ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 57 บทยุนุส

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 57 บทยุนุส

 

อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวถึงคุณสมบัติสำคัญ 4 ประการของอัลกุรอาน โดยกล่าวว่า

 

 يَا أيُّهَا النَّاسُ قَدْ جَاءَتْكُم مَوْعِظَةٌ مِن رَبِّكُمْ وَشِفَاءٌ لِمَا فِي الصُّدُورِ وَهُدىً وَرَحْمَةٌ لِلْمُؤْمِنِينَ‏

 

คำแปล :

 

57. โอ้ มนุษย์เอ๋ย แท้จริงข้อตักเตือนจากพระผู้อภิบาลของสูเจ้าได้มายังสูเจ้าแล้ว เป็นการบำบัดสิ่งที่มีอยู่ในทรวงอก เป็นการทางนำ และเป็นความเมตตาแก่บรรดาผู้ศรัทธา

 

คำอธิบาย :

 

อัลกุรอาน คือ ความเมตตายิ่งใหญ่ของพระเจ้า

 

1. คำว่า เมาอิเซาะฮ์ ตามรากศัพท์เดิมหมายถึง การตักเตือนสิ่งที่ดีโดยมีความเมตตาเป็นองค์ประกอบสำคัญ หรือมีการห้ามปรามและการขู่ร่วมอยู่ด้วย แต่อย่างไรก็ตามทุกคำตักเตือนสั่งสอน ซึ่งมีผลต่อผู้ถูกอบรมสั่งสอน ทำให้เขาหลีกเลี่ยงและละเว้นสิ่งไม่ดีไม่งามทั้งหลาย โดยมุ่งมั่นจิตใจไปที่ความดีและการเปลี่ยนแปลง อย่างนี้รวมเรียกว่า การตักเตือน

 

2. วัตถุประสงค์ของคำว่า ฮิดายะฮ์ของอัลกุรอาน หมายถึง การชี้นำไปสู่จุดหมายปลายทาง กล่าวคือ ความก้าวหน้าและความสมบูรณ์ของมนุษย์ในแง่บวงทั้งหมด

 

3. วัตถุประสงค์ของประโยคที่ว่า “เป็นความเมตตาแก่บรรดาผู้ศรัทธา” หมายถึงความโปรดปรานทั้งที่เป็นวัตถุปัจจัยและศีลธรรม ซึ่งครอบคลุมสภาพของมนุษย์ที่ดีทั้งหลาย แน่นอนว่า การชี้นำและความเมตตาของอัลกุรอานนั้นมีระดับชั้น ซึ่งระดับชั้นธรรมดาเป็นของคนทั่วๆ ไป ส่วนระดับชั้นที่สูงขึ้นไปเป็นของปวงมนุษย์ที่ดีทั้งหลายหรือผู้ศรัทธาแท้จริงนั่นเอง

 

4.คำว่า ชิฟาอ์ ในโองการหมายถึง การเยี่ยวยารักษาอาการเจ็บป่วยและการปนเปื้อนความสกปรกโสมมทางด้านจิตใจ และจิตวิญญาณของมนุษย์ เช่น ความอคติ ความโกรธเกลียด ความอิจฉาริษยา ความกลัว การตั้งภาคีเทียบเคียง และการฝ่าฝืนทั้งหลาย ซึ่งการอ่านและการปฏิบัติตามคำสอนของอัลกุรอาน จะช่วยบำบัดอาการป่วยไข้ทางใจเหล่านี้ให้หมดไป และจะทำให้จิตวิญญาณของมนุษย์มีความสะอาดหมดจรด

 

5. โองการดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นถึงขั้นตอนการอบรมที่สมบูรณ์ 4 ระดับแก่มนุษย์ ซึ่งอรรถาธิบายโดยอัลกุรอาน ประกอบด้วย ..

 

1- การตักเตือน ในระดับนี้อัลกุรอานได้ชี้แนะแก่บุคคลทุกคนให้กระทำ

 

2. การขัดเกลาจิตวิญญาณจากความสกปรกโสมมด้านศีลธรรม ในขั้นตอนนี้ อัลกุรอานจะชำระขัดเกลาความสกปรกแห่งจิตวิญญาณ และคุณลักษณะอันชั่วร้ายให้หมดไปจากจิตใจของมนุษย์

 

3. การชี้นำทาง ในขั้นตอนนี้อัลกุรอานอัลกุรอานจะสอดใส่รัศมีแห่งทางนำของตนในจิตใจมนุษย์

 

4.การมอบเครื่องยังชีพของพระเจ้าแก่มวลผู้ศรัทธา ในระดับนี้ปวงมนุษย์ที่ดีงามจะได้รับเครื่องยังชีพและความเมตตาแห่งสัจธรรมของพระองค์

 

6. คำว่า (กัลบ์) หมายถึง หัวใจที่อยู่ในทรวงอก บางครั้งหมายถึง สติปัญญาและจิตวิญญาณ ของมนุษย์ บางครั้งหมายถึงศูนย์ของจิตวิญญาณที่รับรู้ความรู้สึกต่างๆ ของมนุษย์ ดังเช่นเมื่อเวลาคิดจะเห็นว่าจิตวิญญาณนั้นมีบทบาทต่อมันสมองของเขาอย่างยิ่ง เมื่อเขามีความรู้สึกรัก ชอบ ตัดสินใจ ต้องการ โกรธ อคติ อิจฉา อภัย และอื่นๆ หัวใจของเขาก็จะมีปฏิกิริยาแปลกแสดงออกมา ซึ่งบางครั้งก็จะเต้นแรงผิดปกติ แต่บางครั้งก็เต้นเบามากเหมือนจะขาดใจให้ได้ แต่บางครั้งก็มีความรู้สึกว่าหัวใจของเราต้องการที่จะระเบิดออกทันที ทั้งหมดเหล่านี้เป็นเพราะว่า มีความใกล้ชิดระหว่างหัวใจกับปัญหาต่างๆ เหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ อัลกุรอาน จึงได้นำเอาความศรัทธาสัมพันธ์ไปยังจิตใจ อัลกุรอานกล่าวว่า “เพราะความศรัทธายังมิได้เข้าสู่หัวใจของพวกเจ้า”(1)

 

7. ท่านอิมาม อะลี (อ.) กล่าวว่า จงขอการเยียวยารักษาจิตใจของเจ้าจากอัลกุรอานเถิด และขอความช่วยเหลือจากอัลกุรอานเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ เนื่องจากอัลกุรอานคือ โอสถบำบัดรักษาโรคร้ายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอันได้แก่การปฏิเสธ การฝ่าฝืน การหลงผิด และการหลงทางทั้งหลาย(2)

 

8.อัลกุรอาน สามารถบำบัดรักษาอาการป่วยไข้ของประชาชนได้ กล่าวคือ

 

ประการแรก ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น อัลกุรอานคือสาเหตุของการขจัดภัยพิบัติต่างๆ ความแตกแยก และการตั้งภาคีเทียบเคียงให้หมดไป ด้วยการวางกฎเกณฑ์ของพระเจ้า และสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมในหมู่ประชาชาติให้ดีขึ้นมา อีกทั้งให้หลักประกันแก่พวกเขาในการยืนหยัดต่อสู้กับศัตรู ช่วยเหลือพวกเขาให้รอดพ้นจากความสกปรกโสมมและความอนาจารทั้งหลายให้หมดไป

 

ประการที่สอง ปัญหาปัจเจกบุคคลถ้าหากบุคคลหนึ่งมีความมักคุ้นกับอัลกุรอาน อ่านอัลกุรอานและเชื่อฟังปฏิบัติตาม แน่นอนสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับเขาคือ

 

- กริยามารยาทที่ไม่ดีไม่งามทั้งหลายของมนุษย์จะถูกชำระล้างให้สะอาด

 

- อาการป่วยไข้ทางใจและทางจิตวิญญาณของมนุษย์ เช่น ความอิจฉาริษยา ความอคติ และการฝ่าฝืนก็จะถูกขจัดให้หมดไปจากเขา

 

- จิตวิญญาณของเขาจะเงียบสงบลงมีความอ่อนโยน และสุขภาพจิตของเขาก็จะสมบูรณ์และดีขึ้น

 

9. แก่นแท้ของอัลกุรอานคืออะไร

 

ท่านอิมาม กล่าวว่า อัลกุรอานคือทุกสิ่ง อัลกุรอานไม่ใช่คำพูด อัลกุรอานไม่ใช่สิ่งที่เพียงแต่ได้ยินหรือมองเห็น ไม่ใช่คำพูด ไม่ใช่อักขระอักษร อัลกุรอานสูงส่งและยิ่งใหญ่กว่าสิ่งเหล่านี้มากยิ่งนัก ซึ่งพระองค์ประทานลงมาแก่เราทั้งหลายที่เป็นทั้งหูหนวกและตาบอด

 

มนุษย์คนหนึ่งที่ตาบอดเราจะอธิบายให้เขารับรู้และเข้าใจถึงแสงสว่างได้อย่างไร จะอธิบายด้วยภาษาอะไร หรือด้วยคำพูดประเภทใด ซึ่งนอกจะอธิบายกับเขาว่า นูร คือแสงที่ให้ความสว่าง และช่วยขจัดความมืดมิดให้หมดไป

 

บทเรียนจากโองการ :

 

1.อัลกุรอานคือ สิ่งที่มาเติมเต็มสุขภาพจิตให้มีความสมบูรณ์

 

2.ขั้นตอนอันสูงส่งแห่งการชี้นำ และความเมตตาของอัลกุรอานนั้น สำหรับปวงมนุษย์ที่ดีทั้งหลายที่ยอมรับสัจธรรมความจริง

 

3. จงค้นหาสุขภาพจิตสมบูรณ์ ความตักเตือน ความเมตตา และการชี้นำจากอัลกุรอาน

 

สุขภาพจิตและกุรอาน

 

ก. ปัจจัยความดันของจิตใจ (ความเครียด) :

 

1. การสูญเสียคววามสมดุลของร่างกาย (ความกังวลของผู้ป่วยและ ...);

 

2. บทบาทขององค์กร (กังวลอย่างเป็นทางการ);

 

3. วิกฤติในครอบครัว (ปัญหาการหย่าร้าง,การสูญเสียญาติไป)

 

4. สภาพแวดล้อม (มลพิษทางเสียง, อากาศ, การอพยพ)

 

5. การเมือง (สงครามจิตวิทยา ข่าวลือที่แพร่สะบัด การครอบงำ ความสัมพันธ์และการมีอำนาจเหนือ

 

6. บุคลิกภาพ (การมองในแง่ร้าย การหยุแย่ ความอคติ และ ...);

 

7. ความรู้สึกในแง่ของการสูญเสียคุณธรรม (ความผิด, ความริษยา การใส่ร้าย และ ...);

 

8 ความรู้สึกสูญเสียในแง่ของความว่างเปล่าทางจิตวิญญาณ (ความสูญเสียที่เกิดขึ้น ความเหงาโดดเดี่ยว, การไร้ที่พึ่งพิง ขาดการสนับสนุน และความบิดเบือนต่างๆ );

 

9. ความเชื่อและความเลื่อมใสศรัทธา (ความกดดันในหน้าที่การงาน การกลัวความตาย ...).

 

ข) อัลกุรอาน คือ การบำบัด

 

1. เราได้ให้ส่วนหนึ่งจากอัลกุรอานลงมาซึ่งเป็นการบำบัดและความเมตตาแก่บรรดาผู้ศรัทธา (อิสรอ, 82)

 

2. ในความเป็นจริง ได้มีคำแนะนำและการรักษาจากพระเจ้ามาสู่หัวใจของพวกท่าน

 

3. อัลกุรอาน เป็นแนวทางที่เที่ยงธรรมและเป็นการบำบัดแก่บรรดาผู้มีศรัทธา (ฟุซซิลัต, 44)

 

ท่านอิมาม อะลี (อ.) กล่าวว่า จงขอการเยียวยารักษาจิตใจของเจ้าจากอัลกุรอานเถิด และขอความช่วยเหลือจากอัลกุรอานเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ เนื่องจากอัลกุรอานคือ โอสถบำบัดรักษาโรคร้ายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอันได้แก่การปฏิเสธ การฝ่าฝืน การหลงผิด และการหลงทางทั้งหลาย(3)

 

ค) ลักษณะพิเศษจากผลสะท้อนในการสอนอัลกุรอานที่มีต่อสุขภาพจิตมนุษย์ :

 

1. การเชิญชวนไปสู่ธรรมชาติดั้งเดิมคือ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสบายทางด้านจิตใจ (โรม, 30)

 

2. ความศรัทธาคือ มูลเหตุที่นำไปสู่ความสงบทางด้านจิตใจ (อันอาม, 82)

 

3. ความเชื่อมั่นและการมอบหมายในพระเจ้าเป็นสาเหตุทำให้จิตใจมีความสงบมั่น (ฆอฟิร, 44)

 

4. หลักการคือการกำหนดกฎสภาวะ มิใช่ความบังเอิญ และไม่ใช่การสุ่ม (เตาบะฮ์, 52);

 

5. การมองความตายในเชิงบวกและถือว่านั่นเป็นสะพานเชื่อมระหว่างสองโลก (ฟัจญฺริ, 27)

 

6. หน้าที่ความรับผิดชอบของมนุษย์ถือเป็นหน้าที่ไม่ใช่ผล (บะเกาะเราะฮฺ, 233;

 

7. การให้ความรักต่อเครือญาติและการสนับสนุนทางสังคม (อัสรอ, 34;บะเกาะเราะฮ์, 83)

 

8. การเชิญชวนไปสู่การยืนหยัดต่อปัญหาความทุกข์ทรมานและความเศร้าโศก (บะเกาะเราะฮ์,155)

 

9. ความสามัคคีด้านของบุคลิกภาพของมนุษย์ ผ่านความเชื่อในความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า (บทเตาฮีด)

 

10. การลดภาวะซึมเศร้าและเพิ่มความร่าเริงแก่จิตวิญญาณด้วยความหวัง โดยออกห่างจากความสิ้นหวัง (ยูซุฟ, 87);

 

11. รำลึกถึงพระเจ้าทำให้จิตใจมีความสงบ อีกช่วยขจัดสาเหตุของความวิตกกังวลและความประหม่า (อัรเราะด์)

 

12. การห้ามไม่ให้ฆ่าตัวตายในศาสนา ทำให้ลดจำนวนการฆ่าตัวตาย (นิซา, 29);

 

13.ฮิญาบคือ ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพจิตของสตรี (นูร 31,และอะฮ์ซาบ83)

 

14. ความเชื่อในเรื่องการฟื้นคืนชีพ คือปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมสุขภาพจิตให้มีความสมบูรณ์

 

15. นมาซคือสาเหตุที่ก่อให้เกิดความสงบด้านจิตใจ (ฏอฮา, 14)

 

16. การกำชับความดีและห้ามปรามความชั่วร้าย กับผลต่อยับยั้งการเจริญเติบโตของปัจจัยมลพิษที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สังคม และผลกระทบที่มีต่อสังคมอื่น ๆ (อาลิอิมรอน, 104,110,114; เตาบะฮฺ, 71, 112, และลุกมาน, 17)

 

17. การห้ามมิให้คิดไม่ดี ทำตัวสอดแนม ใส่ร้าย นินทา ซึ่งผลกระทบของสิ่งเหล่านั้นมีต่อความสะอาดของสังคม และการประกันความปลอดภัยของสังคม และการรักษาบุคลิกภาพของบุคคล (ฮุจญฺรอต, 11-12);

 

18. การสร้างบรรยากาศความสมบูรณ์ทางเพศในสังคมให้ดำรงความบริสุทธิ์ โดยผ่านขบวนการฮิญาบ และการห้ามมิให้มีการค้าประเวณี (นูร, 30-31, และบทอะฮ์ซาบ, 59)

 

19 การแนะนำให้แต่งงานการและการสร้างครอบครัว มีผลกระทบอย่างมากต่อความสงบส่วนบุคคล และสภาพแวดล้อมที่มีความสมบูรณ์ (โรม, 21.)

 

เชิงอรรถ

 

1.อัลกุรอาน บทฮุจญ์รอต โองการที่ 14

 

2.นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮ์ คำเทศนาบทที่  176

3.เล่มเดิม


ที่มา เว็บไซต์อัชชีอะฮ์