เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 64 65และ 66 บทยูนุส

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 64  65และ 66 บทยูนุส

 

อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวถึงแบบฉบับของพระเจ้าที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง พระองค์ทรงประทานรางวัลแก่หมู่มวลมิตรของพระองค์ โองการกล่าวว่า

 

 لَهُمُ الْبُشْرَى‏ فِي الْحَيَاةِ الدُّنْيَا وَفِي الآخِرَةِ لَا تَبْدِيلَ لِكَلِمَاتِ اللَّهِ ذلِكَ هُوَ الْفَوْزُ الْعَظِيمُ‏

 

คำแปล :

 

64. สำหรับพวกเขาจะได้รับข่าวดีในการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ และในโลกหน้า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในพจนารถของอัลลอฮฺ นี่คือความสำเร็จอันยิ่งใหญ่

 

คำอธิบาย :

 

1. คำว่า บุชรอ ตามหลักภาษาหมายถึง การปกปิดภายนอก เนื่องจากเมื่อได้ยินผลรางของพวกเขา ผลของความดีใจของพวกเขาจะแสดงออกมาทางใบหน้า ซึ่งจะเรียกสิ่งนั้นว่า บุชรอ[44] ส่วนวัตถุประสงค์ของคำว่า บะชารัต ในโองการนั้นอาจหมายถึง การแจ้งข่าวดีของมวลมลาอิกะฮฺเรื่อง สรวงสวรรค์ แก่บรรดาผู้ศรัทธาที่อยู่ในช่วงที่กำลังจะสิ้นใจ[45]หรืออาจหมายถึงชัยชนะที่มีเหนือศัตรูและการปกครองที่ดีบนหน้าแผ่นดิน หรือการนอนหลับและฝันเห็นแต่สิ่งที่ดี ซึ่งบรรดาผู้ศรัทธาได้เห็นบนโลกนี้หรือจะได้เห็นในวันนั้น ซึ่งความหมายที่เป็นไปได้ทั้งหมด ตามที่กล่าวมานี้เป็นความหมายจากหลายรายงานที่กล่าวไว้(1)

2. บางรายงานกล่าวว่า วัตถุประสงค์ของคำว่า บะชารัต ในโองการข้างต้นหมายถึง บรรดาผู้ศรัทธาเมื่อวาระสุดท้ายได้มาถึง เขาจะได้เห็นท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และท่านอิมามอะลี (อ.) .ซึ่งทั้งสองจะแจ้งข่าวดีกับเขา[(2)

และนี่คือความหมายของคำว่าบะชารัต ที่อธิบายไว้ในโองการข้างต้น

แต่อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์ของการมองเห็นในที่นี้ หมายถึงการมองเห็นในโลกบัรซัค

3. โองการก่อนหน้านี้กล่าวว่า ปวงมิตรของพระเจ้าจะไม่หวาดกลัว และจะไม่ทุกข์ระทม แต่โองการนี้ได้กล่าวว่าหัวใจของพวกเขาจะเบิกบานมีความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า มีจิตวิญญาณและร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีความรู้สึกสงบมั่นคง จิตใจผ่องแผ้วและร่าเริง

4. แบบฉบับของพระเจ้าก็คือ กฎเกณฑ์ต่างๆ ของพระเจ้า ซึ่งครอบคลุมอยู่เหนือธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และความเป็นมนุษย์ ที่สำคัญจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเด็ดขาด เนื่องจากทุกสิ่งดำเนินไปตามระบบของเหตุปัจจัย และระบบโครงสร้างที่กำหนดไว้แล้วอย่างมั่นคง

 

บทเรียนจากโองการ :

 

1. หมู่มวลมิตรของพระเจ้าจะได้รับผลรางวัลทั้งโลกนี้และโลกหน้า จิตใจของพวกเขาจะร่าเริงเสมอ

2. สัญญาและแบบฉบับของพระเจ้า ไม่อาจบิดพลิ้วหรือฉ้อฉลได้ย่างแน่นอน

3.ปวงผู้ศรัทธาทั้งหลายจงสำรวมตนต่ออัลลอฮฺเถิด เพื่อท่านจะได้รับรางวัลจากพระองค์ และจะได้ประสบความสำเร็จในชีวิต

 

 โองการที่ 65 บทยูนุส

 

อัลกุรอาน โอกงการนี้กล่าวถึงเกียรติยศของพระเจ้า และการปลอบประโลมใจที่มีต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) โองการกล่าวว่า

 

 وَلَا يَحْزُنْكَ قَوْلُهُمْ إِنَّ الْعِزَّةَ لِلَّهِ جَمِيعاً هُوَ السَّمِيعُ الْعَلِيمُ‏

 

คำแปล :

 

65. และอย่าให้คำพูดของพวกเขา (มุชริก) ทำให้เจ้าต้องเสียใจ แท้จริงอำนาจทั้งมวลเป็นของอัลลอฮฺ พระองค์เป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้

 

คำอธิบาย :

 

1.โองการดังกล่าวได้ปลอบประโลมท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ซึ่งในความเป็นจริงต้องการกล่าวแก่บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายว่า อย่าได้นำเอาคำพูดชั่วร้ายและไร้สาระ หรือการโฆษณาเชิงลบของพวกมุชริกมาเป็นอารมณ์ หรือทำให้พวกท่านต้องระทมทุกข์และเป็นกังวลใจเด็ดขาด เพราะเหตุใดหรือ ก็เพราะว่าอำนาจทั้งปวงนั้นเป็นของอัลลอฮ์

 

2. คำว่า อิซซัต หมายถึงสภาพหนึ่งสำหรับบุคคล ซึ่งเป็นอุปสรรคขัดขวางมิให้คนอื่นมีอำนาจเหนือเขา ส่วน อิซซัต ของพระเจ้าหมายถึง ชัยชนะหรือความสำเร็จที่ไม่มีวันปราชัย(3)

 

บทเรียนจากโองการ :

 

1. อำนาจนั้นเป็นของอัลลอฮ์ แน่นอนเพียงคำพูดของศัตรูไม่อาจทำลายอำนาจเหล่านั้นให้สูญสิ้นไปได้

 

2. จงอย่าได้ใส่ใจต่อการโฆษณาชวนเชื่อไร้สาระ และเป็นไปในทางลบของบรรดาผู้ตั้งภาคีเป็นอันขาด

 

โองการที่ 66 บทยูนุส

 

อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวถึงการคาดเดาอันชั่วร้ายของบรรดาผู้ตั้งภาคีเทียบเคียง โดยกล่าวว่า

 

 أَلَا إِنَّ لِلَّهِ مَن فِي السَّماوَاتِ وَمَن فِي الْأَرْضِ وَمَا يَتَّبِعُ الَّذِينَ يَدْعُونَ مِن دُونِ اللَّهِ شُرَكَاءَ إِن يَتَّبِعُونَ إِلَّا الظَّنَّ وَإِنْ هُمْ إِلَّا يَخْرُصُونَ‏

 

คำแปล :

 

66. จงรู้ไว้เถิดว่า แท้จริงทุกสิ่งในชั้นฟ้าทั้งหลาย และทุกสิ่งในแผ่นดินนั้นเป็นของอัลลอฮฺ  และบรรดาผู้วิงวอนขอสิ่งอื่นจากอัลลอฮฺ จะไม่ปฏิบัติตามเจว็ดเหล่านั้น (ทว่า) พวกเขาไม่ปฏิบัติตามอันใดเว้นแต่การคาดเดาเท่านั้น และพวกเขาไม่ได้ตั้งอยู่บนสิ่งใด นอกจากการโกหก

 

คำอธิบาย :

 

1. โดยธรรมชาติแล้วบุคคลที่ปฏิบัติตามการคาดเดาที่ไม่มีรากฐานทางความคิดหรือความเชื่อ ในที่สุดแล้วพวกเขาก็จะกล่าวมุสา หรือการคาดเดาจะนำพวกเขาไปสู่การพูดปด เนื่องจากความจริงหรือความถูกต้องนั้นวางอยู่บนความเชื่อมั่นนั่นเอง ส่วนการมุสานั้นวางอยู่บนการเดาและการสุ่ม

 

2. การเคารพรูปปั้นบูชา เป็นการเดาที่อาศัยการจินตนาการขึ้นในความคิด และได้สร้างรูปที่ปราศจากจิตวิญญาณขึ้นมา หลังจากนั้นได้ตั้งให้สิ่งนั้นเป็นพระเจ้าเพื่อการบไหว้บูชา

 

3. จุดประสงค์ของ การคาดเดา (อัซซอนนะ) ในโองการข้างต้นได้รับการประณามและถูกพิพากษาไปแล้ว มันเป็นความเชื่อที่เลือนลอย เหมือนการเชื่อในโชคลางของบรรดาผู้ตั้งภาคีซึ่งไม่มีมูลความจริงและแก่นสาร, ซึ่งการคาดเดานั้นไม่ได้รับการยอมรับย่างละเอียดด้านความคิดมีเหตุผล เช่น คะบัรวาฮิด หรือการยืนยันของพยานซึ่งถือว่าเป็นเหตุผลเชื่อถือได้ ดังโองการนี้ จึงไม่ใช่เหตุผลที่ยืนยันว่า การคาดเดาไม่มีเหตุผลที่เชื่อถือได้

 

4. โองการนี้ชี้ให้เห็นว่าพระเจ้าทรงเป็นเจ้าของทุกสรรพสิ่ง ดังนั้น ทุกสิ่งที่ตั้งเป็นภาคีเทียบเคียงพระองค์ จึงไม่คู่ควรหรืออยู่ในฐานะเดียวกันกับพระองค์ ทว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ ด้วยเหตุนี้ บรรดาผู้ตั้งภาคีเทียบเคียงจึงคาดเดาเอาเองว่า พวกเขาได้เคารพสักการหุ้นส่วนของพระเจ้า

 

บทเรียนจากโองการ :

 

1. การตั้งภาคีเทียบเคียง หรือการเคารพรูปปั้นบูชาเป็นหนึ่งในการคาดเดาที่โกหก

 

2. จงอย่างปฏิบัติตามความสงสัยหรือการคาดเดาที่ไม่มีแก่นสารและไม่มีมูลความจริงเด็ดขาด

 


เชิงอรรถ


1.ตัฟซีร ซอฟีย์ เล่มที่ 2 หน้าที่ 409 และ 410


2.อุซูลกาฟีย์ เล่มที่ 3 หน้าที่ 128, ตัฟซีรนูรรุซซะเกาะลัยน์ เล่มที่ 2 หน้าที่ 310


3.มุฟรอดาต รอฆิบอิสฟาฮานีย์ หมวดคำว่า อิซซะฮ์


ที่มา เว็บไซต์อัชชีอะฮ์

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม