ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 34 บทยูนุส

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 34 บทยูนุส

 

อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวถึงสัญลักษณ์ต่างๆ ของพระเจ้าในการสร้างสรรค์ และการสร้างโลก และยังได้สำทับถึงความเท็จของการตั้งภาคีเทียบเคียง โองการกล่าวว่า

 

 قُلْ هَلْ مِن شُرَكَائِكُم مَن يَبْدَؤُا الْخَلْقَ ثُمَّ يُعِيدُهُ قُلِ اللَّهُ يَبْدَؤُا الْخَلْقَ ثُمَّ يُعِيدُهُ فَأَنَّى‏ تُؤْفَكُونَ‏

 

คำแปล :

 

34. จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) มีผู้ใดในหมู่เจว็ดของพวกท่านไหม ที่เป็นผู้เริ่มในการให้รังสรรค์แล้วให้กลับมาอีก ?  จงกล่าวเถิด อัลลอฮฺทรงเริ่มแรกในการรังสรรค์ แล้วทรงบังเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง แล้วสูเจ้าถูกหันเหออกไปได้อย่างไรเล่า?

 

คำอธิบาย :

 

1. โองการนี้อธิบายถึงความเชื่อในเรื่องการสร้างสรรค์และวันแห่งการฟื้นคืนชีพ เนื่องจาก ผู้ใดก็ตามเป็นผู้เริ่มแรกในการสร้างย่อมมีอำนาจในการนำกลับมาอีก นั่นหมายถึงว่าทั้งสองคือความจำเป็นของกันและกัน

 

2. โองการนี้ได้มีคำสั่งแก่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ให้สารภาพแทนบรรดาผู้ที่ตั้งภาคีเทียบเคียงพระเจ้าว่า อัลลอฮ์ คือผู้ทรงเริ่มแรกในการสร้างและให้ฟื้นคืนชีพ เนื่องจากบรรดาผู้ตั้งภาคีไม่ใส่ใจในความสำคัญ และความจำเป็นของการสร้างและการฟื้นคืนชีพ

 

บทเรียนจากโองการ :

 

1. ผู้เริ่มแรกการสร้างสรรค์กับผู้ให้ฟื้นคืนชีพกลับมาเป็นคนเดียวกัน

 

2. ด้วยคำถามซ้ำหลายครั้ง แสดงให้เห็นถึงความไร้สามารถของเทวรูปและการตั้งภาคีนั้นเป็นเท็จอย่างแท้จริง

 

3. จงอย่างติดตามเทพเจ้าที่ไร้ความสามารถ และอย่าตั้งภาคีเทียบเคียงพระเจ้าเด็ดขาด

 

ที่มา เว็บไซต์อัชชีอะฮ์