เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

สิทธิและหน้าที่การดูแลบุตรจากคำรายงานของอะฮ์ลุลบัยต์ (อ) ตอนที่ 3

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

สิทธิและหน้าที่การดูแลบุตรจากคำรายงานของอะฮ์ลุลบัยต์ (อ) ตอนที่ 3

 

การให้เกียรติต่อบุตร

 

    เกียรติและศักดิ์ศรีเป็นหนึ่งจากปัจจัยที่สำคัญของการเสริมสร้างบุคลิกภาพที่สมบูรณ์และการพฤติกรรมที่ดีงาม ดังวจนะของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่กล่าวว่า :

 

مَنْ كَرُمَتْ عَلَيْهِ نَفْسُهُ هَانَتْ عَلَيْهِ شَهْوَتُهُ

 

“ผู้ใดก็ตามที่ (เห็น) ตัวเขาของมีเกียรติ อารมณ์ฝ่ายต่ำของเขาก็จะไม่มีค่าใดๆ สำหรับเขา” (29)

 

    ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ที่ควบคู่ไปกับการแสดงความเมตตาและความเอ็นดูต่อลูกๆ แล้วยังจำเป็นที่เราจะต้องเสริมสร้างจิตวิญญาณแห่งความรู้สึกถึงเกียรติและศักดิ์ศรีให้เกิดขึ้นในตัวลูกๆ ของเราด้วย

 

    ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า :

 

أَكْرِمُوا أَوْلادَكُمْ وَأَحْسِنُوا آدابَهُمْ يُغْفَرْ لَكُمْ

 

“ท่านทั้งหลายจงให้เกียรติลูกๆ ของพวกท่านและจงอบรมมารยาทที่ดีงามแก่พวกเขา แล้วพวกท่านจะได้รับการอภัยโทษ” (30)

 

การให้เกียรติลูกด้วยการตั้งชื่อที่ดี

 

     ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า :

 

إِنَّ أَوَّلَ مَا يَنْحَلُ بِهِ أَحَدُكُمْ وَلَدَهُ الْإِسْمُ الْحَسَنُ فَلْيُحْسِنْ أَحَدُكُمُ اسْمَ وَلَدِهِ

 

“แท้จริงของขวัญชิ้นแรกที่ (พ่อ) คนหนึ่งคนใดจากพวกท่านจะมอบให้แก่ลูกของตน คือชื่อที่ดี ดังนั้นแต่ละคนจากพวกท่านจงตั้งชื่อที่ดีแก่ลูกของตนเถิด” (31)

 

    และท่านยังได้กล่าวอีกว่า :

 

إِذَا سَمَّيْتُمُ الْوَلَدَ مُحَمَّدًا فَأَكْرِمُوْهُ وَ أَوْسِعُوْا لَهُ فِي الْمَجَالِسِ وَلَا تُقَبِّحُوْا لَهُ وَجْهًا

 

“เมื่อใดก็ตามที่พวกท่านตั้งชื่อลูกชายว่า “มุฮัมมัด” ดังนั้นพวกท่านก็จงให้เกียรติพวกเขาและจงเปิดที่ให้แก่เขาในสถานที่นั่งชุมนุมต่างๆ และอย่าทำหน้าที่น่ารังเกียจใส่เขา” (32)

 

รางวัลของการตั้งชื่อด้วยชื่อของท่านศาสดา (ซ็อลฯ)

 

    ท่านศาสทูตของอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า :

 

مَا مِنْ مَائِدَةٍ وُضِعَتْ وَ حَضَرَ عَلَيْهَا مَنِ اسْمُهُ  أَحْمَدُ أَوْ مُحَمَّدٌ إلَّا قُدِّسَ ذَلِكَ الْمَنْزِلُ فِي كُلِّ يَوْمٍ مَرَّتَيْنِ

 

“ไม่มีสำรับอาหารใดที่ถูกวางและบุคคลที่มีชื่อว่าอะห์มัดหรือมุฮัมมัดได้เข้าร่วมในสำรับอาหารนั้น เว้นแต่ว่าบ้านหลังนั้นจะถูกทำให้บริสุทธิ์สองครั้งในทุกวัน” (33)

 

การแต่งงานของลูก

 

     ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า :

 

مِنْ حَقِّ الْوَلَدِ عَلَى وَالِدِهِ ثَلَاثَةٌ يُحَسِّنُ اسْمَهُ وَ يُعَلِّمُهُ الْكِتَابَةَ وَ يُزَوِّجُهُ إِذَا بَلَغَ

 

“ส่วนหนึ่งจากสิทธิของลูกเหนือบิดาของเขามีสามประการคือ เขาจะตั้งชื่อที่ดีแก่ลูกของเขา สอนคัมภีร์อัลกุรอานแก่เขาและแต่งงานให้แก่เขาเมื่อเขาบรรลุนิติภาวะ” (34)

การช่วยเหลือลูก

 

    ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า :

 

رَحِمَ اللَّهُ مَنْ أَعَانَ وَلَدَهُ عَلَى بِرِّهِ. قَالَ : قُلْتُ : وَ كَيْفَ يُعِينُهُ عَلَى بِرِّهِ؟ قَالَ : يَقْبَلُ مَيْسُورَهُ ، وَ يَتَجَاوَزُ عَنْ مَعْسُورِهِ

 

“ขออัลลอฮ์ทรงเมตตาผู้ที่ช่วยเหลือลูกของเขาในการทำดีต่อเขา” ผู้รายงานได้กล่าวว่า: “เขาจะช่วยเหลือลูกในการทำดีต่อเขาได้อย่างไร?” ท่านกล่าวว่า: “ยอมรับสิ่งที่ง่าย (ต่อการปฏิบัติ) ของเขาและมองข้าม (ไม่เอาโทษ) จากจากสิ่งที่ยาก (ต่อการปฏิบัติ) ของเขา” (35)

 

การระวังรักษาความเท่าเทียมกันระหว่างลูกๆ

 

      ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า :

 

سَوَّوْا بَيْنَ أَوْلَادِكُمْ بِالْعَطَيَّةِ

 

“ท่านทั้งหลายจงปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันในระหว่างลูกๆ ของพวกท่านในเรื่องการให้” (36)

 

    และยังมีรายงานอีกเช่นกันว่า :

 

أَنَّ النَّبِيِّ (صلى الله عليه و آله) أَبْصِرَ رَجُلًا لَهُ وَلَدَيْنِ فَقَبَّلَ أَحَدَهُمَا وَ تَرَكَ الْآخَرَ، فَقَالَ رَسُوْلُ اللَّهِ  (صلى الله عليه و آله) : فَهَلَّا وَاسَيْتَ بَيْنَهُمَا

 

“ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้มองดูชายคนหนึ่งซึ่งมีลูกสองคน โดยที่เขาได้จูบคนหนึ่งและละทิ้งจากการจูบอีกคนหนึ่ง ดังนั้นท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ) จึงกล่าว (กับเขา) ว่า : แล้วทำไมท่านจึงไม่ปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันในระหว่างทั้งสองคน” (37)

 

     ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า :

 

إِعْدِلُوْا بَيْنَ أَوْلَادِكُمْ (فِي السِّرِّ) كَمَا تُحِبُّوْنَ أَنْ يَعْدِلُوْا بَيْنَكُمْ فِي الْبِرِّ وَ اللُّطْفِ

 

“ท่านทั้งหลายจงปฏิบัติด้วยความยุติธรรมระหว่างลูกๆ (แม้ในที่ลับ) เช่นเดียวกับที่พวกท่านปรารถนาจะให้พวกเขาปฏิบัติด้วยความยุติธรรมระหว่างพวกท่านในเรื่องของการทำดีและความเมตตา” (38)

 

การให้ความสำคัญกับการทำดีต่อลูกผู้หญิงก่อน

 

    ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ) กล่าวว่า:

 

مَنْ دَخَلَ اَلسُّوقَ فَاشْتَرَى تُحْفَةً فَحَمَلَهَا إِلَى عِيَالِهِ كَانَ كَحَامِلِ صَدَقَةٍ إِلَى قَوْمٍ مَحَاوِيجَ وَ لْيَبْدَأْ بِالْإِنَاثِ قَبْلَ اَلذُّكُورِ فَإِنَّ مَنْ فَرَّحَ أُنْثَىهُ فَكَأَنَّمَا أَعْتَقَ رَقَبَةً مِنْ وُلْدِ إِسْمَاعِيلَ

 

 “ผู้ใดก็ตามที่เข้าตลาดและซื้อของฝากแล้วนำไปมอบให้แก่ครอบครัวของตน ก็ประหนึ่งดั่งผู้ที่นำซอดะเกาะฮ์ (ทาน) ไปมอบให้แก่กลุ่มชนที่ขัดสน และเขาจงเริ่มให้กับลูกๆ ผู้หญิงก่อนลูกๆ ผู้ชาย เพราะแท้จริงผู้ใดก็ตามที่ทำให้ลูกผู้หญิงของตนดีใจ ก็ประหนึ่งดั่งว่าเขาได้ปลดปล่อยทาสคนหนึ่งจากลูกหลายของอิสมาอีล (อ.)” (39)

 

     ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ยังได้กล่าวอีกว่า :

 

سَوَّوْا بَيْنَ أَوْلَادِكُمْ بِالْعَطَيَّةِ ، وَ لَوْ كُنْتَ مُفَضِّلًا أَحَدًا لَفَضَّلْتَ الْإِنَاثَ

 

“ท่านทั้งหลายจงให้ของขวัญอย่างเท่าเทียมกันในระหว่างลูกๆ ของพวกท่าน และหากท่านจะให้ใครมากกว่า ดังนั้นก็จงให้ลูกๆ ผู้หญิงมากกว่า” (40)

 

เชิงอรรถ

 

(29). ฆุรอรุลฮิกัม, หน้าที่ 231

(30). มะการิมุลอัคลาก, หน้า 222

(31). อันนะวาดิร, หน้า 6

(32). อุยูนุล อัคบาร อัรริฎอ (อ.), เล่ม 2, หน้า 29

(33).อุยูนุล อัคบาร อัรริฎอ (อ.), เล่ม 2, หน้า 29

(34). เราเฎาะตุลวาอิซีน, หน้า 369

(35). กิตาบุซซะรออิร, เล่ม 3, หน้า 595

(36). อัลคิลาฟ, เชคฏูซี, เล่ม 3, หน้า 564

(37). อัลญะอ์ฟะรียาต, หน้า 55

(38).มะการิมุลอัคลาก, หน้า 220

(39). อัลอามาลี, เชคซอดูก, หน้า 577

(40). อัลคิลาฟ, เชคฏูซี, เล่ม 3, หน้า 564

 

แปลและเรียบเรียง : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

 

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม