เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 92 บทยูนุส

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

 ตัฟซีรอัลกุรอาน  โองการที่ 92 บทยูนุส

 

อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวถึงบทเรียนที่ได้จากพฤติกรรมของฟิรเอานฺ โองการกล่าวว่า

92. فَالْيَوْمَ نُنَجِّيكَ بِبَدَنِكَ لِتَكُونَ لِمَنْ خَلْفَكَ آيَةً وَإِنَّ كَثِيراً مِنَ النَّاسِ عَنْ آيَاتِنَا لَغَافِلُونَ‏

คำแปล :

92. ดังนั้น วันนี้เราจะช่วยเฉพาะร่างของเจ้าให้รอดออกจากทะเล เพื่อจะได้เป็นสัญญาณ (บทเรียน) แก่ชนรุ่นหลังเจ้า และแท้จริงมนุษย์ส่วนมากเฉยเมยต่อสัญญาณต่าง ๆ ของเรา

คำอธิบาย :

1. คำว่า บะดัน ตามความหมายในพจนานุกรมหมายถึง เรือนร่างอันยิ่งใหญ่ หรือหมายถึง ชิ้นส่วนหรือเกราะ ฉะนั้น ถ้าตามความหมายกา จุดประสงค์ของโองการคือ เรือนร่างอันยิ่งใหญ่ของฟิรเอานฺได้ถูกนำออกจากทะเล เพื่อประชาชาติทั้งหมดจะได้รับรู้ว่า ผู้ที่กล่าวอ้างว่าตนเป็นพระเจ้าและเป็นผู้บริบาลนั้นได้สิ้นใจตายเสียแล้ว

แต่ถ้าตามความหมายที่สอง หมายถึงเกราะ บ่งชี้ให้เห็นว่าฟิรเอานฺ ส่วมใส่เกราะที่มีความหนักอึ้งอยู่นั้นตามความเป็นจริงแล้วเขาต้องจมน้ำไปใต้ทะเลลึกแน่นอน  แต่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงช่วยให้เขาพ้นจากน้ำทั้งที่สวมเสื้อเกราะหนักอึ้ง เพื่อให้คนอื่นได้รับรู้ และจะได้ไม่มีความสงสัยอีกต่อไป[59]

2. นักตัฟซีรบางคนกล่าวว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงนำร่างของฟิรเอานฺขึ้นไว้เหนือน้ำในจุดที่สูงที่สุด เพื่อทุกคนจะได้เห็นและไม่สงสัยในความตายของเขาอีกต่อไป เนื่องจากประโยคที่กล่าวว่า (نُنَجِّيكَ) เข้าใจได้ว่าอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีบัญชาให้คลื่อนพัดพาเอารร่างของฟิรเอานฺขึ้นไปบนจุดสูงสุดบนชายหาด เนื่องจากรากศัพท์ของคำว่า (نجوة) หมายถึง สถานที่สูง หรือพื้นดินที่เป็นเนินสูง

3.ตอนนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่ง"อียิปต์"และ"อังกฤษ" มีหนึ่งในสองร่างกรของฟิรเอานฺในรูปของมัมมี่ แต่ไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัดว่านั่นเป็น มัมมี่ของฟิรเอานฺที่อยู่ร่วมสมัยเดียวกันกับศาสดามูซา (อ.) หรือไม่ ? แต่อัลกุรอานได้สาธยายเกี่ยวกับสัญลักษณ์ที่เป็นบทเรียนสำคัญจากร่างของฟิรเอานฺ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ชนรุ่นหลังจากเขา ซึ่งสิ่งนี้สนับสนุนให้เห็นว่า ร่างของฟิรเอานฺในสมัยของมูซา (อ.) อาจเป็นหนึ่งในร่างเหล่านี้ก็เป็นไปได้ แต่ปัจจุบันยังหาเหตุผลแน่นอนยืนยันไม่ได้

4. จากโองการข้างต้นเข้าใจได้ว่าการรักษาร่องรอยของบทเรียนในอดีต การจัดพิพิธภัณฑ์เพื่อแสดงสิ่งเหล่านั้น ล้วนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ซึ่งอัลกุรอานเองรอคอยทุกคน ให้พิจารณาร่องรอยประวัติศาสตร์เหล่านั้น ในฐานะที่เป็นความโกรธกริ้วและความเมตตาการุณย์ของพระเจ้า

บทเรียนจากโองการ :

1. ร่องรอยของบรรดาพวกอธรรมบนหน้าแผ่นดิน เป็นเครื่องหมายทีบ่งชี้ให้เห็นถึง ความลืมเลือนในพระเจ้า ดังนั้น จงพิจารณาสิ่งเหล่านั้นในเชิงของบทเรียนเถิด

2. ประชาชนส่วนใหญ่มักจะลืมเลือนสัญลักษณ์ของอัลลอฮฺ ดังนั้น พึงระวังตนเองไว้ให้ดีว่าอย่าได้เป็นหนึ่งในบุคคลเหล่านั้น

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม