เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 7,8 บทยูนุส

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 7,8 บทยูนุส

 

อัลกุรอาน ทั้งสองโองการนี้กล่าวถึงปัจจัยเสี่ยงและนรกเอาไว้ อัลกุรอานกล่าวว่า

 

إِنَّ الَّذِينَ لَا يَرْجُونَ لِقَاءَنَا وَرَضُوا بِالْحَيَاةِ الدُّنْيَا وَاطْمَأَنُّوا بِهَا وَالَّذِينَ هُمْ عَنْ آيَاتِنَا غَافِلُونَ

 أُولئِكَ مَأْوَاهُمُ النَّارُ بِمَا كَانُوا يَكْسِبُونَ‏

 

คำแปล :

 

7. แท้จริงบรรดาผู้ที่ไม่หวังในการพบเรา และพวกเขาพอใจต่อชีวิตในโลกนี้ และมีความสงบอิ่มใจ และบรรดาผู้ละเลยต่อสัญญาณต่าง ๆ ของเรา

 

8. ชนเหล่านั้น ที่พำนักของพวกเขาคือไฟ ตามที่พวกเขาได้ขวนขวายเอาไว้

 

 คำอธิบาย :

 

ชาวสวรรค์และชาวนรก

 

ตอนเริ่มต้นของบทนี้ดังที่กล่าวไปแล้วว่า อัลกุรอาน ได้กล่าวโดยรวมเกี่ยวกับปัญหาของพระเจ้าและการฟื้นคืนชีพ หลังจากนั้นได้อธิบายรายละเอียดไปแล้ว ซึ่งโองการก่อนหน้านี้อธิบายถึงปัญหาเกี่ยวกับพระเจ้า สวนโองการที่กำลังกล่าวถึงอยู่นี้จะอธิบายเกี่ยวกับรายละเอียดของการฟื้นคืนชีพและโชคชะตาของมนุษย์ในโลกอื่น

 

1. วัตถุประสงค์ของการได้พบพระเจ้านั้น ไม่ได้สัมผัสด้วยประสาทสัมผัสเพราะพระเจ้าไม่ได้เป็นวัตถุ พระองค์ไม่มีกายภาพ ซึ่งจุดประสงค์นอกเหนือจากการได้พบแล้ว ยังเป็นการให้รางวัลและการลงโทษของพระเจ้า เป็นหนึ่งในความประจักษ์ด้านในของมนุษย์ ที่ในวันฟื้นคืนชีพเขาจะได้พบกับอาตมันบริสุทธิ์ของพระเจ้า; เพราะเขาจะได้เห็นเครื่องหมายและสัญญาณต่างๆ ของพระองค์อย่างชัดเจนที่สุด และเขาจะพบกับการรับรู้ใหม่ของการรู้จักพระเจ้า[1]

 

2. รายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า บุคคลใดปรารถนาที่จะพบอัลลอฮฺ อัลลอฮฺ ก็ปรารถนาที่จะพบเขา[2]

 

3. ตามความเป็นจริงแล้ว ผลเกิดจากการไม่ศรัทธาต่อมะอาด (วันแห่งการฟื้นคืนชีพ) และการไม่มีความหวังในความโปรดปรานต่างๆ ในปรโลก ความลุ่มหลงโลกอันคับแคบ และวัตถุปัจจัย ความหลงใหลในราคะโลกีย์ เหล่านี้คือสาเหตุสำคัญที่โน้มนำไปสู่การกระทำสกปรก และในที่สุดแล้วบั้นปลายของเขาก็คือการถูกลงโทษในไฟนรก

 

4. ความหลงลืมและการละเลยในเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆ อันเป็นแหล่งที่มาของพระเจ้ากลายเป็นคนแปลกหน้าสำหรับพระเจ้า ซึ่งส่งผลให้เขาขาดความรับผิดชอบและได้ปนเปื้อนกับความสกปรก การกดขี่ทำร้ายตนเอง และการทำบาป และท้ายที่สุดสิ่งเหล่านี้ไม่มีอะไรเกินเลยนอกจากไฟนรก

 

5. สำหรับการปฏิรูปและการช่วยเหลือสังคมให้รอดพ้นจากไฟนรก มีเงื่อนไขพื้นฐานสำคัญอยู่ 2 ประการ กล่าวคือ

 

การเสริมความเข้มแข็งความเชื่อพื้นฐานในพระเจ้า และวันแห่งการฟื้นคืนชีพ, เนื่องจากถ้าปราศจากความเชื่อใน 2 หลักการนี้แล้ว ความรับผิดชอบและความกลัวต่อการลงโทษจะหายไป การปฏิรูปทางสังคมก็เป็นไปไม่ได้

 

6. โลกและความโปรดปรานบนโลกนี้ได้ถูกสร้างและถูกจัดเตรียมไว้เพื่อมนุษย์ ซึ่งอัลกุรอาน ได้เน้นย้ำให้เห็นถึงเรื่องการใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้อย่างถูกต้อง แต่สิ่งที่โองการข้างต้นไม่ยอมรับคือ การแสดงความพึงพอใจและความลุ่มหลงโลกเสมอกับปรโลก ประกอบกับการพึ่งพิงอยู่กับวัตถุที่ไม่มั่นคงของโลกนี้

 

7. การมีความหวังในปรโลกเป็นการกระทำที่เหมาะสม และมีบทบาทสำคัญต่อการปฏิรูปบุคคลและสังคม แน่นอนถ้าความหวังนั้นไปถึงขั้นของความเชื่อมั่นที่มีต่อวันแห่งการฟื้นคืนชีพแล้วละก็ วิถีชีวิตทั้งหมดและแนวความคิดของเขาจะเปลี่ยนแปลงและปรับไปในทิศทางที่ดียิ่งขึ้น

 

8. ปัจจัยที่นำพามนุษย์ไปสู่การลงโทษในไฟนรกคือ

 

- การปฏิเสธวันแห่งการฟื้นคืนชีพเพื่อการพิพากษาการกระทำ กับการไม่มีความหวังในความโปรดปรานของปรโลก

 

- ให้ความพึงพอใจกับชีวิตซึ่งหายวับไปของโลก

 

- ละเลยสัญลักษณ์และเครื่องหมายต่างๆ ของพระเจ้า

 

- การกระทำอนาจารของมนุษย์

 

บทเรียนจากโองการ :

 

1. นรก,คือบทสรุปของกรรมที่ได้ก่อเอาไว้,เป็นสถานภาพหนึ่งของคุณที่ได้ละเลยต่อวันแห่งการฟืนคืนชีพ และมีความลุ่มหลงต่อโลก

 

2 . จงมีความหวังในรางวัลตอบแทนและวันปรโลก และจงอย่าเชื่อมั่นต่อโลกที่ไม่มีความมั่นคงถาวร

 

3. จงอย่างลืมเลือนในเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆ ของพระเจ้า อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การลงโทษจากพระเจ้า

 

เชิงอรรถ


1. ศึกษาเพิ่มเติมจากบทบะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 49, บทอันอาม โองการที่ 31,154


2.มะอานี อัลอัคบาร หน้าที่ 236, กาฟีย์ เล่มที่ 3 หน้าที่ 136, และตัฟซีรฟุรกอน เล่มที่ 13 หน้าที่ 23

 

ที่มา เว็บไซต์อัชชีอะฮ์

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม