เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

หลักศรัทธา 5 ประการของมุสลิมชีอะฮ์ในอัลกุรอานและวจนะของท่านนบี

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

หลักศรัทธา 5 ประการของมุสลิมชีอะฮ์ในอัลกุรอานและวจนะของท่านนบี

 

หลักศรัทธา 5 ประการของมุสลิมชีอะฮ์ คือ คำสอนที่ถูกเน้นย้ำมากที่สุดที่ปรากฏอยู่ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานและวจนะของท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ)

 

มุสลิมชีอะห์ผู้ดำเนินตามแนวทางแห่งลูกหลานนบี(แนวทางอะฮ์ลุลบัยต์นบี) มีหลักศรัทธา 5 ประการ และด้วยกับหลักศรัทธานี้ทำให้แนวคิดสุดโต่งอย่างวะฮ์ฮาบี ออกมาโจมตีว่า "พวกเขาไม่ใช่อิสลาม"


งั้นลองมาดูหลักศรัทธา 5 ประการของมุสลิมชีอะฮ์ว่าความเชื่อนี้มีอยู่ในพระคัมภีร์อัลกุรอ่านและคำสอนของท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) หรือไม่อย่างไร

 

หลักศรัทธา 5 ประการได้แก่


1- เตาฮีด หมายถึง การศรัทธามั่นต่อความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า


หลักเอกภาพ หมายถึง ความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าแห่งเอกภพ พระองค์ไม่มีส่วนประกอบและคุณลักษณะที่เพิ่มไปเหนือซาต(อาตมัน) ของพระองค์

พระองค์ตรัสไว้ในอัล-กุรอานว่า


وَمَا كَانَ مَعَهُ مِنْ إِلَهٍ إِذًا لَّذَهَبَ كُلُّ إِلَهٍ بِمَا خَلَقَ وَلَعَلَا بَعْضُهُمْ عَلَى بَعْضٍ
 

ไม่มีพระเจ้าอื่นใดร่วมเป็นภาคีกับพระองค์ หากเป็นเช่นนั้น พระเจ้าแต่ละองค์ก็จะเอาสิ่งที่ตนสร้างไปเสียหมด และแน่นอนพระเจ้าบางองค์ในหมู่พระเจ้าเหล่านั้นย่อมมีอำนาจเหนือกว่าอีกบางองค์พระองค์ได้ยืนยันถึงความเป็นเอกานุภาพของพระองค์ว่า


شَهِدَ اللّهُ أَنَّهُ لاَ إِلَهَ إِلاَّ هُوَ
 

อัลลอฮ์ (กับการสร้างจ้กรวาลและระบบ) ทรงยืนยันว่า แท้จริงไม่มีผู้ใดคู่ควรต่อการเคารพภักดี นอกจากพระองค์เท่านั้น


พระองค์ทรงอธิบายถึงความเป็นเอกานุภาพของพระองค์ที่ไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนไว้ว่า

 

قُلْ هُوَ اللَّهُ أَحَدٌ اللَّهُ الصَّمَدُ لَمْ يَلِدْ وَلَمْ يُولَدْ وَلَمْ يَكُن لَّهُ كُفُوًا أَحَدٌ
 

จงกล่าวเถิด มุฮัมมัด พระองค์คืออัลลอฮ์ ผู้ทรงเอกะ อัลลอฮ์ทรงเป็นที่พึ่ง พระองค์ไม่ให้กำเนิดและพระองค์ไม่ถูกดำเนิด และไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์

 

2- อาดิล หมายถึง การศรัทธาต่อความยุติธรรมของอัลลอฮ์ ด้วยเหตุนี้ มุสลิมทุกคนต้องมีความเชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม และทรงรักษาความยุติธรรมในทุกกิจการงานเสมอ อัลกุรอานกล่าวว่า


شَهِدَ اللّهُ أَنَّهُ لاَ إِلَهَ إِلاَّ هُوَ وَالْمَلاَئِكَةُ وَأُوْلُواْ الْعِلْمِ قَآئِمَاً بِالْقِسْطِ لاَ إِلَهَ إِلاَّ هُوَ الْعَزِيزُ الْحَكِيمُ
 

อัลลอฮ์ (กับการสร้างจ้กรวาลและระบบ) ทรงยืนยันว่า แท้จริงไม่มีผู้ใดคู่ควรต่อการเคารพภักดี นอกจากพระองค์เท่านั้น มวลมลาอิกะฮ์และผู้ทรงความรู้ต่างยืนยันตามนั้น ขณะที่พระองค์ทรงยืนหยัดบนความยุติธรรม ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณ

 

อัลกุรอานกล่าวว่า


وَنَضَعُ الْمَوَازِينَ الْقِسْطَ لِيَوْمِ الْقِيَامَةِ فَلَا تُظْلَمُ نَفْسٌ شَيْئًا
 

และเราได้วางตราชูที่เที่ยงธรรมสำหรับวันกิยามะฮ์ ดังนั้น จะไม่มีชีวิตใดถูกอธรรมแม้เพียงเล็กน้อย


บรรดานักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลกอิสลามกล่าวว่า “พระผู้เป็นเจ้าตรัสว่า ถ้าหากฉันไม่ลงโทษผู้กดขี่ ฉันคือผู้กดขี่”

 

3- นุบูวะฮ์ หมายถึง การศรัทธาว่าอัลลอฮ์ทรงส่งศาสนทูตมา เพื่อนำทางและชี้นำมนุษย์ให้ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์และพระบัญชาของพระองค์ ตามริวายะฮ์กล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าได้ประทานศาสดาลงมาถึง 124,000 องค์ให้มาทำหน้าที่ชี้นำมนุษย์ ซึ่งจากจำนวนดังกล่าวมีเฉพาะ 5 องค์เท่านั้นที่ได้รับสารจากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเรียกว่าอูลุลอัซมิ (เจ้าของบทบัญญัติและองค์พระศาสดาที่มีความอดทนอดกลั้นเป็นเลิศ) ได้แก่


ท่านศาสดานูฮ์ (อ)
ศาสดาอิบรอฮีม (อ)
ศาสดามูซา (อ)
ศาสดาอีซา (อ)
และท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ)
และ เป็นหน้าที่ของเราที่ต้องยอมรับและให้ความเคารพ และต้องเชื่อว่าท่านเหล่านั้นบริสุทธิ์จากบาปทั้งปวง

 

4- อิมามะฮ์


อิมามะฮ์ เป็นหนึ่งในหลักการศรัทธาของชีอะฮ์ ซึ่งหลังจากได้อธิบายถึงนะบูวัตแล้วทำให้ประจักษ์ชัดว่า การมีอยู่ของอิมามเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับศาสนาและสังคมเหมือนกับตำแหน่งของศาสดา ตำแหน่งศาสดาได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮ์ (ซบ.)ตำแหน่งอิมามัตและเคาะลีฟะฮ์ของท่านศาสดาผู้มีหน้าที่พิทักษ์ปกป้องอิสลาม และหลักการภายหลังจากศาสดาก็ต้องได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮ์ (ซบ. )เหมือนกัน ภารกิจนี้ไม่ใช่หน้าที่ของประชาชน ซึ่งประชาชนไม่สามารถและไม่มีสิทธิ์ทำการกำหนด หรือเลือกตั้งตัวแทนของท่านศาสดาเด็ดขาดเพราะไม่ใช่หน้าที่ของตนที่จะมาเลือกสรรตัวบุคคลขึ้น เพื่อทำการอธิบายกฏระเบียบต่างของอัลลอฮ์ (ซบ.) อัลกุรอานกล่าวว่า


اللّهُ أَعْلَمُ حَيْثُ يَجْعَلُ رِسَالَتَهُ
 

อัลลอฮ์เป็นผู้ทรงรอบรู้ยิ่ง ที่พระองค์ทรงให้มีสารของพระองค์ขึ้น


وَرَبُّكَ يَخْلُقُ مَا يَشَاءُ وَيَخْتَارُ مَا كَانَ لَهُمُ الْخِيَرَةُ سُبْحَانَ اللَّهِ وَتَعَالَى عَمَّا يُشْرِكُونَ
 

และพระผู้อภิบาลของเจ้าทรงสร้างสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์และทรงเลือก สำหรับพวกเขาไม่มีสิทธิ์ในการเลือก


ด้วยเหตุนี้ การแต่งตั้งอิมามผู้เป็นตัวแทนของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)  เป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์ (ซบ.) ที่อยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของมนุษย์ บนหลักการดังกล่าวชีอะฮ์จึงมีความเชื่อโดยหลักการว่า ด้วยพระบัญชาของพระองค์ และการดำเนินการของท่านศาสดา (ศ็อลฯ). บรรดาสิบสองอิมาม ผู้ทำหน้าที่ชี้นำประชาชาติภายหลังจากท่านศาสาดา (ศ็อลฯ) จึงได้ถูกแต่งตั้งขึ้น ซึ่งท่านศาสดาเป็นผู้ประกาศการแต่งตั้งพร้อมนามของท่านเหล่านั้นอย่างชัดเจนแก่ประชาชน

 

5- มะอาด


หลักศรัทธาอีกประการหนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับของศาสนาทั่วไปและคัมภีร์ที่มาจากพระผู้เป็นเจ้าคือ การฟื้นคืนชีพอีกครั้งภายหลังความตายในโลกหน้า หมายถึง ชีวิตของมนุษย์ไม่ได้จบสิ้นลงเนื่องจากความตาย ทว่าหลังจากโลกนี้แล้วยังมีอีกโลกหนึ่ง เป็นโลกแห่งการตอบแทนผลรางวัลแก่ผู้ที่ประกอบคุณงามความดี และลงโทษผู้ที่ประกอบกรรมชั่วทั้งหลาย อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงตรัสว่า


يَوْمَئِذٍ يَصْدُرُ النَّاسُ أَشْتَاتًا لِّيُرَوْا أَعْمَالَهُمْ َفمَن يَعمَل مِثقَالَ ذَرَّةِ خَيْرًا يَرَهُ وَمَن يَعمَل مِثقَالَ ذَرَّةِ شَرّاً يَرَهُ
 

ในวันนั้น มนุษย์จะกระจายออกมาเป็นหมู่ ๆ เพื่อให้เห็นผลงานของพวกเขาที่ได้กระทำไว้ ดังนั้น ผู้ใดกระทำความดีหนักเท่าผงธุลี เขาก็จะได้เห็น ส่วนผู้ใดกระทำความชั่วหนักเท่าผงธุลีเขาก็จะเห็นได้


สรุปก็คือ วะฮ์ฮาบี ลงฮุกุมและกล่าวหาพี่น้องมุสลิมกลุ่มนี้ว่าเป็น "กาเฟร" เหตุเพราะ เขาเชื่อว่า


- โลกนี้มีพระเจ้าองค์นามว่า อัลลอฮ์


- เชื่อในการเป็นศาสดาของท่านนบีมุฮัมมัดว่าเป็นนบีท่านสุดท้าย


- เชื่อว่าอัลลอฮ์มีความยุติธรรมจะตัดสินการกระทำของมนุษย์ด้วยความยุติธรรม


- เชื่อว่าหลังนบีต้องมีผู้นำ (อิมาม) ที่มาทำหน้าที่ปกครองทั้งศาสนจักรและอณาจักร
- เชื่อในวันกิยามัต ว่าโลกนี้จะดับสูญในที่สุดและจะมีวันเหตุการพิพากษา คือวันกิยามะฮ์


ถามว่าการเชื่อเช่นนี้ทำให้เขาต้องออกจากการเป็นมุสลิมหรือ ?


การเชื่อเช่นนี้ไม่ใช่ความเชื่อของมุสลิมหรือ ? วะฮ์ฮาบีช่วยอธิบายหน่อยได้ไหมว่า 5 ข้อที่กล่าวไปข้างต้นนั้นมีข้อใดบ้างที่ไม่ใช่ความเชื่อของมุสลิม ?
แต่หากใช่ แล้ววะฮ์ฮาบีมีสิทธิ์อะไรมาลงฮุกุ่มว่า ชีอะห์ไม่ใช่มุสลิม ? ท่านนบีกล่าวไว้ว่า

 

لا يَرْمِي رَجُلٌ رَجُلًا بالفُسُوقِ، ولا يَرْمِيهِ بالكُفْرِ، إلَّا ارْتَدَّتْ عليه، إنْ لَمْ يَكُنْ صاحِبُهُ كَذلكَ
الراوي : أبو ذر الغفاري | المحدث : البخاري | المصدر : صحيح البخاري
الصفحة أو الرقم: 6045 | خلاصة حكم المحدث : [صحيح]

 

คนหนึ่งจะไม่ได้กล่าวหาอีกคนว่า "เป็นคนชั่ว" และจะไม่กล่าวหาว่า "กุฟุร" (เป็นคนนอกศาสนาอิสลาม) นอกจากสิ่งนั้นจะย้อนกลับมาหาเขา(ผู้กล่าวหา) หากคนที่ถูกกล่าวหาไม่เป็นเช่นนั้น


อีกบทหนึ่งนบีกล่าวไว้ว่า


فَمَنْ أَكْفَرَ أَهْلَ لا إِلَهَ إِلا اللهُ فَهُوَ إِلَى الْكُفْرِ أَقْرَبُ
 

ใครก็ตามที่ตักฟีร(ไม่ใช่มุสลิม)ในขณะที่ผู้นั้นยังมีคำปฏิญาณตนว่า "لا إله الا الله" พึงรู้ไว้ว่า(ผู้ที่กล่าวหา)เขาจะเข้าใกล้การเป็น

"กุฟูร"มากเสียกว่า(ผู้ที่ถูกกล่าวหา)

 

บทความโดย เอกภาพ ชัยศิริ

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม