เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 31 บทยูนุส

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 31  บทยูนุส

 

อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวถึงสัญลักษณ์ต่างๆ ของพระเจ้าบนโลกนี้ โองการ กล่าวว่า

 

 قُلْ مَن يَرْزُقُكُم مِنَ السَّماءِ وَالْأَرْضِ أَمَّن يَمْلِكُ السَّمْعَ وَالْأَبْصَارَ وَمَن يُخْرِجُ الْحَيَّ مِنَ الْمَيِّتِ وَيُخْرِجُ الْمَيِّتَ مِنَ الْحَيِّ وَمَن يُدَبِّرُ الْأَمْرَ فَسَيَقُولُونَ اللَّهُ فَقُلْ أَفَلَا تَتَّقُونَ‏

 

คำแปล  :

 

31. จงกล่าวเถิด ผู้ใดเล่าเป็นผู้ประทานเครื่องยังชีพจากฟากฟ้าและแผ่นดินแก่สูเจ้า หรือผู้ใดเป็นเจ้าของการฟังและการมองเห็น และผู้ใดให้ชีวิตออกจากการตาย และให้ที่ตายออกจากที่มีชีวิต และผู้ใดบริหารกิจการ ดังนั้น ในไม่ช้านี้พวกเขา (มุชริก) จะกล่าวว่า  อัลลอฮฺ  ฉะนั้น จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) พวกท่านไม่สำรวมตนจากความชั่วอีกหรือ?

 

คำอธิบาย :        

 

1. คำว่า ริซกุน หมายถึง การให้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้ให้ความโปรดปรานที่แท้จริงคือ อัลลอฮฺ ผู้ประทานเครื่องยังชีพคือพระองค์เท่านั้น ซึ่งนอกเหนือจากพระองค์แล้วอาจกล่าวกับคนอื่นได้ว่า เป็นผู้ให้ แต่ไม่ใช่ผู้ให้ที่แท้จริง

 

2. โองการข้างต้นอันดับแรกได้ระบุถึง เครื่องยังชีพจากฟากฟ้า หลังจากนั้นได้กล่าวถึงเครื่องยังชีพจากแผ่นดิน บางที่อาจเป็นเพราะว่า เครื่องยังชีพส่วนใหญ่มาจากฟากฟ้า เช่น ฝน อากาศ แสงแดดและแสง ซึ่งทั้งหมดคือแหล่งกำเนิดของปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย

 

3. โองการข้างต้นได้ระบุถึงประสาทสัมผัสสำคัญ 2 ประการ กล่าวคือ การฟัง และการมองเห็น แน่นอนถ้าปราศจากทั้งสองนี้ การใฝ่หาความรู้และการใช้ประโยชน์จากความโปรดปรานต่างๆ ล้วนมีปัญหาทั้งสิ้น

 

4. โองการได้ระบุถึงปรากฏการณ์สำคัญ 2 ประการคือ ชีวิตและความตาย ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่แปลกประหลาดที่สุดในโลกของการสร้างสรรค์ ประเด็นของการค้นพบ ชีวิต เป็นประเด็นที่เหล่าบรรดานักวิชาการได้พยายามคิดจวบจนถึงปัจจุบันนี้ แน่นอน ปรากฏการณ์ของชีวิต เป็นสิ่งที่สลับซับซ้อนอย่างยิ่ง ซึ่งต้องการความรู้และอำนาจที่อยู่เหนือญาณวิสัยในการสร้างและนำเอาชีวิตมา

 

5. แบบฉบับของพระเจ้าคือ ชีวิตของสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ต้องไม่จีรังถาวร ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าพระองค์สร้างความตายจากชีวิต เพื่อว่าเขาจะได้ไปสู่ความสมบูรณ์ที่สุด

 

6. รายงานบางบทกล่าวว่า วัตถุประสงค์ของโองการข้างต้นคือ การกำเนิดมนุษย์ที่มีศรัทธามั่นจากมนุษย์ที่หลงผิดเป็นสิ่งที่ไร้ค่า ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วความตายนั้นอยู่ท่ามกลางประชาชน และบางครั้งก็สลับกัน(1)

 

แน่นอน ฮะดีษประเภทนี้ได้บ่งชี้ให้เห็นถึงชีวิตและความตายในเชิงของศีลธรรม และอธิบายให้เห็นถึงด้านในของโองการ ซึ่งไม่มีปัญหาแต่อย่างใดถ้าจะถือว่าความตายและชีวิตในโองการข้างต้น เป็นเรืองธรรมชาติและศีลธรรม ซึ่งครอบคลุมทั้งสองประการ เนื่องจากทั้งสองคือ สิ่งมหัศจรรย์ของการสร้างและเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของพระเจ้า

 

7. บรรดาผู้ตั้งภาคีเทียบเคียงในยุคโง่เขลาต่างยอมรับ อัลลอฮฺ และรู้ว่าพระองค์คือพระผู้สร้าง ผู้ประทานเครื่องยังชีพ ผู้บริหารโลก เนื่องความจริงนี้พวกเขาได้รับจากธรรมชาติดั้งเดิมของตนเอง แต่ต่อมาพวกเขาได้รับอิทธิพลจากการเบี่ยงเบนทางความคิด พวกเขาจึงกลายเป็นพวกเคารพรูปปั้นบูชา

 

8. อัลกุรอาน โองการข้างต้นได้ใช้วิธีการของการเคารพภักดี และการย้อนกลับไปสู่ธรรมชาติดั้งเดิมและสติปัญญา เป็นวิธีการในการอบรมสั่งสอน

 

บทเรียนจากโองการ :

 

1.พระเจ้าผู้ทรงคู่ควรแก่การเคารพภักดีและปฏิบัติตาม คือ พระผู้ทรงสร้าง ผู้ทรงประทานเครื่องยังชีพ และผู้ทรงบริบาลโลก

 

2. เครื่องยังชีพ การฟัง การมองเห็น ชีวิต และความตายของมนุษย์อยู่ในพระหัตถ์ของพระเจ้า

 

3. ผู้ที่กระทำทุกสิ่งคือ พระเจ้า ดังนั้น จงระวังตนเองให้ดีอย่าหลงสักการะสิ่งอื่นนอกจากพระองค์

 

4. การมีอยู่ของพระเจ้านั้นเป็นที่ประจักษ์แจ้งยิ่ง แม้แต่ผู้ตั้งภาคีเทียบเคียงก็ยอมรับสารภาพในประเด็นนี้

 

เชิงอรรถ

1.มะอานีย์ อัลอัคบาร หน้าที่ 290, อุซูลกาฟีย์ เล่มที่ 2 หน้าที่ 5, บิฮารุลอันวาร เล่มที่ 6 หน้าที่ 156, และเล่มที่ 64 หน้าที่ 87,92

 

ที่มา เว็บไซต์อัชชีอะฮ์

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม