ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 48 และ 49 บทยูนุส

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 48 และ โองการที่ 49 บทยูนุส

 

อัลกุรอาน กลุ่มโองการนี้กล่าวถึง การไม่ยอมรับโดยใช้ข้ออ้างต่างๆ เพื่อที่จะปฏิเสธการลงโทษ ซึ่งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ตอบโต้ข้ออ้างเหล่านั้น โองการกล่าวว่า

 

  وَيَقُولُونَ مَتَى‏ هذَا الْوَعْدُ إِن كُنتُمْ صَادِقِينَ* قُل لَا أَمْلِكُ لِنَفْسِي ضَرّاً وَلَا نَفْعاً إِلَّا مَا شَاءَ اللَّهُ لِكُلِّ أُمَّةٍ أَجَلٌ إِذَا جَاءَ أَجَلُهُمْ فَلَا يَسْتَأْخِرُونَ سَاعَةً وَلَا يَستَقْدِمُونَ‏

 

คำแปล :

 

48. และพวกเขา (มุชริก) กล่าวว่า ถ้าหากพวกท่านสัตย์จริง "เมื่อใดเล่าสัญญา (การลงโทษ) จะปรากฏ

 

49. จงกล่าวเถิด ฉันไม่มีอำจานที่จะให้โทษและให้คุณแก่ตัวฉัน เว้นแต่ที่อัลลอฮฺทรงประสงค์ สำหรับทุกประชาชาติย่อมมีวาระ (อายุขัย) กำหนด เมื่อวาระของพวกเขามาถึง พวกเขาจะขอผ่อนผันให้ล่าช้าสักระยะหนึ่งไม่ได้ และจะเร่งให้เร็วก็ไม่ได้

 

คำอธิบาย :

 

1.โองการข้างต้นนี้อ้างถึงคำพูดของบรรดาผู้ตั้งภาคีเทียบเคียงในสมัยของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ซึ่งจากคำพูดดังกล่าวได้เข้าใจถึงการล้อเรียนและการปฏิเสธของพวกเขา พวกเขาที่กล่าวเช่นนั้น ต้องการที่จะแสดงตนให้รู้ว่าพวกเขาไม่สนใจในคำพูดที่ขู่ให้หวาดกลัวของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) แต่อย่างใด อีกอย่างต้องการเป็นกำลังใจให้แก่จิตวิญญาณที่ฟุ้งซ่านของเหล่ามิตรสหายของตน

 

2. โองการกล่าวถึงข้ออ้างของบรรดาผู้ตั้งภาคีและข้อคลางแคลงใจของพวกเขาว่า เมื่อใดที่ประชาชาติหันเหออกจากความจริง พวกเขาจะไม่ปลอดภัยจากการลงโทษของพระเจ้า และในที่สุดแล้วพวกเขาต้องพบกับความพินาศ และสิ่งนั้นก็คือความสิ้นสลายของประชาชาติ อารยธรรมและวัฒนธรรม ซึ่งมีตัวอย่างอยู่อย่างดาษดื่น ดังนั้น สัญญาการลงโทษของพระเจ้าจะไม่ล่าช้าและจะไม่รีบเร่ง และอยู่ในอำนาจของพระเจ้า ไม่ได้อยู่ในมือของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)

 

3.โองการกล่าวว่าท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ไม่อาจเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์สิ่งใดได้โดยเสรี ถ้าปราศจากความประสงค์ของพระเจ้า แน่นอนว่าสิ่งนี้เป็นความจริงสำหรับทุกคนเช่นกัน  ซึ่งข้อกำหนดของเตาฮีดอัฟอาลก็เป็นทำนองเดียวกันนี้

 

4. ประโยคที่ว่า “ฉันไม่มีอำจานที่จะให้โทษและให้คุณแก่ตัวฉัน เว้นแต่ที่อัลลอฮฺทรงประสงค์” ศาสดามุฮัมมดั (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า ฉันเป็นเพียงเราะซูลที่ถูกส่งมา ส่วนการกำหนดการลงโทษอยู่ในอำนาจของพระเจ้า ดังนั้น เมื่อฉันไม่สามารถกำหนดความเป็นเจ้าของให้แก่ตัวเองได้ หรือให้คุณหรือให้โทษแก่ตัวเองได้ แน่นอนเกี่ยวกับพวกท่านฉันจะทำได้อย่างไร

 

ประโยคนี้บ่งบอกให้เห็นถึง เตาฮีดอัฟอาล (ความเป็นเอกเทศในการกระทำของพระเจ้า) หมายถึงทุกสิ่งบนโลกนี้ล้วนมาจากพระเจ้า และทุกสิ่งล้วนกลับไปหาพระองค์ และสิ่งนี้ไม่ได้หมายถึงว่าเป็นการบังคับหรือการกดขี่แต่อย่างใด เนื่องจากพระเจ้าคือผู้ทรงให้พลังอำนาจแก่เรา  และพลังอำนาจนั้นเองทำให้เราสามารถให้คุณหรือให้โทษแก่ตัวเองได้

 

อีกนัยหนึ่ง โองการข้างต้นได้ปฏิเสธการเป็นเจ้าของโดยตัวตน แต่ไม่ได้ปฏิเสธการเป็นเจ้าของโดยสิ่งอื่น เนื่องจากสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับพระประสงค์ของพระเจ้า ดังประโยคที่กล่าวว่า “เว้นแต่ที่อัลลอฮฺทรงประสงค์”

 

จากจุดนี้ทำให้ทราบว่า ความอดคติของนักตัฟซีรบางท่าน เช่น เจ้าของตัฟซีร อัลมะนาร พยายามจะใช้โองการข้างต้นเป็นบทพิสูจน์ให้เห็นว่า การตะวัซซุล (ขอผ่าน) ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) เป็นสิ่งไม่อนุญาต ซึ่งถือได้ว่าเป็นทัศนะที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากถ้าจุดประสงค์ของการ ตะวัซซุล คือการที่เราเชื่อว่าท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) เป็นเจ้าของกรรสิทธิ์ในอำนาจ หรือเป็นผู้ให้คุณหรือให้โทษโดยตรง (บิลซอต) แน่นอนว่าความเชื่อเช่นนี้เป็นชิริก และไม่มีมุสลิมคนใดสามารถมีความเชื่อเช่นนี้ได้เด็ดขาด

 

แต่ถ้าความเป็นเจ้าของนั้น มาจากพระเจ้าภายใต้ความหมายที่ว่า “เว้นแต่ที่อัลลอฮฺทรงประสงค์” แล้วละก็ไม่มีอุปสรรดอันใดทั้งสิ้น และสิ่งนี้ก็คือความเชื่อในเรื่องเตาฮีดอัฟอาลนั่นเอง

 

5. หลังจากนั้นโองการได้ตอบข้อคลางแคลงใจโดยกล่าวว่า “สำหรับทุกประชาชาติย่อมมีวาระ (อายุขัย) กำหนด เมื่อวาระของพวกเขามาถึง พวกเขาจะขอผ่อนผันให้ล่าช้าสักระยะหนึ่งไม่ได้ และจะเร่งให้เร็วก็ไม่ได้”

 

อีกนัยหนึ่งคือ ไม่มีประชาชาติใดเมื่อพวกเขาหันเหออกไปจากความจริงและสัจธรรม เขาจะต้องได้รับการลงโทษจากพระเจ้า อันเป็นมรรคจากการกระทำของเขาโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงสิ่งนั้นได้อย่างแน่นอน ฉะนั้น เมื่อเราย่างก้าวไปบนทิศทางดังกล่าว โดยหันเหชีวิตของเราออกไปจากกฎแห่งการสร้างสรรค์ของพระองค์ ปล่อยให้ศักยภาพหลุดลอยมือไป หลังจากนั้นตัวเราก็พบกับความตกต่ำ ซึ่งมีตัวอย่างเห็นได้อย่างดาษดื่นบนโลกนี้

 

ขณะเดียวกัน คำว่า ซาอัต บางครั้งหมายถึง ชั่ววาระหนึ่ง บางครั้งก็หมายถึง จำนวนบางส่วนจากเวลา แม้ว่าปัจจุบันนี้จะถือว่าหนึ่งวันมี 24 ชั่วโมงก็ตาม

 

บทเรียนจากโองการ :

 

1. บรรดาผู้ตั้งภาคีเทียบเคียงพระเจ้าเป็นปรปักษ์กับอิสลาม ชนิดไม่มีเหตุผลทว่าใช้ข้ออ้างและตั้งความคลางแคลงใจเป็นเหตุของตน

 

2. บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาและบรรดาผู้ตั้งภาคีทั้งหลาย ไม่จำเป็นต้องรีบเร่งไปสู่การลงโทษ เมื่อเวลาของการลงโทษมาถึงแล้วไม่สามารถปล่อยให้ล่าช้าหรือร่นเวลาให้เร็วได้

 

3. ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ไม่อาจเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์สิ่งใดได้ตามเจตคติเสรี ถ้าปราศจากพระประสงค์ของพระองค์

 

4. ประเทศชาติ วัฒนธรรมและอารยธรรมก็เหมือนกับประชาชาติ ที่มีชีวิตและล้มหายตายจากไป

 

5. แบบฉบับของพระเจ้านั้นจะให้โอกาสแก่ประชาชาติทุกคน แต่อำนาจของประชาชาติไม่มีความจีรังแต่อย่างใด

 

ที่มา เว็บไซต์อัชชีอะฮ์