เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 11 บทยูนุส

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 11 บทยูนุส

 

อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวถึงสาเหตุของการล่าช้าในการลงโทษคนทำความผิด โองการกล่าวว่า

 

 وَلَوْ يُعَجِّلُ اللّهُ لِلنَّاسِ الشَّرَّ اسْتِعْجَالَهُم بِالْخَيْرِ لَقُضِيَ إِلَيْهِمْ أَجَلُهُمْ فَنَذَرُ الَّذِينَ لَايَرْجُونَ لِقَاءَنَا فِي طُغْيَانِهِمْ يَعْمَهُونَ‏

 

คำแปล :

 

11. และมาตรว่าอัลลอฮฺทรงเร่งผลแห่งความชั่ว (การลงโทษ) แก่มนุษย์ เช่นเดียวกับการเร่งความดีของพวกเขา แน่นอน วาระสุดท้ายของพวกเขาคงได้ถูกกำหนดแก่พวกเขา (ทั้งหมดจะพบกับความตาย) ดังนั้น เราจะปล่อยให้บรรดาผู้ที่ไม่หวังจะพบเราระหกระเหินไปในการดื้อรั้นนของตน

 

คำอธิบาย :

 

มนุษย์คือผู้กระทำตนเอง

 

1. เกี่ยวกับโองการข้างต้นได้มีการอธิบายความไว้ 3 ทัศนะด้วยกัน ซึ่งทั้งสามทัศนะล้วนเป็นไปได้ทั้งสิ้น

 

- ถ้ามาตรว่าการลงโทษผู้กระทำความผิดได้ถูกปฏิบัติอย่างฉับพลัน เจตจำนงเสรีซึ่งถือว่าเป็นรากฐานสำคัญของการปฏิบัติหน้าที่จะถูกทำลายลงด้วย และคงไว้ซึ่งความจำเป็นและการบีบบังคับ ทำให้คุณค่าของการปฏิบัติหน้าที่ต้องสูญเสียไป

 

- ทัศนะที่สอง สิ่งที่เป็นไปได้คือ โองการข้างต้นได้ตอบคำถามแก่บรรดาผู้ตั้งภาคีเทียบเคียง และบรรดาผู้ปฏิเสธทั้งหลายที่ได้กล่าวแก่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ว่า ถ้าหากท่านพูดจริง ก็จงวิงวอนขอต่อพระเจ้าของท่านให้ลงโทษหรือทำลายพวกเราโดยเร็วด้วยเถิด โองการได้ตอบข้อคลางแคลงของพวกเขาว่า มาตรว่าอัลลอฮฺ ทรงกระทำเช่นนั้น จะไม่มีมนุษย์หลงเหลืออยู่บนโลกนี้อีก

 

- ทัศนะที่สาม จากโองการเข้าใจได้ว่าอัลลอฮฺ ไม่ทรงเร่งรีบตอบรับการสาปแช่งและการประณามของมนุษย์ เนื่องจากถ้าเป็นเช่นนั้นผลของการสาปแช่งจะเร่งรีบทำลายพวกเขาเอง

 

2. อัลกุรอาน โองการนี้ ได้บ่งชี้ให้เห็นถึงแบบฉบับประการหนึ่งของพระเจ้า นั่นคือ การปล่อยให้มนุษย์อยู่ในสภาพของตน หรือให้โอกาสแก่เขาในการสั่งสมความชั่วร้าย การกดขี่ และการอานาจารต่างๆ  แน่นอนว่าการปฏิเสธวันแห่งการฟื้นคืนชีพคือ การลงโทษประเภทหนึ่ง เนื่องจากพวกเขาจะไม่อาจจำแนกได้ระหว่างสิ่งถูกและสิ่งผิด และพวกเขาก็ระหกระเหินไปในการดื้อดึงของพวกเขา บาปกรรมของเขาจะเพิ่มพูนขึ้นทุกวัน จนในที่สุดพวกเขาจะพบกับไฟนรก

 

บทเรียนจากโองการ :

 

1. มาตรว่าอัลลอฮ์(ซ.บ.) ทรงลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างฉับพลันบนโลกนี้ ก็คงจะไม่เหลือมนุษย์คนใดอีก

 

2. อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงให้โอกาสแก่ผู้กระทำบาปกรรม เพื่อให้บาปกรรมของเขาเพิ่มพูน และสุดท้ายพวกเขาจะถูกลงโทษในไฟนรก

 

3. การลงโทษผู้กระทำความผิดบาปไม่จำเป็นต้องรีบเร่ง เนื่องจากพวกเขาไม่อาจหลบหนีการลงโทษไปทางใดได้

 

ที่มา เว็บไซต์อัชชีอะฮ์

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม