บทพิสูจน์เรื่อง อิมามมะฮ์ดี(อ) ประสูติแล้ว ตอนที่ 3

บทพิสูจน์เรื่อง อิมามมะฮ์ดี(อ) ประสูติแล้ว ตอนที่ 3

 

ประเด็นที่ 2 คือ การสงสัยว่า อิมามมะฮ์ดีถือกำเนิดแล้วหรือยัง ในประเด็นนี้ มุสลิมแบ่งออกเป็น 2 ความเชื่อคือ


1. ซุนนีเชื่อว่า อัลมะฮ์ดียังไม่ถือกำเนิด เขาจะถือกำเนิดในอนาคต


2. ชีอะฮ์เชื่อว่า อัลมะฮ์ดีถือกำเนิดแล้ว ในปีฮ.ศ.255 และตอนนี้ยังดำรงชีวิตอยู่

 

ประเด็นที่ 2 ข้อพิสูจน์ว่า อัลมะฮ์ดีถือกำเนิดแล้ว มีบทนำ 4 หัวข้อ

 

หัวข้อที่ 1

 

ความจริงทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนี้ ต้องได้รับการยืนยันด้วยกัน 2 วิธี คือ

 

1.พิสูจน์ด้วยฮะดีษมุตะวาติร ของทั้งสองฝ่ายคือชีอะฮ์/ซุนนี

 

2.พิสูจน์ด้วยการคำนวณความเป็นไปได้ (حِساَبُ الْاِحْتِماَلِ)ว่าอัลมะฮ์ดีถือกำเนิดแล้วจริง

 

วิธีที่ 1


การถือกำเนิดของอัลมะฮ์ดี เป็นฮะดีษมุตะวาติรอย่างที่ทราบกันดีว่า มีแหล่งที่มามากมายจากบรรดานักรายงานฮะดีษ ผู้เล่าแต่ละคนมาจากทั่วสาระทิศ การรายงานของพวกเขามีความสอดคล้องตรงกัน ฮะดีษเรื่องนี้มีผู้เล่า(รอวีย์)ถึง 200 - 300 คนได้เล่าให้เราฟังว่า อัลมะฮ์ดีบุตรชายอิมามฮะซันอัสการีย์ถือกำเนิดแล้ว ดังนั้นเป็นไปไม่ได้ที่ผู้เล่า จะรวมหัวกันโกหก ทำให้แน่ใจว่า อิมามมะฮ์ดี(อ.ญ.)ถือกำเนิดแล้ว

 

วิธีที่ 2


สมมุติว่า ฮะดีษเรื่องอัลมะฮ์ดีถือกำเนิดแล้ว ไม่ถึงขั้นมุตะวาติร มีคนเล่ารายงานแค่ 4 - 5 คน แต่ถ้าเอามารวมกันจากแหล่งรายงานต่างๆ ทำให้แน่ใจได้ด้วยสาเหตุการคำนวณความเป็นไปได้ เพื่อความเข้าใจวิธีที่ 2 นี้ขอให้พิจารณาตัวอย่างดังนี้ :

 

นายเซดป่วยเป็นโรคไข้หวัดนก ซึ่งตอนนี้วงการแพทย์ยังไม่มียารักษาให้หายได้ ต่อมานาย กอได้มาเล่าให้เราฟังว่า เซดหายป่วยแล้ว เราอาจเชื่อคำพูดเขาได้แค่ 30%
แต่ถ้าเราได้รับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมว่า ตอนนี้โรคไข้หวัดนกมีตัวยารักษาให้หายขาดได้แล้ว เราก็ยิ่งเชื่อคำพูดนาย กอ มากขึ้นเป็น 40% - 50% หรือมากกว่านั้น ยิ่งถ้าเรารู้ว่า ตอนนี้เซดไม่ได้ทานยานั้นอีกแล้ว เพราะหายสนิทแล้ว เราก็ยิ่งแน่ใจว่า เขาเป็นปกติแล้ว แต่ถ้าเราได้ไปเห็นด้วยตาตัวเองว่า เซดนั่งสนทนากับเพื่อนๆของเขาหัวเราะร่าเริง นี่เป็นประจักษ์พยานอีกเช่นกันทำให้เราเชื่อข่าวของนาย กอ ได้เต็ม 100 % ในที่สุด

ฉะนั้น ข่าวในลักษณะแบบนี้ แม้ความจริงจะไม่ใช่ข่าวมุตะวาติรแพร่หลาย แต่เมื่อได้ข้อมูลหลายสิ่งหลายอย่างมาประติดประต่อ จึงทำให้เกิดความแน่ใจในข่าวนั้นๆได้
การให้ความเชื่อถือ ความแน่ใจแบบนี้เรียกว่า ข้อมูลที่เป็นไปได้ว่าจริง หมายความว่า จากข้อมูลประกอบต่างๆทำให้เรื่องที่เราได้รับฟังมา มีน้ำหนักพอที่จะเชื่อถือได้ ฉะนั้น การที่เราจะเชื่อถือเรื่องใดๆก็ตามทางประวัติศาสตร์

 

จะมีความสมบูรณ์ได้ด้วยสองวิธีการดังกล่าวมา คือ

 

1. เรื่องนั้นต้องเป็น ฮะดีษมุตะวาติร

 

2. เรื่องนั้นต้องเป็น เรื่องที่ได้คำนวณคิดแล้วว่า มันมีความน่าเป็นไปได้จริง

 

โปรดติดตามตอนต่อไป


บทความโดย เชคญะวาด สว่างวรรณ