เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 71 บทยูนุส

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 71 บทยูนุส

 

อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวถึงเรื่องราวของศาสดานูฮฺ (อ.) และการต่อสู้ของท่าน โองการกล่าวว่า

71. وَاتْلُ عَلَيْهِمْ نَبَأَ نُوحٍ إِذْ قَالَ لِقَوْمِهِ يَاقَومِ إِن كَانَ كَبُرَ عَلَيْكُم مَقَامِي وَتَذْكِيرِي بِآياتِ اللَّهِ فَعَلَى اللَّهِ تَوَكَّلْتُ فَأَجْمِعُوا أَمْرَكُمْ وَشُرَكَاءَكُمْ ثُمَّ لَا يَكُنْ أَمْرُكُمْ عَلَيْكُمْ غُمَّةً ثُمَّ اقْضُوا إِلَيَّ وَلَا تُنظِرُونِ‏

คำแปล :

71. และจงสาธยายให้พวกเขาฟังถึงเรื่องราวของนูฮฺ เมื่อเขากล่าวแก่ประชาชาติของเขาว่า โอ้ หมู่ชนของฉัน มาตรว่าการพำนักอยู่ของฉันและการตักเตือนของฉัน ด้วยโองการทั้งหลายของอัลลอฮฺเป็นเรื่องใหญ่แก่พวกท่านแล้ว ฉันก็ขอมอบหมายแด่อัลลอฮฺ พวกท่านจงร่วมกันวางแผนของพวกท่านพร้อมกับบรรดาเจว็ดของพวกท่านเถิด แล้วอย่าให้แผนของพวกท่านเคลือบแฝงแก่พวกท่าน ดังนั้น จงจัดการฉันทันทีและอย่าได้ลังเล

คำอธิบาย :

มุมหนึ่งของการต่อสู้ของศาสดานูฮฺ (อ.)

โองการข้างต้นถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการสาธยายประวัติศาสตร์บรรดาศาสดา (อ.) และชนเผ่าก่อนหน้านั้น ผู้ตั้งภาคีเทียบเคียงจำนวนมากมายได้สั่งบรรดาศาสดา แน่นอนว่าคำพูดที่บรรดาผู้ตั้งภาคีได้กล่าวแก่บรรดาศาสดา เป็นคำสาธยายและเป็นบทเรียนในเชิงประวัติศาสตร์ที่ให้แง่คิดและความสมบูรณ์แก่ชีวิต

1.โองการข้างต้นบ่งบอกให้เห็นว่า ศาสดานูฮฺ (อ.) เป็นศาสดาที่ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งของพระเจ้า ท่านพร้อมกับสหายจำนวนเล็กน้อยสามารถยืนหยัดต่อสู้กับศัตรูที่เปี่ยมไปด้วยอำนาจในสมัยนั้นได้อย่างไร ท่านได้แสดงความกล้าหาญความอดทนอย่างสูง โดยมิได้สนใจในอำนาจและบรรดาเจว็ดต่างๆ ของบรรดาผู้ตั้งภาคีเทียบเคียง ท่านได้สร้างความเสียหายด้านจิตวิทยาอย่างมากแก่พวกเขา

2. นักอรรถาธิบายอัลกุรอานบางท่าน (นักตัพซีร) แสดงความคิดเห็นว่า การตีความหมายของนูฮฺ (อ.) เป็นหนึ่งในปาฏิหาริย์ เนื่องจากท่านไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ แต่สามารถคุกคามและขู่ศัตรูได้ จนได้รับชัยชนะในที่สุด

3. ประเด็นที่น่าสนใจคือ บางครั้งคู่แข่งหรือศัตรูของนูฮฺ (อ.) ไม่อดทนและไม่ยอมรับการมีอยู่ของนูฮฺ และโองการต่างๆ ของพระเจ้า แต่นูฮฺ (อ.) ได้ใช้ความเมตตาและการแสดงความเห็นอกเห็นใจพวกเขา ท่านได้กล่าวเรียกพวกเขาว่า โอ้ กลุ่มชนของฉัน

4. โองการข้างต้นได้ถูกประทานลงที่มักกะฮฺ ขณะนั้นท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่คล้ายคลึงกับศาสดานูฮฺ ดังนั้น โองการนี้ต้องการจะสอนศาสดาว่า ท่านจงร่วมกับบรรดาผู้ศรัทธาจำนวนน้อยนิดยืนหยัดต่อสู้ กับบรรดาพวกตั้งภาคีที่มีจำนวนมากมาย และจงพึ่งพิงเฉพาะอัลลอฮฺ (ซบ.) เท่านั้น

5. รายงานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ขณะอยู่ในกัรบะลาอ์ ช่วงก่อนเทียงของวันอาชูรอ ท่านได้อ่านโองการนี้แก่เหล่าสหายของท่าน

6. คำว่า ฆัมมะฮฺ ตามความหมายเดิมหมายถึง การปกปิดสิ่งหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ความโศกเศร้าจึงถูกเรียกว่า ฆัม ด้วยเช่นกัน เนื่องจากความเศร้าได้เกาะกุมหัวใจของเขา

บทเรียนจากโองการ :

1. การอบรมด้านกองทัพสำหรับผู้นำแห่งพระเจ้าก็คือ จงอย่าเกรงกลัวศัตรูที่มีจำนวนมากกว่า ชะฮีดคือหนทางที่สร้างความรุ่งเรือง จงมอบหมายความไว้วางใจต่ออัลลอฮฺ แล้วจงออกไปต่อสู้

2. ผู้นำแห่งพระเจ้าได้สร้างประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ เพื่อเป็นบทเรียนอันยิ่งใหญ่สำหรับอนุชนรุ่นหลัง

3. บรรดาศาสดาแห่งพระเจ้า มีความศรัทธามั่นต่อเป้าหมายของพวกท่าน ด้วยการมอบหมายความไว้วางใจและพึ่งพิงเฉพาะอัลลอฮฺเท่านั้น พวกเขาจึงได้ต่อสู้กับศัตรูที่มีกำลังมากกว่า และไม่เคยหวาดกลัวต่อการเป็นชะฮีด

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม