เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ศาสดามุฮัมมัด แบบฉบับแห่งมนุษย์ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี ตอนที่ 11

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ศาสดามุฮัมมัด แบบฉบับแห่งมนุษย์ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี ตอนที่ 11

 

ความเคร่งครัดในศาสนาและความน่าเลื่อมใส

 

ศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้จำกัดตนเองออกจากสิ่งที่ไม่จำเป็นในการดำรงชีวิต ท่านนั่งบนเสื่อฟางและมีหมอนที่บรรจุด้วยเส้นใยจากต้นอินทผลัม อาหารของท่านส่วนใหญ่เป็นเพียงขนมปังและผลอินทผลัมเท่านั้น


ท่านไม่เคยมีอาหารเพียงพอ สำหรับบริโภค สามวันติดต่อกัน และได้รับการกล่าวจากภรรยาของท่านว่า บางครั้งไม่มีอาหารหลงเหลือเพื่อจะนำมาปรุงเป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็ม ท่านได้ขี่ม้าหรือสัตว์อื่นที่ใช้สำหรับขี่โดยปราศจากอาน และตัวของท่านมักซ่อมแซมเสื้อผ้าและรองเท้าของท่านและรีดนมแพะด้วยตัวของท่านเสมอ ท่านเชื่อว่า โลก เป็นที่แห่งความยากลำบากและความอุตสาหะอย่างแสนสาหัส เนื่องจากท่านได้รับการบอกกล่าวจากพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพ ว่า

 

ولقد خلقنا الانسان فی کبد

(البلد/ ๔)

 

 “แน่นอน เราได้สร้างมนุษย์ขึ้นมาให้อยู่ในความยากลำบาก”

 หรือในดำรัสอีกประการหนึ่งที่บอกว่า:

 

( فَإِنَّ مَعَ الْعُسْرِ يُسْرًا (الشرح/ ๕

“แท้จริงพร้อมกับความยากลำบากนั้นก็มีความง่าย”

 

กล่าวคือ มนุษย์สามารถได้รับการบรรเทาในการกลับมามีชีวิตครั้งต่อไป สิ่งนี้ได้มีการกล่าวถึงสองครั้งในคัมภีร์อัลกุรอาน
ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสำคัญที่กำหนดโดยพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพว่า โลกเป็นที่สำหรับสร้างความแข็งแกร่งให้แก่จิตวิญญาณเพื่อเป็นการเตรียมตัวสำหรับโลกหน้า

ศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) กล่าวกับอัครสาวกของท่านเสมอว่า

ความยากลำบากจะนำไปสู่จิตวิญญาณที่แข็งแกร่งของมนุษย์

 

ท่านได้เพิ่มเติมว่า :

الفقر فخري

ความยากจนเป็นเกียรติแก่ข้าพเจ้าเสมอ

ท่านสอนให้สหายของท่านช่วยเหลือคนยากจนและผู้ขัดสน

 

ศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ให้คุณค่าแก่ความสามัคคีและการอยู่ร่วมกันและความเมตตาในหมู่ชนและท่านส่งเสริมให้ผู้คนไปมาหาสู่และเยี่ยมเยียนญาติเพื่อนบ้านของเขา รวมทั้งผู้ป่วยและช่วยเหลือคนยากจนและขัดสน ท่านได้ไปเยี่ยมเยียนผู้ป่วยที่ไม่ใช่มุสลิมเสมอ กุรอานคัมภีร์แห่งพระผู้เป็นเจ้าซึ่งแจ้งแก่ศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ซึ่งถือเป็นแหล่งที่ศักดิ์สิทธิ์แหล่งหนึ่งเพื่อส่งเสริมมิตรภาพและความเป็นพี่น้องกันระหว่างหมู่ชน คำสอนทางด้านจริยธรรมทั้งหมดของศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)นำมาจากที่เดียวกัน ณ ที่นี้


เราอ้างถึงจำนวนบทและคำสอนใน อัลกุรอาน ที่กล่าวไว้เช่นเดียวกัน ดังนี้

 

๑. การนินทาว่าร้าย

وَ يَغْتَب بَّعْضُكُم بَعْضًا أَيُحِبُّ أَحَدُكُمْ أَن يَأْكُلَ

) لَحْمَ أَخِيهِ مَيْتًا فَكَرِهْتُمُوهُ (حجرات / ๒๑

“และบางคนในหมู่พวกเจ้าอย่านินทาซึ่งกันและกัน คนหนึ่งในหมู่พวกเจ้าชอบที่จะกินเนื้อของพี่น้องของเขาที่ตายไปแล้วกระนั้นหรือ”

 

๒. ความริษยา การประณามการอิจฉาริษยากันในหมู่ชน พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพ ตรัสว่า

 จงแสวงหาที่พักพิงแห่งพระผู้เป็นเจ้า (พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) โดยการระมัดระวังจากความริษยากัน”

 

๓. ความเห็นแก่ตัว ในมุมมองของอัลกุรอาน ความเห็นแก่ตัวเป็นสิ่งร้ายกาจและเป็นลักษณะที่ชั่วร้ายที่นำมาซึ่งสิ่งเลวร้ายอื่นๆ มากมาย
ซึ่งมีอยู่หลายบทที่อัลกุรอานได้กล่างถึงเรื่องนี้ ความเห็นแก่ตัวเกิดขึ้นเนื่องจากแรงจูงใจต่างๆ อันรวมถึงอำนาจ ความมั่งคั่งและความงามที่ถูกประณามและอัลกุรอานยังบอกว่า ลักษณะที่ชั่วร้ายนี้จะนำมาซึ่งความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันและความเกลียดชังกันเสมอ
ในหลายๆ บทของอัลกุรอานมีการกล่าวถึงระดับของการกล่าวหาที่เป็นเท็จ การโกหก การนินทาและการเย้ยหยันที่เป็นสิ่งต้องห้าม เนื่องจากสิ่งดังกล่าวมานี้นำมาซึ่งการเป็นปฏิปักษ์ต่อกันในหมู่มนุษย์ และการกระทำทั้งหลายที่ส่งเสริมความเมตตาและความมีน้ำใจในหมู่ชน (ดังเช่น ความซื่อสัตย์ การให้อภัย การผ่อนปรนและการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างคนทั้งสองหรือระหว่างสองเชื้อชาติ) ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

 

แม้ว่าการบอกกล่าวความเท็จจะเป็นที่ถูกประณามในศาสนาอิสลาม แต่หากเป็นการปรับปรุงเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคนสองคนก็ถือเป็นที่อนุมัติ
ครั้งหนึ่ง ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) กล่าวกับกลุ่มชนของท่านว่า

 

“คนใดในหมู่พวกเจ้าที่ทำสิ่งดังต่อไปนี้ จะเป็นผู้มีเกียรติและมีสถานะที่สูงส่ง ณ พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพ

ก. ให้อภัยแก่ผู้ที่กระทำไม่ดีต่อเจ้า

ข. สร้างสัมพันธ์ใหม่กับผู้ที่เคยตัดสัมพันธ์กับเจ้า

ค. แสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กับผู้ที่กระทำการสิ่งหนึ่งสิ่งใดกับเจ้า เนื่องจากความประมาทและความโง่เขลาของเขา

 

๔. สั่งห้ามการดื่มไวน์ (เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์) ซึ่งได้มีคำสั่งห้ามจากอายะห์ต่างๆ ในอัลกุรอาน ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ถือว่าการดื่มไวน์ (เครื่องดื่มแอลกอฮอล์) เป็นเหตุแห่งการสูญเสียจิตใจ สติ และได้กระตุ้นให้หมู่ชนของท่านหลีกเลี่ยงการดื่ม (ไวน์) ท่านกล่าวว่า “พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ผู้ทรงเดชานุภาพ ทรงขังความชั่วร้ายไว้และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ถือเป็น กุญแจ สำหรับไขล็อคออก”

 

เขียนโดย เชค มุฮ์ซิน ชะรีอัต

 

 
 

 

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม