เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 5 บทยูนุส

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 5 บทยูนุส

 

อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวถึงสัญลักษณ์อันยิ่งใหญ่บางประการของพระเจ้า และธรรมชาติแห่งโลก โองการกล่าวว่า

 

 هُوَ الَّذِي جَعَلَ الشَّمْسَ ضِياءً وَالْقَمَرَ نُوراً وَقَدَّرَهُ مَنَازِلَ لِتَعْلَمُوا عَدَدَ السِّنِينَ وَالْحِسَابَ مَا خَلَقَ اللّهُ ذلِكَ إِلَّا بِالْحَقِّ يُفَصِّلُ الآيَاتِ لِقَوْمٍ يَعْلَمُونَ‏

 

คำแปล :

 

5. พระองค์ทรงทำให้ดวงตะวันมีแสงจ้า และดวงเดือนมีแสงนวล และทรงกำหนดให้โคจรตามจักรราศี เพื่อสูเจ้าจะได้รู้จำนวนปีทั้งหลายและการคำนวณ อัลลอฮฺมิได้ทรงสร้างสิ่งเหล่านั้นมาอื่นใด เว้นแต่ด้วยความจริง พระองค์ทรงจำแนกสัญญาณต่าง ๆ ให้แจ่มแจ้งสำหรับหมู่ชนผู้มีความรู้

 

คำอธิบาย :

 

มุมสัญญาณของความยิ่งใหญ่ของพระเจ้า

 

โองการที่ผ่านมาได้กล่าวถึงอย่างสั้นๆ เกี่ยวกับการคืนชีพและพระเจ้า แต่โองการต่อไปนี้จะกล่าวอธิบายถึงสองหลักการสำคัญ อันเป็นรากฐานของการเชิญชวนของท่านบรรดาศาสดา กล่าวอีกนัยหนึ่งคือโองการต่อจากนี้จะอธิบายรายละเอียดและสาระสำคัญต่างๆ แทนการอธิบายโดยรวมที่ผ่านมา

 

1. บางที่อาจเป็นไปได้ที่คำว่า ฎิยาอ์ และ นูร อาจมีความหมายเดียวกัน หรือคำว่า ฎิยาอ์ อาจหมายถึง นูรหรือรัศมีที่มีความแรง ส่วนนูรอาจหมายถึงรัศมีที่อ่อนแรงกว่าแต่นักอรรถาธิบายอัลกุรอานบางท่านกล่าวว่า คำว่า ฎิยาอ์ หมายถึงรัศมีแห่งตัวตน ส่วนคำว่า นูร มีความหมายที่ครอบคลุมกว้าง ซึ่งครอบคลุมทั้งนูรที่เป็นตัวตนและไม่ใช่ตัวตน กล่าวคือเมื่อกล่าวถึงแสงของดวงอาทิตย์ จะเห็นว่าแหล่งของแสงนั้นเกิดจากดวงอาทิตย์เอง ดวงอาทิตย์เป็นดาวที่สร้างพลังงานต่างๆ ขึ้นมาเองจึงเรียกว่าดาวฤกษ์ อัลกุรอานจึงใช้คำว่า ฏิยาอ์ กับดวงอาทิตย์ ส่วนดวงจันทร์เป็นวัตถุทึบแสง แต่ที่มีแสงสว่างได้เนื่องจากได้รับแสงจากที่อื่น แสงไม่ได้เกิดจากตัวเองดวงจันทร์จึงจัดอยู่ในหมู่ดาวนพเคราะห์ดวงหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ อัลกุรอาน จึงใช้คำว่า นูร กับดวงจันทร์ เพราะเป็นแสงที่อ่อนกว่า

 

2. โองการข้างต้นกล่าวว่าทั้งแสงตะวันและแสงเดือนล้วนเป็นสัญญาณของพระเจ้าทั้งสิ้น แน่นอน แสงเดือนคือประทีปส่องสว่างในยามราตรี อำนวยความสะดวกแก่บรรดาผู้เดินทางเร่ร่อนกลางทะเลทราย นักเดินเรือ และประชาชนโดยทั่วไป ส่วนแสงแดดนั้นให้ความสว่างไสวและสร้างความอบอุ่นแก่ประชาโลกทั้งหลาย พืช และสรรพสัตว์ แน่นอน ถ้าปราศจากแสงแดดความเย็นจะครอบคลุมไปทุกที่ จะไม่มีสิ่งมีชีวิตใดอาศัยอยู่บนโลกนี้อีกต่อไป

 

3. สรรพนามในประโยคที่ว่า «قَدَّرَهُ مَنازِل»   ย้อนกลับไปหาดวงเดือน  ดังนั้น ประโยคจึงหมายถึง การโคจรของดวงจันทร์รอบตัวเองและรอบโลก ซึ่งทำให้เกิดข้างขึ้นและข้างแรมและจำนวนเดือนขึ้นมา ดังนั้นทุกคืนจึงมองเห็นจันทร์เล็กและจันทร์ใหญ่ หรือดวงจันทร์มืดหรือสว่างอันเนื่องมาจากดวงจันทร์โคจรรอบโลก โดยส่วนสว่างที่หันมาทางโลก เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดวงจันทร์บนทางโคจรรอบโลกนั่นเอง

 

4. การโคจรของดวงจันทร์รอบโลกนั้นถือเป็นปฏิทินธรรมชาติ ถ้าดวงจันทร์เคลื่อนรอบโลก 1 รอบ จะเป็นเวลา 1 เดือน ถ้าดวงจันทร์เคลื่อนรอบโลกจำวน 12 รอบ ก็เท่ากับ 1 ปีพอดี ปฏิทินที่อาศัยดวงจันทร์จึงเรียกว่าปฏิทินจันทรคติ แน่นอนว่าการโคจรของดวงจันทร์นั้น ยังประโยชน์ให้แก่ประชาโลกทั้งหลายไม่ว่าจะอยู่ ณ ตำแหน่งใดของโลกก็ตาม และไม่ว่าจะเป็นคนฉลาดหรือคนโง่เขลา ล้วนได้รับประโยชน์ทั้งสิ้น อิสลามได้ยึดถือการโคจรของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับจำนับวันและเดือน ดังนั้น ปีในอิสลามจึงนับแบบ จันทรคติติ

 

5. โองการข้างต้นได้กล่าวถึงจำนวนและการคำนวณนับ ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาสำคัญที่สุดสำหรับวิถีชีวิตของมนุษย์ หมายความว่าถ้าชีวิตปราศจากการคำนวณ และการนับจำนวนวัน เดือน และปีแล้วละก็จะเกิดอุปสรรคปัญหามากมาย จะเกิดปัญหายุ่งยากและความสับสน ทำให้ระบบการดำเนินชีวิตสูญเสียไป

 

เนื่องจากพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมากเพื่อให้ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข มีความเจริญก้าวหน้า พระองค์ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาอย่างมีระเบียบ และทรงมอบเครื่องมือและสื่อในการดำรงชีวิตแก่พวกเขาด้วย

 

บทเรียนจากโองการ :

 

1. โลกได้ถูกสร้างขึ้นมาบนความเป็นระเบียบและความจริง

 

2. ถ้ามนุษย์ใคร่ครวญถึงแสงอาทิตย์และแสงจันทร์ เข้าก็จะรู้จักพระเจ้าโดยปริยาย

 

3. ปฏิทินทุกวันนี้ได้คำนวณนับจำนวนวันโดยอาศัยการโคจรของดวงจันทร์เป็นหลัก

 

4. การโคจรของโลกและจักรวาลอยู่ในอำนาจของพระเจ้า พระองค์ตรัสว่า เราได้กำหนดให้โคจรตามจักรราศี เพื่อสูเจ้าจะได้รู้จำนวนปีทั้งหลายและการคำนวณนับ

 


ที่มา เว็บไซต์อัชชีอะฮ์

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม