เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 39 บทยูนุส

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 39 บทยูนุส

 

อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวถึงปัจจัยอันเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้บรรดาผู้ตั้งภาคีเทียบเคียงต่อต้านอัลกุรอาน กล่าวคือ ความโง่เขลาของพวกเขานั่นเอง โองการกล่าวว่า

 

 بَلْ كَذَّبُوا بِمَا لَمْ يُحِيطُوا بِعِلْمِهِ وَلَمَّا يَأْتِهِمْ تَأْوِيلُهُ كَذلِكَ كَذَّبَ الَّذِينَ مِن قَبْلِهِمْ فَانظُرْ كَيْفَ كَانَ عَاقِبَةُ الظَّالِمِينَ‏

 

คำแปล :

 

39. แต่ว่าพวกเขามุสาต่อสิ่งซึ่งพวกเขาไร้ความสามารถโอบอุ้มวิทยาการเอาไว้ได้ ปัจจุบันผลสุดท้าย (ที่แท้จริง) ยังไม่ได้มายังพวกเขา เช่นนั้นแหละ บรรดาชนก่อนหน้าพวกเขาได้มุสา (ต่อบรรดาศาสดา) มาแล้ว ดังนั้น จงดูเถิดว่า ผลสุดท้ายของพวกอธรรมเป็นเข่นไร?

 

คำอธิบาย :

 

1. คำว่า ตะอ์วีล ตามรากศัพท์เดิมหมายถึง การกลับ หรือการทำให้สิ่งหนึ่งกลับมา แต่ในอัลกุรอาน คำๆ นี้ บางครั้งหมายถึงเหตุผลที่สิ้นสุด หรือสุดท้าย หรือการตีความโองการที่มีความหมายคลุมเครือสองด้าน หรือหมายถึงเหตุผลและปรัชญาของภารกิจนั้น เช่น อัลกุรอาน กล่าวว่า ...

 

“และฉันมิได้ทำสิ่งนั้นตามความพอใจของฉัน นั่นคือความหมายที่ท่านไม่สามารถมีความอดทนในสิ่งนั้นๆ ได้” (อัลกุรอาน บทกะฮ์ฟิ 82) ,“นั่นแหละ เป็นสิ่งที่ดียิ่งและเป็นการกลับไปที่สวยยิ่ง” (อัลกุรอาน บทนิซาอ์ 59), แลไม่มีผู้ใดรู้ในการตีความโองการนั้นได้นอกจากอัลลอฮฺ และบรรดาผู้ที่มั่นคงในความรู้เท่านั้น ”   (อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน 7)

 

นักอักษรศาสตร์และนักอรรถาธิบายอัลกุรอาน บางท่านกล่าวว่า ทุกภารกิจหรือทุกคำพูดที่ไปถึงยังเป้าหมายสุดท้าย เรียกว่า การตะอ์วีล เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้  การตีความเป้าหมายสุดท้าย หรือการอรรถาธิบายอัลกุรอานที่แท้จริง หรือคำพูด หรือผลสรุปของการตีความ หรือการตีความหมายของการฝัน หรือการได้รับความจริงที่เกิดขึ้น เหล่านี้เรียกว่า การตะอ์วีลทั้งสิ้น(1)

 

จากโองการข้างต้นอาจเป็นไปได้ที่ว่าคำว่า ตะอ์วีล อาจให้ความหมายที่แท้จริงของโองการ หรือเป็นการตีความ

 

2. โองการอัลกุรอาน ทุกโองการนอกจากจะมีความหมายภายนอกแล้ว ยังมีการตีความด้านในอีกต่างหาก ซึ่งถ้าปราศจากการตีความด้านในแล้ว มนุษย์ไม่สามารถโอบอ้อมวิทยคุณเอาไว้ได้ ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าบรรดาผู้ต่อต้านอัลกุรอาน จึ่งได้เผชิญหน้ากับอัลกุรอานอย่างโง่เขลาที่สุด

 

3. การวิพากษ์ที่สำคัญของศัตรูและผู้มีความขัดแย้งกับสัจธรรม มาจากความโง่เขลาและการไม่รู้เรื่อง แน่นอน ปัจจัยการปฏิเสธอัลกุรอาน ของบรรดาผู้ตั้งภาคีเทียบเคียง ก็เกิดจากความโง่เขลา และการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในสัจธรรมความจริงของอัลกุรอานนั่นเอง

 

4. วัตถุประสงค์จากความโง่เขลาของบรรดาผู้ตั้งภาคีเทียบเคียง ตามที่โองการกล่าวถึงหมายถึง ความโง่เขลาในเรื่องวิชาการศาสนา พระผู้เป็นเจ้า วันแห่งการฟื้นคืนชีพ[31] และความเร้นลับของกฎเกณฑ์พระราชกฤษฎีกา และความโง่เขลาในความเข้าใจ ที่มีต่อโองการที่มีความหมายคลุมเครือเป็นนัย หรืออักษรย่อในอัลกุรอาน การไม่รู้ถึงชะตากรรมของตนเอง บทเรียนและอุทาหรณ์ของชนก่อนหน้านั้น ซึ่งการไม่รู้ทั้งหมดเหล่านี้ของพวกเขา ได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญทำให้พวกเขาปฏิเสธอัลกุรอาน

 

5. ท่านอิมามซอดิก (อ.) รายงานว่า อัลลอฮ์(ซ.บ.) ได้ใช้อัลกุรอาน 2 โองการ สอนบทเรียนอันสำคัญยิ่งแก่มนุษย์ชาติ ได้แก่ ประการแรก จงอย่าพูดสิ่งใดเว้นเสียแต่สิ่งที่สูเจ้ารู้ และจงอย่าปฏิเสธสิ่งใดเว้นแต่สิ่งที่สูเจ้าไม่รู้ หลังจากนั้นท่านอิมาม (อ.) ได้อ่านโองการที่ 169 บทอะอฺรอฟ(2)

 

6. บางที่จุดประสงค์จากคำว่าประชาชาติก่อนหน้า ซึ่งก่อนผู้ตั้งภาคีเทียบเคียงชาวมักกะฮฺ ได้กล่าวด้วยความโง่เขลาหมายถึง พวกยะฮูดีย์และชาวคริสต์ ดังที่อัลกุรอาน โองการที่ 113 และ 118 บทอัลบะเกาะฮ์ได้กล่าวถึงไว้ก็เป็นไปได้

 

บทเรียนจากโองการ :

 

1 การตั้งตนเป็นปรปักษ์โดยปราศจากความรู้ครอบคลุม และกระทำการอย่างโง่เขลา ถือว่าเป็นการกดขี่สังคมประเภทหนึ่งเช่นกัน

 

2. จงอย่าปฏิเสธสิ่งที่สูเจ้าไม่มีความรู้ เนื่องจากผู้เป็นปรปักษ์กับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ส่วนใหญ่เกิดจากความไม่รู้ทั้งสิ้น

 

3. ถ้าหากบุคคลหนึ่งเข้าใจถึงวัตถุประสงค์และการตะอ์วีลกุรอาน สูเจ้าก็ไม่สมควรปฏิเสธ

 

เชิงอรรถ

 

1.อัลมุฟรอดาต ฟี เฆาะรีบิลกุรอาน คำว่า เอาวัล

 

2.อัลกุรอาน บทซ็อด 5, บทซัจญ์ดะฮ์ 10

 

ที่มา เว็บไซต์อัชชีอะฮ์

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม