เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 59 บนยูนุส

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 59 บนยูนุส

 

อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวถึงกฎเกณฑ์ที่สร้างขึ้นโดยบรรดาผู้ตั้งภาคีเทียบเคียงทั้งหลาย โองการ กล่าวว่า

 

 قُلْ أَرَأَيْتُم مَا أَنزَلَ اللَّهُ لَكُم مِن رِزْقٍ فَجَعَلْتُمْ مِنْهُ حَرَاماً وَحَلَالًا قُلْ آللَّهُ أَذِنَ لَكُمْ أَمْ عَلَى اللَّهِ تَفْتَرُونَ‏

 

คำแปล :

 

59. จงกล่าวเถิด "พวกท่านเห็นไหมเครื่องยังชีพที่อัลลอฮฺทรงประทานให้แก่พวกท่าน แล้วพวกท่านได้ทำให้บางส่วนเป็นที่ต้องห้าม และบางส่วนเป็นที่อนุมัติ จงกล่าวเถิด อัลลอฮฺ ทรงอนุมัติให้แก่พวกท่าน หรือพวกท่านปั้นแต่งให้แก่อัลลอฮฺกันแน่

 

คำอธิบาย :

 

อันใดคือ การร่างกฎหมายอันเฉพาะเจาะจงสำหรับพระเจ้า

 

1. บรรดาผู้ตั้งภาคีได้ประกาศห้ามสัตว์บางประเภทและพืชผลการเกษตร ดังปรากฏแล้วในบทมาอิดะฮ์ โองการที่ 103 และบทอันอาม โองการที่ 139

 

2. บุคคลใดมีศรัทธาต่ออัลลฮฺ และรู้ว่าผู้ประทานเครื่องยังชีพคือพระเจ้า ฉะนั้น เขาจะต้องยอมรับความจริงว่า การอธิบายและการวางบทบัญญัติก็ต้องมาจากพระองค์ด้วยเหมือนกัน เพราะว่าพระองค์ทรงเป็นเจ้าของที่แท้จริงของทุกอย่าง ดังนั้น พระองค์คือผู้ออกกฎหมาย

 

3. การร่างกฎหมายนั้นต้องได้รับอนุญาตจากพระเจ้า หรือใส่ร้ายและโกหกแก่พระองค์ จะไม่มีทางที่สามแน่นอน ฉะนั้น จะเห็นว่าการร่างกฎเกณฑ์เองของบรรดาผู้ตั้งภาคีไม่ได้มาจากเงื่อนไขแรกแน่นอน และเป็นที่ชัดเจนว่าพวกเขาได้มุสาและใส่ร้ายพระเจ้า

 

4. รายงานบางบทกล่าวว่า อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงอนุญาตการร่างกฎหมายบางอย่างที่จำกัดและเฉพาะพิเศษ ไว้ในอำนาจของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ภายใต้หัวข้อว่า ฟะเราะฎุนศาสดา หรือ วิลายะฮ์ ตัชรีอีย์

 

5. โองการข้างต้นกล่าวว่า เครื่องยังชีพถูกประทานลงมา อาจเป็นเพราะว่ารากที่มาของเครื่องยังชีพทั้งหมดคือ สายฝน ซึ่งได้ตกมาจากฟากฟ้า หรือให้ความหมายว่า การประทานตำแหน่ง หมายถึงเครื่องยังชีพต่างๆ ได้ถูกประทานมาจากด้านบนอันสูงส่งจนมาถึงพวกเราทั้งหลาย

 

6. กฎหมายที่มนุษย์ได้ร่างขึ้นมา แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ กล่าวคือ

 

ประการแรก กฎเหมายต่างๆ ที่อยู่ตรงข้ามกับกฎเกณฑ์ของพระเจ้า เช่น กฎหมายของบรรดาผู้ตั้งภาคีทั้งหลาย และกฎหมายของประเทศต่างๆ ทั่วโลก จะเห็นว่ากฎหมายเหล่านั้นถูกร่างขึ้นมาตามความพอใจของกลุ่มชน และมีความผิดพลาด

 

ประการที่สอง กฎเกณฑ์ที่วางอยู่บนขอบข่ายของบทบัญญัติของพระเจ้า เมื่อถูกนำไปปฏิบัติในสังคมจะไม่ขัดแย้งกับกฎเกณฑ์ของพระเจ้า

 

สิ่งที่โองการข้างต้นได้กล่าวประณามไว้คือ การมุสาและการใส่ร้ายที่มีต่อพระเจ้า ซึ่งถือเป็นกฎหมายในประเภทแรกที่กล่าวถึง

 

7. นักวิชาการสาขา อุซูลลุลฟิกฮ์ ได้ใช้ประโยชน์จากโองการนี้ว่า กฎเกณฑ์ของพระเจ้าจะสามารถพิสูจน์ และสัมพันธ์ไปยังอัลลอฮฺได้นั้น ต้องถึงขั้นของความมั่นใจ ซึ่งในตัฟซีรอัลกุรอานก็ยอมรับเฉพาะประเด็นที่สามารถมั่นใจได้เท่านั้น จึงจะสามารถสัมพันธ์ไปยังพระองค์ได้ ด้วยเหตุนี้ การสัมพันธ์บทบัญญัติบางประการที่เกิดจากการคาดเดาไปยังพระองค์จึงเท่ากับเป็นการใส่ร้ายพระองค์ และเป็นฮะรอม (บาป) เพราะโดยหลักการแล้ว การคาดเดาไม่นับว่าเป็นเหตุผล

 

บทเรียนจากโองการ :

 

1. การร่างกฎหมายเป็นสิทธิของพระองค์อัลลอฮฺเทานั้น บุคคลใดก็ตามถ้าหากปราศจากการอนุญาตจากพระองค์ แล้วเขาได้ร่างกฎหมายขึ้นเอง เท่ากับเป็นการมุสาและใส่ร้ายพระองค์

 

2. ถ้าปราศจากการอนุญาตจากอัลลอฮฺ จงอย่าประกาศว่าสิ่งโน้นสิ่งนี้เป็นฮะรอมอย่างเด็ดขาด

 

ที่มา เว็บไซต์อัชชีอะฮ์

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม