เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 83 บทยูนุส

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

 ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 83 บทยูนุส

 

อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวว่า ขั้นตอนต่อสู้ของมูซา (อ.) ในขั้นที่สาม หมายถึงขั้นตอนของการรับสมัครกองกำลังคนหนุ่มสาว โองการกล่าวว่า

83. فَمَا آمَنَ لِمُوسَى‏ إِلَّا ذُرِّيَّةٌ مِن قَوْمِهِ عَلَى‏ خَوْفٍ مِن فِرْعَوْنَ وَمَلَئِهِمْ أَن يَفْتِنَهُمْ وَإِنَّ فِرْعَوْنَ لَعَالٍ فِي الْأَرْضِ وَإِنَّهُ لَمِنَ الْمُسْرِفِينَ‏

คำแปล :

83. แต่ไม่มีผู้ใดศรัทธาต่อมูซา นอกจากลูกหลานบางคนจากกลุ่มชนของเขา เนื่องจากความกลัวต่อฟิรเอานฺ และชนชั้นผู้นำของเขาที่จะนำความเดือดร้อนแก่พวกเขา และแท้จริงแล้วฟิรเอานฺ เป็นผู้หยิ่งผยองในแผ่นดิน (อียิปต์) และแท้จริงเขาอยู่ในหมู่ผู้ฝ่าฝืนละเมิด

คำอธิบาย :

ขั้นตอนที่สามในการต่อสู้ของศาสดามูซากับผู้อธรรมแห่งอียิปต์

1.อันดับแรกโองการสาธยายถึงกลุ่มแรกที่ได้ศรัทธาต่อศาสดามูซา (อ.) โดยกล่าวว่า หลังจากเหตุการณ์ได้ผ่านไปกลุ่มแรกที่ศรัทธาต่อศาสดามูซา (อ.) คือ ลูกหลานบางคนจากกลุ่มชนของมูซา เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากความคิดและจิตใจของเยาวชนนั้นสะอาดกว่า อีกประการหนึ่งเยาวชนนั้นจิตไม่ได้ผูกพันกับผลประโยชน์ พวกเขาต้องการการเปลี่ยนแปลงมากกว่าสิ่งอื่น

2. คำสรรพนาม (ฮุ) ในประโยคที่กล่าวว่า (مِنْ قومِه) บางที่อาจย้อนกับไปหาศาสดามูซา (อ.) หรือฟิรเอานฺก็ได้ นั่นหมายถึงว่าชนกลุ่มนี้เป็นคนหนุ่มสาวมีจำนวนเพียงน้อยนิดทีได้ศรัทธา หรืออาจหมายถึงกลุ่มชนของฟิรเอานฺ ซึ่งพวกเขาได้แอบศรัทธาต่อศาสดามูซา (อ.) เฉกเช่น ภรรยาของฟิรเอานฺ และผู้ศรัทธาซึ่งเป็นลูกหลานของฟิรเอานฺ หรืออาจหมายถึง เยาวชนกลุ่มแรกของวงศ์วานอิสราอีลที่ได้ศรัทธาต่อศาสดามูซา (อ.) และหลังจากนั้นวงศ์วานอิสราอีลก็ได้เริ่มศรัทธาต่อศาสดามูซา (อ.) ที่ละน้อย

และอาจเป็นไปได้เช่นกันที่วัตถุประสงค์ของโองการอาจหมายถึงชนทั้งสองกลุ่ม

3. คำว่า ฟิตนะฮฺ โดยหลักแล้วหมายถึง การตกอยู่ภายใต้การบีบบังคับของสิ่งหนึ่ง สำหรับการแยกส่วนผสมบริสุทธิ์ออกจากสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ แต่ในที่นี้อาจหมายถึงการหันเหผู้ศรัทธาออกจากศาสนาของมูซา (อ.) ด้วยการขู่บังคับและการทรมาน หรือสร้างความลำบากทุกประการแก่พวกเขา

บทเรียนจากโองการ :

1. ฟิรเอานฺแสดงความยโสโอหังและถืออัตตาตัวตนว่าตนสูงกว่าคนอื่น ด้วยเหตุนี้ เขาจึงไม่เคยเห็นผู้ใดอยู่ในสายตา ซึ่งเราจะต้องไม่เป็นเช่นนั้นเด็ดขาด

2. ในระบบของผู้ละเมิด, ความกลัวและการบีบบังคับคือการปกครอง แต่สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถเป็นอุปสรรคกีดขวางไม่ให้มีแนวโน้มไปสู่สัจธรรมได้

3. สำหรับการโน้มน้าวกองกำลังปฏิวัติและการฝึกอบรม เยาวชนมีความเหมาะสมมากที่สุด

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม