้ที่มีตักวาที่แท้จริงนั้นรู้ว่าโลกนี้เป็นโลกแห่งการทดสอบ มนุษย์ถูกส่งมาในโลกนี้เพื่อการทดสอบศรัทธาของเขา ดังนั้นถ้าใครผ่านโลกแห่งการทดสอบเขาก็จะได้รับรางวัลส่วนคนที่ไม่ผ่านการทดสอบ คือผิดพลาดในการดำเนินชีวิต


การดำเนินชีวิตที่ไม่ได้ตรงตามศาสนาสั่งสอน ไม่ได้ตามที่ศาสนาต้องการ บทสรุปของความผิดพลาดก็คือการลงโทษซึ่งมนุษย์โดยปกติแล้วผิดพลาดได้เสมอถ้ากล่าวแบบง่ายๆคือคะแนนดียังมีอยู่ คะแนนเสียยังไม่เกิด เราก็ควรที่จะจากโลกนี้ไป และด้วยสองเหตุผลข้างต้นที่ทำให้บรรดามุตตะกีน บรรดาผู้มีความยำเกรงต่อพระเจ้าอย่างแท้จริงไม่อยู่ในโลกนี้คือ


1-จะรีบไปรับรางวัล
2-กลัวการลงโทษ


จากคนที่ไม่เคยกระทำผิดพลาดอาจจะพบสิ่งที่เย้ายวนในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเงินทองหรือยศถาบรรดาศักดิ์และอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่อาจจะทำให้เขาตกหลุมพรางที่จะพลิกผันชะตากรรมจากผู้ที่ได้รับรางวัลกลายเป็นผู้ที่ถูกลงโทษ

 

ที่มา หนังสือ ซีฟัต อัลมุตตะกีน คุณลักษณะของผู้ยำเกรง
โดย ฮุจญะตุลอิสลาม ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม