เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 20 บทยูนุส

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 20 บทยูนุส

 

อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวถึงข้ออ้างเล็กๆ น้อยๆ ของบรรดาผู้ที่ตั้งภาคีเทียบเคียงพระเจ้า ที่มีต่อปาฏิหาริย์ที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้แสดงให้เห็น อัลกุรอานกล่าวว่า

 

 وَيَقُولُونَ لَوْلَا أُنزِلَ عَلَيْهِ آيَةٌ مِن رَبِّهِ فَقُلْ إِنَّمَا الْغَيْبُ لِلَّهِ فَانتَظِرُوا إِنِّي مَعَكُم مِنَ الْمُنْتَظِرِينَ‏

 

คำแปล :

 

20.พวกเขากล่าวว่า “ทำไมจึงไม่มีปาฏิหาริย์ถูกส่งจากพระผู้อภิบาลของเขาให้แก่เขาเล่า” จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) แท้จริง สิ่งที่พ้นญาณวิสัยนั้นเป็นของอัลลอฮฺ ดังนั้น จงคอยดูเถิด แท้จริง ฉันก็อยู่กับพวกท่านในหมู่ผู้คอยดู

 

คำอธิบาย :

 

ปาฏิหาริย์ตามความพอใจ

 

1. คำว่า อายะฮ์ ตามหลักภาษาแล้วหมายถึง สัญลักษณ์ แต่ในโองการข้างต้นหมายถึง ปาฏิหาริย์ กล่าวคือ ปาฏิหาริย์ ที่บรรดาผู้ตั้งภาคีเทียบเคียงพระเจ้า ได้เสนอต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ให้นำมาแสดง แน่นอน ตามสัญลักษณ์ที่ปรากฏซึ่งจะกล่าวภายหลังว่า จุดประสงค์ของพวกเขาไม่ใช่ปาฏิหาริย์ทั้งหมด เนื่องจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) นอกจากอัลกุรอานแล้ว ท่านยังมีปาฏิหาริย์อื่นๆ อีก ซึ่งตามประวัติศาสตร์อิสลาม อัลกุรอานบางโองการได้ยืนยันให้เห็นถึงประเด็นดังกล่าวเอาไว้ ดังเช่น อัลกุรอาน โองการอื่นกล่าวถึงว่า บรรดาผู้ตั้งภาคีเทียบเคียงพระเจ้า ได้ขอให้มีปราสาททองคำ ตาน้ำพุที่พวยพุ่ง และการบินไปในท้องฟ้า (1)

 

2. บรรดาผู้ตั้งภาคีเทียบเคียงพระเจ้าต่างคิดกันเองว่า ปาฏิหาริย์อยู่ในมือของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) เมือใดที่ท่านต้องการท่านจะนำปาฏิหาริย์ออกมาแสดง ซึ่งโองการข้างต้นได้ตอบข้อกังขาของพวกเขา โดยกล่าวว่า ปาฏิหาริย์นั้นเป็นของพระเจ้าและอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์

 

3. ปาฏิหาริย์ เป็นหนึ่งในภารกิจที่พ้นญาณวิสัยของมนุษย์ เป็นการกระทำพิเศษที่อยู่เหนือธรรมชาติ สิ่งนั้นไม่อาจเกิดขึ้นได้ นอกจากต้องได้รับอนุญาตจากพระเจ้า ซึ่งจะถูกแสดงโดยบรรดาศาสดา  (อ.) หรืออิมามท่านใดท่านหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิสูจน์การเป็นศาสดาหรืออิมาม เพื่อชี้นำประชาชาติ

 

ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) นั้นมีปาฏิหาริย์อันเป็นอมตะได้แก่ อัลกุรอาน และยังมีปาฏิหาริย์อย่างอื่นอีก ซึ่งแต่ละประเภทนั้นเป็นไปเพื่อพิสูจน์ตำแหน่งการเป็นศาสดาของท่าน แต่จุดประสงค์ของบรรดาผู้ที่ตั้งภาคีเทียบเคียงพระเจ้า ต้องการให้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) นำปาฏิหาริย์ตามความพอใจของพวกเขามาแสดง ซึ่งวัตถุประสงค์ของพวกเขาไม่ใช่เพื่อต้องการรู้จักศาสดา หรือต้องการปฏิบัติตามท่าน

 

4. บางที่จุดประสงค์ของประโยคที่กล่าวว่า “สิ่งพ้นญาณวิสัยนั้นเป็นของอัลลอฮฺ” อาจหมายถึงว่า ปาฏิหาริย์นั้นเป็นภารกิจที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่อยู่นอกเหนือธรรมชาติ และเฉพาะเจาะจงสำหรับพระเจ้าเท่านั้น หรืออาจหมายถึงว่าวิทยปัญญาต่างๆ กาลเวลา และสถานที ตลอดจนการประทานปาฏิหาริย์ ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของความเร้นลับ ที่เป็นของอัลลอฮฺเท่านั้น ในที่นี้ตัฟซีรที่สองมีความเหมาะสมมากกว่า

 

บทเรียนจากโองการ :

 

1. เวลา สถานที่ และการประทานปาฏิหาริย์นั้นอยู่ในอำนาจของพระเจ้า มิได้อยู่ในเจตจำนงเสรีของศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) หรืออยู่ในความต้องการของประชาชนแต่อย่างใด

 

2. จงอย่างได้หาข้ออ้างหรือข้อท้วงติงอันใดเมื่ออยู่ต่อหน้าท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และเมื่อมีอัลกุรอานเป็นปาฏิหาริย์อยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องร้องขอปาฏิหาริย์อย่างอื่นอีก

 

เชิงอรรถ

 

1. อัลกุรอาน บทอัลอิสรอ โองการที่ 90-94

 

ที่มา เว็บไซต์อัชชีอะฮ์

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม